AMP ช่วยให้ผู้ใช้มาจากมือถือแซงเดสก์ท็อปแล้ว

อะไรคือ AMP? เกี่ยวข้องยังไงกับบล็อกนี้?

เรื่องเล่าวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบล็อกของตัวเองที่เขียนๆ หยุด ๆ มานานพอสมควร ถ้านับเวลาน่าจะเกิน 10 ปีได้แล้ว โพสแรก ตัวบล็อกมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยมีค่าโฆษณาจาก Google Ads ที่ติดไว้คอยเลี้ยงดู ไม่ได้เยอะ แต่เพียงพอที่จะจ่ายค่าโฮสและค่าโดเมนรายปีได้ ทั้ง ๆ ที่บางปีเขียนเรื่องใหม่ไปแค่ 1-2 เรื่องเท่านั้น ต้องขอบคุณคนคลิกเข้ามาดู ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมารายได้มาจากผู้ใช้งานเดสก์ท็อปเป็นหลัก


ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ไปอยู่ในแพลตฟอร์มโซลเชียลกันหมดแล้ว แต่แนวบล็อกหรือเว็บไซต์ก็ยังให้ความรู้สึกว่าชอบมากกว่า นั่งกดอ่าน feed ผ่าน RSS ก็ยังเป็นกิจวัตรประจำวันเหมือนเดิม คิดว่ายังคงต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ

เข้าเรื่องหลักเลยแล้วกัน เมื่อราวสองเดือนก่อนตอนที่เข้าไปดูรายงานของ Google Adsense มีข้อความแนะนำจากระบบประมาณว่า
เฮ้ย…ไม่ปรับปรุงเว็บของแกให้แสดงผลให้เป็นมิตรกับคนใช้มือถือหน่อยหรอ คนใช้เยอะนะ
เอารายละเอียดของ AMP (Accelerated Mobile Pages )ไปอ่าน แล้วลองทำดูซ่ะนะ เลยลองทำตามคำแนะนำ

ซึ่งโดยปรกติแล้วอะไรที่เขานิยม ใน WordPress ก็จะมีปลั๊กอินรองรับอยู่แล้ว
จากนั้นแค่เข้าไปโหลด ปลั๊กอิน มาติดตั้ง คลิก 2-3 ที ก็เสร็จ
ง่ายเช่นกันในการเอา Google Ads ฝั่งลงไปในระบบ เข้าไปด้วย

สิ่งที่ได้หลังจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา รายได้ใน Google Ads ผ่านมือถือแซงรายได้จากเดสก์ท็อปไปแล้ว ความจริงแล้วพอลองเข้าไปดูใน Google Analytic ดี ๆ จะพบว่าอุปกรณ์ที่เข้ามาในบล็อกนี้ก็เป็นโทรศัพท์มือถือระดับไฮเอนด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดสก์ท็อปมาได้สักพักใหญ่ ๆ แล้ว แต่เพิ่งจะมาแซงตอนปรับให้มีเพจสำหรับมือถือ

ดังนั้นในเดือนนี้ต้องขอบันทึกไว้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา 10 กว่าปี ตอนนี้รายได้จากคนใช้มือถือได้แซงฝั่งเดสก์ท็อปไปแล้ว คนอื่นอาจปรับตัวไปนานแล้ว แต่พวกไม่สนใจอะไรเพิ่งจะปรับตัวตาม (หมายถึงตัวเอง) เลยเพิ่งจะเห็นผล

แหล่งรายได้ของบล็อกนี้ จากโทรศัพท์มือถือมากกว่าเดสก์ท็อปแล้วในช่วงที่ผ่านมา

แต่ถ้าไปดูรายงานของทั่วโลกมือถือแซงเดสก์ท็อปไปตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ลิงค์ข่าว

ปล. ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าในอุตสาหกรรมเกม มือถือก็กำลังจะแซงเกมบนเดสก์ท็อปแล้วเช่นกัน

“ย้ำอีกที มือถือคืออุปกรณ์หลักของคนใช้อินเทอร์เน็ตนานแล้ว” ปรับตัวซะ

[WORDPRESS PLUGIN] Jetpack รวมปลั๊กอินหลายตัวเป็นหนึ่งเดียว

Jetpack for WordPress

กำลังมองหาปลั๊กอินเกี่ยวกับการทำแชร์ลิงค์ไปที่ social network พวก twitter, facebook, google+ อะไรประมาณนี้อยู่ครับ ซึ่งมันก็มีอยู่เยอะมาก เลือกกันจนตาลายก็ไม่ได้ดังใจสักทีสุดท้ายมาเจอ Sharedaddy ค่อนข้างถูกใจ ง่าย ขนาดเล็ก

แต่พอติดตั้ง Sharedaddy เสร็จมันขึ้นเตือนมาว่า ต้องลงปลั๊กอิน Jetpack เพิ่มถึงจะทำงานได้ ก็เลยติดตั้งลงบล็อกไป เมื่อเปิดดูรายละเอียดของ Jetpack แล้ว ต้องบอกว่ามันสุดยอดมาก เพราะมันเป็น All in one รวมปลั๊กอินหลายตัวมาอยู่ในตัวเดียว เลยสามารถลบปลั๊กอินออกได้หลายตัวแล้วมาใช้ Jetpack แค่ตัวเดียว

Plugin ต่างๆที่อยู่ใน Jetpack

Plugin ที่อยู่ Jetpack

เยอะมาก และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการติดตั้งต้องมี account ของ WordPress.com ด้วยนะครับ เพือเชื่อมระหว่างบล็อกของเรากับ WordPress

มาดูปลั๊กอินตัวเด่นๆที่น่าใช้ครับ

WordPress.com Stats

เก็บสถิติของบล็อก

ตัวเก็บสถิติใช้ตัวเดียวกันกับ WP.com มันเก็บข้อมูลได้ละเอียดกว่าตัว StatPress Reloaded ที่ใช้อยู่ ดังนั้นเลยถอนตัวปลั๊กอินตัวนี้ที่ใช้มานานแล้วทิ้งไปอย่างไม่ลังเล

Sharing Buttons

Sharing

ปุ่มสำหรับกดแชร์บล็อกไปที่ Social network ที่ต้องการ มีตัวหลักๆครบถ้วน หรือจะเพิ่มเองก็ได้ มีรูปแบบให้เลือกหลายอัน เรียบ ง่าย และสวย ควบคุมให้แสดงเฉพาะ Home, Page หรือ Post ได้ ตรงตามความต้องการพอดี จึงลบตัวที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้คือ Social Sharing Toolkit ทิ้งไป

Subscriptions widget

Subscriptions widget

ระบบแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลเมื่อมีโพสใหม่ เป็นระบบของ WordPress เอง และมีการเก็บสถิติได้ด้วย แต่ตอนนี้ใช้ของ Feedburner อยู่เลยไม่ได้เปลี่ยน หากใครสนใจใชระบบของ WordPress ก็น่าใช้ไม่น้อยเหมือนกัน

Gravatar Hovercards

Gravatar Hovercards

ระบบทำรายละเอียดของผู้เขียน โดยดึงของมูลมาจาก Gravatar เหมาะสำหรับบล็อกที่มี Author หลายคน บล็อกนี้มีคนเดียวเลยไม่ได้ใช้งาน

Spelling and Grammar demo

ระบบแนะนำคำถูกต้อง

ปลั๊กอินตัวนี้เหมาะสำหรับคนที่เขียนบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมันจะช่วยให้ดูคำผิดทั้งการสะกดผิดหรือแกรมมาผิดได้ง่ายขึ้น มันจะแนะนำคำที่ถูกต้องมาให้ เหมือนอยู่ใน MS Office เลย

Contact Form

Contact Form

ใครที่ใช้ Contract Form 7 ตัวนี้ก็ทำงานในแบบเดียวกัน ปรับแต่ง field ได้ และตั้งค่าอีเมลรับข้อความได้

Custom CSS

CSS editor

ตัวแก้ไข ปรับแต่ง CSS เพิ่มเติม แบบแสดงสีสัน ที่ไม่ได้มีแค่โค้ดเหมือน default ของ WordPress

Mobile Theme

Mobile Theme

ปรับแต่งให้บล็อกแสดงผลในอุปกรณ์มือถือ แท็ปเล็ต ได้สวยงามยิ่งขึ้น ดูดีมาก แต่ก่อนใช้ WPtouch เลยเปลี่ยนมาใช้ของ Jetpack แทน และสามารถปรับแต่การแสดงผลได้อีกนิดหน่อย

ส่วนอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง

  • Jetpack Comments
  • Carousel Gallery
  • VaultPress
  • WP.me Shortlinks
  • Shortcode Embeds
  • Beautiful Math
  • Extra Sidebar Widgets
  • Enhanced Distribution

แต่ที่ชอบมากเพราะมันไม่ได้ทำให้บล็อกโหลดช้าเลย อาจจะเพราะปลั๊กอินส่วนใหญ่ที่มีใน Jetpack เราใช้อยู่แล้ว ก็เป็นได้

 ดูรายละเอียด และ ดาวน์โหลด Jetpack for WordPress 

ปลั๊กอินควบคุม Widgets ให้แสดงเฉพาะบางหน้า

Display Widgets เป็นปลั๊กอินสำหรับ WordPress ตัวล่าสุดที่ได้ติดตั้งและใช้งานในบล็อกนี้ครับ ซึ่งปลั๊กอินตัวนี้จะทำให้เราสามารถควบคุม Widgets ให้แสดงหรือไม่แสดงในหน้าไหนก็ได้

ทำไมต้องใช้งานมัน ก็เรื่องมันมีอยู่ว่า อยากติด Google Adsense ไว้ที่ Widget ที่อยู่ด้านข้างของบล็อกนี้ด้วยอีกสักสองอัน แต่ว่าในหน้า Post, Page ติดไว้แล้ว 3 อัน ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ Google ที่ให้ติดได้แค่หน้าละ 3 ตำแหน่งเท่านั้น แต่เพราะว่า Widget ของเรามันแสดงตลอดทุกหน้า จึงทำให้ถ้าเปิดหน้าแรกมันก็โอเคดี แต่ถ้าเปิดหน้า Post, Page มันจะผิดข้อกำหนด(ไม่แสดงผลบางอัน)

โจทย์เลยต้องการให้ Widget ของโฆษณาตัวนี้มันแสดงเฉพาะหน้าแรกเท่านั้น ก็ค้นไปเจอปลั๊กอินที่ชื่อ Display Widgets ตรงตามความต้องการของเราพอดี ก็เลยติดตั้งและลองใช้งานดู พูดได้เลยว่า ตรงใจเลย!

วิธีใช้งานปลั๊กอิน Display Widgets

เข้าไปดาวน์โหลด Display Widget ไปติดตั้ง หรือจะค้นหาแล้วติดตั้งที่หน้า install plugin ก็ได้

ติดตั้งแล้วเวลาจะใช้งาน ไปที่เมนู Widgets เมื่อคลิกที่ Widgets ในแต่ละตัว จะมีรายละเอียดด้านล่างให้ตั้งค่าได้ว่าจะเลือกให้แสดงในหน้าไหนบ้าง ดูรูปด้านล่างประกอบ

ปลั๊กอิน Display Widgets

ผลเป็นยังไงลองดูโฆษณาที่ด้านซ้ายอยู่ด้านบนของหัวข้อ “เรื่องแนะนำ” มันจะแสดงออกมาเฉพาะตอนที่อยู่หน้าแรก เท่านั้นครับ

ลองนำไปประยุกต์ใช้กลับเว็บไซต์ของคุณดูครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์

ดาวน์โหลดปลั๊กอิน Display Widget

ปลั๊กอิน WordPress ทำ Sitemap แสดงบนหน้าเว็บไซต์

WP Multilingual Sitemap

WP Multilingual Sitemap เป็นปลั๊กอิน ที่เอาไว้สร้าง Sitemap ที่เป็น HTML ไม่ใช่  Sitemap ที่เป็นไฟล์ XML เอาไว้ให้ boot มาดึงไปใช้ หรือเอาไว้ submit พวก search engine ที่แทบจะทุกเว็บต้องลงไว้ แต่ตัวนี้เอาไว้แสดงหน้าเว็บไซต์ให้คนที่เข้ามาที่เว็บไซต์ง่ายต่อการค้นหา ข้อดีของมันคือ เมื่อติดตั้งปลั๊กอินตัวนี้แล้ว เราต้องการให้ Sitemap แสดงที่หน้าไหน ก็ใส่ Short code เข้าไปได้เลย โดยเลือกแสดงลิสต์ที่เป็น Page, เป็น Post, หรือแสดงลิสต์ Post แยกตาม Category ก็ได้

ตัวอย่างการใส่ค่า ในหน้า Page

WP Multilingual Sitemap

ลองใช้มาได้ 2-3 วันแล้ว แต่ยังไม่ได้เขียนถึง มันแสดงผลออกมาได้ดีตามที่อยากให้เป็น ส่วนเว็บใครที่มี sub category เยอะ คิดว่าจะถูกใจเลยทีเดียว สนใจอยากดูตัวอย่างการใช้งานดูที่นี้ได้เลยครับ https://www.amphur.in.th/sitemap/

MyPaint โปรแกรมฟรี สำหรับวาดการ์ตูนดิจิตอล

Mypaint

MyPaint เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ส งานทางด้านกราฟิกทำภาพวาดดิจิตอล (Digital painters) ที่เร็ว และง่ายต่อการใช้งาน รองรับทั้ง Windows, Linux, Mac  ตัวติดตั้งโปรแกรมขนาดแค่ 8.6 MB ตัวโปรแกรมเบามาก รองรับการทำงานหลายเลเยอร์ เปิดโปรแกรมมาโล่งมาก มีพื้นที่ทำงานเยอะ เน้นวาดล้วนๆ หน้าจอเริ่มต้นโปรแกรมเปิดมามีกล่องเลือกสี กับกล่องเลือกแปรง เมนูด้านบนก็เล็กๆ ที่เหลือเป็นพื้นที่ไว้เขียน รองรับแรงกดของปากกา tablet

ด้วยรวมแล้วถูกใจมากเลย

หน้าเริ่มต้น MyPaint

ข้อดีอีกอย่างคือมีแปรงให้โหลดเพิ่มเติมอีกด้วย(Brush Packages) เมื่อทำงานเสร็จ save งานออกมาเป็นนามสกุล PNG, JPG, ORA ไฟล์นามสกุล ORA (OpenRaster File Format)ซึ่งเอาไปแก้ไขต่อได้ใน GIMP แต่ต้องลง Plugin เพิ่ม ดาวน์โหลดที่ https://registry.gimp.org

ดาวน์โหลดและรายละเอียด MyPaint https://mypaint.intilinux.com

via: https://www.howtogeek.com

Calendar Plugin for WordPress ใช้ตัวไหนดี?

เมื่อวานลองหาตัวปลั๊กอินที่จะทำปฎิทินดีๆสักอันให้ WordPress ความต้องการคือ ต้องการให้มันแสดงในหน้า Post แบบเต็มๆ ไม่ใช่ widget ที่ใน WordPress มีให้อยู่แล้ว นอกจากนั้นคือเมื่อคลิกไปที่ปฏิทินในวันที่มี event อะไรสักอย่าง ก็ให้แสดงข้อมูลออกมาเลย เลื่อนเดือนเดินหน้าย้อนหลังได้ มีแสดงแบบเรียงกันเป็นแผนงานได้ด้วย ก็ลองค้นดู ได้ลองหลายๆตัวดังนี้ครับ

  • Calendar ตัวนี้ดีเลย แยกสีของกลุ่มปฎิทินได้ ปรับ css ได้เอง มี Widgets มาให้พร้อมเอาไว้แสดง Upcoming แต่เสียดายมันไม่รองรับภาษาไทย พิมพ์เข้าไปแล้วกลายเป็น ??????? ใครที่มีความรู้เรื่องโค้ดหน่อยน่าจะแก้ได้ไม่ยาก แต่ชั่วโมงนี้ขอลองหาตัวอื่นดูก่อน
  • Editorial Calendar ตัวนี้มีหน้าเพิ่มเข้ามาใน admin เป็นตารางปฎิทิน คลิกวันที่จะใส่ event จะมี popup ขี้นมา แล้วโพสเนื้อหาลงไป พอกด public มันจะสร้าง post หน้านั้นพร้อมรายเอียดให้เลย ดีแต่รายละเอียดของ event ทำมาให้ใส่ได้น้อยไปนิด ปรับแต่งได้น้อย
  • Stout Google Calendar ตัวนี้ไม่มีอะไรมาก เป็นตัวให้นำโค้ดจาก Google calendar มาแปะ แล้วจัดการรูปร่างหน้าตาได้นิดหน่อย
  • Events Calendar ตัวนี้ถือว่าเจ๋งมาก หน้าเพิ่ม event ทำออกมาให้เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก event ที่ใส่ลงไปถ้ามีงานต่อเนื่องยาวหลายวัน สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดง event ตลอดช่วง หรือให้ใส่แค่วันแรกเท่านั้นได้ ข้อเสียคือหน้าไม่ค่อยสวย อาจจะต้องแก้ไขหน้าตาพอควรเพื่อให้เหมาะกับเว็บไซต์
  • My Calendar ตัวนี้น่าจะเรียกได้ว่าสมบูรณ์ที่สุดเมื่อเทียบกับตัวข้างบน จัดการได้ทุกอย่าง แบ่งกลุ่ม ใส่สี แสดงปฏิทินแบบรายเดือน หรือเป็นแบบแผนงานได้ แก้ไข css ได้ มี shortcode เรียกใช้ปฎิทินแบบต่างๆแบบใส่ parameter เข้าไปได้ เยี่ยม เสียที่เป็นเหมือนตัวแรกที่ไม่รองรับภาษาไทย
  • Event Calendar / Scheduler ตัวนี้มีแปลกกว่าตัวอื่นคือ เป็น ajax ติดตั้งแล้วจะสร้างหน้าเพิ่มมาให้อัตโนมัติหนึ่งหน้าไว้แสดงปฏิทิน หน้า default ของปฏิทินสวย แต่ปรับอะไรมากไม่ค่อยได้ ย่อขยายตัวปฏิทินแล้วมันขาดไม่พอดี ตัวเพิ่ม event ก็ไม่ดี
  • Event Calendar 3 for PHP 5.3 ตัวนี้เหมือนจะมีมาให้ แค่ตัวที่แสดงแบบ widget เลยไม่ตรงตามที่ต้องการ

อันที่จริงยังมีอีกหลายตัวที่ยังไม่ได้ลองเล่นดู โดยสรุปจากตรงนี้ถ้าจะให้เลือกในลิตท์ด้านบน ผมเลือกตัว My Calendar เพราะปรับแต่งได้เยอะ แต่อาจจะต้องมาดูว่าทำไมมันไม่รองรับภาษาไทย ถ้าแก้ตรงนั้นได้แล้ว มันก็เป็นปฎิทินที่น่าใช้ที่สุด

แต่ว่าสุดท้ายของการนำไปใช้งานจริง(กับงานนี้) จากโจทย์ด้านบนผมกลับไม่ได้เลือกใช้ปลั๊กอินของ WordPress ที่ลองมา 6-7 ตัวเลย แต่ผมเลือกใช้การใส่ Google calendar  เข้าไปว่างแบบง่ายๆ แล้วเลือกไปใส่ข้อมูลที่ Google แทน เหตุเพราะมันตอบโจทย์ที่เราตั้งไว้หมด แสดงเป็นปฏิทินรายเดือนแบบใหญ่ๆได้ ใส่รายละเอียดของข้อมูลลงไปได้ พบว่าตรงช่องรายละเอียดของการเพิ่ม event ของ Google calendar ใส่โค้ด html ได้ จึงง่ายที่จะใส่ลิงค์เข้าไปในรายละเอียดของ event ได้ ใส่ลิงค์ไปที่สถานที่ปฎิบัติงานได้อีกด้วย แสดงเป็นแบบแผนงานได้ ต้องตั้งให้ปฎิทินเป็นแบบสาธารณะ คนอื่นจึงจะดูข้อมูลได้

Google Carlendar

แสดงแบบเป็นแผนงาน

สรุปคือตอนแรกหาปลั๊กอินสำหรับ WordPress แต่มันไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ก็เลยต้องหาตัวอื่นมาเสริม แต่ก็ถือว่าได้รู้ว่า Calendar Plugin ของ WordPress มีอะไรบ้าง(ยังเหลืออีกเยอะ) แต่อาจจะเป็นประโยชน์ในครั้งหน้าเมื่อต้องทำอะไรประมาณนี้อีก

แก้ปัญหา WordPress แสดงเนื้อหาได้ไม่เกิน 6,000 ตัวอักษร

ปัญหา WordPress แสดงเนื้อหาได้ไม่เกิน 6,000 ตัวอักษร เกิดกับบล็อกผมมานานแล้ว แต่พยายามเลี่ยงปัญหามากกว่าแก้ปัญหามานานเช่นกัน เพราะเข้าใจว่ามันเป็นข้อจำกัดของ WordPress เอง

ปัญหาที่ว่าคือ เมื่อเราเขียนบล็อกที่มีความยาวมากๆ(>6,000 ตัว) เนื้อหาจะไม่โชว์เลย แต่ข้อมูลไม่หายนะ แค่ไม่แสดงเนื้อหาหน้าเว็บ ผมเลี่ยงปัญหาด้วยการ ตัดเนื้อหาออกบ้าง หรือแยกเป็นตอนย่อย วันนี้เลยลองแก้ปัญหาดูว่ามันเกิดจากอะไรกันแน่ มาดู log file ของการแก้ปัญหานี้กัน บันทึกไว้เผื่อมีประโยชน์กับคนอื่น ได้เรียนรู้ระหว่างทางเยอะเหมือนกันนะ

ใครขี้เกียจอ่าน อยากรู้ว่าต้นเหตุเป็นเพราะอะไร เลือนไปอ่านข้อสุดท้ายได้เลย

  1. อันดับแรกลองตรวจดูว่า โพสที่มันไม่แสดงนั้นมีตัวอักษรอยู่เท่าไหร่ เครื่องมือตรวสอบที่ง่ายมากๆ และใกล้ตัวสุด คือ twitter นี้เอง เข้าไปก็อบปี้ code จาก หน้า html แล้วว่างใน ช่อง tweet แล้ว +140 ก็ได้จำนวนตัวอักษรที่แท้จริงแล้ว

    ใช้ twitter นับตัวอักษร

    ตอนนี้ก็พอรู้จำนวนตัวอักษรคร่าวๆแล้ว ว่าจำนวนเท่าไหร่ที่มันไม่แสดงผลหน้าเว็บ

  2. สันนิษฐานแรก database ไม่รองรับหรือปล่าว จึงเข้าไปดู data type ว่าเลือกใช้แบบไหน เมื่อเข้าไปดูพบว่า เป็นแบบ longtext ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 4,294,967,295 ตัว Ref ดังนั้นตัดปัญหา database ไม่รองรับไปได้เลย มันเก็บได้อยู่แล้ว
  3. ข้อต่อมา ลองเอาโพสที่มีปัญหาดังกล่าว(เกิน 6,000 characters) ไปโพสบล็อกอื่นที่ใช้ WordPress เหมือนกัน ข้อนี้จะบอกเราได้ว่า มันเป็นปัญหาเฉพาะบล็อกเรา หรือที่อื่นๆก็เป็น จะบอกได้ว่าเป็นปัญหาที่ WordPress Core หรือ ส่วนเสริมอื่นๆ  ซึ่งได้ผลว่า ที่อื่น ไม่มีปัญหาดังกล่าว แสดงผลได้เป็นปกติ แสดงว่าบล็อกเราเองที่มีปัญหา
  4. ข้อสันนิษฐานต่อมา เป็นปัญหาที่ธีมที่เราเลือกใช้หรือปล่าว ทดลองเอาธีมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไปใช้ที่บล็อกอื่นแล้วดูโพสจากข้อ 3 ว่าแสดงผลได้ไหม พบว่าแสดงได้ปกติ แสดงว่าปัญหาไม่ใช่ธีม
  5. ข้อสันนิษฐานต่อมา ปัญหาอยู่ที่ ปลั๊กอินตัวไหนซักตัว เริ่มไล่ปิดดูทีละตัว และแล้วก็เจอมัน ตัวปัญหาคือ TweetMeme ปิดปุ๊บ content โผล่มาปั๊บเลย ส่วนเรื่องของเทคนิค ว่าทำไม? อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน แต่ปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว
  6. แก้ปัญหาด้วยการ เลิกใช้ TweetMeme แล้วไปใช้ Tweet button ตัว Official ใช้ง่ายๆ แค่เอา code มาวางใน Single.php ในตำแหน่งที่ต้องการ

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งาน สืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1 ของสำนักงาน กปร.

ไปช่วยเขาทำเว็บที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ วิธีการสมัคร มีการประกวด และให้รางวัลด้วย ใครสนใจก็เข้าไปดูได้

เว็บใช้เวลาทำไม่นานมากนัก ส่วนเนื่อหาให้เขาไปปรับแก้ไข และใส่เพิ่มเติมเอง ยังย้ายไปอยู่บน server ของ กปร. ไม่ได้เพราะ server ไม่รองรับ (เขาใช้ aspx) ต้องไป set up เองยังทำไม่สำเร็จ ตอนนี้มันเลยต้องรันอยู่บน subdomain ของบล็อกนี้ คือ https://camp.amphur.in.th หรือถ้าเข้าไปที่หน้าหลักของ https://www.rdpb.go.th/rdpb ยังแก้ปัญหาด้วยการลิงค์มาที่นี้

รายละเอียดของเว็ป

  • แน่นอนมันเป็น WordPress
  • ใช้ธีมของ Academica เป็นธีมฟรีที่เยี่ยมมาก เป็นธีมที่มี slide show มาในตัว และทำระบบเมนูมาดี จนทำให้เข้าใจระบบของ custom menu มากขึ้นว่ามันทำให้การจัดการเรื่องของเมนูง่ายขึ้นมาก และธีมรองรับ image background (WP3.0) มีปรับ CSS นิดหน่อย
  • เพิ่ม Social Plugin ของ Facebook เข้ามาด้วย
  • ใช้ Plugin ที่ชื่อ Mingle Forum ทำเว็บบอร์ด ง่ายและถูกใจ ปรับแต่งได้สะดวก
  • Fancybox ทำให้เวลาคลิกอัลบั้มรูปมันดูดีไฮโซขึ้นอีกเยอะเลย
  • Login-box เวลาคลิกล็อกอินจะแสดงกล่องขึ้นมากรอกเพื่อล็อกอิน ไม่ต้องโหลดหน้าใหม่
  • รูปที่อยู่ข้างในตัดต่อด้วย Pixlr เคยแนะนำไว้แล้วที่ Online Image Editor แต่งภาพออนไลน์ ไม่ต้องลงโปรแกรม ถือว่าใช้ในการทำงานจริงได้สบาย ไม่ต้องง้อ Photoshop

มาบันทึกเก็บไว้เผื่อครั้งหน้าอาจได้ย้อนมาดูว่าทำยังไงบ้าง

ได้เวลาเปลี่ยน Related Post with thumbnail

ผมเลือกใช้ LinkWithin ในการแสดงผลเรื่องที่เกี่ยวข้องท้ายบล็อก(Related Post) มาได้สักพักใหญ่ๆแล้ว ด้วยเหตุผลที่มันแสดงผลได้สวย ลงตัวกับบล็อกของเราพอดี แต่มันมีข้อเสียหลายอย่างที่ทำให้วันนี้ผมต้องเปลี่ยนไปใช้อีกตัวที่คิดว่าดีกว่า

หน้าตาของ Related Post ของ Linkwihtin

สิ่งที่ผมไม่ชอบใน LinkWithin คือ

  • แสดงเนื้อหาไม่เป็น related เอาซะเลย (ใครรู้วิธีตั้งให้มัน relates บอกด้วยนะครับ)
  • แก้ไขอะไรไม่ได้เลย โค้ดมันอยู่ที่เว็บหลักของมัน
  • เวลากดลิงค์จะไปที่เว็บมันก่อนแล้วค่อย redirect มาที่เว็บเรา (อาจจะดีที่เรารู้ว่ามีคนคลิกเท่าไหร่)

แต่ด้วยที่หาตัวอื่นที่ถูกใจมาแทนยังไม่ได้ จึงทนใช้มันเลยมา วันนี้สุดจะทนแล้ว เบื่อมันเต็มทนแล้ว(ช่วงนี้เป็นอะไรไม่รู้ทนอะไรไม่ค่อยได้) จึงลองค้นหาอีกที หาดีๆต้องมี Plugin ที่เราต้องการ หลังจากทดลองลงไป 3-4 ตัว รู้สึกว่า WP-Thumbie คือคำตอบของเรา มันทดแทนข้อเสียของ LinkWithin ได้หมด

Related Post โดย WP-Thumbie

สิ่งที่ผมชอบใน WP-Thumbie คือ

  • แสดงผลแบบ vertical หรือ horizontal ได้
  • มี thumbnail ให้เลือกขนาดได้อิสระ ใส่ตัวเลขได้เลยตามใจชอบ
  • ใส่เนื้อหาบางส่วนลงไปได้ (excerpt)
  • ปรับแต่งได้อิสระ style ถ้าไม่ชอบก็เข้าไปปรับเองได้
  • เลือก  related post แบบไหนก็ได้

LinkWithin หลายคนอาจจะถูกใจมันและยังใช้อยู่อันนี้แล้วแต่ความชอบครับ ส่วนตัวผมบอกลามาพึ่ง WP-Thumbie แล้วครับ

ติดตั้ง Fancybox ให้บล็อก

Fancybox Plugin for WordPress

Fancybox เป็นปลั๊กอินสำหรับ WordPress เมื่อติดตั้งแล้ว เวลาคลิกที่รูปจะแสดงเป็น Lightbox ของภาพใหญ่ขึ้นมา ถ้ามีหลายรูปจะคลิกเลื่อนได้เลย ลองคลิกที่ภาพดูจะรู้ว่ามันแสดงผลยังไง Plugin ประเภทนี้มีเยอะ แต่ที่ผมคิดว่าโอเคคือตัวนี้แหละ จะติดตั้งผ่าน search ในหน้าติดตั้ง Plugin หรือจะโหลดมาติดตั้งเองก็แล้วแต่จะชอบใจ หวังว่าจะชอบมันเหมือนผมนะครับ

Exit mobile version