Twitter LiveBlog Plugin เขียนบล็อกง่ายๆด้วย Twitter

Twitter LiveBlog

การเขียนบล็อกโดยการใช้การอับเดตจาก Twitter มีปลั๊กอินอยู่หลายตัว ตัวนี้เป็นหนึ่งในนั้นที่ลองใช้แล้วมันสะดวกดีครับ การทำ Liveblog มักจะเห็นในการรายงานข่าวสด ในงานแถลงข่าวต่างๆ ความสะดวกของปลั๊กอินตัวนี้คือ เราจะเริ่มเขียนได้โดยไม่ต้องเข้าบล็อกเลย ทั้งการโพสหัวข้อขึ้นมาใหม่ หรือปิดการ live ได้โดยใช้ Twitter ทั้งสิ้น

  1. Twitter Liveblog Plugin ดาวน์โหลดตามลิงค์ หรือจะติดตั้งผ่านทางหน้า admin ของ WordPress ก็ได้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ก็ตั้งให้ปลั๊กอิน activate ให้พร้อมใช้งาน
  2. จากนั้นเข้าไป เมนู settings >>Twitter LiveBlog เพื่อตั้งค่าต่างๆของ Twitter Liveblog
    หน้า setting Twitter Liveblog

    ใส่ User Passward ของ account Twitter  แล้วจะจัดหมวดหมู่ของบล็อกได้ที่ไหนก็ตั้งค่าให้เรียบร้อยเพียงแค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย เพียงแค่นี้ก็พร้อมใช้งานแล้วครับ

  3. วิธีการใช้งาน ถ้าต้องการเริ่มเขียนบล็อก ให้ทวีต  //NLB//ตามด้วยชื่อของโพสนั้น เช่น “//NLB// ทดสอบ Twitter Liveblog” ปลั๊กอินจะสร้างโพสชื่อ “ทดสอบ Twitter Liveblog” ขึ้นที่บล็อกของเรา และทวีตต่อๆไปจะเข้าไปอยู่โพสนี้ครับ
  4. เมื่อต้องการหยุดการ Live ก็ให้ทวีต //ELB// บล็อกนั้นก็จะหยุดเอาทวีตจาก Twitter มาแสดง

จำง่ายๆ //NLB// ย่อมาจากคำว่า New Live Blog เวลาจะจบ //ELB//ย่อมาจาก End Live Blog

ลองดูตัวอย่างที่ผมทดลองใช้ตอนที่ไปดูงานบอล ที่บล็อก Live Blog CUTUBall66
ถ้าใครเจอปัญหาเวลาของทวีตไม่ตรง ซึ่งผมก็เจอวิธีแก้ไข เข้าไป Edit ปลั๊กอิน แล้วค้นหาคำว่า $gmttime ให้แก้โค้ดจาก

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (get_option('gmt_offset') * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (get_option('gmt_offset') * 3600);
}

เปลี่ยนเป็น

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (7 * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (7 * 3600);
}

ดาวน์โหลดปลั๊กอิน Twitter Liveblog Plugin

เว็บกองก่อสร้างระบบไฟฟ้า (ภาคกลาง,ภาคใต้)

กองก่อสร้างระบบไฟฟ้า (ภาคกลางและภาคใต้)

ช่วยเพื่อนทำเว็บกองก่อสร้างระบบไฟฟ้า (ภาคกลาง,ภาคใต้) แน่นอนใช้ WordPress และธีมจาก ไทยธีม ของ @imenn ปรับแต่งได้ง่าย และรวดเร็ว เลยใช้เวลาทำไม่นานมากนัก หวังว่าเขาจะชอบมันและคนในกองจะชอบมันด้วย

ใส่ Drag to share ให้ WordPress

meebo bar Drag to share

ใครที่เคยเข้าไปที่เว็บอย่างเช่น  Mashable , intomobile เวลาเราเอาเมาส์ไปวางที่รูปภาพที่อยู่ในโพสจะขึ้นข้อความขึ้นว่า drag to share เมื่อเราคลิกแล้วลากจะขึ้น ไอคอนให้เราวางเพื่อแชร์หน้านั้นได้เลย Feature นี้เป็นความสามารถของ meebo ที่ทำออกมาให้เว็บใหญ่ๆได้ทดลองใช้ก่อน ตอนนี้ meebo ได้ออกรุ่น beta มาให้ทุกเว็บได้ลองใช้แล้ว ผมเลยจับมาใส่บล็อกตัวเองลองดู รู้สึกว่ามันโอเคดีครับ ดูขั้นตอนการติดตั้ง

  1. เข้าไปสมัคร ขอใช้บริการที่ https://bar.meebo.com การสมัครใช้งานเหมือนเว็บทั่วไปครับ
  2. เมื่อสมัครเสร็จแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอน set up เลย ใส่ชื่อของเว็บ และที่อยู่ของเว็บให้เรียบร้อย แล้วคลิก continue

    meebo bar setup

  3. เลือกชนิดของเว็บไซต์ของคุณ ซึ่ง meebo bar ซับพอร์ตหลายตัว ของเราเป็น WordPress เมื่อคลิกเข้าไปจะมีลิงค์ให้โหลด Plugin มาติดตั้ง

    meebo bar support

  4. ติดตั้ง Plugin ที่โหลดมาให้เรียบร้อย สั่งให้ Activate ขอข้ามรายละเอียดขั้นตอนนี้คิดว่าทุกคนทำได้
  5. เมื่อติดต้ัง Pluging เสร็จแล้ว ถ้าลองเข้าไปที่เว็บไซต์ควรที่จะมี meebo bar ด้านล่างแล้ว ถ้าคลิก share pages ตอนนี้ก็จะมี drop here ขึ้นแล้ว

    meebo bar button

  6. หากต้องการ ทำให้รูปที่อยู่บนเว็บสามารถ Drag to share ได้ต้องเข้าไปใส่โค้ดในไฟล์ header.php ของธีมที่เราใช้งานอยู่ ดูรายละเอียดส่วนนี้ได้ที่ https://dashboard.meebo.com และในหัวข้อ  Drag and drop sharing โค้ด
    
    
  7. เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน

นอกจาก drag to share แล้ว meebo bar ยังสามารถ chat กันได้ สรุปว่ามันทำให้เว็บเราดูดีขึ้นและ share ได้ง่ายขึ้น

ข้อมูล : https://bar.meeboo.com

WordPress กับ Sticky(การปักหมุด)

แก้ธีมของ Biomed.in.th โจทย์ที่ทำคือต้องการให้สองโพสที่น่าสนใจแสดงภาพขนาดใหญ่และอยู่หน้าแรก ในตอนแรกธีมนี้ใช้การเลือกบาง categories มาแสดงซึ่งมันทำให้มันแสดงซ้ำกับ div ตัวกลางที่เราให้แสดง All Topic อยู่ ซึ่งเราไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น

เลยเปิดดู Codex ของ WordPress ในส่วนของ Template Tags/query postsเลยไปเห็นการใช้ Sticky ในการแสดง Posts เลยหยิบมาใช้ซึ่งก็ตอบโจทย์ที่เราต้องการได้พอดีเลย ทำเสร็จแล้วเลยขอบันทึกไว้เอาไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป

โค้ดส่วนแรกซึ่งจะแสดง Sticky

[code lang="php"]
 2, // จำนวนของโพสที่ต้องการแสดง
  'caller_get_posts' => 1,
  'post__in'  => get_option('sticky_posts') ); //ให้แสดงเฉพาะโพสที่ Sticky
query_posts($args); ?>
[/code]

ผลของโค้ดนี้ได้ผลดังด้านซ้ายของเว็บไซต์

แสดงเฉพาะ Sticky

จากนั้นในส่วนที่แสดงโพสทั้งหมดไม่ต้องการให้โพสที่ถูกปักหมุดมาแสดงด้วยเดี๋ยวจะซ้ำกันทำให้คนอ่านได้ข้อมูลซ้ำเก่าและไม่น่าสนใจ

โค้ดที่ใช้แสดงโพสทั้งหมดยกเว้นโพสที่ถูก sticky

[code lang="php"]
 6,
                 'caller_get_posts' => 1,
                  'post__not_in' => $sticky,
                  'paged'=>$paged,
                 );
query_posts($args);
?> [/code]

ผลของโค้ดนี้ได้การแสดงผลตรงกลาง

แสดง All Posts ยกเว้น sticky

ขอบคุณ WordPress Codex

เห็นคำพวกนี้แล้ว นึกถึงอะไร?

เห็นคำพวกนี้แล้ว ผมนึกถึงอะไร ไม่ได้เรียงหมวดเลย อะไรเข้ามาในหัวก็เขียนเลย

  1. ไทยประกันชีวิต => สุดยอดโฆษณาที่เล่นกับความรู้สึกของคนดู
  2. NASA => ดวงจันทร์คงไม่ปลื้มกับการกระทำของพวกเขาเท่าไหร่
  3. 3G => ผลประโยชน์ล้วนๆ และไทยจะเป็นประเทศที่ได้ใช้ช้าที่สุด
  4. เพลง =>คำค้นหาที่สูงที่สุดของไทยตลอดกาล
  5. Hi5 => คนใช้งานกำลังลดลง
  6. Facebook =>คนใช้เล่นเกมเป็นหลัก
  7. twitter =>Live สุดๆ เร็วสุดๆ
  8. iPhone => คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
  9. Android =>OS ฟรี เครื่องแพง
  10. Palm pre =>มันบอก iTunes ว่า “ฉันเป็น iPod”
  11. Vista => บาปติดตัว ของไมโครซอฟท์
  12. Windows 7 =>Vista เวอร์ชั่นสมบูรณ์
  13. ละครไทย =>เน่าบ้างดีบ้าง (ส่วนใหญ่เน่า)
  14. ICT => ผลงานหลักๆ คือปิดเว็บ
  15. CAT ,TOT =>ทำให้  “คำที่ 3” เดินหน้าไม่ได้
  16. WordPress =>ง่ายสุด
  17. Drupal => ปวดหัว
  18. Joomla => Extension เยอะมาก
  19. IE 6 =>เลิกเหอะ นะ ขอร้อง
  20. Firefox =>ดี ที่มี Addon
  21. Chrome =>ธีมสวย เร็ว
  22. Safari =>ลูกเล่นการแสดงผล สุดยอด
  23. Opera =>Opera mini (ใช้ในมือถือ)
  24. Apple =>เทห์ ต้องรวย
  25. Microsoft =>กำลังคลานเข้ามาในโลกอินเตอเน็ต
  26. Google => ขาดเธอ ขาดใจ เพราะชีวิตติดกับเธอ
  27. Yahoo! =>Bing ช่วยฉันด้วย!
  28. WinMo =>WinPhone
  29. BB =>ขอ pin
  30. ไข้หวัด 2009 =>เป็นการผสมพันธุ์ของ หวัดหมู นก และ คน
  31. Open Source => “ใช้ทำไม ที่พันทิพย์มีทุกโปรแกรม” คิดกันแบบนี้ไงเลยไม่เจริญ
  32. เสื้อแดง =>คนไทย
  33. เสื้อเหลือง => ก็คนไทย
  34. คนไทย => รักกันน้อยไปไหม?
  35. พรีเมียร์ลีก =>เชียร์ ลิเวอร์พูล ครับ
  36. ไทยลีก => กำลังพัฒนา ต้องช่วยๆกัน
  37. iPod =>เทห์ ขายได้เยอะ แต่ชอบกั๊กฟีเจอร์
  38. Zune =>ทำไมแยก App กับ WinMo?
  39. NetBook=> ข้อดีที่เห็นชัดคือ เบา แต่เล็กไปสำหรับผม
  40. True Hi-Speed internet => ok นะ แต่ใช้เน็ตอย่าเดียวไม่ได้ ต้องจ่ายค่าเบอร์ด้วย(ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้งาน)
  41. Computer Graphic+ (CG+)=>ไทยทำ เหมือนจะวนอยู่ที่เก่า
  42. Computer Arts Thailand =>เนื้อหาดี แต่แพง!
  43. Bioscope =>ออกแนวอินดี้นิดๆ
  44. Flimax =>ออกแนวตามกระแสนิดๆ
  45. GTH =>คิดละเอียด เป้าหมายวัยรุ่น
  46. สหมงคล =>ดีก็ดีสุดๆ แย่ก็แย่สุดๆ
  47. GMM Grammy =>ขายเสียง เพราะส่วนมากหน้าตาแย่
  48. RS =>ขายสวย ใส เกาหลี
  49. มูมู่ กะ บูริน =>น่า รัก ซนสุดๆ (ไม่ต้องเข้าใจ เพราะมันเป็นชื่อของอะไรบางอย่าง)
  50. TweetDeck =>ดำ option เยอะ
  51. Seesmic =>ใช้อันนี้ เพราะมันชินกับ twhirl มา
  52. BTS =>ไปคนเดียวคุ้ม ถ้าไปหลายคนแพง
  53. MRTA=>ขึ้นค่าโดยสารบ่อยมาก
  54. รถ ขสมก. =>ถนนโล่งเป็นไม่ได้ ต้องซิ่งสุดๆ (เก็บกด)
  55. มาบุญครอง =>มีมือถือทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น ทุกมือ(1,2,3,..)
  56. เพชรบุรี ซอย 5 => ที่พักเยอะ คนเยอะ ถนนแคบ มีอาหาร มีร้านเกม (มีบ่อนด้วย)
  57. 7-Eleven =>จำนวนของมัน บอกได้ว่ามีประชากรหนาแน่นแค่ในบริเวรนั้น
  58. Pantip.com =>เว็บบอร์ดที่หน้าตาเชยมาก แต่คนก็เยอะมากเช่นกัน
  59. โอบาม่า => ได้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (ได้ยังไง?)
  60. DotA => เล่นแล้วติด อย่าลองล่ะ

ว่างๆจะมาอับเดตเพิ่มอีกทีครับ ใครคิดยังก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ

ร่วมโหวต CMS AWARD ’09

CMS AWARD '09

CMS AWARD ’09 เปิดให้คนทั่วไปร่วมโหวดแล้ว รายนามผู้เข้ารอบมีดังนี้ครับ

Best Overall Open Source CMS

  • SilverStripe
  • MODx
  • DotNetNuke
  • XOOPS
  • WordPress

Most Promising Open Source CMS

  • Manhali
  • Pixie
  • Pligg
  • ImpressCMS
  • RedaxScript

Best Open Source PHP CMS

  • Joomla!
  • WordPress
  • MODx
  • Drupal
  • TYPOlight

Best Other Open Source Award

  • dotCMS
  • Plone
  • WebGUI
  • mojoPortal
  • DotNetNuke

เข้าไปโหวดได้แล้วที่ https://www.packtpub.com มีรางวัล ipod touch 2G ให้ได้ลุ้นด้วยครับ
หมดเขตโหวต วันที่ 30 ตุลาคม 2009 และจะประกาศผลวันที่ 9 พฤศจิกายน 2009

[via] softpedia.com

app Amphur blog ใน facebook

amphur blog app ใน facebook

ลองทำ app บน facebook ดู ก็เป็น feed ของเว็บนี้แหละ ใช้เครื่องมือในเว็บ transpond ทำ
ว่างๆลองเข้าไปดูได้ที่ https://apps.facebook.com/amphurblog/

Bookmark ข้างล่าง

เป็นวิธีทำที่รู้มาจากงาน barcampbangkok3

WordPress คอมเม้นต์ล็อกอินด้วย Facebook หรือ Twitter

คอมเม้นต์ล็อกอินด้วย Facebook หรือ Twitter

DISQUS Comment เป็นปลั๊กอินที่ผมทดลองใช้แล้วรู้สึกว่าชอบขึ้นมาทันที  ความสามารถของมันคือ ทำให้คนที่มี
account ของ facebook หรือ twitter สามารถล็อกอินเพื่อคอมเม้นต์ได้เลย เมื่อมีคนที่มาคอมเม้นต์ที่หลังก็สามารถ
ติดตาม หรือดูโปรไฟล์ของคนที่คอมเม้นต์ก่อนหน้าได้ง่าย แต่ถ้าหากใครไม่ต้องการล็อกอินด้วย facebook หรือ
twitter  ก็ยังคอมเม้นต์แบบธรรมดาได้ ยังคงดึง avatar มาได้ตามปกติ

เลือกคอมเม้นต์ล็อกอินด้วยอะไรบ้าง

สามารถติดตั้งโดยการโหลดปลั๊กอินจากเว็บหรือติดตั้งผ่านทาง Search ของ WordPress ก็ได้ หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว
ต้องทำการสมัครเพื่อใช้งาน DISQUS ด้วย  หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เข้าไปที่เมนู Setting เพื่อเลือก Social ตัวไหน
อาจจะยุ่งยากนิดหนึ่งเรื่องการใช้ facebook connect เพราะต้องใส่ facebook connect API key เข้าไปด้วย
ดูรายละเอียดการใส่และหา key ส่วน twitter ไม่ยุ่งยากติ๊กเลือกก็เสร็จ

หลักจาก Setting เสร็จแล้วให้ทำการ Sync คอมเม้นต์เดิมที่อยู่ใน WordPress เข้าไปใน DISQUS โดยเข้าไปที่เมนู
Advanced Options >>Import comments into DISQUS คลิก import ถ้าหากการ import มีปัญหาให้ใช้วิธี
manual โดย export ไฟล์  XML ออกมาก่อนแล้วอับโหลดเข้าไปใน DISQUS ก็ได้เช่นกัน ดูราละเอียดที่ wiki

ส่วนหัวข้ออื่นต้องลองเล่นดูครับ wiki ของ DISQUS Comment ตามลิงค์นี้ https://wiki.disqus.net/

เพิ่มเติมอีกนิด คือถ้าคนที่คอมเม้นต์ล็อกอินด้วย twitter ถ้าเราจะตอบกับคอมเม้นนั้นก็มีติ๊กให้ tweet หา
คนนั้นได้ด้วยดีฮ่ะ

ทดสอบใช้งานได้ที่คอมเม้นต์ที่ผมใช้ข้างล่างครับ
สมัครสมาชิก และดาวน์โหลดปลั๊กอิน
https://disqus.com

Color Wizard โปรแกรมเลือกสีออนไลน์

โปรแกรมเลือกสี สำหรับเว็บไซต์

คิดไม่ออกว่าจะใช้สีอะไรในการทำเว็บไซต์ โปรแกรมนี้ช่วยได้ครับ ใช้งานค่อนข้างง่าย และไม่ต้องติดตั้งด้วย ทำให้ผมทำงานค่อนข้างสะดวก และง่าย ที่จริงที่เว็บเขามีทั้งหมดสามโปรแกรมที่เป็น tools เกี่ยวกับ การจัดการสีในเว็บไซต์ Color Contrast, Color Wheel และ Color Wizard ทีผมใช้ประจำ มีโทนสีให้เลือกมากมายเข้าไปดูได้ที่ https://www.colorsontheweb.com

ลองใช้ดูเลยครับ

สถิติเปรียบเทียบกัน WordPress ในเดือนมิถุนายน แซง Joomla แล้ว

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว

การทำเว็บไซต์ยุคใหม่ที่เน้นกันที่เนื้อหามากขึ้น การใช้ CMS(Content Manament System)ในการทำเว็บไซต์จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากงาน BarCampBangkok 3 ที่ ม.ศรีปทุม ที่ผ่านมามีการแข่งขัน showdown CMS ขึ้นตัวที่ได้รับความนิยมในไทยก็ได้แก่ joomla ,WordPress ,drupal ในงานมีการให้ข้อดี-ข้อเสีย ของ CMS ที่ตัวเองใช้อยู่มากมาย เลยอยากรู้ว่าใน Trend ของ CMS ของสามตัวนี้มีมาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

หัวข้อแรกที่ดูคือ Trend ของทุกปีที่ผ่านมา มีการเก็บสถิติตั้งแต่ 2004-2009 ดังภาพข้างบน พบว่ากราฟของทุกตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความชันของ WordPress ค่อนข้างที่จะชันกว่าตัวอื่นๆอยู่เล็กน้อย แต่เมื่อเทียบ Rank ด้วย WordPress แล้วได้ค่าดังนี้ คือ WordPress = 1, drupal =0.34, joomla =1.18 จะเห็นได้ว่าค่าของ joomla จะมากสุด ตัวที่น้อยสุดคือ drupal

แต่เมื่อดูจากกราฟแล้วดูเหมือนเริ่มจะมีการตัดกันของเส้นกราฟของ WordPress และ joomla แล้ว จึงทำการดูย้อนกับไปดูช่วง 3 เดือนล่าสุด
เดือนเมษายน

Google Trend CMS ของเดือนเมษายน 2009

เดือนพฤษภาคม

Google Trend CMS ของเดือนพฤษภาคม 2009

เดือนมิถุนายน

Google Trend CMS ของเดือนมิถุนายน 2009

เดือนเมษายน 2009         WordPress = 1 ,drupal =0.32 ,joomla =1.04
เดือนพฤษภาคม 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =1.01
เดือนมิถุนายน 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =0.98

เดือนมิถุนายน 2009 แม้ว่าข้อมูลของเดือนนี้ยังไม่สมบูรณ์แต่มีความเป็นไปได้สูงมากที่สิ้นเดือนนี้ Rank ของ WordPress ต้องสูงกว่า joomla อย่างแน่นอน

แต่ทั้งหมดนั้นเป็น Trend ของผู้ใช้ทั่วโลก เมื่อมาดู Trend ในประเทศจะเป็นอย่างไรนั้นดูได้ตามตารางข้างล่าง

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว ในประเทศไทย

แต่ในไทย CMS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังคงเป็น joomla อยู่ WordPress ยังคงต้องตามหลังต่อไปครับ

ข้อมูลจาก https://www.Google.com/trends

Exit mobile version