รวมเครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์

Browser test

Smashing Magazine รวมเครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์ของแต่ละ browser ไว้อย่างครบถ้วน ละเอียดมาก เห็นว่าน่าสนใจและเคยเขียนถึงตัวหนึ่งไว้เหมือนกันลองดูได้ที่ Adobe BrowserLab เครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์ ในลิสต์ที่เขารวบรวมไว้จะมีทั้งตัวที่สามารถใช้ได้เลยผ่านทางเว็บไซต์ และตัวที่ต้องติดตั้งลงเครื่อง ตัวไหนที่ดีมี suport รองรับก็ต้องจ่ายตังค์ บริษัททำเว็บใหญ่ๆอาจจะต้องใช้ สำหรับใช้ในงานไม่ใหญ่มากแบบฟรีก็คงเป็นอะไรที่เหมาะสมแล้ว

ผมดึงมาเฉพาะตัวที่มีเวอร์ชั่นฟรีให้ใช้ หากใครสนใจอยากดูรายละเอียดแบบเต็มตามไปดูบทความของ Cameron Chapman ได้ที่ Review Of Cross-Browser Testing Tools คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนทำเว็บ

Tool Number of browser versions supported IE? Interactive testing? Side-by-side testing? Pricing
Adobe BrowserLab 13 IE6+ No Yes Free
Browsershots 60+ IE6+ No No Free
SuperPreview Varies IE6+ Yes Yes Free
Lunascape 3 IE6+ Yes Yes Free
IETester 6 versions of IE IE5.5+ Yes Yes Free
IE NetRenderer 5 versions of IE IE5.5+ No No Free
Spoon 16+ no IE Yes No Free
Browsera 9 IE6+ No Yes Free – $99/month
Browserling 9 IE5.5+ No No Free – $20/month

Safari อ่านโดเมนภาษาไทยได้ด้วย

เมื่อสัปดาห์ก่อนได้จดโดเมนที่ชื่อเป็นภาษาไทยแนวเดียวกับ ช่วยชาติ.com อะไรทำนองนี้ครับ การ config กับโฮสก็ทำเอามึนๆอยู่เล็กน้อย ดีที่มี support บริการดี ก็เนื่องจากว่ามาตรฐาน IDN (Internationalized Domain Name) จะเปลี่ยนชื่อเป็นอะไรที่ประหลาดๆอ่านไม่รู้เรื่องขึ้นต้นด้วย xn-- แทนที่จะจำง่ายกลับจำยากเมื่อคนที่เข้าเผลอเข้ามา ไม่พิมพ์เข้ามาเอง

ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งที่เจอกับตัวเอง ผมเข้าที่เว็บของททท.มีแบนเนอร์อันหนึ่งสวยมาก พอคลิกเข้าไปก็เจอเว็บที่รวมรูปสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆเยอะเลย แต่ว่าเว็บไซต์นี้ถูกจดด้วยชื่อโดเมนภาษาไทย แล้วในเว็บก็ไม่มีชื่อเว็บไว้ด้วย สรุปว่าเปิดไปเปิดมาตั้งนานยังไม่รู้ว่าเว็บไซต์นี้ชื่ออะไร! จะจำตัวอักขระ xn--… ก็คงจำไม่ได้ ทางเดียวคือต้อง bookmark บอกต่อคนอื่นได้ค่อนข้างยากเหมือนกัน ผมเลยมองว่าแทนที่จะเป็นจุดแข็งที่สามารถใช้ชื่อโดเมนเป็นภาษาท้องถิ่นได้ กลับเป็นจุดด้อยไปอย่างน่าเสียดาย

ปัญหานี้ผมมองข้ามมันไปแล้วว่าน่าจะเป็นที่ระบบคงแก้ไขอะไรมากไม่ได้ ทางที่ดีคือเพิ่มชื่อเว็บไซต์ลงไปในเว็บไซต์ให้เห็นด้วย แต่วันนี้ดันลองเปิดเว็บด้วย Safari 5 เฮ้ย! (สะดุ้ง ตกใจ) บน address bar ของ Safari แสดงชื่อเว็บไซต์เป็นภาษาไทยเลย!

มาดูภาพเปรียบเทียบการแสดงที่อยู่ของเว็บไซต์ใน Safari 5.0, Firefox 5.0 และ Chrome 12

Safari 5.0 อ่านชื่อโดเมนภาษาไทยได้
firefox 5.0 แสดงที่อยู่ของเว็บไซต์เป็นโค้ด
Chrome 12 แสดงที่อยู่เว็บไซต์เป็นโค้ด

ทั้งหมดในเครื่อง Mac ครับ ส่วนใน IE และ Windows ผมไม่ได้ลอง ถ้าใครลองแล้วเขียนคอมเม้นต์บอกด้วยนะครับ อยากรู้เหมือนกัน

แสดงว่ามันขึ้นอยู่กับ Web browser ต่างหากที่จะแสดงผลแบบไหน ในอนาคตคิดว่าตัวอื่นๆนอกจาก Safari ก็น่าจะอัพเดตให้แสดงผลเป็นชื่อของภาษาถิ่นได้เหมือนกัน ถึงตอนนั้นเราอาจจะลบจุดด้อยที่กล่าวไว้ข้างต้นได้

สรุป ถ้าอยากรู้ว่าชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทยชื่ออะไร อ่านใน Firefox, Chrome ไม่ได้ ต้องเปิด Safari มาอ่านดูครับ

ลองทดสอบเข้าไปที่เว็บ https://www.ปฏิบัติการสร้างหัวใจใหม่.com/ แล้วดูว่าที่เครื่องของคุณอ่านได้หรือปล่าว

มานับถอยหลังให้ Internet Explorer 6 กันเถอะ

ยอดการใช้งาน ie6 ทั่วโลกทุก OS รวมกันอยู่ที่ 10.9%

Internet Explorer 6 (IE6)ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2001 ถูกยัดให้เป็น default browser ของ Windows XP และ Windows Server 2003 มันเกิดมานานร่วม 10 ปีแล้ว ปัจจุบัน IE จะออกเวอร์ชั่น 10 อยู่แล้วแต่ตัว IE6 ยังมีคนใช้งานอยู่มาก จากข้อมูลมีผู้ใช้ 10.9% จากคนใช้โปรแกรมท่องเน็ตทั่วโลก

มาดูสถานการณ์ของ IE6 ในปัจจุบัน

กราฟยอดผู้ใช้งาน IE6 ทั่วโลกในปี 2010-2011

ยอดของคนใช้ IE6 ลดลงเรื่อยๆแต่หลังๆเริ่มจะนิ่งอยู่ที่ประมาณ 10%

ยอดของผู้ใช้ IE6 ในแต่ละประเทศ

ยอดผู้ใช้งาน IE6 ในประเทศไทยมีค่าอยู่ที่ประมาณ 4.5% ในขณะที่ยอดคนใช้สูงที่สุดเป็นของประเทศจีน 33.9%

Campaign รณรงค์ให้เลิกใช้ IE6 ออกมาตั้งนานแล้ว นำทีมโดย Microsoft ผู้สร้างโปรแกรม IE6 และเว็บไซต์ชั้นนำอีกมากมาย อะไรที่คนใช้เยอะจะเปลี่ยนแปลงทีมันก็ต้องลำบากเป็นธรรมดา คิดว่าเหตุที่ยังมีคนใช้อยู่เยอะเพราะยังมีหลายกลุ่มยังใช้งาน Windows XP ซึ่งมี IE6 มาพร้อม แต่คนที่ใช้ไม่สนใจที่จะอัพเดตให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ หลังจาก Windows 7 ออกมา(ข้าม Vista ไปนะ) มันได้รับการตอบรับอย่างดี คนเปลี่ยนจาก XP ไปเป็น 7 เยอะทำให้ยอดลดลงมาบ้าง แต่ก็ยังคงมียอดคนใช้สูงอยู่ดี

แล้วคำถามที่ว่าทำไมต้องเลิกใช้ IE6 ?

ข้อดีของการอัพเกรด IE มีหลายอย่างเช่น เปิดเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น, มี tab ให้ใช้งาน ไม่ต้องเปิดหลายหน้าต่าง, มีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้มากขึ้น, มีความปลอดภัยจากการโจมตีจากไวรัส แสปม ฯลฯ, รองรับเทคโนโลยีและมาตรฐานใหม่ๆของเว็บไซต์ เป็นต้น ลองดูประสิทธิภาพของ IE เวอร์ชั่นใหม่ได้ที่ ลิงค์นี้ ส่วนข้อเสียของ IE6 ก็ทำไม่ได้อย่างข้อดีด้านบนที่เขียนมา

เป้าหมายของการรณรงค์นี้คือ จะต้องลดการใช้งาน IE6 ให้เหลือเพียง 1%

ในการรณรงค์ครั้งนี้คงไม่ได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ IE ในการท่องเน็ต สนับสนุนให้ใช้โปรแกรมอื่นๆที่ได้มาตรฐานกลางด้วย เช่น Firefox, Chrome, Opera, Safari อันไหนก็ได้ที่ตัวเองชอบ แต่หลักๆคือเลิกใช้ IE6

ประโยชน์ครั้งนี้นอกจากจะได้กับตัวคนใช้เองยังช่วยกลุ่มนักพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถลดปริมาณงานในการพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับ IE6 ที่ล่าสมัยได้อีกเยอะ ทำให้วงการพัฒนาเว็บไซต์พัฒนาได้เร็วขึ้น

เข้าร่วมโครงการรณรงค์เลิกใช้ IE6 ยังไง?

ที่บล็อกนี้ตามสถิติของ 30 วันย้อนหลัง เก็บจาก Google analytic นับเฉพาะเวอร์ชั่นของ IE มีสถิติดังนี้ครับ IE 8 = 65.9% , IE7=16.7% , IE6=11.6%, IE9=5.8% จะเห็นว่า IE6 ยังสูงอยู่

เราอยากร่วมรณรงค์ ก็เข้าไปเอาโค้ดเตือนให้อัพเกรดเมื่อใช้ IE เวอร์ชั่นเก่าเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา อยู่ที่เว็บไซต์ https://www.theie6countdown.com/join-us.aspx นำมาติดในบล็อก ถ้าใช้ IE6 เปิดเข้ามาจะเห็นแบบนี้ครับ

IE6 แจ้งให้อัพเดตเวอร์ชั่นใหม่

ถ้าไม่ใช้ iE6 ก็จะมองไม่เห็น จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาช่วยกันติด IE6 Countdown กันครับ

ข้อมูลจาก: https://www.theie6countdown.com

วิธีสั่งพิมพ์ด้วย Google Cloud Print

การทำงานของ Google Cloud Print

จากตอนที่แล้วที่เขียนถึงวิธีการติดตั้ง Google Cloud Print ตอนนี้จึงมาต่อในเรื่องของการสั่งพิมพ์จากคนละเครื่อง คนละอุปกรณ์ ผ่านทาง Smart phone, tablet ในการสั่งพิมพ์จากอุปกรณ์พวกนี้สามารถใช้งานได้เลย เมื่อเข้าไปใช้งาน Gmail, Google Docs ต้องการพิมพ์เอกสารที่แนบมากับอีเมล หรือเอกสารที่อยู่ใน Google Docs ก็คลิกที่เมนูพิมพ์ได้เลย

iOS

อันนี้ไม่ใช้เรื่องยากเลย เมื่อกดที่ Print รายชื่อของเครื่องพิมพ์ที่เราแอดไว้ก็จะโชว์ขึ้นมา เราก็สั่งพิมพ์ข้ามโลกได้เลย

แล้วถ้าเป็น PC , Notebook ทั่วไปจะมีปัญหานิดหน่อย เพราะถ้าจะสั่งพิมพ์มันจะเรียกเครื่องพิมพ์ในระบบ Windows ขึ้นมา ไม่ใช่เครื่องพิมพ์ที่เป็น Cloud Print วิธีแก้ไขง่ายๆคือ ถ้าจะสั่งพิมพ์ก็ให้แปลงเครื่องเราให้เป็น iPad หรือ iPhone ก่อน เมนูพิมพ์ที่ทำสำหรับอุปกรณ์นั้นๆจึงจะโผล่ขึ้นมา เพราะเครื่องของเราไม่ใช่ Chrome OS แต่เป็นแค่ Chrome Browser

วิธีเปลี่ยนคือใช้ User Agent Switcher ที่เป็น Add-on ของ firefox ของ Chrome ก็มีแต่ไม่ค่อยเวิร์ค พอติดตั้งเสร็จก็ เลือกใช้ User Agent เป็น iPhone หรือ iPad

เปลี่ยน PC ให้เป็น iPhone หรือ iPad

จากนั้นเข้าใช้งาน Gmail หรือ Google Docs ก็สั่งพิมพ์งานได้แล้ว

สรุปว่าจะสั่งพิมพ์ผ่านทาง Google Cloud Print ในคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ Firefox กับ User Agent Switcher ช่วย

จบ

วิธีติดตั้ง Google Cloud Print

Google Cloud Print มันตามมาพร้อมกับ Chrome OS เพราะว่าถ้าเครื่องมันมีแต่ browser อย่างเดียวแล้วจะพิมพ์เอกสารยังไง ซึ่งแสดงว่า ณ ตอนนี้กระดาษยังมีความจำเป็น แต่คิดว่าต่อไปอันใกล้กระดาษจะต้องถูกลดบทบาทลงเรื่อยๆ และจะถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิตอลเกือบหมด(แต่จะไม่หมดไป) ตอนแรกก็คิดว่ามันจะแก้ปัญหายังไง และแล้ว Cloud Print ก็คือการแก้ปัญหานั้น

Google Cloud Print

Google Cloud Print แบ่งเครื่องพิมพ์เป็นสองกลุ่มย่อย คือเครื่องพิมพ์ที่เสียบอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า “Classic printer” กับเครื่องพิมพ์ที่รองรับ Cloud Print แบบเต็มตัวคือสั่งงานผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เลย เรียกว่า “Cloud Ready Printers” โดยแอดที่อยู่ของเครื่องพิมพ์เข้าไปก็ใช้ได้แล้ว ตอนนี้มียี่ห้อ HP เท่านั้นที่รองรับ

วันนี้ได้ลองเล่น Google Cloud Print รู้สึกว่ามันทำงานได้จริง แชร์เครื่องพิมพ์ให้เพื่อนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ แต่ข้อเสียก็ต้องมีแน่นอน นั้นคือ คุณต้องต่ออินเทอร์เน็ตจึงจะสั่งพิมพ์ได้ ขอเริ่มวิธีการติดตั้ง Google Cloud Print ณ บัดนี้ครับ (เรียกว่าเปิดการทำงานน่าจะถูกมากกว่า)

วิธีติดตั้ง Google Cloud Print

  1. เปิด Google Chrome ขึ้นมา
  2. คลิกที่ไอคอนประแจ เข้าสู่เมนู Customize and control

    Setting

  3. เลือก Options

    Options

  4. เลือก Under the hood

    Under the Hood

  5. เลือนลงไปข้างล่าง ในส่วนของ Google Cloud Print เลือก Sign in to Google Cloud Print

    เลือก Google Cloud Print

  6. ล็อกอินบัญชีของ Gmail

    Sign in

  7. เลือก “OK” เสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือว่าอยากจะลองกด “Print a Test Page” เพื่อลองพิมพ์ดูก่อนก็ได้

    success

  8. ลองเข้าไปจัดการเครื่องพิมพ์ เลือก “Manage Print Settings…” (อยู่ที่เดียวกับข้อ 5 นั้นแหละ)

    Manage Print Settings

  9. รายชื่อของเครื่องพิมพ์ที่เชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ถูกเพิ่มเข้าไปใน Google Cloud Print ของบัญชีเรา และถ้าต้องการจะแชร์เครื่องพิมพ์ของเราให้เพื่อน ก็คลิกที่เครื่องพิมพ์นั้น เลือก Actions>>Share การแชร์เครื่องพิมพ์จะทำหรือไม่ อันนี้แล้วแต่ลักษณะการใช้งานของแต่ละคนนะครับ ถ้าจะใช้คนเดียว ขั้นตอนติดตั้ง Google Cloud Print เสร็จตั้งแต่ข้อที่ 7 แล้ว

    Printers on Cloud

  10. เพิ่มอีเมลของเพื่อนที่เราต้องการแชร์เครื่องพิมพ์ให้ลงไปได้เลย

    เพิ่มอีเมลของเพื่อน

  11. เสร็จสิ้นตอนนี้ เพื่อนของเราก็สั่งพิมพ์ผ่าน Google Cloud Print บัญชีของเราได้เช่นกัน

ตอนนี้เราสามารถสั่งพิมพ์งานจากที่ไหนก็ได้ เช่นสั่งพิมพ์จาก smart phone, tablet, PC ตราบใดที่มีอินเทอร์เน็ต และเครื่องที่ต่อกับเครื่องพิมพ์ต้องต่ออินเทอร์เน็ตด้วยนะ แต่ไม่จำเป็นต้องเปิด Google Chrome ค้างไว้

ส่วนเรื่องวิธีการสั่งพิมพ์ เทคนิคการสั่งพิมพ์จากคนละเครื่อง จะเขียนในตอนหน้าแล้วกัน

-ตอนที่ 2 วิธีสั่งพิมพ์ด้วย Google Cloud Print

SymbalooEDU เว็บทำ online bookmark แบบปุ่ม

SymbalooEDU

SymbalooEDU เป็นเว็บทำ bookmark แบบเป็นปุ่มร่วมภาพสัญลักษณ์ให้จำง่าย ในหนึ่งหน้ามีปุ่มทั้งหมด 52 อัน แยกหมวดหมู่เป็นกลุ่มๆ ในช่องที่ว่างเพิ่มเองได้ มีฐานข้อมูลของเว็บที่นิยมให้ หรือสร้างใหม่เองก็ได้ เคลื่อนย้ายปุ่มได้ ถ้าเป็นกลุ่มค้นข้อมูล หรือที่ต้องใส่ input จะมีช่องตรงกลางให้ใส่ได้เลย แล้วคลิก search เพื่อดูผลของการค้นหาอีกที เพิ่ม tab มี tab ที่นิยมด้วย หรือจะสร้างหน้าว่างๆได้อีก แชร์หน้าที่เราสร้างได้

สรุปโดยรวม สร้างสรรค์ ออกแบบได้ดี และน่าใช้มาก แต่ขี้เกียจมานั่งสร้างใหม่เพราะเราคุ้นกับ bookmark บน browser มากกว่า bookmark ที่อยู่หน้าเว็บ แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นอะไร ว่างๆจะลองนั่งเล่นดูอีกครั้ง อาจจะชอบมันขึ้นมาก็ได้ ตรงที่มามีข้อมูลละเอียด หรือจะลองเล่นดูเลยก็ตามสะดวก

ลองไปเล่นดูที่ https://edu.symbaloo.com/

via: https://www.makeuseof.com/

Exit mobile version