หนังสือแนะนำให้อ่าน โดย CEO ระดับโลก

ผมว่าบางครั้งหลายๆคนน่าจะเป็นเหมือนกันว่าอยากเดินไปร้านหนังสือ แล้วก็ค่อยๆเดินดูตามชั้นหนังสือหมวดต่างๆ เปิดดูเนื้อหาข้างในสักหน้าสองหน้า แล้วค่อยเลือกซื้อ นี่คือหนึ่งในวิธีการหาหนังสือสักเล่มของผม แต่สมัยนี้การซื้อออนไลน์มันสะดวกมาก และถึงแม้ว่าการออกไปเดินในร้านหนังสือมันจะเพลิดเพลินเพียงใด เราก็คงทำบ่อยๆไม่ได้

พวกคำนิยมที่อยู่หน้าแรกๆของหนังสือนั้น ผมแทบจะไม่สนใจเลย หรือบางทีก็ไม่ได้อ่านด้วยซ้ำ บางทีมันอดคิดไม่ได้ว่า คนที่เขียนคำนิยมเหล่านั้นได้อ่านหนังสือเล่มนั้นจริงๆไหม รีวิวจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ส่วนได้ส่วนเสียจากหนังสือเล่มนั้นเลยน่าเชื่อถือมากกว่า

ผมมีวิธีเลือกอ่านหนังสือแบบนี้ครับ (บางทีก็แค่อยากซื้อมาเก็บเฉย) ซึ่งก็พอจะสรุปเป็นข้อๆได้ประมาณนี้ครับ

  • หนังสือที่ถูกกล่าวถึงหรือถูกอ้างอิงในหนังสืออีกเล่มที่เคยอ่าน ทำให้หนังสือแต่ละเล่มมักจะมีการเชื่อมโยงถึงกัน ยกตัวอย่างเช่น เราอ่านหนังสือประวัติของ Isaac Newton ในหนังสือบอกว่า The Principia คือ ผลงานปฎิวัติวงการของเขา หนังสือที่เราอยากอ่านเล่มต่อไปย่อมเป็น The Principia หรือไม่ก็หนังสือที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับ The Principia (แค่ยกตัวอย่างนะครับ มิอาจเอื้อม แต่ก็อยากซื้อมาประดับชั้นหนังสือนะ)
  • ผลงานของนักเขียนคนเดิม บ่อยครั้งที่จะดูว่านอกจากเล่มที่กำลังอ่านอยู่นั้น มีผลงานอื่นอะไรอีกที่น่าสนใจ เช่น เราอ่าน Surely You’re Joking, Mr. Feynman! เป็นไปได้หรือที่จะไม่ตามอ่าน What Do You Care What Other People Think?
  • ในเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Goodread, Time, Nature, Wired, etc. ก็มักจะมีลิสต์หนังสือแนะนำให้เลือกติดตาม ในช่วงหลังๆที่ไม่รู้ว่าจะหาหนังสืออะไรมาอ่าน ช่องทางนี้ถูกเลือกใช้บ่อยๆ

นอกจากนี้ คนดัง ผู้มีอิทธิพลของโลก มหาเศรษฐี CEO หรือคนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ ก็มักจะมีหนังสือแนะนำกันทั้งนั้น ปีที่แล้ว Mark Zuckerberg ก็ลิสต์หนังสือที่เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 2 สัปดาห์ สุดท้ายได้ออกมา 23 เล่ม Ayearofbooks.net

แต่ถ้าอยากรู้ว่า CEO แต่ละคน เช่น Mark Zuckerberg, Sam Altman, Bill Gates, Larry Page, Elon Musk, etc. มีลิสต์หนังสือแนะนำอะไรบ้าง เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์นี้ Bookicious.com

Book Collections Bookicious

ใน Bookicious จะเป็นการแนะนำหนังสือแบบรวบร่วมจากสื่อต่างๆ ที่ CEO แต่คนเคยบอกไว้ หรือเคยในสัมภาษณ์ไว้ ทำให้เราง่ายที่จะติดตามหนังสือตามบุคคลที่เราสนใจ หนังสือบางเล่มก็ได้รับการแนะนำจากหลายคน เช่น Sapiens by Yuval Noah Harari, The Innovator’s Dilemma by Clayton M. Christensen เป็นต้น ถ้าหลายคนแนะนำ แสดงว่าหนังสือเล่มนั้นก็น่าจะได้รับการการันตีในระดับหนึ่งว่าต้องดีแน่ๆ

แต่คนที่อยากพูดถึงเป็นพิเศษ นั้นคือ Bill Gates ดูจะเป็นคนที่จริงจังกับการอ่านมากที่สุด เขามีบล็อกที่เขียนรีวิวถึงหนังสือที่เขาอ่านอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งก็ทำออกมาเป็นลิสต์ให้ได้ตามอ่านกันเลย และหนังสือก็มีหลากหลายแนว จึงขอแนะนำสำหรับคนที่คิดอะไรไม่ออก และกำลังตามหาลิสต์หนังสือน่าอ่านครับ

ตามไปดูหนังสือของ Bill Gates ได้ที่ Gatesnotes.com

Book reviews by Bill Gates

เคยอ่านคำแนะนำของคนที่อ่านหนังสือเก่งๆว่า ถ้าหนังสือเล่มไหนที่เราอ่านแล้วไม่สนุก ก็อย่าพยายามอ่านมันต่อ แค่ไปหาเล่มอื่นที่ใช่กว่ามาอ่านแทน ทำแบบนี้จะทำให้เราสนุกและไม่เบื่อการอ่านเลย ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

EndNote X2 โปรแกรมทำเอกสารอ้างอิง ตอนที่ 1

endnote-x2

อัพเดตข้อมูล

ล่าสุดตอนนี้ มีให้โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด EndNote X5 แล้วนะครับ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/endnotex5.html และ ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเวอร์ชั่นที่เราขอไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง แนะนำให้เข้าไปดูที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/ ครับ

EndNote เป็นโปรแกรม Reference management software ช่วยให้การทำเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม ให้ง่ายขึ้นอย่างมาก สร้างโดย The Thomson Corporation มีทั้งรุ่น Windows และ Mac OS X การทำเอกสารอ้างอิงในงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆนั้น แต่ละเล่มมีรูปแบบของเอกสารอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน คงเป็นการยากถ้าต้องมาแก้ไขรูปแบบของเอกสารอ้างอิงทุกๆครั้งที่จะเปลี่ยนวารสารในการตีพิมพ์ซึ่งโปรแกรม EndNote สามารถช่วยให้การเปลี่ยนรูปแบบเป็นไปอย่างง่าย สำหรับรูปแบบที่ จุฬาฯ ใช้อยู่คือ แบบ vancouver ครับ โปรแกรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ทาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ จึงจัดซื้อมาเพื่อบริการนิสิตจุฬาฯ และอาจารย์ โดยเฉพาะ สามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้งที่เครื่องตัวเองได้เลยดาวน์โหลดได้ที่

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก่อนติดตั้งคุณต้อง e-mail ไปขอ password จากภารกิจสนับสนุนการวิจัย ศูนย์วิททรัพยากรจุฬาฯ อีเมล rss@car.chula.ac.th ถ้าใช้อีเมลล์ของนิสิตจุฬาฯ จะตอบกลับมาเร็วครับ ถ้าเป็นอีเมลล์อย่างอื่นอาจจะนานหน่อยเพราะต้องรอการยืนยันจากคณะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ใช้โปรแกรม EndNote X5 อย่างถูกลิขสิทธิ์แล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ตามไปดูตอนที่ 2 การใช้งานเบื้องต้น https://www.amphur.in.th/reference-manager-endnote/

Exit mobile version