ฟรีหนังสือ E-book จากห้องสมุดคณะแพทย์ฯ จุฬาฯ

รายการหนังสือ E-book โดยห้องสมุดคณะแพทย์

เคยแนะนำแหล่งดาวน์โหลดหนังสือออนไลน์ (เฉพาะนิสิตจุฬาฯ)ฟรีหนังสือ E-book มากกว่า 7 พันรายการ ไว้แล้วลองเข้าไปดูและดาวน์โหลดเก็บไว้ได้ครับ อีกแหล่งหนึ่งที่ทางห้องสมุดคณะแพทย์ จุฬาฯ ทำไว้ให้เป็นรายการหนังสือที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี จากแหล่งต่างๆเช่น SpringerLink ebook, SciDirect ebook, NetLibrary, PubMedBookShelf เป็นต้น โดยเรียงตามตัวอักษรให้ง่ายต่อการค้นหา เพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก

แต่หนังสือฟรีที่โหลดได้จากที่นี้ เนื่องจากเป็นรายการที่ห้องสมุดของคณะแพทย์เป็นผู้จัดทำขึ้น เนื้อหาจึงเป็นทางด้านการแพทย์ ชีววิทยา เป็นหลัก ต่างจาก CRCnetbase ที่จะมีทุกสาขา

การดาวน์โหลดหนังสือยังต้องอาศัยการใช้เน็ตในจุฬาฯ หรือใช้ VPN ครับ เป็นอีกช่องทางในการค้นหาหนังสือที่ตนสนใจแบบไม่ต้องเสียตังค์ ยิ่งถ้ามี E-book Reader ด้วยแล้วน่าจะถูกใจมากขึ้นแน่นอนครับ (ถ้าใครสนใจเล่มไหน จะฝากเพื่อนน้องๆโหลดให้ก็ได้นะ)

เข้าไปโหลดหนังสือ E-book จากห้องสมุดคณะแพทย์ฯ จุฬาฯได้ที่ https://library.md.chula.ac.th/e-book/ebook-list.html

หวังว่าจะเป็นโยชน์ครับ

สเต็ก 3 ย่าน

สเต็ก 3 ย่าน
กะเพาปลาหมึก

วันนี้แวะไปกิน สเต็ก 3 ย่าน นี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้ไปกิน หลังจากที่ย้ายจากที่ใหม่มาอยู่ข้างสนามกีฬาจุฬาฯ สถานที่ใหม่ดูสะอาด เป็นระเบียบกว่าที่เดิม คนยังเยอะเหมือนเดิม ผมไปราว 1 ทุ่ม คนเต็มเกือบทุกทีนั่ง จุดเด่นเรื่องปริมาณเยอะยังคงอยู่ ส่วนความอร่อยคงไม่ได้ดีมาก จำรสชาติเดิมไม่ได้แล้ว น่าจะขึ้นกับร้านด้วย แต่ที่นั่งบังคับให้เลือกร้าน เลยไม่รู้แต่ที่ร้านเป็นยังไง ส่วนวันนี้ที่กิน @ac_nim บอกว่า กะเพาปลาหมึกอร่อย แต่สเต็กเนื้อที่ผมกินเฉยๆนะ ไข่ดาวไม่เห็นรูปร่างเป็นไข่ดาวเลย สู้ร้าน Jeffy ที่จัตุรัสจามจุรีไม่ได้ อร่อยกว่า

อบรม ความปลอดภัยระบบเครือข่ายส่วนบุคคล

เปิดโลกลานเกียร์

เดินไปเจอป้ายประชาสัมพันธ์งานอบรมที่น่าสนใจ เลยค้นดูรายละเอียด และเอามาลงไว้ในบล็อกเผื่อมีคนสนใจ

ความปลอดภัยระบบเครือข่ายส่วนบุคคล
30 ตุลาคม 2553 เวลา 09:00 – 12:00

อ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายส่วนบุคคลในโลกไซเบอร์ที่ทุกคนควรรู้ เพื่อป้องกันข้อมูลและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ของท่าน ไม่ว่าท่านจะอยู่ในสังคมออนไลน์ใดๆ ทั้ง Facebook, Twitter, Hi5 และอื่นๆ อีกมากมาย ร่วมเรียนรู้การจัดการและป้องกันภัยต่างๆ ในโลกไซเบอร์

หัวข้อการอบรม มีดังนี้
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อมูลส่วนบุคคล
– Cyber Crime เบื้องต้น
– พื้นฐาน Computer Viruses, Worms, Trojan Horse และ Spyware
– Social Engineeering, Phishing, Phaming
– รู้ทันผู้ร้ายในโลก Cyber
– แนวทางการป้องกันตัวเองจากภัยร้ายในโลก Cyber
– Shopping Online อย่างปลอดภัย
– เปิดเผย แบ่งปัน หรือ ภัยซ่อนเร้น

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-218-6404 ติดต่อ น.ส.พรมม์ปภัส ภัครพรพรรณ์
สถานที่: ห้อง 209 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จำนวนรับ: 80
กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนทั่วไปที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์

สมัครเข้าร่วมงาน ฟรี

เสวนาทางวิชาการ “ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

แจ้งข่าวสารที่น่าสนใจครับ

เสวนาวิชาการ "ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม"

เสวนาทางวิชาการ ประจำปี 2553
เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของการสถาปนาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

จัดโดย
กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมจุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ ตึกประชาธิปก – รำไพพรรณี ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการและเหตุผล
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 และในอีกหลายๆ
ครั้งตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับความขัดแย้งและความแตกแยกของคนใน
สังคมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีจุดแข็งในหลายเรื่อง อาทิ ความเป็นคนไทยที่มี
จิตใจเอื้อเฟื้อและรักสงบ ความเจริญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรอยู่
มากเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้น ความหวังของสังคมไทยที่จะก้าวพ้นวิกฤตสังคมในครั้งนี้ จึงอยู่ที่
การหันหน้ามาทำความเข้าใจและร่วมกันทั้งคนในเมืองและชนบท กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จึง
ได้จัดการเสวนาทางวิชาการครั้งนี้ เพื่อเป็นอีกเวทีหนึ่ง ที่จะหาทางออกร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ของหลาย
ภาคส่วนจากวิกฤตที่เกิดขึ้น
กำหนดการ
12.30 — 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 — 13.05 น. กล่าวเปิดงาน โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.05 — 15.05 น. เสวนา เรื่อง “ทางออกสังคมไทย หลังวิกฤต 19 พฤษภาคม” โดย

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต (วัดเอราวัณ) ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
  • นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและอดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • รศ. ดร. มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
  • พลเอก ไวพจน์ ศรีนวล อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

15.05 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 — 16.00 น. เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น ดำเนินรายการ โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ที่มา : https://www.chula.ac.th/cuth/cic/oldnews/CU_P007411.html
ดาวน์โหลด : กำหนดการ

Photosynth : พระบรมรูป 2 รัชกาล จุฬาฯ

ช่วงนี้กำลังคลั่ง Photosynth ไปไหนต้องถ่ายเก็บเป็นชุด เอามารวมกัน วันนี้เกือบจะมืดแล้วเลยแวะไปถ่ายพระบรมรูป 2 รัชกาล ที่เราชาวจุฬาฯให้การเคารพบูชา ถ่ายทุกมุมเอามาเข้า Photosynth ได้รูปออกมาไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ เป็นเพราะถ่ายเยอะเกิน มุมมองไม่ดี แต่ทำให้เข้าใจโปรแกรมเพิ่มขึ้นอีกนิด

  • ถ้าเรากด play ให้มันเล่นอัตโนมัติมันจะแสดงภาพในมุมเดียวกัน ที่ใกล้-ไกลก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนมุมไป
  • การดูแบบ Point Cloud ได้อารมณืไปอีกแบบ เห็นชัดเจนว่าโปรแกรมมันมองเป็น 3D

    ดูแบบ Point Cloud

  • บางทีการถ่ายหลายรูป ไม่ได้ทำให้ออกมาดีอย่างที่คาดไว้
  • การนั่งดูของชาวบ้านจะได้มุมมองการถ่ายที่ดีได้ ครั้งหน้าจะแก้มือ
  • Photosynth จะออกมาโอเคมาก ถ้ายืนถ่ายจุดเดียว เอามุมกว้างหนึ่งมุม แล้วซูมแต่ละจุดเข้าไป
  • หรือ เอาจุดสนใจไว้ที่ตรงกลาง แล้วเดินวนรอบถ่ายไปเรื่อย มุมละภาพ
  • ก่อนเอาเข้า Photosynth ควรย่อรูปลงหน่อยใหญ่ไปใช้เวลานาน และพื้นที่มีให้น้อย 20 GB
  • ต่อไปคงเอาขึ้นบ่อยๆ ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ https://photosynth.net/userprofilepage.aspx?user=sarapuk

โอ้แม่เจ้าเน็ตจุฬาฯ Speed 70 Mb

speedtest

หลังจากที่ติดตั้งอินเตอร์เน็ตของ true ที่ห้องพักความเร็ว 3 Mb แล้วเล่นไปได้ 2-3 วัน รู้สึกว่า ทำไมมันไม่ทันใจ โหลดช้า เพราะปกติใช้เน็ตที่ จุฬาฯ คลิกปั๊บมาปุ๊บดาวน์โหลดไฟล์นี้เร็วมาก แต่ใช้มาตั้งนานก็ไม่ได้ทำ speedtest ของเน็ต จุฬาฯ ดูสักที แต่ของ true ทดสอบแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5-2.7 Mb/s ก็ใกล้เคียงกับโปรโมชั่นที่โฆษณาไว้ วันนี้เลยอยากทดสอบ Speedtest ของเน็ตจุฬาฯดูหน่อยว่าความเร็วมันเท่าไหร่กันแน่ ผมใช้การทดสอบของเว็บ speedtest.net

ผลการทดสอบ
แม่เจ้า ต้องอุทานออกมาแรงแรง มันเร็วขนาดนี้เลยหรอเนี้ย

speedtest internet CHULA
download speed internet CHULA
Upload Speed internet CHULA

เอาหลักฐานมาให้ดูกันผมทำหลายครั้งค่าเฉลี่ยดาวน์โหลดอยู่ที่ 65-75 Mb/s และอับโหลดอยู่ที่ประมาณ 40-60 Mb/s ตอนนี้เลยหายสงสัยเลยว่าทำไมความเร็ว 3 Mb ที่ห้องมันกลายเป็นเต่าไปเลยเมื่อเทียบกับความเร็วที่จุฬาฯ

ตามมาอับเดตต่อ speedtest ของ true

speedtest true

EndNote X2 โปรแกรมทำเอกสารอ้างอิง ตอนที่ 1

endnote-x2

อัพเดตข้อมูล

ล่าสุดตอนนี้ มีให้โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด EndNote X5 แล้วนะครับ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/endnotex5.html และ ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเวอร์ชั่นที่เราขอไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง แนะนำให้เข้าไปดูที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/ ครับ

EndNote เป็นโปรแกรม Reference management software ช่วยให้การทำเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม ให้ง่ายขึ้นอย่างมาก สร้างโดย The Thomson Corporation มีทั้งรุ่น Windows และ Mac OS X การทำเอกสารอ้างอิงในงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆนั้น แต่ละเล่มมีรูปแบบของเอกสารอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน คงเป็นการยากถ้าต้องมาแก้ไขรูปแบบของเอกสารอ้างอิงทุกๆครั้งที่จะเปลี่ยนวารสารในการตีพิมพ์ซึ่งโปรแกรม EndNote สามารถช่วยให้การเปลี่ยนรูปแบบเป็นไปอย่างง่าย สำหรับรูปแบบที่ จุฬาฯ ใช้อยู่คือ แบบ vancouver ครับ โปรแกรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ทาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ จึงจัดซื้อมาเพื่อบริการนิสิตจุฬาฯ และอาจารย์ โดยเฉพาะ สามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้งที่เครื่องตัวเองได้เลยดาวน์โหลดได้ที่

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก่อนติดตั้งคุณต้อง e-mail ไปขอ password จากภารกิจสนับสนุนการวิจัย ศูนย์วิททรัพยากรจุฬาฯ อีเมล rss@car.chula.ac.th ถ้าใช้อีเมลล์ของนิสิตจุฬาฯ จะตอบกลับมาเร็วครับ ถ้าเป็นอีเมลล์อย่างอื่นอาจจะนานหน่อยเพราะต้องรอการยืนยันจากคณะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ใช้โปรแกรม EndNote X5 อย่างถูกลิขสิทธิ์แล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ตามไปดูตอนที่ 2 การใช้งานเบื้องต้น https://www.amphur.in.th/reference-manager-endnote/

Biomedical Engineering Center Labs on Google Maps


ดู Biomedical Engineering Center Labs ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ลองเอา Google Maps มาใส่ในบล็อกดูไม่รู้จะเอาที่ไหนงั้นก็เลยเอาตรงที่ตัวเองอยู่ตอนนี้เลยแล้วกัน Biomedical Engineering Center Labs เป็นห้องรวมพบกันทำกิจกรรมเรียน ตลอดจนการทำ Labs ของนิสิตหลักสูตร Biomedical Engineering ทุกๆคนเหมือนเป็นห้องอเนกประสงค์ วิธีการนำ Maps มาใส่นั้นง่ายมากๆ แค่เราเข้าไปที่ Google Maps แล้วค้นหาที่อยู่ของเราว่าอยู่ไหนจากนั้นก็ปักหมุดเอาไว้ จากนั้นคลิกตรงตำแหน่ง Link ตามภาพ

Google-maps-code

copy เอาโค้ดภายในมาวางที่ html page ใน WordPress เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

หายไปนานเพราะอะไร?

น่าเบื่อ

1. เน็ตที่หอพักนิสิตจุฬาฯ ใช่ไม่ได้เลยทำอะไรไม่ได้
2. ทำงานช่วง เสาร์-อาทิตย์
3. ทำงานวิจัย ใกล้วันตายแล้ว
4. ติดตามสถานะการณ์บ้านเมืองอย่างใกล้ชิด (ดูการอภิปราย)

ทุกอย่างเป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

Exit mobile version