แจกแอพ WBC Counter for Android ฟรีครับ (แอพเขียนเอง)

แอพพลิเคชั่น WBCCounter

WBCCounter เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับมือถือ Android ครับ ไอเดียง่ายๆครับ นักเทคนิคการแพทย์จะเป็นคนแยกชนิดของเม็ดเลือดขาวจากเลือดตัวอย่างหลังจากย้อมสีแล้วโดยใช้กล้องจุลทรรศน์มองด้วยตาเปล่า อาศัยความเชี่ยวชาญ และทักษะในการคัดแยกชนิด โดยจะรายงานแยกเป็นเปอร์เซนต์ ในโรงพยาบาลทั่วไปในปัจจุบันมือเครื่องอัตโนมัติวิเคราะห์ให้อยู่แล้ว แต่วิธีมาตรฐานที่ต้องย้อมสีและดูโดยผู้เชียวชาญนั้นยังต้องทำควบคู่กันไป

เวลานับแยกชนิดของเม็ดเลือดขวาเราจะเลื่อนสไลด์ไปเรื่อยๆเมื่อเจอเม็ดเลือดขาวเราจะจำแนกชนิด และเลื่อนเพื่อหาตัวถัดไป ทำไปเรื่อยๆจนครบหนึ่งร้อยตัว จึงจะสรุปออกมาว่าในหนึ่งร้อยตัวมีเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ ปัญหาคือ อยู่ในแลปจะมีเครื่องกดเหมือนเครื่องคิดเลขให้ครับ ครบร้อยมันก็จะร้องเตือน แต่ที่ทำงานไม่มีครับ จะเอามือขีดนับทีละตัวก็กะไรอยู่ มือถือก็มี แอพก็ไม่น่าจะยาก สรุปเลยเขียนมาเป็นแอพไว้ใช้เองเลยดีกว่า แต่เขียนแล้วก็อยากจะแชร์ด้วย

ขั้นตอนการเขียน

เนื่องจากเป็นแอพไม่ยากนัก ใช้ https://appinventor.mit.edu ช่วยเขียนก็เอาอยู่ เขียนไปเขียนมาเริ่มสนุก เลยเพิ่มฟีเจอร์เล็กๆน้อยๆเข้าไป เพื่อความสนุก เช่น กดแล้วมีเสียง ก็ใช้ iPod Touch อัดเสียงเพื่อนๆที่ทำงานมาใส่ ต้องขอบคุณ พี่ๆน้องๆทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เป็นเสียงดีดนิ้ว ผิวปาก อะไรทำนองนี้ ต้องลองเดาดูว่าเป็นเสียงอะไร เพิ่มกดแล้วสั่น ตอนรายงานผล บอกด้วยว่าค่าที่ได้ปกติหรือผิดปกติหรือไม่ ใช้เวลาเขียนจริงๆไม่นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง

วิธีใช้

มันเป็นแอพสำหรับนักเทคนิคการแพทย์ คิดว่าแค่เห็นก็น่าจะใช้เป็นอยู่แล้ว แต่ก็ได้ทำลำดับบังคับอยู่นิดๆว่าต้องทำยังไงก่อน ถ้าไม่กดปุ่มนี้ก่อนก็ทำงานต่อไม่ได้ อะไรประมาณนี้

  1. โหลดโปรแกรมมาติดตั้งก่อน WBCCounter.apk ดาวน์โหลด รับรองความปลอดภัยครับ ไม่มีไวรัส ไม่มีโฆษณา
  2. ติดตั้ง แล้วเปิดแอพขึ้นมา
    แอพพลิเคชั่น WBCCounter

    ใส่ชื่อ subject, reporter อันนี้ไม่ได้บังคับใส่

  3. กด Start ต้องกดก่อน ไม่งั้นปุ่มกดนับจะไม่สามารถกดได้ แล้วเราก็พร้อมนับแล้ว

    WBCCounter เริ่มกดนับได้แล้ว

  4. เมื่อเราดูสไลด์และนับจำแนกไปเรื่อยๆจนครบ 100 ตัว โปรแกรมจะเตือนว่า “ครบแล้วครับ” และไม่สามารถกดปุ่มชนิดของเม็ดเลือดขาวได้อีก จากนั้นกดปุ่ม Report ครับ

    ครบ 100 ตัวแล้ว

  5. หน้าตาของการรายงานผลเป็นแบบนี้ครับ
    รายงานผล

    มีบอกช่วงปกติ ถ้าแสดงสีตัวอักษรเป็นสีแดง แสดงว่ามีค่าที่ผิดปกติไป

  6. กด back กลับไปหน้าที่แล้ว ถ้าจะเริ่มนับใหม่ก็กดปุ่ม Reset และกด Start เพื่อเริ่มนับใหม่อีกครั้ง

พอลองเล่นไปสักพัก ต้องมีเขียนเพิ่มอีกนิดคือ ให้มันมีปุ่มปิดเสียง กับปุ่ม undo ไว้ใช้ตอนกดผิดปุ่ม และชนิดของเม็ดเลือดขาวทั้ง 5  ชนิด จะพบได้ในคนปกติทั่วไป ซึ่งยังมีเม็ดเลือดขาวและเซล์ชนิดอื่นๆที่อาจพบได้ แต่ไม่ได้เอาเข้ามาด้วย ในอนาคตอาจทำปุ่มแยกต่างหากเข้ามาด้วย

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจนะครับ

QRCode WBCCounter

รวมข่าว กรณีสภาวิชาชีพไม่รับรองหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สภาวิชาชีพไม่รับรองหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ข่าวหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพฯ ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดสอนต่อได้ จนต้องมีการฟ้องศาลคุ้มครอง เหตุการณ์นี้ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงเป็นนักศึกษาที่ยังไม่รู้ทางมหาลัยจะแก้ปัญหาออกไปทางไหน สำหรับใครที่ไม่ได้ติดตามข่าว ผมลองรวบรวม ข่าว เรียงตามลำดับจากต้นเรื่องไปเรื่อยๆ อาจจะไม่ทั้งหมด แต่ถ้าอ่านเรียงลำดับลงไปจะเข้าใจลำดับเหตุการณ์

เหตุการณ์ลักษณะนี้ ก่อนหน้านี้เคยเห็นมาแล้ว เมื่อครั้งหลักสูตรพยาบาล วิทยาลัยนครราชสีมาไม่ได้รับการรับรอง และจบลงโดย สกอ. ช่วยจัดให้นักศึกษากระจายไปเรียนตามสถาบันต่างๆ  ในเหตุการณ์นี้ยังไม่รู้จะจบยังไง(น่าจะเป็นเหมือนเหตุการณ์ด้านบน) แต่สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุด คงต้องเป็นนักศึกษาที่เสียเวลาเรียนมาแล้วหลายปี ขอให้เรื่องนี้ผ่านไปได้ด้วยดีและดีกับทุกฝ่าย

ข้อมูลเพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาเทคนิคการแพทย์ ต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ก่อน นักศึกษาที่จบมาจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และสามารถทำงานเป็นนักเทคนิคการแพทย์ได้ รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองแล้ว และยังไม่ได้รับการรับรอง

คณะเทคนิคการแพทย์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะเทคนิคการแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คณะสหเวชศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  ได้รับการรับรองแล้ว
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ได้รับการรับรองแล้ว

คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อ้างอิงข้อมูล รายชื่อคณะเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

Exit mobile version