ความฝันกับ Biomed.in.th เห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

เว็บ Biomed.in.th

Biomed.in.th ผมเริ่มทำเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว(2009) บล็อกเกี่ยวกับเว็บนี้ไว้ที่นี้ ตอนหลังทิ้งช่วงของการอัพเดตไปนาน เนื่องด้วยการเขียนบทความประเภทนี้ เราจะให้ความสำคัญ ใส่ใจในความถูกต้องเป็นพิเศษ เพราะมันเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายโดยตรง อยากให้เป็นแหล่งความรู้จริงๆ ที่กล่าวอ้างได้ มีที่มาสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ประกอบกับเวลาไม่ค่อยมี(ข้ออ้าง) แต่เมื่อไม่นานได้พูดคุยกับ @cherrykids เธอบอกว่าเนื้อหาในเว็บน่าสนใจ แต่ทำไมไม่ค่อยอัพเดตเลย สุดท้ายก็ชวนมาเป็นคนร่วมเขียน คิดอยู่ในหัว “มีคนสนใจมันด้วยแฮะ” ไฟในตัวเลยลุกโชนขึ้นอีกครั้ง เลยลงมือปรับปรุงเว็บใหม่เพียบ

  • ปรับหน้าแรกให้อ่านง่ายขึ้น เรียงแบบธรรมดา จากคำแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง ที่บอกว่ามันดูงงๆ ตอนนี้น่าจะง่ายขึ้น
  • ทำหน้า Biomed.in.th on Facebook page มีคนมา Like เยอะแล้ว
  • ทำ Biomed.in.th on NetworkedBlogs ใครที่เล่น Facebook เข้าไป Follow ได้เลยครับ
  • ทำปุ่ม Like ใน single post เมื่อกด Like จะขึ้นไปที่ facebook ของเราทันที ลองดูที่ด้านล่างของโพสนั้นๆ
  • ทำ https://twitter/biomedinth เพื่อกระจายเนื้อหา ที่จริงสมัครมาตั้งนานแล้วแต่ยังไม่ได้โปรโมท
  • ทำ feedburner และ subscript ผ่านทางอีเมล ไปดูได้ที่หน้าหลัก
  • เปิดหน้ารับสมัครนักเขียน ใครสนใจเข้ามาสมัคร และลองเขียนบทความดูนะครับ มาช่วยกันเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทยกันนะครับ ตอนนี้เรามีนักเขียนแล้ว 8 คน เมื่อมีเวลาอันเหมาะสมผมจะนัดพบปะกันของกลุ่มคนเขียนบทความนะครับ
  • พยายามชวนพี่ๆเพื่อนที่รู้จักมาช่วยกันทำ ได้รับการตอบรับอย่างดี

ความฝันที่จะสร้างแหล่งให้ความรู้ และที่พบปะ พูดคุย ที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจในวิศวกรมมชีวเวช และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดูจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ใครสนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Biomed.in.th ขอเชิญเลยนะครับ ยินต้อนรับทุกท่านครับ

WordPress กับ Sticky(การปักหมุด)

แก้ธีมของ Biomed.in.th โจทย์ที่ทำคือต้องการให้สองโพสที่น่าสนใจแสดงภาพขนาดใหญ่และอยู่หน้าแรก ในตอนแรกธีมนี้ใช้การเลือกบาง categories มาแสดงซึ่งมันทำให้มันแสดงซ้ำกับ div ตัวกลางที่เราให้แสดง All Topic อยู่ ซึ่งเราไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น

เลยเปิดดู Codex ของ WordPress ในส่วนของ Template Tags/query postsเลยไปเห็นการใช้ Sticky ในการแสดง Posts เลยหยิบมาใช้ซึ่งก็ตอบโจทย์ที่เราต้องการได้พอดีเลย ทำเสร็จแล้วเลยขอบันทึกไว้เอาไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป

โค้ดส่วนแรกซึ่งจะแสดง Sticky

[code lang="php"]
 2, // จำนวนของโพสที่ต้องการแสดง
  'caller_get_posts' => 1,
  'post__in'  => get_option('sticky_posts') ); //ให้แสดงเฉพาะโพสที่ Sticky
query_posts($args); ?>
[/code]

ผลของโค้ดนี้ได้ผลดังด้านซ้ายของเว็บไซต์

แสดงเฉพาะ Sticky

จากนั้นในส่วนที่แสดงโพสทั้งหมดไม่ต้องการให้โพสที่ถูกปักหมุดมาแสดงด้วยเดี๋ยวจะซ้ำกันทำให้คนอ่านได้ข้อมูลซ้ำเก่าและไม่น่าสนใจ

โค้ดที่ใช้แสดงโพสทั้งหมดยกเว้นโพสที่ถูก sticky

[code lang="php"]
 6,
                 'caller_get_posts' => 1,
                  'post__not_in' => $sticky,
                  'paged'=>$paged,
                 );
query_posts($args);
?> [/code]

ผลของโค้ดนี้ได้การแสดงผลตรงกลาง

แสดง All Posts ยกเว้น sticky

ขอบคุณ WordPress Codex

ทำเว็บใหม่ Biomed.in.th (ไบโอเมด อิน ไทย)

เว็บ ไบโอเมด อิน ไทย (Biomed.in.th)

Biomed.in.th อ่านว่า ไบโอเมด อิน ไทย ไหนๆก็เรียนมาเกี่ยวกับด้านนี้อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าเราน่าจะพอมีความรู้ที่แบ่งปันให้คนอื่นได้บ้าง มีความตั้งใจจะให้เป็นแหล่งความรู้และให้ข่าวสารเกี่ยวกับ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) ให้กับคนทั่วไป และความหวังสูงสุดคือเป็นที่พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจทั่วไปกับนักวิศวกรรมชีวเวช หรือระหว่างนักวิศวกรรมชีวเวชด้วยกันเอง

ตอนนี้กำลังพยายามชวนเพื่อนๆที่เรียนที่เดียวกันมาแชร์ ความรู้กันอยู่ ใครคิดว่าอยากร่วมอุดมการกับผมก็ขอเชิญนะครับ ไบโอเมด อิน ไทย จะได้พัฒนา เหมือนต่างประเทศเขา

โอ้แม่เจ้าเน็ตจุฬาฯ Speed 70 Mb

speedtest

หลังจากที่ติดตั้งอินเตอร์เน็ตของ true ที่ห้องพักความเร็ว 3 Mb แล้วเล่นไปได้ 2-3 วัน รู้สึกว่า ทำไมมันไม่ทันใจ โหลดช้า เพราะปกติใช้เน็ตที่ จุฬาฯ คลิกปั๊บมาปุ๊บดาวน์โหลดไฟล์นี้เร็วมาก แต่ใช้มาตั้งนานก็ไม่ได้ทำ speedtest ของเน็ต จุฬาฯ ดูสักที แต่ของ true ทดสอบแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5-2.7 Mb/s ก็ใกล้เคียงกับโปรโมชั่นที่โฆษณาไว้ วันนี้เลยอยากทดสอบ Speedtest ของเน็ตจุฬาฯดูหน่อยว่าความเร็วมันเท่าไหร่กันแน่ ผมใช้การทดสอบของเว็บ speedtest.net

ผลการทดสอบ
แม่เจ้า ต้องอุทานออกมาแรงแรง มันเร็วขนาดนี้เลยหรอเนี้ย

speedtest internet CHULA
download speed internet CHULA
Upload Speed internet CHULA

เอาหลักฐานมาให้ดูกันผมทำหลายครั้งค่าเฉลี่ยดาวน์โหลดอยู่ที่ 65-75 Mb/s และอับโหลดอยู่ที่ประมาณ 40-60 Mb/s ตอนนี้เลยหายสงสัยเลยว่าทำไมความเร็ว 3 Mb ที่ห้องมันกลายเป็นเต่าไปเลยเมื่อเทียบกับความเร็วที่จุฬาฯ

ตามมาอับเดตต่อ speedtest ของ true

speedtest true

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

รักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย Electromegnetic

new-treament-electromagnetic

การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก และตายอย่างรวดเร็วถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายไหลไปอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย การเกิดพยาธิสภาพต่างๆในร่างกายจึงเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง เชื้อที่พบบ่อยในการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นพบได้ทั้ง เชื้อแกรมบวก เช่น S.aureus และแกรมลบ เช่น E.coli ,Acinetobactor spp.,K.pneumoniae เมื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อต้องมีการรายงานผลเบื้องต้นให้แพทย์ทราบทันที เพื่อทำการรักษาเบื้องต้น และดูแลเป็นพิเศษ ก่อนที่การวินิจฉัยเชื้อ และการตรวจความไวต่อยาของเชื้อนั้นจะออกมา

ล่าสุด Ingber’s team ได้ทำการวิจัยการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบใหม่ ที่จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในแล็บของเขาได้ทำการผสมเชื้อรา Canida albican เชื้อหนึ่งที่ก่อโรคได้ลงไปในเลือดแล้วจากนั้นเติม plastic-coated iron-oxide beads(เม็ดเหล็กที่เคลือบด้วยพลาสติก) เคลือบอีกชั้นด้วย antibody เมื่อเติมลงไปในเลือด antibody นี้จะเข้าจับกับตัวเชื้อเสมือนว่าเอาเหล็กไปติดที่เชื้อก่อโรค

จากนั้นนำเลือดเข้าเครื่อง dialysis(เหมือนเครื่องฟอกไต)ที่มีการเพิ่ม electromagnetic คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งแรงนี้จะดูดเม็ด beads ทำให้เชื้อที่ติดอยู่ด้วยถูกดูดออกมาไหลเข้าสู่น้ำเกลือที่อยู่อีกด้าน Ingber ให้ข้อมูลว่า ในเวลา 2-3 ชั่วโมง วิธีนี้สามารถกำจัด แบคทีเรียได้ถึง 80% ตอนนี้ได้เริ่มทดสอบกับสัตว์ทดลองแล้ว และในอนาคตนอกจากจะใช้ในการกำจัดแบคทีเรียในกระแสเลือดแล้ว ยังสามารถที่จะพัฒนาไปใช้กับการกำจัด เซลล์มะเร็งในเลือดหรือการเก็บ stem cell ได้อีกด้วย

ในงานวิจัยชิ้นนี้ไม่ถือว่าใหม่มากนัก การใช้หลักการติด beads เหล็ก กับอะไรสักอย่างแล้วใช้แม่เหล็กดูดออกมานั้น มีการพัฒนามานานแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาใช้กับมนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนมากจะใช้ในห้องทดลองเท่านั้น การประยุกต์เอาวิธีนี้เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่อง dialysis ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมาก แม้ว่าจะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียออกไปได้ 100% แต่ก็ลดอัตราการตายของคนไข้ได้อย่างมาก งานวิจัยนี้นับว่าเป็นประโยชน์ กับวงการแพทย์ไม่น้อยเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก https://www.popsci.com/

มาเปลี่ยน Notebook เป็น Kindle DX ไว้อ่าน E-book ดีกว่า

notebook-kindledx1

Kindle เป็นผลิตภัณฑ์ของ Amazon ที่ออกมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มันเป็นเครื่องอ่าน e-book ที่สั่งซื่อผ่านบริการของ Amazon ที่ไทยคงต้องรออีกนานที่จะมีการวางขาย(หรืออาจจะไม่มาเลยก็ได้) เมื่อเร็วๆนี้เขาได้ออกรุ่นที่สอง คือ Kindle DX ที่ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 9.7 นิ้ว (เดิม 6 นิ้ว) ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากได้เจ้าเครื่องอ่าน e-book ตัวนี้ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นวารสารทางวิชาการ หนังสือออนไลน์ ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรี และไม่ฟรี ทั้งใหม่ ทันสมัย ล้วนอยู่ในรูป PDF ทั้งสิ้น และช่วงนี้ก็มีการรณรงค์อย่างหนักเรื่องการลดใช้กระดาษ การอ่านหนังสือในรูปของ e-book จึงเป็นทางเลือกที่ดี จากประสบการณ์จริงผมก็ใช้การอ่าน e-book จาก notebook ผมจะขอแนะนำการอ่านหนังสือ e-book โดยใช้ notebook ให้คนอื่นได้ลองทำดู ง่าย และหลายคนคงคิดว่ามีแค่นี้เองหรอ

  1. ติดตั้ง Adobe Reader ในเครื่องก่อนซึ่งคิดว่าทุกเครื่องน่าจะมีอยู่แล้ว
  2. เปิดไฟล์ e-book ที่จะอ่าน แล้วกด Ctrl + L เพื่อให้อยู่ในโหมด full screen
  3. กด Ctrl + 1 หรือ 2 หรือ 3 เพื่อปรับให้ขนาดของเอกสารใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
  4. กด Fn + F7 แล้วแต่เครื่องครับ อันนี้เพื่อปรับแสงของหน้าจอลง เวลาอ่านจะได้สบายตา
  5. เริ่มอ่านได้เลยครับ ควบคุมเอกสาร โดยเลื่อนขึ้น-ลงใช้ลูกศรขึ้นลง เปลี่ยนหน้าใช้ลูกศร ซ้าย-ขวา

ง่ายไหมละครับพี่น้อง คราวนี้ก็ได้ Kindle DX มาอยู่ในมือแล้วแถมจอใหญ่กว่าอีก ตั้ง 13 นิ้ว

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

BME BarCamp สรุปงานสัมมนา

การจัดสัมมนาครั้งแรกที่ BME

จากที่ได้รับมอบหมายงานอย่างเร่งด่วนให้ จัดงานนำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตร แค่วันเดียวก่อนถึงวันงาน ทำเอาหัวหมุนเลยทีเดียวผมก็เลย ไอเดียจากงาน ThinkCamp มาใช้ และได้เพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ในหลักสูตรเลยทำให้งานเราออกมาดีกว่าที่คิด แม้จะเตรียมงานแค่วันเดียวก็มีคนส่งหัวข้อมานำเสนอถึง 14 หัวข้อ
ดูรายละเอียดงานเพิ่มเติม

โดยมีหัวข้อหลัก อยู่ 7 หัวข้อ คือ

1. Intro BME แนะนำงานในวันนี้มีอะไรบ้าง โดยผมเอง @sarapuk
2. Cell & Tissue Engineering and Drug Delivery System โดย คุณฐากูร
3. Medical Imaging โดย คุณทิพวิมล  slideshare
4.  Medical Instrumentation โดยคุณขนิษฐา
5. Biosensor โดย คุณยศมงคล
6. Biomechanics โดย คุณยศมงคล โดนพ่วงสองหัวข้อเพราะพี่หมอไม่มา
7. Rehabilitation โดยคุณเอ็กกะเอ็ม

ดูสไลด์ของหัวข้อหลักได้ที่นี้ slideshare

ส่วนหัวข้ออื่นจากหัวข้อหลักมีดังนี้
1.  Health Future Vision 2019 by Microsoft office labs โดยผมเอง
2. Scaffold  โดยคุณน๊อต
3. DDS (Drug Delivery System) โดยคุณคิว
4. FES  in Rehabilitation Engineering โดยคุณกัส
5. Cause work in BME โดยคุณทิพ
6. Manage Problem โดยคุณกานต์
7. Research Topic for survivor โดยคุณโย
8. BME member โดยคุณแชมป์

ดูสไลด์ของหัวข้อรองได้ที่ slideshare

คุณขณิษฐากำลัง เสนอเรื่อง Medical Instrucmentation

คุณยศมงคลกำลังนำเสนอ หัวข้อ Biosensors

ถ่ายรูปร่วมกัน หนีกลับไปหลายคนแล้วลืม บอกว่าจะถ่ายรูปก่อน

อ้างอิง ThinkCamp , BME-CHULA

BME BarCamp สัมมนาไร้รูปแบบ

BME-Barcamp

ในวันพรุ่งนี้ 18 มีนาคม 2552 เวลา 8.30 – 12.00 น. มีกิจกรรมการเลือกสาขาของนิสิตใหม่
นิสิตที่สัมครใหม่ทั้งหมด 22 คน (ป.เอก 11 ป.โท 11)

รูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการสัมมนาแบบ Unconferenced Pecha Kucha (ペチャクチャ) รวมกับ BarCamp คือ การสัมมนาแบบมีการจำกัดไสด์และเวลา เราประยุกต์นิดหน่อย คือให้พูด 5 นาที 5 สไลด์ โดยหัว ข้อที่เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์กับการเลือกสาขา หรืออะไรก็ได้ที่คุณ อยากนำเสนอให้น้องๆ และเพื่อน พี่ๆ ก็เอามาแชร์กัน ไม่จำกัดหัวข้อ

ได้ แนวคิดมาจาก ThinkCamp

กิจกรรม มีดังนี้
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน และส่งหัวข้อพร้อมสไลด์
9.00 – 11.00 น. เริ่มการพรีเซนต์ โดยให้เวลาพูด 5 นาที 5 สไลด์ และตอบปัญหาอีก 5 นาที

keynote ในงานนี้มีอยู่ 6 คนดังนี้
1. Tissue Engineering โดย นายฐากูร ฐิติเศรษฐ์
2. Biosensor โดย นายยศมงคล สวัสดิ์ศถุงฆาร
3. Medical Image โดย นางสาวทิพวิมล มีไชย
4. Rehabilitaion โดย นายทศพล ทองเติม
5. Medical Instrument โดย นางสาวขนิษฐา วาเสนัง
6. Biomechanics โดย กลุ่มหมอ

และหัวข้ออื่นที่คุณส่งมา

11.00 – 12.00 น. ตั้งเป็นจุดแบ่งตามสาขา และเวียนกันเข้าฐาน ให้รุ่นพี่ตอบปัญหาข้อสงสัย
และพบปะพูดคุยทั่วไป

12.00-13.00 น. พักเที่ยง

13.00 -14.00 น. ถ้ามีหัวข้อเพิ่มเติมก็จะนำเสนอต่อ

Faq

ทำไมทำแบบนี้
ตอบ : เพิ่มความแปลกใหม่และการมีส่วนร่วมของทุกๆคน

ใครเสนอหัวข้อได้
ตอบ : ได้ทุกคน แต่ตามเงื่อนไข คือ 5 นาที 5 สไลด์

หัวข้อคืออะไร
ตอบ : เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์เกี่ยวกับการเลือกสาขา

ส่งหัวข้อนอกเหนือจากนี้ได้ไหม
ตอบ ได้นะ แต่อาจจะถูกจัดให้ไปตอนบ่าย หรือตอนท้าย

แล้วใครจะสนใจส่ง
ตอบ อยากให้ทุกๆคนช่วยๆกันนะครับ นำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตรให้น้องใหม่ ได้รู้จักและเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกสาขาของเขา
และอีกอย่างคนที่ส่งหัวข้ออื่นๆ คือว่าอยากให้นำเอาความรู้ต่างๆที่เรามีมาแชร์ให้คนอื่นรู้ เช่น พี่แชมป์ มึแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรแบบนี้อยากให้น้องๆรู้ก็เอามานำเสนอ หรือพี่ชัย เอาเรื่องการเรียน biosensor มาเล่าให้ฟังเป็นยังไง, กานต์ มีเรื่องเกี่ยวกับเทคโนดลยีแบบใหม่มานำเสนอ , กลุ่มที่เรียน cognitive มีผลงานที่ทำเสร็จแล้วมานำเสนอก็ได้ , หรือย่างผม รู้ว่าอาจารย์แต่ละท่านอยู่ไหน ตึกไหน ก็ปักหมุดในกูเกิลมาให้ดูเลย, หรือหัวข้อของกลุ่มที่จบไปแล้วมีอะไรบ้าง กลุ่มที่จะสอบหรือสอบหัวข้อไปแล้วมีอะไร อะไรประมาณนี้คือ เรามีอะไรก็มาแชร์กัน คืออยากให้ได้ทั้งน้องใหม่และพี่ที่เรียนอยู่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อ้างอิง : ThinkCamp , BarCampBangkok

Exit mobile version