อ่านเขียนไดรว์ NTFS ใน MacOS ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม

external HDD ที่ใช้เป็น NTFS ไดรว์ แต่ก่อน Macbook ติดตั้งโปรแกรม NTFS-3G ไว้ จึงสมารถเขียนอ่านได้ปกติ ตอนเปลี่ยนไดรว์ให้คอมใหม่ก็ไม่ได้ใส่ใจติดตั้งใหม่ และก็ไม่ได้มีโอกาสได้ใช้ external HDD นานมากแล้ว แต่วันนี้ต้องเอารูปที่เป็น RAW file เกือบ 200 GB ออกจากเครื่องโดยจะ back up ไว้ใน ext HDD เพราะเพิ่งไปเที่ยวมา ไม่งั้นก็เอารูปใหม่ลงเครื่องไม่ได้

ไม่อยากติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องแล้ว ลองค้นดูวิธีอื่นๆดู พบว่าสามารถใช้ terminal enable การอ่านเขียน NTFS ได้

ทดลองทำดูแล้วง่ายและสะดวกดี เลยเอามาบันทึกเก็บไว้

  1. เปิดใช้ Terminal (Applications > Utilities > Terminal)
  2. พิมพ์ sudo nano /etc/fstab ใส่ Password

    terminal

  3. พิมพ์ LABEL=NAME(ใส่ชื่อไดรว์) none ntfs rw,auto,nobrowse

    fstab editor

  4. กด Control + O enter เพื่อ save กด Control-X ออกจาก fstab editor
  5. ระบบอ่านเขียนไดรว์ NTFS ของเราได้แล้ว
  6. เปิดไดรว์ผ่าน Finder เข้า Go to Folder… ใส่ /Volumes

เรียบร้อยง่ายมาก

via: macdrug

วิธีแสดงภาพขนาดใหญ่ด้วย Google Maps Viewer

ถ้าหากต้องการแสดงภาพที่มีขนาดใหญ่มากๆ อย่างเช่น ภาพพาราโนมา ภาพแผนที่ขนาดใหญ่ สไลด์ชิ้นเนื้อที่ถ่ายแบบทั้งสไลด์ เป็นต้น ต้องการแสดงผลแบบที่เห็นภาพโดยรวมของภาพทั้งหมดก่อน และเมื่ออยากดูรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถซูมเข้าไปดูได้ พูดง่ายๆคือแสดงเหมือนแผนที่ใน Google Maps เมื่อเลือกตำแหน่งที่สนใจได้แล้ว ก็สามารถซูมเข้าไปดูใกล้ๆได้ เพื่อดูรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ในความเป็นจริงถ้าเราแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงตั้งแต่แรกจะทำให้การโหลดข้อมูลทำได้ช้ามากเพราะภาพจะมีขนาดใหญ่ วิธีดังกล่าวนี้จะเลือกโหลดภาพเฉพาะส่วนที่จำเป็นมาแสดงทำให้การแสดงผลทำได้ราบรื่นกว่ามาก เช่น ถ้าหากต้องการดูพื้นที่โดยรวมทั้งหมดก็จะโหลดภาพที่มีความละเอียดต่ำมาแสดงผล ถ้าต้องการดูส่วนที่ละเอียดมากขึ้นเมื่อกดซูมระบบจะดึงภาพที่มีความละเอียดสูงกว่ามาแสดงเฉพาะส่วนตรงจุดที่เราสนใจ เมื่อเราคลิกเลื่อนตำแหน่งไปเรื่อยๆก็จะโหลดภาพส่วนนั้นเพิ่มเข้ามาแสดงผล

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้ Google Maps Viewer มาใช้งาน มีหลากหลายเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น https://www.pathobin.com

ขั้นตอนการใช้ Google Maps Viewer แสดงภาพขนาดใหญ่

  1. ดาวน์โหลดโปรแกรม GMap Image Cutter  ลงไว้ในเครื่อง แตกไฟล์ที่อยู่ใน zip ออกมา
  2. เปิดโปรแกรมที่ชื่อ GMapImageCutter.jar ขึ้นมา ในเครื่องจะต้องมี Java ติดตั้งไว้ด้วย ถ้าไม่มีดาวน์โหลดและติดตั้งได้ที่ https://java.com/en/download/index.jsp
  3. คลิกเลือก File → Open เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการนำมาแสดงด้วย Google Maps Viewer ในส่วนของ Max Zoom Level ควรตั้งไว้ตามค่าเดิม แต่ถ้าต้องการเพิ่มให้ซูมได้มากยิ่งขึ้นสามารถปรับเพิ่มได้ แต่ก็จะทำให้ต้องใช้เวลาในการสร้างไฟล์นานยิ่งขึ้น จากนั้นคลิกปุ่ม Create

    Gmap cutter

  4. เมื่อโปรแกรมสร้างไฟล์เสร็จแล้ว จะได้ไฟล์ HTML และโฟลเดอร์ที่เก็บภาพที่โปรแกรมสร้างขึ้นมาใหม่จำนวนจะมากน้อยตามความละเอียดที่ตั้งไว้ สามารถแสดงผลได้ทันทีโดยการคลิกเปิดไฟล์ HTML ด้วยบราวเซอร์ท่องเว็บไซต์ทั้วไป เช่น Internet Explorer, Google chrome, Safari เป็นต้น สามารถดูในแบบ Offline ได้ทันที

    ภาพที่พร้อมใช้งาน

  5. ถ้าต้องการนำภาพดังกล่าวไปแสดงบนเว็บไซต์สามารถทำได้โดยการอัพโหลดไฟล์ HTML และโฟลเดอร์ภาพขึ้นไปไว้บนเซิร์ฟเวอร์จากนั้นเรียกการแสดงผลโดยการใช้โค้ด

ยกตัวอย่างโค้ด

<iframe src="panorama.html" width="800" height="600" frameborder="0" marginwidth="0" marginheight="0" scrolling="no">
 </iframe>

หรืออัพโหลดขึ้น Dropbox ซึ่งสามารถแสดงไฟล์ที่เป็น HTML ได้เลยเช่นกัน ต้องใส่ไว้ใน public folder ยกตัวอย่าง https://dl.dropboxusercontent.com/u/1622318/Tissue-section.html

ข้อมูลจาก https://www.labnol.org

เล่าถึงการใช้งาน LibreOffice แทน Microsoft Office

LibreOffice

ที่ทำงานมีนโยบายให้ใช้โปรแกรมทำเอกสารที่ถูกลิขสิทธิ์ ตอนแรกก็ใช้ OpenOffice แต่ภายหลังก็ย้ายมาเป็น LibreOffice ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องมากกว่า ตอนแรกยังติดอยู่กับ Microsoft Office เพราะจะเปลี่ยนไปใช้ LibreOffice เลยมันดูไม่คุ้นเคยเอาเสียเลย อีกทั้งคนอื่นๆก็ยังทำด้วยเอกสารด้วยไฟล์ .doc หรือ docx ที่สร้างด้วย MS Office เป็นหลัก การส่งไฟล์แก้ไขระหว่างกันดูจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากๆ

ถ้าเป็นแบบนี้เราจะเปลี่ยนไปใช้แบบถูกลิขสิทธิ์ได้อย่างไร จะเลือก LibreOffice ที่ใช้งานได้ฟรีหรือจะยอมจ่ายตังค์ MS Office ไปตลอด ซึ่งหน่วยงานที่ทำงานอยู่เลือกให้แล้ว กึ่งบังคับด้วยว่าต้องใช้แบบฟรีและถูกลิขสิทธิ์ นั้นคือ LibreOffice และใช้ไฟล์ .odt เป็นหลัก ถ้าจะเป็นไปใช้ LibreOffice อย่างจริงจัง ต้องเริ่มยังไง?

เริ่มต้นต้องหาความรู้ ต้องเรียนรู้วิธีใช้งาน ที่หน่วยงานมีจัดอบรมทุกปีต้องหาเวลาเข้าไปเรียนให้ได้สักครั้ง ถ้าที่ทำงานคุณไม่มีจัดอบรม อินเทอร์เน็ตช่วยได้ครับ ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายนัก ถ้าใช้ MS Office เป็นอยู่แล้ว LibreOffice ก็ไม่ได้ต่างกันมาก เมนูต่างๆก็จัดว่าคล้ายคลึงกัน เพียงแต่หน้าตาเท่านั้นที่จะทำให้ตัวเราเองไม่คุ้นเคยแล้วส่งผลให้ไม่อยากใช้งาน ก็ต้องบอกว่าใช้ไปสักพักจะคุ้นเคยเอง

ต้องขอยอมรับเลยครับว่าการเข้าอบรมแค่ครั้งเดียว จะทำให้รู้ว่า LibreOffice สามารถแทน MS Office ได้อย่างสมบูรณ์สำหรับการทำงานทางด้านเอกสาร ในระดับที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่ในตอนนี้ แถมตอนเรียนได้รู้ว่ามีฟีเจอร์ต่างๆมากมายของ LibreOffice ที่ช่วยให้เราทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้นมาก คิดว่าใน MS Office ก็น่าจะมี แต่เราไม่ได้เรียนรู้เท่านั้นเอง ก็ใช้งานแค่พื้นฐานอยู่เท่านั้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมการใช้งาน LibreOffice แล้วเอามาใช้ได้อย่างดีมากๆ มีหลักๆอยู่ ดังนี้

  1. การเลือกใช้ Style ของระบบอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. สร้างสารบัญเรื่อง, ภาพ, ตาราง แบบอัตโนมัติได้ง่ายมาก ตรงนี้ทำให้ประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดได้อย่างมาก
  3. การสร้างไฟล์ PDF ทำได้ง่ายและดีขึ้น สามารถแนบไฟล์ที่แก้ไขได้เข้าอยู่ใน PDF ได้ด้วย
  4. ตารางในเอกสาร Document ใส่สูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้

สรุปว่าตอนนี้ผ่านมาเกือบปีแล้ว เอกสารที่เราทำเอง ส่งออกเอง ทำเบ็ดเสร็จด้วย LibreOffice ได้แล้ว และยังทำได้เร็วกว่าเดิมมาก หากต้องทำงานร่วมกับคนอื่นๆที่ยังใช้ MS Office ยังมีปัญหาอยู่บ้างเกี่ยวกับรูปแบบเพี้ยน แต่เราแก้ไขปัญหาโดยแก้ไขเนื้อหาด้วยโปรแกรมอะไรก็ได้จะ MS Office หรือ LibreOffice ตามแต่ใครจะสะดวก แล้วค่อยมาจัดหน้ากันอีกทีในตอนท้าย ก่อนจะแปลงเป็น PDF อีกทีเพื่อส่งงาน

ถ้าเป็นไปได้จะมาแนะนำการทำงานเอกสารด้วย LibreOffice ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆครับ คอยติดตามแล้วกันนะครับ

แอพพลิเคชั่นช่วยคำนวณจำนวนเซลล์ใน Cell Counting Chamber

Cell Counting Calculator

Cell Counting Calculator เป็นแอพพลิเคชั่นเล็กๆที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ช่วยคำนวณจำนวนเซลล์ใน Counting Chamber ซึ่งโดยปรกตินักวิจัย นักเรียน คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ส่วนใหญ่จะต้องมีการนับจำนวนเซลล์กันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงเซลล์มะเร็งเพื่อใช้ในงานวิจัยเวลาจะนำไปทดสอบอะไรบ้างอย่าง ทดสอบยา ติดตามการแบ่งตัว จำเป็นจะต้องรู้ว่าเซลล์ที่ใช้นั้นมีจำนวนอยู่เท่าไหร่ มากน้อยเหมาะสมหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง จึงต้องมาการนับเซลล์อยู่ตลอดแทบจะทุกกระบวนการทำงานวิจัย

คำถามต่อไปคือนับอย่างไร? ถ้าแลปไหนรวยก็มีเครื่องนับอัตโนมัติช่วยนับให้ เครื่องแพงมากและค่าใช้จ่ายต่อการนับหนึ่งครั้งก็สูงมากระดับหลักร้อยถึงหลายร้อยบาท ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงยังมีการนับเองด้วยคน ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์(เซลล์ขนาดเล็กต้องมองผ่านกล้องอีกที) โดยมีอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า Hemocytometer (ใช้นับเม็ดเลือด)หรือบางที่ก็เรียกกันว่า Counting chamber หน้าตาก็เหมือนในรูปด้านล่าง ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกเข้าไปอ่านตามลิงค์ได้เลยครับ

Hemocytometer ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Hemocytometer

ใน Hemocytometer เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่ามีกริดอยู่ด้านในแบ่งเป็นช่อง กำหนดเป็นพื้นที่ไว้ ส่วนขอบมันจะยกสูงขึ้นมาให้วางแผ่นแก้ว(cover slip) เพื่อกำหนดส่วนสูงให้ได้ 0.1 มิลลิเมตร เมื่อเรานำเซลล์ที่ละลายอยู่ในสารละลายเข้าไปในช่องว่างระหว่างแผ่นแก้วกับ chamber แล้ว เอาพื้นที่ตามตารางกริดคูณกับส่วนสูงก็จะทราบปริมาตรที่แน่นอน เมื่อนับจำนวนเซลล์จึงรู้ได้ว่าในสารละลายมีเซลล์มากน้อยเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร

กริดภายใน Counting chamber ภาพจาก https://www.nexcelom.com/Products/Disposable-Hemacytometer.html

อธิบายไปยึดยาวแล้ว เข้าสู่ปัญหาและเหตุผลที่ทำไมต้องทำแอพพลิเคชั่น Cells Calculator ขึ้นมา ปัญหาเริ่มจากว่าเมื่อเรานับตามพื้นที่ช่องที่แตกต่างกันปริมาตรที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปด้วย เราต้องคำนวณปริมาตร รวมถึงคำนวณความเข้มข้นของเซลล์ที่เราอยากรู้พร้อมกันด้วย ในบางครั้งถ้าเซลล์มีความเข้มข้นสูง(หนาแน่นสูง) เราก็จะเลือกนับในช่องเล็กลง เพื่อประหยัดเวลา ลดความเมื่อยล้าของสายตา แต่ถ้าเซลล์มีความหนาแน่นต่ำก็จะเลือกนับในช่องใหญ่ขึ้นได้ เพื่อเพิ่มความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลที่ได้ (นับเยอะย่อมถูกต้องมากกว่า) การที่ต้องคำนวณพื้นที่ใหม่ในทุกๆครั้งที่นับ มันไม่โอเคแน่นอน บางคนก็จะทำเป็น Factor ไว้คูณกลับได้ง่ายๆ ใช้ได้ในกรณีที่นับกับเซลล์ที่มีความหนาแน่ใกล้เคียงกันทุกครั้งที่นับ แล้วเลือกนับในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ก็ไม่โอเคแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่เปลี่ยนตำแหน่งพื้นที่นับบ่อยๆเกิดขึ้นกับเรา

จึงอยากได้ตัวช่วยที่สามารถให้เลือกได้ว่าจะนับตรงไหน ใส่ตัวเลขที่นับได้ เอาตัวคูณ Dilution Factor ใส่เข้าไป กดปุ่มแล้วคำนวณให้เลย อยากได้มาก น่าจะช่วยให้เราทำงานได้สะดวกขึ้นมากๆ บางครั้งการกดตัวเลขในเครื่องคิดเลขก็เกิดความผิดพลาดบ่อยๆ อยากจะลดปัญหาตรงนี้ด้วย

จึงเริ่มค้นหาแอพใน Google Play เพราะคิดว่าถ้ามีติดในมือถือน่าจะสะดวกในการใช้งาน สรุปคือไม่มี มีใกล้เคียงบ้าง แต่ไม่ใช่ในแบบที่ต้องการ สุดท้าย เมื่อไม่มีก็เขียนเองเลยสิ อยากได้แบบไหนก็เขียนเองเลย

สำหรับเราที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ พอรู้ภาษาคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง จะให้ฮาร์ดโค้ดเลยคงอีกนานกว่าจะได้ใช้ อีกอย่างแอพฯไม่น่าซับซ้อนมากนัก จึงเลือกใช้ App Inventor เป็นตัวช่วยในการเขียน ซึ่งก็เพียงพอกับสิ่งที่ต้องการและสิ่งที่ได้มา

จึงออกมาเป็น Chamber calculator ตัวแรก ที่ช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นมาก

Chamber calculator

ใช้ไปสักพักหนึ่ง มีคนเห็นเราใช้บอกว่าสะดวกดีขอมั้งได้ไหม ตอนนั้นมันยังเป็นแอพที่ไม่ได้จัดเรียงดีอย่างที่เห็นในรูปนะ มั่วกว่านี้เยอะ แต่ใช้งานได้ แต่พอจะเอาไปให้คนอื่นใช้เลยต้องนั่งปรับแต่งเพิ่มเติมอีกหน่อย จะได้ใช้ได้ง่ายขึ้น คราวนี้เราคิดว่าถ้าเอาไปแจกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ดูเลยจะเป็นไง พอมีคนได้ลองใช้ก็จะได้ feedback กับมา เราก็จะได้เอามาปรับเพิ่มเข้าไปได้อีก พอมีคนเห็นพอคนได้ลองใช้ก็จะมี request เพิ่มมาว่าอยากได้ตัวนับเซลล์เป็น-เซลล์ตายที่ใช้กันบ่อยๆในงานวิจัยด้วยได้ไหม ก็เห็นว่าน่าจะทำให้แอพมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น ก็เลยพัฒนาตัวนี้เพิ่มเข้ามาด้วยให้อยู่ในแอพเดียวกันไปเลย อยากใช้ตัวไหนค่อยสลับหน้าจอใช้งานเอา เลยได้อีกโหมดเป็นอีกโหมดคือ Viability calculator

viability calculator

ในโหมดนี้ก็มีปุ่มให้กดคลิกนับไปในตัวได้เลย ตามคำเรียกร้องของคนใช้ พร้อมเสียง และการสั่นเมื่อกดนับ ซึ่งทำให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นได้ลองปล่อยออกไปทาง Facebook ให้คนที่สนใจลองโหลดไปใช้ดูบ้าง เพราะอยากได้ feedback เอามาทำต่อให้สมบูรณ์มากขึ้นอีก ก็ได้เพื่อนๆหลายคนช่วยลองใช้ให้และได้คอมเม้นต์ที่ดีกลับมาค่อนข้างเยอะเลย และสุดท้ายเลยคิดว่าไหนๆก็ทำมาแล้วเอาขึ้น Google Play Store ไปเลยแล้วกัน เผื่อมีประโยชน์กับคนอื่นด้วย

เข้าไปโหลดแอพพลิเคชั่น Cells Calculator ได้ฟรีที่

QR Code

หลังจากปล่อยไป ก็ได้โพสให้เพื่อนๆใน Facebook ได้รู้เผื่อว่าจะมีคนสนใจ ผ่านไป 3 วัน พบว่ามีคนโหลดไปแล้วประมาณร้อยกว่าครั้ง ซึ่งก็ถือว่าเหนือความคาดหมายมาก เพราะเป็นแอพเล็กๆ ง่ายๆ และก็ค่อนข้างเฉพาะทางมากๆ มีแค่ไม่กี่คนที่จะได้ทำงานเกี่ยวกับเซลล์และไม่กี่คนจะมีโอกาสได้ใช้งานในลักษณะนี้ ถือว่าทะลุเป้าที่ตั้งไว้มากๆครับ

ส่วนวิธีใช้แบบง่ายๆก็ได้ลองอัดคลิปมาให้ได้ดูกันด้วย

วิธีการใช้แอพพลิเคชั่น Cells calculator 

รายการที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

  • เพิ่มปุ่มนับให้โหมด Chamber Calculator
  • ปรับให้เลือกช่องกริดได้หลากหลายมากขึ้น
  • เพิ่มสีสัน และภาพให้ดูน่าใช้มายิ่งขึ้น

วิธีลดขนาดไฟล์ PDF ใน OSX และวิธีปรับแต่ง(Reduce File Size) ให้เหมาะสม

เวลาเราแปลงภาพเป็น PDF หรือ แปลงไฟล์จากเครื่องแสกนเป็น PDF สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆคือไฟล์ PDF ที่ได้มันมีขนาดไฟล์ใหญ่มาก ทั้งๆที่มีเพียงไม่กี่หน้า มีปัญหาเวลาจะต้องส่งอีเมลอยู่บ่อยครั้ง ใน OSX สามารถใช้โปรแกรม Preview ย่อขนาดไฟล์ PDF ลงได้

วิธีลดขนาดไฟล์ PDF ใน OSX ด้วยโปรแกรม Previes 

  1. เปิดไฟล์ PDF ตัวนั้นด้วยโปรแกรม Preview ขึ้นมา
  2. คลิกเลือกที่เมนู File>>Save As…
  3. เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ เลือก Format เป็น PDF และเลือก Quartz Filters เป็น Reduce File Size

    Reduce file size

  4. กด Save

ปัญหาที่เกิดขึ้น 

Size after reduce

มันย่อไฟล์ขนาด 25.8 MB ให้เหลือแค่ 82 KB ย่อลงได้เยอะมากก็จริง แต่เมื่อดูเนื้อไฟล์แล้วมันแย่มาก(ดูภาพด้านบน) ถ้าเป็นไฟล์ PDF ที่เป็น text ค่อนข้างใช้ได้เลย แต่อันนี้เป็นภาพที่แสกนเข้ามาทำให้การเลือก Reduce File Size ที่เป็นค่า Default ของเครื่องทำให้ได้ไฟล์ที่แย่มาก

วิธีแก้ไขก็คือตั้งค่าการบีบอัดข้อมูลของ Reduce File Size ใหม่ ไม่ให้บีบอัดมากจนเกินไป ให้ย่อขนาดลงมากที่สุดแต่ก็ยังสามารถอ่านเนื้อหาได้อย่างชัดเจน

วิธีปรับแต่งตัวลดขนาดไฟล์ PDF (Reduce File Size)ใน OSX 

  1. เปิดเข้าไปที่ Finder เลือก Go to Folder…
    ใส่ค่านี้เข้าไป /System/Library/Filters คลิก Go
    นั้นคือเราจะเข้าไปที่โฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์การตั้งค่าการบีบอัดไว้เพื่อเข้าไปแก้ไข

    Go to Folder

  2. เราจะเห็นไฟล์ที่เป็น qfilter อยู่หลายอัน ให้ Copy ไฟล์ที่ชื่อ Reduce File Size.qfilter ออกมา วางไว้ที่ไหนก็ได้(แนะนำ Desktop) แล้วแก้ไขไฟล์นี้ใหม่ด้วยโปรแกรม TextEdit <–ใช้โปรแกรมนี้เปิด
  3. จุดสนใจที่ควรแก้ไขคือ
    <key>ImageSizeMax</key>
    <integer>512</integer> (ขนาดที่ผมใช้คือ 1684 ประมาณ 144dpi ใน A4)<key>ImageSizeMin</key>
    <integer>128</integer> (ขนาดที่ผมใช้ คือ 842 ประมาณ 72dpi ใน A4)

    <key>Name</key>
    <string>Reduce File Size</string> (ควรแก้ชื่อให้ต่างจากเดิมจะได้เลือกได้ถูก เปลี่ยนเป็น Reduce File Size 2 )

  4. กด save จากนั้นเปลี่ยนชื่อไฟล์ใหม่ เมื่อเอากลับไปวางที่เดิมจะได้ไม่ทับของเดิม เปลี่ยนเป็น Reduce File Size 2.qfilter
  5. Copy ไฟล์ที่แก้ไขแล้วไปวางไว้ที่เดิม /System/Library/Filters

ทดลองลดขนาดไฟล์ PDF ด้วย Filter ตัวใหม่ที่เราสร้างขึ้นมา จะเห็นได้ว่าตัว Filter ใหม่ที่เราสร้างจะเพิ่มเข้ามาอยู่ในลิสต์ที่สามารถเลือกได้แล้ว

Filter ที่ได้สร้างใหม่

เลือก Reduce File Size 2 แล้วกด Save จากนั้นตรวจดูคุณภาพของไฟล์ที่ได้อีกที

ขนาดไฟล์ลดลงเหลือ 4 MB คุณภาพในขณะยังอ่านตัวหนังสือชัดเจนอยู่

หากคิดว่าอยากย่อให้ได้มากกว่านี้ ก็แก้ไขค่า ImageSizeMax และ ImageSizeMin ลงอีกได้ตามความเหมาะสม

บล็อกตอนนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการย่อ PDF ให้มีขนาดเล็กแต่ไม่อยากให้คุณภาพของไฟล์เสียไปมากเกินไปนัก ลองเอาไปปรับใช้กับการทำงานของตัวเองให้เหมาะสมครับ

ข้อมูล https://hints.macworld.com

Tinkercad โปรแกรมออกแบบงาน 3D อย่างง่าย ใช้งานออนไลน์ผ่านหน้าเว็บ

Tinkercad

Tinkercad เป็นโปรแกรมออกแบบงานทางด้าน 3 มิติ ใช้งานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เป็นของบริษัท Autodesk บริษัทที่ทำโปรแกรม 3 มิติที่ดังๆอย่าง 3ds Max, Maya, AutoCAD นั้นแหละ

Tinkercad เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว โปรแกรมจะมีรูปทรง 3 มิติพื้นฐานบางส่วนมาให้ เราสามารถสร้างรูปร่างที่ซับซ้อนจากการประกอบรูปทรงพื้นฐานเหล่านี้ได้ จากรูปทรงพื้นฐานที่ธรรมดาๆ บวกกับความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถประกอบรูปร่างให้มันเป็นรูปทรง 3 มิติที่น่าทึ่งได้เช่นกัน ลักษณะเหมือนต่อเลโก้ นอกจากนี้โปรแกรมยังมีความยืดหยุ่นสูง โดยอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถสร้างรูปทรงจากโค้ด JavaScript ได้อีกด้วย(แนวคิดเดียวกับ Minecraft) ตัวอย่างเจ๋งๆที่มีคนทำไว้ เช่น Godzillaรถแข่ง, เรือ+ปราสาท ลองเข้าไปดูตัวอย่างอื่นๆได้ที่ Discover

นอกจากนี้ ตัวอัพเดตล่าสุดของ Tinkercad เราสามารถ Export โครงสร้าง 3 มิติเข้าไปในเกม Minecraft ได้อีกด้วย ต้องถูกใจขาเกมแน่นอน เท่าที่เข้าไปเปิดดูใน Discover ที่แชร์ในเว็บไซต์มีหลายคนสร้างปราสาทเพื่อนำเข้า Minecraft เยอะพอสมควรเลย เรียกได้ว่าเป็นส่วนเสริมเกม Minecraft อีกตัวหนึ่งก็คงได้

Download for Minecraft

ดูตัวอย่างการ Export ปราสาทที่สร้างใน Tinkercad แล้วนำเข้าไปในเกม Minecraft ได้ในคลิป

https://www.youtube.com/watch?v=LnT1ZGQ0Abo

เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี คนที่อยากลองสร้างผลงาน 3 มิติไม่ควรพลาด จะทำแบบง่ายๆไปจนถึงสุดล้ำก็น่าลองทั้งนั้น

เข้าไปเล่น Tinkercad ได้ที่ https://tinkercad.com

via: Polygon

Evernote Food แอพช่วยบันทึกเมนูและร้านอาหารที่เคยไปกินมาแล้ว

Evernote Food

เวลาไปกินข้าวที่ร้านอาหารร้านใหม่ที่ไม่เคยไปกินมาก่อน ผมมักชอบจะบันทึกรายละเอียดเบื้องต้นของร้านนั้นไว้ มีประโยชน์สำหรับการเอามาอวดเพื่อนหรือเอาไว้แนะนำบอกต่อถ้ามันอร่อย แอพพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับบันทึกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Evernote ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “Evernot Food” มีให้โหลดทั้ง Android และ iOS

เคยใช้ตั้งแต่ตอนเล่น iPod Touch ตอนนี้ในมือถือ Android ก็ต้องมีแอพนี้อยู่ การใช้งานค่อนข้างไม่ยุ่งยาก ถ่ายรูปอาหารที่เราสั่งมาทาน หรือสถานที่ร้าน บรรยากาศ ใส่รายละเอียดชื่อร้าน ระบุตำแหน่งลงในแผนที่ ซึ่งข้อมูลบางส่วนจะถูกดึงมาจาก Foursquare ทำให้สะดวกมาขึ้นถ้าต่ออินเทอร์เน็ตตอนบันทึก แต่ไม่มีเน็ตก็ยังบันทึกได้ แล้วเมื่อต่อเน็ตโปรแกรมจะ Sync เข้าไปเก็บใน Evernote ให้อัตโนมัติหรืออัตโนมือก็ได้เช่นกัน โดยใช้บัญชีเดียวกันกับ Evernote เลย

เราก็บันทึกเก็บไว้ตั้งแต่ร้านหรูในห้างไปจนถึงร้านตั้งขายข้างถนน หลังจากที่บันทึกมานานพบว่าเป็นคลังร้านอาหารที่เยอะพอสมควรส่วนใหญ่ก็อยู่ใกล้กับที่ทำงาน ที่พัก สะดวกมากขึ้นตอนหยิบขึ้นมาให้เพื่อนได้ดูว่าร้านนี้อยู่ตรงไหน เคยไปทานมาแล้ว รสชาดอาหารเป็นอย่างไรบ้าง บางครั้งเมื่อทานเสร็จอาจต้องเปิดแอพมาลงความเห็นไว้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่อันนี้ไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่นัก ทำแค่ถ่ายรูปร้าน เมนูอาหาร อาหารที่สั่ง กินจนอิ่มแต่มักจะลืมให้ความคะแนนบ่อยๆ แต่เมื่อเปิดมาดูภายหลังก็ยังพอจำได้นะว่าอร่อยหรือไม่อย่างไร

Evernote Food for Android

นอกจากนี้ใน Evernote Food ยังมีฟีเจอร์อื่นอีก เช่น การค้นหาร้านอาหารที่ใกล้กับจุดที่เราอยู่(Restaurants) ข้อมูลการทำอาหารเมนูใหม่ๆ(Explore Recipes) ยอมรับว่าไม่ค่อยได้ใช้งานเลย หลักๆมีเพียงบันทึกเมนูอาหารและร้านอาหารที่ไปทานมา(My Meals) เท่านั้น ซึ่ง Evrnote Food ก็ทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างดีเยี่ยม และแน่นอนว่าเมื่อใช้บัญชีของ Evernote เราก็สามารถเข้าถึงข้อมูลตรงนี้ได้จากหลายๆอุปกรณ์ทั้งมือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ นับว่าสะดวกมากๆเลยทีเดียว

สรุปว่าชอบแอพพลิเคชั่นตัวนี้มากครับ เลยเอามาแนะนำเพื่อนๆ ใครที่ชอบถ่ายรูปอาหาร แทนที่จะมีแค่รูปอาหาร ก็บันทึกรายละเอียดของร้านไว้ด้วยเลยด้วยก็ดีนะครับ

ดาวน์โหลด Evernote Food ได้ที่ Google Play Store และ App Store 

LastPass เพราะเราขี้เกียจจำ User และ Password

LastPass

อยู่ๆก็อยากพูดถึง LastPass ขึ้นมาครับ น่าจะเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ในคอมของเราจะขาดไม่ได้เอาเสียเลย

LastPass เป็นอีกหนึ่งบริการช่วยจำรหัสล็อกอินเว็บไซต์ต่างๆของเรา รวมถึงการช่วยสร้างรหัสที่มีความปลอดภัยสูง ใช้งานมาได้พักหนึ่งแล้วและตอนนี้ก็ยังใช้อยู่ ไปเจอบริการตัวนี้ครั้งแรกจาก TIME’s 50 Best Websites 2012 แล้วก็ทดลองใช้ตั้งแต่ตอนนั้น ลองค้นดูพบว่ามีบริการในลักษณะนี้อยู่สองสามเจ้าในตลาดที่แข่งขันกันอยู่ ได้แก่ LastPass, 1Password, mSecure แต่มีแค่ LastPass ที่มีเวอร์ชั่นฟรี

ความสามารถหลักๆของ LastPass ที่ใช้อยู่คือ ให้ช่วยจำรหัส จำข้อมูลส่วนตัว(ชื่อ,ที่อยู่) ตอนที่จะเราจะล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรือต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเราเอง LastPass ช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้อย่างดี

ตอนนี้มีเว็บไซต์ต่างๆประมาณ 200 กว่าเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิก มีรหัสเข้าใช้งานอยู่ประมาณ 10 แบบที่แตกต่างกัน แต่ละชุดค่อนข้างยาว ตัวที่ยาวสุดคือมีอักขระเกือบ 30 ตัว แต่ก่อนเว็บไซต์ที่นานๆครั้งจะได้เข้าใช้งานจะซุ่มรหัสใน 10 แบบที่เรามีไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ หรือแม้แต่จำได้ถ้าจะให้พิมพ์รหัสยาวๆเองทุกครั้งก็ไม่สะดวกเอามากๆเลยล่ะ ส่วนใน Google Chrome ก็มีระบบช่วยจำให้เหมือนกัน แต่การบริหารจัดการนั้นไม่สะดวกเอาซะเลย ใช้ LastPass ลงตัวกว่ามาก จะจัดหมวดหมู่ แก้ไข คัดลอก ทำได้ง่ายกว่ามาก ตอนนี้เลยจำแค่รหัสล็อกอินเข้า LastPass เพียงตัวเดียวที่เหลือก็ให้โปรแกรมช่วยจำ ช่วยจัดการให้

แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเหมือนกัน นั้นคือตัวแอพ LastPass ที่ใช้งานในมือถือหรือแท็ปเล็ตต้องจ่ายตังค์แบบรายปีซึ่งถือว่าหลายตังค์เหมือนกัน(24$/Y) ทำให้อาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ แต่เราใช้เฉพาะในคอมก็ยังสะดวกกว่าไม่ได้ใช้อยู่ดี อีกข้อหนึ่งที่น่าห่วงเหมือนกันคือความปลอดภัยถ้าเราทำรหัสของ LastPass แค่อันเดียวหลุดไป คนที่ได้ไปก็อาจจะได้รหัสอื่นๆไปด้วย อันนี้ต้องระวังมากๆด้วย ซึ่งเราเองก็ต้องชั่งใจอยู่นานเหมือนกันว่าระบบของเขาปลอดภัยแค่ไหน ซึ่งเท่าที่ศึกษาข้อมูลจากหลายๆที่ก่อนตัดสินใจใช้ ก็พอตอบได้ว่าไว้ใจได้ แต่ก็มีรหัสบางตัวที่สำคัญมากๆ เช่นเกี่ยวกับการเงิน ก็จะไม่เอาเข้าไปเก็บไว้ใน LastPass เลย

สรุปว่า LastPass ช่วยให้การท่องโลกอินเทอร์เน็ตของเราสะดวกขึ้นมากๆ ***แนะนำให้ใช้กับเครื่องคอมของตัวเองเท่านั้นนะครับ

LastPass: https://lastpass.com/

เปลี่ยนความยาวคลื่นแสงเป็นโค้ดสี

บันทึกงานแบบสั้นๆเก็บไว้ครับ ปัญหาเกิดตอนที่จะทำภาพแบบ Grayscale ที่ได้จากกล้องให้เป็นภาพสี เรารู้ว่าภาพที่ได้เกิดจากแสงที่มีความยาวคลื่นเท่าไหร่ในระดับนาโมเมตร คำถามที่ตามมา คือ แล้วแสงที่มีความยาวคลื่นเท่านี้ มันเป็นสีอะไร?

แสงที่ตาเรามองเห็นมีความยาวคลื่นประมาณ 390->750 นาโนเมตร ถ้านึกไม่ออกคิดถึงแฉดสีของรุ้งกินน้ำครับ

Spectrum

ม่วง->คราม->น้ำเงิน->เขียว->เหลือง->ส้ม->แดง

ยกตัวอย่าง ถ้าหากแสงที่ความยาวคลื่น 532 นาโมเมตร ตาเรามองที่เลเซอร์ก็รู้ว่าเป็นแสงสีเขียว แล้วจะใช้โค้ดสีตัวไหนดีในขั้นตอนใส่สีถึงจะถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด? (เขียวเข้ม เขียวอ่อน เขียว ฯลฯ อะไรประมาณนี้)

นึกอยู่สักพักก็ทดลองเอาแผ่น color checker ไปถ่ายภาพคู่กับแสงที่อยากรู้ เอาเข้า photoshop ปรับแสงสีให้สีใน color checker ถูกต้อง แล้วหยิบเอาสีของแสงที่ต้องการออกมา ดูว่ามีโค้ดอะไร บันทึกเก็บไว้ ภายหลังรู้วิธีที่ง่ายกว่านี้ แต่โค้ดสี RGB ที่ได้จากวิธีนี้ก็ใกล้เคียงพอสมควร แต่คงลำบากมากถ้าต้องทำหลายๆตัว และยังมีปัจจัยอื่นอีกหลายๆอย่างที่เราควบคุมได้ยาก

หลังจากนั้นเลยพยายามลองค้นหาข้อมูลดู คิดว่าเรื่องพื้นฐานแบบนี้ต้องมีคนเจอเหมือนกันสิ แล้วก็พบ เรื่องแบบนี้คนอื่นเขามีปัญหาเหมือนกัน และก็คิดทางออกไว้หมดแล้ว

Chromaticity coordinates
  • อันแรกใช้งานผ่านเว็บไซต์ได้เลยที่ Wavelength To RGB เว็บนี้ใส่ความยาวคลื่นแสงในหน่วยนาโนเมตรเข้าไป เว็บจะคำนวณแล้วรายงานรหัสสี RGB, Hex มาให้เลย ง่ายและสะดวกดี
  • มีคนทำโปรแกรมให้ใช้ง่ายๆ สำหรับ Windows ด้วยนะ ดาวน์โหลดได้ที่ wavelengthtoRGB เอา Algorithm มาจาก https://www.midnightkite.com ผลลัพท์ที่ได้ต่างกับตัวที่ใช้บนเว็บนิดหน่อย แต่ไม่ซีเรียสขนาดนั้น เพราะเราแยกสีสองอันไม่ออกหรอก!
  • มีรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับ Spectrum&RGB ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับสี วิธีการอนุมาณสีจากความยาวคลื่นในแบบต่างๆ ปัจจัยที่ทำให้สีที่ได้แตกต่างกัน ดูได้ที่ https://mintaka.sdsu.edu, https://www.fourmilab.chhttps://www.techmind.org
จบด้วยภาพเทียบระดับของ RGB, ความยาวคลื่น, สีที่มองเห็น
ความยาวคลื่นเทียบกับสีที่มองเห็น

ก่อนจะฉลาดต้องโง่ก่อนสินะ!

BEST OF APPS แนะนำโปรแกรมที่สุดยอดของทุกแพลตฟอร์ม

BEST OF APPS

ในเว็บไซต์ makeuseof จะมีอยู่หัวข้อหนึ่งชื่อ BEST OF APPS เป็นหน้ารวมโปรแกรมที่ยอดเยี่ยมในหมวดต่างๆของแต่ละแพลตฟอร์มที่ใช้ๆกันอยู่ปัจจุบัน รู้สึกว่าทำได้ดีจังเลย เขาจัดทำมานานแล้วล่ะ หลายโปรแกรม หลายเว็บไซต์เราก็เจอจากหัวข้อนี้ ลองดูว่าเขาจัด BEST OF APPS ของอะไรไว้บ้าง

  • BEST WEBSITE
  • BEST WINDOWS SOFTWARE
  • BEST LINUX SOFTWARE
  • BEST MAC APPS
  • BEST ANDROID APPS
  • BEST IPHONE APPS
  • BEST IPAD APPS
  • BEST CHROME EXTENSIONS
  • BEST FIREFOX ADDONS
  • BEST WORDPRESS PLUGINS
  • BEST PORTABLE APPS
  • BEST LINUX DISTROS

เรียกได้ครบทุกแพลตฟอร์มที่สามารถติดตั้งโปรแกรมหรือส่วนเสริมลงไปได้เลยทีเดียว เมื่อคลิกเข้าไปเราจะพบรายการของ Apps ที่แยกเป็นหมวด เช่น เกี่ยวกับ ภาพ เพลง หนัง เอกสาร ป้องกันไวรัส เป็นต้น ในแต่ละ Apps มีคำอธิบายสั้นๆไว้ให้พร้อมกับลิงค์ไปดูรีวิวแบบเต็มและลิงค์ดาวน์โหลดโปรแกรม ถ้าเพื่อน ได้คอมพิวเตอร์หรือมือถือเครื่องใหม่มา แล้วถามว่า “จะลงโปรแกรมอะไรบ้าง” สามารถแนะนำหน้านี้ให้ได้เลยครับ

ลิงค์ไปที่หน้า BEST OF APPS

Exit mobile version