Search within my feedly and ‘next & previous’ buttons

Search within my feedly

หลังจากที่ Google Reader ถูกสั่งปิดบริการไป ก็มีหลายบริษัทต่างๆพร้อมใจกันตบเท้าออกมาทำ Reader แข่งกัน ที่ได้ลองใช้ก็มี AOL Reader, Digg Reader, feedly สุดท้ายเราก็เลือกทีจะย้ายมาใช้ feedly การใช้งานโดยทั่วไปเมื่อเทียบกับ Google Reader ก็เรียกได้ว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว หากแต่ก็มีสองอย่างที่เราใช้ประจำใน Google Reader แต่ใน feedly ยังไม่มี ซึ่งเราก็อยากให้มีมากๆด้วย คือ

  1. ฟีเจอร์การค้นหาใน feedly ของเราเอง บางครั้งเราอยากอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เราสนใจที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดบางคำ ซึ่งเราอยากรู้ว่าในแต่ละสำนักข่าวมีความคิดเห็นเกี่ยวเรื่องๆเดียวกันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง การค้นหาใน feed ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างดี เพราะเราคัดเว็บไซต์ที่เราสนใจไว้แล้วถึงได้ดึง feed เว็บไซต์เหล่านั้นมาไว้ ซึ่งพอเปิดเข้าไปใน Suggestion ของ feedly ก็พบว่ามีคนอยากได้ฟีเจอร์นี้เหมือนเราเยอะเหมือนกัน และก็ได้รับการโหวตเป็นอันดับหนึ่งด้วย ซึ่งทีมงานก็รับรู้แล้วและเข้าไปอยู่ในแผนงานการพัฒนาแล้ว วางใจได้ระดับหนึ่งว่าเราจะได้ใช้แน่นอน
  2. อีกอย่างที่ถือว่าเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ กับรูปแบบการใช้งานของเราเอง คือ ปุ่ม next, previous สองอย่างนี้เป็นสิ่งที่รู้สึกว่ามันยังขาดอยู่ ติดนิสัยตั้งแต่ใช้ Google Reader มา โดยเราจะใช้เมาส์คลิกมากกว่ากดปุ่มคีย์บอร์ด j,k เพื่อเลื่อน article ถัดไป ซึ่งเราพบว่า ใน AOL Reader ก็มีปุ่มนี้อยู่นะ แต่ใน Digg Reader และ feedly กลับไม่มีซะงั้น อีกอย่างปุ่ม j,k ใช้ได้เฉพาะตอนที่คีย์บอร์ดเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ต่างจาก Google Reader ที่ตอนกด  ่, า ก็ใช้งานได้เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าตอนนี้ก็มีคนเข้าไปโพส suggestion ไว้เหมือนกันฝากเพื่อนที่ใช้ feedly ทุกท่านเข้าไปโหวตให้เป็นฟีเจอร์ต่อไปที่ต้องทำด้วยนะครับ คลิกเข้าไปโหวตได้ที่ Add a next/previous button or arrow. (not using keyboard shortcuts)

หวังว่า feedly จะพัฒนาต่อๆไปให้เทียบชั้น Google Reader ให้ได้ เพราะยังไงเราก็ยังชอบอ่านข่าว บล็อก บทความ ผ่านทาง RSS อยู่ดี เพราะมันเก็บไว้อ่านได้ และเราคัดไว้แล้วว่าเว็บไหนน่าอ่าน และไว้ใจในเนื้อหาได้ ยังไงซะ Google Reader ก็ยังเป็นตัวที่ดีที่สุดที่เคยใช้ อาจจะเพราะความเคยชินด้วยส่วนหนึ่ง พยายามจะปรับตัวให้เข้ากับ feedly แล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่ชินสักที แต่อย่างน้อยก็อยากได้สองฟีเจอร์ข้างบนเพิ่มอยู่ดี อาจจะทำให้อ่านได้คล่องตัวเหมือนเดิมก็เป็นได้ สุดท้ายฝากเข้าไปคลิกโหวตให้ทีมงานเพิ่มปุ่ม next/previous ให้ด้วยนะครับ

Chrome Reader ดึง RSS เข้าบัญชีโดยไม่ต้องเปิดหน้าเว็บ

Chrome Reader เป็น Extension ของ Google Chrome ที่ใช้มาได้สักพักแล้ว เมื่อวานนั่งเล่น Google Chrome ไปๆมาๆ มันหายไป พอวันนี้เจอเว็บเจ๋งๆจะรับ feed มาอ่านหน่อย ถึงได้รู้ว่ามันหายไป เลยเอามาลงใหม่

ข้อดีของมันที่ผมชอบมาก

  • มันเช็คให้ด้วยว่าหน้านี้ หรือเว็บนี้มี RSS อยู่หรือปล่าว
  • ถ้ามีก็คลิก รับ RSS เข้าบัญชี Google Reader ได้เลย แบบไม่ต้องเปิดหน้า Google Reader ขึ้นมา
  • บริหารจัดการได้เล็กน้อย คือ จะเอา feed ตัวใหม่วางไว้ใน folder ไหน ใน Google Reader ตามต้องการ

หน้าตาและการใช้งาน

Chrome Reader Extension

เมื่อเราเปิดเว็บไหนแล้วมี RSS อยู่จะเห็นเป็นไอคอรของ RSS ขึ้นมา

คลิกไอคอนเพิ่ม feed เข้า Google Reader

เมื่อคลิกไอคอน RSS ก็จะ subscription เข้าไปใน Google Reader ไปเลย สามารถติ๊กเข้า folder ไหนได้ตามใจ หรือจะตั้ง folder ใหม่ก็ได้ (ต้องล็อกอิน Google Reader )

ดาวน์โหลด Chrome Reader Extension

Google Reader All items (1000+)

Google Reader เกิดอาการ All items 1000+ มาได้สักพักแล้ว ผมยังมีอาการที่ต้องทำให้ Unread เป็นศูนย์ทั้งที่อยู่ในอีเมลและใน reader อาการ 1000+ กวนใจผมมาตลอด ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ

  • ใช้เวลาในการอ่านให้ items เป็นศูนย์นานมาก
  • เมื่อใช้เวลามาก มักจะกด Mark all as read ทำให้เนื้อหาดีๆพลาดไป
  • เนื้อหาที่เราให้ความสนใจน้อย เข้ามาในสมองเยอะเกินไป
  • เนื้อหาบางอันซ้ำกันเยอะ

วันนี้จึงสุดทนต้องทำอะไรสักอย่าง เข้าเช็คจำนวน  feed พบว่า All 742 subscriptions ใน 27 folders แยกเป็นหมวดหมู่ เยอะเกินไป รู้สาเหตุ 1000+ แล้ว จึงต้องคัดเลือก Unscriptions บางอันออกไป ตั้งเกณฑ์ขึ้นมาเอง

  • กลุ่มที่มี items/day สูงจะได้รับการพิจาณาออกก่อน
  • หมวด Tech_TH มีอยู่ 285 feeds วันหนึ่งรวมกันประมาณ 150-200 items/day รอดตัว ยังพออ่านแบบผ่านๆได้
  • ส่วนที่ระดับ items/day 15+ ผมเอาออกหมด เหลือไว้แค่นี้ตามตาราง

    กลุ่ม items/day 15+ ที่รอดตัว

  • ต่อไปกลุ่มที่ feeds ข้อความมาไม่หมด ให้คลิกไปอ่านตัวเต็มที่เว็บไซต์  Unscriptions หมด (เหลือบางอันที่สนใจจริงๆ เช่น Gizmodo, nature)
  • รายต่อไปเป็นกลุ่มที่เป็น Tutorial ยาวๆ รูปประกอบใหญ่ๆ โหลดนานๆ เอาออกหมด
  • กลุ่มเว็บที่เป็นเฉพาะของแต่ระบบปฎิบัติการมือถือที่เคยทำไว้ลบออกหมด เช่น iPhone, Androids, Blackberry, Palm, Windows Mobile คิดว่าตามอ่านที่เว็บหลักก็พอแล้ว เพราะข่าวมักซ้ำกัน
  • ที่เหลือก็แสกนอันไหนที่เลิกสนใจแล้ว เช่น กลุ่มเว็บ DotA ที่เคยบ้าอยู่พักหนึ่ง ก็เอาออกให้หมด
  • เว็บข่าวการเมืองที่เคยติดตามในช่วงชุมนุม ที่คอยตามรายงานข่าว ทั้งไทย ทั้งเทศ ก็เอาออก
  • อีกกลุ่มหนึ่งที่รบกวนนิดๆคือ share จากเพื่อน บางคนกดเยอะเกินไปจนไม่รู้ว่าอันไหนมันน่าสนใจ ก็เลือก Unfollow ไป

สุดท้ายหายไป 207  ยังเหลือ 535 feeds ใน 15 folders แต่คิดว่าลดจำนวน items/day ไปได้เยอะ และหลังจากนี้ไปคิดว่า %Read น่าจะเพิ่มขึ้น ลองอ่านไปอีกสักพักถ้ายัง 1000+ อีกบ่อยๆ จะมาคัดออกอีก

Google Reader ผมอ่านอะไร คุณอ่านอะไร

Google Reader

Google Reader เป็นอีกบริการของ Google ที่มีประโยชน์มาก การติดตามอ่านข่าวหรือบล็อกที่เราสนใจ
ที่มีจำนวนมากหากต้องนั่งเปิดทุกเว็บคงเป็นการยาก และคงจำชื่อได้ไม่หมด หรือแม้แต่มี bookmark เก็บไว้
ก็ตามก็ไม่สะดวก การอ่านผ่าน RSS คงเป็นคำตอบของปัญหานี้ ใครที่มี account ของ Gmail อยู่แล้วก็เปิดใช้บริการได้
แล้วที่ https://www.Google.com/reader ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Google reader มากยิ่งขึ้น ดูวีดีโอ

แต่ในวันนี้จะพูดถึงการปรับปรุงใหม่ของ Google reader ที่มีการพัฒนาขึ้นอีกขั้นสู่ความเป็น Social Network
มากยิ่งขึ้น ปกติเราสามารถ share เรื่องที่เราอ่านให้เพื่อนที่ follow เราอยู่ได้ แต่ Google ได้มีการปรับปรุงเพิ่ม
เติมขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น และค้นหาและติดตามคนอื่นได้ง่ายและเร็วขึ้น

เราสามารถที่จะค้นหาบุคคลอื่นได้ และ follow ได้ทันที สามารถค้นหาได้ในช่องค้นหานี้ Search
และผลการค้นหาจะแสดงรายละเอียดของบุคคลนั้นด้วย Google profile

แสดงการค้นหา ตามชื่อที่ต้องการติดตาม

Google Reader Sharing settings จะเป็นการตั้งค่าต่างๆว่าคุณเป็น public(Anyone can view) หรือ protected(Share with Selected goroups)groups ที่เลือกก็เป็น groups เดียวกันใน Gmail Contact ถ้าต้องการ follow คนที่อยู่ในสถานะ protected ก็ต้องส่งคำร้องไปเพื่อให้เขายอมรับการ follow

sharing setting

ถ้าต้องการให้คนอื่นสามารถค้นหาชื่อของคุณได้ ให้คลิกเลือก Also add a link to my shared items on my Google Profile ในหน้า share setting

Also add a link to my shared items on my Google Profile (so people can search for you)

นอกจากนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม เราสามารถสร้าง URL ของเราซึ่งปกติเป็น
https://www.Google.com/reader/shared/16976835415198312336
ให้อยู่ในชื่อที่ง่ายขึ้นแบบนี้ได้https://www.Google.com/reader/shared/sarapukdee
ด้วยการได้ ennable มันที่ Edit your profile ตรงหัวข้อ Profile URL
แล้วส่ง URL ดังกล่าวให้เพื่อนๆ เพื่อ follow เรา (เหมือนเปลี่ยน URL ใน Facebook เลย)

profile URL

อีกสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือเมื่ออ่านแล้วคุณ “like” บทความนั้นหรือไม่ ถ้า “like” คลิก like ใต้บทความหรือกด L
ที่คีย์บอร์ดก็ได้
หรือต้องการ share ให้คนอื่นอ่านด้วยก็กด Share หรือ กด shift+S ที่คีย์บอร์ด
ดู Keyboard shortcuts เพิ่มเติม

item content อยู่ด้านล่างของเนื้อหานั้นๆ

เมื่อเราคลิก like ด้านบนของบทความนั้นก็จะมีจำนวนของคนที่อ่านแล้วคลิก like ไปทั้งหมดเราสามารถที่จะ
ดูรายละเอียดของคน like บทความนั้นได้ และตามไป follow ได้อีกด้วย

เมื่ออ่านคลิก like บทความนั้นก็จะมีชื่อเราในกลุ่มคนที่ชอบและสามารถดู profile ได้ด้วย

การปรับปรุง Google reader ครั้งนี้ทำได้ดีมาก และเพิ่มความเป็น social network ขึ้นอีกเยอะเลย
ใครสนใจอยาก follow ผมเข้าไปที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://www.Google.com/profiles/sarapukdee
RSS Blog ผม : https://feeds.feedburner.com/amphur

ที่มา : https://Googlereader.blogspot.com

มาเปลี่ยน Notebook เป็น Kindle DX ไว้อ่าน E-book ดีกว่า

notebook-kindledx1

Kindle เป็นผลิตภัณฑ์ของ Amazon ที่ออกมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มันเป็นเครื่องอ่าน e-book ที่สั่งซื่อผ่านบริการของ Amazon ที่ไทยคงต้องรออีกนานที่จะมีการวางขาย(หรืออาจจะไม่มาเลยก็ได้) เมื่อเร็วๆนี้เขาได้ออกรุ่นที่สอง คือ Kindle DX ที่ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 9.7 นิ้ว (เดิม 6 นิ้ว) ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากได้เจ้าเครื่องอ่าน e-book ตัวนี้ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นวารสารทางวิชาการ หนังสือออนไลน์ ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรี และไม่ฟรี ทั้งใหม่ ทันสมัย ล้วนอยู่ในรูป PDF ทั้งสิ้น และช่วงนี้ก็มีการรณรงค์อย่างหนักเรื่องการลดใช้กระดาษ การอ่านหนังสือในรูปของ e-book จึงเป็นทางเลือกที่ดี จากประสบการณ์จริงผมก็ใช้การอ่าน e-book จาก notebook ผมจะขอแนะนำการอ่านหนังสือ e-book โดยใช้ notebook ให้คนอื่นได้ลองทำดู ง่าย และหลายคนคงคิดว่ามีแค่นี้เองหรอ

  1. ติดตั้ง Adobe Reader ในเครื่องก่อนซึ่งคิดว่าทุกเครื่องน่าจะมีอยู่แล้ว
  2. เปิดไฟล์ e-book ที่จะอ่าน แล้วกด Ctrl + L เพื่อให้อยู่ในโหมด full screen
  3. กด Ctrl + 1 หรือ 2 หรือ 3 เพื่อปรับให้ขนาดของเอกสารใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
  4. กด Fn + F7 แล้วแต่เครื่องครับ อันนี้เพื่อปรับแสงของหน้าจอลง เวลาอ่านจะได้สบายตา
  5. เริ่มอ่านได้เลยครับ ควบคุมเอกสาร โดยเลื่อนขึ้น-ลงใช้ลูกศรขึ้นลง เปลี่ยนหน้าใช้ลูกศร ซ้าย-ขวา

ง่ายไหมละครับพี่น้อง คราวนี้ก็ได้ Kindle DX มาอยู่ในมือแล้วแถมจอใหญ่กว่าอีก ตั้ง 13 นิ้ว

Exit mobile version