พาเที่ยวงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553 (National Science and Technology Fair 2010) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” วันที่ 7 – 22 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ที่จริงไปเฝ้าบูธมาตั้งแต่วันพุธที่แล้ว แอบแวะไปเดินเล่นในงานมา มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ในงานเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ ครู นักเรียน ผู้ใหญ่ทั่วไปก็ควรไปเยี่ยมชมสักครั้งสร้างแรงบันดาลใจ และความรู้ได้มากมาย เอารูปมาให้ดู บรรยายสั้นๆใต้รูปให้พอเข้าใจนะครับ ยังมีเวลาอีก 4 วัน ใครยังไม่ไปควรแวะไปดูหน่อยนะครับ งานเยี่ยมมากๆ

บรรยากาศ งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

ภาพแรกอยู่ในส่วนของ เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ

น้องเด็กในชั้นประถมกำลังทดลองเล่น กระดาษกราฟอิเล็กทรอนิคสำหรับผู้พิการตาบอด

กระดานกราฟที่ช่วยผู้ตาบอดเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ผ่านทางการฟังเสียงและการสัมผัสปุ่ม น้องๆน่ารักมากระหว่างทดลองเครื่องมือ หลับตาด้วยเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกว่าถ้าตาบอดการเรียนรู้ทำได้ยากแค่ไหน จะได้เข้าใจและเห็นใจคนตาบอด

ทดลองเขียนอักษรเบล
สัญลักษณ์แทนตัวอักษร
อุปกรณ์ในการเขียนอักษรเบล

ส่วนนี้เป็นการทดลองเขียนอักษรเบล วิธีเขียนลำบากพอควร ที่โต๊ะจะมีบอกว่าอักษรแต่ละตัวเขียนแบบไหน เวลาเขียนจะใช้แท่งกดลงกระดาษบนแท่นพิมพ์ที่เป็นจุด 2×3 และต้องเขียนกลับด้าน เพราะเวลาอ่านจะพลิกกลับอีกด้าน เพื่อใช้นิ้วคล้ำจุดที่นูนขึ้นมา

มหัศจรรย์ดวงตา
มีภาพแปลกๆให้ดู

ภาพที่มองได้หลายมุมมอง มีให้ดูหลายรูป และบางอันเคยเห็นในเว็บบ้างแล้ว

สนามยิงปืนเลเซอร์

ตรงนี้เด็กเข้าคิวเล่นกันเยอะเลย เป็นสนามยิงปืนเลเซอร์ เมื่อยิงจะมีเสียง แล้วผลคะแนน ก็จะปรากฏบนจอทันที

ผลิตภํณฑ์จากฮาร์ดดิสพัง

ฮาร์ดดิสที่พังแล้วเก็บข้อมูลไม่ได้แต่มอเตอร์มันยังหมุนได้ เขาก็เอามาทำอะไรต่างๆได้มากมาย ทำหุ่นเล่นดนตรี เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ

เครื่องเล่นห่วงกล

เครื่องเล่นห่วงกล กว่าจะเอาออกได้นี้ต้องใช้เวลาพอดูเลย

แผนที่กรุงเทพจากดาวเทียม

ไปหาดูว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ตรงไหน

ดาราศาสตร์

ส่วนของดาราศาสตร์ ทำความรู้จักดาวต่างๆ ส่วนต่างๆของจรวด ระบบสุริยะ ฯฯ

Augmented reality

ระบบ Augmented reality เชื่อมระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน

พับกระดาษ

พับกระดาษ เพิ่มความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จะได้รู้ว่ากระดาษ

เรียนรู้เรื่องแสง

เรียนรู้เรื่องแสง มีหลายอย่างให้เรียนรู้ด้านใน การหักเหของแสง การผสมสีของแสง ทางเดินวงกตที่ทำจากกระจกเงา การเดินของแสงใน fiber optic

หนังสามมิติ

มีการอธิบายถึงการทำงานของภาพ 3 มิติ และฉายหนังสั้น 3 มิติ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ดูแล้วสนุกดี เพลินเลยทีเดียว

รถโตโยต้า ผ่าครึ่ง
ภาพรถยนต์

รถยนต์ ที่ผ่าให้เห็นถึงองค์ประกอบภายใน เบาะนั่งแบบต่างๆ

นาโนเทคโนโลยี

อธิบาย และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี

ส่วนของ TK Park มี iPad ให้เล่นด้วย

iPad ตรงอุทยานการเรียนรู้ TK Park มีหนังสือภาษาไทยให้ลองอ่านเล่น (พบว่า iPad มี Cydia ด้วย)

ยังมีอีกหลายจุดที่ผมไม่ได้ไป งานใหญ่มาก เดินทั้งวันก็ไม่หมด ถ้าจะให้ดีต้องมาหลายวัน เด็กๆมาแทบจะทั่วประเทศ โดนเด็กตั้งคำตามว่า “พี่ค่ะ อันนี้ตัวแปรต้น คืออะไร” ตอบไม่ถูกเลยทีเดียว

แผนที่ ไบเทค บางนา
ดู ไบเทค บางนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nst2010.com/index.php

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง

THE RISE OF NANOTECH

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง
Scientific American : ดร.ยุทธนา  ตันติรุ่งโรจน์ชัย แปล
สำนักพิมพ์มติชน ,ตุลาคม 2552  ราคา 240 บาท

หนังสือเล่มนี้ เห็นผ่านตามานานแล้ว ได้เปิดดูสารบัญบ้าง แต่ยังไม่มีแรงจูงใจ ที่จะซื้อมาอ่าน หลังจากได้เขียนบทความใน Biomed.in.th เรื่องการใช้ nanopatch เป็นตัวให้วัคซีน เลยนึกอยากรู้จักเรื่องนาโนเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น และผมไม่อยากอ่านหนังสือที่ออกแนวเป็นหนังสือเรียนมากจนเกินไป หนังสือเล่มนี้น่าจะตอบโจทย์ เรื่องที่อยากรู้ ได้พอควร อาจจะไม่เท่าหนังสือเล่มโตในห้องสมุด

สารบัญ อาจเพิ่มแรงจูงใจ ให้อยากอ่านมากขึ้น

หน่วยย่อยนาโน

  • ยังมีที่ว่างอยู่อีกมาก
  • ศิลปะการผลิตโครงสร้างขนาดเล็ก
  • ตัวต่อเลโก้โมเลกุล

เครื่องจักรมีชีวิต

  • นาโนเทคโนโลยีของเกลียวคู่
  • กำเนิดคอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ

วงจรขนาดเล็กที่สุด

  • โครงข่ายนาโนคาร์บอนจุดประกายอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใหม่
  • คำสัญญาของพลาสมอนิกส์
  • วงจรจิ๋วมหัศจรรย์

การเดินทางอันน่าอัศจรรย์

  • สิ่งเล็กๆ มีค่ามากมายในทางการแพทย์
  • พ่อมดนาโน
  • เกี่ยวกับผู้แปล

เนื้อหาแต่ละบท เขียนโดยนักวิทยาศาตร์แต่ละคนแตกต่างกันไป อ่านได้แบบเรื่อย เชิงพรรณา ไม่มีสูตรฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ให้ปวดหัว แต่ละบทจะมีแหล่งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ในตอนท้ายของบท หากสนใจในบทนั้นๆเป็นพิเศษก็สามารถตามไปอ่านต่อได้

รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ

wolfram-alpha

Wolfram alpha คือ Search engine แนวใหม่ที่รูปแบบค้นหาไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ อย่างเช่น Google, yahoo หรือ bing ที่พึงเปิดตัวไป, search engine เหล่านี้จะพยายามหาสิ่งที่คิดว่าเหมือน ใกล้เคียงกับคำค้นของคุณให้มากที่สุด แล้วให้คุณเลือกเองว่าจะเข้าไปดูรายละเอียดตัวไหน search แบบนี้จะหาลิงค์จำนวนมากมาให้คุณเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการอีกที แต่สิ่งที่ wolfram alpha ทำจะแตกต่างออกไป คือ จะพยายามหาคำตอบของสิ่งที่คุณต้องการหาให้ ยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการหาว่าจำนวนประชากรของไทยตอนนี้เท่าไหร่ search อื่นจะให้ลิงค์ อย่างเช่น wiki หรือเว็บไทยที่มีการเก็บสถิติมาให้ แต่ wolfram alpha จะให้คำตอบออกมาเลยว่าประชากรตอนนี้เท่าไหร่ อัตราการขยายตัวเท่าไหร่ แสดงผลเป็นกราฟด้วย แต่ wolfram alpha ตอนนี้ยังไม่รองรับภาษาไทยครับ

Stephen-Wolfram ผู้คิดค้น wolfram alpha

Wolfram alpha เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2009 มีนักพัฒนาหลายคนบอกว่าศักยภาพของมันเรียกได้ว่าเป็น “Google Killer” ได้เลย Stephen Wolfram ผู้คิดค้นและ CEO ของหน่วยวิจัย Wolfram เขาเป็นนักฟิสิกส์ นักพัฒนาซอฟแวร์ เกิดที่อังกฤษ เมื่อปี 1959 เรียนที่ Eton College และสอบเข้าเรียนต่อที่ Oxford University จากนั้นได้ Ph.D ที่ California Institute of Technology ตอนอายุ 20 ปี งานของเขาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Symbolic Manipulation Program ที่เป็นต้นกำเนิดของ Mathematica, Mathematica โปรแกรมคำนวณที่อัฉริยะ ,หนังสือ “A New Kind of Science” ,The simplest Universal Turing machine, และล่าสุดคือ Computational knowledge engine ในชื่อที่เรียกว่า Wolfram alpha

Stephen Wolfram บอกว่า ” Wolfram alpha ไม่ใช่เครื่องมือในการค้นหา ไม่มีการค้นหาที่นี้ “ แต่มันคือเครื่องมือหาความจริง หาคำตอบ (Fact Engine) การค้นหาจะไม่ซ้ำซ้อนกับการค้นหาที่ Google แต่มันจะตอบในสิ่งที่มันรอบรู้ให้ คือ หาคำตอบให้นั้นเอง

เริ่มทดสอบการใช้งาน Wolfram alpha อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าตอนนี้ยังไม่สนับสนุนการค้นหาในภาษาไทยครับ การค้นคำนั้นสามารถที่จะใส่เป็นประโยคได้(natural language) ระบบสามารถที่จะวิเคราะห์สิ่งที่คุณต้องการและแสดงข้อมูล ที่เป็นทั้งตัวเลข กราฟ ภาพ และสื่ออื่นในสิ่งที่คุณหาอยู่

ระบบยังมีความฉลาดสามารถคำนวณระยะทางของคุณกับสถานที่ๆต่างๆ โดยระบุตำแหน่งคุณด้วย IP address ของคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานได้อีกด้วย

ในการใช้งานครั้งแรกเขาแนะนำให้คุณดูตัวอย่างการค้นหา เพื่อให้คุณใส่ประโยคต่างให้เหมาะสมเพื่อการค้นหาที่มีประสิทธิภาพสูง และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เช่นการใส่ มาตราวัด วันที่ เวลา สูตรคำนวณต่างๆ ได้ถูกต้อง แทนการใส่ประโยคธรรมดา

การทดสอบเหล่านี้ต่างๆเหล่านี้ผมอ้างอิงมาจากเว็บต่างๆ ที่เขาได้รีวิวเอาไว้ โดยเป็นวิธีการค้นหาที่ search engine ตัวอื่นจะทำได้ยาก แต่ wolfram alpha ทำได้ง่าย

1. Historical event การค้นหาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต
ผมค้นหาคำว่า “Earthquakes Dec 2004” แผ่นดินไหวปี 2004

แสดงข้อมูลของแผนดินไหว ของเดือนธันวาคม 2004

ข้อมูลที่ได้คือจุดต่างๆที่เกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก และความแรงของการสั่น จะเห็นได้ว่าในวันที่ 26 ธันวาคม 2004 ที่เกิดแผนดินไหวทะเลเขตอินโดนีเซียแรงสุด และที่ทำให้เกิดซึนามิในหลายประเทศ

2.Musical notation การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโน๊ตดนตรี
ผมค้นหาคำว่า “B seventh chord” คอร์ด B7 ผลการค้นหา

music-notation การค้นหาตัวโน๊ต

การค้นหาโน๊ตนี้ถือว่าสุดยอดครับ มีทั้งการแสดงรายละเอียด และที่สำคัญกดฟังเสียงได้เลยครับ

3.Drug information การค้นหารายละเอียดของยา หรือสารเคมี
ผมค้นหาคำว่า “Oseltamivir” คือยาที่ใช้รักษา ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009

ผลการค้นหา drug-information

ให้ข้อมูลค่อนข้างครบ ทั้งชื่อสามัญ น้ำหนักโมเลกุล สูตรเคมี ด้านข้างจะมีลิงค์ที่เกี่ยวข้องไปที่ wiki ด้วย ข้อมูลที่ wiki ดูจะให้รายละเอียดเยอะกว่าที่ wolfram alpha

4.Geography ภูมิศาสตร์ ซึ่งให้ผลการค้นค่อนข้างดีเลยทีเดียว
ผมค้นหาคำว่า “Himalaya” หรือ เทือกเขาหิมาลัย

himalaya-biographic เทือกเขาหิมาลัย

5.Nutrition & Food เกี่ยวกับโภชนาการและอาหาร เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนต้องการลดน้ำหนัก

pork-2-kg เนื้อหมู 2 กิโลกรัม

มีรายละเอียดการคำนวณแครอรี่ ไขมัน พลังงานต่างๆ ละเอียดมาก และสามารถเลือกชนิดของเนื้อหมูได้อีกด้วยว่าเป็นส่วนไหนของหมู เยี่ยมมากครับ

6.Colors การค้นหาสี เหมาะสำหรับนักออกแบบ หรือนักพัฒนาเว็บไซต์

สามารถที่จะค้นหาได้โดยใส่ชื่อระบบสี โค้ด ลงไปเพื่อหาว่าสีที่นั้นมีหน้าตาอย่างไรได้ เช่น RGB 30, 255, 10
ครอบคุมทุกระบบ เท่าที่รู้จักนะ

clolor-systems ระบบสีต่างๆที่ค้นได้

ทดลองค้นคำว่า “green + blue” หรือ สีเขียว บวกสี น้ำเงิน
ผลการค้นหาที่ได้เป็นบอกว่าสีที่ผสมออกมาจะได้สีอะไร และมีรหัสอะไรด้วย

color-green-blue ค้นหาการผสมสี

7. Physics & Mathematics การคำนวณทางฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ที่ดูจะเป็นปัญหา จากข่าวเรื่องการนำ wolfram alpha มาช่วยในการคำนวณ หรือทำการบ้าน อาจจะมีทั้งข้อดีและเสีย ถ้าใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่เอาแต่ลอกอย่างเดียวสุดท้ายก็คงคิดเองไม่เป็น ดูตัวอย่างการใส่ค่าต่างๆ

physic-wolfram-sample
physic-wolfram-sample-2
Mathematics-wolfram-sample
Mathematics-wolfram-sample-2

ยกตัวอย่างการคำนวณ d/dx sin(x)^2 ได้ผลดังนี้

calculus-wolfram-sample

Wofram alpha สามารถคำนวณค่าต่างๆออกมาให้อย่างรวดเร็ว ข้อดีเราสามารถใช้อ้างอิงในการทำแบบฝึกหัดอย่างวิชา calculus หรือ โจทย์คณิตศาสตร์ ได้อย่างสบาย แต่อย่างเช่น ฟิสิกส์ที่ต้องมีการตีโจทย์ออกมาเป็นตัวแปลอยู่นั้นก็ต้องมีคิดก่อนนำมาคำนวณ ส่วนวิชาเคมี ก็สามารถช่วยได้ทั้งคำนวณ และหาคำตอบ
ดูตัวอย่างวิธีการใส่ค่าเพื่อหาคำตอบได้ที่ https://www85.wolframalpha.com/examples/ ดูวิดีโอสาธิตการใช้งาน introducing wolfram alpha

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็น search engine ที่ดีมากๆตัวหนึ่ง และทำให้นึกถึงตัวละครตัวหนึ่งในหนังเรื่อง AI (Artificial Intelligent,2001) ของ Steven Spielberg ในตอนที่หุ่นเด็กออกไปถามคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ ดร.โนว์ ที่มีหน้าตาเป็นไอสไตร์ พอถามอะไร คอมพิวเตอร์ตัวนี้ก็จะตอบทันทีหุ่นยนต์เด็กถามถึง นางฟ้า ดร.โนว์ ก็ยกหมวดนวนิยายขึ้นมาแล้วอธิบายทันที ทำให้รู้สึกว่า ภาพยนต์ที่มีจินตนาการสูง โลกของความจริง ก็พยายามวิ่งตามจินตนาการนั้นไปเรื่อยๆ

ข้อมูลจาก
https://www.wolframalpha.com/
https://searchengineland.com/wolframalpha-the-un-Google-19296
https://www.readwriteweb.com/archives/hands-on_with_wolfram_alpha.php
https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Wolfram
https://www.stephenwolfram.com/
https://www.wolfram.com/

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

Exit mobile version