รีวิวหนังสือภาพ Darwin: An Exceptional Voyage ภาพสวย เนื้อเรื่องประทับใจ

Darwin: An Exceptional Voyage
งานเขียนของ Fabien Grolleau (Autor)
ภาพประกอบโดย Jeremie Royer (Illustrator)

หนังสือภาพประวัติเรื่องราวของดาร์วิน เป็นเรื่องราวข้อมูลเกี่ยวกับผู้คนบนเรือ การเดินทางไปเกาะและพื้นที่ต่างๆในทวีปอเมริกาใต้บนเรือ HMS Beagle ตลอดการเดินทาง 5 ปี (จากที่ตั้งเป้าไว้แค่ 2 ปี) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการสำรวจหมู่เกาะกาลาปากอส อันเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาทฤษฎีวิวัฒนาการที่สำคัญอย่างยิ่งของวงการวิทยาศาสตร์โลก การพบปะกับชนพื้นเมือง รวมถึงยุคของการค้าทาสในระหว่างการเดินทางนั้นก็มีเนื้อเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน

ผู้เขียนเคลมว่า หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ยึดกับความถูกต้องทางประวัติศาสตร์อย่างเคร่งครัด มีเติมแต่งบ้าง แต่ได้เขียนอธิบายรายละเอียดไว้ด้านหลังของเล่มแล้ว ส่วนภาพประกอบนั้นสวยมาก ลองดูตัวอย่างจากภาพบางส่วนด้านล่างได้ เหมาะมีไว้ติดบ้าน แล้วหยิบจึ้นมาอ่านเล่นบ้างบางเวลา ยิ่งอ่านให้เด็กฟังน่าจะได้รับความสนใจไม่น้อยเพราะภาพสวยน่าดึงดูด

หนังสือเล่มนี้ได้มาเป็นฉบับภาษาอังกฤษ จากที่ได้รอเป็นเวลานานเป็นปีแต่ก็ไม่มีพิมพ์เพิ่มเลย สุดท้ายเลยซื้อแบบมือสองมาแทน ฉบับภาษาเยอรมันกับฝรั่งเศสยังเห็นมีอยู่ในสต็อค

อีกเล่มที่เป็นผลงานของสองนักเขียนนี้ เรื่องของ Audubon ก็น่าสนใจเหมือนกัน

รีวิว Humble Pi, คณิตคิดพลาด: รวมเรื่องวายป่วงในวันที่คณิตศาสตร์รู้พลั้ง

Humble Pi โดย Matt Parker (คณิตคิดพลาด: รวมเรื่องวายป่วงในวันที่คณิตศาสตร์รู้พลั้ง แปลโดย สกุลรัตน์ บวรสันติสุทธิ์) เป็นหนังสือที่อ่านสนุกมากและให้ข้อมูลที่น่าสนใจของความผิดพลาดของคำนวณคณิตศาสตร์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความเสียหายในระดับเล็กน้อยไปจนถึงความเสียหายในระดับหายนะ

สไตล์การเขียนของคนเขียนเน้นเล่าเรื่องให้สนุกและมีอารมณ์ขันแทรกเข้ามาอยู่ตลอด ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของการคำนวนที่ผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ที่ง่าย ๆ ก็สามารถนำไปสู่หายนะอันใหญ่หลวง ตั้งแต่สะพานถล่ม กระจกจากตึกสูงเกิดการรวมแสงแล้วเผารถยนต์ที่จอดอยู่ถนนฝั่งตรงข้าม หายนะของสายการบิน หรือความผิดพลาดของกระสวยอวกาศสำรวจดาวอังคาร โดยเขายกเคสมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นจากหลายแหล่ง รวมถึงประสบการณ์โดยตรงของเขาเองด้วย

คณิตคิดพลาด: รวมเรื่องวายป่วงในวันที่คณิตศาสตร์รู้พลั้ง

จุดเด่นของคนเขียนคือเขาเป็นนักคณิตศาสตร์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่เก่งมาก ทำให้เรื่องคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับผู้อ่านทุกระดับ

สรุปว่าใครก็ตามที่สนใจที่จะเข้าใจบทบาทของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันและศักยภาพของคณิตศาสตร์ทั้งในด้านความช่วยเหลือและอันตราย ควรอ่าน Humble Pi อย่างยิ่ง สนุกจริง ยกให้เป็นหนังสือที่ชอบมากเล่มแรกที่ได้อ่านของปีนี้

เคล็ดลับสำหรับการบรรลุเป้าหมายการอ่านจาก Goodreads

Goodreads Reading Challenge

ใน Goodreads ในช่วงต้นปีจะมี Challenge ให้เราได้เล่นกัน โดยเราสามารถกำหนดเป้าหมายจำนวนของหนังสือที่เราตั้งใจจะอ่านให้จบในปีนั้นๆ ตอนท้ายปีก็มาสรุปอีกทีว่าอ่านอะไรไปบ้าง บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

เคล็ดลับที่นำมาให้อ่านกันคือ เป็นทิปเล็กๆที่จะทำใหเราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ง่ายขึ้น โดยคัดมาเฉพาะส่วนที่คิดว่าทำงานกับตัวเองได้ดีและคิดว่าน่าจะทำงานได้ดีกับคนอื่นด้วย

ทำให้ง่ายต่อการหยิบหนังสือมาอ่าน

ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปนิสัยจะบอกคุณว่ายิ่งคุณทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ง่ายเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งทำสิ่งนั้นได้มากขึ้นเท่านั้น วางหนังสือตรงตำแหน่งที่คุณจะอ่าน (โต๊ะข้างเตียง โซฟา ในกระเป๋าเป้สำหรับการเดินทางของคุณ อื่นๆที่ใกล้ตัว) คุณจึงไม่ต้องคิดเกี่ยวกับมัน แต่เพียงแค่หยิบหนังสือขึ้นมา และลองอ่านหนังสือสองสามเล่มพร้อมๆ กัน เพื่อที่คุณจะได้เลือกหนังสือที่เหมาะกับอารมณ์ตอนนั้นของคุณได้

ผลักดันตัวเอง แต่ให้นึกถึงความเป็นจริง

หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพการอ่านตกต่ำด้วยการมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ความจริง คุณสามารถเพิ่มหรือลดเป้าหมายของคุณได้ตลอดเวลาตลอดทั้งปี เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สนุกในการสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง ดังนั้นไม่ต้องกดดันตัวเอง หากคุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายก็เปลี่ยนได้ (ตั้งไว้ให้เยอะเพื่อสร้างแรงจูงใจ)

อ่านหนังสือที่คุณชอบ (ยกให้สำคัญสุด)

ฟังดูง่าย แต่บางครั้งเราลองอ่านหนังสือเพราะรู้สึกว่าเราควรอ่าน แต่ปรากฏว่ามันไม่ใช่ และไม่ชอบ คุณวางมันลงและไม่สามารถหาแรงจูงใจที่จะหยิบมันขึ้นมาอ่านต่อได้ บางทีก็ฝืนอ่านต่อ รู้สึกถูกบังคับ ส่งผลให้ไม่สนุกกับการอ่าน และมันจึงเริ่มปิดกั้นไม่ให้คุณอ่านอย่างอื่น ดังนั้นจงตัดจบและไปต่อ—ไม่มีกฎว่าคุณต้องอ่านหนังสือให้จบ! มีหนังสือที่น่าอ่านอีกมากมายรอคุณอยู่ ดังนั้นเปิดหนังสือใหม่และรักษานิสัยการอ่านของคุณต่อไป หาแรงบันดาลใจ หาดูหนังสือที่นักอ่านคนอื่นๆ ชื่นชอบ หรือหนังสือที่คนอื่นตั้งตารอ

ที่มา https://www.goodreads.com/blog/show/2465-tips-to-read-more-books-in-2023-with-the-goodreads-reading-challenge

How to use Latexdiff to mark changes to Tex documents.

Latexdiff is a tool for highlighting changes between two latex documents. So, I remind myself how to use it.

  1. install Perl click
  2. download latexdiff and unzip it into the Perl > bin folder
  3. Optional: installing the latexdiff package in MiKTek appears to work as well.

How to use it:

  1. cmd
  2. cd to file folder
  3. latexdiff oldfile.tex newfile.tex > diff.tex

Enjoy!

Ref: https://www.overleaf.com/learn/latex/Articles/Using_Latexdiff_For_Marking_Changes_To_Tex_Documents

Review Dale Carnegie’s “How to Win Friends and Influence People”

Dale Carnegie’s “How to Win Friends and Influence People” is a timeless classic in the self-help genre, commonly found on lists of essential reading materials. Originally published in 1936, the edition I read was an updated version with added content.

How to Win Friends and Influence People

The author provides practical advice on enhancing social abilities and building relationships with others, with a strong emphasis on the significance of active listening, expressing genuine interest in others, and being cautious when using criticism and negativity. The principles outlined in the book are drawn from a range of sources, including the author’s personal experiences. Despite its age, the book remains relevant and applicable to modern-day situations, as human nature has evidently not changed. I highly recommend “How to Win Friends and Influence People” to anyone seeking to improve their social skills and gain a deeper understanding of human nature.

รีวิวหนังสือ ปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ

ผลงานของฮิงาชิโนะ เคโงะ มีเรื่องเด่นอย่างหนึ่งที่ทำได้สุดยอดมากๆคือ เราจะถูกดึงให้อ่านต่อแบบหยุดไม่ได้ตั้งแต่อ่านได้แค่ 10-20 หน้าแรกของนิยายความยาวระดับ 500 หน้า 

“เรื่องปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ” เป็นผลงานเล่มแรกที่เกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติของฮิงาชิโนะ เคโงะ ที่เราได้อ่าน (นี่ฉันสปอยรึเปล่านะ?) ก่อนหน้านี้จะได้อ่านแค่แนวสืบสวนฆาตกรรมซะเป็นส่วนใหญ่ 

ส่วนเนื้อนั้นเป็นเรื่องของร้านชำในแบบยุคเก่า แต่นามิยะเจ้าของร้านกลับเปิดบริการรับปรึกษาปัญหากลุ้มใจ ลูกค้าของคุณนามิยะจะส่งจดหมายมาขอให้เขาช่วยตอบปัญหาหนักใจ 

เรื่องราวปัญหาของลูกค้าแต่ละคนมีทั้งง่ายๆ ไปจนถึงหนักหนาสาหัส แต่เรื่องราวของตัวละครก็มีความสอดคล้อง เกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง มีเรื่องราวที่อบอุ่น และเศร้าปนกันไป 

เราจะได้ติดตามชีวิตของแต่ละคนที่ได้รับคำปรึกษาจากเจ้าของร้าน พวกเขาได้ทำตามคำแนะนำอย่างไรบ้างและมันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาไปในทิศทางไหนได้บ้างนั้น คนอ่านจะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน 

เป็นอีกเล่มที่อ่านสนุก และขอแนะนำให้ได้อ่านกันครับ

รีวิว What if? 2 จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…เล่ม 2

what if2 จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…เล่ม 2

หนังสือ what If? 2 ถ้าชอบเล่มหนึ่งแล้ว คิดว่าจะชอบเล่มสองด้วยแน่นอน Randall Monroe ตอบปัญหาที่กวนส้นได้สนุกและบันเทิงสุดๆ ความแตกต่างที่เรียกว่าเป็นสิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเล่มแรกมีหลายอย่าง เช่น นอกจากจะมีการตอบคำถามหลักที่ยาวและละเอียดแบบเล่มแรก ยังมีแทรกการตอบคำถามแบบสั้นๆไว้ด้วย เหมือนให้เราได้พักเบรคจากคำถามหลัก แต่คำถามก็น่าสนใจและบ้าบอเหมือนกัน

อีกอย่างใน what if? 2 เล่มนี้ ดูเหมือนว่าเขาจะใส่ใจและจริงจังกับการหาคำตอบให้กับคำถามกวนๆมากขึ้น เราจะได้เห็นการใส่อ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากหลายแหล่งมากขึ้น รวมทั้งการได้ไปคุยกับผู้เชียวชาญเฉพาะในเรื่องนั้นๆโดยตรง แทนที่จะพยายามจะตอบคำถามด้วยตัวเองคนเดียว เราจึงได้เห็นการตอบคำถามที่หลากหลายมากกว่าแค่แนวฟิสิกส์ที่เขาเชี่ยวชาญ

หนังสือ What if? 1-2 ของ Randall Monroe เป็นหนังสือที่ตอบโจทย์อ่านเอาสนุก เอาฮา หรืออ่านเอาวิธีคิดในการหาคำตอบที่มีชั้นเชิงโดยอิงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ แต่ข้อควรระวังคือเราจะเอาความจริงจังและความถูกต้องมากไปไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นคำตอบแค่ในเชิงสมมุติฐาน ไม่มีการทดลองจริง (ก็แน่สิ คำถามบ้าบอสุดๆ) แต่ก็ไม่ใช่การตอบแบบมั่วๆเพราะยังอิงกับความรู้และข้อมูลที่มีในปัจจุบันอยู่ด้วย มันจึงเป็นหนังสือที่อ่านสนุกแบบไม่ไร้สาระและก็ไม่จริงจังเกินไป รวมทั้งมีการ์ตูนประกอบยิ่งทำให้อ่านเข้าใจง่ายและสนุกเพิ่มขึ้นอีก

The Lord of the Rings ไปอยู่ไหนมาทำไมเพิ่งได้อ่าน

หนังสือชุด The Lord of the Rings ที่มี 3 เล่มจบ

เพิ่งจะอ่านหนังสือชุด The Lord of the Rings เล่มที่ 1 จบ ซึ่งปกติจะเป็นคนที่ทั้งอ่านและฟังไปพร้อมกัน เล่มนี้ audio book อ่านโดย Andy Serkis (คนที่แสดงเป็นกอลลั่มในฉบับหนัง) ซึ่งเขาก็ทำผลงานออกมาได้ดีมาก ๆ ทั้งร้องเพลง อ่านบทกวี ดัดเสียงตามตัวละคร จังหวะการอ่านดีมาก ๆ รวมแล้วประมาณ 22 ชั่วโมง ความจริงถ้าอ่านเองอาจจะใช้เวลาเร็วกว่านี้มาก แต่ได้ฟังเสียงไปด้วยมันเพลินมาก ไม่ปรับความเร็วด้วย

ส่วนเนื้อหาของหนังสือเล่มแรกของชุด 3 เล่มจบ The Fellowship of the Ring พบว่าเป็นหนังสือที่ดีงามมาก ๆ การเล่าเรื่อง ความแฟนตาซี ปรัชญา บทเพลง บทกวี ภาษาและอักขระเฉพาะ การเดินทางผจญภัย ความสัมพันธ์ของตัวละคร และโครงสร้างจักรวาลถูกวางและเขียนไว้ได้ดีมาก ๆ นี้คือหนังสือที่ควรอ่านสักครั้ง

คำถามต่อมาคือเราไปอยู่ไหนมาทำไมเพิ่งจะได้อ่านนะ (ดูแต่หนัง จำนวนรอบนั้นนับไม่ได้แล้ว)

หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาพประกอบ

หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่มีเขียนภาพประกอบโดย Jim Key

Harry Potter and the Philosopher’s Stone: Illustrated Edition

ภาพประกอบโดย Jim Kay

เป็นหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่มีเขียนภาพประกอบโดยจินตนาการตามตัวอักษรในหนังสือ หลายอันอาจจะไม่ได้เหมือนฉบับภาพยนตร์ที่เราคุ้นเคย (ซึ่งจริงๆหนังก็ตีความได้ดีมากเหมือนกัน)

ฉบับภาพประกอบของ Jim Kay ทำออกมาได้สวยมากๆ น่ามีเก็บไว้บนตู้หนังสือมาก ๆ ที่เห็นอยู่ในภาพเป็นฉบับ ebook ใน kindle ภาพมีแอนนิเมชั่นนิดๆ ขยับตัวได้ด้วย

สรุปว่าดูภาพประกอบตัวอย่างบางส่วนเอาแล้วกันสวยแค่ไหนตอนนี้ทำออกมายังไม่ครบทั้ง 7 เล่มนะ เล่ม 5 จะออกราวๆ กลางปีนี้ เล่มต่อไปคงจะทยอยตามเรื่อย ๆ ฉบับ hardcover ราคาประมาณ 25€

ข้อสังเกตเมื่อ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ทำ fasting

ถ้าได้อ่านหนังสือชุด เชอร์ล็อก โฮล์มส์ จะพบว่านักสืบอัจฉริยะคนนี้จะอดอาหารไม่ดื่มกินอะไรเลยในช่วงที่ต้องใช้ความคิดแก้ไขคดีที่ยากและซับซ้อนมาก ๆ
เหตุผลที่เขาให้ไว้คือ สมองต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงสูงขึ้นในช่วงที่ใช้ความคิดหนัก ๆ ถ้ากินอะไรลงไป เลือดจะไหลไปรวมกันที่ท้องมากขึ้น และเลือดที่ไหลไปเลี้ยงสมองจะลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพทางความคิดด้อยลง มีหลายคร้ังเลยทีเดียวที่เขาต้องอดอาหารติดต่อกันหลายวัน

image ref. https://en.wikipedia.org/wiki/Sherlock_Holmes

เรื่องอดอาหารแล้วความคิดเฉียบแหลมขึ้น ในทางการแพทย์จริงเท็จแค่ไหน?

หนังสือ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เขียนขึ้นในช่วงราว ๆ ปลายศตวรรษที่ 18 ทางการแพทย์อาจจะไม่ก้าวหน้าเท่ายุคนี้ แต่ปัจจุบันการทำ fasting มีให้เห็นกันทั่วไป (โดยเฉพาะพวกสายเทคโนโลยี เขียนโค้ด ฮิตกันมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา)

ดังนั้นคาดคะแนได้ว่าท่านเซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ คนเขียน เชอร์ล็อก โฮล์มส์ น่าจะได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อน (เป็นความรู้โดยทั่วไปในยุคนั้น) หรืออาจจะทดลองทำกับตัวเองมาก่อน (เป็นความรู้ในวงจำกัด) เลยสามารถเขียนถึงได้ละเอียด

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะดูเฉพาะที่มีการกล่าวถึงเรื่องการอดอาหารเพื่อเพิ่มพลังความคิดของ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่ถูกเขียนไว้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงปัจจุบันก็นับได้ว่า fasting นี้ทำกันมาหลักหลายร้อยปีแล้วทีเดียว

นี้เป็นข้อสังเกตเล็ก ๆ ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมคลาสสิคในช่วงที่นี้

Exit mobile version