เมื่อถาม Alexa, Pi มีค่าเท่าไหร่ มาฟังคำตอบกัน

เราสามารถถาม Alexa เกี่ยวกับโจทย์ทางคณิคสาสตร์ได้ด้วย อาจจะประโยคสั้นๆที่ไม่ยาวมาก เช่น

  • Alexa, how many [units] are in [units]?
  • Alexa, what’s 10 plus 5?
  • Alexa, what’s 20 times 15?
  • Alexa, 50 factorial

แต่มีเรื่องสนุกที่คนชอบถาม Alexa คือ “What is the value of Pi?” (ผมถามไป What is the number of Pi?) คือค่าพายมีค่าเท่าไหร่? ซึ่งคำตอบที่ Alexa ตอบกลับมา นั้นยาวมากๆ ต้องนั่งฟังเป็นนาทีเลยทีเดียว 

3.141592653589793238462643383279502884197169399375105820974944592307816406286…

แต่ถ้าถามแบบทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงถึงตัวเลข “What is pi?” Alexa จะตอบกลับมาสั้นๆ

“The number pi is a mathematical constant, the ratio of a circle’s circumference to its diameter, commonly approximated as 3.14159.”

ยังมีเรื่องให้ลองอีกหลายอย่าง จะทยอยเอามาเล่าให้ฟังเรื่อยๆครับ

เมื่อ Alexa งอลไม่ยอมคุยด้วย

แกล้ง Alexa จนเธองอลไม่ยอมคุยกับเราแล้ว

สรุปคือ ถ้าเราออกคำสั่งเดิมๆ ซ้ำๆ 4-5 ครั้ง แล้วไม่ให้ข้อมูลที่เธอต้องการ มีความตั้งใจจะแกล้งเธอ สุดท้าย Alexa จะรู้ตัว แล้วจะ skip คำสั่งนั้นไปเลย

“ฉันงอลไม่คุยกับแกแล้ว”

(แต่ถ้าเปลี่ยนประโยคนิดหน่อย Alexa ก็จะกลับมาคุยกับเราเหมือนเดิมครับ)

หลังจากป้อนคำสั่งแบบข้างบนซ้ำๆไปหลายๆรอบ สุดท้าย Alexa ก็ไม่ตอบกลับ

Mark Zuckerberg is a good explainer

ไม่รู้ว่า Facebook Profile ของ Mark Zuckerberg นั้น เขาเป็นคนเขียนเองหรือมีทีมงานช่วยดูแลให้ พยายามจะค้นดูแล้วก็ไม่เจอรายละเอียดส่วนนี้ เลยเดาว่าน่าจะทั้งสองอย่างรวมๆกัน เท่าที่เฝ้าติดตามมาตลอดนั้น ก็พบอะไรหลายๆอย่างจากโพสของเขาเหล่านั้นและได้เรียนรู้พอสมควร แต่สิ่งที่ชอบที่สุด ขอยกให้กับ…

ตัวอย่าง Mark Zuckerberg on Facebook

การใช้ภาษาอังกฤษของเขาครับ มันเรียบง่ายและเข้าใจได้ง่ายมากครับ ไม่ค่อยมีศัพท์แสง(Jargon)ให้ได้เจอเลย ทั้งๆที่บางเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะทางมากๆ มันทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักที่มีกันอยู่ทั่วโลกนั้น เข้าใจในสิ่งที่เขาจะสื่อสารได้ง่ายและมากขึ้นเยอะเลยทีเดียวครับ

ทำให้คิดไปว่าก่อนที่จะกด Post หรือ Publish ลงไปนั้น น่าจะมีการ rewrite ไปหลายรอบก่อนแน่ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่ามีทีมงานช่วยดูแลแน่ๆ ไม่งั้น Mark ก็เป็นคนที่สื่อสารได้ดีมากๆ เพราะถ้าเกิดโพสอะไรผิดพลาดไป มันจะเกิดผลกระทบในวงกว้างแน่นอน

แต่ก็มีบางโพสมันก็ดูเป็นเรื่องส่วนตัวธรรมดามากที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขาเป็นแค่เพื่อนเราคนหนึ่งบน Facebook และตัวเขาเองน่าจะเป็น CEO อันดับต้นๆที่สื่อสารกับผู้ใช้มากที่สุดในโลกด้วย CEO คนอื่นๆจะโผล่มาให้เห็นเฉพาะช่วงเวลาสำคัญๆของบริษัทเท่านั้น ไม่รายงานผลประกอบการ ก็เปิดตัวสินค้า

สรุปว่า Mark Zuckerberg (หรือทีมงาน) นั้นเป็น Explainer ที่เยี่ยมยอดมากๆ ตรงกับนิยามของหนังสือที่กำลังอ่านอยู่พอดีเลยนั้นคือ “Complicated Stuff in Simple Words” จะพยายามเรียนแบบก็แล้วกันครับ

MyPermissions ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของเราถูกใครดึงไปใช้งานบ้าง

MyPermissions เว็บไซต์ช่วยตรวจสอบบริการต่างๆดึงข้อมูลอะไรที่เป็นส่วนตัวของเราไปใช้บ้าง

หลายๆครั้งที่เราสมัครเข้าใช้งานเว็บไซต์ เกมส์ หรือบริการออนไลน์ตัวใหม่ๆ ด้วยบัญชีของ Facebook หรือ Twitter ตามแต่เจ้าของบริการจะเปิดให้เราเข้าใช้งานโดยการดึงข้อมูลของเราจาก social network ของเราเองมาใช้ ทำให้คนใช้งานก็สะดวก คนให้บริการก็ได้สมาชิกมากขึ้นจากความสะดวกนั้น จนหลายๆครั้งเราคนใช้งานไม่ได้ตรวจสอบดูเลยว่าในแต่ละครั้งบริการเหล่านั้นขอข้อมูลส่วนตัวอะไรของเราบ้าง และบางอันที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ก็ควรหยุดให้เขาเข้ามาดึงข้อมูลของเราไปใช้ (ข้อมูลส่วนตัวของฉันนะ)

ความเป็นส่วนตัว(permission) ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือผู้ให้บริการจะแนะนำบริการต่างๆได้ตรงตามความต้องการของเราเพราะเราให้ข้อมูลที่ละเอียด ส่วนข้อเสียก็คือบางเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัวมากๆเราก็ไม่อยากให้ใครได้ข้อมูลเหล่านั้นไป มันอาจจะหมายถึงความปลอดภัยทั้งทรัพย์สินและร่างกายของเรา ต้องระวังในการเปิดเผย ควรให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ถ้าเป็นคนที่ชอบท่องโลกอินเตอร์เน็ต ลองเล่นโน่นนี้นั้นไปเรื่อย ยากที่จะตามไปดูว่าให้ข้อมูลส่วนตัวของเราที่อยู่ใน social network ให้ใครไปบ้างและเขาได้ข้อมูลอะไรไปบ้าง ก็เป็นเรื่องน่ากังวลอยู่ไม่น้อย แล้วก็มาเจอเว็บไซต์นี้ครับ ตัวช่วยตรวจสอบ permission ให้เรา

เว็บไซต์ MyPermissions จะช่วยตรวจสอบให้เราว่าข้อมูลของเราใน social network เช่น Facebook, Twitter, Google+,Instagram ฯลฯ ถูกนำไปใช้ที่ไหนบ้าง และขอใช้ข้อมูลอะไรบ้าง เช่น location, contact list, photo เป็นต้น เยี่ยมมากๆ

ตัวอย่าง เข้าไปดูรายละเอียดการอนุญาติให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว สามารถเพิกถอนการเข้าถึงได้

เมื่อตรวจดูแล้วบ้างอันที่เราไม่ได้ใช้งานแล้วก็ควรหยุดการให้เข้าถึงข้อมูลของเรา ซึ่งเราสามารถเข้าไปแก้ไขและเพิกถอนสิทธิ์(revoke)การเข้าถึงข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์หรือบริการต่างๆที่ดึงไปใช้งานได้ ถ้าเราติดตั้งเป็น extension ของ MyPermission ใน browser ของเราก็จะมีการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการขอใช้ข้อมูลส่วนตัวของเรา ถือว่ามีประโยชน์มากๆครับ

เข้าไปใช้งาน MyPermissions ได้ที่เว็บไซต์ https://mypermissions.com

เกม Plants vs. Zombies Adventures ใน Facebook

Plants vs. Zombies

ช่วงนี้เล่นเกมนี้อยู่ครับ Plants vs. Zombies Adventures for Facebook ก่อนหน้านี้ได้เล่นใน iOS มาก่อนสนุกดีครับ ในเวอร์ชั่นใน Facebook นั้นแตกต่างจากเกมในอุปกรณ์พกพา (Android/iOS) อยู่บ้าง แต่คงคอนเซ็ปปลูกผักมายิงซอมบี้ที่กำลังจะเดินเข้าบ้าน

เป็นเกมง่ายๆ แต่เล่นไปเล่นมาก็ต้องใช้ความคิดและการวางแผนเหมือนกันนะ การออกแบบเกม Plants vs. Zombies ใน Facebook ตอนเริ่มเล่นนั้นทำได้งงมากๆ เพื่อนหลายคนเข้าไปครั้งเดียวก็ไม่เล่นต่อ เพราะงงกับระบบสอนวิธิีเล่น แต่อยากบอกว่าคลิกๆตามมันไปเรื่อยๆเดี๋ยวได้เอง จากนั้นก็มันส์ได้ Plants vs. Zombies for Facebook จะมีการเล่นอยู่สองส่วนคือ การดูแลบ้าน และ ออก Road Trip ไปเก็บตังค์ตามด่านต่างๆ

วิธีเล่นคร่าวๆคือเราปลูกผักที่บ้าน แล้วก็เอาขึ้นรถออกไปล่าซอมบี้เก็บตังค์มาอัพเกรดบ้าน เมื่อเลเวลสูงขึ้นซอมบี้จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ผักของเราก็จะถูกปลดล็อคชนิดใหม่ๆออกมาเรื่อยตามเลเวลของเราเช่นกัน การเลือกผักที่ถูกทางกับซอมบี้เป็นสิ่งสำคัญถ้าไม่ถูกทางก็เอาไม่อยู่ ยกตัวอย่าง

 Rocket Zombie มันมีจรวดติดหัวแถมมีเสก็ตอีกไม่ยอมกินผักด้วย ต้องเจอกับ Snow Pea ยิงทีเดียวจรวดหลุดหัวเลย

อีกตัวอย่าง Buckethead Zombie กับ  Football Zombie วิ่งเร็วกินเร็ว ผักตายหมด ยิงตายยาก ต้องมีตัวแก้ทางคือ  Magnet Plant จะดูดหมวกกันน๊อคมันออกแล้วยิงตายง่ายขึ้นเยอะ อื่นๆ Zombie ที่โดนแช่ในน้ำแข็งต้องเอา

 Flaming Pea ยิงทีเดียวแตกกระจาย

อันนี้เป็นสิ่งที่เล่นๆไปเดี๋ยวจะรู้เอง ไม่ใช่สูตรลับอะไร และขึ้นอยู่กับเทคนิคการวางแผนของแต่ละคนด้วย บางคนก็ชอบใช้ Wallnut ให้มันกิน แล้วเราก็ยิงไปเรื่อยๆ

มาเข้าเรื่องต่อไปดีกกว่าการเล่นแบบ Road Trip ในการเปลี่ยนด่านในแต่ละครั้งจะต้องมีการร้องขอให้เพื่อนช่วย ถ้าเพื่อนที่เรามีไม่พอตามจำนวนที่แต่ละด่านกำหนดเราสามารถจ่ายด้วย Zombuck(เงินในเกม) ได้ แต่พอด่านที่สูงขึ้นจำนวนเพื่อนที่ต้องขอให้ช่วยก็จะเยอะขึ้นด้วย และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายก็เยอะตามไปด้วย โดยเฉพาะหลังจากด่านที่ 7 จ่ายด้วย Gem(เพชรสีแดง) หาเก็บเพิ่มไม่ได้ ต้องจ่ายเงินจริงซื้อ แต่ถ้าหากเรามีเพื่อนเยอะเรื่องพวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร งั้นขอชวนเพื่อนมารวมกลุ่มกันไปออก Road Trip กันครับ

เข้ามา Add Friend กันได้ที่กรุ๊ป Plants vs. Zombies Player กันนะครับ https://www.facebook.com/groups/524489237605821/

อยากเล่นเกม Plants vs. Zombies for Facebook คลิกที่นี้ครับ https://apps.facebook.com/pvzadventures/?fb_source=search&ref=br_tf 

วิเคราะห์การใช้งาน Facebook ของคุณด้วย Wolfram|Alpha

Wolfram|Alpha เป็นระบบค้นหาคำตอบอัจริยะ มันเก่งขึ้นเรื่อยๆ Siri ของ Apple ก็ดึงข้อมูลบางส่วนจาก Wolfram|Alpha ไปใช้งาน ถ้าอยากรู้จักมันให้ดีขึ้นลองอ่านบทความเก่าๆ ใน Tag  Wolframalpha ได้ครับ ผมเขียนถึงมันอยู่บ้างและก็ได้ใช้งานอยู่เป็นระยะ ความสามารถล่าสุดที่น่าสนใจของ Wolfram|Alpha ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นาน คือ “Facebook report” ครับ ลองมาดูว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Facebook report by Wolfram|Alpha

Facebook report คือการวิเคราะห์การใช้งาน Faceook ของเรา โดยละเอียด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์

  • ข้อมูลส่วนตัว เกิดวันไหน ปีอะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดอีกครั้ง
  • Activity ในแต่ละปีที่ใช้งานมา อัตราการโพส แชร์ลิงค์ อัพโหลดภาพ
  • ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดในการโพส คำนวณคำที่ใช้โพส มีคีย์เวิร์ดอะไรเยอะที่สุดในโพส
  • เพื่อนคนไหนคอมเม้นต์ ใครแชร์ในโพสของคุณมากที่สุด
  • อัตราการใช้แอฟพิเคชั่น
  • ภาพไหนที่คุณโพสมีการคอมเมนต์และแชร์มากที่สุด
  • อัตราส่วนเพื่อนผู้หญิง-ผู้ชาย เฉลี่ยเพื่อนคุณมีสถานะอะไรบ้าง (โสด,แต่งงาน ฯลฯ)
  • ช่วงอายุของเพื่อน ใครแก่สุด ใครเเด็กสุด
  • เพื่อนอยู่ในประเทศอะไรบ้าง ใช้ภาษาอะไร ศาสนาอะไร
  • และอื่นๆ

วิธีการใช้งาน

เข้าไปที่เว็บไซต์ Wolfram|Alpha พิมพ์คำว่า facebook report ลงในช่องค้นหา enter

Facebook report

จากนั้นก็คลิกปุ่ม “Analyze My Facebook Data” ซึ่งระบบจะขออนุญาติเข้าถึงข้อมูล Facebook ของเราก็กดยอมรับไป สักพักระบบจะดึงข้อมูลของเราเข้ามา และรายงานผลการวิเคราะห์ให้ได้เห็น

Facebook report

ตัวอย่างการวิเคราะห์บัญชีของผมเอง คิดว่าถ้าเป็นบัญชี Wolfram|Alpha แบบ Professional คงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เพราะเทียบกับข้อมูลจากด้านบนของ Stephen Wolfram ของเขาเป็น account แบบ Pro ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงของเพื่อน และอื่นๆที่ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ผลการวิเคราะห์ไปที่ social network อย่าง facebook, twitter, google+, linkedin ฯลฯ ได้ทันที

Share ผลการวิเคราะห์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wolframalpha.com/facebook

Mark Zuckerberg – Inside Facebook สารคดีจาก BBC

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก: ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ, Facebook

ภาพยนต์สารคดี Mark Zuckerberg – Inside Facebook ของ BBC ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2011 ความยาว 59 นาที ออนไลน์มาเป็นเดือนแล้วแต่ไม่มีเวลาได้ดูวันนี้นึกยังไงไม่รู้มาเปิดดู เรื่องอาจจะเป็นเรื่องที่เราพอรู้อยู่บ้างแล้ว แต่ก็ดูได้เพลินๆ เนื้อหามีบทสัมภาษณ์พิเศษของ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก, อาจารย์ ม.ฮาร์วาร์ด, เพื่อนสมัยเรียนมหาลัย(Joe Green-จำไม่ได้ว่าตาคนนี้อยู่ในหนังด้วยหรือเปล่า?) ,พนักงานใน Facebook  ประวัติความเป็นมาของ Facebook มีการหาความจริงจากหนังเรื่อง Social Network ด้วย (เป็นหนังอีกเรื่องที่เราชอบมาก) ที่สร้างจากหนังสือที่มองในมุมของคนคนเดียว มีข้อมูลค่อนข้างเป็นปัจจุบันเพราะมีทั้ง Timeline ที่เพิ่งเปิดตัวไป และสำนักงานแห่งใหม่

ในสารคดีชุดนี้แสดงให้เห็นว่า Facebook เอาข้อมูลของผู้ใช้อย่างเราไปทำมาหากินยังไง การโฆษณาที่เจาะเฉพาะกลุ่มได้ตรงเป้าที่สุดอย่างที่ Google เจ้าพ่อโฆษณาออนไลน์ทำไม่ได้ แม้ว่า Facebook จะเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปใช้ แต่ก็เหมือนว่าทุกคนก็เต็มใจให้(หรือไม่รู้ว่าเอาไปใช้) อาจจะเป็นเพราะเราก็ได้ประโยชน์จาก Facebook เหมือนกันจะมองว่า Win Win ก็คงได้เพราะมันเป็นที่ทำให้เราได้พบปะเพื่อนของเรา และนี้อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เรามองข้ามเรื่องความเป็นส่วนตัวไป

เข้าไปดูสารคดีชุดนี้ได้ที่นี้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=tlQbtNn3-vI

เปิด Facebook Page ให้บล็อก

ลิงค์ของ Facebook ที่อยู่ในช่องติดตาม Amphur Blog จะเป็นลิงค์ไปที่หน้า Profile ของผมโดยตรง ซึ่งตอนนี้มีเพื่อนอยู่หลายคนพันแล้ว เข้าใจว่ามีเพื่อนหลายคนที่เข้าไปผ่านทางบล็อกนี้ แต่ก่อนก็รับ friend request เกือบทุกคน แต่หลังๆไม่ไหวแล้ว มันจะเยอะแล้ว และยังมีคนส่ง request ไปประมาณวันละ 2-3 คน(ไม่รู้ว่าจากไหนแน่) เลยคิดว่าตัวเองจะรองรับปัญหานี้ยังไง รู้สึกว่ามันปนกันมั่วไปหมด ความจริงแล้ว facebook ทำไว้รองรับอยู่แล้ว แต่เราดันใช้ผิดประเภท เอา Profile ไปรวมกับ Page ตอนแรกคิดจะเปลี่ยนตัว Profile ให้เป็น Page ซะเลย! แต่ขี้เกียจจะต้องมา add friend ใหม่ เอาแบบนี้น่าจะดีสุด คือสร้าง Page ของบล็อกขึ้นมาดีกว่า แต่ส่วน facebook ส่วนตัวเพื่อนคนไหนอยากเป็นเพื่อนยังเข้าไปดูได้ที่ about me ครับ

Amphur Blog on Facebook

Amphur Blog Page : https://www.facebook.com/amphur.in.th

มีอีกอย่างที่เปลี่ยนแปลง ปกติจะดึง feed จากบล็อกไปแสดงที่ facebook ด้วย Networkblog แม้จะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น คนอื่นสามารถ follow ได้ มี widget ให้ แต่มันก็มีข้อเสียที่ไม่ชอบคือมันย่อ URL เวลาคลิกเข้าไปแล้ว URL ที่เห็นยังเป็นของ Networkblog อยู่ อีกทั้งมันยังมีอาการส่ง feed ช้าบ้าง เร็วบ้าง ใน Page นี้เลยลองเปลี่ยนมาใช้อีกตัวคือ RSS Graffiti ซึ่งได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน ไม่รู้ว่าจะดีแค่ไหน? ต้องลองใช้ดูซักพักก่อน

คลิก Like ได้ที่ด้านข้างเลยครับ สุดท้ายฝากแชร์ Amphur Blog Page ด้วยนะครับ

เว็บไซต์แนะนำผู้น่าติดตามใน Google+

Who to follow on Google+

ก่อนหน้านี้ได้แนะนำคนที่น่าติดตามใน Google+ ที่เป็นพนักงานของ Google และ Facebook ดูได้ตามลิงค์

ใน Twitter จะมีฟีเจอร์หนึ่งแนะนำคนที่คุณอาจสนใจ Who to follow ผมถือว่ามันมีประโยชน์พอสมควรเลย ใน Google+ ยังไม่มีฟีเจอร์นี้แต่ก็มีคนทำเว็บไซต์แนะนำคนน่าติดตามใน Google+ มาให้เราแล้ว โดยแยกกลุ่มให้อย่างดีเยี่ยม เว็บไซต์นั้นคือ https://www.recommendedusers.com เป็นผลงานของ +Alireza Yavari อีกอย่างที่ผมชอบในเว็บไซต์นี้คือ Circle ที่ทำขึ้นมีภาพประกอบตรงกลางวงทำให้รู้ว่าวงที่จะเลือกเกี่ยวกับอะไร ถ้า Circle ใน Google+ ใส่ภาพได้บ้างหรือมีภาพหมวดหมู่ให้เลือกใช้แทนจำนวนคนกับชื่อวงน่าจะดีไม่น้อย

เมื่อเราคลิกไปใน Circle ที่แนะนำจะพบหน้าตาประมาณนี้ครับ

ตัวอย่างในหมวด Artists Designers

คลิก Add to circles ใต้ชื่อคนที่เราสนใจ จะเปิดหน้า Profile ของคนนั้นขึ้นมา เราก็สามารถเอาเข้า Circles ได้เลย ถ้าคลิกที่หน้านี้แล้วนำเข้า Circles ได้เลยคงดี(ในอนาคตอาจจะทำได้ก็ได้) นอกจากนี้เขายังเปิดโอกาสให้เราแนะนำคนที่น่าสนใจตามหมวดหมู่เข้าไปได้นะครับ Suggestions & Recommendations

ในเว็บไซต์มีหมวดหมู่แยกคนที่น่าติดตามดังนี้

 Suggested Categories

  • Authors & Writers
  • Artists & Designers
  • Bloggers
  • Featured Users
  • Foodies
  • Googlers
  • Graphic Designers
  • Journalists
  • LGBT
  • Most Followed People
  • Musicians
  • Photographers
    -Most Followed
    -Inspirational
    -Landscape & Wildlife
    -Street Photographers
    -Portrait & Wedding
    -Other Categories
    -Photographers
  • Podcasters
  • Scientists
  • Tech Entrepreneurs
  • VCs & Angel Investors
  • Wall of Fame
  • Web Celebrities
  • Web Developers
  • Web Designers
  • Women in Tech
ยังไม่หมดครับ ในส่วนของ blog ยังแนะนำ album ภาพสวยๆจาก Google+ user ที่สวยๆมาให้เลือกดูอีกด้วย เป็นอีกจุดเด่นของ Google+ ที่ใส่ภาพขนาดใหญ่ลงไปได้ ( Facebook ภาพถูกย่อลง)
Photo Albums on Google+

ถือว่าเป็นเว็บไซต์ครบเครื่องเรื่อง Suggestions & Recommendations เกี่ยวกับ Google+ ที่ยอดเยี่ยมมาก

รวมผลงานออกแบบหน้าตา Facebook แบบใหม่

มีศิลปินหลายคนคงไม่ค่อยพอใจกับหน้าตาของ Facebook หรือ อาจจะแค่อยากลองออกแบบเว็บไซต์ Social network ที่มีคนใช้งานเยอะที่สุดในโลก อยากแสดงความสามารถว่าทำออกมาได้ดีกว่าปัจจุบัน มีหลายๆครั้งที่คนโชว์ความสามารถแนวนี้แล้วได้งานทำจริงๆ มีตัวอย่างให้เห็นเยอะแล้ว

การออกแบบหน้าตา Facebook ของแต่ละคนดูดีแตกต่างกันไป หลายอันทำออกมาได้น่าดู น่าใช้ขึ้นไม่น้อย เว็บไซต์ Hongkiat รวบรวมไว้ ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยเอาแชร์ นอกจาก Facebook แล้วยังมีเว็บไซต์อื่นๆด้วยที่ศิลปินได้ออกแบบหน้าตาใหม่ให้ เช่น Google, Myspace, Youtube, IMDb เป็นต้น เข้าไปดูได้ที่ลิงค์ที่มาด้านล่างครับ

Facebook Concept Design

1. Barton Smith

Facebook-Facelift
Facebook Facelift

ผลงานแรกเป็นของ Barton Smith ในชื่อ The Facebook Facelift ปรับแต่งใหม่ทั้งหมด ทั้ง Home, Feed, Event, Photo ทำออกมาดูดีมาก เน้นโทนขาว เทา ฟ้า ใช้พื้นที่ได้เต็มจอ มีวีดีโอสาธิตการใช้งานด้วย เข้าไปดูผลงานของเขาแบบเต็มๆได้ที่ Barton Smith

2. Information Architects

Facebook by information architect

ผลงานโดยบริษัททำงานออกแบบโดยตรง Facebook ในแบบของพวกเขาถูกออกแบบมาให้เหมือนกับอีเมลแอพลิเคชั่น แบ่งออกเป็น 3 คอลัมน์ คือ ส่วนของ filter แยกกลุ่มของเนื้อหาที่จะแสดงใน information-stream ที่อยู่ตรงกลาง และ reaction ที่จะใช้โต้ตอบคอมเม้นต์ในหัวข้อนั้นๆ ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.informationarchitects.jp

3. Justin Dauer 

Facebook by Justin Dauer

Facebook หาตาแบบใหม่ของ Justin Dauer ดูเรียบมีสไตล์คล้ายบล็อกเหมือนกันนะ ดึงเอารายละเอียดของผู้ใช้มาอยู่ด้านขวา เมนูสำคัญพร้อมกับ notification แสดงดูด้านบน ดูดีมาก รายละเอียดดูที่ pseudoroom design

4. Peter Knoll

Facebook by Peter Knoll

ตัวนี้เมนูด้านบนยังคงคล้ายๆกับหน้าตาของ Facebook ในปัจจุบัน และเน้นส่วนของ post ให้ใหญ่และเด่นมากขึ้น แต่ส่วน New Feed จะเหมือนกับ Google+ เลย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Peter Knoll

5. AndasoloARTS

Facebook by AndasoloARTS

การออกแบบ Facebook ตัวนี้มีโทนสีคล้ายกับของ Peter Knoll ส่วนที่แตกต่างออกไปคือส่วนของ New Feed ที่ใหญ่ขึ้นและดูดีขึ้น รายละเอียดดูที่ AndasoloARTS

6. Jonaska

Facebook by Jonaska

อันนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก AndasoloARTS โดยปรับปรุงส่วนของช่องโพส ช่องค้นหา และส่วนอื่นๆให้ดูดีขึ้น รายละเอียดที่ Jonaska

7. Czarny-Design

Facebook by Czarny Design

หน้าตาใหม่ของ Facebook ที่ออกแบบโดย Czarny Design จะเน้นไปที่การใช้เส้นโค้งในการออกแบบมากขึ้น เน้นช่องคอมเม้นต์ให้เด่นมากขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Czarny-Design

การออกแบบหน้าตาใหม่ให้ Facebook ของแต่ละคนก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน หลายๆอันอยากให้เอาไปใช้จริงๆเลยนะ อย่างเช่นของ Justin Dauer ผมว่าเข้าขั้นน่าใช้เลยล่ะ แต่ทุกครั้งที่ Facebook มีการอัพเดตหน้าตาใหม่ช่วงแรกๆจะมีคนบ่นอยู่ซักพักจากนั้นก็จะชินและเลิกบ่นไปเอง ประมาณว่าเขาให้ใช้อะไรก็ต้องใช้ไป แต่ผมว่าเว็บไซต์ที่มีคนใช้งานเยอะขนาดนั้นเข้าต้องวิจัยและทดลองใช้มาก่อนอยู่แล้วจึงจะปล่อยให้คนทั่วไปใช้ และมันต้องเป็นมิตรกับคนใช้งาน ไม่ยุ่งยากเกินไป ซึ่งผมว่าปัจจุบัน Facebook ก็ทำได้ดีมากอยู่แล้ว

เห็นคนอื่นออกแบบ Facebook ในฉบับของเขา คุณอยากลองทำเองบ้างไหมครับ ใครทำแล้วแชร์มาให้ดูด้วยนะครับ

ที่มา: https://www.hongkiat.com/blog/concept-design-facelift-notable-websites

รวมภาพการออกแบบหน้าตา Facebook ของแต่ละคนทั้งหมด

 

Exit mobile version