หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 18-28 ตุลาคม 2555

เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือของผมส่วนใหญ่จะอยู่บนรถระหว่างการเดินทางไปทำงาน ช่วงหลังๆที่ผ่านมาได้กำจัดกองหนังสือที่ต้องอ่านลงไปได้บ้าง แต่มันไม่เคยหมดเลย มีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างน้อยอัตราการซื้อใหม่กับอัตราการอ่านอยู่ในภาวะที่สมดุล แต่ทุกๆ 2 ครั้งต่อปี จะมีเหตุการที่ทำให้สมดุลเสียไปบ้าง คือ สัปดาห์หนังสือ ที่เราจะได้หนังสือในกองต้องอ่านเพิ่มขึ้นมา

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 17
จัดในช่วงวันที่ 18-28 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00-21.00 น.
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 18-28 ตุลาคม 2555

รายการหนังสือที่ได้

ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ World Science Series ของสำนักพิมพ์มติชน ซึ่งเราค่อนข้างประทับในหนังสือในซีรี่นี้ที่เคยอ่านมาก่อนหน้านี้คือ ควอนตัมจักรวาลใหม่ นาโนเทคโนโลยี เลยวางใจได้ว่าซื้อมาแล้วน่าจะอ่านสนุก ไปงานครั้งนี้จึงตั้งใจจะไปดูหนังสือพวกนี้อยู่แล้ว

  1. ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) – สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง, ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ, ดร.ปิยบุตร บุรีคำ แปล
  2. ประวัติย่อของเอกภพ (The grand design) – สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง/เลียวนาร์ด มลอดิโนว์, รศ.ดร.ภาณุ ด่านวานิชกุล แปล
  3. ไอแซค นิวตัน มหาบุรุษโลกวิทยาศาสตร์ (Isaac Newton)-เจมส์ เกล็ก, ดร.ปิยบุตร ฉัตรภูติ แปล
  4. E=mc2 ชีวประวัติสมการปฏิวัติโลก – David Bodanis,  รศ.ดร. ภาณุ ด่านวานิชกุล แปล
  5. ฉีกขนบแอนิเมชั่น: เอกลักษณ์ของ ฮายาโอะ มิยาซากิ นักฝันแห่งโลกตะวันออก – นับทอง ทองใบ
  6. เส้นสมมุติ (รวมเรื่องสั้นแนว สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) – วินทร์ เลียววาริณ
  7. ร้อยคม (รวมเรื่องสั้นหักมุมจบ ชุดที่ 2)– วินทร์ เลียววาริณ
  8. เล่านิทานเซ็น – อ.อภิปัญโญ

รวมแล้วค่าเสียหายประมาณ 1,400 บาท ส่วนใหญ่ลดราคาประมาณ 15-20% ซึ่งเช็คดูกับราคาสั่งออนไลน์แล้วที่งานสัปดาห์หนังสือถูกกว่า จึงตัดสินใจซื้อที่งานสัปดาห์หนังสือครับ

ส่วนเพื่อนๆได้เล่มไหนไปบ้าง แชร์ให้ดูบ้างครับ

ใช้ iPad เพื่อการศึกษา ความรู้อยู่ที่เนื้อหาและสิ่งแวดล้อม

iPad เพื่อการศึกษา

ถ้าจะพูดถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อการศึกษาที่จะมาช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการเรียนรู้ ของผู้ที่เป็นนักเรียนรู้ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง นักเรียน นักศึกษา อย่างเดียวนะครับ รวมถึงทุกคนที่มีใจไฝ่เรียนรู้ อุปกรณ์ที่จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นทำได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ณ ตอนนี้ น่าจะเป็น iPad ของ Apple  เพราะถือว่ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งหนังสือดิจิตอล(ebook) แอพพลิเคชั่น(Apps Store) คลังความรู้(iTunes U) นอกจากนั้นยังมีตัว Textbook ที่มีชุดโปรแกรมที่จะช่วยให้การสร้างหนังสือแบบที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างน่าตื่นเต้น นับว่า iPad นำหน้าคู่แข่ง Android, Windows 8 ในเรื่องของการสนับสนุนทางการศึกษาไปหลายช่วงตัว

iPad in Education

Apple ได้วางให้ iPad เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ผลิตมาเพื่อสนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มที่ เห็นได้จากงาน Education Event เมื่อ 19 มกราคา 2012 ในงานมีการเปิดตัวหนังสือเรียนแบบที่มี interactive โต้ตอบกับผู้อ่านได้อย่างดี พร้อมโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับ iPad โดยเฉพาะ และยังแจกให้ทุกคนใช้โปรแกรมนี้ได้ฟรีอีกด้วย ยิ่งทำให้ iPad เหมาะกับงานทางด้านการศึกษามากขึ้น

ลำดับต่อไปอยากนำส่วนต่างๆที่เป็นองค์ประกอบทำให้ iPad เหมาะกับการศึกษามาแจกแจงทีละข้อ ดังนี้ครับ

1. Textbooks หนังสือที่โต้ตอบกับผู้อ่านได้

หนังสือที่มาพร้อมภาพนิ่ง ภาพ 3 มิติ วีดีโอ เสียง ฯลฯ

คุณสมบัติของตัว Textbook ที่จะทำให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

  • Textbooks ของสำนักพิมพ์ใหญ่ๆอย่าง McGraw-Hill, Person Education, Houghon Mifflin Harcourt ผู้ผลิตหนังสือมีคุณภาพ ทั้งรายวิชา เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ มีให้ดาวน์โหลดแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • เราสามารถพกหนังสือเล่มใหญ่หลายๆเล่ม ด้วยมือข้างเดียวได้ คงไม่ต้องแบกใส่เป้ให้เมื่อยหลังกันแล้ว โดยเฉพาะหนังสือพวก Textbook ถ้าถือเล่มจริงได้ 2 เล่มก็ถือว่าสุดยอดแล้ว แต่เมื่อเป็นแบบดิจิตอลทำให้เราง่ายต่อการพกพา และสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
  • Textbooks ใน iPad เป็นหนังสือแบบมัลติทัช สามารถหมุนมุมมอง ซูมได้ มีภาพ ไดอะแกรม วีดีโอ ภาพสามมิติที่สามารถใช้นิ้วหมุนโมเดลได้รอบด้าน จดบันทึกลงหนังสือ ขีดเขียนลงหนังสือ เขียนโน๊ตสั้นๆ หรือใส่สีให้ตัวอักษรได้
  • ชมวีดีโอแนะนำ iBooks Textbooks

2. iPad Apps เพื่อการศึกษา

แอฟพิเคชั่น ที่เสริมการเรียนรู้มีมากมาย

ตัวแอพพลิเคชั่นของ iPad เฉพาะกลุ่มทางด้านการศึกษามีมากกว่า 20,000 แอพพลิเคชั่น น่าจะถือว่าเป็นจุดที่ได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ อีกทั้งแอพพลิเคชั่นที่ออกแบบมาสำหรับงานทางด้านการศึกษาถูกออกแบบมาอย่างดี แม้จะมีราคาแพงอยู่บ้าง ก็นับว่ามีความคุ้มค่าเมื่อแลกกับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่าง แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่น่าสนใจ โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆได้ดังนี้

iWork กลุ่มของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยทำงานทางด้านเอกสาร พรีเซนเตชั่น เอกสารตารางคำนวณ

English Language Arts กลุ่มแอพพลิเคชั่นที่ช่วยสอนภาษาอังกฤษให้เด็กด้วยภาพศิลปะ

Mathematics กลุ่มแอพลิเคชั่นช่วยเรียนคณิตศาสตร์

Science กลุ่มแอพพลิเคชั่นช่วยเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์

History and Geography กลุ่มแอพลิเคชั่นช่วยเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และภูมิประเทศ

Language Development เรียนภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน หรือท่องคำศัพท์

Art, Music, and Creativity กลุ่มแอพพลิเคชั่นส่งเสริมศิลปะ วาดภาพ ดนตรี และงานสร้างสรรค์

Reference, Productivity, and Collaboration กลุ่มแอพพลิเคชั่น เอกสารอ้างอิง ดิกชั่นนารี จดบันทึก

Accessibility กลุ่มแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยข้อมูลต่างๆหลากหลายวิธี

นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับการศึกษาอีกมากมาย เข้าไปดูได้ใน Apps Store ในหมวด iPad Education

3. iTunes U เรียนหนังสือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกผ่านทาง iPad

iTunes U for iPad

iTunes U เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางด้านการศึกษาแบบออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในแต่ละหลักสูตรมีทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการเรียนในรายวิชานั้นๆ ทั้งวิดีโอบรรยาย เอกสารประกอบการเรียน เสียง พรีเซนเทชั่น ซึ่งมีอยู่มากกว่า 500,000 รายการ หลักสูตรครอบคุมทุกรายวิชา ทั้งวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม การแพทย์ ศิลปะ ฯลฯ ซึ่งมีทั้งวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลก เช่น Stanford, Yale, MIT, Oxford, UC Berkeley เป็นต้น มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกเข้ามาเปิดห้องเรียนออนไลน์ให้ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้ฟรี ถือว่าเป็นคลังความรู้ที่ใหญ่และมีประโยชน์มาก เป็นอีกช่องทางและโอกาสอันดีที่เราสามารถเข้าไปเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยต่างๆได้อย่างใกล้ชิด เหมือนนั่งอยู่ในห้องเรียนนั้นๆเหมือนนักเรียนคนอื่นๆเลยทีเดียว

4. ใช้ iPad สอนในห้องเรียน

ต่อ iPad ออกจอภาพขนาดใหญ่

เราสามารถที่จะใช้ iPad ประกอบการสอนได้อย่างง่าย ผ่านทางการแสดงผลด้วยจอภาพขนาดใหญ่ เช่น HDTV หรือ จอโปรเจคเตอร์ ช่วยให้นักเรียนได้เห็นสิ่งที่คุณเห็นไปพร้อมๆกัน หรือใช้แสดงสไลด์พรีเซนเตชั่นแทนคอมพิวเตอร์ก็ได้ ทำให้การอธิบายหรือการเรียนรู้ไปพร้อมกันนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ช่วยให้ระบบและสภาพแวดล้อม(เนื้อหา) ของ iPad นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าพร้อมกว่า tablet เพื่อการศึกษาของคู่แข่งรายอื่นๆอย่างมาก อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะนักเรียน นักศึกษา เท่านั้น ผู้ที่ไฝ่เรียนรู้ก็สามารถที่จะใช้ iPad เพื่อเสริมความรู้ให้ตัวเองได้ตลอดเวลาผ่านทางช่องทางอื่นๆได้อีกมากมาย เช่น ข่าวสาร เนื้อหาเว็บไซต์ ฐานข้อมูลทางห้องสมุด หรือสื่อบันเทิงต่างๆ เช่น ภาพยนต์ เพลง เกม ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความรู้แทรกอยู่เสมอๆ เพียงเรามีเครื่องมือที่ดีสนับสนุนการเรียนรู้และความใฝ่รู้ของผู้ใช้งานร่วมกัน

ข้อมูลอ้างอิง: https://www.apple.com/education/ipad/

TED Talks ที่มีซับภาษาไทย

TED Talks ที่มีซับภาษาไทย

TED Talks เป็นที่นำเสนอไอเดียของเหล่าผู้มีชื่อเสียงในสังคมโลก เขียนถึงไปหลายครั้งแล้วดูได้ที่ tag TED แนวคิดของ TED คือกระจายแนวคิดออกไปให้ได้มากที่สุด จึงมีส่วนของการแปลภาษาเข้าไปด้วยเพื่อให้เข้าถึงคนทั่วโลกได้มากขึ้น ล่าสุดวีดีโอ TED Talks ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยมีอยู่ 165 คลิป แต่ละคลิปมีประโยชน์และน่าสนใจทั้งนั้น อยากให้ลองไปเปิดดู รับรองว่าจะเปิดมุมมองของเราให้กว้างเพิ่มขึ้นแน่นอน หัวข้อใหญ่ๆแยกเป็นหมวดหมู่ให้เลือกติดตาม คือ Technology, Entertainment, Design, Business, Science, Global issues ส่วนตัวผมชอบหัวข้อ Design กับ Science เป็นพิเศษ ถ้าสนใจแล้วอยากลองเข้าไปดูบ้างแล้ว ก็คลิกเลย TED Talks ที่มีซับภาษาไทย

นอกจากจะเชิญชวนให้ไปดูแล้ว อยากจะเชิญชวนคนที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน TED เปิดรับอาสาสมัคร ให้ไปช่วยกันแปลการนำเสนอของเหล่า Speaker ระดับโลกที่ถูกบันทึกไว้ เพื่อให้สิ่งที่มีประโยชน์เหล่านั้นเข้าถึงคนในท้องถิ่นของตัวเองให้ได้มากขึ้นครับ (ผมฟังออกบางคำก็ดีแล้วครับ) คนที่เป็น TED Translator เท่าที่เห็นมี @fringer(คุณสฤณี อาชวานันทกุล)ครับ อยากจะให้คนก่งๆไปช่วยกันแปลเยอะๆครับ เข้าไปสมัครได้เลยที่ Become a translator

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ มีนาคม 2554

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 39

งานสัปดาห์หนังสือ คงเป็นงานที่เดินได้สบายใจกว่า งานแสดงสินค้ามือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นไหนๆ คงเพราะมันง่ายกว่าที่จะเป็นเจ้าของในสิ่งที่ตนสนใจ อันที่จริงอยากจะอ่านหนังสือที่เคยซื้อเมื่อครั้งก่อนให้จบหมดก่อน ค่อยไปหยิบเล่มใหม่มา แต่มันก็อดใจไม่ได้ เมื่อไปเจอบล็อกของคนอื่นเขียนถึงหนังสือที่ได้มา หนังสือที่อ่านค้างอยู่คือ “ควอนตัมจักรวาลใหม่” อ่านไปประมาณ 1 ใน 3 ก็หยุดแล้วทิ้งยาวเลย คงต้องหาเวลาว่างๆ เงียบๆอ่านใหม่อีกรอบ

ในช่วงหลังๆมานี้ สำนักพิมพ์ที่ประทับใจผมคือ มติชน ที่มีหนังสือในกลุ่มวิทยาศาสตร์ออกมาให้เลือกอ่านมากขึ้น ซึ่งหนังสือกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่ตำราเรียน รู้สึกว่ามันน้อยกว่าหนังสือดูดวงซะอีก อยากอ่านหนังสือแนวเรียลวิทยาศาสตร์ที่เล่าเรื่องสนุกๆ อย่างเช่น ผลงานของ ชัยคุปต์, รอฮีม ปรามาท ถ้ามีแนวนี้เยอะกว่านี้ คงสนุกกับการอ่านมากกว่านี้เป็นแน่

จากการสังเกตุหนังสือที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านส่วนใหญ่จะเป็นนิยายแนวหนุ่มสาว ดูจากบูธของสำนักพิมพ์เหล่านี้คนมุงเยอะมาก ใช่ว่าไม่ดีนะ หนังสืออะไรก็มีคุณค่าในตัวทั้งนั้น โดยส่วนตัวก็ชอบเช่นกัน

มาถึงบันทึกรายการหนังสือที่ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีนาคม 2554

  • “ประวัติศาสตร์ศิลปะ” -รศ.วุฒิ วัฒนสิน
  • “พยัคฆ์ซ่อนมังกรซุ่ม” -ดวงเดือน ประดับดาว
  • “เดียว” -งามพรรณ เวชชาชีวะ
  • “จักรวาลในหนึ่งอะตอม” -พระนิพนธ์ทะไลลามะ, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข แปล
  • “ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล” -วินทร์ เลียววาริณ
  • “บองหลา” -พนม นันทพฤกษ์

ปล.ที่บูธของ Provision ใครซื้อหนังสือแล้ว Check-in และแชร์ขึ้น Facebook จะได้ตุ๊กตาหมีน้อยมาหนึ่งตัวด้วย จัดมาหนึ่งตัว น่ารักมาก (ให้เพื่อนซื้อ เรา Check-in)

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ ตุลาคม 2553

งานสัปดาห์หนังสือ 2553 วันที่ 21-31 ต.ค. นี้ ที่ศูนย์สิริกิติ์ ไปมาวันนี้ (พฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม ) ช่วง 5 โมงเย็น คนไม่เยอะมาก เดินสบายไม่ได้เบียดกันเหมือนทุกครั้งที่เคยไป จะมีเบียดๆบังๆกันบางบูธ ใครที่ไม่มีแนวทางในการเดิน มีหนังสือ Smart Guide แนะนำหนังสือของแต่ละสำนักพิมพ์ให้ เอาได้ที่หน้างาน พอนั่งพักก็หยิบขึ้นมาอ่าน น่าจะช่วยได้ไม่น้อย

หนังสือแนะนำหนังสือของแต่ละสำนักพิมพ์ มีแผนที่ภายในด้วย

อันที่จริง คนที่ไปบ่อย คงไม่ต้องใช้แผนที่แล้วล่ะมั้ง เพราะสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็จับจองที่ตรงตำแหน่งเกือบจะเหมือนเดิมทุกครั้ง

รายการหนังสือที่ได้ มีดังนี้

Presentation Zen ฉบับแปลไทย

พรีเซนเทชั่นเซน: การ์ เรย์โนลด์ส เขียน
ดำเกิง ไรวาม, จุไรพร วิสุทธิกุลพาณิชย์ และธงชัย โรจน์กังสดาล แปล
สำนักพิมพ์ขวัญข้าว, 240 หน้า, ราคา 425 บาท (ราคาปก 500 บาท)

หนังสือสอนวิธีการนำเสนอ ตั้งแต่การออกแบบสไลด์ จนถึงวิธีการพูด เคยอ่านเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษมานิดหน่อย พิมพ์สีทั้งเล่ม ลองเช็คราคาเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษราคาอยู่ที่ $23.09 (691 บาท) เป็นหนังสือเล่มที่ตั้งใจจะไปซื้อมาอ่าน และเก็บเข้าคลัง เปิดดูคร่าวๆมีแปลสไลด์ตัวอย่างบางอันเป็นภาษาไทยด้วย

พุทธทาสภิกขุ กับเซ็น

พุทธทาสภิกขุกับเซ็น : พุทธทาสภิกขุ
สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 224 หน้า, ราคา 160 บาท(ราคาปก 200 บาท)

เคยอ่านนิทานเซ็น เล่าโดย ท่านพุทธทาส เมื่อนานมาแล้ว เล่มเล็กๆ อ่านสนุก (มี CD) เป็นนิทานที่เล่าให้เด็กฟังได้

พุทธทาสภิกขุกับเซ็น หนังสือเล่มนี้น่าสนใจมาก เป็นหนังสือที่รวบรวมภาพปริศนาธรรมเซ็น ภาพที่ในหนังสือถูกคัดมาจากภาพที่มีท่านพุทธทาสอธิบายภาพปริศนาธรรมนั้นๆ และถอดความจากเสียงพุทธทาสมาลงไว้ ที่ท้ายเล่มมี CD เสียงดั้งเดิมของท่านพุทธทาสแถมมาด้วย และตอนท้ายมีเสียงบทอ่านกวีเซ็นจาก อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เพิ่มเข้ามาอีกด้วย ในคำนำจากสำนักพิมพ์บอกไว้ว่านี้ เป็นหนังสือภาพเซ็นที่สมบูรณ์ที่สุดในตอนนี้เลยทีเดียว

ความสุขของกระทิ ตอน ในโลกใบเล็ก

ความสุขของกระทิ ตอน ในโลกใบเล็ก : งามพรรณ เวชชาชีวะ
แพรวสำนักพิมพ์, 142 หน้า, ราคา 109 บาท(ราคาปก 129 บาท)

ประทับใจกับ ความสุขของกระทิ ตอนแรกและตอนสอง อ่านสบายๆสนุก ตอนที่ชอบทีสุดคงเป็นตอนแรก ตอน ในโลกใบเล็ก เป็นตอนที่สาม เขียนว่า “ภาคสมบูรณ์” น่าจะหมายถึงภาคจบแล้ว เหมือนหนังไตรภาค มีสามตอน หนังสือก็ดี ทำเป็นหนังก็โอเค เสียดายไม่ทำเงิน เลยอดดูหนังภาคสอง และสาม

a day Legend

a day LEGEND : เรียบเรียงโดยนักเขียนรับเชิญมากมาย เช่น วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, วินทร์ เลียววาริณ,ภัทระ คำพิทักษ์ (กระบี่ไม้ไผ่), วชิระ บัวสนธ์, บินหลา สันกาลาคีรี, ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย,โตมร ศุขปรีชา, วิภว์ บูรพาเดชะ, สืบสกุล แสงสุวรรณ และ จักรพันธุ์ ขวัญมงคล โดยมี วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ เป็นบรรณาธิการ

สำนักพิมพ์ a book, 240 หน้า , ราคา 260 บาท (ราคาปก 290 บาท) แถมเสื้อกระทิงแดงมาด้วย 1 ตัว

ทำปกแข็งเล่มหนากว่าที่คิดไว้ เป็น a day ฉบับพิเศษในโอกาสที่นิตยสาร a day ครบรอบ 10 ปี ขนาดเท่า a day ปกติ เนื้อหาเป็นเรื่องราวของ 25 คนไทย ที่น่ายกย่อง จนเรียกได้ว่าเป็น “ตำนาน” ของวงการนั้นๆ เช่น พุทธทาสภิกขุ, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, จิตร ภูมิศักดิ์, ศิลป์ พีระศรี, เอื้อ สุนทรสนาน, สุวรรณี สุคนธา, แสงอรุณ รัตกสิกร, เทียม โชควัฒนา, ปรีดี พนมยงค์, ป๋วย อึ้งภากรณ์, ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นต้น

น่าอ่าน น่าเก็บสะสมไว้ยิ่งนัก

และอันสุดท้ายที่ได้มา คือ แผนที่ดาว

แผนที่ดาว

แผนที่ดูดาว เป็นของที่อยากได้มานาน แต่ไม่ได้สักที ราคา 50 บาท วิธีใช้ก็ง่ายมากๆ วงด้านนอกเป็นวัน วงด้านในเป็นเวลา หมุนวันกับเวลาให้ตรงกัน แล้วดูได้เลย ยังไม่เคยใช้จริงๆ ไม่รู้ว่ามันจะใช้ได้ดีแค่ไหน กลับบ้านต่างจังหวัดครั้งหน้าจะเอาไปลองดู

สรุปว่า งานสัปดาห์หนังสือ เดือนตุลาคม 2553 หมดเงินไป 1,004 บาท ยังไม่รวมค่ารถอีกนะเนี้ย (อ่านให้คุ้มค่าเงินด้วยนะมึง)

งานสัปดาห์หนังสือ 2553 วันที่ 21-31 ต.ค. นี้ ที่ศูนย์สิริกิติ์

Book Expo 2010
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15 (BOOKEXPO THAILAND 2010)
รวมทั้งสิ้น 11 วัน คือ ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 21 – วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553 เวลา 10.00-21.00 น.
พิธีเปิด: วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2553 เวลา 9.30 น.
สถานที่จัดงาน: ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

https://thailandbookfair.com/bookexpo2010/

ความจริงแล้ว งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติจะจัดช่วงเดือนเมษายน งานมหกรรมหนังสือระดับชาติจะจัดช่วงเดือนตุลาคม แต่ยังไงเราก็เรียกทั้งสองงานว่า งานสัปดาห์หนังสือ อยู่ดี ที่จริงก็ไม่จำเป็นต้องแยกหรอก เพราะงานมันเหมือนกัน มีหนังสือเยอะ คนเยอะด้วย เหมือนงานอุปกรณ์ไอทีที่มีหลายเจ้าจัด เราก็เรียกรวมว่า งาน Commart ทุกทีไป

ครั้งที่แล้วได้หนังสือมานิดเดียว เรื่องที่เคยตื่นเต้นกับการขอลายเซ็นต์นักเขียนที่ชื่นชอบ เริ่มจะเฉยๆแล้ว ถ้าเจอก็ขอ ไม่เจอก็ไม่เป็นไร ไม่เหมือนครั้งแรกๆที่ต้องไปวันนี้เพื่อจะเจอให้ได้ อะไรประมาณนั้นเลย แต่จริงๆแล้วการขอลายเซ็นต์ มันก็ให้อารมณ์เหมือนเราได้ซื้อหนังสือจากเจ้าของผลงานจริงๆนะ

หนังสือใหม่ของ @finger น่าสนใจมิใช่น้อย

HyperTerminal Private Edition for Windows 7 and Windows Vista

HyperTerminal Private Edition สำหรับ Windows 7

เคยเขียนเรื่อง ใส่ hyperterminal ให้กับ Windows 7 หรือ Vista ไว้ ถือว่ามีประโยชน์ มีหลายคนได้นำไปใช้ และมีอีกหลายคนที่ค้นหาเจอผ่านทางกูเกิล ที่จริงแล้วขั้นตอนดังกล่าวถือว่าง่ายในการติดตั้งอยู่แล้ว แต่อีกวิธีที่จะนำเสนอนี้ง่ายกว่า คือ ติดตั้งโปรแกรมชื่อ HyperTerminal Private Edition

ในเว็บไซต์ออกมาเป็น v. 7 แล้ว แต่เป็นแบบ Shareware ให้ทดลองใช้ 20 หรือ 30 วัน ประมาณนี้ จำไม่ได้แล้ว เลยเลือกตัว v. 5 เป็นแบบ Unlicensed แต่ใช้งานได้ตลอด ถึงจะเก่า แต่ก็ยังทำงานได้ดี ในระดับเพียงแค่รับค่าจาก Com Port มาแสดงผลถือว่าโอเคมาก ข้อมูลที่ผมลองเก็บแบบต่อเนื่อง สูงสุดเก็บได้ 525 ค่า เป็นข้อจำกัดนิดหน่อยสำหรับใครที่ทำการ sampling เร็วๆ แต่โดยรวมต้องบอกว่า เยี่ยม

ดาวน์โหลด HyperTerminal Private Edition V.5

เสวนาทางวิชาการ “ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

แจ้งข่าวสารที่น่าสนใจครับ

เสวนาวิชาการ "ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม"

เสวนาทางวิชาการ ประจำปี 2553
เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของการสถาปนาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

จัดโดย
กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมจุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ ตึกประชาธิปก – รำไพพรรณี ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการและเหตุผล
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 และในอีกหลายๆ
ครั้งตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับความขัดแย้งและความแตกแยกของคนใน
สังคมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีจุดแข็งในหลายเรื่อง อาทิ ความเป็นคนไทยที่มี
จิตใจเอื้อเฟื้อและรักสงบ ความเจริญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรอยู่
มากเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้น ความหวังของสังคมไทยที่จะก้าวพ้นวิกฤตสังคมในครั้งนี้ จึงอยู่ที่
การหันหน้ามาทำความเข้าใจและร่วมกันทั้งคนในเมืองและชนบท กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จึง
ได้จัดการเสวนาทางวิชาการครั้งนี้ เพื่อเป็นอีกเวทีหนึ่ง ที่จะหาทางออกร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ของหลาย
ภาคส่วนจากวิกฤตที่เกิดขึ้น
กำหนดการ
12.30 — 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 — 13.05 น. กล่าวเปิดงาน โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.05 — 15.05 น. เสวนา เรื่อง “ทางออกสังคมไทย หลังวิกฤต 19 พฤษภาคม” โดย

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต (วัดเอราวัณ) ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
  • นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและอดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • รศ. ดร. มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
  • พลเอก ไวพจน์ ศรีนวล อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

15.05 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 — 16.00 น. เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น ดำเนินรายการ โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ที่มา : https://www.chula.ac.th/cuth/cic/oldnews/CU_P007411.html
ดาวน์โหลด : กำหนดการ

คำสอนจากหนังเรื่อง ขงจื้อ

https://www.youtube.com/watch?v=YgiM1ubNCYc

ได้ดูหนังเรื่อง ขงจื้อ[1](Confucius)[2] พบว่ามีคำสอนมากมายในหนังเรื่องนี้ เอาไว้เตือนใจได้ ให้เสียงภาษาไทยโดยพันธมิตร ทำให้คำพูดดูคล้องจอง ฟังแล้วจับใจ ดูไปทวีตไปด้วย สุดท้ายเลยรวมเอามาไว้ในบล็อกเก็บไว้อ่าน และแบ่งปันได้ท่านอื่นที่สนใจได้อ่านบ้าง

  • ถ้าเรานำผู้สัตย์ซื่อมารับราชการ เหล่าคนพาลก็จะหมดสิ้นไป-ขงจื้อ
  • ผู้รักตัวรักครอบครัว ย่อมรักผู้อื่นได้เช่นกัน-ขงจื้อ
  • จงจำสุภาษิต 2 บทนี้ไว้ตลอดชีวิต จงเห็นบ้านเมืองสำคัญกว่าชีวิตเรา และ อุปสรรคมีมากมาย จงสำรวมใจให้เข้มแข็ง-ขงจื้อ
  • ยอมสูญเสียก่อน แล้วจะได้มา-เล่าจื้อ
  • ขงจื้อผู้เป็นอาจารย์ถามศิษย์ตัวเอง “เจ้าลองบอกข้าสิ ข้าผิดพลาดตรงไหนบ้าง”-ขงจื้อ
  • ถ้าเรามิอาจเปลี่ยนโลก ถ้าหากเรามิอาจเปลี่ยนสิ่งที่อยู่รอบตัวเราได้ เราก็ควรกลับมาเปลี่ยนที่ตัวเองจากข้างใน-ขงจื้อ
  • ไม่มีหลักจริยะในการปกครอง บ้านเมืองมีแต่ความวุ่นวาย-ขงจื้อ
  • ข้าไม่เคยพบใครที่นึกถึงเรื่องจริยะ ก่อนเรื่องตัณหาเลย-ขงจื้อ
  • กวี ตำรา จริยะ ดนตรี เราต้องมั่นเรียนรู้-ขงจื้อ
  • ฤดูหนาว ต้นสน ยืนหยัดให้เห็นความแข็งแกร่งที่แท้จริง-ขงจื้อ
  • ขุนนางนั้นก็แค่ใส่ชุดเป็นขุนนาง นิสัยสะท้อนถึงจิตใจ อย่าลืมเด็ดขาด อย่าชายตามอง หรือฟัง หรือพูด หรือทำสิ่งใดที่ผิด-ขงจื้อ
  • “ผู้กล้า” เมื่อถึงคราวตายต้องตายเยี่ยงบุรุษผู้สง่างาม-ขงจื้อ
  • ข้าต้องการสอนหนังสื้อเท่านั้น ขออย่าให้พวกเขาเอาปัญหาการเมืองมาสุ่มหัวให้ข้าอีก-ขงจื้อ
  • หากโลกจะรู้จักข้า ก็ให้ผ่านบันทึกนี้เทิด หากตำหนิข้าก็ให้เพราะบันทึกเล่มนี้-ขงจื้อ

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง

THE RISE OF NANOTECH

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง
Scientific American : ดร.ยุทธนา  ตันติรุ่งโรจน์ชัย แปล
สำนักพิมพ์มติชน ,ตุลาคม 2552  ราคา 240 บาท

หนังสือเล่มนี้ เห็นผ่านตามานานแล้ว ได้เปิดดูสารบัญบ้าง แต่ยังไม่มีแรงจูงใจ ที่จะซื้อมาอ่าน หลังจากได้เขียนบทความใน Biomed.in.th เรื่องการใช้ nanopatch เป็นตัวให้วัคซีน เลยนึกอยากรู้จักเรื่องนาโนเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น และผมไม่อยากอ่านหนังสือที่ออกแนวเป็นหนังสือเรียนมากจนเกินไป หนังสือเล่มนี้น่าจะตอบโจทย์ เรื่องที่อยากรู้ ได้พอควร อาจจะไม่เท่าหนังสือเล่มโตในห้องสมุด

สารบัญ อาจเพิ่มแรงจูงใจ ให้อยากอ่านมากขึ้น

หน่วยย่อยนาโน

  • ยังมีที่ว่างอยู่อีกมาก
  • ศิลปะการผลิตโครงสร้างขนาดเล็ก
  • ตัวต่อเลโก้โมเลกุล

เครื่องจักรมีชีวิต

  • นาโนเทคโนโลยีของเกลียวคู่
  • กำเนิดคอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ

วงจรขนาดเล็กที่สุด

  • โครงข่ายนาโนคาร์บอนจุดประกายอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใหม่
  • คำสัญญาของพลาสมอนิกส์
  • วงจรจิ๋วมหัศจรรย์

การเดินทางอันน่าอัศจรรย์

  • สิ่งเล็กๆ มีค่ามากมายในทางการแพทย์
  • พ่อมดนาโน
  • เกี่ยวกับผู้แปล

เนื้อหาแต่ละบท เขียนโดยนักวิทยาศาตร์แต่ละคนแตกต่างกันไป อ่านได้แบบเรื่อย เชิงพรรณา ไม่มีสูตรฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ให้ปวดหัว แต่ละบทจะมีแหล่งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ในตอนท้ายของบท หากสนใจในบทนั้นๆเป็นพิเศษก็สามารถตามไปอ่านต่อได้

Exit mobile version