ปลั๊กอิน WordPress ทำ Sitemap แสดงบนหน้าเว็บไซต์

WP Multilingual Sitemap

WP Multilingual Sitemap เป็นปลั๊กอิน ที่เอาไว้สร้าง Sitemap ที่เป็น HTML ไม่ใช่  Sitemap ที่เป็นไฟล์ XML เอาไว้ให้ boot มาดึงไปใช้ หรือเอาไว้ submit พวก search engine ที่แทบจะทุกเว็บต้องลงไว้ แต่ตัวนี้เอาไว้แสดงหน้าเว็บไซต์ให้คนที่เข้ามาที่เว็บไซต์ง่ายต่อการค้นหา ข้อดีของมันคือ เมื่อติดตั้งปลั๊กอินตัวนี้แล้ว เราต้องการให้ Sitemap แสดงที่หน้าไหน ก็ใส่ Short code เข้าไปได้เลย โดยเลือกแสดงลิสต์ที่เป็น Page, เป็น Post, หรือแสดงลิสต์ Post แยกตาม Category ก็ได้

ตัวอย่างการใส่ค่า ในหน้า Page

WP Multilingual Sitemap

ลองใช้มาได้ 2-3 วันแล้ว แต่ยังไม่ได้เขียนถึง มันแสดงผลออกมาได้ดีตามที่อยากให้เป็น ส่วนเว็บใครที่มี sub category เยอะ คิดว่าจะถูกใจเลยทีเดียว สนใจอยากดูตัวอย่างการใช้งานดูที่นี้ได้เลยครับ https://www.amphur.in.th/sitemap/

WordPress เลือกแสดงแค่บาง Category

Biomed.in.th

ช่วงนี้ในเว็บ Biomed.in.th มีข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป กับข่าวเปิดรับสมัครทุน และสมัครงานผู้ช่วยวิจัยเยอะหน่อย ซึ่งมันก็ถือว่าดีเลยล่ะถ้ามันจะเป็นแหล่งหางานให้กับคนที่จบด้านนี้ แต่แค่รู้สึกว่าการแสดงข่าวประชาสัมพันธ์รับสมัครงานปนกับบทความวิชาการอื่นๆ ในหน้าหลักเรียงกันหลายๆอันมันรู้สึกว่าดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มันให้ความรู้สึกว่าจะกลายเป็นเว็บสมัครงานแทนซะงั้น เลยลองเปิดดูใน codex.WordPress ดูว่ามีส่วนของการจัดการโพสอย่างไรบ้าง ก่อนหน้านี้ก็เคยเขียนเกี่ยวกับ Sticky ของ WordPress ไว้เหมือนกัน ซึ่งลักษณะการเขียนก็คล้ายๆกัน ผมเอามาบันทึกเก็บไว้เผื่อได้เรียกใช้งานในครั้งหน้า ส่วนใครที่รู้อยู่แล้วก็ผ่านไป

ปกติแล้วการเรียกวนลูปให้แสดงโพสใน WordPress มี โค้ดสั้นๆดังนี้

<?php if ( have_posts() ) : while ( have_posts() ) : the_post(); ?>
.....
<?php endwhile; ?>

แต่ในกรณีของเว็บ Biomed.in.th เราไม่ต้องการให้โพสที่อยู่ใน Category ของกลุ่มโพสสมัครงาน(ต้องสร้างไว้ก่อนแล้ว) แสดงในหน้าแรก ให้เปลี่ยนโค้ดด้านบนเป็น แบบนี้ครับ

<?php query_posts($query_string . '&cat=-3,-8'); ?>
 <?php if ( have_posts() ) : while ( have_posts() ) : the_post(); ?>
.....
<?php endwhile; ?>

ตรงเลข -3,-8 คือ ID ของ Category ที่เราไม่ต้องการให้มันแสดง ใส่ได้ตามต้องการ
นอกจากนี้ยังมีวิธีการใส่ Style แยกตาม Category การวนหลายลูป ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ที่นี้ https://codex.WordPress.org/The_Loop

แล้วถ้าเอาออกจากหน้าแรกแล้ว จะเข้าไปดูยังไง ผมก็เลยสร้างลิงค์ของ Category ข่าวกับงาน ขึ้นมาโดยเฉพาะ ใครสนใจจะได้คลิกเข้าไปดูได้เลย

เพิ่มเมนู News & Jobs ให้ Biomed.in.th

แล้วนอกจากนั้นยังเพิ่ม Widget ที่เลือกแสดงแค่บาง Category ได้ มันคือปลั๊กอินที่ชื่อ List Category ก็ติดตั้งแล้วดึงมาโชว์ไว้ Sidebar ด้วยอีกอัน

WordPress backup and restore ไม่ต้องมี plugin

WordPress-backup

บล็อกผมในตอนแรกตัว WordPress จะอยู่ที่ folder ชื่อ 2009 ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ www.amphur.in.th ผมต้องทำ redirect ไปที่ 2009 เว็บไซต์ก็จะเป็นแบบนี้ www.amphur.in.th/2009 ตอนแรกที่ทำแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าเราทำ folder ไว้คงทำให้บริหารจัดการง่ายแต่พอใช้ไปรู้สึกว่าไม่สะดวกแล้ว และไม่เป็นผลดีกับการทำ seo ด้วย จึงต้องการเอา WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก ขั้นตอนในการทำง่ายมากครับ ไม่ต้องลง WordPress plugin แต่อย่างใดเพราะ WordPress มีเครื่องที่จะช่วยให้เราทำการ

backup และ restore ได้เลย เริ่มขั้นตอนการทำเลยแล้วกัน

  1. login เข้าไปใช้งานใน WordPress admin คลิกที่เมนูซ้ายมือในหัวข้อ “เครื่องมือ”
  2. เลือกหัวข้อ “นำออก” ดังรูป

    WordPress-tools

  3. ในหน้าจะแสดงข้อความอธิบายการนำออกดังนี้

    เมื่อคุณกดปุ่มด้านล่าง เวิร์ดเพรสจะสร้าง ไฟล์ XML file สำหรับบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ รูปแบบนี้ เราเรียกว่า เวิร์ดเพรส eXtended RSS หรือ WXR ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วย เรื่อง, หน้า, ความเห็น, custom fields, หมวดหมู่และป้ายกำกับ เมื่อคุณบันทึกไฟล์ดาวน์โหลดแล้ว คุณสามารถใช้คำสั่งนำเข้าในบล็อกเวิร์ดเพรสอื่นเพื่อนำเข้าบล็อกนี้

  4. ทางเลือกให้เลือก “ผู้เขียนทั้งหมด” เสร็จแล้วคลิก ดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ backup ชื่อ WordPress.ปี-เดือน-วัน.xml
  5. จากนั้นผมก็ copy ไฟล์ของ WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก แล้วก็ลบไฟล์ในนั้นทิ้ง
  6. เข้าไปที่ phpmyadmin ของเราทำการ backup database ไว้ก่อนเผื่อเกิดอุบัติเหตุเมื่อ backup เสร็จแล้ว drop ตารางทิ้งเลยครับ
  7. เข้าไปที่ root directory ของเว็บเราลบไฟล์ wp-config.php อันเก่าทิ้งไป และอับไฟล์ wp-settings.php ไปแทนทำเหมือนจะติดตั้งใหม่ จากนั้นก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา www.amphur.in.th รันติดตั้ง WordPress ตามปกติ
  8. เมื่อติดตั้งเสร็จเล้วเข้าไปที่การ “นำเข้า” ตามขั้นตอนที่ 2
  9. เลือกหัวข้อ WordPressดังรูป

    WordPress-restore

  10. คลิก browse ไปที่ไฟล์ที่เราทำไว้ในขั้นตอนที่ 4 ที่เราเรียกว่าไฟล์ WXR เสร็จแล้วคลิกอับโหลด
  11. เข้าไปตรวจสอบเนื้อหา ต้องแก้ที่อยู่ของไฟล์ภาพ และ plugin จะใช้ไม่ได้(ลบออกลงใหม่)

ข้อดี วิธีนี้อาจจะไม่ดีแต่เป็นวิธีที่ผมทดลองใช้รู้สึกว่าเร็วดี อาจจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แต่ผมไม่รู้เลยต้องใช้วิธีนี้
ข้อเสีย plugin อันเก่าที่ติดตั้งไว้ใช้งานไม่ได้ และ widget ก็หายด้วย

Exit mobile version