ฟรีหนังสือ E-book จากห้องสมุดคณะแพทย์ฯ จุฬาฯ

รายการหนังสือ E-book โดยห้องสมุดคณะแพทย์

เคยแนะนำแหล่งดาวน์โหลดหนังสือออนไลน์ (เฉพาะนิสิตจุฬาฯ)ฟรีหนังสือ E-book มากกว่า 7 พันรายการ ไว้แล้วลองเข้าไปดูและดาวน์โหลดเก็บไว้ได้ครับ อีกแหล่งหนึ่งที่ทางห้องสมุดคณะแพทย์ จุฬาฯ ทำไว้ให้เป็นรายการหนังสือที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี จากแหล่งต่างๆเช่น SpringerLink ebook, SciDirect ebook, NetLibrary, PubMedBookShelf เป็นต้น โดยเรียงตามตัวอักษรให้ง่ายต่อการค้นหา เพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก

แต่หนังสือฟรีที่โหลดได้จากที่นี้ เนื่องจากเป็นรายการที่ห้องสมุดของคณะแพทย์เป็นผู้จัดทำขึ้น เนื้อหาจึงเป็นทางด้านการแพทย์ ชีววิทยา เป็นหลัก ต่างจาก CRCnetbase ที่จะมีทุกสาขา

การดาวน์โหลดหนังสือยังต้องอาศัยการใช้เน็ตในจุฬาฯ หรือใช้ VPN ครับ เป็นอีกช่องทางในการค้นหาหนังสือที่ตนสนใจแบบไม่ต้องเสียตังค์ ยิ่งถ้ามี E-book Reader ด้วยแล้วน่าจะถูกใจมากขึ้นแน่นอนครับ (ถ้าใครสนใจเล่มไหน จะฝากเพื่อนน้องๆโหลดให้ก็ได้นะ)

เข้าไปโหลดหนังสือ E-book จากห้องสมุดคณะแพทย์ฯ จุฬาฯได้ที่ https://library.md.chula.ac.th/e-book/ebook-list.html

หวังว่าจะเป็นโยชน์ครับ

BME Journal & News Subscription

เมื่อปลายปีที่แล้วได้จัดงาน BME CONCEPT ขึ้น แล้วก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาก(เกินคาด) ผมก็ได้ร่วมนำเสนอด้วย ผมเสนอเรื่องใกล้ตัวที่ผมทำเป็นเรื่องปกติ แต่คิดว่าหลายคนยังไม่รู้ นั้นคือ การอ่านเว็บไซต์ที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับ วิศวกรรมชีวเวชฯ ที่มีอยู่มากมาย ก็เคยเขียนไว้แล้วใน Biomed.in.th ตอนที่ 1,  ตอนที่ 2 บังเอิญวันนี้เปิดไปเจอสไลด์ของตัวเอง เลยคิดว่าเอามาลงไว้ในบล็อกดีกว่าเผื่อมีคนสนใจ

Journal & News Subscription

ผมบอกไปเรื่อยๆว่าเว็บนี้มีข้อดีอย่างไรบ้าง น่าสนใจตรงไหน รวมถึงเว็บฐานข้อมูลงานวิจัยที่ใช้บ่อยๆอย่าง Sciencedirect และ Pubmed เท่าที่บอกไปก็มีอยู่ราว 20 เว็บไซต์ ปัญหาที่ตามมาคือเราจะไปตามอ่านทุกวันได้ยังไง เสียเวลาทำงานอย่างอื่นหมด คำตอบของปัญหานี้คือใช้ RSS Reader ช่วย เป็นวิธีที่เหล่า Bloger หรือ Geek เขาทำกัน ให้มันดึงเนื้อหาเฉพาะอันที่อัพเดตมา เราก็จะได้ติดตามอ่านอย่างไม่พลาดเนื้อหาใหม่ๆ และไม่ต้องเสียเวลาไปตามอ่านทุกเว็บ วันหนึ่งหรือสองสามวันค่อยเข้ามาเช็คเหมือนเช็คอีเมล อีกอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์คือมันแชร์ให้เพื่อน ใส่คอมเม้นท์เพิ่มเติมส่งให้เพื่อนในกลุ่มได้ด้วย

แต่พิเศษกว่านั้น ปกติเราจะเลือก subscript แต่ blog เป็นส่วนใหญ่ แต่น้อยคนที่รู้ว่า เว็บอย่าง Sciencedirect หรือ Pubmed ก็มี RSS ของ Journal งานวิจัยต่างๆเหมือนกัน

Sciencedirect: สามารถเลือก Journal ที่เราสนใจได้เลย อาจไม่มีทุกอันแต่เล่มที่ใหญ่ Impact สูงๆ มี RSS อยู่แล้ว เนื้อหาที่ถูกดึงมาเป็น abstract  แต่แค่นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะดูว่า บทความนั้นทำอะไร ถ้าสนใจค่อยคลิกเข้าไปดู เข้าไปโหลด

Pubmed: สามารถเลือก subscript เฉพาะคีย์เวิร์ดที่เราสนใจได้เลย เช่น ชื่อโรค ชื่อเชื้อไวรัว หรือการทดลอง ฯลฯ ใส่คีย์เวิร์ด คลิก search แล้วไอคอน RSS จะโผล่ขึ้นมาเอง

ผมว่ามันเป็นประโยชน์สำหรับผม และคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นด้วย ตอนท้ายงานมีคนมาของสไลด์หลายคนเลยทีเดียว (แสดงว่าเราคิดถูก ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น)

BME CONCEPT แลกเปลี่ยนแนวคิดวิศวกรรมชีวเวช

BME CONCEPT 2010

BME CONCEPT 2010
วันที่ 30 พฤษศจิกายน 2010 ห้อง 203 ตึก 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์
ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 16.00 น.

เป็นงานที่คิดอยากจะจัดมานานแล้ว ประกอบกับทางหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯ มีทุนสนับสนุนให้ ผมจึงคิดจะจัดงานสัมมนากึ่งวิชาการ แนวคิดคือ Biomedical engineering ประกอบปด้วยสาขาย่อยภายในหลายสาขา ส่วนใหญ่แยกจากกันชัดเจน เช่น Rehabilitation engineering กับ Tissue engineering แทบจะแยกเป็นคนละคณะได้เลย แต่ถ้ามองลึกๆแล้วเราจะพบว่า ทุกสาขามันเชื่อมโยงกันได้ แนวคิดของสาขาหนึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับอีกสาขาได้ ถ้าเรามีเวลาพบปะพูดคุยกันมากพอ

รายละเอียดทั้งหมดดูที่ Biomed.in.th

ตอนนี้กำลังเตรียมงาน ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึก และโลโก้ ที่ได้เห็นนี้แหละ ที่ทำเสร็จแล้ว งานมีงบสนับสนุนจากหลักสูตรฯ จึงน่าจะมีอะไรพร้อมกว่าครั้งที่เคยลองจัดดูเมื่อนานมาแล้วดูที่นี้ มีอาหารเลี้ยง มีของว่าง มีของที่ระลึก อุปกรณ์ต่างๆที่พร้อมมากขึ้น คนพูดก็มากขึ้นด้วย (เพราะกึ่งบังคับ) งานนี้มีการจำกัดคนเข้าดังนั้นใครสนใจติดต่อมาที่ผมโดยตรง sarapukdee@gmail.com

อบรม ความปลอดภัยระบบเครือข่ายส่วนบุคคล

เปิดโลกลานเกียร์

เดินไปเจอป้ายประชาสัมพันธ์งานอบรมที่น่าสนใจ เลยค้นดูรายละเอียด และเอามาลงไว้ในบล็อกเผื่อมีคนสนใจ

ความปลอดภัยระบบเครือข่ายส่วนบุคคล
30 ตุลาคม 2553 เวลา 09:00 – 12:00

อ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายส่วนบุคคลในโลกไซเบอร์ที่ทุกคนควรรู้ เพื่อป้องกันข้อมูลและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ของท่าน ไม่ว่าท่านจะอยู่ในสังคมออนไลน์ใดๆ ทั้ง Facebook, Twitter, Hi5 และอื่นๆ อีกมากมาย ร่วมเรียนรู้การจัดการและป้องกันภัยต่างๆ ในโลกไซเบอร์

หัวข้อการอบรม มีดังนี้
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อมูลส่วนบุคคล
– Cyber Crime เบื้องต้น
– พื้นฐาน Computer Viruses, Worms, Trojan Horse และ Spyware
– Social Engineeering, Phishing, Phaming
– รู้ทันผู้ร้ายในโลก Cyber
– แนวทางการป้องกันตัวเองจากภัยร้ายในโลก Cyber
– Shopping Online อย่างปลอดภัย
– เปิดเผย แบ่งปัน หรือ ภัยซ่อนเร้น

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-218-6404 ติดต่อ น.ส.พรมม์ปภัส ภัครพรพรรณ์
สถานที่: ห้อง 209 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จำนวนรับ: 80
กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนทั่วไปที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์

สมัครเข้าร่วมงาน ฟรี

(เฉพาะนิสิตจุฬาฯ)ฟรีหนังสือ E-book มากกว่า 7 พันรายการ

CRCnetBASE.com รวมหนังสือออนไลน์มากกว่า 7 พันรายการ

สำหรับนิสิตและบุคลากรในจุฬาฯเท่านั้นครับ รวมหนังสืออีบุ๊ค แบบ PDF ไฟล์ ให้โหลดมากกว่า 7 พันรายการฟรี เท่าที่เข้าไปเช็คดูมีเกือบทุกสาขา ลองก็อปปี้แต่ละหมวดมาให้ดู

All Subjects (7314)

  • Biomedical Science (553)
  • Business & Management (715)
  • Chemical Engineering (163)
  • Chemistry (809)
  • Clean Tech (159)
  • Computer Science & Engineering (302)
  • Economics (769)
  • Engineering – Civil (373)
  • Engineering – Electrical (782)
  • Engineering – General (134)
  • Engineering – Mechanical (380)
  • Engineering – Mining (28)
  • Environmental Science & Engineering (626)
  • Ergonomics & Human Factors (134)
  • Food & Nutrition (587)
  • Forensics & Criminal Justice (288)
  • Geoscience (29)
  • Healthcare (106)
  • Homeland Security (80)
  • Industrial Engineering & Manufacturing (256)
  • Information Technology (419)
  • Life Science (774)
  • Material Science (491)
  • Math (452)
  • Medicine (367)
  • Nanoscience & Technology (117)
  • Occupational Health & Safety (114)
  • Pharmaceutical Science & Regulation (271)
  • Physics (409)
  • Polymer Science (102)
  • Public Administration & Public Policy (71)
  • Social Sciences (543)
  • Statistics (287)
  • Water Science & Engineering (219)

เข้าไปโหลดได้เลยที่  https://www.crcnetbase.com ใครที่ไม่ได้ใช้เน็ตภายในจุฬาฯ ก็ใช้ VPN เข้ามาโหลดได้ครับ

เสวนาทางวิชาการ “ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

แจ้งข่าวสารที่น่าสนใจครับ

เสวนาวิชาการ "ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม"

เสวนาทางวิชาการ ประจำปี 2553
เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของการสถาปนาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

จัดโดย
กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมจุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ ตึกประชาธิปก – รำไพพรรณี ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการและเหตุผล
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 และในอีกหลายๆ
ครั้งตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับความขัดแย้งและความแตกแยกของคนใน
สังคมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีจุดแข็งในหลายเรื่อง อาทิ ความเป็นคนไทยที่มี
จิตใจเอื้อเฟื้อและรักสงบ ความเจริญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรอยู่
มากเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้น ความหวังของสังคมไทยที่จะก้าวพ้นวิกฤตสังคมในครั้งนี้ จึงอยู่ที่
การหันหน้ามาทำความเข้าใจและร่วมกันทั้งคนในเมืองและชนบท กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จึง
ได้จัดการเสวนาทางวิชาการครั้งนี้ เพื่อเป็นอีกเวทีหนึ่ง ที่จะหาทางออกร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ของหลาย
ภาคส่วนจากวิกฤตที่เกิดขึ้น
กำหนดการ
12.30 — 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 — 13.05 น. กล่าวเปิดงาน โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.05 — 15.05 น. เสวนา เรื่อง “ทางออกสังคมไทย หลังวิกฤต 19 พฤษภาคม” โดย

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต (วัดเอราวัณ) ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
  • นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและอดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • รศ. ดร. มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
  • พลเอก ไวพจน์ ศรีนวล อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

15.05 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 — 16.00 น. เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น ดำเนินรายการ โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ที่มา : https://www.chula.ac.th/cuth/cic/oldnews/CU_P007411.html
ดาวน์โหลด : กำหนดการ

เว็บตรวจสอบการคัดลอกงานวิจัย Plagiarism detection Tool

Free Online Plagiarism Detection Tool

Plagiarism หรือ การคัดลอกผลงาน ในการเขียนบทความวิชาการถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าหากถูกตรวจพบว่างานเขียนนั้นมีการคัดลอกมาจากผลงานของผู้อื่น หรือมีการนำข้อมูลมาแสดงโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง จะถือว่าผู้เขียนงานชิ้นนั้นมีความผิดทันที นักวิชาการหรือนักวิจัยที่ต้องเขียนบทความทางวิชาการจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก แต่บางครั้งการเขียนบทความวิชาการ ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจให้มี plagiarism ในงานเขียนของตัวเอง แต่อาจเกิดจากการเผลอเลอ อย่างไม่ได้ตั้งใจ การตรวจสอบ plagiarism ในงานเขียนจึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญอย่างมาก เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย และนี้คืออีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการตรวจสอบ Plagiarism ซึ่งสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน นั้นคือ Dupli Checker Free Online Plagiarism Detection Tool

วิธีการใช้งานสะดวก และรวดเร็ว

  1. เข้าไปที่เว็บ https://www.duplichecker.com/
  2. Copy ข้อความที่เขียนขึ้นใส่ลงในช่องใส่ข้อความ หรืออับโหลดไฟล์เอกสารเข้าไปก็ได้
  3. คลิกเลือก search engine ในการค้นหา แนะนำ Google
  4. คลิก search
  5. ดูการแสดงผล สีแดงคือมี Plagiarism สีเขียวคือผ่าน
ตัวอย่างผลของการตรวจสอบ

ด้านบนเป็นผลของการค้นหา ที่ลองคัดลอกบทความจาก journal แห่งหนึ่งมา พบว่าระบบสามารถตรวจเจอและสามารถแสดงลิงค์ที่อยู่ของบทความนั้นได้

เครื่องมือนี้เหมาะกับอาจารย์ที่จะใช้ตรวจงานของนิสิตได้ หรือสำหรับนักวิจัยที่ต้องเขียนงานวิจัยส่งตีพิมพ์  journal ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบด้วยวิธีนี้ ตรวจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน เครื่องมือนี้จะเป็นเพียงตัวช่วยตัวหนึ่งเท่านั้นในการตรวจสอบ จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยตัวเองอีกครั้ง เพื่อความถูกต้อง

เข้าไปใช้งานได้ที่ : https://www.duplichecker.com/
ขอบคุณความรู้จาก @ac_nim

บันทึกการแก้ปัญหาเรื่อง Authentication Required

บันทึกไว้สำหรับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กับ server

สาเหตุ คิดว่าเกิดจากการลบ User ตัวใดตัวหนึ่งออก หรืออะไรไม่รู้ เวลาล็อกอิน Admin เข้าไปแล้วแต่เกิด Access denied ใน folder ที่เก็บ root ของเว็บ เมื่อเข้าไปที่เว็บทำให้เกิดการถามรหัส พาสเวิร์ด ทำเอางง และงมอยู่กับมันอยู่พักใหญ่

วิธีแก้ไข ไปที่ folder เก็บไฟล์ที่เข้าไม่ได้ (Access denied) คลิกขวา >Properties >Security มันจะฟ้องว่าเราไม่มีสิทธิเข้ามาแก้ไข ช่องติ๊กกำหนด Permission จะไม่สามารถ Add ,Remove ได้  ก็ให้เข้าไปที่ Advance >>Owner เมื่อดูแล้วจะเห็นว่า Administrator ไม่ได้เป็นเจ้าของ folder นี้ให้เราคลิกเลือก Administrator แล้วก่อนจะคลิก Apply ให้ติ๊กเลือก Replace owner on subcontainers and objects ด้วย คือให้เปลี่ยนทุกอย่างที่อยู่ข้างในด้วย ตอนแรกโง่นิดหน่อยดันไม่เลือกแล้วงงว่าทำไมมันเปลี่ยนอันเดียว แล้วก็โง่อีกเข้าไปแก้ไขทีละอันจนเหนื่อยเลยเขามาดูรายละเอียดอีกทีว่ามันน่าจะสะดวกว่านี้ เลยเจอ โง่ได้ใจจริง

ตอนนี้ folder ของเว็บที่แต่ก่อนไม่มีเจ้าของ ตอนนี้ Administrator ก็เป็นเจ้าของแล้ว จะปรับแต่งยังไงก็แล้วแต่เราแล้ว จะเพิ่ม user ใหม่เข้ามาก็ add เข้าได้ แล้วถ้าต้องการให้ Permission เหมือนกันทุกไฟล์ ให้เข้าไปที่ Advance >> Permission จะกำหนดใครก็เลือก แต่ก่อน Apply ก็เลือก  Replace permission entries on all.. ด้วยเป็นอันเรียบร้อย

บล็อกไม่เป็นลำดับสงสัยเวลาย้อนกับมาอ่านคงงงแน่เลย

งานคืนสู่เหย้า นิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาฯ

งานคืนสู่เหย้า นิสิตเก่าหอพักนิสิตฯ

ประชาสัมพันธ์งาน คืนสู่เหย้า นิสิตเก่าหอพัก สักหน่อย ไม่รู้ที่อื่นมีชมรมนิสิตเก่าหอพักในมหาวิทยาลัยหรือปล่าวนะครับ เท่าที่รู้มีแต่ในจุฬาฯนี้แหละที่มีการตั้งชมรมนิสิตเก่าหอพักฯขึ้นมา เนื่องจากเด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนในจุฬาฯมีเยอะมาก การอยู่หอภายในมหาลัยเป็นเรื่องที่สะดวกกว่าอยู่ข้างนอกมาก และเมื่อเราจากบ้านนอกมาเรียนการได้อยู่กับเพื่อนๆต่างจังหวัดด้วยกันทำให้เราผูกพันธุ์กันมากเป็นพิเศษ นิสิตที่อยู่หอในฯ จะได้ทำกิจกรรมร่วมกันเยอะนิสิตกลุ่มอืน เพราะที่พักอยู่ใกล้ที่เรียน ทั้งชมรมฯ ค่ายอาสาฯ งานเทศการต่างๆ ฯลฯ ทำให้การจัดงานคืนสู่เหย้าจึงเป็นที่รอคอยของเพื่อนหลายๆคน ที่หลังจากเรียนจบต่างแยกย้ายกันไปทำงานต่างที่กัน

  • งานคืนสู่เหย้าหอพักจะจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี
  • ปีนี้งานจัดในวันที่ 21 พ.ย. 2552
  • ปีนี้มีธีมงานแนวลูกทุ่ง ให้แต่งตัวออกแนวลูกทุ่งมาด้วย มีการจัดประกวดการแต่งตัวด้วย
  • จัดขึ้นที่สนามหญ้าข้างตึกจำปา ตรงข้ามมาบุญครอง
  • ลงทะเบียนออนไลน์ได้แล้วที่  https://www.cmadong.com/rcu_form
  • ดูรายชื่อคนที่ลงทะเบียนแล้ว  https://www.cmadong.com/rcu_form/registered.php
  • กำหนดของงาน https://www.cmadong.com/index.php?option=com_content
  • ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม https://www.cmadong.com

โล้โก้ โครงการคุณธรรมจามจุรี

โลโก้ โครงการคุณธรรมจามจุรี

ดาวน์โหลดโลโก้

Exit mobile version