วิธีติดตั้ง OSX Maverick ผ่านทาง USB drive ฉบับย่อและง่าย

วิธีติดตั้ง OSX Maverick ผ่านทาง USB drive ดูมาหลายอันพบว่าแบบนี้ง่ายและเร็วสุดแล้ว จึงเอามาบันทึกเก็บไว้รายละเอียดไม่เยอะ จะได้ง่าย เห็นภาพขั้นชัดเจน เอามาจาก cnet

ก่อนจะติดตั้ง OSX Maverick แบบ clean install ไม่ใช่การอัพเดตผ่านทาง App Store ต้องเตรียม Bootable USB drive ก่อนความจุขั้นต่ำ 8 GB

  1. Format USB drive เลือก Mac OS Extended (Journaled) และให้ชื่อ “Untitled” (ข้อนี้สำคัญ)
  2. ดาวน์โหลด OSX Maverick จาก App Store กด Shift ค้างไว้ตอนกดโหลด(กรณีที่เครื่องอัพเดตไปแล้ว)
  3. เช็คก่อนว่าไฟล์ install อยู่ที่โฟล์เดอร์ Application
  4. เปิด Terminal ใส่ sudo /Applications/Install\ OS\ X\ Mavericks.app/Contents/Resources/createinstallmedia –volume /Volumes/Untitled –applicationpath /Applications/Install\ OS\ X\ Mavericks.app –nointeraction
  5. รอประมาณ 20-30 นาที ก็จะได้ bootable OS X Mavericks USB install drive มาใช้งานแล้ว

ตอนใช้งาน เสียบเข้าเครื่องตอนเปิดเครื่องกด Option ค้างไว้ เลือกติดตั้ง OSX จาก USB จะล้างเครื่อง ลบข้อมูลอันเก่าก่อนหรือไม่อันนี้ตามสะดวก

Terminal

 

หลังกด Option ค้างจะเห็น drive ให้เลือกเข้า

 

เลือกติดตั้ง OSX

 

เลือก Drive ที่จะติดตั้ง OSX

 

ระบบเริ่มการติดตั้ง OSX Mavericks แล้ว

วิธีลดขนาดไฟล์ PDF ใน OSX และวิธีปรับแต่ง(Reduce File Size) ให้เหมาะสม

เวลาเราแปลงภาพเป็น PDF หรือ แปลงไฟล์จากเครื่องแสกนเป็น PDF สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆคือไฟล์ PDF ที่ได้มันมีขนาดไฟล์ใหญ่มาก ทั้งๆที่มีเพียงไม่กี่หน้า มีปัญหาเวลาจะต้องส่งอีเมลอยู่บ่อยครั้ง ใน OSX สามารถใช้โปรแกรม Preview ย่อขนาดไฟล์ PDF ลงได้

วิธีลดขนาดไฟล์ PDF ใน OSX ด้วยโปรแกรม Previes 

  1. เปิดไฟล์ PDF ตัวนั้นด้วยโปรแกรม Preview ขึ้นมา
  2. คลิกเลือกที่เมนู File>>Save As…
  3. เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ เลือก Format เป็น PDF และเลือก Quartz Filters เป็น Reduce File Size

    Reduce file size

  4. กด Save

ปัญหาที่เกิดขึ้น 

Size after reduce

มันย่อไฟล์ขนาด 25.8 MB ให้เหลือแค่ 82 KB ย่อลงได้เยอะมากก็จริง แต่เมื่อดูเนื้อไฟล์แล้วมันแย่มาก(ดูภาพด้านบน) ถ้าเป็นไฟล์ PDF ที่เป็น text ค่อนข้างใช้ได้เลย แต่อันนี้เป็นภาพที่แสกนเข้ามาทำให้การเลือก Reduce File Size ที่เป็นค่า Default ของเครื่องทำให้ได้ไฟล์ที่แย่มาก

วิธีแก้ไขก็คือตั้งค่าการบีบอัดข้อมูลของ Reduce File Size ใหม่ ไม่ให้บีบอัดมากจนเกินไป ให้ย่อขนาดลงมากที่สุดแต่ก็ยังสามารถอ่านเนื้อหาได้อย่างชัดเจน

วิธีปรับแต่งตัวลดขนาดไฟล์ PDF (Reduce File Size)ใน OSX 

  1. เปิดเข้าไปที่ Finder เลือก Go to Folder…
    ใส่ค่านี้เข้าไป /System/Library/Filters คลิก Go
    นั้นคือเราจะเข้าไปที่โฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์การตั้งค่าการบีบอัดไว้เพื่อเข้าไปแก้ไข

    Go to Folder

  2. เราจะเห็นไฟล์ที่เป็น qfilter อยู่หลายอัน ให้ Copy ไฟล์ที่ชื่อ Reduce File Size.qfilter ออกมา วางไว้ที่ไหนก็ได้(แนะนำ Desktop) แล้วแก้ไขไฟล์นี้ใหม่ด้วยโปรแกรม TextEdit <–ใช้โปรแกรมนี้เปิด
  3. จุดสนใจที่ควรแก้ไขคือ
    <key>ImageSizeMax</key>
    <integer>512</integer> (ขนาดที่ผมใช้คือ 1684 ประมาณ 144dpi ใน A4)<key>ImageSizeMin</key>
    <integer>128</integer> (ขนาดที่ผมใช้ คือ 842 ประมาณ 72dpi ใน A4)

    <key>Name</key>
    <string>Reduce File Size</string> (ควรแก้ชื่อให้ต่างจากเดิมจะได้เลือกได้ถูก เปลี่ยนเป็น Reduce File Size 2 )

  4. กด save จากนั้นเปลี่ยนชื่อไฟล์ใหม่ เมื่อเอากลับไปวางที่เดิมจะได้ไม่ทับของเดิม เปลี่ยนเป็น Reduce File Size 2.qfilter
  5. Copy ไฟล์ที่แก้ไขแล้วไปวางไว้ที่เดิม /System/Library/Filters

ทดลองลดขนาดไฟล์ PDF ด้วย Filter ตัวใหม่ที่เราสร้างขึ้นมา จะเห็นได้ว่าตัว Filter ใหม่ที่เราสร้างจะเพิ่มเข้ามาอยู่ในลิสต์ที่สามารถเลือกได้แล้ว

Filter ที่ได้สร้างใหม่

เลือก Reduce File Size 2 แล้วกด Save จากนั้นตรวจดูคุณภาพของไฟล์ที่ได้อีกที

ขนาดไฟล์ลดลงเหลือ 4 MB คุณภาพในขณะยังอ่านตัวหนังสือชัดเจนอยู่

หากคิดว่าอยากย่อให้ได้มากกว่านี้ ก็แก้ไขค่า ImageSizeMax และ ImageSizeMin ลงอีกได้ตามความเหมาะสม

บล็อกตอนนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการย่อ PDF ให้มีขนาดเล็กแต่ไม่อยากให้คุณภาพของไฟล์เสียไปมากเกินไปนัก ลองเอาไปปรับใช้กับการทำงานของตัวเองให้เหมาะสมครับ

ข้อมูล https://hints.macworld.com

วิธีลบแอพพลิเคชั่นซ้ำตอนคลิกขวา Open With ใน Mac

รู้สึกรำคาญไหมครับ ตอนที่จะเปิดไฟล์สักอันในเครื่อง Mac ด้วยการคลิกขวา แล้วใช้ Open With จะมีบางแอพพลิเคชั่นที่มันขึ้นซ้ำๆกันโชว์ขึ้นมา แบบในรูปตัวอย่างครับ

Open With

ลงค้นดูพบว่ามีวิธีแก้ไขด้วยการ reset Launcher ใหม่ เพื่อให้มันสร้าง index ใหม่ มีหลายวิธี ทั้งการแก้ไขผ่านทาง Terminal ดูที่ลิงค์นี้ “How To Remove Duplicate Apps In Mac’s Right Click “Open With” Menu” และแก้ไขผ่านทางโปรแกรม วิธีที่น่าจะง่ายที่สุดสำหรับคนทั่วไป อย่างผม อย่างท่านๆหลายๆคน ก็คือใช้โปรแกรม OnyX ช่วย มีโปรแกรมอื่นด้วยนะแต่บางอันเสียตังค์ ดูขั้นตอนการแก้ไขได้เลย ง่ายมาก

วิธีลบแอพพลิเคชั่นซ้ำตอนคลิกขวา Open With ใน Mac

1. ดาวน์โหลด OnyX (คลิกดาวน์โหลด) ติดตั้งให้เรียบร้อย

2. เปิดโปรแกรมขึ้นมา เข้าไปที่เมนู Maintenance >>Rebuild >>ติ๊ก LaunchService >>คลิก Execute

OnyX

3. เรียบร้อย ลองเปิดดูอีกครั้ง

Open With ที่ไม่มี Duplicate Apps แล้ว

หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

ไฟล์ที่ Save บน iCould ที่เครื่องเราเก็บไว้ไหน?

เรื่องมีอยู่ว่าตอนที่ลอง save ไฟล์ Keynote รวมทั้งไฟล์อื่นๆด้วย ไปเก็บไว้บน iCloud ตอนเปิดใช้งาน แก้ไข ก็สะดวกดี แต่กับมีปัญหาตอนเราจะส่งไฟล์นี้ให้คนอื่น เพราะดันหาที่อยู่ของไฟล์ต้นฉบับไม่เจอ(มันเอาไปเก็บไว้ไหนฟะ?) จะ save as ก็ไม่มีเมนูนี้ ตอนนั้นก็ใช้วิธีบ้านๆคือ Duplicate ขึ้นมาอีกอันแล้วค่อยกด save ไว้ข้างนอก iCloud

iCloud

พอมีเวลาค่อยมาหาข้อมูลว่าไฟล์ที่เรา save ไว้บน iCloud ตำแหน่งที่ของไฟล์อยู่ในเครื่องเราอยู่ตรงไหน ก็ไปเจอที่บทความนี้ ใน OSX Daily ง่ายมาก ทำ 2 ขั้นตอน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง

  1. เปิด Finder ขึ้นมา กด Command+Shift+G หรือคลิกที่ Go>Go to Folder  ก็ได้ พิมพ์ ~/Library/ เข้าไปในช่องค้นหา

    Go to Folder

  2. เลื่อนหาโฟว์เดอร์ที่ชื่อ “Mobile Documents” ไฟล์ทั้งหมดอยู่ในนั้นโดยแยกตามโปรแกรมต่างๆ ถ้าอยากเข้าถึงง่ายๆในครั้งหน้า ก็คลิกขวา Make an alias แล้ว Drag โฟว์เดอร์ไปวางไว้ที่ Favorites Sidebar ได้เลย

    Mobile Documents

น้องจากนี้ พวกโปรแกรมอื่นๆที่เราใช้ใน iOS ที่เลือก Save ขึ้น iCloud ไฟล์ก็ถูก Sync มาที่นี้เหมือนกัน เช่น รูปจากโปรแกรม SketchBook ใน iPod ก็เห็นในนี้เหมือนกัน

Wallpaper สำหรับจอแบบละเอียดของ Macbook Pro with Retina display

Macbook Pro with Retina display

Macbook Pro ตัวใหม่ของ Apple ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อ 12 มิ.ย. 2012 ที่ผ่านมา มีหน้าจอเป็น Retina display ขนาด 2880 x 1800 pixels ในจอขนาด 15 นิ้ว ด้วยความละเอียดระดับ 220 ppi ซึ่งจอที่ละเอียดสูงขนาดนี้ เป็นการยากเหมือนกันที่จะหา wallpaper ที่เหมาะกับจอขนาดนี้ได้(แบบสวยๆด้วยนะ) ไปเจอในเว็บ cultofmac ซึ่งเป็นภาพของ NASA ที่นาย Rob Sheridan เอามาปรับให้เหมาะกับ Retina display แล้วแชร์ใน Flickr  เป็นภาพของกลุ่มดวงดาว ดาวเคราะห์ กาแล็กซี่ มาแนวเดียวกับ wallpaper ที่มักมาพร้อมกับ Mac OSX อยู่แล้ว และภาพไม่ได้มีแค่ความละเอียดสำหรับ Macbook Pro with Retina display เท่านั้น หน้าจออื่นๆทั่วไปก็มีให้เลือกโหลดเช่นกัน ภาพสวยๆทั้งนั้นเลย

เลือกดาวน์โหลดได้ตามความพอใจ จากลิงค์ด้านล่างของภาพได้เลยครับ

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

วิธีใช้ Dropbox สองบัญชีพร้อมกันในเครื่องเดียว สำหรับเครื่อง Mac

Dropbox

ผมมี Dropbox อยู่สองบัญชี อันแรกเป็นตัวที่ใช้บ่อย ทำงานต่างๆบนตัวนี้เป็นหลัก(24 GB) ส่วนอีกบัญชี(13 GB) ไฟล์ที่นานๆจะถูกเรียกใช้งานสักครั้งจะถูกเก็บไว้ที่นี้ ตอนใช้ Windows จะใช้วีธีตามลิงค์นี้ในการเปิดใช้งานสองบัญชีพร้อมกัน ส่วนการใช้บน Mac OS X ทำได้ง่ายกว่ามาก ดังนี้ครับ

วิธีใช้ Dropbox สองบัญชีพร้อมกันในเครื่องเดียว สำหรับเครื่อง Mac

  1. เปิดโปรแกรม Terminal
  2. พิมพ์คำสั่ง
    bash

    กด enter

  3. ใช้คำสั่ง(copy ไปวาง)
    HOME=$HOME/.dropbox-alt /Applications/Dropbox.app/Contents/MacOS/Dropbox &

    กด enter

  4. dropbox อีกบัญชีจะโชว์ขึ้นมาบน menu bar แล้ว
    Dropbox สองบัญชีรันพร้อมกัน

ข้อมูลจาก: https://www.makeuseof.com/

DMesh โปรแกรมเปลี่ยนภาพธรรมดาให้เป็นงานศิลป์สุดล้ำ

DMesh

DMesh เป็นโปรแกรมเปลี่ยนภาพธรรมดาให้อยู่ในรูปแบบภาพสามเหลี่ยมประกอบกัน ผลลัพท์ที่ได้น่าทึ่งมาก ลองเล่นโปรแกรมนี้เมื่อวานรู้สึกชอบมากเลย เป็นโปรแกรมขนาดเล็ก 1 MB เท่านั้นแต่ภาพเวกเตอร์สามเหลี่ยมที่มันสร้างขึ้นมาจากภาพธรรมดา ดูสร้างสรรค์และเท่มาก

วิธีใช้ เพียงแค่เลือกภาพเข้ามา แล้วโปรแกรม DMesh จะคำนวณแล้วสร้างภาพให้ เราสามารถปรับแต่ภาพได้นิดหน่อย รุ่นที่เล่นอยู่เป็นแบบฟรี ถ้าเป็นรุ่น Pro แบบจ่ายตังค์จะตกแต่งจุดและสีได้มากกว่า แต่รุ่นฟรีที่ลองเล่นก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว เมื่อเราตกแต่งภาพต่างๆจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ส่งภาพออกไปเป็นภาพแบบ Bitmap, Vector หรือ OBJ ได้เลยทันที ดูตัวอย่างได้ที่ด้านล่างนี้เลยครับ

จุดที่ควรใส่ใจเมื่อต้องการให้ภาพออกมาดี คือ ขนาดของภาพที่เหมาะสม และสีสันของภาพต้นแบบ

ภาพที่ 1

Before: 1 ที่มา: https://goo.gl/UzwcJ
After: 1

ภาพที่ 2

Before 2: https://goo.gl/OAZqK
After: 2

ภาพที่ 3

Before: 3 ที่มา: https://goo.gl/vJeCw
After: 3

ดาวน์โหลด DMesh ฟรี ได้ที่ https://itunes.apple.com/us/app/dmesh/id480992638?mt=12

รองรับ : OS X 10.6.6 ขึ้นไป

ขนาด: 1 MB

ลองดูตัวอย่างอื่นๆที่ผมลองเล่นดูครับ

วิธีลบ Windows Applications ออกจาก Spotlight

เครื่องผมลง Parallels desktop ไว้ด้วย หลักๆใช้งานทางด้านเอกสารพวก MS Office ภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทำใน MS Office for Mac พอได้ สิ่งที่น่ารำคาญอย่างหนึ่งคือ Windows Applications มันจะเข้ามาอยู่ใน Spotlight ด้วย

จึงค้นหาวิธีซ่อน Windows Applications ออกจาก Spotlight ไปเจอที่นี้ ลองทำตามแล้วก็ได้ผลตามที่หวัง

ตัวอย่างการค้นหาที่มี Windows Applications เข้ามาด้วย โดยเฉพาะจะเปิด terminal ใน OSX ตัวที่อยากเปิดดันไม่อยู่ในลิตส์ซะนี้

ผลการค้นหาที่มี Windows Applications

จะเอา Applications พวกนี้ออกก็คลิกไปที่ Spotlight Preferences อยู่ด้านล่าง หรือจะเข้าผ่านทาง System Preferences ก็ได้

พอเข้าไปแล้วจะตั้งให้ Spotlight ค้นหาเฉพาะไฟล์อะไรบ้างก็กำหนดจากส่วนี้ แต่ถ้าอยากจะเอา Windows Applications ออกให้เข้าไปที่ Privacy

Spotlight setting

เมื่อเข้าไปที่ Privacy  คลิกที่ปุ่มบวก คือเราจะเพิ่มส่วนที่ไม่ต้องการให้แสดงผลเพิ่มเข้าไป

เพิ่มส่วนที่ไม่ต้องการให้แสดงผลใน Spotlight

จากนั้นเลือกโฟล์เดอร์ที่เราไม่ต้องการให้แสดงผลใน Spotlight ในที่นี้เราไม่ต้อง Windows Applications ก็เลือกเพิ่มเข้ามา

เลือกโฟล์เดอร์ที่ไม่ต้องการให้แสดงผลใน Spotlight

ตัว Windows Applications อยู่ในโฟว์เดอร์ชื่อ Application(Parallels)

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ลองค้นหาดูอีกครั้ง

ค้นหา terminal

ผลการค้นหาไม่มี Windows Applications มากวนใจอีกแล้วครับ ที่จริงทิปนี้มันง่ายและสั้นมาก เป็นการอธิบายจากประโยคแค่สองบรรทัดของคนตอบคำถามจากที่มาที่ใส่ลิงค์ไว้ข้างบน แต่ผมอยากอธิบายแบบละเอียดและเห็นภาพ คนอื่นที่ทำตามจะได้ทำได้ง่ายๆ

สวัสดีครับ

ทิปเล็กๆ ของ Spotlight ใน OSX

Spotlight เป็นระบบ search ร่วมกับเป็นตัว launcher ด้วยใน OSX เมื่อเราค้นเจอแล้วก็เปิดขึ้นมาได้ทันที ในตอนแรกใช้งานมันค้นหาไฟล์เอกสารแล้วเปิดขึ้นมา แต่ตลกดีที่เราหาที่อยู่ของไฟล์นั้นในเครื่องไม่เจอ จะเอาไฟล์นั้นส่งอีเมลทำเอางงไปหลายนาที ความจริงแล้วเวลาค้นเจอในลิสต์ที่แสดงผลการค้นหา เราก็เลือกให้แสดงใน Finder ได้โดยคลิกที่  Show All in Finder ถ้าเว็บหรือโปรแกรมนั้น Drag and Drop ได้ก็ดีไป แต่ต้องหาที่อยู่จริงๆ ก็ต้องมาคลิก Get info อีก หรือน่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้? ก็เป็นได้แต่ไม่รู้

ไปเจอทิปเล็กๆ อันหนึ่งมา แบบนี้แหละที่คิดว่าง่ายสุดแล้ว ใช้ได้จริง เหมาะกับเราที่สุด นั้นคือ การค้นหาใน Spotlight แล้วลากลง Desktop หรือ E-mail ไปเลยง่ายดี  

ลากไฟล์ไปไว้ที่ Desktop ได้เลย

การลากไฟล์แบบนี้จะเป็นการ Copy ไฟล์ไม่ใช่การย้ายที่อยู่นะครับ

อีกแบบหนึ่งคือ ลากจาก Spotlight ไปที่หน้าส่งอีเมลเลยอันนี้สะดวกสุดๆ

ลากเข้าไปที่หน้าส่งอีเมลได้เลย

บางทีคนอื่นอาจจะรู้หมดแล้ว แต่ผมพึ่งจะรู้ว่ามันทำแบบนี้ได้ ก็เลยมาบันทึกไว้ครับ เผื่อคนที่ไม่รู้แบบผมได้เอาไปใช้บ้าง

เปิดการทำงาน Find My Mac และทดลองใช้งาน

ฟีเจอร์ตัวหนึ่งที่มาพร้อมกับ OSX Lion 10.7.2 คือ iCloud ซึ่งเป็นบริการเก็บข้อมูลไว้บนคอมพิวเตอร์กลุ่มเมฆ ลองดูวิธีการเปิดการใช้งานที่บล็อกอันเก่าที่ วิธีติดตั้ง iCloud ในเครื่อง Mac และ Windows หนึ่งในนั้นจะมี Find My Mac ที่จะช่วยให้เราติดตามตัวเครื่อง Mac ของเราได้ เมื่อโดนขโมย เหมือนกับ Find My iPhone นั้นเอง และสามารถควบคุมเครื่องในระยะไกลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เล็กน้อย ได้แก่ ส่งข้อความไปที่เครือง สั่งล็อกเครื่อง หรือลบข้อมูลในเครื่อง Mac ของเรา ในกรณีที่คุณอาจมีข้อมูลลับที่ไม่ต้องการให้ใครเห็นก็ทำได้

เครื่องของผมหลังจากได้อัพเดตเครื่องให้เป็น 10.7.2 จะมีฟีเจอร์ iCloud เพิ่มเข้ามาแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดการทำงาน Find My Mac ได้ ทิ้งปัญหานี้ไว้นานแล้ว เมื่อวานเลยนั่งดูว่าจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง จึงเกิดโพสนี้ขึ้นมา

เปิดการทำงานของ Find My Mac ไม่ได้

มันฟ้องให้อัพเดต Recovery system ตลอดเรา แม้ว่าเราจะสั่งอัพเดตไปแล้วก็เป็นเหมือนเดิม จึงลองค้นดูว่ามีคนเจอปัญหาในลักษณะนี้บ้างหรือไม่ พบว่ามีคนเจอปัญหาแบบนี้เยอะพอสมควร เลยลองเลือกทำตามขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาของหลายๆเว็บพบว่า ที่นีให้รายละเอียดค่อนข้างดี https://www.macosliontips.com ทำตามแล้วมันสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้เลยเอามาเล่าต่อ

วิธีแก้ไขปัญหาเปิดการทำงาน Find My Mac ไม่ได้

จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาหลายวิธี บางคนแก้ไขได้ตั้งแต่วิธีแรก ลองทำตามไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าทั้งหมดนี้แก้ไขไม่ได้ ต้อง install OSX Lion ใหม่เลยแบบ Clean install ซึ่งเป็นอะไรที่ขี้เกียจมาก โชคดีของผมแก้ไขได้ในวิธีที่ 3

วิธีที่ 1 Enable Location Services

ให้เปิดใช้งาน Location Services ซึ่ง Find My Mac ต้องการใช้งานเพื่อระบุตำแหน่งของเครื่อง วิธีเปิดใช้งาน เข้าไปที่ System Preferences เลือก Security & Privacy ดูว่าที่ Enable Location Services ถูกติ๊กหรือไม่ ถ้ายังให้ติ๊กเลือกเพื่อเปิดการทำงาน แล้วลองกลับไป iCloud setting อีกครั้งเพื่อดูว่าสามารถเปิดการทำงานของ Find My Mac ได้หรือยัง ถ้ายังไม่ได้ต้องดูวิธีแก้ไขตัวต่อไป

Enable Location Services

วิธีที่ 2 Reinstall Lion Recovery Update

บางทีการเชื่อมต่อกับ server ตัวอัพเดตอาจจะมีปัญหา ดังนั้นลองดาวน์โหลด ตัว Recovery System มาติดตั้งเอง  https://support.apple.com/kb/DL1464 เมื่อติดตั้งเสร็จ restart รอบหนึ่งแล้ว เข้าไปดูว่าเปิดการทำงานของ Find My Mac ได้หรือยัง ถ้ายังดูขั้นตอนต่อไป

วิธีที่ 3 Repair Disk and Reinstall Client Combo Update

วิธีสุดท้ายนี้ค่อนข้างยากขึ้นนิดหนึ่ง นั้นคือสั่ง repair disk และลงตัวอัพเดต OSX Lion 10.7.2 ใหม่ แบบ Client Combo

  1. สั่ง Verify Disk โดยเข้าไปที่ Disk Utility (/Applications/Utilities) คลิกที่ฮาร์ตดิสที่ติดตั้ง OSX อยู่ แล้วคลิก Verify Disk อาจเจอข้อความ error ขึ้นมา

    สั่งให้ทำการ verify disk

  2. restart เครื่อง แล้วกดปุ่ม alt/option ค้างไว้ เลือกบูธใน recovery disk
    บูธเข้า Recovery HD

    จากนั้นเมื่อมี Mac OS X Utilities ปรากฏขึ้นมาให้เลือก Disk Utility

    เลือก Disk Utilites

    เลือก Disk ที่ลง OSX แล้วกด Repair Disk

    กด Repair Disk

    เมื่อ repair เสร็จแล้ว ให้รีบูตอีกครั้ง

  3. โหลดตัว OS X Lion Update 10.7.2 Client Combo มา https://support.apple.com/kb/DL1459 แล้วกดติดตั้ง เสร็จแล้ว restart อีกครั้ง
  4. เข้าไปดูที่ iCloud setting พบว่าตอนนี้สามารถ เปิดการทำงานของ Find My Mac ได้แล้ว(เย้ เย้)
    เปิดการทำงาน Find My Mac

    ขั้นตอนการแก้ไขในกรณีที่เปิดการทำงาน Find My Mac ไม่ได้ จบลงด้วยดี ถ้าใครที่ทำแล้วยังไม่สามารถเปิดการทำงานได้ อยากให้ลองรีสตาร์ทเครื่องอีกสักรอบสองรอบ ถ้ายังไม่ได้ทางสุดท้ายคือลง OSX Lion ใหม่แบบ clean install

ทดสอบการใช้งาน Find My Mac

หลังจากเปิดใช้งานแล้ว มาทดสอบดูสักเล็กน้อยในการใช้งาน Find My Mac

  1. เข้าไปที่ iCloud.com ล็อกอินด้วย Apple ID
  2. เข้าไปที่ Find My iPhone (ไม่ต้องงงครับมันอยู่ที่หน้าเดียวกัน)

    iCloud.com

  3. จะเห็นว่าเครื่องของเราตอนนี้อยู่ที่ไหน

    ตำแหน่งของเครื่องปัจจุบัน

  4. นอกจากนั้นเรายังสามารถทำการควบคุมเครื่องจากระยะไกลได้ดังนี้ครับ
    คำสั่งต่างๆที่ทำได้

    ส่งข้อความไปที่เครื่องพร้อมเสียงเตือน ล็อกเครื่อง ลบข้อมูล(ต้องสั่งล็อกเครื่องก่อน) เตือนให้ส่งอีเมลหาเราเมื่อตรวจพบเครื่อง

    หน้าสั่งล็อกเครื่อง

  5.  ทดลองส่ง ข้อความดูครับ
    ลองเขียนข้อความ แล้วกดส่งดู

    เมื่อมันเข้ามาที่เครื่องจะมีข้อความที่เราเขียนและมีเสียงเตือนขึ้นดังขึ้น(เสียงน่ารำคาญมาก) ทดลองใช้ภาษาไทยแล้ว ทำงานได้ปกติดีครับ

    ข้อความที่ส่งเข้าเครื่อง

พอเปิดใช้งาน Find My Mac ได้แล้ว หวังอย่างยิ่งว่าจะไม่ได้ใช้งานมันจริงๆนะ(ไม่อยากทำเครื่องหาย) แต่อย่างไรก็ตามมีไว้ก็เป็นเรื่องดี ถ้าหายจริงๆก็ยังพอมีเครื่องมือช่วยติดตาม หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเช่นกันครับ
Exit mobile version