เห็นคำพวกนี้แล้ว นึกถึงอะไร?

เห็นคำพวกนี้แล้ว ผมนึกถึงอะไร ไม่ได้เรียงหมวดเลย อะไรเข้ามาในหัวก็เขียนเลย

  1. ไทยประกันชีวิต => สุดยอดโฆษณาที่เล่นกับความรู้สึกของคนดู
  2. NASA => ดวงจันทร์คงไม่ปลื้มกับการกระทำของพวกเขาเท่าไหร่
  3. 3G => ผลประโยชน์ล้วนๆ และไทยจะเป็นประเทศที่ได้ใช้ช้าที่สุด
  4. เพลง =>คำค้นหาที่สูงที่สุดของไทยตลอดกาล
  5. Hi5 => คนใช้งานกำลังลดลง
  6. Facebook =>คนใช้เล่นเกมเป็นหลัก
  7. twitter =>Live สุดๆ เร็วสุดๆ
  8. iPhone => คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
  9. Android =>OS ฟรี เครื่องแพง
  10. Palm pre =>มันบอก iTunes ว่า “ฉันเป็น iPod”
  11. Vista => บาปติดตัว ของไมโครซอฟท์
  12. Windows 7 =>Vista เวอร์ชั่นสมบูรณ์
  13. ละครไทย =>เน่าบ้างดีบ้าง (ส่วนใหญ่เน่า)
  14. ICT => ผลงานหลักๆ คือปิดเว็บ
  15. CAT ,TOT =>ทำให้  “คำที่ 3” เดินหน้าไม่ได้
  16. WordPress =>ง่ายสุด
  17. Drupal => ปวดหัว
  18. Joomla => Extension เยอะมาก
  19. IE 6 =>เลิกเหอะ นะ ขอร้อง
  20. Firefox =>ดี ที่มี Addon
  21. Chrome =>ธีมสวย เร็ว
  22. Safari =>ลูกเล่นการแสดงผล สุดยอด
  23. Opera =>Opera mini (ใช้ในมือถือ)
  24. Apple =>เทห์ ต้องรวย
  25. Microsoft =>กำลังคลานเข้ามาในโลกอินเตอเน็ต
  26. Google => ขาดเธอ ขาดใจ เพราะชีวิตติดกับเธอ
  27. Yahoo! =>Bing ช่วยฉันด้วย!
  28. WinMo =>WinPhone
  29. BB =>ขอ pin
  30. ไข้หวัด 2009 =>เป็นการผสมพันธุ์ของ หวัดหมู นก และ คน
  31. Open Source => “ใช้ทำไม ที่พันทิพย์มีทุกโปรแกรม” คิดกันแบบนี้ไงเลยไม่เจริญ
  32. เสื้อแดง =>คนไทย
  33. เสื้อเหลือง => ก็คนไทย
  34. คนไทย => รักกันน้อยไปไหม?
  35. พรีเมียร์ลีก =>เชียร์ ลิเวอร์พูล ครับ
  36. ไทยลีก => กำลังพัฒนา ต้องช่วยๆกัน
  37. iPod =>เทห์ ขายได้เยอะ แต่ชอบกั๊กฟีเจอร์
  38. Zune =>ทำไมแยก App กับ WinMo?
  39. NetBook=> ข้อดีที่เห็นชัดคือ เบา แต่เล็กไปสำหรับผม
  40. True Hi-Speed internet => ok นะ แต่ใช้เน็ตอย่าเดียวไม่ได้ ต้องจ่ายค่าเบอร์ด้วย(ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้งาน)
  41. Computer Graphic+ (CG+)=>ไทยทำ เหมือนจะวนอยู่ที่เก่า
  42. Computer Arts Thailand =>เนื้อหาดี แต่แพง!
  43. Bioscope =>ออกแนวอินดี้นิดๆ
  44. Flimax =>ออกแนวตามกระแสนิดๆ
  45. GTH =>คิดละเอียด เป้าหมายวัยรุ่น
  46. สหมงคล =>ดีก็ดีสุดๆ แย่ก็แย่สุดๆ
  47. GMM Grammy =>ขายเสียง เพราะส่วนมากหน้าตาแย่
  48. RS =>ขายสวย ใส เกาหลี
  49. มูมู่ กะ บูริน =>น่า รัก ซนสุดๆ (ไม่ต้องเข้าใจ เพราะมันเป็นชื่อของอะไรบางอย่าง)
  50. TweetDeck =>ดำ option เยอะ
  51. Seesmic =>ใช้อันนี้ เพราะมันชินกับ twhirl มา
  52. BTS =>ไปคนเดียวคุ้ม ถ้าไปหลายคนแพง
  53. MRTA=>ขึ้นค่าโดยสารบ่อยมาก
  54. รถ ขสมก. =>ถนนโล่งเป็นไม่ได้ ต้องซิ่งสุดๆ (เก็บกด)
  55. มาบุญครอง =>มีมือถือทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น ทุกมือ(1,2,3,..)
  56. เพชรบุรี ซอย 5 => ที่พักเยอะ คนเยอะ ถนนแคบ มีอาหาร มีร้านเกม (มีบ่อนด้วย)
  57. 7-Eleven =>จำนวนของมัน บอกได้ว่ามีประชากรหนาแน่นแค่ในบริเวรนั้น
  58. Pantip.com =>เว็บบอร์ดที่หน้าตาเชยมาก แต่คนก็เยอะมากเช่นกัน
  59. โอบาม่า => ได้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (ได้ยังไง?)
  60. DotA => เล่นแล้วติด อย่าลองล่ะ

ว่างๆจะมาอับเดตเพิ่มอีกทีครับ ใครคิดยังก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ

ทำเว็บใหม่ Biomed.in.th (ไบโอเมด อิน ไทย)

เว็บ ไบโอเมด อิน ไทย (Biomed.in.th)
เว็บ ไบโอเมด อิน ไทย (Biomed.in.th)

Biomed.in.th อ่านว่า ไบโอเมด อิน ไทย ไหนๆก็เรียนมาเกี่ยวกับด้านนี้อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าเราน่าจะพอมีความรู้ที่แบ่งปันให้คนอื่นได้บ้าง มีความตั้งใจจะให้เป็นแหล่งความรู้และให้ข่าวสารเกี่ยวกับ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) ให้กับคนทั่วไป และความหวังสูงสุดคือเป็นที่พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจทั่วไปกับนักวิศวกรรมชีวเวช หรือระหว่างนักวิศวกรรมชีวเวชด้วยกันเอง

ตอนนี้กำลังพยายามชวนเพื่อนๆที่เรียนที่เดียวกันมาแชร์ ความรู้กันอยู่ ใครคิดว่าอยากร่วมอุดมการกับผมก็ขอเชิญนะครับ ไบโอเมด อิน ไทย จะได้พัฒนา เหมือนต่างประเทศเขา

Share TEDTalk ใน WordPress ง่ายสุดๆ

TEDTalk

คืออะไรไปอ่านได้ที่  TEDTalk : Conferance ระดับโลก วีดีโอที่เผยแพร่ใน TED เป็นวิดีโอคุณภาพสูง ได้เพิ่มฟีเจอร์การแชร์ให้สะดวกมากขึ้นสำหรับคนที่เขียนบล็อกใน WordPress.com ง่ายแค่เขียนโค้ดสั้นๆ เช่น [ted id=650] ก็แสดงผลได้แล้ว

ดูขั้นตอน

  1. คลิก share ตรงวิดีโอที่ต้องการ

    share-TEDTalk

  2. copy code

    Code for WordPress.com

  3. เปิดบล็อกใน WordPress.com แล้วก็วางโค้ด โพส

    Post in WordPress.com Blog

  4. เสร็จแล้วแสดงผล

    show post

หมายเหตุ ใช้ได้เฉพาะบล็อกใน WordPress.com

อ้างอิง TED Blog , บล็อกผมใน WordPress.com

TED Talks : Conference ระดับโลก

TED Talks

วีดีโอที่มีสัญลักษณ์ TED สีแดง ผมเห็นมาตั้งนานแล้ว ตอนแรกไม่รู้มันคืออะไร งานอะไร จัดอย่างไร จัดตอนไหน
แต่ทุกๆวีดีโอที่ได้ดูมันสุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น Jonhny Lee เอา Wii Remote มาทำ 3D ซึ่งตอนนี้ก็ไปทำงานกับ
Microsoft ในโปรเจคนาธานแล้ว , Blaise Aguera y Arcas สาธิต Photosynth ,Brian Cox พูดถึง LHC
และอื่นๆอีกเยอะเมื่อดูแล้วจะรู้สึกว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก วันนี้เลยขอเจาะลึก TED สักหน่อยว่าคืออะไร
ทำไมถึงได้มีแต่บุคคลที่มีคุณภาพ และชั้นแนวหน้าของโลกมานำเสนอได้เยอะขนาดนี้

TED มาจากอักษรนำหน้าของสามคำรวมกันคือ Technology ,Entertainment ,Design เป็นองค์กรเกี่ยวกับ
การศึกษา งานวิชาการ การวิจัย (academic organization)เจ้าของคือ The Sapling Foundation เป็นองค์กรที่
ไม่หวังผลกำไร คนทั่วไปรู้จักดีในการจัดสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี ที่ค่อนข้างจำกัดเฉพาะบุคคลที่ได้รับเชิญ
(invitation-only conference)ภายใต้คำว่า  “ideas worth spreading” จะเรียกว่าสโลแกนน่าจะได้

TED มีชื่อเสียงมากในเรื่องการบรรยายที่รู้จักในชื่อ TED Talks คนที่พูดจะได้เวลาในการนำเสนอประมาณ 18 นาที
ซึ่งมีหัวข้อหลักคือ technology, entertainment  และ design แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายเนื้อหา รวมไปถึง science,
arts, politics, education, culture, business, global issues, technology and development
Speakers ในงานนี้เป็นบุคคลแถวหน้าของโลกทั้งนั้น เช่น Bill Clinton-อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ,Gordon Brown-
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ,James D. Watson-เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์การแพทย์,Al Gore-อดีตผู้ชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีและพึ่งได้โนเบลสาขาสันติภาพไปด้วยผลงานผูัปลุกกระแสโลกร้อน , Sergey Brin และ Larry Page-
เจ้าของและผู้คิดค้น Google ,Bill Gates-อดีตซีอีโอไมโครซอร์ฟผู้ชายที่รวยที่สุดในโลก เข้าไปดู TED Speakers
ที่เว็บได้เลือกได้ตามปี

TED มีที่ตั้งอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค และ แวนคูเวอร์ ในตอนเริ่มส่วนที่จัด conference อยู่เมืองมอนเทอเรย์ แคลิฟอร์เนีย
และในปัจจุบัน (2009) ย้ายไปอยู่ ลองบีซ แคลิฟอร์เนีย เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมงาน

นอกจาก TED conference แล้วยังมีงานอื่นอีกที่เน้นการกระจายเครือข่ายให้กว้างมากขึ้น คือ TEDGlobal ซึ่งจะ
มีการย้ายไปจัดที่ประเทศต่างๆ ซึ่งในปีนี้ (2009) TEDGlobal 2009-The Substance of Things Not Seen ไปจัดที่
ออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ จัดไปเมื่อ 21-24 กรกฎาคม 2009  ที่ผ่านมา

TED Global 2009 ที่ออกฟอร์ด อังกฤษ

ส่วนงานถัดไปที่จะจัด คือ TEDIndia-The Future Beckons ที่เมืองมายซอร์(Mysore) ประเทศอินเดีย
ในวันที่ 4 – 7 พฤษจิกายน 2009

TED-INDIA-The-Future-Beckons

และในปี 2010 จะกลับมาจัดที่ ลองบีซ แคลิฟอร์เนีย ในชือ TED2010-What the World Needs Now ในวันที่
9-13 กุมภาพันธ์ 2010

TED-2010-What-the-World-Needs-Now

ประวัติความเป็นมาของ TED
TED ก่อตั้งโดย Richard Saul Wurman และ Harry Marks ในปี  1984 และเริ่มมีการจัด conference
ตั้งแต่ปี 1990  จากนั้นในปี 2002 Wurman  ก็ออก TED ไป แล้วให้  Chris Anderson Editor ของ WIRED

Chris Anderson ผู้ดูแล TED

จาก The Sapling Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิของเขาเป็นผู้ดูแล โดยมี Devoted ประจำงานว่า “leveraging the
power of ideas to change the world”  และในปี 2006 มีการจัดงานผู้ที่เข้าร่วมงานได้ คือผู้สนใจที่จ่ายเงิน 4,400$
(154,000฿) และคนที่ถูกเชิญ และในเดือนมกราคม ปี 2007 ก็มีการให้สมัครเป็นสมาชิกรายปีได้ ในราคา 6,000$
(210,00o฿)ซึ่งจะได้เข้าร่วมงานตลอดทั้งปี , club mailings, networking tools และ conference ในรูปแบบ DVDs
อ้างอิง

เมื่อเดือนมิถุนายน 2006 TED ได้จัดทำเว็บไซต์ เพื่อที่จะเผยแพร่ TED Talks และมี Youtube ไว้อับโหลด Video
เพิ่มด้วยอีกทาง สามารถเข้าไป Subscribe ได้ และใน iTunes Store ด้วย โดยเข้าไปเปลี่ยน Location เป็น USA
แล้ว Search TED จะมี วิดีโอของ TED ให้ดาวน์โหลดดูได้ฟรี และล่าสุดที่ผมเห็นใน Vuze ก็มี ซึ่งวีดีโอที่เผยแพร่นั้น
เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพ และคมชัดสูง สามารถเผยแพร่ต่อได้ในรูปแบบ Creative Common

TED-Video

จนในปี 2009 ก็ได้รับรางวัล Best Use of Video or Moving Image ของการจัดอันดับเว็บไซต์
the 13th Annual Webby Awards

The TED Open-Translation Project
TED ได้ให้ความสำคัญของคนทั่วโลกที่ไม่ได้ ฟัง อ่านภาษาอังกฤษ จึงได้จัดทำโปรเจค Open-Translation
ขึ้นเพื่อเปิดให้อาสาสมัครทั่วโลกเข้ามาแปล TED Talks ตอนนี้เผยแพร่แล้ว 51 ภาษา และแปลแล้วประมาณ
1,300 ชิ้น โดยนักแปลกว่า 600 คน ซึ่งแน่นอนมีภาษาไทยด้วย แต่มีแค่ 6 ชิ้นที่แปล ส่วนใครสนใจอยากเข้า
ร่วมแปลสามารถเข้าไปสมัครได้

TED-Thai-Translations

TED Prize จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2005 มอบรางวัลให้ปีละ 3 คน คนที่ได้จะได้รับเงินรางวัล 100,000$(3,500,000฿)
และได้รับการรับยกย่องว่า เป็นคนที่ “มีแรงปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงโลก”  ซึ่งคนที่มีสิทธิรับรางวัลก็เป็นหนึ่งในคนที่
นำเสนอใน TED conference ดูรายชื่อคนที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีได้ที่ TEDPreze.org

TED-Prize ผู้ได้รับรางวัลในปี 2009

TEDx โดย x มาจากคำว่า “independently organized TED event” เป็นการจัด conference แบบ TED แต่เน้น
ไปที่กลุ่มเล็กๆ นักเรียน กลุ่มธุรกิจเล็ก โดยมีแนวคิดร่วมกัน ที่จะเผยแพร่ความคิดออกไป TED ก็จะสนับสนุนในการ
เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ,Logo และเอกสารขั้นตอนการจัดงาน กฎระเบียบต่างๆ  TEDx จึงจัดค่อนข้างบ่อย กระจาย
ออกไปทั่วโลก และเปิดกว้างสำหรับคนทุกคน ในไทยมี List event ด้วย แต่ไม่มีรายละเอียด

TEDx

Upcoming TEDx eventsThailand

  • TEDxBKK – TBD
  • TEDxPositivePsychology – TBD
  • TEDxSchooloftheFuture – TBD

เข้าไปดูรายละเอียดกฎระเบียบต่างๆในการจัดงานได้ที่ได้ที่ TEDx

นอกจากนี้ TED ยังมีงานย่อยๆอีกได้แก่  TED Fellows ที่เป็นการรวมกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีใจอยากจะเปลี่ยน
แปลงโลกให้ดีขึ้น เน้นอยู่ที่ เอเชียแปซิฟิก, แอฟริกา,แคริบเบียน, ละตินอเมริกาและตะวันออกกลาง

TED-Fellows

TED Talks เป็นงาน conference ที่ดี มีคุณภาพมาก และกำลังได้รับความนิยมสูงในหมู่นักบริหาร นักธุรกิจ นักวิชาการ
ชั้นแนวหน้าของโลก ประโยชน์ของคนที่ได้เข้าร่วมคงเป็นประสบการณ์และแนวคิด ไอเดียใหม่ๆ และสำหรับ
คนที่ได้นำเสนอผลงาน หรือพูดในงานนี้คงเป็นเหมือนการยกระดับความน่าเชื่อถือในสังคมได้อย่างมาก
เพราะมันเป็นเวทีระดับโลกที่จะเผยแพร่สู่คนทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นงาน conference ที่มีแต่คนอยากเข้าร่วม
ไม่ว่าค่าลงทะเบียนมันจะแพงสักขนาดไหนก็ตาม

อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/TED_%28conference%29
https://www.ted.com

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

Exit mobile version