ตัวช่วยสายเที่ยว แอพเดียวจบ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก

Traveloka ตัวช่วยสายเที่ยว แอพเดียวจบ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก

ก่อนออกเดินทางท่องเที่ยว เราต้องมีการวางแผนการเดินทางกันเสียก่อน เช่น เส้นทาง สถานที่ท่องเที่ยว ตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก ฯลฯ วันนี้ขอแนะนำผู้ช่วย ทั้งจองตั๋วเครื่องบินและจองที่พัก

Traveloka ตัวช่วยจองเที่ยวบินและที่พักออนไลน์ มีให้ใช้ผ่านทั้งบนเว็บ และแอปพลิเคชั่นทั้งใน iOS และ แอนดรอยด์

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Play Store และ  App Store

 

หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะแนะนำวิธีการใช้งานแบบง่ายๆให้ครับ ผมใช้มือถือแอนดรอยด์เป็นหลัก ดังนั้นการแนะนำวิธีการใช้งานก็จะแนะนำผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ แต่ดูจาก UI แล้วก็ไม่น่าแตกต่างกันสำหรับคนใช้ iOS ก็ดูได้เหมือน

1. วิธีการใช้งานแอพ Traveloka ค้นหาและจองตั๋วเครื่องบิน

หน้าหลักของแอพ ค่อนข้างเรียบง่าย และมุงไปที่จุดประสงค์ของแอพเลยนั้นคือ การจองตั๋วเครื่องบินและจองโรงแรม

Traveloka หน้าหลัก

เมนูหลักอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ข่าวสารและโปรโมชั่น การแจ้งเตือนราคาของตั๋วเครื่องบินเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เหมาะกับนักท่องเที่ยวสายประหยัด รอโปรโมชั่นและตั๋วราคาถูก รายละเอียดการจองของเรา(e-ticket)

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาเที่ยวบินและเปรียบเทียบราคา

ค้นหาเที่ยวบินและเปรียบเทียบราคา

เมื่อกดเข้าไปในเมนู ค้นหาเที่ยวบิน ก็จะพบช่องใส่รายละเอียดของเที่ยวบินที่เราสนใจ ต้นทาง-ปลายทาง วันเดินทาง จำนวนผู้โดยสาร ชั้นโดยสาร เมื่อใส่รายละเอียดครบถ้วนแล้ว กด ค้นหา 

รอสักพัก แอพจะค้นหาเที่ยวบินจากสายการบินต่างๆมาให้เราได้เลือกและมีเปรียบเทียบราคาให้ โปรดสังเกตครับ จะมีคำว่า “ดีลสำหรับแอป” ซึ่งบอกว่าราคาถูกกว่า ผมตามไปแช็คแล้วว่ามันราคาถูกกว่าจองจากสายบินโดยตรงหรือไม่ คำตอบคือ ถูกกว่าจริงครับ ถึงจะถูกกว่าไม่กี่บาท แต่ก็ถูกกว่าครับ

จุดเด่นที่ขอแนะนำ เมื่อกดที่เมนู “จัดลำดับ” จะสามารถเรียงลำดับผลการค้นหาได้ตาม ราคาต่ำสุด เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย และระยะเวลาในการเดินทาง หรือถ้าต้องการ “จำกัดการค้นหา” ที่เฉพาะมากขึ้น เช่น บินตรง เฉพาะบางสายการบิน เป็นต้น

อีกฟังก์ชั่นพิเศษ ให้เราสังเกตคำว่า “Smart Combo” ที่จะช่วยจับคู่เที่ยวบินไป-กลับให้เราโดยอัตโนมัติ ทำให้ราคาตั๋วถูกลงอีก

ขั้นตอนที่ 2 จองและชำระเงิน

จองและชำระเงิน

หลังจากเลือกเที่ยวบินได้แล้ว กดใส่รายละเอียดการติดต่อและรายละเอียดผู้โดยสาร จากนั้นตรวจสอบรายละเอียดการจอง กดดำเนินการต่อ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงิน

อีกหนึ่งข้อดีของ Traveloka คือการมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย เอาใจคนไทยสุดๆ ด้วย 4 ช่องทางการชำระเงิน ได้แก่ เคาน์เตอร์เพย์เมนต์ (7-11, Big-C, m-Pay, Pay@Post, TOT Just Pay, true money, FamilyMart และ Tesco Lotus), เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต และ อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง น่าจะครอบคลุมทุกอย่างที่มีในไทยแล้ว

2. วิธีการใช้งานแอพ Traveloka ค้นหาและจองโรงแรม

การใช้งานแอพ Traveloka ในการค้นหาและจองโรงแรม มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกับการค้นหาตั๋วเครื่องบิน ค่อนข้างง่ายและขั้นตอนมีไม่เยอะ

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาโรงแรมและเปรียบเทียบราคา

ค้นหาและจองโรงแรม

เพียงเราใส่รายละเอียดปลายทาง วันเข้าพัก ระยะเวลา จำนวนผู้เข้าพัก และจำนวนห้อง แล้วกด ค้นหา

Traveloka จะค้นหาโรงแรมในพื้นที่ให้ พร้อมรายละเอียด ราคา คะแนน ฯลฯ เมื่อกดเลือกโรงแรมที่เราสนใจ แอพจะแสดงรายละเอียดของโรงแรมมากขึ้น สามารถดูภาพสถานที่ต่างๆของโรงแรม แผนที่สถานที่ตั้งของโรงแรม รวมถึงรีวิวและความคิดเห็นของผู้ที่เคยเข้าพัก (น่าจะเป็นส่วนของข้อมูลที่สำคัญ ที่ผู้ใช้อยากทราบรายละเอียดก่อนจองที่พัก)

เลือกห้องและจองห้อง

เมื่อดูรายละเอียดของโรงแรมโดยรวมเป็นที่พอใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเข้าดูรายละเอียดของแต่ละห้อง ดูภาพตัวอย่างของพัก จากนั้นกด เลือกห้องพัก ใส่รายละเอียดผู้เข้าพัก ถ้าหากจองให้เพื่อนก็สามารถใส่รายละเอียดของคนเข้าพักได้ จากนั้นเลือก ดำเนินการต่อ เพื่อเข้าสู่ระบบชำระเงิน ซึ่งเราก็สามารถชำระเงินผ่าน 4 ช่องทาง ได้เช่นกัน ได้แก่ เคาน์เตอร์เพย์เมนต์, เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต และ อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง

ข้อดีของการจองโรงแรม เรามักจะเจอค่าอื่นๆอีกตอนจะชำระเงิน แต่ Traveloka รับประกันให้เราว่า ราคาที่แสดงอยู่บนผลลัพธ์การค้นหา คือราคาสุดท้ายที่เราจะต้องจ่ายจริง ไม่มีค่าธรรมเนียมการจอง ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงใดๆเพิ่มเติม ซึ่งก็รวมทั้งการจองตั๋วเครื่องบินด้วยเช่นกัน (อันนี้ดี)

สรุปโดยรวม

  • ราคาถูกกว่าจองโดยตรงจากสายการบินหรือโรงแรม
  • มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย แทบจะครอบคลุมทุกระบบในไทย
  • ไม่มีค่าธรรมเนียม เพิ่มเติม ราคาจริงตามผลค้นหา
  • ระบบเปรียบเทียบราคา ระบบจัดเรียงข้อมูล ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ
  • มีโปรโมชั่นและระบบแจ้งเตือนราคา สำหรับคนรอตั๋วราคาถูก
  • มีบ้างในบางครั้งระบบการจองตั๋วเครื่องบินไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายของสายการบินได้
  • ปัจจุบันยังให้บริการครอบคลุมในบางประเทศ(ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์)

อื่นๆ ที่ควรทราบ

Traveloka มีบริการ 24 ชั่วโมง ผ่านทางโทรศัพท์ 02-118-5400 และผ่าน Live Chat ที่หน้าเว็บไซต์ และบนเฟสบุ๊คเพจ (FB Traveloka)

นอกจากการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น ยังสามารถเข้าไปใช้งานผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ Traveloka.com

Safari อ่านโดเมนภาษาไทยได้ด้วย

เมื่อสัปดาห์ก่อนได้จดโดเมนที่ชื่อเป็นภาษาไทยแนวเดียวกับ ช่วยชาติ.com อะไรทำนองนี้ครับ การ config กับโฮสก็ทำเอามึนๆอยู่เล็กน้อย ดีที่มี support บริการดี ก็เนื่องจากว่ามาตรฐาน IDN (Internationalized Domain Name) จะเปลี่ยนชื่อเป็นอะไรที่ประหลาดๆอ่านไม่รู้เรื่องขึ้นต้นด้วย xn-- แทนที่จะจำง่ายกลับจำยากเมื่อคนที่เข้าเผลอเข้ามา ไม่พิมพ์เข้ามาเอง

ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งที่เจอกับตัวเอง ผมเข้าที่เว็บของททท.มีแบนเนอร์อันหนึ่งสวยมาก พอคลิกเข้าไปก็เจอเว็บที่รวมรูปสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆเยอะเลย แต่ว่าเว็บไซต์นี้ถูกจดด้วยชื่อโดเมนภาษาไทย แล้วในเว็บก็ไม่มีชื่อเว็บไว้ด้วย สรุปว่าเปิดไปเปิดมาตั้งนานยังไม่รู้ว่าเว็บไซต์นี้ชื่ออะไร! จะจำตัวอักขระ xn--… ก็คงจำไม่ได้ ทางเดียวคือต้อง bookmark บอกต่อคนอื่นได้ค่อนข้างยากเหมือนกัน ผมเลยมองว่าแทนที่จะเป็นจุดแข็งที่สามารถใช้ชื่อโดเมนเป็นภาษาท้องถิ่นได้ กลับเป็นจุดด้อยไปอย่างน่าเสียดาย

ปัญหานี้ผมมองข้ามมันไปแล้วว่าน่าจะเป็นที่ระบบคงแก้ไขอะไรมากไม่ได้ ทางที่ดีคือเพิ่มชื่อเว็บไซต์ลงไปในเว็บไซต์ให้เห็นด้วย แต่วันนี้ดันลองเปิดเว็บด้วย Safari 5 เฮ้ย! (สะดุ้ง ตกใจ) บน address bar ของ Safari แสดงชื่อเว็บไซต์เป็นภาษาไทยเลย!

มาดูภาพเปรียบเทียบการแสดงที่อยู่ของเว็บไซต์ใน Safari 5.0, Firefox 5.0 และ Chrome 12

Safari 5.0 อ่านชื่อโดเมนภาษาไทยได้
firefox 5.0 แสดงที่อยู่ของเว็บไซต์เป็นโค้ด
Chrome 12 แสดงที่อยู่เว็บไซต์เป็นโค้ด

ทั้งหมดในเครื่อง Mac ครับ ส่วนใน IE และ Windows ผมไม่ได้ลอง ถ้าใครลองแล้วเขียนคอมเม้นต์บอกด้วยนะครับ อยากรู้เหมือนกัน

แสดงว่ามันขึ้นอยู่กับ Web browser ต่างหากที่จะแสดงผลแบบไหน ในอนาคตคิดว่าตัวอื่นๆนอกจาก Safari ก็น่าจะอัพเดตให้แสดงผลเป็นชื่อของภาษาถิ่นได้เหมือนกัน ถึงตอนนั้นเราอาจจะลบจุดด้อยที่กล่าวไว้ข้างต้นได้

สรุป ถ้าอยากรู้ว่าชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทยชื่ออะไร อ่านใน Firefox, Chrome ไม่ได้ ต้องเปิด Safari มาอ่านดูครับ

ลองทดสอบเข้าไปที่เว็บ https://www.ปฏิบัติการสร้างหัวใจใหม่.com/ แล้วดูว่าที่เครื่องของคุณอ่านได้หรือปล่าว

10 อย่างที่ Android ชนะ iOS

ตอนที่แล้วเป็น 10 อย่างที่ iOS ชนะ Android มาคราวนี้ถึงเวลาที่ Android จะได้โต้กลับบ้าง ในรายละเอียดของ 10 อย่างต่อไปนี้เป็นฟีเจอร์ของ Android ที่ iOS สู้(ยัง)ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น jailbreak หรือไม่ jailbreak ก็ตาม ผมเขียนตามความเข้าใจ ส่วนใครอยากอ่านต้นฉบับตามไปดูได้ที่ลิงค์นี้ Top 10 Awesome Android Features that the iPhone Doesn’t Have

10 อย่างที่ Android ชนะ iOS

  1. Alternate Keyboards
    Alternate Keyboards

    คีย์บอร์ดแบบแปลกๆที่ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น ให้เราได้เลือกใช้งานมากมาย เช่น แบบลากนิ้วอย่างเช่น Swype หรือวิธีการเดาคำศัพท์แบบแปลกๆอย่าง 8pen และยังง่ายต่อการติดตั้ง แม้ว่า iPhone ก็มีคีย์บอร์ดอื่นๆให้เลือกเหมือนกัน แต่จะมีเฉพาะในรูปแบบของ app แยกต่างหาก ไม่ได้เป็นคีย์บอร์ดโดยตรงอย่างเช่นใน Android

  2. Automation
    Automation

    มีอีกอย่างที่มีประสิทธิภาพมากของ Android คือโปรแกรมที่สามารถเข้าถึงการตั้งค่าต่างๆของเครื่องได้แทบทุกส่วน อย่างเช่นโปรแกรมชื่อ Tasker เวลาเปิดเครื่องใช้งานทุกจะอย่างจะทำงานอัตโนมัติทุกอย่างตามที่ตั้งค่าไว้ อย่างเช่น เมื่อไหร่จะเปิดหรือปิด GPS การตั้งเวลาปลุกแบบละเอียด ควบคุมเสียงโทรศัพท์เมื่อมีสายเข้าได้อย่างละเอียด เช่น ให้เสียงเงียบเมื่อคว่ำหน้าลง เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้หาไม่ได้ใน iOS

  3. Custom Home Launchers
    Custom Home Launchers

    ใน iOS ก็สามารถปรับแต่ง Home Launcher ได้เล็กน้อยในตัวที่ทำ jaibreak แต่คงปรับแต่งได้ไม่เท่ากับใน Android ทำได้แน่นอน มี launcher มากมายให้ได้ลองเลือกใช้ อย่างเช่น ปรับแต่งหน้าตาไอคอนของ app ใหม่ หรือปรับแต่งให้มือถือทำงานได้เร็วขึ้น  ตัวที่มีคนแนะนำเยอะก็เช่น LauncherPro, ADWLauncher เป็นต้น

  4. Widgets
    Widgets

    แม้ว่า widget จะกินเนื้อที่ไปบ้าง แต่มันทำให้ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น มีหลายๆอันที่มีประโยชน์ อย่างเช่น ตัวรายงานสภาพอากาศ ตัวควบคุมการเล่นเพลง ตัวแจ้งเตือนสำหรับ twitter/facebook กลุ่มของปฎิทิน หรือ to-do list ใน iOS ทำได้เล็กน้อยในหน้า lock screen ซึ่งทำได้เฉพาะในตัวที่ jailbreak

  5. Removable Storage and Battery
    Removable Storage and Battery

    นี้อาจจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ OS ซะทีเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นอีกส่วนดีที่มีใน Android devices คือการถอดแบตอเตอรี่เพื่อซ่อม เพื่ออัพเกรดให้ดีขึ้น หรือสำรองแบตเตอรี่อีกตัวยามที่ต้องการใช้งานยาวนานขึ้นในจุดที่ไม่ที่ชาร์ตไฟ และอีกความได้เปรียบคือการเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลให้ Android phone ด้วย SD card ที่ใน iOS ไม่รองรับ

  6. Wireless App Installation
    Wireless App Installation

    การเปิดดู apps ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ทำให้ดูรายละเอียด และการจัดการได้ง่ายมากกว่าดูผ่านทางหน้าจอมือถือ ใน iOS สามารถติดตั้ง apps ผ่านทางการโหลดในมือถือกับโหลดผ่านทาง iTunes แล้ว Sync ผ่านทางสายเชื่อมเท่านั้น แต่ใน Android market หรือ Store ของค่ายอื่นๆ เช่น AppBrain เราสามารถค้นหา apps ที่เราสนใจ แล้วคลิกติดตั้งที่หน้าเว็บไซต์ แล้ว apps จะโหลดลงมือถือและติดตั้งให้เอง เมื่อมือถือต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องมีขั้นตอนอื่นๆให้ยุ่งยากอีกเลย

  7. Custom ROMs
    Custom ROMs

    เนื่องจาก Android เป็น open source จะมีนักพัฒนานำไปปรับแต่งได้อย่างอิสระ เช่นปรับแต่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้เร็วขึ้น ใช้งานแบตเตอรี่ได้นานขึ้น และอื่นๆอีกมากมาย ตัว Custom ROMs พวกนี้มีให้เลือกใช้ฟรีมากมาย หรือถ้าคุณเป็น Geek อยากทำเวอร์ชั่นของตัวเองไว้ใช้เฉพาะของตัวเองก็ยังได้ ตัวที่ได้รับนิยมเช่น CyanogenMod, MIUI

  8. Controlling Your Phone From Your Computer
    Controlling Your Phone From Your Computer

    อีกหนึ่งคุณสมบัติของ Android คือสามารถควบคุมมือถือผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้ เช่นส่งข้อความจากคอมพิวเตอร์ไปที่มือถือ ควบคุมกล้อง, ส่ง SMS, ตรวจหา location ของมือถือ, เข้าถึงไฟล์ในเครื่อง นอกจากนั้นยังสามารถส่ง notifications จากมือถือไปแสดงที่คอมพิวเตอร์ได้ ใน iOS ก็มีความสามารถนี้เช่นกันแต่ทำงานได้เฉพาะฟังชั่นพื้นฐานบางอันเท่านั้น

  9. Flash
    Flash for Android

    Flash ยังมีความสามารถมากกว่า HTML5 อยู่เยอะ ทำให้ในเว็บไซต์ต่างๆยังคงมี Flash เป็นส่วนประกอบอยู่มาก เช่น วีดีโอ เกมส์ โปรแกรมออนไลน์ ซึ่งใน Android รองรับ Flash อย่างเต็มตัว ส่วนใน iOS แม้จะ app ที่ช่วยแปลง Flash แต่ก็ทำงานได้เพียงแค่แก้ขัดเท่านั้น!

  10. True App Integration
    True App Integration

    Google apps ต่างๆถูกออกแแบบมาให้ทำงานได้ดีใน Android แม้ว่าใน iOS ก็มีให้ใช้ แต่จะมาช้ากว่าและคงให้ประสบการร์ใช้งานได้ดีไม่เท่าใน Android เพราะมันถูก intergrate เข้าไปใน OS เลย ไม่ได้พัฒนาขึ้นในระดับบนอย่างใน iOS

10 อย่างที่ iOS ชนะ Android

ปัจจุบัน OS ของ smart device (smartphone, tablet, media player ) มีเยอะมาก แต่ละเจ้าก็อยากจะมี OS เป็นของตัวเอง แต่ถ้าจะบอกว่า 2 อันดับแรกเป็นอะไร? ปัจจุบันคงต้องบอกว่า iOS ของ Apple กับ Android ของ Google ที่สู้กันในระดับลมบนของตลาด มีบทความจาก lifehacker เขียนเปรียบเทียบกันของทั้งสอง OS ไว้ น่าจะเป็นสิ่งที่แฟนๆของแต่ละค่ายรู้ดีและเอามาโจมตีกันอยู่เรื่อย ผมสนใจเลยของแปลแบบบ้านๆเอาไว้อ่านเล่น โดยจะแบ่งเป็น 2 ตอน ให้เกียรติ iOS ก่อน Android เพราะเขาเกิดก่อน ใครอยากอ่านต้นฉบับไปอ่านที่ Top 10 Ways iOS Outdoes Android

10 อย่างที่ iOS ชนะ Android

ทั้ง iOS และ Andiod ในที่นี้ก็หมายความรวมทั้งอุปกรณ์พวก smart device ต่างๆ และสิ่งแวดล้อมโดยรวมของแต่ละ OS เลยนะ

  1. The iTunes Media Store
    The iTunes Media Store

    iTunes ที่เป็นศูนย์รวมสื่อบันเทิงต่างๆของ Apple ทั้งหมด ทั้ง application เพลง หนัง หนังสือ ฯลฯ เชื่อมต่อเข้ากับ smart device ของคุณได้ง่าย เข้าถึงได้ง่ายซื้อได้ในคลิกเดียว ในขณะที่ Andoid สื่อด้านบันเทิงแม้จะซื้อได้ใน Amazon แต่ความสะดวกสะบายยังห่างชั้นกันมาก

  2. AirPlay
    AirPlay

    เป็นคุณสมบัติที่ทำงานร่วมกันของ smart device ที่รัน iOS การสตีมมิ่งสื่อบันเทิงถึงกันทำได้ดีอย่างน่าประทับใจ เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่หาไม่ได้ใน Android

  3. Find My iPhone
    Find my iPhone

    การติดตามมือถือ iPhone (iPad, iPod touch)ที่หายไปของคุณทำได้โดยง่าย และฟรีด้วย เราได้เห็นตัวอย่างการตามล่าหา iPhone ของตัวเองจากหลายๆคนที่เจอและจับมือขโมยได้ด้วย ในขณะที่ใน Android ก็มีเหมือนกันแต่ต้องเสียตังค์ในการใช้บริการ

  4. A Better Support System
    Genius Bar

    เมื่อเกิดปัญหากับ Android ของคุณ เมื่อถามคำถามไปที่โอเปอเรเตอร์ที่คุณซื้อเครื่องมาจะได้คำตอบอันน้อยนิด อีกทั้งยังแก้ปัญหาของเครื่องไม่ได้อีก ต่างจาก iDevices เมื่อเกิดปัญหาขึ้น คุณนำเครื่องไปที่ Apple Store ปัญหาต่างๆจะได้รับบริการแก้ไขอย่างดีเยี่ยม

  5. Better Battery Life and Management
    Better Battery Life and Management

    ระบบจัดการแบตเตอรีที่ดีกว่า จะเห็นได้ว่า Apple จะให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการใช้งานแบตเตอรีมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จาก iPad ที่มีระยะเวลาในการใช้งานที่นานขึ้น เราจะวางใจใช้อุปกรณ์ iOS ได้ตลอดวัน ในขณะที่เราจะไม่ค่อยวางใจได้กับ Andriod  (น่าจะหมายถึงพวก tablet เพราะมือถือ android หลายตัวอยู่ได้นานกว่า iPhone เยอะ)

  6. iTunes and Tethered Syncing
    iTunes and Tethered Syncing

    iTunes เป็นโปรแกรมจัดการกับข้อมูลใน iDevices ได้ดีมาก คุณจะสามารถ backup หรือ restore ข้อมูลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งใน Android แม้จะมีโปรแกรมจัดเหมือนกันแต่ทำได้ไม่ดีเท่าใน iOS
    note: แต่มีหลายๆคนที่ไม่ชอบ iTunes เหมือนกัน เพราะมีข้อจำกัดในการใช้งานหลายอย่างเช่น ข้อมูลทุกอย่างต้อง sync ผ่าน iTunes และไม่สามารถ sync แบบไร้สายได้

  7. No Crapware
    Crapware

    crapware หรือซอฟต์แวร์ที่ผู้ผลิตแถมมากับเครื่อง พบว่าใน Android จากหลายๆโอเปอเรเตอร์แถม crapware มาด้วย อาจจะมีทั้งที่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์กับเรา แต่บางตัวไม่สามารถถอนการติดตั้งออกได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่เจอใน iOS

  8. A Bigger and Better Variety of Apps
    A Bigger and Better Variety of Apps

    iOS มี App มากกว่าและมีจำนวนของ app คุณภาพมากกว่า Android แนวโน้มในปัจจุบันจะพบว่าเกมที่เคยอยู่ในเครื่อง console emulator จะเพิ่มมากขึ้นใน iOS เป็นอีกทางเลือกที่สำคัญที่ทำให้ iOS น่าสนใจมากกว่า อีกทั้ง App store ยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้นักพัฒนา ทำให้จำนวน app ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  9. A Well-Designed, Intuitive User Interface
    A Well-Designed, Intuitive User Interface

    การออกแบบที่ดี มี UI ที่สวยงามใช้งานง่าย ให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีกว่า ความหมายนี้พูดรวมทั้ง iOS และ app ต่างๆด้วย เราจะพบว่า app ต่างๆบน iOS จะถูกออกแบบมาดีกว่าบน Android

  10. Consistency
    Fragmented android

    iOS จะไม่มีปัญหาเรื่อง fragmentation อย่างเช่น Android แน่นอน เมื่อ iOS มีการปรับปรุง อัพเดตเวอร์ชั่นใหม่ มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ของคุณจะได้รับการอัพเดตเช่นกัน ต่างจาก Android ที่มีความแตกต่างทั้งอาร์ดแวร์ และ OS ใช้ระยะเวลานานจนกว่าเครื่องของคุณจะได้รับการอัพเดตแม้ทาง Google จะออกอัพเดตมานานแล้วก็ตาม หรือบางทีเครื่องของคุณก็ไม่รับความสนใจจากผู้ผลิตที่จะการอัพเดตให้

ตอนต่อไป จะถึงคราวที่ Android อัด iOS กลับบ้าง โปรดติดตาม 10 อย่างที่ Android ชนะ iOS

ภาพถ่ายจากดาวเทียม ก่อนและหลังแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิที่ญี่ปุ่น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ฟุกุชิมา

ภาพถ่ายจากดาวเทียม เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดแผ่นดินไหว และเกิดคลื่นสึนามิถล่มญี่ปุ่น ภาพก่อนเกิดเหตุนั้นเป็นภาพถ่ายช่วงปี 2009 และ 2010 และหลังเกิดเหตุ ถ่ายช่วงวันที่ 12 มีนาคม 2011 พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นภาพของเมืองเซ็นได ที่คลื่นสึนามิสร้างความเสียงหายให้เมืองมากที่สุด

ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลัง เกิดแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิถล่ม ที่เซ็นได

เซ็นได สภาพก่อนเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่ม

สภาพของเซ็นได ถ่ายเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2010 จะเห็นได้ว่ามีบ้านเรือนหลายหลังคาเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ

เซ็นได สภาพหลังเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่ม

สภาพ เซ็นได หลังเกิดแผ่นไหว 9 ริกเตอร์ และคลื่นสึนามิยักษ์กวาดบ้านเรือนหายไปเกือบหมดเลยทีเดียว

ดูภาพถ่ายจากดาวเทียมทั้งหมด ได้ที่ https://www.nytimes.com

เมื่อเข้าไปตามลิงค์แล้ว จะเห็นภาพภาพก่อน และหลังเกิดเหตุจะซ้อนกันอยู่ ใช้เมาส์คลิกเลื่อนซ้าย-ขวา เพื่อดูภาพก่อน-หลัง ดังตัวอย่างด้านล่าง

เลือนปุ่มตรงกลางซ้าย-ขวา เพื่อดูภาพก่อนและหลังเกิดเหตุ

flickchart.com มาจัดอันดับหนังในดวงใจกันครับ

fickchart.com

Flickchart เป็นเว็บไซต์สังคมออนไลน์สำหรับคนที่ชอบดูหนัง และจัดอันดับ เปรียบเทียบหนังที่ตัวเองชอบ รูปแบบในการจัดอันดับก็ง่ายๆ คือระบบจะสุ่มหนังมาให้ทีละ 2 เรื่อง ถ้าเราเคยดู และชอบเรื่องไหนมากกว่าก็คลิกที่หนังเรื่องนั้น แต่ถ้ายังไม่เคยดู ก็กดผ่านไป เมื่อกดไปสักพัก เว็บไซต์จะจัดอันดับหนังที่เราชอบมาให้เป็น 20,  50, 250 อันดับ แต่ถ้าดูแล้วอันดับที่เว็บไซต์จัดมาให้ไม่ถูกใจ เราก็เข้าไปจัดทีละเรื่องได้ นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดของหนังแต่ละเรื่องให้ดูอีกด้วยว่าคนส่วนใหญ่ให้อันดับเท่าไหร่ มีคนดูกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วยังจัดเปรียบเทียบชนกันของหนังเจ๋งๆให้ได้โหวตกันอีก

ผมเคยทำหนัง 100 เรื่องที่ผมชอบ เอาลิสต์ลงไว้ใน Facebook เมื่อหลายเดือนก่อน วันนี้มาเจอเว็บไซต์นี้เลยถูกใจลองกดเล่นไปเรื่อยๆ ระบบก็จัดอันดับหนังมาให้ แล้วยังสามารถแชร์อันดับหนังในดวงใจของเราให้เพื่อนได้อีกด้วย เลยอยากชวนให้เพื่อนมาลองเล่นดูครับ

เข้ามาดูอันดับหนังในดวงในของผมได้ที่ https://www.flickchart.com/sarapuk ครับ

เอาคำจำกัดความ Flickchart ของ Mashable มาให้อ่านครับ เขาอธิบายได้ครอบคลุมดี

Flickchart is a social network for film lovers to rate, compare and share their favorite films through a unique game-like one versus one mechanism.-Mashable

และนี้คือ 20 อันดับหนังในดวงใจของผม จัดมาให้ถูกใจเลย

  1. Pan’s Labyrinth
  2. The Lord of the Rings: The Return of the King
  3. A Beautiful Mind
  4. Good Will Hunting
  5. The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  6. The Matrix
  7. Contact
  8. Spider-Man
  9. The Bourne Ultimatum
  10. The Matrix Revolutions
  11. Kill Bill Vol. 2
  12. The Lord of the Rings: The Two Towers
  13. The Dark Knight
  14. The Bourne Supremacy
  15. 300
  16. The Fifth Element
  17. The Exorcist
  18. The Matrix Reloaded
  19. Crouching Tiger, Hidden Dragon
  20. King Kong

สังเกตุเห็นว่ามีแต่หนังเก่า คิดว่าช่วงแรกๆอาจจะเอาหนังเก่าๆที่คนดูเยอะๆมาให้เลือกก่อน

เปรียบเทียบ Canon EOS 550D กับ Sony Alpha DSLR-A580

Compare the Canon EOS 550D vs Sony Alpha DSLR-A580

วันนี้พี่สาวบอกว่ากำลังดูกล้อง DSLR ตัวหนึ่งไว้ คือ Sony Alpha DSLR-A580 ส่วนตัวไม่ได้เป็นเซียนกล้องแต่อย่างใด แต่พอรู้เรื่องกล้องบ้าง เคยเล่นกล้อง SLR ตั้งแต่รุ่นฟิล์ม ไม่มีกล้อง SLR เป็นของตัวเองนะ แต่เล่นของรุ่นพี่มาตลอด รู้หลักการบ้าง เข้าอบรมบ้าง เคยจับ Nikon กับ Canon ตัวที่เล่นจนชินมือปัจจุบันเป็นกล้อง Canon EOS 450D ดังนั้นพอได้ยินกล้อง DSLR ของ Sony จึงฟังขัดๆหู ไม่ค่อยคุ้น ส่วนใหญ่ได้ยินแต่ Nikon กับ Canon เลยลองค้นดูสเปค พร้อมราคา ของมัน Body รวมเลนส์ ของ Sony Alpha DSLR-A58o ราคาอยู่ราว 3 หมื่นต้นๆ เมื่อเห็นสเปคของเจ้า A580 ทันใดนั้นในหัวคิดถึง Canon EOS 550D ขึ้นมาทันที

จากนั้นผมก็ลองค้นดูเว็บไซต์ เจอหลายเว็บที่มีเปรียบเทียบกัน แต่มีเว็บหนึ่งที่ผมว่ามันเจ๋งมาก นั้นคือ snapsort.com เลือกดูการเปรียบเทียบได้ 3 แบบ คือ High level, Specifications, Score ส่วนที่ชอบที่สุด คือเมนู High level มันบอกว่า กล้องแต่ละตัวมันดีกว่าอีกตัว ตรงจุดไหนบ้าง เหมือนกันตรงไหน และส่วนหนึ่งที่เว็บทั่วไปที่เอาสเปคมาเปรียบเทียบมักไม่มี คือจำนวน lenses available ซึ่งผมว่ามันมีประโยชน์มาก

ประเด็นของโพสนี้จึงไม่ใช้การเปรียบเทียบระหว่าง Canon EOS 550D กับ Sony Alpha DSLR-A580 แต่เป็นเว็บ snapsort ที่ทำการเปรียบเทียบกล้องแต่ละตัวได้ดี ใครจะเปรียบเทียบรุ่นไหน ยี่ห้ออะไรใส่ชื่อเข้าไปได้เลย ดูการเปรียบเทียบเต็มๆ ระหว่าง Canon EOS 550D กับ Sony Alpha DSLR-A580

แต่ถ้าจะให้เลือกจริงๆ ระหว่าง Canon EOS 550D กับ Sony Alpha DSLR-A580 ผมก็เลือก Canon EOS 550D เหตุผลเพราะ เมนู ตำแหน่งปุ่มต่างๆ เราคุ้นกับ Canon มากกว่า ราคาถูกกว่าในคุณภาพใกล้เคียง น่าจะหาเลนส์อื่นเพิ่มได้ง่ายกว่า

สถิติเปรียบเทียบกัน WordPress ในเดือนมิถุนายน แซง Joomla แล้ว

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว

การทำเว็บไซต์ยุคใหม่ที่เน้นกันที่เนื้อหามากขึ้น การใช้ CMS(Content Manament System)ในการทำเว็บไซต์จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากงาน BarCampBangkok 3 ที่ ม.ศรีปทุม ที่ผ่านมามีการแข่งขัน showdown CMS ขึ้นตัวที่ได้รับความนิยมในไทยก็ได้แก่ joomla ,WordPress ,drupal ในงานมีการให้ข้อดี-ข้อเสีย ของ CMS ที่ตัวเองใช้อยู่มากมาย เลยอยากรู้ว่าใน Trend ของ CMS ของสามตัวนี้มีมาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

หัวข้อแรกที่ดูคือ Trend ของทุกปีที่ผ่านมา มีการเก็บสถิติตั้งแต่ 2004-2009 ดังภาพข้างบน พบว่ากราฟของทุกตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความชันของ WordPress ค่อนข้างที่จะชันกว่าตัวอื่นๆอยู่เล็กน้อย แต่เมื่อเทียบ Rank ด้วย WordPress แล้วได้ค่าดังนี้ คือ WordPress = 1, drupal =0.34, joomla =1.18 จะเห็นได้ว่าค่าของ joomla จะมากสุด ตัวที่น้อยสุดคือ drupal

แต่เมื่อดูจากกราฟแล้วดูเหมือนเริ่มจะมีการตัดกันของเส้นกราฟของ WordPress และ joomla แล้ว จึงทำการดูย้อนกับไปดูช่วง 3 เดือนล่าสุด
เดือนเมษายน

Google Trend CMS ของเดือนเมษายน 2009

เดือนพฤษภาคม

Google Trend CMS ของเดือนพฤษภาคม 2009

เดือนมิถุนายน

Google Trend CMS ของเดือนมิถุนายน 2009

เดือนเมษายน 2009         WordPress = 1 ,drupal =0.32 ,joomla =1.04
เดือนพฤษภาคม 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =1.01
เดือนมิถุนายน 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =0.98

เดือนมิถุนายน 2009 แม้ว่าข้อมูลของเดือนนี้ยังไม่สมบูรณ์แต่มีความเป็นไปได้สูงมากที่สิ้นเดือนนี้ Rank ของ WordPress ต้องสูงกว่า joomla อย่างแน่นอน

แต่ทั้งหมดนั้นเป็น Trend ของผู้ใช้ทั่วโลก เมื่อมาดู Trend ในประเทศจะเป็นอย่างไรนั้นดูได้ตามตารางข้างล่าง

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว ในประเทศไทย

แต่ในไทย CMS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังคงเป็น joomla อยู่ WordPress ยังคงต้องตามหลังต่อไปครับ

ข้อมูลจาก https://www.Google.com/trends

เปรียบเทียบ Smartphone ใครคือ The Best of the Best

Smartphone

ผู้เข้าแข่งขันในวันนี้ได้แก่ iPhone 3Gs ,iPhone 3G ,Palm Pre ,Android G2 (HTC Magic) ,BlackBerry Storm งานนี้ไม่มี Windows mobile เข้าร่วมแข่งขันด้วยสาเหตุใดนั้นน่าจะเพราะยังไม่เป็นที่สนใจ ความสามารถที่จะทำการเปรียบเทียบ ได้แก่ Hardware ,Software ,และราคา ในการเข้าประกวดครั้งนี้จะไม่มีผู้ชนะ หรือผู้แพ้ แต่คนที่จะตัดสินคือผู้อ่านทุกท่านที่จะตัดสินใจเลือกตัวไหนครับ

หัวข้อแรกเรื่อง Hardware

smartphone hardware

เรื่องที่ดูได้แก่ screens, storage, graphics performance และ input
จอของ iPhone กับ Palm Pre เป็นแบบ Multitouch แต่ G2 กับ Storm เขาเรียกว่า pseudo-multitouch คือสั่งงานผ่านหน้าจอได้แต่ทำเหมือนตัวที่เป็น multitouch ไม่ได้ เรื่องความจุของเครื่อง iPhone 3Gs จุได้เยอะสุดคือ 16 GB/32 GB แต่ ตัว G2 กับ Storm สามารถ เพิ่มความจุได้ด้วย microSD แต่ Pre บอกว่าซับพอร์ต USB mass storage เรื่องการทำงานเกี่ยวกับ กราฟิก คงต้องยกให้ iPhone 3Gs ที่มีความสามารถด้านนี้มากกว่า ตัวอื่น เพราะออกแบบให้รองรับการเล่นเกมด้วย ส่วน Pre คงได้เปรียบที่มี QWERTY keyboard เข้ามา ที่เจ้าอื่นไม่มี และมันก็เป็นที่ต้องการของผู้ใช้อยู่มากเลยทีเดียว ส่วนเรื่องของแบตเตอรี่ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนักส่วนตัวอื่นๆดูในตารางนะครับ

หัวข้อที่สอง Software

smartphone software

แน่นอนเครื่องจะทำงานได้ดีก็ต้องขึ้นอยู่กับ Software ในแต่ละเจ้ามี OS ของตัวเอง และมี Store ไว้ขายโปรแกรมอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบตัวที่เห็นได้ชัดก็คงเป็น จำนวน app ที่ถูกพัฒนา เป้นทางเลือกให้เราเลือกใช้ มีเยอะ มีให้เลือกเยอะย่อมได้เปรียบกว่าเจ้าอื่นแน่นอน

หัวข้อสุดท้ายราคา

smartphone cost

แม้ว่าทุกอย่างดีกว่า แล้วราคาสูงกว่าอย่างมากก็ใช่ว่าจะถูกเลือก ต้องดูว่าความสามารถ
นั้นคุ้มราคาด้วยหรือไม่

สุดท้ายการเลือกมือถือที่เหมาะกับคุณ ราคาที่เหมาะสม ความคุ้มค่าของการใช้งาน เป็นสิ่งที่ต้องคำนึง
มากกว่ตามกระแส อย่างแน่นอน

ข้อมูงจาก GIZMODO

CG+ vs Computer Atrs Thailand นิตยสารกราฟิกพันธุ์ไทย

Computer Graphics Plus Versus Computer Arts Thailand

นิตยสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกของไทยนับว่ามีน้อยมากในแผงหนังสือ ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบหนังสือประเภท ออกแบบ ศิลปะ คอมพิวเตอร์ หนังสือที่ต้องซื้อทุกเดือนคือ ต้นเดือนคือ Bioscope นิตยสารเกี่ยวกับหนัง และกลางเดือนจะมีอีกเล่มคือ CG+(Computer Graphic Plus) ซึ่งเป็นนิตยาสารที่ผมได้ติดตามอ่านมาได้กว่าสองปีแล้วครับ เริ่มอ่านครั้งแรกตอนตีพิมพ์เล่ม 3 และจนถึงปัจจุบันเล่ม ที่ 23 ครับ สองเล่มแรกซื้อทุกเดือนและ iDesign บางฉบับ แต่วันนี้แวะไปที่ร้านหนังสือประจำ ก็เดินไปที่วางหนังสือ CG+ ตามปกติ พบว่ามีนิตยสารใหม่ ออกเล่มแรก ฉบับที่ 01 ชื่อ Computer arts thailand ด้านบนเขียนว่า “การรวมตัวครั้งแรกของนิตยสาร Computer Arts และ 3D World” ผมเลยหยิบมาสองเล่มและทำการเปรียบเทียบกันดูเลยจะใครสนใจจะได้ตัดสินใจเลือกได้ถูก แต่สำหรับผมคงจะสนับสนุนทั้งสองเล่มครับ

หัวข้อ CG+ Computer Arts Thailand
ราคา 100 บาท 150 บาท
จำนวนหน้า
(ดูตามหมายเลขหน้าสุดท้าย)
114 หน้า 138 หน้า
เนื้อหา 1. News และแนะนำเว็บไซต์

2. Hot Stuff การรีวิว Gedget ใหม่ๆ

3.Mactivity มุมสำหรับคนชอบ mac

4.เนื้อแล้วแต่ละเดือน เกี่ยวกับ cg

5.สัมภาษณ์คนในวงการ computer graphic ทั้งคนไทย คนต่างประเทศ

6. มีริวิวโปรแกรมเกี่ยวกับ computer graphic บ้าง เกี่ยวไอทีทั้วไปบ้าง

7. student portfolio ผลงานของน้องใหม่

8.web ,book, hardware รีวิว

9.Tutorial

– ขั้นตอนการทำปก จะเป็นคนที่ถูกสัมภาษณ์นั้นเองที่ต้องทำภาพขึ้นปก

– 3Ds Max

– Photoshop

– Flash

– Illustrator

-Maya

แล้วแต่ละเดือน เดือนละ 4 tutorial

เนื่องจากเป็นนิตยสาร import จากต่างประเทศมาเนื้อหาค่อนข้างที่จะเป็นสากล

1. ผลงานของนัก computer graphic พร้อมสัมภาษณ์

2. Studio of the Month ทำความรู้จัก
ดูผลงาน สัมภาษณ์ studio นั้นๆ

3.In depth

เนื้อหาเกี่ยวกับ โปรแกรม การออกแบบ

เทคนิคใหม่ ฯลฯ

4.Technique

Tutorial โปรแกรม เช่น photoshop Flash , maya ,zbrush , blend มีทั้งหมด 8 Tutorial ในเล่ม

5.Pre-viz

ข่าวงานศิลปะ แอนนิเมชั่น

6.special Feature

งานแอนิเมชั่นของหนังเรื่อง Monsters vs Aliens

7.Need to Know

มี plug in Photoshop ,คำถาม คำตอบ

8.โชว์ผลงาน ,ฉบับหน้ามีอะไร

ของแถม

มีบ้าง ,ไม่มีบ้าง

DVD Resources & Tutorial

ถ้าดูแล้วเนื้อหาภายในของ Computer Arts Thailand ค่อนข้างจะดีกว่าหน่อย แต่ CG+ ก็ดีไม่น้อย และก็ติดตามมานานเข้าปีที่ 3 แล้ว ยังไงก็คงติดตามผลงานของ CG+ ต่อไป แต่ในแต่ละเดือนคงต้องเสียตังค์เพิ่มอีก 150 บาท เพื่อติดตามผลงานของ Computer Arts Thailands

อ้างอิง :  CG+ ฉบับที่ 23  ,Computer Arts Thailand ฉบับที่ 1

Exit mobile version