หนังสือ “SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ”

หนังสือ SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ

เมื่อวานแวะไปร้านหนังสือเจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ” เขียนโดยคุณสุธี จันทร์แต่งพล เจ้าของเว็บ www.eblogbiz.com น่าสนใจมากครับเลย หยิบมาอ่านคร่าวๆ พบว่ามีความรู้เรื่องการทำ SEO ที่เราไม่รู้มากมาย จึงได้ซื้อติดมือมาใน ราคา 199 บาท เป็นหนังสือมีทั้งหมด 200 หน้า เนื้อหาภายในมีดังนี้

1. รู้จัก SEM และ SEO
2 รู้จักเสิร์ชเอ็นจิ้น
3. Google เสิร์ชเอ็นจิ้นที่คุณต้องรู้จัก
4. การวางแผนทำ SEO
5. เริ่มต้นปรับแต่งจากศูนย์
6. ลงมือปรับแต่งเว็บไซต์ (On-page Optimize)
7. ปรับแต่งระบบลิงก์ภายในเว็บ
8. ออกนอกเว็บ ทำให้โลกรู้จัก  (Off-page optimize)
9. ตรวจสอบผลการทำ SEO
10. Search Engine Guideline  และกรณีศึกษา
11. รู้จักเครื่องมือคู่ใจคนทำ SEO
12. เก็บตกการทำ SEO ให้รุ่ง
13. ส่งท้ายเพื่อเริ่มต้น SEO

รายได้จาก Google Adsense วันนี้

Google Adsense

คิดเป็นเงินไทยแล้วได้  4.2 บาท จากสถิติ 1 คลิกจากการติดที่ บล็อกเป็นเวลา 1 วัน หลายๆคนที่ทำ Adsense เก่งๆที่ทำได้วันละหลายเหรียญคงคิดหัวเราะ แต่ความรู้สึกผมมันดีใจหน่อยๆที่หาเงินได้จากอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกในชีวิต ตามระเบียบกลูเกิลต้องรอให้ได้ 100 US ถึงจะเบิกได้ งานนี้ผมคงต้องรออีกเป็นปีแน่เลย 55555 ใครที่ทำ Adsense เก่งๆก็ช่วยแนะนำมือใหม่ด้วยนะครับ เผื่อว่าจะได้มีตังค์ไว้จ่ายค่าอินเตอร์เน็ตรายเดือนเหมือนคนอื่นเขาบ้าง ขอบคุณครับ

CG+ vs Computer Atrs Thailand นิตยสารกราฟิกพันธุ์ไทย

Computer Graphics Plus Versus Computer Arts Thailand

นิตยสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกของไทยนับว่ามีน้อยมากในแผงหนังสือ ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบหนังสือประเภท ออกแบบ ศิลปะ คอมพิวเตอร์ หนังสือที่ต้องซื้อทุกเดือนคือ ต้นเดือนคือ Bioscope นิตยสารเกี่ยวกับหนัง และกลางเดือนจะมีอีกเล่มคือ CG+(Computer Graphic Plus) ซึ่งเป็นนิตยาสารที่ผมได้ติดตามอ่านมาได้กว่าสองปีแล้วครับ เริ่มอ่านครั้งแรกตอนตีพิมพ์เล่ม 3 และจนถึงปัจจุบันเล่ม ที่ 23 ครับ สองเล่มแรกซื้อทุกเดือนและ iDesign บางฉบับ แต่วันนี้แวะไปที่ร้านหนังสือประจำ ก็เดินไปที่วางหนังสือ CG+ ตามปกติ พบว่ามีนิตยสารใหม่ ออกเล่มแรก ฉบับที่ 01 ชื่อ Computer arts thailand ด้านบนเขียนว่า “การรวมตัวครั้งแรกของนิตยสาร Computer Arts และ 3D World” ผมเลยหยิบมาสองเล่มและทำการเปรียบเทียบกันดูเลยจะใครสนใจจะได้ตัดสินใจเลือกได้ถูก แต่สำหรับผมคงจะสนับสนุนทั้งสองเล่มครับ

หัวข้อ CG+ Computer Arts Thailand
ราคา 100 บาท 150 บาท
จำนวนหน้า
(ดูตามหมายเลขหน้าสุดท้าย)
114 หน้า 138 หน้า
เนื้อหา 1. News และแนะนำเว็บไซต์

2. Hot Stuff การรีวิว Gedget ใหม่ๆ

3.Mactivity มุมสำหรับคนชอบ mac

4.เนื้อแล้วแต่ละเดือน เกี่ยวกับ cg

5.สัมภาษณ์คนในวงการ computer graphic ทั้งคนไทย คนต่างประเทศ

6. มีริวิวโปรแกรมเกี่ยวกับ computer graphic บ้าง เกี่ยวไอทีทั้วไปบ้าง

7. student portfolio ผลงานของน้องใหม่

8.web ,book, hardware รีวิว

9.Tutorial

– ขั้นตอนการทำปก จะเป็นคนที่ถูกสัมภาษณ์นั้นเองที่ต้องทำภาพขึ้นปก

– 3Ds Max

– Photoshop

– Flash

– Illustrator

-Maya

แล้วแต่ละเดือน เดือนละ 4 tutorial

เนื่องจากเป็นนิตยสาร import จากต่างประเทศมาเนื้อหาค่อนข้างที่จะเป็นสากล

1. ผลงานของนัก computer graphic พร้อมสัมภาษณ์

2. Studio of the Month ทำความรู้จัก
ดูผลงาน สัมภาษณ์ studio นั้นๆ

3.In depth

เนื้อหาเกี่ยวกับ โปรแกรม การออกแบบ

เทคนิคใหม่ ฯลฯ

4.Technique

Tutorial โปรแกรม เช่น photoshop Flash , maya ,zbrush , blend มีทั้งหมด 8 Tutorial ในเล่ม

5.Pre-viz

ข่าวงานศิลปะ แอนนิเมชั่น

6.special Feature

งานแอนิเมชั่นของหนังเรื่อง Monsters vs Aliens

7.Need to Know

มี plug in Photoshop ,คำถาม คำตอบ

8.โชว์ผลงาน ,ฉบับหน้ามีอะไร

ของแถม

มีบ้าง ,ไม่มีบ้าง

DVD Resources & Tutorial

ถ้าดูแล้วเนื้อหาภายในของ Computer Arts Thailand ค่อนข้างจะดีกว่าหน่อย แต่ CG+ ก็ดีไม่น้อย และก็ติดตามมานานเข้าปีที่ 3 แล้ว ยังไงก็คงติดตามผลงานของ CG+ ต่อไป แต่ในแต่ละเดือนคงต้องเสียตังค์เพิ่มอีก 150 บาท เพื่อติดตามผลงานของ Computer Arts Thailands

อ้างอิง :  CG+ ฉบับที่ 23  ,Computer Arts Thailand ฉบับที่ 1

ตอนนี้ใช้ Evernote จนติดงอมแงม

โปรแกรมจดโน๊ต Evernote

ติดใจในความสะดวกสบายและความสามารถในการเก็บไว้บนเว็บได้ด้วย ไม่ต้องกลัวหาย รู้จัก evernote จาก wakoopa ตอนนั้นเข้าไปดูสถิติว่าใช้สัปดาห์นี้ใช้โปรแกรมอะไรบ่อยสุด แล้วก็เลยคลิกไปดูเพื่อนๆว่า ใครใช้อะไรบ้างพบว่า evernote คนใช้เยอะมาก ก็เลยคลิกไปดูและดาวน์โหลดมาทดลองใช้ ที่ https://www.evernote.com Evernote เป็นโปรแกรมที่ใช้จดบันทึก สามารถเขียนเอง พิมพ์ หรือเก็บจากเว็บไซต์ บันทึกข้อความจากเว็บที่เราสนใจเพียงแค่ติดตั้ง extension evernote ลงที่ firefox แค่นี้การเก็บเนื้อหาเว็บดีๆไว้อ่านภายหลังก็เป็นเรื่องง่ายมาก

วิธีใช้ก็ง่ายมากๆ แค่คลิกคลุมเนื้อหาที่ต้องการ บันทึกไว้ แล้วคลิกงวงช้างเขียว ใส่  tag เป็นอันเรียบร้อย แล้วเมื่อถึงเวลาโปรแกรมจะ sync เองหรือกด sync เองก็ได้

ดูวีดีโอประกอบดีกว่าจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

เว็บไซต์ประมวลเหตุการณ์ช่วงสงกรานต์ ใช้ Drupal

เว็บรายงานเหตุการณ์ จลาจลเมื่อสงกรานต์

เว็บของรัฐบาลที่เราได้เห็นก่อนหน้านี้ใช้ WordPress ทำออกมาได้อย่างสวยงามนั้นก็คือ เว็บช่วยชาติ อีกเว็บหนึ่งที่ใช้ธีมเดียวกันในการจัดรูปแบบของเว็บ จากบล็อกของคุณพัชรบอกว่าอาจจะนำธีมนี้มาแจก ผมก็จะของรอลุ้นครับว่าแจกเมื่อไหร่ เว็บไซต์ของรัฐบาลตัวที่สองที่ออกมานี้ใช้ Drupal ในการทำซึ่งก็มี
หลายๆคนที่ชอบ cms ตัวนี้เยอะ blognone เว็บข่าวไอทีชื่อดังก็ใช้ตัวนี้ และคนที่ใช้ drupal คงไม่มีใครไม่รู้จัก @sugree ผู้เชี่ยวชาญ และได้ยินข่าวว่ากำลังทำคู่มือ drupal ร่วมกับ mk อยู่เราก็รอลุ้นอยู่ว่าเมื่อไหร่ จะคลอดสักที ในท้องตลาดคู่มือของ drupal มีแค่ไม่กี่เล่มยังไงก็คลอดออกมาไวไวนะครับ

กลับมาที่เว็บไซต์ที่เราสนใจอยู่คือ https://www.factreport.go.th ภายในเว็บมีภาพประมวลเหตุการณ์ ตั้งแต่เกิดเรื่องที่ พัทยาจนถึงสงกรานต์ มีทั้งคลิปวีดีโอให้ดูให้ดาวน์โหลด ผู้พัฒนาจากที่ได้อ่านจากบล็อกคุณพัชร ได้บอกว่าเป็นทีมงานของ Opendream ผมลอง search ใน Google ดูว่าน่าจะมีเว็บไซต์ของทีมงานนี้ก็เจอเว็บนี้ครับ Opendream ไม่ทราบว่าใช่หรือปล่าวถ้าผิดก็แจ้งด้วยนะครับมาอ่านคำชี้แจงของเว็บนี้ครับ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน เขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องครบถ้วน และสร้างให้เกิดความเข้าใจต่อกรณีที่เกิดขึ้น

คณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวม และประมวลเหตุการณ์ ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องขึ้น (คบช.) โดยมีเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์เพื่อ นำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการอันเป็นแนวทางให้ความช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายต่อไป

ดีมากครับเป็นการทำงานในเชิงรุกให้ข้อมูลก่อนที่จะคนถามแต่ข้อมูลที่ให้ก็ต้องเป็นข้อมูลที่จริงและตรวจสอบได้
ถ้าหากข้อมูลนั้น เกิดตรวจสอบแล้วเป็นเท็จ รัฐบาลก็คงต้องยอมรับครับว่าตัวเองให้ข้อมูลแบบนี้มา และปฎิเสธ
ไม่ได้ด้วยว่าไม่ได้บอกเพราะข้อมูลอยู่บนเว็บหมดแล้ว

แจก Desktop Background ของ Windows 7 RC

windows7-wallpaper

หลังจากที่ Microsoft ปล่อย Windows 7 RC ออกมา ผมก็ทำการอับเดตจากตัว beta เป็น RC อย่างไม่รอช้า สังเกตเห็นว่าตัวที่ให้คลิก feedback ที่ topbar ก็หายไป และได้มี desktop background เพิ่มมาอีกหลายตัว แต่ละชุดสวยงามมากครับ ทั้งภาพ computer graphic หรือภาพจริง และแน่นอนปลากัดน้อยของไทยก็ยังมีอยู่ ดังนั้นจึงนำมาให้ดูและดาวน์โหลดไปใช้งาน ใครชอบสะสม wallpaper สวยๆงานนี้ไม่ควรพลาด มีหลายชุด แต่ละชุดมี 6 ภาพ ไปดูกัน

ชุด Architecture [Download]

Architecture

ชุด Characters [Download]

Characters

ชุด Landscapes [Download]

Landscapes

ชุด Nature [Download]

Nature

ชุด Scenes [Download]

Scenes

ชุด Windows [Download]

Windows

ดาวน์โหลดทั้งหมด

หลักสูตรการใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT

ผมได้รับอีเมลล์จากพี่ร่วมงานในแล็บ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาประชาสัมพันธ์ต่อครับ

เรียนท่านวิทยากร, ท่านผู้เชี่ยวชาญ และท่านที่สนใจ

จากการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่องของรูปแบบข้อกำหนดต่าง ๆ โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT วันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้ว ได้ทำการประมวลผลหลักสูตร การใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โดยได้กำหนด เปิดอบรม ในวันที่ 18,19,25 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีพิธีเปิดโครงการฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว จึงขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้กับท่านผู้สนใจอบรม และทางผมจะส่งหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียนเชิญทุกท่านต่อไปครับ

==================================================

หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการมองเห็น
จำนวนชั่วโมง 18 ชั่วโมง

สถานที่ฝึกอบรม: ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้น 8 (ลงสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี)

วัตถุประสงค์
1. ผู้อบรมสามารถบอกถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. ผู้อบรมมีทักษะเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ผู้อบรมสามารถค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ได้
4. ผู้อบรมสามารถสื่อสารข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ผู้อบรมสามารถใช้หนังสือระบบเดซี่ได้

ความต้องการของระบบ
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือสูงกว่า
2. โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
3. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai Text to Speech) ตาทิพย์
4. อินเตอร์เน็ต

หัวข้อการอบรม
1. ความสำคัญของ ICT ต่อคนพิการทางการมองเห็น
2. คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
3. การประยุกต์ใช้ ICT ในชีวิตประจำวัน
4. การใช้แป้นพิมพ์, การใช้ Mouse และอุปกรณ์ต่างๆ
5. การใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
5.1. การติดตั้งโปรแกรม
5.2. การตั้งค่าการทำงาน
6. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Text to Speech ) ตาทิพย์
7. การใช้งานอินเตอร์เน็ต
7.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่าย
7.2. การใช้งานโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
7.3. การตั้งค่าระบบการรักษาความปลอดภัย (Security Setting)
7.4. การใช้งาน Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล
7.5. การนำข้อมูลจาก Internet เช่น รูปภาพไปใช้งาน
7.6. การรับส่ง Electronic Mail
7.7. เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
7.8. ข้อพึงระมัดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต
8. แนะนำ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
9. แนะนำให้รู้จัก E-Commerce
10. แนะนำการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสร้างโอกาสและอาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

==============================================

ประชาสัมพันธ์ แบนเนอร์โครงการฯ

ท่านใดที่สามารถร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ สามารถทำได้โดย Copy โค้ด HTML ต่อไปนี้เพื่อติดตั้งยังเว็บไซต์ท่าน

<a href=”https://www.equitable-society.com” title=”โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
<img src=”https://www.equitable-society.com/images/equitablesociety.gif” border=”0″ alt=”
โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
</a>

ขอขอบพระคุณทุกความคิดเห็น ทุกคนร่วมมือ เป็นอย่างสูง

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 944 0009 ต่อ 102


Best Regards,

ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์
Chalaivate Pipatpannawong

ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานกระทรวง ICT

www.Equitable-Society.com

Managing Director

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

หายไปนานเพราะอะไร?

น่าเบื่อ

1. เน็ตที่หอพักนิสิตจุฬาฯ ใช่ไม่ได้เลยทำอะไรไม่ได้
2. ทำงานช่วง เสาร์-อาทิตย์
3. ทำงานวิจัย ใกล้วันตายแล้ว
4. ติดตามสถานะการณ์บ้านเมืองอย่างใกล้ชิด (ดูการอภิปราย)

ทุกอย่างเป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

เว็บไซต์ช่วยชาติ พัฒนาจาก WordPress

เว็บไซต์ช่วยชาติ

ช่วยชาติ.com หรือ chuaichart.com

ได้ดูข่าวจาก blognone เรื่องเว็บไซต์การชี้แจ้งการทำงานของรัฐบาล และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ใช้ WordPress ทำซะด้วยและอีกอย่าง คือใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons แสดงที่มา 3.0 ใครจะนำข้อมูลไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติแค่แสดงที่มาของข้อมูล และไม่ใช้ในทางพาณิชย์ ดูเทคนิคการทำงานการพัฒนาเว็บไซต์ได้ที่ เว็บไซต์ของคุณ พัชร และ กลุ่มไทเกอร์ไอเดีย ตามลิงค์

เนื้อหาภายในลองคลิกๆดูแล้ว เนื้อหาค่อนข้างละเอียดครับว่ารัฐบาลมีโครงการอะไรบ้าง แม้กระทั้งเอกสาร โครงการต่างๆก็จะสามารถดูได้ตัวอย่างโครงการ ต้นกล้าอาชีพ เป็นต้นเรื่องการดีไซด์สวยงามมากครับได้เต็มสิบไปเลยครับ รายละเอียดของ proposal ของเว็บไซต์นี้ก็มีการเปิดเผยว่ามีขั้นตอนการทำยังไงบ้าง
งบประมาณเท่าไหร่

แต่ที่ติดใจนิดหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ ที่ใช้ WordPress ที่เป็น open source ที่ใครๆก็รู้ code โอกาสที่จะถูกโจมตีอาจทำได้ง่าย แต่ถ้ามองอีกทางคือเว็บไซต์ไม่ได้เป็นเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาที่สำคัญถึงขั้นเป็นอันตรายต่อความมั่นคง หรือกระทบต่อความปลอดภัยมากหนัก หากถูกโจมตีก็คงแค่แบคอับกลับมาแต่แนวคิดการทำงานแบบโปร่งใสของรัฐบาลที่จะให้ประชาชนสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้อย่างต่อเนื่องและเขาถึงได้ง่าย ถือว่าแนวคิดนี้ ดีเยี่ยมเลยครับ ขอสนับสนุนโครงการนี้ครับ


Exit mobile version