รีวิวหนังสือ Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions

หนังสือ Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions (2016)

ผลงานการเขียนร่วมกันระหว่าง

-Brian Christian นักเขียนชาวอเมริกัน ที่เคยเขียนหนังสือ Bestseller อย่าง The Most Human Human (2011) (เล่มนี้มีข่าวว่าสำนักพิมพ์ salt เอาไปแปลแล้ว)
-Tom Griffiths ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ(psychology and cognitive science) ที่ UC Berkeley ผู้อำนวยการ UC Berkeley’s Computational Cognitive Science Lab

หนังสือ Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions by Brian Christian (ซ้าย) and Tom Griffiths (ขวา)

ความจริงแล้วควรเขียนรีวิวหนังสือเล่มนี้ก่อน รีวิวหนังสือ Hello World: Being Human in the Age of Algorithms เพราะได้อ่านก่อน เพราะไม่ได้คิดว่าจะเขียนรีวิวจริงจัง เขียนสั้นๆไว้ใน facebook แล้ว แต่ก็เสียดายเลยเอามาลงไว้ที่นี้อีกรอบ

หนังสือ Algorithms to Live By เป็นหนังสือที่บันเทิงมากกว่าที่คิด คนเขียนเอาหลักคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างสนุกสนาน และน่าสนใจมาก มีเรื่องให้เอาไปเล่าในวงสนทนากับเพื่อนๆได้อย่างสนุกสนาน เราจะรู้สึกแปลกใจกับผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ ที่บางครั้งใช้สามัญสำนึกคิดไม่ได้ แต่คณิตศาสตร์ตอบปัญหาเหล่านั้นออกมาเป็นตัวเลขให้เราได้

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าหนังสือเล่มนี้ ถ้าเรามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้างจะอ่านสนุกขึ้น แต่ถึงไม่รู้เรื่องเลยก็ยังจะทำความเข้าใจกับกระบวนการคิดได้

ขอยกตัวอย่างบางส่วนมาให้อ่านกัน จะได้ประมาณได้ถูกว่าหนังสือจะเล่าเรื่องอะไร ให้เราได้ทำความเข้าใจกับ Algorithms และการนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง

-ถ้ากำลังค้นหาบ้านเช่าหลังใหม่ เลขาคนใหม่หรือหาแฟนสักคน เราจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อไหร่ที่ต้องหยุดหาและตัดสินใจเลือกได้แล้ว สามารถใช้ secretary problem ในการแก้ปัญหาได้

อธิบายดังนี้ ถ้าเราสามารถตัดสินใจเลือกรับหรือไม่รับ ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแค่ครั้งเดียว (คุณคงจะไม่สามารถ say NO, YES กลับไปกลับมากับสาวที่เดทอยู่แล้วได้หรอกนะ) แล้วเมื่อไหร่ถึงจะตัดสินหยุดและเลือกตัวเลือกนั้น คำตอบคือ คนลำดับที่ 37% ของตัวเลือกทั้งหมดมี ใช้ได้กับการเลือกบ้าน เลือกเลขาหน้าห้อง เลือกห้องน้ำที่ music festival หรือแม้แต่แฟนสักคน ลำดับที่ 37% มี possibility ที่สูงที่สุดหลังจากนั้นจะค่อยๆลดลง

ถ้าสนใจดูคำอธิบายเพิ่มเติมได้ที่คลิปด้านล่าง

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ secretary problem
ดูคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ secretary problem ได้ที่คลิปนี้

-เราจะตัดสินใจอย่างไรระหว่างทำอย่างเดิมที่คุ้นเคยหรือทำสิ่งใหม่ เช่น เย็นนี้จะกินอาหารที่ร้านเดิมที่ชอบหรือจะลองไปกินร้านใหม่ที่ไม่เคยกิน (Explore/Exploit trad-off)

ดูคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Explore/Exploit trad-off ได้ที่คลิปนี้

-ถ้ามีเสื้อผ้าหลายตระกร้า ต้องซักก่อนแล้วค่อยปั้นแห้ง เวลาที่ใช้ของแต่ละเครื่องขึ้นกับชนิดและความเปื้อนของผ้า เช่น ผ้าสกปรกมากหน่อยก็ต้องซักนานกว่าปกติ ถ้าผ้าหนาหน่อยก็ใช้เวลาปั่นแห้งนานกว่าปกติ แล้วแบบนี้ เราจะจัดลำดับอย่างไร ให้การใช้เวลาในการทำงานน้อยที่สุด ไม่ให้มีช่วงที่ต้องรออีกเครื่องทำงานเสร็จก่อน หรือถ้ามีก็ให้มีน้อยที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด (Sorting, Johnson’s algorithm)

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Johnson’s algorithm ได้ที่คลิปนี้

เราจะได้เจออะไรแบบนี้ตลอดทั้งเล่ม เอาเป็นว่าแนะนำให้อ่านครับ สนุก
5/5
Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions by Brian Christian and Tom Griffiths

รีวิวหนังสือ Hello World: Being Human in the Age of Algorithms

หนังสือ Hello World: Being Human in the Age of Algorithms
เขียนโดย Hannah Fry รองศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ จาก University College London
—-


ในหนังสือเกี่ยวกับอัลกอริทึมที่อ่านไปก่อนหน้านี้ Algorithms to Live By อาจจะต้องเข้าใจ Mathematics ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับเล่มนี้ไม่ต้องเลย

Hello World จะเล่าเรื่องอีกแบบที่ไม่ได้ยกโมเดลทางคณิตศาสตร์มาให้ปวดหัวเลย คนธรรมดาอย่างเราอ่านสบายเลยทีนี้

เปิดเรื่องด้วยการนิยามของคำว่า Algorithms ให้คนอ่านเข้าใจร่วมกัน จากนั้น จะเล่าถึงการใช้งานในแง่มุมต่างๆ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

หัวข้อหลักๆ
-ข้อมูล
-การตัดสินของศาล
-ทางการแพทย์
-รถยนต์
-อาญากรรม
-ศิลปะ

การนำ Algorithms ไปใช้ในหัวข้อต่างๆเหล่านี้เกิดผลกระทบในแง่ต่างๆอย่างไรบ้าง ในหนังสือจะยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาให้ศึกษาและวิจารณ์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น

—-
ยกตัวอย่างบางอันมาให้อ่าน ในกรณีของการใช้ Algorithms ไปจัดการกับข้อมูลของลูกค้า เมื่อสมาชิกของร้านค้า ซื้อของแล้วใช้บัตรสมาชิกเพื่อสะสมแต้ม บริษัทก็จะได้ข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าไปเป็นการแลกเปลี่ยน ซื่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากกับผู้ประกอบการ ทำให้รู้ถึงพฤติกรรมของลูกค้าตัวเอง ลูกค้ามีที่อยู่ที่ไหนบ้างที่มาซื้อของจากสาขานี้ รวมถึงประมาณสินค้าในสต็อคได้อีกด้วย และยังใช้ข้อมูลในด้านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งลูกค้าไม่รู้ตัวเลยว่าข้อมูลของตัวเองถูกใช้ไปทำอะไรบ้าง

กรณีนี้คือ เมื่อ Algorithms สามารถเดาได้ว่า ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าเหล่านี้แล้ว ในครั้งต่อไปจะซื้ออะไร วันหนึ่งคุณพ่อท่านหนึ่งโทรไปโวยวายบริษัท เพราะได้รับคูปองลดราคาจากบริษัทดังกล่าวที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดเป็นจำนวนมาก ทั้งๆที่ไม่มีเด็กในบ้านเลย ยกเว้นลูกสาวที่เป็นวัยรุ่นแล้ว อีกวันเมื่อผู้จัดการทราบเรื่อง จึงโทรกลับไปขอโทษกับคุณพ่อท่านนี้ ปรากฏว่าชายที่เสียงแข็งเมื่อวานกลับขอโทษบริษัทแทน เพราะจากการซักไซร้กับลูกสาวของตนพบว่า เธอกำลังตั้งครรภ์อยู่!

เป็นไปได้อย่างไร? บริษัทขายของรู้ว่าลูกสาวมีท้องก่อนคุณพ่อของเธอเอง คำตอบ คือ Algorithms สามารถเดาได้จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของสมาชิก ผ่านข้อมูลจำนวนมากที่เก็บได้จากสมาชิก เช่น ถ้าเธอซื้อ แป้ง ผ้า อาหารเสริมหรือครีมบางชนิด Algorithms สามารถบ่งชี้ได้ว่าเธออาจจะตั้งท้อง และระบบก็จัดส่งสินค้าเกี่ยวกับเด็กแรกคลอดไปให้เธอ เพื่อกระตุ้นให้เธอกลับมาซื้อของที่ร้านอีก
—-
หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง แม่บ้านโทรไปโวยวายกับโลตัส ว่าทำไมมีลิงค์ถุงยางอนามัยขึ้นมาบนหน้าโปรไฟล์ในหน้าเว็บซื้อของออนไลน์ของเธอ บริษัทตรวจสอบ ข้อมูลถูกต้อง แต่บริษัทยอมเอาลิงค์ลงให้ เธอไม่ได้ซื้อแต่สามีเธอซื้อแล้วไปใช้กับใคร? แต่ไม่ได้ใช้กับเธอแน่นอน
—–

แม้แต่กรณีของข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ที่ถูกบริษัท Analytica เอาไปใช้ในการหาเสียงทางการเมือง ที่ทำให้ FB ถูกปรับไปเป็นจำนวนเงินมหาศาล เราจะได้เรียนรู้ว่า Algorithms ถูกนำมาใช้ได้อย่างไรในทางการเมือง

ในหนังสือมีเคสตัวอย่างแบบนี้ยกขึ้นมา ให้เราได้คิดตามถึงผลกระทบของยุคที่มี Algorithms ถูกนำมาใช้แทบจะทุกที่ ไม่ว่าเราต้องการหรือไม่แต่มันจะเกี่ยวข้องกับชีวิตเราเสมอไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
—-
อ่านสนุกมาก ข้อยกให้เป็น หนังสือแนววิทยาศาสตร์ที่ชอบที่สุดของปีนี้
คะแนน 5/5

Exit mobile version