แนะนำบล็อกเกี่ยวกับ Medical Microbiology ของคนใกล้ตัว

Noobnim.in.th

ขอแนะนำบล็อกคนใกล้ตัวครับ Noobnim.in.th บล็อกของ @ac_nim แม้ว่าตอนแรกจะพยายามชักชวน ชักจูงยังไง ไม่เคยจะสนใจเขียนเลย(แรงดึงดูดไม่พอ!) สุดท้ายต้องขอบคุณบล็อกของ @khajochi https://www.khajochi.com ที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เธอลุกขึ้นมาเขียนบล็อกของตัวเองบ้าง (ก็ทั้งหวานและโรแมนติกซะขนาดนั้น) ผมเลยได้เป็นหน่วย support ให้อย่างเต็มที่ ทั้ง Domain และ Hosting ก่อนหน้าที่จะมาเป็นบล็อกส่วนตัว ให้ลองไปเขียนบน WordPress.com ก่อน ซึ่งเคยเตรียมไว้ให้นานแล้วเหมือนกัน ตอนแรกคิดว่าคงจะเห่อแค่พักๆ แต่ผ่านมา 4 เดือนกว่าแล้ว ยังเขียนอยู่เป็นระยะๆ แสดงว่าคงจุดติดไปแล้ว ในฐานะผู้สนับสนุนเลยจะช่วยโปรโมทให้อีกทางครับ

Noobnim.in.th เรื่องที่เธอเขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเธอโดยเฉพาะ(ก็มันบล็อกส่วนตัวนิ) แต่ที่เน้นสุดคงจะเป็นเรื่อง จุลชีววิทยา ทางการแพทย์ (Medical Microbiology) ในระดับ Advanced สุดๆ เอาไว้อ่านเตรียมสอบกันเลยทีเดียว แต่คนที่สนใจทั่วไปรู้เรื่องชีววิทยาบ้างก็อ่านสนุกได้เหมือนกันครับ บางเรื่องที่น่าสนใจผมก็ขออนุญาติเอาไปลงไว้ที่ Biomed.in.th เหมือนกัน แต่เราๆท่านๆอาจจะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษสำหรับบ้างเรื่อง แต่ผมว่านี้คือสิ่งสำคัญนะ เมื่อบล็อกมันก็เหมือไดอารี่ส่วนตัวของเรา เราเน้นเขียนเตือนความจำตัวเอง พูดง่ายๆคือ เขียนให้ตัวเองอ่าน ส่วนการเปิดให้คนอื่นเข้ามาอ่านได้ จนกระทั้งมีคนคอยติดตามอ่านตลอดนั้นเป็นผลพลอยได้ต่างหาก ยังไงซะจะต้องมีคนสนใจในเรื่องที่เราเขียน แม้มันจะเฉพาะทางมากๆก็ตาม

ส่วนเรื่องเบาๆที่น่าติดตาม เช่น ฟุตบอล หนัง นิยาย หนังสือ ก็มีให้อ่านเหมือนกันครับ

ตัวอย่างโพสที่น่าสนใจ

ขอเชิญชวนให้ติดตาม Noobnim.in.th ได้ที่

  1. URL:  www.nobnim.in.th
  2. Feed: https://feeds.feedburner.com/noobnim
  3. Twitter: @ac_nim

ปล. ใครอยากลุกขึ้นมาเขียนบล็อกของตัวเองบ้าง ผมยินดีให้คำปรึกษาเต็มที่เลยนะครับ สนับสนุนเต็มที่

วิธีใส่เอกสารอ้างอิงด้วย EndNote X2 ตอนที่ 2

เขียนเกี่ยว EndNote ตอนที่ 1 ไว้นานมาก จนลืมไปแล้ว วันนี้ได้ฤกษ์ดีเปิดเข้ามาเขียน เอาให้ได้ประโยชน์กับคนทั่วไปที่ต้องใช้งานมัน โปรแกรม EndNote คือโปรแกรมที่ใช้ทำ เอกสารอ้างอิง(Reference) ในบทความวิจัย หรืออะไรก็ตามที่ต้องการระบุที่มาอย่างเป็นระบบ วิธีการใส่เอกสารอ้างอิงด้วย EndNote ทำได้หลายวิธี วิธีที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นวิธีที่ผมใช้ และคิดว่ามันง่ายเร็วและสะดวกที่สุดแล้ว นั้นคือไปดึงรายละเอียดจากเว็บที่มีรายละเอียดของเอกสารที่เราอ้างถึงมาแสดง ส่วนอันไหนไม่มีก็เขียนขึ้นเอง EndNote ทำได้อยู่แล้ว เริ่มเลยก็แล้วกัน

ขั้นตอนการค้นหาเอกสารอ้างอิงและ Import เข้า EndNote X2

  1. ติดตั้งโปรแกรม EndNote X2 ให้เรียบร้อย ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ใน ตอนที่ 1
  2. เข้าไปค้นหาเอกสารที่เราอ้างถึงที่เว็บ https://www.scopus.com ถ้าอยู่นอกมหาลัยต้องเข้าผ่าน VPN
  3. เมื่อค้นเจอแล้ว ให้ติ๊กเลือกหน้าชื่อเอกสารที่เราต้องการ สามารถเลือกได้หลายอันพร้อมกัน แล้วคลิก Output

    เลือกเอกสารที่ต้องการ

  4. เมื่อคลิก Output แล้ว จะเจอหน้าให้เลือกว่าต้องการ export ไฟล์แบบไหน ต้องการข้อมูลอะไรบ้าง
    – เลือก Select the desired output type ให้เป็น Export  เป็นค่าเริ่มต้นอยู่แล้ว
    – Export format เลือกเป็น RIS format (Reference Manager,ProCite,EndNote) <<เห็นไหม มี EndNote ด้วย
    – Output ต้องนี้จะเลือกเป็น Citations Only หรือ Complete format ก็ได้ แล้วแต่ความต้อง ลองคลิกดูก่อนก็ได้ ด้านล่างจะแสดงว่าข้อมูลแต่ละอันจะได้อะไรไปบ้าง ผมเลือก Citations Only

    วิธีเลือก output จากเว็บ scopus

  5. เปิดโปรแกรม EndNote ขึ้นมา เพื่อ Import ไฟล์ที่ได้จาก scopus เข้าไปใน EndNote
    – เลือก Import (icon ลูกศรชี้ลง)
    – เลือก Import Option เป็น Reference Manager(RIS)
    – แล้ว Choose File จากข้อ 4 เข้ามา

    Import File เข้า EndNote

  6. เอกสารที่ Import เข้ามาจะเข้ามาอยู่ใน EndNote แล้ว เมื่อลงคลิกที่เอกสารอ้างอิงที่ Import เข้ามาก็จะเห็นรายละเอียดด้านล่าง เมนู Groups ด้านซ้าย All References คือ เอกสารอ้างอิงทั้งหมดที่มี Imported Reference คือ เอกสารล่างสุดที่ Import เข้ามา Trash คือ ไฟล์ที่ลบไป เข้าไปดูและ restore กับมาได้

    หน้าต่าง EndNote ที่ Import ไฟล์ RIS เข้ามา

ขั้นตอนต่อไปคือการนำเอกสารอ้างไปใช้ใน เอกสารที่เราเขียนขึ้นในโปรแกรม Microsoft Word

ขั้นตอนการใส่เอกสารอ้างอิง

  1. เปิดเอกสารที่เขียนขึ้นมา จะเห็นว่ามีเมนูของ EndNote X2 เพิ่มขึ้นมา แสดงว่าที่เครื่องเราได้ติดตั้งโปรแกรม EndNote X2 ไว้แล้ว และสามารถใช้ร่วมกับ Microsoft Word ได้ หลายคนลงแล้วไม่มีเมนูนี้ขึ้นมาแนะนำให้ถอนออกแล้วติดตั้งใหม่

    เมนู EndNote ใน Microsoft Word

  2. ใช้เคอร์เซอร์ไปอยู่ในตำเหน่งที่จะใส่เอกสารอ้างอิง

    ข้อความตรงนี้ต้องการใส่เอกสารอ้างอิง

  3. ที่ Tab ของ EndNote  กดไปที่  Go to EndNote มันจะสลับไปที่โปรแกรม EndNote
  4. เลือกเอกสารอ้างอิงที่ต้องการ จะทีละอันหรือหลายอันก็ได้ แล้วคลิก Insert Citations (ลูกศรสีแดงชี้ลง) เรียบร้อย ง่ายไหม

    เลือกเอกสารอ้างอิงแล้วคลิก Insert Citation

  5. ลองดูผลงาน ตรงตำแหน่งที่เรา insert citation จะมีตัวเลขขึ้น(แล้วแต่ style) ด้านล่างจะเป็นรายละเอียดของเอกสารอ้างอิง ตาม Style เช่นกัน

    EndNote จะใส่เอกสารอ้างอิงให้อัตโนมัติ

  6. เสร็จแล้ว อย่าลืม save ไฟล์ library ของ EndNote ไว้ใช้ในครั้งต่อไป

รายละเอียดของ EndNote ยังมีอีกเยอะมาก แต่เพียงแค่นี้ ก็สามารถช่วยให้เราทำงานได้ในระดับหนึ่งแล้ว

เพิ่มเติม

–  ถ้า Style ที่ต้องการไม่มีให้เลือก เข้าไปที่โปรแกรม EndNote คลิก Edit >>Output Styles>> Open Style Manager
–  ถ้า Scopus ไม่มี Reference ที่ต้องการ ให้เพิ่มเองได้ที่ เมนู Reference>>New Reference แล้วใส่รายละเอียดแต่ละช่องลงไปถ้าไม่มีข้อมูลอันไหนก็ว่างไว้

หลอดเลือดหนูที่เป็นความดันโลหิตสูงประสิทธิภาพการทำงานลดลง

fig 1 : ที่มาของภาพ : https://phenome.jax.org/phenome/protodocs/Lake1/Lake1_Protocol.htm

เสียเวลาอ่านงานวิจัยของชาวบ้านที่น่าสนใจไปแล้วก็อยากเอามาบอกเล่าต่ออีกทั้งยังเก็บเป็นบันทึกของเราไว้ด้วย ผมจะดึงเอาเฉพาะข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับคนทั่วไป ถ้าหากใครอยากอ่านตัวเต็มตามไปอ่านตามแหล่งที่มาที่อ้างอิงไว้ด้านล่าง

fig 2 : Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and SHR

ความรู้ที่น่าสนใจ

  1. หนูปกติมีความดันโลหิตเหมือนคนคือประมาณ 120/80 mmHg และหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มีแรงดันด้านบนประมาณ 180-200 mmHg เหมือนคนอีกเช่นกัน
  2. ถ้ารัดอวัยวะอย่างเช่นหาง(ในหนู) แขน(ในคน) ด้วยแรงดันที่สูงกว่าค่าของความดันด้านบน เลือดจากหัวใจจะไหลผ่านจุดที่ถูกรัดไม่ได้ ในรูป fig 2 แถบสีดำด่านล่าง Arterial pulse หรือสัญญาณชีพจร มันต่ำลงเรื่อยๆเมื่อแรงดันที่รัดเข้าใกล้ ~120 mmHg และเป็นเส้นตรง (เลือดหยุดไหล)เมื่อแรงดันมากกว่า ~120 mmHg
  3. ถ้าค้างแรงดันที่มากกว่า ~120 mmHg ไว้สักระยะ (ค่าเริ่มต้นที่เขาใช้คือ 15 วินาที ) แล้วค่อยลดแรงดันลงมาจะพบว่าแรงดันที่ทำให้เกิดสัญญาณชีพจรกลับมาอีกครั้งจะต่ำกว่าค่าแรงดันที่ทำให้สัญญาณชีพจรหายไป ถ้าในสามัญสำนึกของเรามันน่าจะเท่ากัน เพราะมันคือจุดเดียวกัน
  4. ถ้าเพิ่มระยะเวลาของการรัดแขนให้เลือดหยุดไหลนานขึ้น แรงดันของการทำให้เลือดไหลอีกครั้งจะต่ำลงเรื่อยๆ น่าจะเกิดจากหลอดเลือดมันจะขยายตัวรอรับการไหลเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดันที่ใช้ในการทำให้เลือดไหลลดลง เหมือนตอนที่กำข้อมือไว้แล้วปล่อยจะรู้สึกว่าเลือดมันไหลเร็วขึ้น ซึ่งมันก็เร็วขึ้นจริงๆ
  5. แต่จุดสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ เขาเทียบกันระหว่างหนูปกติกับหนูตัวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าหนูปกติจะมีอัตราการขยายตัวของหลอดเลือดดีกว่าหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นโมเดลของหลอดเลือดที่ฟังชั่นลดลง หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆคือประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลง
  6. หลอดเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่เกิดอะไรขึ้น เมื่ออวัยวะส่วนต่างๆของคุณทำงานหนักขึ้น อวัยวะส่วนนั้นมันจะต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้น การเพิ่มให้เลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นมากขึ้นก็คือการขยายตัวหลอดเลือดให้ได้ปริมาตรของเลือดที่เพิ่มขึ้น ถ้ามันขยายได้ไม่ดี อันนี้ล่ะจะเป็นปัญหา อวัยวะขาดเลือด กล้ามเนื้อตายจะตามมา โดยเฉพาะในอวัยวะส่วนสำคัญอย่างเช่น สมอง และหัวใจ
  7. สรุปสุดท้ายที่น่าจะนำเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กลุ่มที่ประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลงได้แก่ พวกสูบบุหรี่  ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ  โปรดงดบุหรี่ ลดไขมัน ซึ่งเป็นตัวที่น่าจะทำได้ง่ายที่สุด

อ้างอิง : “Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and spontaneouslyhypertensive rats: Influence of adrenergic- and nitric oxide-mediated vasomotion” : Journal of Pharmacological and Toxicological Methods 58 (2008) 215–221

ทำเว็บใหม่ Biomed.in.th (ไบโอเมด อิน ไทย)

เว็บ ไบโอเมด อิน ไทย (Biomed.in.th)

Biomed.in.th อ่านว่า ไบโอเมด อิน ไทย ไหนๆก็เรียนมาเกี่ยวกับด้านนี้อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าเราน่าจะพอมีความรู้ที่แบ่งปันให้คนอื่นได้บ้าง มีความตั้งใจจะให้เป็นแหล่งความรู้และให้ข่าวสารเกี่ยวกับ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) ให้กับคนทั่วไป และความหวังสูงสุดคือเป็นที่พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจทั่วไปกับนักวิศวกรรมชีวเวช หรือระหว่างนักวิศวกรรมชีวเวชด้วยกันเอง

ตอนนี้กำลังพยายามชวนเพื่อนๆที่เรียนที่เดียวกันมาแชร์ ความรู้กันอยู่ ใครคิดว่าอยากร่วมอุดมการกับผมก็ขอเชิญนะครับ ไบโอเมด อิน ไทย จะได้พัฒนา เหมือนต่างประเทศเขา

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

รักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย Electromegnetic

new-treament-electromagnetic

การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก และตายอย่างรวดเร็วถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายไหลไปอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย การเกิดพยาธิสภาพต่างๆในร่างกายจึงเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง เชื้อที่พบบ่อยในการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นพบได้ทั้ง เชื้อแกรมบวก เช่น S.aureus และแกรมลบ เช่น E.coli ,Acinetobactor spp.,K.pneumoniae เมื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อต้องมีการรายงานผลเบื้องต้นให้แพทย์ทราบทันที เพื่อทำการรักษาเบื้องต้น และดูแลเป็นพิเศษ ก่อนที่การวินิจฉัยเชื้อ และการตรวจความไวต่อยาของเชื้อนั้นจะออกมา

ล่าสุด Ingber’s team ได้ทำการวิจัยการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบใหม่ ที่จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในแล็บของเขาได้ทำการผสมเชื้อรา Canida albican เชื้อหนึ่งที่ก่อโรคได้ลงไปในเลือดแล้วจากนั้นเติม plastic-coated iron-oxide beads(เม็ดเหล็กที่เคลือบด้วยพลาสติก) เคลือบอีกชั้นด้วย antibody เมื่อเติมลงไปในเลือด antibody นี้จะเข้าจับกับตัวเชื้อเสมือนว่าเอาเหล็กไปติดที่เชื้อก่อโรค

จากนั้นนำเลือดเข้าเครื่อง dialysis(เหมือนเครื่องฟอกไต)ที่มีการเพิ่ม electromagnetic คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งแรงนี้จะดูดเม็ด beads ทำให้เชื้อที่ติดอยู่ด้วยถูกดูดออกมาไหลเข้าสู่น้ำเกลือที่อยู่อีกด้าน Ingber ให้ข้อมูลว่า ในเวลา 2-3 ชั่วโมง วิธีนี้สามารถกำจัด แบคทีเรียได้ถึง 80% ตอนนี้ได้เริ่มทดสอบกับสัตว์ทดลองแล้ว และในอนาคตนอกจากจะใช้ในการกำจัดแบคทีเรียในกระแสเลือดแล้ว ยังสามารถที่จะพัฒนาไปใช้กับการกำจัด เซลล์มะเร็งในเลือดหรือการเก็บ stem cell ได้อีกด้วย

ในงานวิจัยชิ้นนี้ไม่ถือว่าใหม่มากนัก การใช้หลักการติด beads เหล็ก กับอะไรสักอย่างแล้วใช้แม่เหล็กดูดออกมานั้น มีการพัฒนามานานแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาใช้กับมนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนมากจะใช้ในห้องทดลองเท่านั้น การประยุกต์เอาวิธีนี้เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่อง dialysis ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมาก แม้ว่าจะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียออกไปได้ 100% แต่ก็ลดอัตราการตายของคนไข้ได้อย่างมาก งานวิจัยนี้นับว่าเป็นประโยชน์ กับวงการแพทย์ไม่น้อยเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก https://www.popsci.com/

มาเปลี่ยน Notebook เป็น Kindle DX ไว้อ่าน E-book ดีกว่า

notebook-kindledx1

Kindle เป็นผลิตภัณฑ์ของ Amazon ที่ออกมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มันเป็นเครื่องอ่าน e-book ที่สั่งซื่อผ่านบริการของ Amazon ที่ไทยคงต้องรออีกนานที่จะมีการวางขาย(หรืออาจจะไม่มาเลยก็ได้) เมื่อเร็วๆนี้เขาได้ออกรุ่นที่สอง คือ Kindle DX ที่ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 9.7 นิ้ว (เดิม 6 นิ้ว) ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากได้เจ้าเครื่องอ่าน e-book ตัวนี้ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นวารสารทางวิชาการ หนังสือออนไลน์ ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรี และไม่ฟรี ทั้งใหม่ ทันสมัย ล้วนอยู่ในรูป PDF ทั้งสิ้น และช่วงนี้ก็มีการรณรงค์อย่างหนักเรื่องการลดใช้กระดาษ การอ่านหนังสือในรูปของ e-book จึงเป็นทางเลือกที่ดี จากประสบการณ์จริงผมก็ใช้การอ่าน e-book จาก notebook ผมจะขอแนะนำการอ่านหนังสือ e-book โดยใช้ notebook ให้คนอื่นได้ลองทำดู ง่าย และหลายคนคงคิดว่ามีแค่นี้เองหรอ

  1. ติดตั้ง Adobe Reader ในเครื่องก่อนซึ่งคิดว่าทุกเครื่องน่าจะมีอยู่แล้ว
  2. เปิดไฟล์ e-book ที่จะอ่าน แล้วกด Ctrl + L เพื่อให้อยู่ในโหมด full screen
  3. กด Ctrl + 1 หรือ 2 หรือ 3 เพื่อปรับให้ขนาดของเอกสารใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
  4. กด Fn + F7 แล้วแต่เครื่องครับ อันนี้เพื่อปรับแสงของหน้าจอลง เวลาอ่านจะได้สบายตา
  5. เริ่มอ่านได้เลยครับ ควบคุมเอกสาร โดยเลื่อนขึ้น-ลงใช้ลูกศรขึ้นลง เปลี่ยนหน้าใช้ลูกศร ซ้าย-ขวา

ง่ายไหมละครับพี่น้อง คราวนี้ก็ได้ Kindle DX มาอยู่ในมือแล้วแถมจอใหญ่กว่าอีก ตั้ง 13 นิ้ว

EndNote X2 โปรแกรมทำเอกสารอ้างอิง ตอนที่ 1

endnote-x2

อัพเดตข้อมูล

ล่าสุดตอนนี้ มีให้โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด EndNote X5 แล้วนะครับ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/endnotex5.html และ ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเวอร์ชั่นที่เราขอไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง แนะนำให้เข้าไปดูที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/ ครับ

EndNote เป็นโปรแกรม Reference management software ช่วยให้การทำเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม ให้ง่ายขึ้นอย่างมาก สร้างโดย The Thomson Corporation มีทั้งรุ่น Windows และ Mac OS X การทำเอกสารอ้างอิงในงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆนั้น แต่ละเล่มมีรูปแบบของเอกสารอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน คงเป็นการยากถ้าต้องมาแก้ไขรูปแบบของเอกสารอ้างอิงทุกๆครั้งที่จะเปลี่ยนวารสารในการตีพิมพ์ซึ่งโปรแกรม EndNote สามารถช่วยให้การเปลี่ยนรูปแบบเป็นไปอย่างง่าย สำหรับรูปแบบที่ จุฬาฯ ใช้อยู่คือ แบบ vancouver ครับ โปรแกรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ทาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ จึงจัดซื้อมาเพื่อบริการนิสิตจุฬาฯ และอาจารย์ โดยเฉพาะ สามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้งที่เครื่องตัวเองได้เลยดาวน์โหลดได้ที่

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก่อนติดตั้งคุณต้อง e-mail ไปขอ password จากภารกิจสนับสนุนการวิจัย ศูนย์วิททรัพยากรจุฬาฯ อีเมล rss@car.chula.ac.th ถ้าใช้อีเมลล์ของนิสิตจุฬาฯ จะตอบกลับมาเร็วครับ ถ้าเป็นอีเมลล์อย่างอื่นอาจจะนานหน่อยเพราะต้องรอการยืนยันจากคณะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ใช้โปรแกรม EndNote X5 อย่างถูกลิขสิทธิ์แล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ตามไปดูตอนที่ 2 การใช้งานเบื้องต้น https://www.amphur.in.th/reference-manager-endnote/

Biomedical Engineering Center Labs on Google Maps


ดู Biomedical Engineering Center Labs ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ลองเอา Google Maps มาใส่ในบล็อกดูไม่รู้จะเอาที่ไหนงั้นก็เลยเอาตรงที่ตัวเองอยู่ตอนนี้เลยแล้วกัน Biomedical Engineering Center Labs เป็นห้องรวมพบกันทำกิจกรรมเรียน ตลอดจนการทำ Labs ของนิสิตหลักสูตร Biomedical Engineering ทุกๆคนเหมือนเป็นห้องอเนกประสงค์ วิธีการนำ Maps มาใส่นั้นง่ายมากๆ แค่เราเข้าไปที่ Google Maps แล้วค้นหาที่อยู่ของเราว่าอยู่ไหนจากนั้นก็ปักหมุดเอาไว้ จากนั้นคลิกตรงตำแหน่ง Link ตามภาพ

Google-maps-code

copy เอาโค้ดภายในมาวางที่ html page ใน WordPress เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

หลักสูตรการใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT

ผมได้รับอีเมลล์จากพี่ร่วมงานในแล็บ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาประชาสัมพันธ์ต่อครับ

เรียนท่านวิทยากร, ท่านผู้เชี่ยวชาญ และท่านที่สนใจ

จากการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่องของรูปแบบข้อกำหนดต่าง ๆ โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT วันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้ว ได้ทำการประมวลผลหลักสูตร การใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โดยได้กำหนด เปิดอบรม ในวันที่ 18,19,25 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีพิธีเปิดโครงการฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว จึงขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้กับท่านผู้สนใจอบรม และทางผมจะส่งหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียนเชิญทุกท่านต่อไปครับ

==================================================

หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการมองเห็น
จำนวนชั่วโมง 18 ชั่วโมง

สถานที่ฝึกอบรม: ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้น 8 (ลงสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี)

วัตถุประสงค์
1. ผู้อบรมสามารถบอกถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. ผู้อบรมมีทักษะเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ผู้อบรมสามารถค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ได้
4. ผู้อบรมสามารถสื่อสารข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ผู้อบรมสามารถใช้หนังสือระบบเดซี่ได้

ความต้องการของระบบ
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือสูงกว่า
2. โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
3. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai Text to Speech) ตาทิพย์
4. อินเตอร์เน็ต

หัวข้อการอบรม
1. ความสำคัญของ ICT ต่อคนพิการทางการมองเห็น
2. คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
3. การประยุกต์ใช้ ICT ในชีวิตประจำวัน
4. การใช้แป้นพิมพ์, การใช้ Mouse และอุปกรณ์ต่างๆ
5. การใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
5.1. การติดตั้งโปรแกรม
5.2. การตั้งค่าการทำงาน
6. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Text to Speech ) ตาทิพย์
7. การใช้งานอินเตอร์เน็ต
7.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่าย
7.2. การใช้งานโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
7.3. การตั้งค่าระบบการรักษาความปลอดภัย (Security Setting)
7.4. การใช้งาน Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล
7.5. การนำข้อมูลจาก Internet เช่น รูปภาพไปใช้งาน
7.6. การรับส่ง Electronic Mail
7.7. เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
7.8. ข้อพึงระมัดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต
8. แนะนำ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
9. แนะนำให้รู้จัก E-Commerce
10. แนะนำการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสร้างโอกาสและอาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

==============================================

ประชาสัมพันธ์ แบนเนอร์โครงการฯ

ท่านใดที่สามารถร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ สามารถทำได้โดย Copy โค้ด HTML ต่อไปนี้เพื่อติดตั้งยังเว็บไซต์ท่าน

<a href=”https://www.equitable-society.com” title=”โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
<img src=”https://www.equitable-society.com/images/equitablesociety.gif” border=”0″ alt=”
โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
</a>

ขอขอบพระคุณทุกความคิดเห็น ทุกคนร่วมมือ เป็นอย่างสูง

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 944 0009 ต่อ 102


Best Regards,

ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์
Chalaivate Pipatpannawong

ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานกระทรวง ICT

www.Equitable-Society.com

Managing Director

Exit mobile version