ชมนิทรรศการผลงานวิจัยของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี

The NECTEC 's 25th Anniversary

นิทรรศการผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปี
(The NECTEC ‘s 25th Anniversary)

IT in Thailand: NECTEC “25 Years and Beyond”

วันที่ 14-16 กันยายน 2554 , เวลาประมาณ 8.30 น. – 20.00 น.

ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว

รายละเอียด https://www.nectec.or.th/ace2011

งานยังเหลืออีก 2 วัน ว่างๆ อยากเชิญให้ไปเที่ยวชมครับ งานจัดที่เซนทรัล ลาดพร้าว เดินทางค่อนข้างสะดวก ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ติน MRT ลงที่สถานีพหลโยธิน เดินอีกนิดก็ถึงแล้ว ขึ้นไปที่ชั้น 5 งานแสดงอยู่ทั้ง Hall เลย มีงานวิจัยที่น่าสนใจมากมาย เข้างานได้ฟรี ผมเอาภาพบางส่วนมาให้ชมครับ

Bangkok Convention Hall

ส่วนนี้จะเป็น การประชุมวิชาการ การสัมมนา และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ดูตารางสัมมนาคลิกลิงค์ครับ

ส่วนนิทรรศการ

นิทรรศการ ด้านหน้าแสดงผลงานวิจัยของในหลวง มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

นิทรรศการแสดงผลงานวิจัย

แบ่งเป็นโซน แสดงผลงานทั้งโปสเตอร์ ร่วมกับโมเดลมีเจ้าหน้าที่อธิบายข้อมูลอย่างละเอียด ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ อยากให้นักเรียน นักศึกษาได้เข้าชมงานเยอะๆครับ

Mobile Application

ส่วนของ Mobile Application จะมีการสลับกันสาธิตการใช้งานโปรแกรมบนมือถือที่เป็นผลงานจากเนคเทคเกือบ 30 ตัว มีทั้ง Android และ iOS มีแบ่งเป็นหมวด Entertainment & Lifestyle, Agriculture, Health & Medication, Logistic & Traffic และอื่นๆ  มีแอพพลิเคชั่นหลายๆตัวที่ผมชอบ และน่าใช้ เดี๋ยวจะอธิบายต่อด้านล่าง

ประเมินรูปร่างโคกระบือ

ระบบประเมินรูปร่างโคกระบือแบบ 3 มิติ แค่จูงควายเข้าไปตรงกลางระบบก็วิเคราะห์ ชนาดรูปร่างออกมาเป็น 3 มิติ ให้เลย เจ๋งไหมล่ะ!

NECTEC Timeline

ลำดับการดำเนินงานของเนคเทคตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นปีไหน มีผลงานอะไรออกมาบ้าง

สถานีวัดอากาศอัตโนมัติ

สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ มีเซนเซอร์หลายอย่างรวมกัน เช่น วัดความชื่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื่นของดิน แล้วส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต(GPRS) เราสามารถดูข้อมูลหรือควบคุมการทำงานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ได้เลย

พิพิธภัณฑ์แบบภาพ 360 องศา

พิพิธภัณฑ์แสดงภาพแบบ 360 องศาผ่านทางเว็บไซต์ เก็บภาพรอบตัวหมุนได้รอบทิศทาง

ห้องสัมมนา

ผมเข้าๆออกๆจากส่วนแสดงนิทรรศการกับห้องสัมมนาซึ่งจะมี speaker หลายคนขึ้นมาพูดในหัวข้อต่างๆ ที่ได้ฟังก็ผู้บริหารจาก intel, Cisco

กล้องวัดอณหภูมิ

ช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาดกล้องนี้ช่วยในการคัดกรองคนที่มีอุณหภูมิสูงออกจากคนปกติได้อย่างรวดเร็ว ใช้แสงอินฟราเร็ดตรวจจับที่บริเวณหน้า ตอนนี้มีติดตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลบางแห่งแล้วเพื่อช่วยตรวจคัดกรองคนไข้

TangmoChecker

TangmoChecker เป็นแอพพลิเคชั่นบน Android มันจะวิเคราะห์เสียงจากการเคาะลูกแตงโมแล้วบอกว่าลูกไหนสุกพอดี ลูกไหนสุกงอมแล้ว พี่เจ้าหน้าที่สาธิตให้ดูกัน ใช้โปรแกรมวิเคราะห์แล้วผ่าแตงโมให้ดูกันเลย ว่าทำงานได้ดี เท่มาก! ยังมีโปรแกรมอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น โปรแกรมค้นหาชื่อยา โปรแกรมดูการจราจร โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพ โปรแกรมวิเคราะห์ธาตุไนโตรเจนในใบข้าว โปรแกรมแนะนำการท่องเที่ยวตามเทศการ โปรแกรมอ่านข่าว โปรแกรมบันทึกการกินอาหารของเรา เป็นต้น

เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์

เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ เอาไปใช้งานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอยู่หลายรุ่นตัดสัญญาณได้ทุกคลื่นความถี่ของไทย รัศมีระยะ 30 เมตร จนถึง 100 เมตร แล้วแต่รุ่น

เครื่องตรวจหาเชื่อไวรัสหรือโปรตีน

ส่วนของเครื่องมือแพทย์ก็มีให้ดูเยอะ เครื่องนี้ใช้หลักการของ SPR(Surface plasmon resonance) ทำงานคล้ายๆตัวนี้ เห็นไหมว่าคนไทยก็ทำได้เหมือนกัน

DeepScan

กล้องคอนโฟคอลแบบพกพา ถ่ายภาพในแนวลึกได้โดยไม่รุกล้ำร่างกาย ใช้ตรวจหามะเร็งที่ชั้นเยื่อบุผิว

ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้ดู เดินวันเดียวอาจจะไม่หมด และมีหลายอันที่ไม่ได้เอามาให้ดูที่นี้ อต่เข้าไปดูภาพวันแรกที่ผมถ่ายไว้ทั้งหมดได้ที่นี้ครับ

รวมภาพงาน The NECTEC ‘s 25th Anniversary

บันทึกสัมมนาการจดสิทธิบัตร

ภาพประกอบจาก https://www.flickr.com/photos/95118988@N00/1497679352/

ไปฟังสัมมนาเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรที่ทางศูนย์บริการวิชาการ จุฬาฯ จัดให้นักวิจัย อาจารย์ นิสิต ได้เข้าอบรมฟรี ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับคนทั่วไปด้วย จึงนำบันทึกมาเผยแพร่ต่อที่นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆด้วย

บันทึกจากงานสัมมนา
เรื่องกระบวนการและแนวทางการจดสิทธิบัตร ผลงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา 
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2554
ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิทธิบัตร

-ปัจจุบันใช้ พรบ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 บังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2522 ปรับปรุง พ.ศ.2535, 2542
-เป็นกฏหมายที่มีข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศภาคี แต่การจดสิทธิบัตรที่เดียวไม่ได้คุ้มครองทุกประเทศ แต่สามาถเลือกได้ว่าจะจดสิทธิบัตรในประเทศใดบ้างและต้องปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศนั้นๆ โดยหน่วยงานของรัฐจะอำนวยความสะดวกให้ในระดับหนึ่ง

สิทธิบัตรไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท

  • สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • อนุสิทธิบัตร (ไม่มีตรวจสอบว่าใหม่จริง)

สิทธิบัตร เป็นเหมือนทรัพย์สิน(โฉนดที่ดิน, หุ้นบริษัทฯ) สามารถโอนให้คนอื่นได้
อนุสิทธิบัตร เป็นการคุ้มครองแบบหลวมๆ ไม่มีการตรวจสอบว่าเป็นสิ่งใหม่จริง ให้ประกาศไปก่อนเพื่อความรวดเร็ว ถ้าหากใครคิดว่าตัวเองทำก่อนก็ค่อยมาฟ้องเพิกถอนสิทธิ (เป็นปัญหามาก) ในการเลือกจดสิทธิบัตรจะเลือกได้เพียงอย่างเดียวว่าจะจดสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร

หลักการขอจดสิทธิบัตร

มีอยู่ 3 ข้อ มีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ขอจดสิทธิบัตรได้แล้ว

  • เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่(Novelty)
  • มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น(Inventive step)
  • สามารถประยุกต์ทางอุตาหกรรม(Industrial Applicable)

งานที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้

มีจุดที่น่าสนใจอยู่คือ สิ่งต่างๆเหล่านี้เรียกว่า “‘งานที่มีอยู่แล้ว” หรือ “ไม่ใหม่” ไม่รับจดสิทธิบัตร

  • มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือแสดงผลงานในงานประชุมวิชาการแล้ว แต่มีข้อยกเว้นให้ จะต้องจดสิทธิบัตรภายใน 12 เดือนหลังทำการเผยแพร่ ถ้าเกินเวลาจากนี้แล้วจะจดสิทธิบัตรไม่ได้ เพราะถือว่าได้ประกาศโฆษณาไปแล้ว และถ้าหากยื่นขอจดสิทธิบัตรการคุ้มครองจะย้อนไปถึงวันที่เผยแพร่ผลงาน มีข้อแนะนำจากวิทยากรคือ ให้ยื่นจดสิทธิบัตรไปพร้อมกับส่งตีพิมพ์ในวารสารไปพร้อมกันเลย
  • ถ้่าไปขอจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรที่ต่างประเทศแล้ว จะต้องจดในประเทศภายใน 18 เดือน หลังจากนี้จะจดสิทธิบัตรไม่ได้ (ถือว่าลอกผลงานตัวเอง) เช่นเดียวกันเมื่อจดสิทธิบัตรการคุ้มครองจะย้อนไปถึงวันที่ยื่นจดสิทธิบัตรที่ต่างประเทศ

การประดิษฐ์ขึ้นใหม่และขั้นตอนประดิษฐ์ที่สูงขึ้น

การประดิษฐ์เราจะเห็นตัวตนของสิ่งประดิษฐ์ชัดเจน ส่วนขั้นตอนการประดิษฐ์อาจจะมองเห็นไม่ชัดเจนนัก แต่กฏหมายก็คุ้มครองหรือสามาถจดสิทธิบัตรได้ ในกลุ่มที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น ไม่ได้หมายถึง การใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น แต่หมายถึงการใช้วิธีแก้ปัญหาที่ดีขึ้น ง่ายขึ้น หรือเป็นการแก้ไขปัญหาเดิมด้วยวิธีใหม่ที่ดีขึ้น เช่น การทำไวน์ด้วยวิธีใหม่ การถนอมอาหารแบบใหม่ เป็นต้น

ส่วนการประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้ในประโยชน์ทางอุตสาหกรรมในต่างประเทศจะมีเพียงในทางอุตสาหกรรม แต่ในประเทศไทยจะเพิ่มส่วนของ หัตถกรรม เกษตรกรรม พาณิชกรรม เข้าไปด้วย ทำเพื่อให้เหมาะสมกับวิถีีชีวิตของคนไทยมากขึ้น

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ลวดลาย สี รูปร่าง ได้รับการคุ้มครองสามารถจดสิทธิบัตรได้

มีความแตกต่างกันระหว่างการประดิษฐ์กับการออกแบบ คือ การประดิษฐ์เป็นการคุ้มครองโครงสร้างภายในผลิตภัณฑ์ ส่วนการออกแบบเป็นการคุ้มครองโครงสร้างภายนอกของผลิตภัณฑ์

ผู้มีสิทธิในสิทธิบัตร

  • ผู้ประดิษฐ์ ผู้ออกแบบ
  • ผู้ที่ได้รับการโอนสิทธิ์
  • นายจ้างของผู้ประดิษฐ์ หมายความว่า นายจ้างของผู้ประดิษฐ์จะเป็นคนถือสิทธิ์ แต่ถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นสามารถสร้างรายได้ในทางการค้าได้ ผู้ประดิษฐ์มีสิทธิรับบำเหน็จจากนายจ้างได้ตามสมควร (ถ้าไม่ได้สามารถฟ้องได้ แต่ต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ก่อให้เกิดรายได้)
  • ถ้ามีผู้ประดิษฐ์ร่วมหลายคน ทุกคนมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรได้ตามสัดส่วนที่ได้ระบุไว้

สิ่งที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรได้

  • จุลชีพและส่วนประกอบ ในประเทศไทยถือว่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ในต่างประเทศสามารถจดสิทธิบัตรจุลชีพได้ แต่ในไทยไม่อนุญาติและไม่คุ้มครอง มีข้อยกเว้นถ้าจุลชีพนั้นมีการตัดต่อ ตกแต่งให้แตกต่างจากดั้งเดิม สามารถจดสิทธิบัตรได้
  • ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ เพื่อการพัฒนาของวิทยาการ การถือถือสิทธิบัตรผู้เดียว ถือว่าขัดต่อการพัฒนาทางด้านองค์ความรู้
  • Software จะจดสิทธิบัตรไม่ได้ แต่จะเป็นกฏหมายอีกตัวคือ ลิขสิทธิ์ ซึ่งจะใช้ได้ชั่วชีวิต และต่ออีก 50 ปี หลังผู้ประดิษฐ์เสียชีวิต
  • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือวิธีรักษาโรคในมนุษย์หรือสัตว์ ข้อนี้ถือเป็นการให้ประโยชน์แก่ทุกคน
  • การประดิษฐ์ที่ผิดต่อศิลธรรม อนามัย สวัสดิภาพของประชาชน

การจดสิทธิบัตรมีค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมในแต่ละประเภท(ประดิษฐ์, ออกแบบ, อนุสิทธิบัตร)มีค่าธรรมเนียมต่างกัน แต่จะแพงขึ้นเรื่อยๆในปีหลังเหมือนกัน เป็นการแสดงว่าผู้ถือครองสิทธิได้รับประโยชน์จากสิทธิบัตร
  • อายุของสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี, การออกแบบ มีอายุ 10 ปี ทั้งสองต่ออายุไม่ได้ ส่วนอนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี

ผลงานวิจัยกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

การคุ้มครองงานวิจัย มีแนวทางการคุ้มครองได้ 5 ลักษณะ

  • ลิขสิทธิ์ จะเป็นการคุ้มครองทันทีที่ผลิตผลงานออกมาเช่น ข้อความใน paper, รูปภาพ ฯลฯ แต่จะไม่คุ้มครองเนื้องานภายใน
  • แบบผังภูมิวงจรรวม หมายถึงการออกแบบวงจรใหม่ แต่ยังใช้ IC จากคนอื่น เช่น เมื่อนำ Microchip ของ intel มาประดิษฐ์อุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ สามารถจดสิทธิบัตรได้ซึ่งจะคุ้มครองส่วนวงจรรวมแต่ไม่ได้คุ้มครอง IC แต่ละตัวที่นำมาใช้
  • ความลับทางการค้า เรียกว่าการจดแจ้ง เปิดเผยข้อมูลบ้างส่วนเท่านั้น เป็นกลุ่มของ Know How ที่เปิดเผยให้คนอื่นรู้ไม่ได้ ในการจดแจ้งจะต้องระบุวิธีการเก็บข้อมูลด้วย เช่น ให้รู้กี่คน เก็บเอกสารยังไง ถ้าไม่ปฏิบัติตามวิธีการเก็บความลับนั้น หากเกิดความลับรั่วไหลจะฟ้องดำเนินคดีไม่ได้
  • การคุ้มครองพันธุ์พืช จะใช้ในงานของกระทรวงเกษตรฯ เป็นกฏหมายอีกฉบับ
  • สิทธิบัตร กลุ่มที่เหมาะสมคือ กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ที่เมื่อทำวิศวกรรมย้อนกลับแล้วรู้ว่าทำขึ้นได้อย่างไร เป็นกลุ่มที่ควรจดสิทธิบัตรไว้ เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง เช่น การประดิษฐ์เครื่องยนต์ การประดิษฐ์อุปกรณ์อำนวยความสะดวก เป็นต้น

ข้อแนะนำก่อนการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

  • ควรรีวิวมาก่อนว่าเคยมีการประดิษฐ์มาก่อนหรือไม่ ต้องตรวจสอบให้ด วิธีการตรวจสอบคือ การค้นหาสิทธิบัตรในประเทศต่างๆ จากแหล่งข้อมูลเหล่านี้
    -ประเทศไทย https://www.ipthailand.org
    -ประเทศสหรัฐอเมริกา https://www.uspto.gov
    -ประเทศญี่ปุ่น https://www.jpo.go.jp
    -กลุ่มประเทศยุโรป https://ep.espacenet.com
  • ต้องพิจารณาให้ดีว่าจะเลือกจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร วิเคราะห์ให้ดีว่าแบบไหนตรงกับงานที่ตัวเองประดิษฐ์
  • ในสิ่งประดิษฐ์ของเราต้องระบุว่าจะคุ้มครองตรงไหนบ้าง การระบุกว้างไปก็ไม่ดี จะทำให้ระบุได้ยากว่าผู้อื่นละเมิดสิทธิบัตรของเราส่วนไหนบ้าง หากระบุแคบเกินไปก็เป็นการจำกัดสิทธิของตัวเอง ข้อนี้สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ หรือดูตัวอย่างสิทธิบัตรของคนอื่นก่อนหน้าเป็นตัวอย่างได้
  • ในประเทศไทยใครยื่นก่อนมีสิทธิก่อน ต่างจากของอเมริกาจะถือว่าผู้ประดิษฐ์ก่อนคนแรกจะได้ถือครองสิทธิบัตร แต่จะมีขั้นตอนการพิสูจน์ที่ค่อนข้างยุ่งยาก ในไทยจึงตัดปัญหา ให้ใครยื่นก่อนได้ก่อน
  • การเขียนรูปประกอบจะต้องเขียนตามหลักการเขียนแบบ มีเลขหมายระบุแสดงชิ้นส่วนชัดเจน 
(มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำถ้าไม่มีความรู้แต่อยากจดสิทธิบัตร)
  • การระบุชื่อสิ่งประดิษฐ์จะไม่ใช้ชื่อเฉพาะ เช่น แว่นตาสุดมหัสจรรย์(ไม่รู้ว่ามหัสจรรย์ตรงไหน) การระบุชื่อจะต้องชัดเจนและสื่อความหมายชัดเจน จะยาวสั้นไม่ว่า เช่น “แว่นตาที่ขาพับเก็บได้”
  • การจดสิทธิบัตรเป็นการตรจสอบความใหม่ ไม่ได้เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพ มีสิทธิบัตรบางอันที่ทำงานจริงได้ไม่ดี แต่เมื่อมีคนนำไปต่อยอดให้ทำงานได้ดีขึ้นเขาจะต้องขอสิทธิจากงานดั้งเดิมเสียก่อน เป็นการสนับสนุนให้คนไทยสนใจการจดสิทธิบัตรมากขึ้น?

สถานที่ขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

ส่วนบริหารงานจดสิทธิบัตร สำนักงานสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร 0-2547-4637
หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกแห่ง
https://www.ipthailand.go.th/ipthailand สายด่วน 1368

ภายในจุฬาฯ มีหน่วยงานดูแลเรื่องการขอจดสิทธิบัตร ติดต่อได้ที่
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาฯ อาคารเทพทวาราวดี (คณะนิติศาสตร์) ชั้น 9 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2218-2895 https://www.ipi.chula.ac.th

บันทึกโดย พงษ์ศักดิ์ สาระภักดี
วันที่ 17 มิถุนายน 2554
sarapukdee@gmail.com

ดาวน์โหลด บันทึกการขอจดสิทธิบัตร(PDF)

BME Journal & News Subscription

เมื่อปลายปีที่แล้วได้จัดงาน BME CONCEPT ขึ้น แล้วก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาก(เกินคาด) ผมก็ได้ร่วมนำเสนอด้วย ผมเสนอเรื่องใกล้ตัวที่ผมทำเป็นเรื่องปกติ แต่คิดว่าหลายคนยังไม่รู้ นั้นคือ การอ่านเว็บไซต์ที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับ วิศวกรรมชีวเวชฯ ที่มีอยู่มากมาย ก็เคยเขียนไว้แล้วใน Biomed.in.th ตอนที่ 1,  ตอนที่ 2 บังเอิญวันนี้เปิดไปเจอสไลด์ของตัวเอง เลยคิดว่าเอามาลงไว้ในบล็อกดีกว่าเผื่อมีคนสนใจ

Journal & News Subscription

ผมบอกไปเรื่อยๆว่าเว็บนี้มีข้อดีอย่างไรบ้าง น่าสนใจตรงไหน รวมถึงเว็บฐานข้อมูลงานวิจัยที่ใช้บ่อยๆอย่าง Sciencedirect และ Pubmed เท่าที่บอกไปก็มีอยู่ราว 20 เว็บไซต์ ปัญหาที่ตามมาคือเราจะไปตามอ่านทุกวันได้ยังไง เสียเวลาทำงานอย่างอื่นหมด คำตอบของปัญหานี้คือใช้ RSS Reader ช่วย เป็นวิธีที่เหล่า Bloger หรือ Geek เขาทำกัน ให้มันดึงเนื้อหาเฉพาะอันที่อัพเดตมา เราก็จะได้ติดตามอ่านอย่างไม่พลาดเนื้อหาใหม่ๆ และไม่ต้องเสียเวลาไปตามอ่านทุกเว็บ วันหนึ่งหรือสองสามวันค่อยเข้ามาเช็คเหมือนเช็คอีเมล อีกอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์คือมันแชร์ให้เพื่อน ใส่คอมเม้นท์เพิ่มเติมส่งให้เพื่อนในกลุ่มได้ด้วย

แต่พิเศษกว่านั้น ปกติเราจะเลือก subscript แต่ blog เป็นส่วนใหญ่ แต่น้อยคนที่รู้ว่า เว็บอย่าง Sciencedirect หรือ Pubmed ก็มี RSS ของ Journal งานวิจัยต่างๆเหมือนกัน

Sciencedirect: สามารถเลือก Journal ที่เราสนใจได้เลย อาจไม่มีทุกอันแต่เล่มที่ใหญ่ Impact สูงๆ มี RSS อยู่แล้ว เนื้อหาที่ถูกดึงมาเป็น abstract  แต่แค่นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะดูว่า บทความนั้นทำอะไร ถ้าสนใจค่อยคลิกเข้าไปดู เข้าไปโหลด

Pubmed: สามารถเลือก subscript เฉพาะคีย์เวิร์ดที่เราสนใจได้เลย เช่น ชื่อโรค ชื่อเชื้อไวรัว หรือการทดลอง ฯลฯ ใส่คีย์เวิร์ด คลิก search แล้วไอคอน RSS จะโผล่ขึ้นมาเอง

ผมว่ามันเป็นประโยชน์สำหรับผม และคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นด้วย ตอนท้ายงานมีคนมาของสไลด์หลายคนเลยทีเดียว (แสดงว่าเราคิดถูก ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น)

BME CONCEPT แลกเปลี่ยนแนวคิดวิศวกรรมชีวเวช

BME CONCEPT 2010

BME CONCEPT 2010
วันที่ 30 พฤษศจิกายน 2010 ห้อง 203 ตึก 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์
ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 16.00 น.

เป็นงานที่คิดอยากจะจัดมานานแล้ว ประกอบกับทางหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯ มีทุนสนับสนุนให้ ผมจึงคิดจะจัดงานสัมมนากึ่งวิชาการ แนวคิดคือ Biomedical engineering ประกอบปด้วยสาขาย่อยภายในหลายสาขา ส่วนใหญ่แยกจากกันชัดเจน เช่น Rehabilitation engineering กับ Tissue engineering แทบจะแยกเป็นคนละคณะได้เลย แต่ถ้ามองลึกๆแล้วเราจะพบว่า ทุกสาขามันเชื่อมโยงกันได้ แนวคิดของสาขาหนึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับอีกสาขาได้ ถ้าเรามีเวลาพบปะพูดคุยกันมากพอ

รายละเอียดทั้งหมดดูที่ Biomed.in.th

ตอนนี้กำลังเตรียมงาน ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึก และโลโก้ ที่ได้เห็นนี้แหละ ที่ทำเสร็จแล้ว งานมีงบสนับสนุนจากหลักสูตรฯ จึงน่าจะมีอะไรพร้อมกว่าครั้งที่เคยลองจัดดูเมื่อนานมาแล้วดูที่นี้ มีอาหารเลี้ยง มีของว่าง มีของที่ระลึก อุปกรณ์ต่างๆที่พร้อมมากขึ้น คนพูดก็มากขึ้นด้วย (เพราะกึ่งบังคับ) งานนี้มีการจำกัดคนเข้าดังนั้นใครสนใจติดต่อมาที่ผมโดยตรง sarapukdee@gmail.com

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

การสัมมนาแบบไม่เป็นทางการชมรมอีสาน ครั้งที่ 1

รูปชมรมอีสาน ตอนค่ายกลางปี จังหวัดบุรีรัมย์

การสัมมนาแบบไม่เป็นทางการชมรมอีสาน ครั้งที่ 1

การสัมมนาแบบไม่มีจำกัดหัวข้อ ใครอยากพูดอะไร ก็เอามาแบ่งปันกัน สิ่งที่ต้องเตรียมตัวคือ ไสลด์ประกอบการนำเสนอ หรือ อื่นๆ เช่น เครื่องดนตรี อุปกรณ์ เสื้อผ้า เป็นต้น (นำเสนอแบบไหนก็ได้) ตามเวลาที่กำหนด ไม่เกิน 10 นาที

Loading…

อยากจัดงานสัมมนา แบบ Unconferenced Pecha Kucha ของชมรมอีสาน

ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน

การจัดสัมมนาที่คนที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถส่งหัวข้อในงานได้
เป็นเหมือนชุมชนการแบ่งปัน ใครมีเรื่องอะไรที่สนุกๆก็เอามาเล่าให้คนอื่นฟัง เราก็มาฟังสิ่งดีๆที่เพื่อนเอามาแชร์ เนื่องจากปกติงานแบบนี้จะมีคนเข้าร่วมงานเยอะ ประมาณว่ามาปล่อยแสงกัน จีงมีการจำกัดไสลด์ในการนำเสนอ แ ละเวลา เข่น 10 สไลด์ 10 นาที
ข้อมูลเพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Pecha_Kucha และ https://en.wikipedia.org/wiki/Barcamp ผมได้ลองจัดที่คณะดูแล้ว รู้สึกว่างานออกมาสนุกมาก ดูสรุปงาน BME BarCamp

การจัดงานคร่าวๆก็คือ
– ตอนเช้าจะมีให้ลงทะเบียน หัวข้อที่จะพูด จากนั้นก็จะมีการโวตว่าเรื่องในน่าฟังที่สุด ใครได้คะแนนมากสุดก็พูดก่อน หรือสามารถ เปลี่ยนเป็นจับฉลากก็ได้น่าจะสนุก ตื่นเต้นดี จากนั้นก็เริ่มสัมมนา หัวข้อก็ไม่ปิดกั้นอยากพูดเรื่องอะไรก็ได้ เพียงจำกัดแค่เรื่องเวลาแค่ คนละ 10 นาที

ยกตัวอย่างเช่น

อาจารย์แจ่มใส – การทำงานแบบจิตอาสา
พี่ปอ – พูดเรื่อง การเรียนเบสอีสานใน 1 สัปดาห์
พี่บัติ – วิธีการแต่งเพลง
พี่ญัติ – การนำเสนอ อย่างไรให้น่าสนใจ และน่าติดตาม
พี่บูล – การสอนเด็กเล่นโปงลาง
พี่สาท – การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
น้องคำนาง – การออกกำลังกาย ด้วยการรำ
น้องบอย – การตัดต่อวีดีโอขึ้นเว็บ
น้องปุ้ย – การร้องคาราโอเกะ อย่างไรให้สนุก
น้องต้อม – วิธีจีบสาวชมรมฯ ทำอย่างไร
ฯลฯ
อะไรประมาณนี้ คือใครสนใจอยากพูดเรื่องอะไรก้เอาแชร์ๆ กัน งานนี้ไม่ต้องมีการเตรียมงานให้ยุ่งยาก เพราะคนที่พูดกับคนที่เข้าฟังคือกลุ่มเดียวกัน

งานนี้เสริมสร้างให้ชมรมของเราเป็นชมรมแห่งการแบ่งปัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด และข้อคิดเห็น และสารความสำพันธ์ และเป็นการฝึกฝนการนำเสนอ ที่กระชับ และตรงประเด็นให้กับ น้องในชมรมฯ อีกด้วย

ข้อความคิดเห็นจากทุกท่านครับ ใครเห็นด้วย ผมยินดีเป็นคนประสานงานให้ครับ

และถ้าคุณเข้าร่วมงานอยากพูดหัวข้ออะไร

Technology can help you อบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

คอมพิวเตอร์ เครื่องมือช่วยในการทำงาน

ไสลด์แนะนำการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานของคณะกรรมการหอพักนิสิตจุฬาฯ จะนำเสนอในวันจันทร์ ที่ 6 มีนาคม 2552 ทำร่วมกับ พี่ตู้ ซึ่งคิดว่าน่าจะใช้ได้กับทุกคน เทคโนโลยีมีทั้งฟรีและเสียเงิน ในนี้ที่นำมาเสนอเน้นไปที่การให้บริการฟรี คิดว่าน่าจะออกมาสนุกนะ

BME BarCamp สรุปงานสัมมนา

การจัดสัมมนาครั้งแรกที่ BME

จากที่ได้รับมอบหมายงานอย่างเร่งด่วนให้ จัดงานนำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตร แค่วันเดียวก่อนถึงวันงาน ทำเอาหัวหมุนเลยทีเดียวผมก็เลย ไอเดียจากงาน ThinkCamp มาใช้ และได้เพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ในหลักสูตรเลยทำให้งานเราออกมาดีกว่าที่คิด แม้จะเตรียมงานแค่วันเดียวก็มีคนส่งหัวข้อมานำเสนอถึง 14 หัวข้อ
ดูรายละเอียดงานเพิ่มเติม

โดยมีหัวข้อหลัก อยู่ 7 หัวข้อ คือ

1. Intro BME แนะนำงานในวันนี้มีอะไรบ้าง โดยผมเอง @sarapuk
2. Cell & Tissue Engineering and Drug Delivery System โดย คุณฐากูร
3. Medical Imaging โดย คุณทิพวิมล  slideshare
4.  Medical Instrumentation โดยคุณขนิษฐา
5. Biosensor โดย คุณยศมงคล
6. Biomechanics โดย คุณยศมงคล โดนพ่วงสองหัวข้อเพราะพี่หมอไม่มา
7. Rehabilitation โดยคุณเอ็กกะเอ็ม

ดูสไลด์ของหัวข้อหลักได้ที่นี้ slideshare

ส่วนหัวข้ออื่นจากหัวข้อหลักมีดังนี้
1.  Health Future Vision 2019 by Microsoft office labs โดยผมเอง
2. Scaffold  โดยคุณน๊อต
3. DDS (Drug Delivery System) โดยคุณคิว
4. FES  in Rehabilitation Engineering โดยคุณกัส
5. Cause work in BME โดยคุณทิพ
6. Manage Problem โดยคุณกานต์
7. Research Topic for survivor โดยคุณโย
8. BME member โดยคุณแชมป์

ดูสไลด์ของหัวข้อรองได้ที่ slideshare

คุณขณิษฐากำลัง เสนอเรื่อง Medical Instrucmentation

คุณยศมงคลกำลังนำเสนอ หัวข้อ Biosensors

ถ่ายรูปร่วมกัน หนีกลับไปหลายคนแล้วลืม บอกว่าจะถ่ายรูปก่อน

อ้างอิง ThinkCamp , BME-CHULA

BME BarCamp สัมมนาไร้รูปแบบ

BME-Barcamp

ในวันพรุ่งนี้ 18 มีนาคม 2552 เวลา 8.30 – 12.00 น. มีกิจกรรมการเลือกสาขาของนิสิตใหม่
นิสิตที่สัมครใหม่ทั้งหมด 22 คน (ป.เอก 11 ป.โท 11)

รูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการสัมมนาแบบ Unconferenced Pecha Kucha (ペチャクチャ) รวมกับ BarCamp คือ การสัมมนาแบบมีการจำกัดไสด์และเวลา เราประยุกต์นิดหน่อย คือให้พูด 5 นาที 5 สไลด์ โดยหัว ข้อที่เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์กับการเลือกสาขา หรืออะไรก็ได้ที่คุณ อยากนำเสนอให้น้องๆ และเพื่อน พี่ๆ ก็เอามาแชร์กัน ไม่จำกัดหัวข้อ

ได้ แนวคิดมาจาก ThinkCamp

กิจกรรม มีดังนี้
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน และส่งหัวข้อพร้อมสไลด์
9.00 – 11.00 น. เริ่มการพรีเซนต์ โดยให้เวลาพูด 5 นาที 5 สไลด์ และตอบปัญหาอีก 5 นาที

keynote ในงานนี้มีอยู่ 6 คนดังนี้
1. Tissue Engineering โดย นายฐากูร ฐิติเศรษฐ์
2. Biosensor โดย นายยศมงคล สวัสดิ์ศถุงฆาร
3. Medical Image โดย นางสาวทิพวิมล มีไชย
4. Rehabilitaion โดย นายทศพล ทองเติม
5. Medical Instrument โดย นางสาวขนิษฐา วาเสนัง
6. Biomechanics โดย กลุ่มหมอ

และหัวข้ออื่นที่คุณส่งมา

11.00 – 12.00 น. ตั้งเป็นจุดแบ่งตามสาขา และเวียนกันเข้าฐาน ให้รุ่นพี่ตอบปัญหาข้อสงสัย
และพบปะพูดคุยทั่วไป

12.00-13.00 น. พักเที่ยง

13.00 -14.00 น. ถ้ามีหัวข้อเพิ่มเติมก็จะนำเสนอต่อ

Faq

ทำไมทำแบบนี้
ตอบ : เพิ่มความแปลกใหม่และการมีส่วนร่วมของทุกๆคน

ใครเสนอหัวข้อได้
ตอบ : ได้ทุกคน แต่ตามเงื่อนไข คือ 5 นาที 5 สไลด์

หัวข้อคืออะไร
ตอบ : เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์เกี่ยวกับการเลือกสาขา

ส่งหัวข้อนอกเหนือจากนี้ได้ไหม
ตอบ ได้นะ แต่อาจจะถูกจัดให้ไปตอนบ่าย หรือตอนท้าย

แล้วใครจะสนใจส่ง
ตอบ อยากให้ทุกๆคนช่วยๆกันนะครับ นำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตรให้น้องใหม่ ได้รู้จักและเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกสาขาของเขา
และอีกอย่างคนที่ส่งหัวข้ออื่นๆ คือว่าอยากให้นำเอาความรู้ต่างๆที่เรามีมาแชร์ให้คนอื่นรู้ เช่น พี่แชมป์ มึแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรแบบนี้อยากให้น้องๆรู้ก็เอามานำเสนอ หรือพี่ชัย เอาเรื่องการเรียน biosensor มาเล่าให้ฟังเป็นยังไง, กานต์ มีเรื่องเกี่ยวกับเทคโนดลยีแบบใหม่มานำเสนอ , กลุ่มที่เรียน cognitive มีผลงานที่ทำเสร็จแล้วมานำเสนอก็ได้ , หรือย่างผม รู้ว่าอาจารย์แต่ละท่านอยู่ไหน ตึกไหน ก็ปักหมุดในกูเกิลมาให้ดูเลย, หรือหัวข้อของกลุ่มที่จบไปแล้วมีอะไรบ้าง กลุ่มที่จะสอบหรือสอบหัวข้อไปแล้วมีอะไร อะไรประมาณนี้คือ เรามีอะไรก็มาแชร์กัน คืออยากให้ได้ทั้งน้องใหม่และพี่ที่เรียนอยู่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อ้างอิง : ThinkCamp , BarCampBangkok

Exit mobile version