ทดสอบระบบจำลองภาพถ่ายจากฟิล์มของ Fujifilm X70 (ขาวดำ)

ผมเข้าใจความสำคัญของการถ่ายภาพขาวดำมากขึ้นตอนได้ถ่ายภาพ Portrait ของเพื่อนชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้มีสีผิว สีผม สีตา เหมือนเราชาวเอเชีย การเลือกถ่ายภาพขาวดำแบบมาตรฐานได้ภาพออกมาไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้ครับ เช่น เพื่อนคนที่มีผมสีส้มอ่อน ตอนถ่ายเป็นขาวดำออกมาทั้งหัวและคิ้วขาวโพนดูไม่มีคอนทราสเลย สีตาด้วยเช่นกัน ทำให้ภาพดูแปลกๆครับ การเลือกแบบมีฟิวเตอร์ด้วยทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นเยอะเลยครับ

ในกล้อง Fujifilm X70 มีระบบจำลองภาพถ่ายจากฟิล์มมาให้ด้วย ที่ผมสนใจคือ ภาพถ่ายขาวดำ ซึ่งมีมาให้เลือกตั้ง 4 แบบ คือ

  • Monochrome : ภาพขาวดำแบบมาตรฐาน
  • Monochrome+Y filter : ภาพขาวดำแบบเพิ่ม contrast เล็กน้อย และลดโทนสว่างของท้องฟ้าเล็กน้อย
  • Monochrome+G filter : ภาพขาวดำแบบเพิ่ม contrast และลดโทนสว่างของท้องฟ้า
  • Monochrome+ R filter : ภาพขาวดำที่ทำให้โทนสีผิวดูนุ่มนวลมากขึ้น

อ่านรายละเอียดแล้วก็งงนิดหน่อย เลยจับมาถ่าย RGB บนหน้าจอคอมดูเลย ซึ่งก็ทำให้เข้าใจโทนขาวดำจากแต่ละโหมดได้มากขึ้นครับ

Fujifilm black and white film simulation

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพขาวดำครับ

ชุด kit วาดภาพสีน้ำ วาดเมื่อไหร่ ที่ไหน ก็ได้ตามใจฉัน

ช่วงเดือนที่ผ่านมาเราสนุกกับการวาดรูปใน iPad ด้วยแอพพลิเคชั่น Paper by 53 และสไตลัส Pencil มาก มันทำให้วาดสนุกขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตามการวาดในจออิเล็กทรอนิกส์ก็ยังรู้สึกว่ามันยังไม่ได้อารมณ์ของการวาดจริงๆ ความรู้สึกวาด เขียนลงกระดาษตอนจับปากกา ดินสอ หรือพู่กันตอนลงสี ยังสู้ของจริงไม่ได้อย่างที่ใจอยากได้

แต่เพราะ iPad มันตอบโจทย์อย่างหนึ่งนั้นคือมันพกไปไหนมาได้ สะดวก เราหยิบขึ้นมาวาดได้ทันทีที่อยากวาด ซึ่งมันก็ทำหน้าที่ตรงนั้นได้อย่างดี แต่จะให้พกกระดาษ ชุดสีน้ำ น้ำ พู่กัน ไปไหนมาไหนก็ดูไม่สะดวกสักเท่าไหร่นัก

จนกระทั้ง…ด้วยความบังเอิญ วันหนึ่งอยากได้หมึกให้ปากกา ปากกาหมึกซึม Parker เพราะตัวที่ใช้อยู่มันมีกลิ่นที่ไม่ชอบเอาเสียเลย และโดนน้ำหรือความชื่นก็เลอะ ก็เข้าไปค้นใน Google ตามปกติ ทำให้ไปเจอบล็อกนี้ https://www.bbblogr.com ซึ่งเขียนรีวิวพวกปากกา สมุดสเก็ต หมึก ไว้ดีมากๆ ได้ความรู้เยอะมาก ต้องขอบคุณเจ้าของบล็อกจากใจจริง และในนั้นก็ทำให้รู้ว่ากลุ่ม Sketcher จะออกไปวาดรูปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเขาก็จะมีชุด kit แบบพกพาสำหรับออกไปวาดรูปที่ไหนก็ได้ ไปเที่ยว ไปกินกาแฟ กินข้าว เดินเล่น วาดที่ไหนก็ได้ตามใจ มันดูสะดวกมากๆ (มีสิ่งมหัศจรรย์แบบนี้อยู่บนโลกด้วย) เป็นที่มาของบล็อกนี้ที่อยากเขียนถึง “ชุด kit วาดสีน้ำ” เอาพอสังเขปตามที่ได้สัมผัส ได้ใช้งานครับ

อุปกรณ์ชุดวาดภาพสีน้ำ

  1. สมุดสเก็ตภาพ (Canson 120gsm, 110 บาท)
  2. ปากกาหมึกซึมแบบกันน้ำ (Unipin, 35 บาท)
  3. ชุดสีน้ำ (Koi Water Colors Pocket Field Sketch Box 18 colors, 425 บาท)
สมุด ปากกา สี มีอุปกรณืเท่านี้ก็พร้อมลุยออกไปวาดรูปแล้ว

มีแค่ 3 ชิ้นนี้ก็พร้อมออกไปวาดรูปนอกบ้านแล้วครับ ซึ่งที่ผ่านมาเกือบเดือนก็รู้สึกชอบและพอใจกับชุด kit นี้มาก เอาติดกระเป๋าไปไหนมาไหนตลอด นอกจากนี้ใครที่คิดว่ามันราคาแพงไปหน่อย ก็มี Sketcher หลายๆคนก็มีการทำชุด kit ด้วยตัวเองด้วยนะ โดยใช้พวกฝาขวดมาทำเป็นหลุมสี เอาฝาติดกับกล่องพลาสติกเล็กๆก็เท่และก็ใช้ได้จริงอีกด้วย https://www.sketchlandyard.com/1660/

ชุดวาดสีน้ำ Koi Water Colors Pocket Field Sketch Box

เปิดกล่องดูข้างในของกล่องชุดสีน้ำก้อน

ข้างในจะมีสีน้ำแบบเป็นก้อน และตัวพู่กันแบบมีแท็งน้ำอยู่ตรงด้ามจับ มีถาดสี (ใช้ไปได้สักพักแล้ว ของใหม่ไม่เละนะ) สิ่งที่สุดยอดน่าจะเป็นตัวสีน้ำที่เป็นก้อนแห้ง และพู่กันที่มีแท็งเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้คิดอยากวาดเมื่อไหร่ก็ได้ มีน้ำให้ใช้ตลอดตราบใดที่ไม่ลืมเติมน้ำเข้าไปนะ

สีก้อนแบบ 18 สี

สีน้ำของ Sakura Koi จะมีให้เลือกแบบ 12, 18, 24 สี ราคาก็แตกต่างกัน ของผมเป็นกล่อง 18 สี ซื้อมาจากร้าน siam-market ที่ central world ครับ

พู่กันมีแท็งน้ำ

พู่กันที่มีแท็งน้ำ แท็งน้ำมีจุกปิดแน่น ตอนจะใช้ก็เปิดจุกออกแล้วหมุนหัวพู่กันเข้าไป เมื่อเราบีบเบาๆน้ำที่อยู่ในแท็งก็จะไหลออกมาที่ปลายพู่กัน แล้วเราก็ป้ายลงสีน้ำก้อน แล้วก็สนุกกับการระบายสีลงรูปวาดของเราได้เลยครับ สะดวกจริงๆนะเออ

อีกอย่างที่ทำให้ผมลุกขึ้นวาดรูป มองหาอุปกรณ์อะไรแบบนี้ ส่วนหนึ่งเพราะได้เห็นสมาชิกและกิจกรรมของกลุ่ม BANGKOK SKETCHERS GROUP ที่เอารูปสวยๆ มาแชร์ให้ดู ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากออกไปวาดรูปบ้าง

สรุปว่าตอนนี้ก็สนุกกับการได้วาดแบบนี้มากครับ สวยไม่สวยอีกเรื่อง สนุกไว้ก่อน เข้าไปดูตัวอย่างรูปที่วาดได้ที่นี้ครับ https://sarapuk.tumblr.com

เปลี่ยนความยาวคลื่นแสงเป็นโค้ดสี

บันทึกงานแบบสั้นๆเก็บไว้ครับ ปัญหาเกิดตอนที่จะทำภาพแบบ Grayscale ที่ได้จากกล้องให้เป็นภาพสี เรารู้ว่าภาพที่ได้เกิดจากแสงที่มีความยาวคลื่นเท่าไหร่ในระดับนาโมเมตร คำถามที่ตามมา คือ แล้วแสงที่มีความยาวคลื่นเท่านี้ มันเป็นสีอะไร?

แสงที่ตาเรามองเห็นมีความยาวคลื่นประมาณ 390->750 นาโนเมตร ถ้านึกไม่ออกคิดถึงแฉดสีของรุ้งกินน้ำครับ

Spectrum

ม่วง->คราม->น้ำเงิน->เขียว->เหลือง->ส้ม->แดง

ยกตัวอย่าง ถ้าหากแสงที่ความยาวคลื่น 532 นาโมเมตร ตาเรามองที่เลเซอร์ก็รู้ว่าเป็นแสงสีเขียว แล้วจะใช้โค้ดสีตัวไหนดีในขั้นตอนใส่สีถึงจะถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด? (เขียวเข้ม เขียวอ่อน เขียว ฯลฯ อะไรประมาณนี้)

นึกอยู่สักพักก็ทดลองเอาแผ่น color checker ไปถ่ายภาพคู่กับแสงที่อยากรู้ เอาเข้า photoshop ปรับแสงสีให้สีใน color checker ถูกต้อง แล้วหยิบเอาสีของแสงที่ต้องการออกมา ดูว่ามีโค้ดอะไร บันทึกเก็บไว้ ภายหลังรู้วิธีที่ง่ายกว่านี้ แต่โค้ดสี RGB ที่ได้จากวิธีนี้ก็ใกล้เคียงพอสมควร แต่คงลำบากมากถ้าต้องทำหลายๆตัว และยังมีปัจจัยอื่นอีกหลายๆอย่างที่เราควบคุมได้ยาก

หลังจากนั้นเลยพยายามลองค้นหาข้อมูลดู คิดว่าเรื่องพื้นฐานแบบนี้ต้องมีคนเจอเหมือนกันสิ แล้วก็พบ เรื่องแบบนี้คนอื่นเขามีปัญหาเหมือนกัน และก็คิดทางออกไว้หมดแล้ว

Chromaticity coordinates
  • อันแรกใช้งานผ่านเว็บไซต์ได้เลยที่ Wavelength To RGB เว็บนี้ใส่ความยาวคลื่นแสงในหน่วยนาโนเมตรเข้าไป เว็บจะคำนวณแล้วรายงานรหัสสี RGB, Hex มาให้เลย ง่ายและสะดวกดี
  • มีคนทำโปรแกรมให้ใช้ง่ายๆ สำหรับ Windows ด้วยนะ ดาวน์โหลดได้ที่ wavelengthtoRGB เอา Algorithm มาจาก https://www.midnightkite.com ผลลัพท์ที่ได้ต่างกับตัวที่ใช้บนเว็บนิดหน่อย แต่ไม่ซีเรียสขนาดนั้น เพราะเราแยกสีสองอันไม่ออกหรอก!
  • มีรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับ Spectrum&RGB ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับสี วิธีการอนุมาณสีจากความยาวคลื่นในแบบต่างๆ ปัจจัยที่ทำให้สีที่ได้แตกต่างกัน ดูได้ที่ https://mintaka.sdsu.edu, https://www.fourmilab.chhttps://www.techmind.org
จบด้วยภาพเทียบระดับของ RGB, ความยาวคลื่น, สีที่มองเห็น
ความยาวคลื่นเทียบกับสีที่มองเห็น

ก่อนจะฉลาดต้องโง่ก่อนสินะ!

Exit mobile version