สร้างกราฟอัตโนมัติใน Excel ด้วย VBA

ได้ช่วยเพื่อนเขียนโค้ด VBA ใน MS Excel เพื่อสร้างกราฟอัตโนมัติ ขอบันทึกเตือนความจำแบบสั้นๆเก็บไว้

ข้อมูลที่ต้องการสร้างกราฟนั้นเป็นชุดข้อมูลที่เหมือนกัน สามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานอื่นๆได้ แกน X เป็นปีที่เก็บข้อมูล เช่น ปี 1990-2017 ส่วนแกน Y เป็นชุดข้อมูลที่แตกต่างกันตามสนใจ อาจจะมีเป็นร้อยชุดข้อมูลเลยก็ได้ ถ้าจะมานั่งทำทีละกราฟ ทีละชุดข้อมูล และกราฟแต่ละอันยังมีรูปแบบเหมือนกัน จะค่อนข้างเสียเวลามาก โค้ด VBA จึงพอจะช่วยลดเวลาในการทำงานลงได้บ้าง

ตัวอย่างกราฟและชุดข้อมูลตัวอย่าง

จะอธิบายตามโค้ดที่เขียนเลย

-เปิด VB editor ของ Excel ขึ้นมา แล้ว insert module ใน sheet ที่มีชุดข้อมูลที่ต้องการสร้างกราฟแล้ว จะจัดให้ข้อมูลวางแนว Row หรือ Column ก็ได้ แล้วค่อยไปกำหนดเองในโค้ด VBA

Option Explicit

Sub WRYChart()

'ประกาศชนิดของตัวแปร
Dim parameterNum As Integer
Dim co As ChartObject
Dim ct As Chart
Dim sc1 As SeriesCollection
Dim ser1 As Series
Dim LC As Long

'ให้สามารถสร้างกราฟตามชุดข้อมูลที่สนใจได้ จึงกำหนดหมายเลขกำกับแล้วอิงจากตัวเลขนั้นเพื่อสร้างกราฟ
parameterNum = InputBox("What parameter would you like to chart?")

'กำหนดหมายเลขของชุดข้อมูลไว้ เท่าไหร่ก็ได้ต้องครอบคลุมจำนวนชุดข้อมูลที่มี เช่น อันนี้มี 100 กราฟที่ต้องสร้าง
If parameterNum > 0 And parameterNum < 100 Then

'ตำแหน่ง(A10) cells ใน excel ที่อยากจะสร้างและวางกราฟลงไป ชื่อและขนาดของกราฟ ในที่นี้มีหลายกราฟ จึงเลือก column ท้ายสุดของข้อมูล และ(offset)เลื่อนลง ตามลำดับชุดข้อมูล 
Set co = Sheet3.ChartObjects.Add(Range("A10").Offset(parameterNum, 1).Left, Range("A10").Offset(parameterNum, 1).Top, 450, 200) 'Chart location
co.Name = "parameter number" & parameterNum & "Chart"

'ใส่รายละเอียดของกราฟที่อยากได้ ชื่อกราฟ รายละเอียดของแกน x,y
Set ct = co.Chart
With ct
.HasLegend = True
.HasTitle = True
.Axes(xlCategory, xlPrimary).HasTitle = True
.Axes(xlCategory, xlPrimary).AxisTitle.Characters.Text = "Jahr" 'กำหนดป้ายของแกน x โดยเขียนเองเป็นข้อความ
.Axes(xlValue, xlPrimary).HasTitle = True
.Axes(xlValue, xlPrimary).AxisTitle.Characters.Text = Range("F3").Offset(parameterNum, 0).Value 'กำหนดป้ายของแกน y กำหนดให้เปลี่ยนตามข้อมูลใน cells ที่กำหนดไว้
.Axes(xlCategory).CategoryType = xlTimeScale 'ชนิดของข้อมูล
.Axes(xlCategory).BaseUnitIsAuto = True
.Axes(xlCategory).MajorUnit = 2 'กำหนดการแบ่งหน่วย
.Axes(xlCategory).TickLabels.Orientation = xlTickLabelOrientationUpward 'กำหนดการวางตัวป้าย

.ChartTitle.Text = Range("G3").Offset(parameterNum, 0).Value 'กำหนดชื่อ ให้เปลี่ยนตามข้อมูลใน cells (เริ่มที่ G3 เลื่อนตามหมายเลขเลือก) ที่กำหนดไว้
Set sc1 = .SeriesCollection 
Set ser1 = sc1.NewSeries

'รายละเอียดข้อมูลของกราฟที่จะสร้าง
With ser1
.Name = Range("G3").Offset(parameterNum, 0).Value 'ชื่อของข้อมูล
.XValues = Range(Range("G3").Offset(0, 1), Range("G3").End(xlToRight)) 'ชุดข้อมูลของแกน x (เลือกที่ตำแหน่ง G3 จนถึงตำแหน่งขาวสุด)
.Values = Range(Range("H3").Offset(parameterNum, 0), Range("L3").Offset(parameterNum, 0)) 'ชุดข้อมูลของแกน x (เลือกที่ตำแหน่ง H3 จนถึง L3)
.ChartType = xlXYScatterSmoothNoMarkers 'ชนิดของกราฟ
.Trendlines.Add(Type:=xlLinear, DisplayRSquared:=True).Select 'เพิ่มเติม การใส่ Trendline และค่า R Square ของเส้น

End With

End With

MsgBox ("That's Perfect!") 'แจ้งเตือนเมื่อกราฟสร้างเสร็จ

Else: MsgBox ("You must enter a parameter number between 1 and 100") 'แจ้งเตือนเมื่อใส่ตัวเลขผิดพลาด
End If

End Sub

ปล. กำหนดชุดข้อมูลของ x, y สามารถกำหนดในรูปแบบนี้ได้เช่นกัน

.Values = Range(Range("G3").Offset(parameterNum, 1), Range("G3").Offset(parameterNum, 1).End(xlToRight))

ข้อดีคือ สามารถเพิ่มชุดข้อมูลต่อไปได้เรื่อยๆ เพราะ End(xlToRight) จะวิ่งคลุมถึงตัวสุดท้ายของข้อมูล
ข้อเสียคือ ถ้าชุดข้อมูลไม่ต่อเนื่องมีขาดหรือหายไปในบาง cells มันจะไม่สามารถดึงข้อมูลทั้งหมดมาได้ ถ้าหากเป็นแบบนี้ต้องใช้การกำหนดระยะของขุดจ้อมูลเองดังตัวอย่างด้านบน

.Values = Range(Range("H3").Offset(parameterNum, 0), Range("AL3").Offset(parameterNum, 0))

ภาพประกอบอื่นๆ

การเรียกใช้ VB และ Macro ใน Excel
ตัวอย่างการใช้งาน
ตัวอย่างการใช้งาน

Wallpapers โดย Google เปลี่ยนพื้นหลังใหม่ให้มือถือในทุกๆวัน

เมื่อสัปดาห์ก่อน Google เปิดให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Wallpapers สำหรับ Android ซึ่งเป็นแอพที่จะเปลี่ยนพื้นหลังของมือถือให้เราอัตโนมัติในทุกๆวัน

Daily wallpapers by Google

ผมได้ลองติดตั้งและลองใช้งานดูเกือบจะครบสัปดาห์แล้ว ชอบมากเลยมาเขียนเก็บไว้ ในตอนเช้าที่ตื่นมา มีแอบลุ้นนิดๆว่าภาพพื้นหลังวันนี้จะเป็นยังไง ในแอพ Wallpapers นั้นมีหมวดหมู่ต่างๆให้เลือกหลายอัน เช่น Earth, Landscapes, Cityscapes, Life, etc. แล้วแต่ชอบใจ

Daily wallpapers by Google

หมวดหมู่ที่ผมชอบเป็นพิเศษคือ Landscapes เพราะภาพแต่อันที่ถูกคัดมานั้น สวยงามมากๆ

มีอยู่หลายครั้งเปิดไปดูภาพในแอพ แล้วอยากรู้ว่ารายละเอียดของภาพนั้น ว่าเป็นผลงานของใคร เมื่อคลิก Explore เข้าไป เราจะเห็นรายละเอียดของคนถ่ายภาพนั้น รวมทั้งผลงานอื่นๆของเขาอีกด้วย เรียกได้ว่าเพลินดีเลยทีเดียว

Daily wallpapers by Google

อยากลองเล่นบ้างเข้าไปโหลดได้ที่ Google Play

Running Calculator แอพพลิเคชั่นคำนวณ ระยะทาง เวลา ความเร็ว สำหรับนักวิ่ง

Running Calculator

เขียนแอพพลิเคชั่นแปลงค่าเกี่ยวกับการวิ่งครับ คำนวณจาก ระยะทาง เวลา ความเร็ว คำนวณไปมาได้ ใส่สองข้อมูลลงไปแล้วคำนวณหาอีกค่า เช่น

-รู้ว่าจะวิ่งระยะมาราธอน 42.195 กิโลเมตร ภายในเวลา 6:03 ชั่วโมง ต้องวิ่งที่ความเร็วเท่าไหร่
-รู้ความเร็วตัวเอง 5:09 min/km วิ่งนาน 1:53 ชั่วโมง จะได้ระยะเท่าไหร่
เป็นต้น

ที่มาของการเขียนแอพนี้คือ เราจะเจอสถิติของเพื่อนๆนักวิ่งท่านอื่นบ่อยๆ เราก็อยากรู้ว่าตัวเราเทียบกับเพื่อนๆคนอื่นเป็นอย่างไรบ้าง บางคนจะบอกสถิติแค่บางตัว เราก็จะคำนวณกลับไปมาเพื่อให้เป็นข้อมูลที่ตัวเราเข้าใจ แล้วค่อยเทียบกับสถิติของเรา รวมทั้งเอาไว้วางแผนการฝึกซ้อมได้ด้วย เช่น วันนี้มีเวลาประมาณเท่านี้เอง จะวิ่งได้กี่กิโลเมตร อันนี้ใช้บ่อยเลย ตามประสาคนควบคุมเวลาว่างออกไปซ้อมวิ่งไม่ค่อยได้นัก ทำให้อยากได้แอพพลิเคชั่นแบบนี้มาก

แอพพลิเคชั่นลักษณะนี้ค้นดูใน Play Store ก็พอมีบ้างแต่ไม่ใช่ที่อยากได้ บางอันก็สับสน ใช้ยาก ที่อยากได้คือเอาง่ายที่สุด และคำนวณไปมาได้ตลอด เขียนเองเลยน่าจะง่ายที่สุด

ส่วนตัวการ์ตูนข้างล่างแค่ใส่มาเล่นๆ ช่วยบอกว่าถ้าน้ำหนักเยอะ ความเร็วที่คำนวณได้เร็วมากน้อยแค่ไหน วิ่งเร็วไปอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ต้นแบบการ์ตูนคือ พี่ Zritarah Winston เป็นความเร็วของพี่เขาเลยล่ะ

ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น RunningCalc ได้ที่

แอพพลิเคชั่นช่วยคำนวณจำนวนเซลล์ใน Cell Counting Chamber

Cell Counting Calculator

Cell Counting Calculator เป็นแอพพลิเคชั่นเล็กๆที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ช่วยคำนวณจำนวนเซลล์ใน Counting Chamber ซึ่งโดยปรกตินักวิจัย นักเรียน คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ส่วนใหญ่จะต้องมีการนับจำนวนเซลล์กันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงเซลล์มะเร็งเพื่อใช้ในงานวิจัยเวลาจะนำไปทดสอบอะไรบ้างอย่าง ทดสอบยา ติดตามการแบ่งตัว จำเป็นจะต้องรู้ว่าเซลล์ที่ใช้นั้นมีจำนวนอยู่เท่าไหร่ มากน้อยเหมาะสมหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง จึงต้องมาการนับเซลล์อยู่ตลอดแทบจะทุกกระบวนการทำงานวิจัย

คำถามต่อไปคือนับอย่างไร? ถ้าแลปไหนรวยก็มีเครื่องนับอัตโนมัติช่วยนับให้ เครื่องแพงมากและค่าใช้จ่ายต่อการนับหนึ่งครั้งก็สูงมากระดับหลักร้อยถึงหลายร้อยบาท ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงยังมีการนับเองด้วยคน ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์(เซลล์ขนาดเล็กต้องมองผ่านกล้องอีกที) โดยมีอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า Hemocytometer (ใช้นับเม็ดเลือด)หรือบางที่ก็เรียกกันว่า Counting chamber หน้าตาก็เหมือนในรูปด้านล่าง ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกเข้าไปอ่านตามลิงค์ได้เลยครับ

Hemocytometer ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Hemocytometer

ใน Hemocytometer เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่ามีกริดอยู่ด้านในแบ่งเป็นช่อง กำหนดเป็นพื้นที่ไว้ ส่วนขอบมันจะยกสูงขึ้นมาให้วางแผ่นแก้ว(cover slip) เพื่อกำหนดส่วนสูงให้ได้ 0.1 มิลลิเมตร เมื่อเรานำเซลล์ที่ละลายอยู่ในสารละลายเข้าไปในช่องว่างระหว่างแผ่นแก้วกับ chamber แล้ว เอาพื้นที่ตามตารางกริดคูณกับส่วนสูงก็จะทราบปริมาตรที่แน่นอน เมื่อนับจำนวนเซลล์จึงรู้ได้ว่าในสารละลายมีเซลล์มากน้อยเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร

กริดภายใน Counting chamber ภาพจาก https://www.nexcelom.com/Products/Disposable-Hemacytometer.html

อธิบายไปยึดยาวแล้ว เข้าสู่ปัญหาและเหตุผลที่ทำไมต้องทำแอพพลิเคชั่น Cells Calculator ขึ้นมา ปัญหาเริ่มจากว่าเมื่อเรานับตามพื้นที่ช่องที่แตกต่างกันปริมาตรที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปด้วย เราต้องคำนวณปริมาตร รวมถึงคำนวณความเข้มข้นของเซลล์ที่เราอยากรู้พร้อมกันด้วย ในบางครั้งถ้าเซลล์มีความเข้มข้นสูง(หนาแน่นสูง) เราก็จะเลือกนับในช่องเล็กลง เพื่อประหยัดเวลา ลดความเมื่อยล้าของสายตา แต่ถ้าเซลล์มีความหนาแน่นต่ำก็จะเลือกนับในช่องใหญ่ขึ้นได้ เพื่อเพิ่มความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลที่ได้ (นับเยอะย่อมถูกต้องมากกว่า) การที่ต้องคำนวณพื้นที่ใหม่ในทุกๆครั้งที่นับ มันไม่โอเคแน่นอน บางคนก็จะทำเป็น Factor ไว้คูณกลับได้ง่ายๆ ใช้ได้ในกรณีที่นับกับเซลล์ที่มีความหนาแน่ใกล้เคียงกันทุกครั้งที่นับ แล้วเลือกนับในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ก็ไม่โอเคแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่เปลี่ยนตำแหน่งพื้นที่นับบ่อยๆเกิดขึ้นกับเรา

จึงอยากได้ตัวช่วยที่สามารถให้เลือกได้ว่าจะนับตรงไหน ใส่ตัวเลขที่นับได้ เอาตัวคูณ Dilution Factor ใส่เข้าไป กดปุ่มแล้วคำนวณให้เลย อยากได้มาก น่าจะช่วยให้เราทำงานได้สะดวกขึ้นมากๆ บางครั้งการกดตัวเลขในเครื่องคิดเลขก็เกิดความผิดพลาดบ่อยๆ อยากจะลดปัญหาตรงนี้ด้วย

จึงเริ่มค้นหาแอพใน Google Play เพราะคิดว่าถ้ามีติดในมือถือน่าจะสะดวกในการใช้งาน สรุปคือไม่มี มีใกล้เคียงบ้าง แต่ไม่ใช่ในแบบที่ต้องการ สุดท้าย เมื่อไม่มีก็เขียนเองเลยสิ อยากได้แบบไหนก็เขียนเองเลย

สำหรับเราที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ พอรู้ภาษาคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง จะให้ฮาร์ดโค้ดเลยคงอีกนานกว่าจะได้ใช้ อีกอย่างแอพฯไม่น่าซับซ้อนมากนัก จึงเลือกใช้ App Inventor เป็นตัวช่วยในการเขียน ซึ่งก็เพียงพอกับสิ่งที่ต้องการและสิ่งที่ได้มา

จึงออกมาเป็น Chamber calculator ตัวแรก ที่ช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นมาก

Chamber calculator

ใช้ไปสักพักหนึ่ง มีคนเห็นเราใช้บอกว่าสะดวกดีขอมั้งได้ไหม ตอนนั้นมันยังเป็นแอพที่ไม่ได้จัดเรียงดีอย่างที่เห็นในรูปนะ มั่วกว่านี้เยอะ แต่ใช้งานได้ แต่พอจะเอาไปให้คนอื่นใช้เลยต้องนั่งปรับแต่งเพิ่มเติมอีกหน่อย จะได้ใช้ได้ง่ายขึ้น คราวนี้เราคิดว่าถ้าเอาไปแจกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ดูเลยจะเป็นไง พอมีคนได้ลองใช้ก็จะได้ feedback กับมา เราก็จะได้เอามาปรับเพิ่มเข้าไปได้อีก พอมีคนเห็นพอคนได้ลองใช้ก็จะมี request เพิ่มมาว่าอยากได้ตัวนับเซลล์เป็น-เซลล์ตายที่ใช้กันบ่อยๆในงานวิจัยด้วยได้ไหม ก็เห็นว่าน่าจะทำให้แอพมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น ก็เลยพัฒนาตัวนี้เพิ่มเข้ามาด้วยให้อยู่ในแอพเดียวกันไปเลย อยากใช้ตัวไหนค่อยสลับหน้าจอใช้งานเอา เลยได้อีกโหมดเป็นอีกโหมดคือ Viability calculator

viability calculator

ในโหมดนี้ก็มีปุ่มให้กดคลิกนับไปในตัวได้เลย ตามคำเรียกร้องของคนใช้ พร้อมเสียง และการสั่นเมื่อกดนับ ซึ่งทำให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นได้ลองปล่อยออกไปทาง Facebook ให้คนที่สนใจลองโหลดไปใช้ดูบ้าง เพราะอยากได้ feedback เอามาทำต่อให้สมบูรณ์มากขึ้นอีก ก็ได้เพื่อนๆหลายคนช่วยลองใช้ให้และได้คอมเม้นต์ที่ดีกลับมาค่อนข้างเยอะเลย และสุดท้ายเลยคิดว่าไหนๆก็ทำมาแล้วเอาขึ้น Google Play Store ไปเลยแล้วกัน เผื่อมีประโยชน์กับคนอื่นด้วย

เข้าไปโหลดแอพพลิเคชั่น Cells Calculator ได้ฟรีที่

QR Code

หลังจากปล่อยไป ก็ได้โพสให้เพื่อนๆใน Facebook ได้รู้เผื่อว่าจะมีคนสนใจ ผ่านไป 3 วัน พบว่ามีคนโหลดไปแล้วประมาณร้อยกว่าครั้ง ซึ่งก็ถือว่าเหนือความคาดหมายมาก เพราะเป็นแอพเล็กๆ ง่ายๆ และก็ค่อนข้างเฉพาะทางมากๆ มีแค่ไม่กี่คนที่จะได้ทำงานเกี่ยวกับเซลล์และไม่กี่คนจะมีโอกาสได้ใช้งานในลักษณะนี้ ถือว่าทะลุเป้าที่ตั้งไว้มากๆครับ

ส่วนวิธีใช้แบบง่ายๆก็ได้ลองอัดคลิปมาให้ได้ดูกันด้วย

วิธีการใช้แอพพลิเคชั่น Cells calculator 

รายการที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

  • เพิ่มปุ่มนับให้โหมด Chamber Calculator
  • ปรับให้เลือกช่องกริดได้หลากหลายมากขึ้น
  • เพิ่มสีสัน และภาพให้ดูน่าใช้มายิ่งขึ้น

Control Center ใน iOS7 มีให้โหลดแล้วใน Android ???

Control Center

Control Center แอพพลิเคชั่นรวมคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่น การเปลี่ยนโหมดการทำงาน เปิด-ปิด Wifi ไฟฉาย เพิ่ม-ลดเสียง แสงสว่างหน้าจอ เป็นต้น วิธีการใช้งานเพียงสไลด์ที่หน้าจอจากด้านล่างขึ้นบน ศูนย์ควบคุมก็จะถูกเปิดขึ้นมา เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ใหม่ของ iOS 7 แต่ความจริงแล้วใน Android มีมานานแล้วและวิธีเปิดทำได้โดยการสไลด์หน้าจอจากด้านบนลงล่าง รวมอยู่กับ Notification แล้วยังไงต่อ ฟีเจอร์ของ iOS 7 มันมาอยู่ใน Android ได้ยังไง ทั้งๆที่ iOS 7 ยังอยู่ใน beta 4 อยู่เลย และยังไม่ได้ปล่อยอัพเดตให้ลูกค้าทั่วไปได้ใช้กันเลย แล้ว Android เอามาใช้ก่อนซะอย่างงั้น

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือแม้ว่าใน Android จะมีฟีเจอร์นี้มานานแล้ว แต่ใน iOS 7 กลับทำออกมาดูดีกว่าซะงั้น ซึ่งถ้าดูจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านๆมา Apple ก็ทำแบบนี้อยู่เสมอเอาของคนอื่นมาทำต่อ(ลอก,แรงบันดาลใจ)แล้วก็มักจะทำออกมาได้ดีเสียด้วย Control Center น่าจะเป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน

เอาเป็นว่ามาพูดถึงแอพพลิเคชั่น Control Center สำหรับ Android ที่ไป Copy&Past หน้าตาของ iOS 7 มาซะทุกอย่าง จน Apple ต้องรองขอให้ Google ถอดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวออกจาก Play Store ซึ่ง Google ก็ทำตามคำร้องขอโดยถอดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวออก แต่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นก็ไม่หมดความพยายามเปลี่ยนชื่อแล้วส่งขึ้น Play Store ใหม่ ตอนนี้ก็ยังสามารถโหลดได้อยู่นะ ว่าแล้วไปโหลดมาลองเล่นดูได้นะครับ

ดาวน์โหลด Control Center สำหรับ Android ได้ที่ https://play.google.com ต้องรีบนะเดี๋ยวอาจจะถูกถอดออกอีกครั้งก็เป็นได้

THShowtime แอพเช็ครอบหนัง ทุกเครือ ทุกโรง

THShowtime เป็นแอพเช็ครอบฉายหนังของโรงหนังทุกเครือ ทุกโรง ที่สำคัญมีของลิโด้กับสกาล่าด้วย โรงหนังในเครือของ SF และ Major ต่างก็มีแอพของตัวเอง แต่บางครั้งอยากจะเช็คจากทั้งสองเครือก็ต้องเปิดสองแอพไม่ค่อยสะดวกนัก อีกอย่างแอพของโรงหนังไม่รู้ใส่อะไรเข้ามาบ้าง เยอะไปหมด จะเช็ครอบหนังแต่ละทีทำได้ยากมาก ใช้แล้วงงสุดๆ แถมโหลดช้าอีกเพราะเนื้อหาเยอะ แต่แอพ THShowtime นั้นมีรายละเอียดของแต่ละโรงค่อนข้างครบถ้วน มีให้เลือกทุกโรง(ในกรุงเทพฯนะ ต่างจังหวัดไม่แน่ใจ) เราสามารถ Bookmark โรงหนังที่เราไปดูเป็นประจำไว้ได้ ง่ายและเร็ว เพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก สำหรับใครที่ชอบดูหนังแอพนี้น่าจะมีประโยชน์แน่นอน

เป็นแอพหนึ่งที่ใช้เป็นประจำ ช่วยให้การวางแผนก่อนไปดูหนังสะดวกขึ้นมาก โดยเฉพาะโรงหนังลิโด้และสกาล่าที่ช่วงหลังๆจะชอบไปดูที่นี้ แอพนี้ช่วยได้มากเลย เพราะจะเช็ครอบทีต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ Apex ไม่มีแอพของตัวเอง

สรุปว่าเป็นแอพที่ตัวเองใช้เป็นประจำเลยเอามาแนะนำครับ

ดาวน์โหลด THShowtime (Android)

THShowtime
THShowtime ทำ Bookmark โรงที่ไปดูเป็นประจำไว้
THShowtime ตัวอย่างการดูรอบหนังในเครือ APEX

วิธีติดตั้ง Folcon Pro

Folcon Pro เป็น Twitter Client อีกตัวหนึ่งสำหรับ Android ที่นักพัฒนาทำออกมาได้ดีและได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กลับเกิดปัญหาคนใช้เยอะเกินไป(ทั้งที่ยอมจ่ายเงินและโหลดเถื่อน) ทำให้ token ที่ Twitter ตั้งไว้ให้นักพัฒนา 100,000 token ต่อหนึ่ง application เลยเต็ม ทำให้เกิดปัญหาเข้าใช้งานไม่ได้ ทางผู้พัฒนาก็มีการแก้ปัญหาหลายครั้ง ทั้งการให้ลงทะเบียนใหม่ แต่จนแล้วจนรอดก็เต็มทุกครั้ง อีกส่วนหนึ่งต้องเรียกว่าเป็นการกันท่าของ Twitter เองที่ไม่อยากให้มีการพัฒนา Client มาแข่งกับของตัวเอง ล่าสุดผู้พัฒนา Folcon Pro เลยปล่อยให้โหลดฟรีเสียเลย แล้วให้คนใช้ทั่วไปเข้าไปขอ API key เอง หรือ อธิบายง่ายๆคือใครอยากใช้ก็เข้าไปลงทะเบียน application อะไรก็ได้สักตัว แล้วเอา API key ที่เชื่อมต่อกับ Twitter มาใส่ให้ Folcon Pro ปัญหาเรื่อง API token จำกัดจึงหมดไป เรียกได้ว่าของใครของมัน ไม่ใช่มาจากผู้พัฒนาคนเดียวอีกแล้ว เป็นการดัดหลัง Twitter อีกทางหนึ่งเหมือนกัน อาจต้องรอดูว่า Twitter จะแก้ไขปัญหานี้ต่อยังไง หรือจะปล่อยเลยตามเลย

มาถึงวิธีติดตั้งกันครับ เรียกได้ว่าทำได้เท่ และ Geek ดีทีเดียว มีสูตรลับด้วยนะ ขั้นแรกเราต้องเตรียม API Key ก่อน แล้วค่อยเอาไปลงใน Folcon Pro

ขั้นตอนลงทะเบียนรับ API Key

  1. เข้าไปที่ https://dev.twitter.com เพื่อจะขอ API key ล็อกอิน user twitter เข้าไป
  2. กดตรงรูปของเราที่มุมขวา เข้าไปที่ “My applications”

    My application

  3. คลิกเลือก “Create a new application”
  4. ใส่รายละเอียดเข้าไปให้ครบ ที่น่าสนุกคือช่องใส่ชื่อ(Name) ตอนเราทวีตมันแสดง via: ชื่อนี้ครับ เช่น เราทวีตจะมีบอกว่า via: twitter for Mac, twitter for Android, Echofon แล้วแต่เราเลยครับ อยากได้ชื่ออะไรก็ใส่เข้าไปได้เลย ส่วนเว็บไชต์ที่บังคับให้ใส่ ใส่อะไรไปก็ได้ ต้องมี https:// นำหน้าด้วยนะ
  5. คลิกเลือก Yes,I agree ในส่วนของ “Developer Rules Of The Road” ใครอยากอ่านรายละเอียดข้อกำหนดก่อนก็ได้นะครับ
  6. เราสร้าง Application ตัวหนึ่งขึ้นมาแล้ว เข้าไปที่แท็บเมนู “Settings” ด้านบน เปลี่ยน Application Type ให้เป็น “Read, Write and Access direct messages” จากนั้นเลือนลงไปคลิก Update

    Application type

  7. กลับไปที่เท็บเมนู “Details” บันทึก “Consumer key” กับ “Consumer secret” ไว้ ผมเอาลงไว้ที่ Google Keep ตอน copy ไปลงแอฟจะได้ทำได้ง่ายขึ้น

    Consumer key

เราได้ API key มาแล้ว ต่อไปก็วิธีติดตั้ง Folcon Pro ลงมือถือหรือแท็บแล็ต

ขั้นตอนการติดตั้ง Folcon Pro

  1. เข้าไปดาวน์โหลด Falcon Pro ได้ที่ getfalcon.pro ติดตั้งลงเครื่องให้เรียบร้อย (ต้องปรับ setting ของเครื่องให้อนุญาติติดตั้ง apk นอก store ได้ด้วยนะ)
  2. เปิดเข้าไปที่หน้า login
  3. กดที่มุมทั้ง 4 ของหน้าจอให้มี 4 สีโผล่ขึ้นมา (ตามรูป)

    Folcon Pro code

  4. กดตรงมุมสีส้มอีกครั้งให้มันหายไป (ดูตามรูป)

    Folcon Pro code 2

  5. จับเครื่องเขย่าครับ เขย่าครับๆ ไม่ได้เขียนผิด สักพักจะมีข้อความขึ้นมาว่า “Custom login unlocked!” และมีปุ่ม Custom login โผล่ขึ้นมา

    Folcon Pro code 2

  6. กดเข้าไป “Custom login” แล้วใส่ API Key ที่ได้จากขั้นตอนลงทะเบียนเพื่อรับ API Key ลงไป เพื่อความสะดวกผม Sync Google Keep เข้ามือถือให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเข้าไป copy มาวาง ถ้ากดเองโอกาสผิดสูง

    AKI Key

  7. กด save แล้วก็เรียบร้อยแล้วครับ 

หน้าตาของ Folcon Pro ตามรูปครับ ในแต่ละทวีตถ้ามีรูปหรือวิดีโอที่แนบมาด้วยจะแสดงผลให้ดูด้วยเลย

Folcon Pro

ข้อมูลจาก: https://www.androidpolice.com

ใช้ iPad เพื่อการศึกษา ความรู้อยู่ที่เนื้อหาและสิ่งแวดล้อม

iPad เพื่อการศึกษา

ถ้าจะพูดถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อการศึกษาที่จะมาช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการเรียนรู้ ของผู้ที่เป็นนักเรียนรู้ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง นักเรียน นักศึกษา อย่างเดียวนะครับ รวมถึงทุกคนที่มีใจไฝ่เรียนรู้ อุปกรณ์ที่จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นทำได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ณ ตอนนี้ น่าจะเป็น iPad ของ Apple  เพราะถือว่ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งหนังสือดิจิตอล(ebook) แอพพลิเคชั่น(Apps Store) คลังความรู้(iTunes U) นอกจากนั้นยังมีตัว Textbook ที่มีชุดโปรแกรมที่จะช่วยให้การสร้างหนังสือแบบที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างน่าตื่นเต้น นับว่า iPad นำหน้าคู่แข่ง Android, Windows 8 ในเรื่องของการสนับสนุนทางการศึกษาไปหลายช่วงตัว

iPad in Education

Apple ได้วางให้ iPad เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ผลิตมาเพื่อสนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มที่ เห็นได้จากงาน Education Event เมื่อ 19 มกราคา 2012 ในงานมีการเปิดตัวหนังสือเรียนแบบที่มี interactive โต้ตอบกับผู้อ่านได้อย่างดี พร้อมโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับ iPad โดยเฉพาะ และยังแจกให้ทุกคนใช้โปรแกรมนี้ได้ฟรีอีกด้วย ยิ่งทำให้ iPad เหมาะกับงานทางด้านการศึกษามากขึ้น

ลำดับต่อไปอยากนำส่วนต่างๆที่เป็นองค์ประกอบทำให้ iPad เหมาะกับการศึกษามาแจกแจงทีละข้อ ดังนี้ครับ

1. Textbooks หนังสือที่โต้ตอบกับผู้อ่านได้

หนังสือที่มาพร้อมภาพนิ่ง ภาพ 3 มิติ วีดีโอ เสียง ฯลฯ

คุณสมบัติของตัว Textbook ที่จะทำให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

  • Textbooks ของสำนักพิมพ์ใหญ่ๆอย่าง McGraw-Hill, Person Education, Houghon Mifflin Harcourt ผู้ผลิตหนังสือมีคุณภาพ ทั้งรายวิชา เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ มีให้ดาวน์โหลดแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • เราสามารถพกหนังสือเล่มใหญ่หลายๆเล่ม ด้วยมือข้างเดียวได้ คงไม่ต้องแบกใส่เป้ให้เมื่อยหลังกันแล้ว โดยเฉพาะหนังสือพวก Textbook ถ้าถือเล่มจริงได้ 2 เล่มก็ถือว่าสุดยอดแล้ว แต่เมื่อเป็นแบบดิจิตอลทำให้เราง่ายต่อการพกพา และสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
  • Textbooks ใน iPad เป็นหนังสือแบบมัลติทัช สามารถหมุนมุมมอง ซูมได้ มีภาพ ไดอะแกรม วีดีโอ ภาพสามมิติที่สามารถใช้นิ้วหมุนโมเดลได้รอบด้าน จดบันทึกลงหนังสือ ขีดเขียนลงหนังสือ เขียนโน๊ตสั้นๆ หรือใส่สีให้ตัวอักษรได้
  • ชมวีดีโอแนะนำ iBooks Textbooks

2. iPad Apps เพื่อการศึกษา

แอฟพิเคชั่น ที่เสริมการเรียนรู้มีมากมาย

ตัวแอพพลิเคชั่นของ iPad เฉพาะกลุ่มทางด้านการศึกษามีมากกว่า 20,000 แอพพลิเคชั่น น่าจะถือว่าเป็นจุดที่ได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ อีกทั้งแอพพลิเคชั่นที่ออกแบบมาสำหรับงานทางด้านการศึกษาถูกออกแบบมาอย่างดี แม้จะมีราคาแพงอยู่บ้าง ก็นับว่ามีความคุ้มค่าเมื่อแลกกับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่าง แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่น่าสนใจ โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆได้ดังนี้

iWork กลุ่มของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยทำงานทางด้านเอกสาร พรีเซนเตชั่น เอกสารตารางคำนวณ

English Language Arts กลุ่มแอพพลิเคชั่นที่ช่วยสอนภาษาอังกฤษให้เด็กด้วยภาพศิลปะ

Mathematics กลุ่มแอพลิเคชั่นช่วยเรียนคณิตศาสตร์

Science กลุ่มแอพพลิเคชั่นช่วยเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์

History and Geography กลุ่มแอพลิเคชั่นช่วยเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และภูมิประเทศ

Language Development เรียนภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน หรือท่องคำศัพท์

Art, Music, and Creativity กลุ่มแอพพลิเคชั่นส่งเสริมศิลปะ วาดภาพ ดนตรี และงานสร้างสรรค์

Reference, Productivity, and Collaboration กลุ่มแอพพลิเคชั่น เอกสารอ้างอิง ดิกชั่นนารี จดบันทึก

Accessibility กลุ่มแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ด้วยข้อมูลต่างๆหลากหลายวิธี

นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับการศึกษาอีกมากมาย เข้าไปดูได้ใน Apps Store ในหมวด iPad Education

3. iTunes U เรียนหนังสือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกผ่านทาง iPad

iTunes U for iPad

iTunes U เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางด้านการศึกษาแบบออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในแต่ละหลักสูตรมีทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการเรียนในรายวิชานั้นๆ ทั้งวิดีโอบรรยาย เอกสารประกอบการเรียน เสียง พรีเซนเทชั่น ซึ่งมีอยู่มากกว่า 500,000 รายการ หลักสูตรครอบคุมทุกรายวิชา ทั้งวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม การแพทย์ ศิลปะ ฯลฯ ซึ่งมีทั้งวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลก เช่น Stanford, Yale, MIT, Oxford, UC Berkeley เป็นต้น มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกเข้ามาเปิดห้องเรียนออนไลน์ให้ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้ฟรี ถือว่าเป็นคลังความรู้ที่ใหญ่และมีประโยชน์มาก เป็นอีกช่องทางและโอกาสอันดีที่เราสามารถเข้าไปเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยต่างๆได้อย่างใกล้ชิด เหมือนนั่งอยู่ในห้องเรียนนั้นๆเหมือนนักเรียนคนอื่นๆเลยทีเดียว

4. ใช้ iPad สอนในห้องเรียน

ต่อ iPad ออกจอภาพขนาดใหญ่

เราสามารถที่จะใช้ iPad ประกอบการสอนได้อย่างง่าย ผ่านทางการแสดงผลด้วยจอภาพขนาดใหญ่ เช่น HDTV หรือ จอโปรเจคเตอร์ ช่วยให้นักเรียนได้เห็นสิ่งที่คุณเห็นไปพร้อมๆกัน หรือใช้แสดงสไลด์พรีเซนเตชั่นแทนคอมพิวเตอร์ก็ได้ ทำให้การอธิบายหรือการเรียนรู้ไปพร้อมกันนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ช่วยให้ระบบและสภาพแวดล้อม(เนื้อหา) ของ iPad นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าพร้อมกว่า tablet เพื่อการศึกษาของคู่แข่งรายอื่นๆอย่างมาก อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะนักเรียน นักศึกษา เท่านั้น ผู้ที่ไฝ่เรียนรู้ก็สามารถที่จะใช้ iPad เพื่อเสริมความรู้ให้ตัวเองได้ตลอดเวลาผ่านทางช่องทางอื่นๆได้อีกมากมาย เช่น ข่าวสาร เนื้อหาเว็บไซต์ ฐานข้อมูลทางห้องสมุด หรือสื่อบันเทิงต่างๆ เช่น ภาพยนต์ เพลง เกม ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความรู้แทรกอยู่เสมอๆ เพียงเรามีเครื่องมือที่ดีสนับสนุนการเรียนรู้และความใฝ่รู้ของผู้ใช้งานร่วมกัน

ข้อมูลอ้างอิง: https://www.apple.com/education/ipad/

เปลี่ยนจาก Chrome Dev channel เป็น Stable channel

Google Chrome Dev to Stable Channel

Google Chrome มีรุ่นให้เราเลือกใช้ทั้งหมด 4 รุ่น(channel) คือ

  • รุ่นจริงให้ใช้ทั่วไป (Stable channel): https://www.Google.com/Chrome?platform=win
  • รุ่นก่อนปล่อยจริง (Beta channel): https://www.Google.com/Chrome/eula.html?extra=betachannel
  • รุ่นพัฒนา (Dev channel): https://www.Google.com/Chrome/eula.html?extra=devchannel
  • รุ่นทดสอบของใหม่ (Canary build): https://tools.Google.com/dlpage/Chromesxs
  • สายการพัฒนาจะเรียงไปจาก Canary ที่อยากใส่อะไรก็ใส่เข้าไป –>Dev ก็พัฒนาให้ดีขึ้น–>Beta ใช้งานก่อนปล่อยจริง–>Stable รุ่นจริง ปล่อยให้ใช้ทั่วไป

    ที่จริงแล้วใครอยากเลือกใช้ Channel ไหนก็เลือกได้เลย เวอร์ชั่นของรุ่นที่อยู่ด้านบนมันก็จะใหม่มากกว่า มีของใหม่ให้เล่นมากกว่า แต่ก็แลกมาซึ่งความไม่เสถียร และบั๊กต่างๆแถมมา ปกติใช้ Dev channel อยู่ เพราะติดตามตั้งแต่เวอร์ชั่นเก่าที่รุ่น Dev ค่อนข้างมีอะไรให้เล่นมากกว่าเยอะ เช่น พวก Extension, Web Apps, GPU,V8, Setting UI เป็นต้น แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านั้นส่งไปถึงรุ่น Stable หมดแล้ว และรู้สึกว่ารุ่น Dev กับ Stable ไม่มีอะไรใหม่กว่ากันอย่างชัดเจน

    ดังนั้นคิดว่าการเลือกใช้รุ่น Dev channel ไม่ค่อยคุ้มกับบั๊ก หรือความเสถียรที่ต้องเสี่ยง วันนี้เลยเปลี่ยนจาก Dev channel มาเป็น Stable channel

    การเปลี่ยนนั้นจะพบปัญหานิดหน่อย เมื่อเราถอนการติดตั้ง Dev channel แล้วติดตั้ง Stable channel มันจะฟ้อง ว่า Profile ที่เราใช้มันเป็นของเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า บางอันจะใช้ไม่ได้ แนะนำให้ลงเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่านี้ ความจริงเราจะปิดไป แล้วใช้เลยก็ได้ไม่มีปัญหา แต่มันขัดใจ เหมือนมี error ติดเครื่อง

    ดังนั้นเราจะทำตามคำแนะนำที่ถูกต้องนั้นคือ เราจะสร้าง User Profile ขึ้นมาใหม่สำหรับ Stable channel ส่วนอันเก่าที่เป็นของ Dev Channel เราก็จะเก็บไว้เผื่ออยากกลับไปใช้ก็ยังไม่ได้หายไปไหน วิธีทำมีดังนี้

    1. ปิด Google Chrome ก่อน
    2. Start menu > Run ถ้าเป็น Windows 7 ก็คลิกปุ่ม start แล้วพิมพ์ Run ลงช่อง Search แล้ว Enter เลย
    3. พิมพ์ข้อความเหล่านี้ลงในช่อง Open แล้วก็คลิก OK
      -Windows XP ใช้:  %USERPROFILE%\Local Settings\Application Data\Google\Chrome\User Data\
      -Windows Vista หรือ 7 ใช้:  %LOCALAPPDATA%\Google\Chrome\User Data\
      มันคือการเข้าไปที่โฟว์เดอร์ User Data จะเปิดหาเองตามที่อยู่ของมันก็ได้ แต่วิธีนี้สะดวกดี

      เปิดโฟว์เดอร์เก็บข้อมูลของ Google Chrome

    4. ให้เปลี่ยนชื่อโฟว์เดอร์ Default ซึ่งเป็นข้อมูล User Profile ของ Dev channel เป็นชื่ออะไรก็ได้อย่างเช่น Dev_Default
    5. เสร็จแล้ว ต่อไปเมื่อเราเปิด Google Chrome อีกครั้ง มันจะสร้างโฟว์เดอร์ Default ขึ้นมาใหม่ สำหรับเก็บข้อมูล User Profile อันใหม่ของเรา

    จากนั้นก็เข้าไปล็อกอินเพื่อ Sync ข้อมูลอันเก่าเข้ามา เพียงเท่านี้การเปลี่ยนจาก Google Chrome Dev channel มาเป็น Stable channel ก็สมบูรณ์แบบแล้วครับ ถ้าอยากจะกลับมาใช้ User Profile อันเก่าก็แก้กลับมาเป็นชื่อ Default (ส่วนอันที่ใช้อยู่ก็ต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ด้วยเดี๋ยวซ้ำ)

    ข้อมูล: https://www.Google.com/support/Chrome

     

    วีดีโอสอนการพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone 7

    การพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone 7

    ไปเจอวีดีโอชุดการพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone 7 น่าสนใจดีครับ มีโค้ดให้ดาวน์โหลดด้วย วีดีโอชุดนี้เป็นผลงานของคุณ Supapong NgonKham จาก ม.ขอนแก่น เห็นว่ามันดีมีประโยชน์เลยเอามาบอกต่อครับ ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ลิงค์ท้ายโพสครับ

    มีหัวข้อแนะนำการพัฒนา Application บน Windows Phone 7 ดังนี้
    1. Introduction and Installation
    2. Getting Start Part 1
    3. Getting Start Part 2
    4. Application Bar
    5. Page Transition
    6. Navigation and Control
    7. Pivot Control Part 1
    8. Pivot Control Part 2

    สนใจเข้าไปดูราละเอียดได้ที่ https://micthailand.net

    Exit mobile version