WordPress Manual Update

WordPress

เรื่องนี้กะจะบันทึกไว้ตั้งนานแล้ว ลืมทุกทีไป

Server ที่รัน Auto update ของ WordPress ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องทำมือ ขั้นตอนการทำไม่ยาก แต่มักลืม เป็นเหตุผลที่ต้องบันทึก

ขั้นตอนการอับเดต WordPress ด้วยตัวเอง
ผมทดลองทำแล้วไม่มีปัญหาอะไร แต่ใครกลัวมีปัญหา backup เว็บก่อนทำก็จะดียิ่ง ปลอดภัยไว้ก่อน

  1. ดาวน์โหลด latest WordPress เวอร์ชั่นล่าสุด แบบไฟล์ zip หรือ tar.gz มาไว้ที่เครื่องก่อน
  2. แตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาออก
  3. เข้าไปลบ 2 โฟว์เดอร์ wp-includes และ wp-admin ใน directory ของเว็บตัวเก่าทิ้ง ใครไม่อยากลบใช้การ rename เอาก็ได้ ส่วน WP-content อย่าลบ ไฟล์เนื้อหาต่างๆอยู่ไหนนี้ (backup ไว้ก่อนก็ได้)
  4. อับโหลดไฟล์ตัวใหม่ในโฟว์เดอร์ WordPress ทั้งหมดที่โหลดมาเข้าไปทับตัวเก่า ไม่ต้องห่วงว่า wp-config.php จะถูกทับ เพราะของใหม่มันไม่มีไฟล์ตัวนี้อยู่แล้ว
  5. เปิดดูไฟล์ wp-config-sample.php ว่ามี code ใหม่หรือปล่าว ถ้าไม่มีก็ใช้ของเก่าได้เลย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงให้ไปใช้ตัวใหม่ แล้วใส่พารามิเตอร์ให้ถูก(host, user, pass )
  6. เปิดเข้า ../wp-admin มันจะมีลิงค์ เพื่อรัน update มาให้ก็กดซะ ถ้าไม่มีก็ใส่ url รันเองเลย  https://www.amphur.in.th(ที่อยู่ของเว็บ)/wp-admin/upgrade.php
  7. เสร็จเรียบร้อย

เอามาจากข้อแนะนำของ WordPress ลิงค์นี้ https://codex.wordpress.org/updating_wordPress

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งาน สืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1 ของสำนักงาน กปร.

ไปช่วยเขาทำเว็บที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ วิธีการสมัคร มีการประกวด และให้รางวัลด้วย ใครสนใจก็เข้าไปดูได้

เว็บใช้เวลาทำไม่นานมากนัก ส่วนเนื่อหาให้เขาไปปรับแก้ไข และใส่เพิ่มเติมเอง ยังย้ายไปอยู่บน server ของ กปร. ไม่ได้เพราะ server ไม่รองรับ (เขาใช้ aspx) ต้องไป set up เองยังทำไม่สำเร็จ ตอนนี้มันเลยต้องรันอยู่บน subdomain ของบล็อกนี้ คือ https://camp.amphur.in.th หรือถ้าเข้าไปที่หน้าหลักของ https://www.rdpb.go.th/rdpb ยังแก้ปัญหาด้วยการลิงค์มาที่นี้

รายละเอียดของเว็ป

  • แน่นอนมันเป็น WordPress
  • ใช้ธีมของ Academica เป็นธีมฟรีที่เยี่ยมมาก เป็นธีมที่มี slide show มาในตัว และทำระบบเมนูมาดี จนทำให้เข้าใจระบบของ custom menu มากขึ้นว่ามันทำให้การจัดการเรื่องของเมนูง่ายขึ้นมาก และธีมรองรับ image background (WP3.0) มีปรับ CSS นิดหน่อย
  • เพิ่ม Social Plugin ของ Facebook เข้ามาด้วย
  • ใช้ Plugin ที่ชื่อ Mingle Forum ทำเว็บบอร์ด ง่ายและถูกใจ ปรับแต่งได้สะดวก
  • Fancybox ทำให้เวลาคลิกอัลบั้มรูปมันดูดีไฮโซขึ้นอีกเยอะเลย
  • Login-box เวลาคลิกล็อกอินจะแสดงกล่องขึ้นมากรอกเพื่อล็อกอิน ไม่ต้องโหลดหน้าใหม่
  • รูปที่อยู่ข้างในตัดต่อด้วย Pixlr เคยแนะนำไว้แล้วที่ Online Image Editor แต่งภาพออนไลน์ ไม่ต้องลงโปรแกรม ถือว่าใช้ในการทำงานจริงได้สบาย ไม่ต้องง้อ Photoshop

มาบันทึกเก็บไว้เผื่อครั้งหน้าอาจได้ย้อนมาดูว่าทำยังไงบ้าง

ได้เวลาเปลี่ยน Related Post with thumbnail

ผมเลือกใช้ LinkWithin ในการแสดงผลเรื่องที่เกี่ยวข้องท้ายบล็อก(Related Post) มาได้สักพักใหญ่ๆแล้ว ด้วยเหตุผลที่มันแสดงผลได้สวย ลงตัวกับบล็อกของเราพอดี แต่มันมีข้อเสียหลายอย่างที่ทำให้วันนี้ผมต้องเปลี่ยนไปใช้อีกตัวที่คิดว่าดีกว่า

หน้าตาของ Related Post ของ Linkwihtin

สิ่งที่ผมไม่ชอบใน LinkWithin คือ

  • แสดงเนื้อหาไม่เป็น related เอาซะเลย (ใครรู้วิธีตั้งให้มัน relates บอกด้วยนะครับ)
  • แก้ไขอะไรไม่ได้เลย โค้ดมันอยู่ที่เว็บหลักของมัน
  • เวลากดลิงค์จะไปที่เว็บมันก่อนแล้วค่อย redirect มาที่เว็บเรา (อาจจะดีที่เรารู้ว่ามีคนคลิกเท่าไหร่)

แต่ด้วยที่หาตัวอื่นที่ถูกใจมาแทนยังไม่ได้ จึงทนใช้มันเลยมา วันนี้สุดจะทนแล้ว เบื่อมันเต็มทนแล้ว(ช่วงนี้เป็นอะไรไม่รู้ทนอะไรไม่ค่อยได้) จึงลองค้นหาอีกที หาดีๆต้องมี Plugin ที่เราต้องการ หลังจากทดลองลงไป 3-4 ตัว รู้สึกว่า WP-Thumbie คือคำตอบของเรา มันทดแทนข้อเสียของ LinkWithin ได้หมด

Related Post โดย WP-Thumbie

สิ่งที่ผมชอบใน WP-Thumbie คือ

  • แสดงผลแบบ vertical หรือ horizontal ได้
  • มี thumbnail ให้เลือกขนาดได้อิสระ ใส่ตัวเลขได้เลยตามใจชอบ
  • ใส่เนื้อหาบางส่วนลงไปได้ (excerpt)
  • ปรับแต่งได้อิสระ style ถ้าไม่ชอบก็เข้าไปปรับเองได้
  • เลือก  related post แบบไหนก็ได้

LinkWithin หลายคนอาจจะถูกใจมันและยังใช้อยู่อันนี้แล้วแต่ความชอบครับ ส่วนตัวผมบอกลามาพึ่ง WP-Thumbie แล้วครับ

ติดตั้ง Fancybox ให้บล็อก

Fancybox Plugin for WordPress

Fancybox เป็นปลั๊กอินสำหรับ WordPress เมื่อติดตั้งแล้ว เวลาคลิกที่รูปจะแสดงเป็น Lightbox ของภาพใหญ่ขึ้นมา ถ้ามีหลายรูปจะคลิกเลื่อนได้เลย ลองคลิกที่ภาพดูจะรู้ว่ามันแสดงผลยังไง Plugin ประเภทนี้มีเยอะ แต่ที่ผมคิดว่าโอเคคือตัวนี้แหละ จะติดตั้งผ่าน search ในหน้าติดตั้ง Plugin หรือจะโหลดมาติดตั้งเองก็แล้วแต่จะชอบใจ หวังว่าจะชอบมันเหมือนผมนะครับ

วิธีเพิ่ม Thumbnail ให้ Facebook Recommendations Social Plugin

เอา Facebook Recommendations มาติดในเว็บเพื่อแนะนำเรื่องที่คนสนใจในบล็อกนี้ และที่ Biomed.in.th ด้วย มีพี่คนหนึ่งทักว่าทำไมมันแสดงหน้าคนเขียนแทนที่จะแสดง Post thumbnail อย่างที่บางเว็บใช้ก็แสดงเป็น thumb ที่จริงก็เห็นมาสักพักแล้วแต่ยังไม่มีเวลามาแก้ไข เมื่อคืนลองค้นดูว่ามีคนเคยทำบ้างไหม เจอเว็บหนึ่งแนะนำวิธีการทำ เป็นการเพิ่ม meta ให้ facebook โดยให้ดึงภาพจาก custom field ขี้เกียจต้องมานั่งเพิ่มใหม่ทุกอัน ที่จริงเราก็ลง Plugin ที่ชื่อ get the image ไว้แล้ว ดึงเข้ามาเลยง่ายกว่า

เพิ่ม Thumbnail ให้ Facebook Recomendations social plugin

วิธีทำ

  1. เราจะเพิ่มโค้ดนี้ที่หัว (head.php) เพื่อให้ facebook ดึงข้อมูลส่วนนี้ไปใช้
    
    
    
    
  2. ติดตั้ง Plugin ชื่อ Get The Image
  3. ตัวอย่างโค้ดที่ใช้ร่วมกับ Get The Image

    
    
    
     true, 'format' => 'array' ) ); ?>
    
  4. ลองคลิกเข้าไปดูสักโพส เพื่อตรวจสอบว่า meta data ถูกต้องหรือไม่
    เปิดดูโค้ดของแต่ละโพสว่าถูกต้องหรือไม่
  5. อาจต้องรอหน่อยให้ facebook อัพเดตข้อมูลใหม่

ทำให้โพสน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพิ่มคลิกให้โพสที่น่าสนใจได้เยอะเลยครับ ลองทดสอบดูนะครับว่า

via: https://green.cx

แนะนำปลั๊กอิน WordPress สำหรับเว็บที่มีนักเขียนหลายคน

ทำเว็บ Biomed.in.th เริ่มจะมีนักเขียนหลายคน ผมถามเพื่อนๆทาง twitter ไปว่ามีปลั๊กอินสำหรับ WordPress ที่ช่วยในการจัดการเว็บที่นักเขียนหลายคนไหม ได้รับคำตอบกลับมาจากหลายคน ผมขอยกตัวที่ผมเอาไปใช้จริงสองตัวมาให้ดู ได้รับการแนะนำมากจาก @sourcode

  1. Role Manager: เป็นปลั๊กอินที่ช่วยในการกำหนดสิทธิ user ให้มีสิทธิในการเข้าถึง หรือปรับแก้ส่วนไหนได้บ้าง ผมใช้เพื่อเวลานักเขียนส่งเรื่องเข้ามา ต้องผ่านการตรวจสอบจาก admin อีกทีเพื่อช่วยกันดูว่าส่วนไหนผิดพลาด และส่วนไหนต้องเพิ่มเติม ก่อนส่งเรื่อยเผยแพร่ การกำหนดสิทธิแยกเป็นเฉพาะตัวบุคคลได้ด้วย เป็นปลั๊กอินที่สำคัญสุดที่ต้องมีในเว็บที่มีนักเขียนหลายคนเมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของ ผู้ใช้ (User) จะมีเมนูเพิ่มเข้ามาให้เราได้ใช้งาน
    User Manager

    เมนู Roles จะสามารถกำหนดสิทธิให้ user ในระดับต่างๆ ได้ทุกระดับขั้น จะลบ เปลี่ยนชื่อ กำหนดสิทธิ เพิ่มใหม่ก็ได้ในหน้านี้

    หน้ากำหนดสิทธิของลำดับขั้นของ นักเขียน

    เมื่อเราต้องการกำหนดสิทธิให้เฉพาะคน สามารถเข้าไปที่ Profile ของ User นั้นๆ แล้วด้านล่างจะมีช่องให้เลือกติ๊กสิทธิของ user คนนั้น

    เมนูกำหนดสิทธิเฉพาะคน

  2. Author Exposed :ปลั๊กอินตัวนี้ เมื่อเราคลิกที่ชื่อของคนเขียน จะมีบ๊อบอัพแสดงรายละเอียดของคนเขียนคนนั้น ขึ้นมาและบอกด้วยว่าเขียนมาแล้วกี่เรื่อง เมื่อคลิกเข้าไปจะแสดงเฉพาะเรื่องที่คนนั้นเขียนไว้ เป็นประโยชน์กับคนเขียนเองเพื่อตรวจสอบว่าตัวเองได้เขียน อะไรไปแล้วบ้าง และคนอ่านอยากติดตามเฉพาะเรื่องของคนนี้ก็สามารถแยกออกมาให้ด้วย วิธีใช้เมื่อลงปลั๊กอินแล้ว ให้ใส่โค้ดนี้แทนในตำแหน่งที่จะแสดงชื่อของคนเขียน
    
    

    ตัวอย่างการใช้งาน  เมื่อคลิกที่ชื่อ จะแสดงรายละเอียด

    คลิกที่ชื่อจะแสดงรายละเอียดของคนเขียน

    See Authors Posts (จำนวนโพสที่เขียนโดยคนนี้) เมื่อคลิกเข้าไปจะเปิดหน้าที่แสดงเฉพาะบทความที่คนนี้เขียน

    แสดงหน้าที่เขียนโดย นักเขียนคนเราสนใจ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังทำเว็บอยู่นะครับ ส่วนปลั๊กอินต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการกรณีมีนักเขียนหลายคนลองเข้าไปดูที่เว็บที่มาครับ

ที่มา : https://www.hongkiat.com
Via : @sourcode

รีวิว WordPress 3.0 beta 1

WordPress 3.0 beta 1

WordPress 3.0 beta 1 ได้ถูกปล่อยออกมาให้สาวกได้ลองเล่นแล้ว บล็อกผมก็ใช้ WordPress อยู่ด้วย ไม่พลาดที่จะทดลองและเอามาบอกต่อ ผมพยายามหยิบ feature เด่นๆ ที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังครับ ก่อนหน้านี้ผมได้บล็อกเกี่ยว WordPress ไว้หลายอันเหมือนกัน ใครสนใจลองดูใน tag WordPress ได้เลยครับ

เริ่มรีวิว WordPress 3.0 beta 1 กันเลยดีกว่าครับ

    1. ในตอนติดตั้ง พบว่ายังติดตั้งได้เร็วเหมือนเดิม มีส่วนที่เพิ่มเข้ามาในการติดตั้งคือ เราสามารถใส่ user, password ในตอนเริ่มต้นได้เลย ต่างจากเวอร์ชั่นก่อนที่ระบบจะ generate มาให้ แล้วค่อยไปเปลี่ยนเองภายหลัง ผมชอบในการเปลี่ยแปลงตัวนี้นะ

      สามารถตั้งชื่อ admin และ password ด้วยตนเองได้

    2. ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการธีม  WordPress 3.0 beta 1 ใช้ธีมชื่อ Twenty Ten เป็นธีม default
หน้าหลัก WordPress 3.0 beta 1

ธีมนี้มี Option สามารถเปลี่ยน header ,background ได้โดยไม่ต้องไปแก้ใน css เลย สามารถอับโหลดรูปขึ้นเองได้ หรือจะเลือกจากภาพที่มีอยู่แล้วได้เลย เข้าไปแก้ไขได้ที่เมนู Appearance (ฟีเจอร์นี้มากับธีมนะไม่ใช้ WordPress เปลี่ยนธีมมันก็หายไป)

หน้าแก้ไขภาพส่วนหัว อยู่ใน Appearance

ในส่วนของเมนูธีม จะแสดงเป็น tab แยกระหว่าง Manage Themes(เลือกธีมที่จะแสดง) และ Install Themes(ส่วนค้นหาธีมหรืออับโหลดธีม)

เมนูจัดการ Themes
  1. ส่วนของการจัดเมนู แต่ก่อนหน้านี้เราจะไม่สามารถปรับแต่งเมนูได้ WordPress 3.0 beta 1 เพิ่มส่วนของการจัดการมาให้ ทำให้นึกถึง plugin ตัวหนึ่งชื่อ pagemashที่สามารถจัดการหน้า page ให้เป็น sub ของ page ไหนก็ได้ ในส่วนของการจัดการเมนูใหม่ใน WordPress 3.0 beta 1 นี้คล้ายๆกัน สามารถ drag and drop ได้ ใส่ลิงค์เองได้ เข้าใช้งานได้ที่  Appearance >>Munus

    ส่วนจัดการเมนู WordPress 3.0 beta

  2. WordPress 3.0 beta 1 รวมเอา WordPress MU เข้ามาด้วย ทำให้สามารถสร้างเว็บย่อยได้ง่ายยิ่งขึ้น และจัดการได้ง่ายขึ้น ตัวนี้คือตัวที่ผมรอคอย เว็บผมทำ sub-domain ไว้หลายอัน แล้วต้องลง WordPress ใหม่ทุกอัน แยกเป็นคนละเว็บโดยอิสระถ้ามันรวมกันได้ มันจะสะดวกกับผมอย่างแน่นอน เว็บของผมที่เป็น sub-domain อยู่

define (‘WP_ALLOW_MULTISITE’, true ) ;

เมื่อใส่โค้ดเข้าไปแล้วจะมี เมนู Tools>>network เพิ่มขึ้นมา คลิกเข้าไปจะมีโค้ด ให้เพิ่มเข้าไปในไฟล์ wp-config.php และ .htaccess

addsite setup

เมื่อทำทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จะมีเมนู Super Admin เพิ่มขึ้นมาด้านบน ซึ่งจะทำให้สามารถจัดการได้อย่างสะดวก ทั้งการเลือกธีมให้แต่ละ site , การเพิ่ม site, การจัดการ user ในการใช้งาน, รวมทั้งพื่นที่การใช้งานแต่ละ site

เมนู Super Admin
การจัดการเพิ่ม site ใหม่ให้เว็บไซต์

เมื่อดูความสามารถของ WordPress 3.0 beta 1 แล้ว พบว่ามันน่าใช้มากขึ้น และมี feature ที่ผมรออยู่ ตัวสมบูรณ์มาไวไวนะ

อยากลองทดสอบเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่  https://WordPress.org/development/2010/04/WordPress-3-0-beta-1/

dipity.com เว็บนี้บอกว่า คุณทำอะไรเมื่อไหร่!

การแสดงผลของ dipity.com

เจอบล็อกของ @iannnnn “พลังไพร่ใน Social Network” เห็นเว็บหนึ่งในพรีเซ็นต์มันช่างน่าสนใจเหลือเกิน (ตามไปดูเอง) มีบางอย่างผุดขึ้นมาในหัวว่า ถ้าอยากรู้ว่าวันนี้ของปีที่แล้ว เราทำอะไรอยู่ ก็เลือนไปดูเลยน่าจะดี เว็บที่ว่าคือ dipity.com สมัครง่าย แล้วก็ import ข้อมูล Timeline ของเราเข้าไป รองรับ Twitter, Flickr, Picasa, Youtube, WordPress, Blogger, Delicious, RSS บล็อกของเรา อื่นๆดูในรูป แต่แปลกตรงที่ ไม่มี Facebook ไม่รู้ทำไม?
หน้าเลือก source เข้ามาแสดงใน dipity

เมื่อเราใส่เนื้อหาเข้าไป ทุกอย่างจะถูกแสดงผลตามเวลาที่เราเผยแพร่เนื้อหานั้นสู่สาธารณะ การซูมเข้า-ออกที่อยู่ด้านซ้ายของมันคือ การขยายย่อเวลาให้แสดงเป็น ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ปี หรือร้อยปี อีกอย่างที่ชอบมากเลยคือ Embed มาโชว์ในบล็อกได้ด้วย (ดูด้านล่าง)
ประโยชน์ของมันผมเห็นหลายอย่าง เอาไว้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆได้ ง่ายต่อการย้อนมาดูในภายหลัง ติด geotagging ก็จะสามารถแสดงในแผนที่ได้ด้วย เราเล่น social network หลายที่ก็สามารถดึงมันมารวมกันแล้วแบ่งตามช่วงของเวลา สรุปว่าลองไปเล่นดูแล้วกัน

Pongsak S. on Dipity.

ขอบคุณ @iannnnn ที่ทำให้รู้จัก dipity
อันนี้ของผม https://www.dipity.com/sarapuk/

Google Adsense ส่ง PIN มาให้แล้ว

จดหมายจาก Google Adsense

จดหมาย PIN จาก Google Adsense ขอไปวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2010 ส่งมาถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2010 อันนี้เป็นครั้งที่สองแล้ว ครั้งแรกส่งไปที่อยู่ต่างจังหวัดปรากฎว่ารอนานมากหลายเดือนไม่ถึงสักที จน Adsense ของผมแสดงโฆษณาการกุศล (PSA) วิธีแก้ไขคืออีเมล์ไปที่ adsence-support@Google.com บอกว่าระหว่างรอ PIN ตัวใหม่ขอเลื่อนการแสดง PSA ออกไปก่อน เขาจะเลื่อนออกไปให้ 3 เดือน ตอนเขียนอีเมล์ผมเขียนเป็นอังกฤษไปแต่ตอนตอบกลับเขาตอบกับมาเป็นภาษาไทย ผมเข้าใจว่าถ้าเราเขียนเป็นภาษาไทยไปก็น่าจะได้นะ

ด้านหน้าของจดหมาย

รายละเอียดด้านในก็เป็นภาษาไทยครับ

วิธีการติดตั้งภาษาไทยให้กับ WordPress

WordPress in Thai Language

สำหรับใครติดตั้งภาษาอังกฤษไว้แล้วอยากเปลี่ยนมาเป็นภาษาไทย เป็นเรื่องที่คิดว่าน่าจะรู้กันอยู่แล้ว ติดตั้งตัวภาษาอังกฤษไว้ ถ้าเปลี่ยนเป็นภาษาไทยทั้งเราและเพื่อนน่าจะทำงานกันได้ง่ายขึ้น เลยลองหาวิธีเปลี่ยนโดยไม่ต้องลงใหม่ ก็ไปเจอวิธีการเปลี่ยนในเว็บ ก็เลยบันทึกไว้ดูเผื่ออนาคตอาจได้ทำอีก

  1. ดาวน์โหลด th.mo ตามเวอร์ชั่นของ WordPress ที่ลิงค์นี้มา https://svn.automattic.com/wordpress-i18n/th/tags/ มันจะอยู่ใน folder ชื่อ messages
  2. อับโหลดไฟล์ th.mo ขึ้นไปเก็บที่ wp-content/languages (สร้าง folder นี้ ขึ้นมาเอง)
  3. แก้โค้ดใน wp-config.php ให้เป็น define (‘WPLANG’, ‘th’);  (เติม th เข้าไป)
  4. เสร็จสมบูรณ์

via: https://codex.wordthai.com/เวิร์ดเพรสในภาษาของคุณ

Exit mobile version