อ่านเขียนไดรว์ NTFS ใน MacOS ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม

external HDD ที่ใช้เป็น NTFS ไดรว์ แต่ก่อน Macbook ติดตั้งโปรแกรม NTFS-3G ไว้ จึงสมารถเขียนอ่านได้ปกติ ตอนเปลี่ยนไดรว์ให้คอมใหม่ก็ไม่ได้ใส่ใจติดตั้งใหม่ และก็ไม่ได้มีโอกาสได้ใช้ external HDD นานมากแล้ว แต่วันนี้ต้องเอารูปที่เป็น RAW file เกือบ 200 GB ออกจากเครื่องโดยจะ back up ไว้ใน ext HDD เพราะเพิ่งไปเที่ยวมา ไม่งั้นก็เอารูปใหม่ลงเครื่องไม่ได้

ไม่อยากติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องแล้ว ลองค้นดูวิธีอื่นๆดู พบว่าสามารถใช้ terminal enable การอ่านเขียน NTFS ได้

ทดลองทำดูแล้วง่ายและสะดวกดี เลยเอามาบันทึกเก็บไว้

  1. เปิดใช้ Terminal (Applications > Utilities > Terminal)
  2. พิมพ์ sudo nano /etc/fstab ใส่ Password

    terminal

  3. พิมพ์ LABEL=NAME(ใส่ชื่อไดรว์) none ntfs rw,auto,nobrowse

    fstab editor

  4. กด Control + O enter เพื่อ save กด Control-X ออกจาก fstab editor
  5. ระบบอ่านเขียนไดรว์ NTFS ของเราได้แล้ว
  6. เปิดไดรว์ผ่าน Finder เข้า Go to Folder… ใส่ /Volumes

เรียบร้อยง่ายมาก

via: macdrug

วิธีติดตั้ง OSX Maverick ผ่านทาง USB drive ฉบับย่อและง่าย

วิธีติดตั้ง OSX Maverick ผ่านทาง USB drive ดูมาหลายอันพบว่าแบบนี้ง่ายและเร็วสุดแล้ว จึงเอามาบันทึกเก็บไว้รายละเอียดไม่เยอะ จะได้ง่าย เห็นภาพขั้นชัดเจน เอามาจาก cnet

ก่อนจะติดตั้ง OSX Maverick แบบ clean install ไม่ใช่การอัพเดตผ่านทาง App Store ต้องเตรียม Bootable USB drive ก่อนความจุขั้นต่ำ 8 GB

  1. Format USB drive เลือก Mac OS Extended (Journaled) และให้ชื่อ “Untitled” (ข้อนี้สำคัญ)
  2. ดาวน์โหลด OSX Maverick จาก App Store กด Shift ค้างไว้ตอนกดโหลด(กรณีที่เครื่องอัพเดตไปแล้ว)
  3. เช็คก่อนว่าไฟล์ install อยู่ที่โฟล์เดอร์ Application
  4. เปิด Terminal ใส่ sudo /Applications/Install\ OS\ X\ Mavericks.app/Contents/Resources/createinstallmedia –volume /Volumes/Untitled –applicationpath /Applications/Install\ OS\ X\ Mavericks.app –nointeraction
  5. รอประมาณ 20-30 นาที ก็จะได้ bootable OS X Mavericks USB install drive มาใช้งานแล้ว

ตอนใช้งาน เสียบเข้าเครื่องตอนเปิดเครื่องกด Option ค้างไว้ เลือกติดตั้ง OSX จาก USB จะล้างเครื่อง ลบข้อมูลอันเก่าก่อนหรือไม่อันนี้ตามสะดวก

Terminal

 

หลังกด Option ค้างจะเห็น drive ให้เลือกเข้า

 

เลือกติดตั้ง OSX

 

เลือก Drive ที่จะติดตั้ง OSX

 

ระบบเริ่มการติดตั้ง OSX Mavericks แล้ว

วิธีลดขนาดไฟล์ PDF ใน OSX และวิธีปรับแต่ง(Reduce File Size) ให้เหมาะสม

เวลาเราแปลงภาพเป็น PDF หรือ แปลงไฟล์จากเครื่องแสกนเป็น PDF สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆคือไฟล์ PDF ที่ได้มันมีขนาดไฟล์ใหญ่มาก ทั้งๆที่มีเพียงไม่กี่หน้า มีปัญหาเวลาจะต้องส่งอีเมลอยู่บ่อยครั้ง ใน OSX สามารถใช้โปรแกรม Preview ย่อขนาดไฟล์ PDF ลงได้

วิธีลดขนาดไฟล์ PDF ใน OSX ด้วยโปรแกรม Previes 

  1. เปิดไฟล์ PDF ตัวนั้นด้วยโปรแกรม Preview ขึ้นมา
  2. คลิกเลือกที่เมนู File>>Save As…
  3. เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ เลือก Format เป็น PDF และเลือก Quartz Filters เป็น Reduce File Size

    Reduce file size

  4. กด Save

ปัญหาที่เกิดขึ้น 

Size after reduce

มันย่อไฟล์ขนาด 25.8 MB ให้เหลือแค่ 82 KB ย่อลงได้เยอะมากก็จริง แต่เมื่อดูเนื้อไฟล์แล้วมันแย่มาก(ดูภาพด้านบน) ถ้าเป็นไฟล์ PDF ที่เป็น text ค่อนข้างใช้ได้เลย แต่อันนี้เป็นภาพที่แสกนเข้ามาทำให้การเลือก Reduce File Size ที่เป็นค่า Default ของเครื่องทำให้ได้ไฟล์ที่แย่มาก

วิธีแก้ไขก็คือตั้งค่าการบีบอัดข้อมูลของ Reduce File Size ใหม่ ไม่ให้บีบอัดมากจนเกินไป ให้ย่อขนาดลงมากที่สุดแต่ก็ยังสามารถอ่านเนื้อหาได้อย่างชัดเจน

วิธีปรับแต่งตัวลดขนาดไฟล์ PDF (Reduce File Size)ใน OSX 

  1. เปิดเข้าไปที่ Finder เลือก Go to Folder…
    ใส่ค่านี้เข้าไป /System/Library/Filters คลิก Go
    นั้นคือเราจะเข้าไปที่โฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์การตั้งค่าการบีบอัดไว้เพื่อเข้าไปแก้ไข

    Go to Folder

  2. เราจะเห็นไฟล์ที่เป็น qfilter อยู่หลายอัน ให้ Copy ไฟล์ที่ชื่อ Reduce File Size.qfilter ออกมา วางไว้ที่ไหนก็ได้(แนะนำ Desktop) แล้วแก้ไขไฟล์นี้ใหม่ด้วยโปรแกรม TextEdit <–ใช้โปรแกรมนี้เปิด
  3. จุดสนใจที่ควรแก้ไขคือ
    <key>ImageSizeMax</key>
    <integer>512</integer> (ขนาดที่ผมใช้คือ 1684 ประมาณ 144dpi ใน A4)<key>ImageSizeMin</key>
    <integer>128</integer> (ขนาดที่ผมใช้ คือ 842 ประมาณ 72dpi ใน A4)

    <key>Name</key>
    <string>Reduce File Size</string> (ควรแก้ชื่อให้ต่างจากเดิมจะได้เลือกได้ถูก เปลี่ยนเป็น Reduce File Size 2 )

  4. กด save จากนั้นเปลี่ยนชื่อไฟล์ใหม่ เมื่อเอากลับไปวางที่เดิมจะได้ไม่ทับของเดิม เปลี่ยนเป็น Reduce File Size 2.qfilter
  5. Copy ไฟล์ที่แก้ไขแล้วไปวางไว้ที่เดิม /System/Library/Filters

ทดลองลดขนาดไฟล์ PDF ด้วย Filter ตัวใหม่ที่เราสร้างขึ้นมา จะเห็นได้ว่าตัว Filter ใหม่ที่เราสร้างจะเพิ่มเข้ามาอยู่ในลิสต์ที่สามารถเลือกได้แล้ว

Filter ที่ได้สร้างใหม่

เลือก Reduce File Size 2 แล้วกด Save จากนั้นตรวจดูคุณภาพของไฟล์ที่ได้อีกที

ขนาดไฟล์ลดลงเหลือ 4 MB คุณภาพในขณะยังอ่านตัวหนังสือชัดเจนอยู่

หากคิดว่าอยากย่อให้ได้มากกว่านี้ ก็แก้ไขค่า ImageSizeMax และ ImageSizeMin ลงอีกได้ตามความเหมาะสม

บล็อกตอนนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการย่อ PDF ให้มีขนาดเล็กแต่ไม่อยากให้คุณภาพของไฟล์เสียไปมากเกินไปนัก ลองเอาไปปรับใช้กับการทำงานของตัวเองให้เหมาะสมครับ

ข้อมูล https://hints.macworld.com

วิธีลบแอพพลิเคชั่นซ้ำตอนคลิกขวา Open With ใน Mac

รู้สึกรำคาญไหมครับ ตอนที่จะเปิดไฟล์สักอันในเครื่อง Mac ด้วยการคลิกขวา แล้วใช้ Open With จะมีบางแอพพลิเคชั่นที่มันขึ้นซ้ำๆกันโชว์ขึ้นมา แบบในรูปตัวอย่างครับ

Open With

ลงค้นดูพบว่ามีวิธีแก้ไขด้วยการ reset Launcher ใหม่ เพื่อให้มันสร้าง index ใหม่ มีหลายวิธี ทั้งการแก้ไขผ่านทาง Terminal ดูที่ลิงค์นี้ “How To Remove Duplicate Apps In Mac’s Right Click “Open With” Menu” และแก้ไขผ่านทางโปรแกรม วิธีที่น่าจะง่ายที่สุดสำหรับคนทั่วไป อย่างผม อย่างท่านๆหลายๆคน ก็คือใช้โปรแกรม OnyX ช่วย มีโปรแกรมอื่นด้วยนะแต่บางอันเสียตังค์ ดูขั้นตอนการแก้ไขได้เลย ง่ายมาก

วิธีลบแอพพลิเคชั่นซ้ำตอนคลิกขวา Open With ใน Mac

1. ดาวน์โหลด OnyX (คลิกดาวน์โหลด) ติดตั้งให้เรียบร้อย

2. เปิดโปรแกรมขึ้นมา เข้าไปที่เมนู Maintenance >>Rebuild >>ติ๊ก LaunchService >>คลิก Execute

OnyX

3. เรียบร้อย ลองเปิดดูอีกครั้ง

Open With ที่ไม่มี Duplicate Apps แล้ว

หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

Scrollbar ของ Mac ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Scroollbar ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ไปเจอรวม Scrollbar ของ Mac OS ตั้งแต่ปี 1981-2012 เรียกได้ว่าตั้งแต่อดีตเริ่มแรก(ต้นแบบ)จนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว เห็นว่าน่าสนใจเลยเอามาฝากครับ แนวโน้มของมันจะเห็นได้ว่าดีไซด์จะไปแนวมีอะไรน้อยลงเรื่อยๆ อันล่าสุด OS X Lion กลายเป็นหายไปเลย จะโผล่มาเฉพาะตอนใช้งานเท่านั้น เรียบง่ายที่สุด ตามแนวของ สตีฟ จ๊อบส์ สไตล์

ที่มา: https://www.cultofmac.com

ไฟล์ที่ Save บน iCould ที่เครื่องเราเก็บไว้ไหน?

เรื่องมีอยู่ว่าตอนที่ลอง save ไฟล์ Keynote รวมทั้งไฟล์อื่นๆด้วย ไปเก็บไว้บน iCloud ตอนเปิดใช้งาน แก้ไข ก็สะดวกดี แต่กับมีปัญหาตอนเราจะส่งไฟล์นี้ให้คนอื่น เพราะดันหาที่อยู่ของไฟล์ต้นฉบับไม่เจอ(มันเอาไปเก็บไว้ไหนฟะ?) จะ save as ก็ไม่มีเมนูนี้ ตอนนั้นก็ใช้วิธีบ้านๆคือ Duplicate ขึ้นมาอีกอันแล้วค่อยกด save ไว้ข้างนอก iCloud

iCloud

พอมีเวลาค่อยมาหาข้อมูลว่าไฟล์ที่เรา save ไว้บน iCloud ตำแหน่งที่ของไฟล์อยู่ในเครื่องเราอยู่ตรงไหน ก็ไปเจอที่บทความนี้ ใน OSX Daily ง่ายมาก ทำ 2 ขั้นตอน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง

  1. เปิด Finder ขึ้นมา กด Command+Shift+G หรือคลิกที่ Go>Go to Folder  ก็ได้ พิมพ์ ~/Library/ เข้าไปในช่องค้นหา

    Go to Folder

  2. เลื่อนหาโฟว์เดอร์ที่ชื่อ “Mobile Documents” ไฟล์ทั้งหมดอยู่ในนั้นโดยแยกตามโปรแกรมต่างๆ ถ้าอยากเข้าถึงง่ายๆในครั้งหน้า ก็คลิกขวา Make an alias แล้ว Drag โฟว์เดอร์ไปวางไว้ที่ Favorites Sidebar ได้เลย

    Mobile Documents

น้องจากนี้ พวกโปรแกรมอื่นๆที่เราใช้ใน iOS ที่เลือก Save ขึ้น iCloud ไฟล์ก็ถูก Sync มาที่นี้เหมือนกัน เช่น รูปจากโปรแกรม SketchBook ใน iPod ก็เห็นในนี้เหมือนกัน

BEST OF APPS แนะนำโปรแกรมที่สุดยอดของทุกแพลตฟอร์ม

BEST OF APPS

ในเว็บไซต์ makeuseof จะมีอยู่หัวข้อหนึ่งชื่อ BEST OF APPS เป็นหน้ารวมโปรแกรมที่ยอดเยี่ยมในหมวดต่างๆของแต่ละแพลตฟอร์มที่ใช้ๆกันอยู่ปัจจุบัน รู้สึกว่าทำได้ดีจังเลย เขาจัดทำมานานแล้วล่ะ หลายโปรแกรม หลายเว็บไซต์เราก็เจอจากหัวข้อนี้ ลองดูว่าเขาจัด BEST OF APPS ของอะไรไว้บ้าง

  • BEST WEBSITE
  • BEST WINDOWS SOFTWARE
  • BEST LINUX SOFTWARE
  • BEST MAC APPS
  • BEST ANDROID APPS
  • BEST IPHONE APPS
  • BEST IPAD APPS
  • BEST CHROME EXTENSIONS
  • BEST FIREFOX ADDONS
  • BEST WORDPRESS PLUGINS
  • BEST PORTABLE APPS
  • BEST LINUX DISTROS

เรียกได้ครบทุกแพลตฟอร์มที่สามารถติดตั้งโปรแกรมหรือส่วนเสริมลงไปได้เลยทีเดียว เมื่อคลิกเข้าไปเราจะพบรายการของ Apps ที่แยกเป็นหมวด เช่น เกี่ยวกับ ภาพ เพลง หนัง เอกสาร ป้องกันไวรัส เป็นต้น ในแต่ละ Apps มีคำอธิบายสั้นๆไว้ให้พร้อมกับลิงค์ไปดูรีวิวแบบเต็มและลิงค์ดาวน์โหลดโปรแกรม ถ้าเพื่อน ได้คอมพิวเตอร์หรือมือถือเครื่องใหม่มา แล้วถามว่า “จะลงโปรแกรมอะไรบ้าง” สามารถแนะนำหน้านี้ให้ได้เลยครับ

ลิงค์ไปที่หน้า BEST OF APPS

Wallpaper สำหรับจอแบบละเอียดของ Macbook Pro with Retina display

Macbook Pro with Retina display

Macbook Pro ตัวใหม่ของ Apple ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อ 12 มิ.ย. 2012 ที่ผ่านมา มีหน้าจอเป็น Retina display ขนาด 2880 x 1800 pixels ในจอขนาด 15 นิ้ว ด้วยความละเอียดระดับ 220 ppi ซึ่งจอที่ละเอียดสูงขนาดนี้ เป็นการยากเหมือนกันที่จะหา wallpaper ที่เหมาะกับจอขนาดนี้ได้(แบบสวยๆด้วยนะ) ไปเจอในเว็บ cultofmac ซึ่งเป็นภาพของ NASA ที่นาย Rob Sheridan เอามาปรับให้เหมาะกับ Retina display แล้วแชร์ใน Flickr  เป็นภาพของกลุ่มดวงดาว ดาวเคราะห์ กาแล็กซี่ มาแนวเดียวกับ wallpaper ที่มักมาพร้อมกับ Mac OSX อยู่แล้ว และภาพไม่ได้มีแค่ความละเอียดสำหรับ Macbook Pro with Retina display เท่านั้น หน้าจออื่นๆทั่วไปก็มีให้เลือกโหลดเช่นกัน ภาพสวยๆทั้งนั้นเลย

เลือกดาวน์โหลดได้ตามความพอใจ จากลิงค์ด้านล่างของภาพได้เลยครับ

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

Wallpapers For MacBook Pro with Retina

Download full-size image

โปรแกรม Satellite Eyes เปลี่ยน Wallpaper ให้เป็นภาพถ่ายดาวเทียมในตำแหน่งที่คุณอยู่

โปรแกรม Satellite Eyes สำหรับ Mac

โปรแกรม Satellite Eyes เป็นโปรแกรมเล็กๆ ที่จะเปลี่ยน Wallpaper ของเครื่องแบบอัตโนมัติให้เป็นภาพถ่ายจากดาวเทียมตามตำแหน่งที่เราอยู่ ณ ปัจจุบัน เวลาใช้งานโปรแกรมจะขออนุญาติเข้าถึงตำแหน่งของเครื่องคอมที่เราอยู่ จากนั้นจะดึงแผนที่มาใช้งานเป็น wallpaper ข้อมูลแผนที่ที่นำมาใช้ถูกดึงมาจาก OpenStreetMap, Stamen Design และ Bing Maps

โปรแกรม Satellite Eyes ปรับแต่งได้นิดหน่อย ดังรูป

Satellite Eyes Setting

การปรับแต่งที่ทำได้ เช่น ระยะซูมของแผ่นที่จะให้อยู่ในระดับไหน  ระดับถนน หรือ ระดับเมือง เป็นต้น ส่วนการใส่เอฟเฟ็กจะเป็นการเปลี่ยนเป็นภาพพิกเซลที่หยาบขึ้น หรือ ขาว-ดำ ก็ได้ แต่ผมไม่ค่อยชอบใส่เอฟเฟ็กเท่าไหร่แบบดิบๆ สวยกว่า

ลองเล่นดูก็สนุกดีเหมือนกันนะ ถ้าใครเดินทางบ่อยๆ น่าจะช่วยหายเบื่อได้ดีเลย เพราะมันจะเปลี่ยน wallpaper ไปเรื่อยๆตามตำแหน่งที่เราย้ายตำแหน่งไปด้วย(ต้องต่อเน็ตด้วยนะ)

ตัวอย่างที่ลองลงดูในเครื่องครับ

Satellite Eyes ระยะซูมไกลนิดหนึ่ง
Satellite Eyes ซูมออกในระดับภูมิภาค

ดาวน์โหลดโปรแกรม Satellite Eyes for Mac : https://satelliteeyes.tomtaylor.co.uk/

ขนาด 0.55 MB

via: Cult of Mac

วิธีแก้ไข host file ใน Mac OS X

วิธีแก้ไข Host file ใน Mac OS X อันไหนที่ไม่ได้เขียนไว้มักจะได้ใช้บ่อยๆ คราวนี้ไม่พลาดแล้ว มาเขียนเก็บไว้ดีกว่า ขี้เกียจเปิดดูของคนอื่นแล้ว

วิธีแก้ไข host file ใน Mac OS X

  1. เปิดโปรแกรม Terminal
  2. copy โค้ดนี้ไปวางแล้ว enter
    sudo nano /private/etc/hosts
  3. ใส่พาสเวิร์ดของเครื่อง(พิมพ์ไปเลยมันไม่โชว์)
  4. แก้ไขตามต้องการ
  5. save file กด Control+O กด enter

    Host file เตรียมบันทึก

  6. บันทึกแล้วกดปิด Terminal ได้เลย

ค่อนข้างมั่นใจว่าจะต้องได้ใช้อีกแน่ อยากดูแบบละเอียดไปดูที่นี้ https://decoding.wordpress.com

Exit mobile version