อ่าน ebook และ audiobook ฟรีออนไลน์ มากกว่า 4,000 เรื่อง

มีวิธีที่เราจะสามารถอ่าน ebook และ audiobook ได้ฟรี แบบถูกลิขสิทธิ์มาแนะนำครับ ตัวผมได้ใช้งานมาได้ราวเดือนกว่าๆ พบว่ามันดีมาก เพิ่มความสะดวกสบาย และเพิ่ม productivity ในการอ่านได้อย่างมาก เอาจริงๆ ไม่อยากแชร์ให้คนอื่นรู้ด้วยซ้ำ อยากแอบใช้งานอยู่แค่กลุ่มเล็กๆ (กลัวถูกแย่งใช้) แต่คิดไปคิดมา ยังเชื่อในสังคมแบ่งปัน เพราะมันดีจริงๆ อยากให้คนอื่นได้ลองใช้ดู เผื่อว่ามันจะขยายในวงกว้างขึ้นและเพิ่มปริมาณหนังสือและจำนวน copy ได้มากขึ้นตามความนิยม

เกริ่นมาเสียยืดยาว วิธีการที่ว่าคือ การเชื่อม application e-reader ในมือถือ หรือเทบเล็ตของเรากับห้องสมุดออนไลน์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ จากนั้นก็ยืม จอง หนังสือได้ในแบบเดียวกันกับที่เราไปใช้งานห้องสมุดสาธารณะทั่วไป ซึ่งต่างประเทศจะมีห้องสมุดที่สามารถเชื่อมเข้ากับระบบได้เยอะมาก มีเกือบจะทุกเมืองที่สามารถทำได้ โชคดีมากๆที่ในไทยก็มีห้องสมุดออนไลน์แห่งหนึ่งนั้นคือ TK Park ที่สามารถเชื่อมกับระบบได้ และฟรีค่าสมาชิกอีกด้วย

Libby free ebook and audiobook online

หวังว่าห้องสมุดของไทยที่อื่นๆเช่น ห้องสมุดสาธารณะ หรือ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จะเพิ่มเข้ามาในระบบได้ในอนาคต อีกอย่างต้องยอมรับว่าระบบอ่าน ebook ของไทยค่อนข้างแย่ และหนังสือที่อ่านได้ก็จำกัดมากๆ การใช้ระบบนี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะเพิ่มโอกาสให้คนทั่วไปเข้าถึงและอ่านหนังสือได้มากขึ้น

ขั้นตอนการใช้งาน

  1. ให้ไปสมัครสมาชิกห้องสมุดออนไลน์ของ TK park สมัครได้ฟรี ไว้ก่อนเพราะจำเป็นต้องใช้ในขั้นตอนการเชื่อมต่อกับระบบ
  2. ดาวน์โหลด application ที่ชื่อ Libby มาติดตั้งให้เรียบร้อย มีทั้งฝั่ง Apple และ Google
  3. เข้าไปเพิ่ม สมาชิกห้องสมุด ใน Add A Library ในแอพโดยใช้รายละเอียดของ TK park ที่เราสมัครไว้แล้วตามข้อ 1
  4. เลือกหนังสือที่อยากอ่าน ที่มีมากกว่า 4,000 รายการ มีหนังสือทั้งเก่าใหม่ มีทั้งแบบหนังสือ เสียง และภาพ ยืมได้ไม่เกิน 4 เล่ม (ถ้าเกินโควต้าก็คืนเล่มที่ยืมก่อนแล้วค่อยยืมเล่มใหม่) ยืมได้เล่มละ 2 สัปดาห์ จองคิวได้ 2 เล่ม

ขอให้สนุกกับการอ่านหนังสือออนไลน์ ที่สำคัญใหม่ เยอะและฟรีด้วย

ตัวอย่างหนังสือที่สามารถยืมอ่านได้
หนังสือมีให้เลือกหลากหลายแนว

สนใจบทความเกี่ยวกับหนังสือตามอ่านได้ที่หัวข้อ หนังสือ ได้ครับ

25+ ฟอนต์แนวลายมือ ฟอนต์เขียนด้วยมือ ดาวน์โหลดฟรี

Free Hand Drawn Fonts

พยายามจะหาฟอนต์ลายมือหรือแนวเหมือนวาดด้วยมือ จะเอามาใช้ในงานออกแบบเล่นๆอันหนึ่งที่ทำอยู่ แต่อยากได้ที่ฟรีและถูกต้อง เอามาใช้ก็ไม่ได้ใช้ในทางการค้าแต่อย่างไร ก็ค้นๆดูตามเว็บออกแบบต่างๆ พบว่ามีหลายฟอนต์ที่น่าสนใจเลยทีเดียว อาจจะได้ใช้ในงานอื่นๆในอนาคตด้วย เลยอยากจะบันทึกเก็บรายการฟอนต์ต่างๆที่เป็นแนวเขียนมือไว้ คัดมาเฉพาะฟอนต์ที่ตัวเองชอบเป็นหลักครับ อยากแชร์ให้คนอื่นได้ดูด้วย ดูตัวอย่างและดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ

รวมฟรีดาวน์โหลด ฟอนต์แนวลายมือ ฟอนต์เขียนมือ

Childs Play Font

Childs Play Font

Grutch Shadedw Font

Grutch Shadedw Font

FFF Tusj Font

FFF Tusj Font

Pointy Font

Pointy Font

Sketch Rockwell Font

Sketch Rockwell Font

Pee Pants Script Font

Pee Pants Script Font

Fh Scribble Font

Fh Scribble Font

Fh Ink Font

Fh Ink Font

Positiv-A Font

Positiv-A Font

Aguzlo Font

Aguzlo Font

Handwerk Font

Handwerk Font

Marker Twins Font

Marker Twins Font

Toms Handwritten Font

Toms Handwritten Font

Barnes Erc Font

Barnes Erc Font

Pen of Truth Font

Pen of Truth Font

Sketchy Font

Sketchy Font

Tire Shop Demo Version

Tire Shop Demo Version

Octember Script Font

Octember Script Font

WC RoughTrad Bta Font

WC RoughTrad Bta Font

McCoy – Hello Lori Font

McCoy – Hello Lori Font

Peixe Frito Font

Peixe Frito Font

Thurston Erc Font

Thurston Erc Font

Karabine Font

Karabine

Tiza Font

Tiza Font

Clementine Sketch Font

Clementine Sketch Font

Oh Ashy Font

Oh Ashy Font

Love Ya Like A Sister Font

Love Ya Like A Sister Font

via: naldzgraphics.netwebdesigntoolslist.com

แอพพลิเคชั่นช่วยคำนวณจำนวนเซลล์ใน Cell Counting Chamber

Cell Counting Calculator

Cell Counting Calculator เป็นแอพพลิเคชั่นเล็กๆที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ช่วยคำนวณจำนวนเซลล์ใน Counting Chamber ซึ่งโดยปรกตินักวิจัย นักเรียน คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ส่วนใหญ่จะต้องมีการนับจำนวนเซลล์กันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงเซลล์มะเร็งเพื่อใช้ในงานวิจัยเวลาจะนำไปทดสอบอะไรบ้างอย่าง ทดสอบยา ติดตามการแบ่งตัว จำเป็นจะต้องรู้ว่าเซลล์ที่ใช้นั้นมีจำนวนอยู่เท่าไหร่ มากน้อยเหมาะสมหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง จึงต้องมาการนับเซลล์อยู่ตลอดแทบจะทุกกระบวนการทำงานวิจัย

คำถามต่อไปคือนับอย่างไร? ถ้าแลปไหนรวยก็มีเครื่องนับอัตโนมัติช่วยนับให้ เครื่องแพงมากและค่าใช้จ่ายต่อการนับหนึ่งครั้งก็สูงมากระดับหลักร้อยถึงหลายร้อยบาท ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงยังมีการนับเองด้วยคน ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์(เซลล์ขนาดเล็กต้องมองผ่านกล้องอีกที) โดยมีอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า Hemocytometer (ใช้นับเม็ดเลือด)หรือบางที่ก็เรียกกันว่า Counting chamber หน้าตาก็เหมือนในรูปด้านล่าง ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกเข้าไปอ่านตามลิงค์ได้เลยครับ

Hemocytometer ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Hemocytometer

ใน Hemocytometer เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่ามีกริดอยู่ด้านในแบ่งเป็นช่อง กำหนดเป็นพื้นที่ไว้ ส่วนขอบมันจะยกสูงขึ้นมาให้วางแผ่นแก้ว(cover slip) เพื่อกำหนดส่วนสูงให้ได้ 0.1 มิลลิเมตร เมื่อเรานำเซลล์ที่ละลายอยู่ในสารละลายเข้าไปในช่องว่างระหว่างแผ่นแก้วกับ chamber แล้ว เอาพื้นที่ตามตารางกริดคูณกับส่วนสูงก็จะทราบปริมาตรที่แน่นอน เมื่อนับจำนวนเซลล์จึงรู้ได้ว่าในสารละลายมีเซลล์มากน้อยเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร

กริดภายใน Counting chamber ภาพจาก https://www.nexcelom.com/Products/Disposable-Hemacytometer.html

อธิบายไปยึดยาวแล้ว เข้าสู่ปัญหาและเหตุผลที่ทำไมต้องทำแอพพลิเคชั่น Cells Calculator ขึ้นมา ปัญหาเริ่มจากว่าเมื่อเรานับตามพื้นที่ช่องที่แตกต่างกันปริมาตรที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปด้วย เราต้องคำนวณปริมาตร รวมถึงคำนวณความเข้มข้นของเซลล์ที่เราอยากรู้พร้อมกันด้วย ในบางครั้งถ้าเซลล์มีความเข้มข้นสูง(หนาแน่นสูง) เราก็จะเลือกนับในช่องเล็กลง เพื่อประหยัดเวลา ลดความเมื่อยล้าของสายตา แต่ถ้าเซลล์มีความหนาแน่นต่ำก็จะเลือกนับในช่องใหญ่ขึ้นได้ เพื่อเพิ่มความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลที่ได้ (นับเยอะย่อมถูกต้องมากกว่า) การที่ต้องคำนวณพื้นที่ใหม่ในทุกๆครั้งที่นับ มันไม่โอเคแน่นอน บางคนก็จะทำเป็น Factor ไว้คูณกลับได้ง่ายๆ ใช้ได้ในกรณีที่นับกับเซลล์ที่มีความหนาแน่ใกล้เคียงกันทุกครั้งที่นับ แล้วเลือกนับในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ก็ไม่โอเคแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่เปลี่ยนตำแหน่งพื้นที่นับบ่อยๆเกิดขึ้นกับเรา

จึงอยากได้ตัวช่วยที่สามารถให้เลือกได้ว่าจะนับตรงไหน ใส่ตัวเลขที่นับได้ เอาตัวคูณ Dilution Factor ใส่เข้าไป กดปุ่มแล้วคำนวณให้เลย อยากได้มาก น่าจะช่วยให้เราทำงานได้สะดวกขึ้นมากๆ บางครั้งการกดตัวเลขในเครื่องคิดเลขก็เกิดความผิดพลาดบ่อยๆ อยากจะลดปัญหาตรงนี้ด้วย

จึงเริ่มค้นหาแอพใน Google Play เพราะคิดว่าถ้ามีติดในมือถือน่าจะสะดวกในการใช้งาน สรุปคือไม่มี มีใกล้เคียงบ้าง แต่ไม่ใช่ในแบบที่ต้องการ สุดท้าย เมื่อไม่มีก็เขียนเองเลยสิ อยากได้แบบไหนก็เขียนเองเลย

สำหรับเราที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ พอรู้ภาษาคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง จะให้ฮาร์ดโค้ดเลยคงอีกนานกว่าจะได้ใช้ อีกอย่างแอพฯไม่น่าซับซ้อนมากนัก จึงเลือกใช้ App Inventor เป็นตัวช่วยในการเขียน ซึ่งก็เพียงพอกับสิ่งที่ต้องการและสิ่งที่ได้มา

จึงออกมาเป็น Chamber calculator ตัวแรก ที่ช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นมาก

Chamber calculator

ใช้ไปสักพักหนึ่ง มีคนเห็นเราใช้บอกว่าสะดวกดีขอมั้งได้ไหม ตอนนั้นมันยังเป็นแอพที่ไม่ได้จัดเรียงดีอย่างที่เห็นในรูปนะ มั่วกว่านี้เยอะ แต่ใช้งานได้ แต่พอจะเอาไปให้คนอื่นใช้เลยต้องนั่งปรับแต่งเพิ่มเติมอีกหน่อย จะได้ใช้ได้ง่ายขึ้น คราวนี้เราคิดว่าถ้าเอาไปแจกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ดูเลยจะเป็นไง พอมีคนได้ลองใช้ก็จะได้ feedback กับมา เราก็จะได้เอามาปรับเพิ่มเข้าไปได้อีก พอมีคนเห็นพอคนได้ลองใช้ก็จะมี request เพิ่มมาว่าอยากได้ตัวนับเซลล์เป็น-เซลล์ตายที่ใช้กันบ่อยๆในงานวิจัยด้วยได้ไหม ก็เห็นว่าน่าจะทำให้แอพมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น ก็เลยพัฒนาตัวนี้เพิ่มเข้ามาด้วยให้อยู่ในแอพเดียวกันไปเลย อยากใช้ตัวไหนค่อยสลับหน้าจอใช้งานเอา เลยได้อีกโหมดเป็นอีกโหมดคือ Viability calculator

viability calculator

ในโหมดนี้ก็มีปุ่มให้กดคลิกนับไปในตัวได้เลย ตามคำเรียกร้องของคนใช้ พร้อมเสียง และการสั่นเมื่อกดนับ ซึ่งทำให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นได้ลองปล่อยออกไปทาง Facebook ให้คนที่สนใจลองโหลดไปใช้ดูบ้าง เพราะอยากได้ feedback เอามาทำต่อให้สมบูรณ์มากขึ้นอีก ก็ได้เพื่อนๆหลายคนช่วยลองใช้ให้และได้คอมเม้นต์ที่ดีกลับมาค่อนข้างเยอะเลย และสุดท้ายเลยคิดว่าไหนๆก็ทำมาแล้วเอาขึ้น Google Play Store ไปเลยแล้วกัน เผื่อมีประโยชน์กับคนอื่นด้วย

เข้าไปโหลดแอพพลิเคชั่น Cells Calculator ได้ฟรีที่

QR Code

หลังจากปล่อยไป ก็ได้โพสให้เพื่อนๆใน Facebook ได้รู้เผื่อว่าจะมีคนสนใจ ผ่านไป 3 วัน พบว่ามีคนโหลดไปแล้วประมาณร้อยกว่าครั้ง ซึ่งก็ถือว่าเหนือความคาดหมายมาก เพราะเป็นแอพเล็กๆ ง่ายๆ และก็ค่อนข้างเฉพาะทางมากๆ มีแค่ไม่กี่คนที่จะได้ทำงานเกี่ยวกับเซลล์และไม่กี่คนจะมีโอกาสได้ใช้งานในลักษณะนี้ ถือว่าทะลุเป้าที่ตั้งไว้มากๆครับ

ส่วนวิธีใช้แบบง่ายๆก็ได้ลองอัดคลิปมาให้ได้ดูกันด้วย

วิธีการใช้แอพพลิเคชั่น Cells calculator 

รายการที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

  • เพิ่มปุ่มนับให้โหมด Chamber Calculator
  • ปรับให้เลือกช่องกริดได้หลากหลายมากขึ้น
  • เพิ่มสีสัน และภาพให้ดูน่าใช้มายิ่งขึ้น

Tinkercad โปรแกรมออกแบบงาน 3D อย่างง่าย ใช้งานออนไลน์ผ่านหน้าเว็บ

Tinkercad

Tinkercad เป็นโปรแกรมออกแบบงานทางด้าน 3 มิติ ใช้งานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เป็นของบริษัท Autodesk บริษัทที่ทำโปรแกรม 3 มิติที่ดังๆอย่าง 3ds Max, Maya, AutoCAD นั้นแหละ

Tinkercad เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว โปรแกรมจะมีรูปทรง 3 มิติพื้นฐานบางส่วนมาให้ เราสามารถสร้างรูปร่างที่ซับซ้อนจากการประกอบรูปทรงพื้นฐานเหล่านี้ได้ จากรูปทรงพื้นฐานที่ธรรมดาๆ บวกกับความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถประกอบรูปร่างให้มันเป็นรูปทรง 3 มิติที่น่าทึ่งได้เช่นกัน ลักษณะเหมือนต่อเลโก้ นอกจากนี้โปรแกรมยังมีความยืดหยุ่นสูง โดยอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถสร้างรูปทรงจากโค้ด JavaScript ได้อีกด้วย(แนวคิดเดียวกับ Minecraft) ตัวอย่างเจ๋งๆที่มีคนทำไว้ เช่น Godzillaรถแข่ง, เรือ+ปราสาท ลองเข้าไปดูตัวอย่างอื่นๆได้ที่ Discover

นอกจากนี้ ตัวอัพเดตล่าสุดของ Tinkercad เราสามารถ Export โครงสร้าง 3 มิติเข้าไปในเกม Minecraft ได้อีกด้วย ต้องถูกใจขาเกมแน่นอน เท่าที่เข้าไปเปิดดูใน Discover ที่แชร์ในเว็บไซต์มีหลายคนสร้างปราสาทเพื่อนำเข้า Minecraft เยอะพอสมควรเลย เรียกได้ว่าเป็นส่วนเสริมเกม Minecraft อีกตัวหนึ่งก็คงได้

Download for Minecraft

ดูตัวอย่างการ Export ปราสาทที่สร้างใน Tinkercad แล้วนำเข้าไปในเกม Minecraft ได้ในคลิป

https://www.youtube.com/watch?v=LnT1ZGQ0Abo

เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี คนที่อยากลองสร้างผลงาน 3 มิติไม่ควรพลาด จะทำแบบง่ายๆไปจนถึงสุดล้ำก็น่าลองทั้งนั้น

เข้าไปเล่น Tinkercad ได้ที่ https://tinkercad.com

via: Polygon

Apple Icon Devices ดาวน์โหลดฟรี

Apple Icon Devices

Free Icons: Apple Icon Devices

เว็บ IconShock และ MightyDeals เขาออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Apple แล้วนำมาแจกฟรี เห็นว่าสวยดี ดาวน์โหลดมาแล้วมีให้ทั้งไฟล์ PNG และ AI เอาไปใช้ได้แต่ห้ามเอาไปขายต่อล่ะ  ไอคอนมีทั้ง iPod(shuffle, nano, classic, touch), iPhone, Apple TV, Macbook Air, iPad, iMac รวมกัน 10 อัน

เข้าไปโหลดได้ที่ https://www.mightydeals.com/deal/apple-device-icons.html 

ปล. ต้องกรอกอีเมลด้วยนะ แล้วเขาจะส่งลิงค์ดาวน์โหลดไปให้ทางอีเมล

ฟรีอีบุ๊ค Best of Smashing Magazine ฉลองอายุ 5 ปี ePub(iPad), PDF, Mobi(Kindle)

free “Best of Smashing Magazine” Anniversary eBook.

Smashing Magazine เป็นบล็อกที่เขียนเกี่ยวกับการออกแบบ งานด้านกราฟิก เว็บไซต์ ฟอนต์ และอื่นๆอีกมากมาย เริ่มออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2006 เนื้อหาแน่น มีคุณภาพมาก เขียนในแบบมืออาชีพ แต่ละโพสเข้าขั้นรวมเล่มทำเป็นหนังสือได้เลย หลายๆครั้งที่คิดอะไรไม่ออก หรือหา reference ไอคอน ธีมเว็บไซต์สวยๆ ที่แรกที่คิดถึงคือที่นี้  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา(8 Sep 2011) เป็นวันครบรอบ 5 ปี ของเว็บไซต์ ทีมงานได้ฉลองวันครบรอบด้วย แจกอีบุ๊คฟรี!

“Best of Smashing Magazine” To Five Smashing Years: An Anniversary eBook เป็นอีบุ๊คแจกฟรี โดยเนื้อหาภายในเป็นโพสที่ได้รับความนิยม น่าสนใจ สร้างแรงบันดาลใจได้ดีที่สุด ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา คู่ควรเก็บไว้ในเครื่องอย่างยิ่ง ไฟล์อีบุ๊คมีหลายเวอร์ชั่น รองรับ e-book reader ตัวหลักๆหมด ได้แก่ ePub(iPad), PDF, Mobi(Kindle)

ดาวน์โหลดอีบุ๊คฟรีได้ที่
Free download on iTunes
Free download on Smashing Magazine (.zip, 55 Mb) 409 หน้า

เนื้อหา 

  • “Thirty Usability Issues to Be Aware Of”  —  Vitaly Friedman
  • “Ten Principles of Effective Web Design”  —  Vitaly Friedman
  • “Clever JPEG Optimization Techniques”  —  Sergey Chikuyonok
  • “Typographic Design Patterns and Best Practices”  —  Smashing Editorial team
  • “Ten Useful Usability Findings and Guidelines”  —  Dmitry Fadeyev
  • “Setting Up Photoshop for Web and iPhone Development”  —  Marc Edwards
  • “The Ails of Typographic Anti-Aliasing”  —  Tom Giannattasio
  • “Mastering Photoshop: Noise, Textures and Gradients”  —  Marc Edwards
  • “Better User Experience With Storytelling”  —  Francisco Inchauste
  • “The Beauty of Typography, Writing Systems and Calligraphy”  —  Jessica Bordeau
  • “Web Designers, Don’t Do It Alone”  —  Paul Boag
  • “Making Your Mark on the Web Is Easier Than You Think”  —  Christian Heilmann
  • “Responsive Web Design: What It Is and How to Use It”  —  Kayla Knight
  • “I Want to Be a Web Designer When I Grow Up”  —  Michael Aleo
  • “Persuasion Triggers in Web Design”  —  David Travis
  • “What Font Should I Use?”  —  Dan Mayer
  • “The Design Matrix: A Powerful Tool for Guiding Client Input”  —  Bridget Fahrland
  • “Why User Experience Cannot Be Designed”  —  Helge Fredheim
  • “Dear Web Design Community, Where Have You Gone?”  —  Vitaly Friedman
  • “Make Your Content Make a Difference”  —  Colleen Jones
  • “Two Cats in a Sack: Designer-Developer Discord”  —  Cassie McDaniel
  • “Print Loves Web”  —  Mark Cossey

ที่มา: https://www.smashingmagazine.com

ฟรีหนังสือ E-book จากห้องสมุดคณะแพทย์ฯ จุฬาฯ

รายการหนังสือ E-book โดยห้องสมุดคณะแพทย์

เคยแนะนำแหล่งดาวน์โหลดหนังสือออนไลน์ (เฉพาะนิสิตจุฬาฯ)ฟรีหนังสือ E-book มากกว่า 7 พันรายการ ไว้แล้วลองเข้าไปดูและดาวน์โหลดเก็บไว้ได้ครับ อีกแหล่งหนึ่งที่ทางห้องสมุดคณะแพทย์ จุฬาฯ ทำไว้ให้เป็นรายการหนังสือที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี จากแหล่งต่างๆเช่น SpringerLink ebook, SciDirect ebook, NetLibrary, PubMedBookShelf เป็นต้น โดยเรียงตามตัวอักษรให้ง่ายต่อการค้นหา เพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก

แต่หนังสือฟรีที่โหลดได้จากที่นี้ เนื่องจากเป็นรายการที่ห้องสมุดของคณะแพทย์เป็นผู้จัดทำขึ้น เนื้อหาจึงเป็นทางด้านการแพทย์ ชีววิทยา เป็นหลัก ต่างจาก CRCnetbase ที่จะมีทุกสาขา

การดาวน์โหลดหนังสือยังต้องอาศัยการใช้เน็ตในจุฬาฯ หรือใช้ VPN ครับ เป็นอีกช่องทางในการค้นหาหนังสือที่ตนสนใจแบบไม่ต้องเสียตังค์ ยิ่งถ้ามี E-book Reader ด้วยแล้วน่าจะถูกใจมากขึ้นแน่นอนครับ (ถ้าใครสนใจเล่มไหน จะฝากเพื่อนน้องๆโหลดให้ก็ได้นะ)

เข้าไปโหลดหนังสือ E-book จากห้องสมุดคณะแพทย์ฯ จุฬาฯได้ที่ https://library.md.chula.ac.th/e-book/ebook-list.html

หวังว่าจะเป็นโยชน์ครับ

ฟรี Google Adwords ราคา 1,500 บาท

Free Google Adwards

เคยได้ Facebook credit $25 ใช้หมดใน 3 วัน ที่จริงวันเดียวก็หมดถ้าไม่ตั้ง limit ไว้ แต่ตอนเล่นโฆษณาของ Facebook ได้ความรู้เรื่องสถิติของคนที่เล่น Facebook ในไทย มาครั้งนี้ได้ Google Adwords มาฟรี 1,500 บาท แต่ตอนนี้เหลือ มูลค่าแค่ 1,000 บาท เพราะมันหมดอายุตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. แต่ว่าไหนๆก็ได้มาแล้ว ลองเล่นดูหน่อยแล้วกัน แต่ว่าจะโฆษณาอะไรดีนะ

ฟรีคู่มือ Windows 7: From Newbies To Pros

ฟรีคู่มือ Windows 7

เอาคู่มือการใช้งาน Windows 7 แบบฟรีๆ มาให้โหลด เป็นคู่มือสั้นๆ 50 หน้า อ่านง่าย มีรูปประกอบ ขนาดไฟล์ 2.9 MB มีอยู่ทั้งหมด 8 Chapter ดังนี้
Windows 7: From Newbies To Pros
Chapter 1: Introduction
Chapter 2 – Are We Compatible?
Chapter 3 – Learning the New Taskbar
Chapter 4 – Using and Customizing Windows Aero
Chapter 5 – Windows 7 Libraries
Chapter 6 – Windows 7 Software
Chapter 7: Windows 7 Networking – Easy As Pie
Chapter 8: Windows 7 and Gaming

DOWNLOAD หรือ อ่านแบบออนไลน์ที่ Scribd

via : https://www.makeuseof.com/tag/windows-7-guide-newbies-pros-free-pdf/

โปรแกรมฟรีที่น่าใช้ใน Nokia S60 3rd

โปรแกรมที่ผมติดตั้งลงมือถือ แล้วชอบ ก็เลยเอามาบอกต่อ ให้คนอื่นๆได้ลองทดลองใช้ดูครับ โปรแกรมฟรีดาวน์โหลดไปติดตั้งได้เลย

  1. jibjib เป็นโปรแกรมเล่น twitter ตัวเวอร์ชั่น beta ทำอะไรได้เกือบจะทุกอย่าง ใส่รูป ใส่ location
    ข้อดี คือโหลดเร็ว ทวีตง่าย ดึงข้อมูลจากเน็ตมาน้อย
    ข้อเสีย คือไม่ค่อยสวย

    jibjib

  2. PG โปรแกรมอับโหลดภาพ วีดีโอขึ้นเว็บ และสามารถเชื่อมกับตัวอื่นๆได้ด้วย ทั้ง facebook ,twitter,picasa,hi5,flickr,youtube
    ข้อดี คือ สามารถอับโหลดได้ทั้งภาพและวีดีโอ และมี location ติดไปด้วย และsync กับตัวอื่นๆได้ง่าย
    ข้อเสีย คือ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายเยอะ จึงต้องระวังเรื่องเงินด้วยถ้าไม่ได้สมัคร unlimited และต้องใช้พลังงานสูงด้วยแบตเตอรี่อาจหมดเร็วด้วย

    playground

  3. Google Mobile โปรแกรมใช้ Google Apps ผ่านมือถือ ที่จะมีทั้ง Search ,Gmail,Youtube,Picasa,Maps, etc.
    ข้อดี คือ ตัวที่ผมชอบมากคือ Latitude ที่มีสามารถนำทางได้บอกขั้นตอนการเดินทางด้วยรถสถานะหรือรถส่วนก็ได้ มีสัญญาณจราจรบอกด้วย สั่งเสิร์ชด้วยเสียงก็ได้ เจ๋งมาก
    ข้อเสีย คือ แปลกหน่อยที่ไม่มีลิงค์ Google Docs ข้างใน

    Google-apps-mobile

  4. Opera Mini 5 Beta โปรแกรมเปิดเว็บ ในมือถือที่แสดงหน้าเว็บได้สมบูรณ์มาก ที่จริงมี Opera Mobile ด้วยซึ่งพอลองใช้ดูรู้สึกว่าโหลดเร็วกว่านิดหน่อย แต่พิมพ์ไทยไม่ได้ เลยตัดสินใจเลือกตัว mini ดีกว่า
    ข้อดี คือ แสดงหน้าเว็บได้สมบูรณ์มาก พิมพ์ไทยได้สบาย ใช้งานง่าย
    ข้อเสีย คือ ตอนโหลดเข้าโปรแกรมครั้งแรกอาจจะช้านิดๆเท่านั้นเอง

    Opera mini 5 beta

  5. LekLekDict โปรแกรม Dictionary Thai<->Eng แปลไทยเป็นอังกฤษ หรือจะแปลอังกฤษเป็นไทยก็ได้
    ข้อดี คือ สามารถใส่ภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยได้ในช่องเดียวกัน ผมชอบมาก
    ข้อเสีย คือ ถ้าเขียนคำผิดจะไม่มีการค้นคำใกล้เคียงให้ แต่จะขึ้นเป็น eror ว่าไม่มีความหมาย

    LekLekDict

  6. ScreenSnap โปรแกรมจับภาพหน้าจอมือถือ ภาพต่างที่เห็นเป็นผลงานของมันล่ะ
    ข้อดี ใช้งานง่าย สามารถตั้งปุ่ม shortcut ในจับภาพได้แล้วแต่ชอบ
    ข้อเสีย ภาพที่ได้อาจจะละเอียดในระดับหนึ่งเท่านั้น

    Screensnap

  7. Upcode โปรแกรมอ่าน barcode
    ข้อดี คือ ทำให้เราอ่านรายเอียดภายใน Code ได้
    ข้อเสีย คือ ในรายละเอียดของโปรแกรมสามารถอ่านได้ทั้งโค้ด แบบ 3D 2D แต่ที่เครื่องผมอ่านได้แค่ 3D ถ้ากล่องมือถือไม่ดีต้องใช้ barcode ที่มีขนาดใหญ่จึงจะอ่านได้

    Upcode

  8. Mail for Exchange เอาไว้ Sync รายชื่อกับ Google Contacts และ Calendar
    ข้อดี คือ สามารถเก็บรายชื่อเบอร์โทรไว้ได้
    ข้อเสีย คือ ถ้าข้อมูลมีเยอะอาจใช้เวลานานในการ Sync แต่มันก็เป็นเรื่องปกติ

    Mail for Exchange

  9. Nokia Photo Browser โปรแกรมดูรูปในมือถือแบบ 3D สวยดีครับดูแบบเพลิน
    ข้อดี คือ เป็นการนำเสนอภาพในมุมมองที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
    ข้อเสีย คือ โหลดรูปช้านิดๆ ไม่ถึงกับช้ามาก

    Nokia Photo Browser

โปรแกรมที่นำมาแนะนำเป็นโปรแกรมฟรีทั้งหมดเลยครับ ขอให้สนุกกับมือถือของคุณ

Exit mobile version