แนะนำปลั๊กอิน WordPress สำหรับเว็บที่มีนักเขียนหลายคน

ทำเว็บ Biomed.in.th เริ่มจะมีนักเขียนหลายคน ผมถามเพื่อนๆทาง twitter ไปว่ามีปลั๊กอินสำหรับ WordPress ที่ช่วยในการจัดการเว็บที่นักเขียนหลายคนไหม ได้รับคำตอบกลับมาจากหลายคน ผมขอยกตัวที่ผมเอาไปใช้จริงสองตัวมาให้ดู ได้รับการแนะนำมากจาก @sourcode

  1. Role Manager: เป็นปลั๊กอินที่ช่วยในการกำหนดสิทธิ user ให้มีสิทธิในการเข้าถึง หรือปรับแก้ส่วนไหนได้บ้าง ผมใช้เพื่อเวลานักเขียนส่งเรื่องเข้ามา ต้องผ่านการตรวจสอบจาก admin อีกทีเพื่อช่วยกันดูว่าส่วนไหนผิดพลาด และส่วนไหนต้องเพิ่มเติม ก่อนส่งเรื่อยเผยแพร่ การกำหนดสิทธิแยกเป็นเฉพาะตัวบุคคลได้ด้วย เป็นปลั๊กอินที่สำคัญสุดที่ต้องมีในเว็บที่มีนักเขียนหลายคนเมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของ ผู้ใช้ (User) จะมีเมนูเพิ่มเข้ามาให้เราได้ใช้งาน
    User Manager

    เมนู Roles จะสามารถกำหนดสิทธิให้ user ในระดับต่างๆ ได้ทุกระดับขั้น จะลบ เปลี่ยนชื่อ กำหนดสิทธิ เพิ่มใหม่ก็ได้ในหน้านี้

    หน้ากำหนดสิทธิของลำดับขั้นของ นักเขียน

    เมื่อเราต้องการกำหนดสิทธิให้เฉพาะคน สามารถเข้าไปที่ Profile ของ User นั้นๆ แล้วด้านล่างจะมีช่องให้เลือกติ๊กสิทธิของ user คนนั้น

    เมนูกำหนดสิทธิเฉพาะคน

  2. Author Exposed :ปลั๊กอินตัวนี้ เมื่อเราคลิกที่ชื่อของคนเขียน จะมีบ๊อบอัพแสดงรายละเอียดของคนเขียนคนนั้น ขึ้นมาและบอกด้วยว่าเขียนมาแล้วกี่เรื่อง เมื่อคลิกเข้าไปจะแสดงเฉพาะเรื่องที่คนนั้นเขียนไว้ เป็นประโยชน์กับคนเขียนเองเพื่อตรวจสอบว่าตัวเองได้เขียน อะไรไปแล้วบ้าง และคนอ่านอยากติดตามเฉพาะเรื่องของคนนี้ก็สามารถแยกออกมาให้ด้วย วิธีใช้เมื่อลงปลั๊กอินแล้ว ให้ใส่โค้ดนี้แทนในตำแหน่งที่จะแสดงชื่อของคนเขียน
    
    

    ตัวอย่างการใช้งาน  เมื่อคลิกที่ชื่อ จะแสดงรายละเอียด

    คลิกที่ชื่อจะแสดงรายละเอียดของคนเขียน

    See Authors Posts (จำนวนโพสที่เขียนโดยคนนี้) เมื่อคลิกเข้าไปจะเปิดหน้าที่แสดงเฉพาะบทความที่คนนี้เขียน

    แสดงหน้าที่เขียนโดย นักเขียนคนเราสนใจ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังทำเว็บอยู่นะครับ ส่วนปลั๊กอินต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการกรณีมีนักเขียนหลายคนลองเข้าไปดูที่เว็บที่มาครับ

ที่มา : https://www.hongkiat.com
Via : @sourcode

Twitter LiveBlog Plugin เขียนบล็อกง่ายๆด้วย Twitter

Twitter LiveBlog

การเขียนบล็อกโดยการใช้การอับเดตจาก Twitter มีปลั๊กอินอยู่หลายตัว ตัวนี้เป็นหนึ่งในนั้นที่ลองใช้แล้วมันสะดวกดีครับ การทำ Liveblog มักจะเห็นในการรายงานข่าวสด ในงานแถลงข่าวต่างๆ ความสะดวกของปลั๊กอินตัวนี้คือ เราจะเริ่มเขียนได้โดยไม่ต้องเข้าบล็อกเลย ทั้งการโพสหัวข้อขึ้นมาใหม่ หรือปิดการ live ได้โดยใช้ Twitter ทั้งสิ้น

  1. Twitter Liveblog Plugin ดาวน์โหลดตามลิงค์ หรือจะติดตั้งผ่านทางหน้า admin ของ WordPress ก็ได้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ก็ตั้งให้ปลั๊กอิน activate ให้พร้อมใช้งาน
  2. จากนั้นเข้าไป เมนู settings >>Twitter LiveBlog เพื่อตั้งค่าต่างๆของ Twitter Liveblog
    หน้า setting Twitter Liveblog

    ใส่ User Passward ของ account Twitter  แล้วจะจัดหมวดหมู่ของบล็อกได้ที่ไหนก็ตั้งค่าให้เรียบร้อยเพียงแค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย เพียงแค่นี้ก็พร้อมใช้งานแล้วครับ

  3. วิธีการใช้งาน ถ้าต้องการเริ่มเขียนบล็อก ให้ทวีต  //NLB//ตามด้วยชื่อของโพสนั้น เช่น “//NLB// ทดสอบ Twitter Liveblog” ปลั๊กอินจะสร้างโพสชื่อ “ทดสอบ Twitter Liveblog” ขึ้นที่บล็อกของเรา และทวีตต่อๆไปจะเข้าไปอยู่โพสนี้ครับ
  4. เมื่อต้องการหยุดการ Live ก็ให้ทวีต //ELB// บล็อกนั้นก็จะหยุดเอาทวีตจาก Twitter มาแสดง

จำง่ายๆ //NLB// ย่อมาจากคำว่า New Live Blog เวลาจะจบ //ELB//ย่อมาจาก End Live Blog

ลองดูตัวอย่างที่ผมทดลองใช้ตอนที่ไปดูงานบอล ที่บล็อก Live Blog CUTUBall66
ถ้าใครเจอปัญหาเวลาของทวีตไม่ตรง ซึ่งผมก็เจอวิธีแก้ไข เข้าไป Edit ปลั๊กอิน แล้วค้นหาคำว่า $gmttime ให้แก้โค้ดจาก

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (get_option('gmt_offset') * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (get_option('gmt_offset') * 3600);
}

เปลี่ยนเป็น

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (7 * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (7 * 3600);
}

ดาวน์โหลดปลั๊กอิน Twitter Liveblog Plugin

อัปเกรด WordPress 2.7 เป็น 2.8 พร้อมรีวิว Hightlight

WordPress-upgrade

เมื่อวาน(11 มิ.ย. 52)มีการอับเดต WordPress เวอร์ชั่น 2.7 เป็น 2.8 วันนี้เลยอับเกรดบล็อกของตัวเอง ที่ใช้ 2.7 มาเป็น 2.8 วิธีอัปเกรดมีหลายวิธีสามารถดูได้ที่ WordPress.org ที่จริงการอัปเกรดง่ายมากแต่ก็อยากจะเขียนบันทึกไว้ สำหรับใครที่ใช้ WordPress ทำบล็อกอยู่แล้วเรื่องอับเกรดต่างๆของบล็อกที่ทำจาก WordPress ทำได้ง่ายมากถือได้ว่าเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งที่ทำได้ดีกว่า CMS เจ้าอื่นๆ

เริ่มขั้นตอนการอับเกรด

  1. ทำการ back up ข้อมูลของบล็อกไว้ก่อนป้องกันอาจเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งก็มีให้เลือกหลายวิธี
  2. ล็อกอินเข้า admin > เครื่องมือ > อัปเกรด

    tools-WordPress

  3. เลือก อัปเกรดอัตโนมัติ

    update-WordPress

  4. รอสักพัก บางทีอาจจะขึ้น eror ได้ อาจเกิดจากมีปัญหาในช่วงของการดาวน์โหลด ไม่ต้องตกใจ ให้ทำขั้นตอน 2-3 ซ้ำ

    fail-update-WordPress

  5. ถ้าไม่เกิดความผิดพลาดอะไรก็อัปเกรดสำเร็จแล้วจะมีรายงานการอัปเกรด

    update-finish

  6. จากนั้นคลิก รีเฟรสบราวเซอร์ครั้งหนึ่ง WordPress จะถามรหัสเข้า admin panel อีกครั้ง
  7. เมื่อคลิกเข้าดูการอัปเกรด WordPress ก็จะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วครับ

    updated-WordPress

________________________________________________________________________

ยกตัวอย่างอันที่เป็น Highlights ของเวอร์ชั่น 2.8 มาบางตัวแล้วกันนะครับ

  1. drag-and-drop widgetsเคลื่อนย้าย admin interface ได้ตามใจ และมี widget API ใหม่

    drag-drop-WordPress

  2. มี Syntax highlighting (โค้ดมีสี)ใน plugin และ theme editors และมีให้ค้นหาว่าในนั้นมี function อะไรบ้าง
    การแก้ไขโค้ดต่างๆทำให้ง่ายขึ้นมากๆครับ เหมือนนั่งเขียนในโปรแกรม editor เลย
    editor-WordPress

  3. สามารถค้นหา theme พร้อมมีตัวกรอง และติดตั้งได้เลยในหน้า adminตัวกรองค้นหา themes
    theme-seacrh

    สามารถติดตั้ง หรือ ดูก่อนได้เลย

    fillter-theme

  4. การปรับปรุง widgets ใหม่ครั้งนี้ ถูกใจผมที่สุด ทำให้การจัดการ widgets ทำได้ง่ายมากครับ
    แยกชัดเจนอะไรใช้ไม่ใช้ และ slide ด้านขวาที่สามารถแสดงได้พร้อมกัน แต่ก่อนต้องมาคลิก
    ดูทีละอันจะย้ายทีลำบากมาก ตอนนี้สะดวกขึ้นมากครับ อันนี้ให้เต็ม
    news-wigets2

    แยกชัดเจนอันไหนใช้ไม่ใช้

    new-widgets

    slide bar แสดงได้พร้อมกันจัดการง่ายขึ้น

  5. สามารถโหลดหน้า admin ได้เร็วขึ้น

วีดีโอแนะนำ

WordPress backup and restore ไม่ต้องมี plugin

WordPress-backup

บล็อกผมในตอนแรกตัว WordPress จะอยู่ที่ folder ชื่อ 2009 ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ www.amphur.in.th ผมต้องทำ redirect ไปที่ 2009 เว็บไซต์ก็จะเป็นแบบนี้ www.amphur.in.th/2009 ตอนแรกที่ทำแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าเราทำ folder ไว้คงทำให้บริหารจัดการง่ายแต่พอใช้ไปรู้สึกว่าไม่สะดวกแล้ว และไม่เป็นผลดีกับการทำ seo ด้วย จึงต้องการเอา WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก ขั้นตอนในการทำง่ายมากครับ ไม่ต้องลง WordPress plugin แต่อย่างใดเพราะ WordPress มีเครื่องที่จะช่วยให้เราทำการ

backup และ restore ได้เลย เริ่มขั้นตอนการทำเลยแล้วกัน

  1. login เข้าไปใช้งานใน WordPress admin คลิกที่เมนูซ้ายมือในหัวข้อ “เครื่องมือ”
  2. เลือกหัวข้อ “นำออก” ดังรูป

    WordPress-tools

  3. ในหน้าจะแสดงข้อความอธิบายการนำออกดังนี้

    เมื่อคุณกดปุ่มด้านล่าง เวิร์ดเพรสจะสร้าง ไฟล์ XML file สำหรับบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ รูปแบบนี้ เราเรียกว่า เวิร์ดเพรส eXtended RSS หรือ WXR ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วย เรื่อง, หน้า, ความเห็น, custom fields, หมวดหมู่และป้ายกำกับ เมื่อคุณบันทึกไฟล์ดาวน์โหลดแล้ว คุณสามารถใช้คำสั่งนำเข้าในบล็อกเวิร์ดเพรสอื่นเพื่อนำเข้าบล็อกนี้

  4. ทางเลือกให้เลือก “ผู้เขียนทั้งหมด” เสร็จแล้วคลิก ดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ backup ชื่อ WordPress.ปี-เดือน-วัน.xml
  5. จากนั้นผมก็ copy ไฟล์ของ WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก แล้วก็ลบไฟล์ในนั้นทิ้ง
  6. เข้าไปที่ phpmyadmin ของเราทำการ backup database ไว้ก่อนเผื่อเกิดอุบัติเหตุเมื่อ backup เสร็จแล้ว drop ตารางทิ้งเลยครับ
  7. เข้าไปที่ root directory ของเว็บเราลบไฟล์ wp-config.php อันเก่าทิ้งไป และอับไฟล์ wp-settings.php ไปแทนทำเหมือนจะติดตั้งใหม่ จากนั้นก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา www.amphur.in.th รันติดตั้ง WordPress ตามปกติ
  8. เมื่อติดตั้งเสร็จเล้วเข้าไปที่การ “นำเข้า” ตามขั้นตอนที่ 2
  9. เลือกหัวข้อ WordPressดังรูป

    WordPress-restore

  10. คลิก browse ไปที่ไฟล์ที่เราทำไว้ในขั้นตอนที่ 4 ที่เราเรียกว่าไฟล์ WXR เสร็จแล้วคลิกอับโหลด
  11. เข้าไปตรวจสอบเนื้อหา ต้องแก้ที่อยู่ของไฟล์ภาพ และ plugin จะใช้ไม่ได้(ลบออกลงใหม่)

ข้อดี วิธีนี้อาจจะไม่ดีแต่เป็นวิธีที่ผมทดลองใช้รู้สึกว่าเร็วดี อาจจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แต่ผมไม่รู้เลยต้องใช้วิธีนี้
ข้อเสีย plugin อันเก่าที่ติดตั้งไว้ใช้งานไม่ได้ และ widget ก็หายด้วย

Exit mobile version