เล่าเรื่องพื้นที่เก็บภาพแบบฟรีของ Google+Photo

เราใช้ Google+Photo เป็นที่เก็บภาพมาตั้งแต่ที่ยังเรียกกันว่า Picasa Album ดีอย่างหนึ่งคือให้เก็บฟรีที่ความละเอียดภาพไม่เกิน 2048×2048 pixel แต่ถ้าเกินก็อัพโหลดได้แต่จะไปกินเนื้อที่ส่วนอื่น เราใช้ package ต่ำสุดของการจ่ายเงินเพื่อเพิ่มพื้นที่ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามากคือ 20GB 5$/year รวมกับโบนัสอื่นอีกที่ได้มา 16GB รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมด 36GB ถือว่าเยอะพอสมควร แต่เมื่อวานตอนจะอัพโหลดภาพใหม่ขึ้น ระบบก็แจ้งเตือนว่าพื้นที่ใกล้หมด ทำเอางง? เพราะคิดว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะใช้ 36GB หมด ส่วนใหญ่ที่ใช้ก็มี Google Drive, Gmail เป็นหลักสองส่วนนี้ไม่น่าจะกินพื้นที่มาก ส่วนรูปภาพก็อัพกว้างไม่เกิน 2048pixel อยู่แล้ว แล้วอยู่ๆมันเกิดเต็มขึ้นมาได้ยังไง (ไม่ค่อยได้เช็คดูเท่าไหร่นัก) จึงเข้าไปตรวจสอบที่ละจุดว่าเกิดอะไรขึ้น ดูรายละเอียดการใช้พื้นที่ได้ที่ https://www.google.com/settings/storage?hl=en พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่หมดไปกับการเก็บภาพ ใช้ไปประมาณ 22GB ไหนว่าฟรีที่ความกว้างไม่เกิน 2048pixel?

จึงเข้าไปดูโปรไฟล์ของรูปที่เราอัพโหลดขึ้นไปจึงได้รู้ว่า ปรกติการทำรูปของเราจะใช้ LR เป็นตัว export รูปออกมาที่ความกว้าง 2048px (ตั้งค่าไว้แค่ตัวเดียว) จากนั้นใช้ Picasa อัพโหลดขึ้นไปแบบภาพต้นฉบับเลย มันเกิดปัญหาขนาดภาพใหญ่เกินโควต้าเมื่อภาพที่ export ออกมาเป็นแนวตั้งครับ ปรกติเราถ่ายภาพที่อัตราส่วน 4:3 จะได้ภาพที่ความละเอียด 2048x1365px แต่ถ้าเป็นภาพแนวตั้งจะได้ภาพขนาด 2048x3072px (เพราะมันถูก fix ค่าเฉพาะแนวกว้างไว้) ซึ่งภาพเหล่านี้เองที่ทำให้กินพื้นที่ที่ละเล็กทีละน้อยมาจนทำให้เยอะจนกินพื้นที่ไปกว่า 22GB

ภาพในแนวตั้งมีประมาณ 1 ใน 5 ของภาพทั้งหมด ขนาดราว 4-5MB แสดงว่ามีภาพแนวตั้งที่เราต้องแก้ไขให้ขนาดไม่เกินโควต้าอยู่ราว 4-5พันรูปเลยครับ หนักใจเหมือนกัน เลยลองมาคิดความคุ้มทุนที่อัพเกรดพื้นที่เป็น 100GB ดีหรือเปล่า ซึ่งราคาก็อัพขึ้นมาพอสมควรกับสิ่งที่ได้มาใช้ไม่มากนัก จึงเริ่มปันใจจะแก้ไขภาพบางส่วนให้ได้พื้นที่กลับมาสัก 10GB แล้วแบ่งภาพไปเก็บที่ Flickr ที่ให้พื้นที่ตั้ง 1TB หรือไม่ครั้งหน้าระวังเรื่องการอัพโหลดรูปให้มีขนาดตามโควต้าซึ่งอันนี้ไม่ยากแค่ตอนอัพโหลดใน Picasa ให้ตั้งค่า Image size เป็น Best for web sharing การตั้งค่านี้จะย่อรูปแนวตั้งของเราอัตโนมัติ

คิดไปคิดมาลดพื้นที่เก็บภาพลงมาดีกว่า จึงเริ่มปฏิบัติการโหลดภาพจาก Google+Photo ทีละอัลบั้มลงเครื่องไว้ก่อน จากนั้นก็ลบภาพบนเน็ตทิ้ง แล้วก็อัพโหลดขึ้นไปใหม่ให้ขนาดไม่เกินโควต้าซึ่งทำไปสักพักก็ได้พื้นที่กลับมาแล้วราว 2 GB แต่ก็เหนื่อยพอสมควร เน็ตต้องแรงทั้งขาอัพโหลด-ดาวน์โหลด อีกอย่างที่ต้องชมคือระบบของ Google+Photo ทำออกมาได้ค่อนข้างดี ใช้งานง่ายดีทีเดียว ทำให้ทำได้ค่อนเร็ว

พื้นที่ว่างกลับมาบ้างแล้ว

Tinkercad โปรแกรมออกแบบงาน 3D อย่างง่าย ใช้งานออนไลน์ผ่านหน้าเว็บ

Tinkercad

Tinkercad เป็นโปรแกรมออกแบบงานทางด้าน 3 มิติ ใช้งานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เป็นของบริษัท Autodesk บริษัทที่ทำโปรแกรม 3 มิติที่ดังๆอย่าง 3ds Max, Maya, AutoCAD นั้นแหละ

Tinkercad เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว โปรแกรมจะมีรูปทรง 3 มิติพื้นฐานบางส่วนมาให้ เราสามารถสร้างรูปร่างที่ซับซ้อนจากการประกอบรูปทรงพื้นฐานเหล่านี้ได้ จากรูปทรงพื้นฐานที่ธรรมดาๆ บวกกับความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถประกอบรูปร่างให้มันเป็นรูปทรง 3 มิติที่น่าทึ่งได้เช่นกัน ลักษณะเหมือนต่อเลโก้ นอกจากนี้โปรแกรมยังมีความยืดหยุ่นสูง โดยอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถสร้างรูปทรงจากโค้ด JavaScript ได้อีกด้วย(แนวคิดเดียวกับ Minecraft) ตัวอย่างเจ๋งๆที่มีคนทำไว้ เช่น Godzillaรถแข่ง, เรือ+ปราสาท ลองเข้าไปดูตัวอย่างอื่นๆได้ที่ Discover

นอกจากนี้ ตัวอัพเดตล่าสุดของ Tinkercad เราสามารถ Export โครงสร้าง 3 มิติเข้าไปในเกม Minecraft ได้อีกด้วย ต้องถูกใจขาเกมแน่นอน เท่าที่เข้าไปเปิดดูใน Discover ที่แชร์ในเว็บไซต์มีหลายคนสร้างปราสาทเพื่อนำเข้า Minecraft เยอะพอสมควรเลย เรียกได้ว่าเป็นส่วนเสริมเกม Minecraft อีกตัวหนึ่งก็คงได้

Download for Minecraft

ดูตัวอย่างการ Export ปราสาทที่สร้างใน Tinkercad แล้วนำเข้าไปในเกม Minecraft ได้ในคลิป

https://www.youtube.com/watch?v=LnT1ZGQ0Abo

เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี คนที่อยากลองสร้างผลงาน 3 มิติไม่ควรพลาด จะทำแบบง่ายๆไปจนถึงสุดล้ำก็น่าลองทั้งนั้น

เข้าไปเล่น Tinkercad ได้ที่ https://tinkercad.com

via: Polygon

Search within my feedly and ‘next & previous’ buttons

Search within my feedly

หลังจากที่ Google Reader ถูกสั่งปิดบริการไป ก็มีหลายบริษัทต่างๆพร้อมใจกันตบเท้าออกมาทำ Reader แข่งกัน ที่ได้ลองใช้ก็มี AOL Reader, Digg Reader, feedly สุดท้ายเราก็เลือกทีจะย้ายมาใช้ feedly การใช้งานโดยทั่วไปเมื่อเทียบกับ Google Reader ก็เรียกได้ว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว หากแต่ก็มีสองอย่างที่เราใช้ประจำใน Google Reader แต่ใน feedly ยังไม่มี ซึ่งเราก็อยากให้มีมากๆด้วย คือ

  1. ฟีเจอร์การค้นหาใน feedly ของเราเอง บางครั้งเราอยากอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เราสนใจที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดบางคำ ซึ่งเราอยากรู้ว่าในแต่ละสำนักข่าวมีความคิดเห็นเกี่ยวเรื่องๆเดียวกันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง การค้นหาใน feed ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างดี เพราะเราคัดเว็บไซต์ที่เราสนใจไว้แล้วถึงได้ดึง feed เว็บไซต์เหล่านั้นมาไว้ ซึ่งพอเปิดเข้าไปใน Suggestion ของ feedly ก็พบว่ามีคนอยากได้ฟีเจอร์นี้เหมือนเราเยอะเหมือนกัน และก็ได้รับการโหวตเป็นอันดับหนึ่งด้วย ซึ่งทีมงานก็รับรู้แล้วและเข้าไปอยู่ในแผนงานการพัฒนาแล้ว วางใจได้ระดับหนึ่งว่าเราจะได้ใช้แน่นอน
  2. อีกอย่างที่ถือว่าเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ กับรูปแบบการใช้งานของเราเอง คือ ปุ่ม next, previous สองอย่างนี้เป็นสิ่งที่รู้สึกว่ามันยังขาดอยู่ ติดนิสัยตั้งแต่ใช้ Google Reader มา โดยเราจะใช้เมาส์คลิกมากกว่ากดปุ่มคีย์บอร์ด j,k เพื่อเลื่อน article ถัดไป ซึ่งเราพบว่า ใน AOL Reader ก็มีปุ่มนี้อยู่นะ แต่ใน Digg Reader และ feedly กลับไม่มีซะงั้น อีกอย่างปุ่ม j,k ใช้ได้เฉพาะตอนที่คีย์บอร์ดเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ต่างจาก Google Reader ที่ตอนกด  ่, า ก็ใช้งานได้เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าตอนนี้ก็มีคนเข้าไปโพส suggestion ไว้เหมือนกันฝากเพื่อนที่ใช้ feedly ทุกท่านเข้าไปโหวตให้เป็นฟีเจอร์ต่อไปที่ต้องทำด้วยนะครับ คลิกเข้าไปโหวตได้ที่ Add a next/previous button or arrow. (not using keyboard shortcuts)

หวังว่า feedly จะพัฒนาต่อๆไปให้เทียบชั้น Google Reader ให้ได้ เพราะยังไงเราก็ยังชอบอ่านข่าว บล็อก บทความ ผ่านทาง RSS อยู่ดี เพราะมันเก็บไว้อ่านได้ และเราคัดไว้แล้วว่าเว็บไหนน่าอ่าน และไว้ใจในเนื้อหาได้ ยังไงซะ Google Reader ก็ยังเป็นตัวที่ดีที่สุดที่เคยใช้ อาจจะเพราะความเคยชินด้วยส่วนหนึ่ง พยายามจะปรับตัวให้เข้ากับ feedly แล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่ชินสักที แต่อย่างน้อยก็อยากได้สองฟีเจอร์ข้างบนเพิ่มอยู่ดี อาจจะทำให้อ่านได้คล่องตัวเหมือนเดิมก็เป็นได้ สุดท้ายฝากเข้าไปคลิกโหวตให้ทีมงานเพิ่มปุ่ม next/previous ให้ด้วยนะครับ

บันทึกรายการหนังในรอบปีที่ไปดูมาแล้ว

รายการความบันเทิงในชีวิตของผมเองมีการบันทึกไว้ค่อนข้างเป็นระบบ ตั้งแต่รายการเพลงที่ฟัง หนังที่ดู หนังสือที่อ่าน อาหารที่กิน ถูกบันทึกไว้ให้ตัวเองหยิบขึ้นมารำลึกในภายหลังได้อย่างสะดวกที่สุด อีกอย่างรายการเหล่านี้สะท้อนความเป็นตัวตนของเราได้เป็นอย่างดี ทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วเราชอบอะไรแบบไหนเป็นพิเศษ เคยเขียนบล็อกถึงการบันทึกเรื่องพวกนี้อยู่บ่อยๆ

สิ่งที่ช่วยบันทึกรายการความบันเทิงส่วนตัว มีดังนี้ครับ

  • Last.fm เก็บบันทึกเพลงที่ฟัง
  • Goodreads เก็บบันทึกหนังสือที่อ่าน
  • Food เก็บบันทึกอาหารและร้านอาหาร
  • Picasa เก็บบันทึกภาพถ่าย
  • และ imdb เก็บบันทึกหนังที่ไปดูมาแล้ว 

ถ้านอกเหนือจากรายการต่างๆเหล่านี้ก็จะบันทึกลงบล็อกไว้ให้ได้มากที่สุดครับ

ในวันนี้สิ่งที่อยากจะแชร์นั้นคือรูปแบบการบันทึกรายการหนังที่ดูมาแล้วของผมเอง ในที่นี้จะไม่ได้แยกว่าหนังที่ได้ดูนั้นดูที่ไหนอย่างไร จะเป็นหนังในโรง หนังแผ่น หรือแม้แต่หนังที่ดูผ่านทางเคเบิลทีวีก็ตาม ทุกเรื่องที่ได้ดูก็จะถูกบันทึกลงลิสต์ ณ เวลานี้ผ่านมาแล้ว 7 เดือน เลยครึ่งปีมาแล้วหนึ่งเดือน เราดูหนังไปแล้ว 49 เรื่อง เป็นหนังใหม่-เก่าที่ไม่เคยดู ในรายการนี้จะบันทึกเฉพาะหนังที่ไม่เคยดูเท่านั้น ซึ่งบางทีหนังที่เคยดูแล้วหยิบขึ้นมาดูอีกครั้งจะไม่ถูกบันทึกลงในรายการนี้เลย

วิธีการบันทึกของผมนั้นใช้ imdb.com เป็นตัวช่วยบันทึก โดยการล็อกอินเข้าระบบในเว็บไซต์ จากนั้นสร้างลิสต์ของตัวเองขึ้นมา เมื่อไปดูหนังกลับมาก็ไม่ลืมที่จะเข้าไปที่หน้ารายละเอียดของหนังเรื่องนั้นใน imdb.com แล้วกดบันทึกลงในลิสต์ที่เราสร้างไว้ ทำแบบนี้ทุกครั้งที่ไปดูหนังมา เริ่มทำแบบนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว พบว่าวิธีนี้สะดวกดีเลยทีเดียวครับ

วิธีการบันทึกหนังลงลิสต์ของ imdb

  1. ทำการสร้างลิสต์ใหม่ขึ้นมา (สมัครสมาชิกและล็อกอินเข้าระบบก่อน) คลิกสร้างลิสต์ใหม่ Create a new list

    Create a new list

  2. เลือก list เป็นรายการของรายชื่อหนัง ใส่ชื่อของลิสต์ตามที่ต้องการในที่นี้ผมต้องการบันทีกรายการหนังที่ได้ดูตลอดทั้งปี 2013 จึงตั้งชื่อว่า “Watchlist in 2013”

    New List

  3. เมื่อต้องการบันทึกหนังที่ไปดูมาแล้วลงในลิสต์ที่สร้างไว้ เข้าไปที่รายละเอียดของหนังเรื่องนั้น กด Watchlist เลือกลิตส์ที่ต้องการเพิ่มหนังเรื่องดังกล่าวลงไปในลิสต์ เป็นอันเสร็จสิ้น

    add to watchlist

เข้าไปดู Watchlist ของผมใน imdb ได้ที่ลิงค์นี้ครับ Watchlist in 2013Watchlist in 2012

ขอชวนทุกท่านมาสร้างลิสต์หนังของตัวคุณเองครับ แล้วเอาลิสต์หนังของคุณมาแชร์กันบ้างนะครับ ผมอยากรู้ว่าคุณชอบดูหนังแนวไหน เรื่องอะไรบ้าง

LastPass เพราะเราขี้เกียจจำ User และ Password

LastPass

อยู่ๆก็อยากพูดถึง LastPass ขึ้นมาครับ น่าจะเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ในคอมของเราจะขาดไม่ได้เอาเสียเลย

LastPass เป็นอีกหนึ่งบริการช่วยจำรหัสล็อกอินเว็บไซต์ต่างๆของเรา รวมถึงการช่วยสร้างรหัสที่มีความปลอดภัยสูง ใช้งานมาได้พักหนึ่งแล้วและตอนนี้ก็ยังใช้อยู่ ไปเจอบริการตัวนี้ครั้งแรกจาก TIME’s 50 Best Websites 2012 แล้วก็ทดลองใช้ตั้งแต่ตอนนั้น ลองค้นดูพบว่ามีบริการในลักษณะนี้อยู่สองสามเจ้าในตลาดที่แข่งขันกันอยู่ ได้แก่ LastPass, 1Password, mSecure แต่มีแค่ LastPass ที่มีเวอร์ชั่นฟรี

ความสามารถหลักๆของ LastPass ที่ใช้อยู่คือ ให้ช่วยจำรหัส จำข้อมูลส่วนตัว(ชื่อ,ที่อยู่) ตอนที่จะเราจะล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรือต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเราเอง LastPass ช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้อย่างดี

ตอนนี้มีเว็บไซต์ต่างๆประมาณ 200 กว่าเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิก มีรหัสเข้าใช้งานอยู่ประมาณ 10 แบบที่แตกต่างกัน แต่ละชุดค่อนข้างยาว ตัวที่ยาวสุดคือมีอักขระเกือบ 30 ตัว แต่ก่อนเว็บไซต์ที่นานๆครั้งจะได้เข้าใช้งานจะซุ่มรหัสใน 10 แบบที่เรามีไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ หรือแม้แต่จำได้ถ้าจะให้พิมพ์รหัสยาวๆเองทุกครั้งก็ไม่สะดวกเอามากๆเลยล่ะ ส่วนใน Google Chrome ก็มีระบบช่วยจำให้เหมือนกัน แต่การบริหารจัดการนั้นไม่สะดวกเอาซะเลย ใช้ LastPass ลงตัวกว่ามาก จะจัดหมวดหมู่ แก้ไข คัดลอก ทำได้ง่ายกว่ามาก ตอนนี้เลยจำแค่รหัสล็อกอินเข้า LastPass เพียงตัวเดียวที่เหลือก็ให้โปรแกรมช่วยจำ ช่วยจัดการให้

แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเหมือนกัน นั้นคือตัวแอพ LastPass ที่ใช้งานในมือถือหรือแท็ปเล็ตต้องจ่ายตังค์แบบรายปีซึ่งถือว่าหลายตังค์เหมือนกัน(24$/Y) ทำให้อาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ แต่เราใช้เฉพาะในคอมก็ยังสะดวกกว่าไม่ได้ใช้อยู่ดี อีกข้อหนึ่งที่น่าห่วงเหมือนกันคือความปลอดภัยถ้าเราทำรหัสของ LastPass แค่อันเดียวหลุดไป คนที่ได้ไปก็อาจจะได้รหัสอื่นๆไปด้วย อันนี้ต้องระวังมากๆด้วย ซึ่งเราเองก็ต้องชั่งใจอยู่นานเหมือนกันว่าระบบของเขาปลอดภัยแค่ไหน ซึ่งเท่าที่ศึกษาข้อมูลจากหลายๆที่ก่อนตัดสินใจใช้ ก็พอตอบได้ว่าไว้ใจได้ แต่ก็มีรหัสบางตัวที่สำคัญมากๆ เช่นเกี่ยวกับการเงิน ก็จะไม่เอาเข้าไปเก็บไว้ใน LastPass เลย

สรุปว่า LastPass ช่วยให้การท่องโลกอินเทอร์เน็ตของเราสะดวกขึ้นมากๆ ***แนะนำให้ใช้กับเครื่องคอมของตัวเองเท่านั้นนะครับ

LastPass: https://lastpass.com/

[WORDPRESS PLUGIN] Jetpack รวมปลั๊กอินหลายตัวเป็นหนึ่งเดียว

Jetpack for WordPress

กำลังมองหาปลั๊กอินเกี่ยวกับการทำแชร์ลิงค์ไปที่ social network พวก twitter, facebook, google+ อะไรประมาณนี้อยู่ครับ ซึ่งมันก็มีอยู่เยอะมาก เลือกกันจนตาลายก็ไม่ได้ดังใจสักทีสุดท้ายมาเจอ Sharedaddy ค่อนข้างถูกใจ ง่าย ขนาดเล็ก

แต่พอติดตั้ง Sharedaddy เสร็จมันขึ้นเตือนมาว่า ต้องลงปลั๊กอิน Jetpack เพิ่มถึงจะทำงานได้ ก็เลยติดตั้งลงบล็อกไป เมื่อเปิดดูรายละเอียดของ Jetpack แล้ว ต้องบอกว่ามันสุดยอดมาก เพราะมันเป็น All in one รวมปลั๊กอินหลายตัวมาอยู่ในตัวเดียว เลยสามารถลบปลั๊กอินออกได้หลายตัวแล้วมาใช้ Jetpack แค่ตัวเดียว

Plugin ต่างๆที่อยู่ใน Jetpack

Plugin ที่อยู่ Jetpack

เยอะมาก และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการติดตั้งต้องมี account ของ WordPress.com ด้วยนะครับ เพือเชื่อมระหว่างบล็อกของเรากับ WordPress

มาดูปลั๊กอินตัวเด่นๆที่น่าใช้ครับ

WordPress.com Stats

เก็บสถิติของบล็อก

ตัวเก็บสถิติใช้ตัวเดียวกันกับ WP.com มันเก็บข้อมูลได้ละเอียดกว่าตัว StatPress Reloaded ที่ใช้อยู่ ดังนั้นเลยถอนตัวปลั๊กอินตัวนี้ที่ใช้มานานแล้วทิ้งไปอย่างไม่ลังเล

Sharing Buttons

Sharing

ปุ่มสำหรับกดแชร์บล็อกไปที่ Social network ที่ต้องการ มีตัวหลักๆครบถ้วน หรือจะเพิ่มเองก็ได้ มีรูปแบบให้เลือกหลายอัน เรียบ ง่าย และสวย ควบคุมให้แสดงเฉพาะ Home, Page หรือ Post ได้ ตรงตามความต้องการพอดี จึงลบตัวที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้คือ Social Sharing Toolkit ทิ้งไป

Subscriptions widget

Subscriptions widget

ระบบแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลเมื่อมีโพสใหม่ เป็นระบบของ WordPress เอง และมีการเก็บสถิติได้ด้วย แต่ตอนนี้ใช้ของ Feedburner อยู่เลยไม่ได้เปลี่ยน หากใครสนใจใชระบบของ WordPress ก็น่าใช้ไม่น้อยเหมือนกัน

Gravatar Hovercards

Gravatar Hovercards

ระบบทำรายละเอียดของผู้เขียน โดยดึงของมูลมาจาก Gravatar เหมาะสำหรับบล็อกที่มี Author หลายคน บล็อกนี้มีคนเดียวเลยไม่ได้ใช้งาน

Spelling and Grammar demo

ระบบแนะนำคำถูกต้อง

ปลั๊กอินตัวนี้เหมาะสำหรับคนที่เขียนบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมันจะช่วยให้ดูคำผิดทั้งการสะกดผิดหรือแกรมมาผิดได้ง่ายขึ้น มันจะแนะนำคำที่ถูกต้องมาให้ เหมือนอยู่ใน MS Office เลย

Contact Form

Contact Form

ใครที่ใช้ Contract Form 7 ตัวนี้ก็ทำงานในแบบเดียวกัน ปรับแต่ง field ได้ และตั้งค่าอีเมลรับข้อความได้

Custom CSS

CSS editor

ตัวแก้ไข ปรับแต่ง CSS เพิ่มเติม แบบแสดงสีสัน ที่ไม่ได้มีแค่โค้ดเหมือน default ของ WordPress

Mobile Theme

Mobile Theme

ปรับแต่งให้บล็อกแสดงผลในอุปกรณ์มือถือ แท็ปเล็ต ได้สวยงามยิ่งขึ้น ดูดีมาก แต่ก่อนใช้ WPtouch เลยเปลี่ยนมาใช้ของ Jetpack แทน และสามารถปรับแต่การแสดงผลได้อีกนิดหน่อย

ส่วนอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง

  • Jetpack Comments
  • Carousel Gallery
  • VaultPress
  • WP.me Shortlinks
  • Shortcode Embeds
  • Beautiful Math
  • Extra Sidebar Widgets
  • Enhanced Distribution

แต่ที่ชอบมากเพราะมันไม่ได้ทำให้บล็อกโหลดช้าเลย อาจจะเพราะปลั๊กอินส่วนใหญ่ที่มีใน Jetpack เราใช้อยู่แล้ว ก็เป็นได้

 ดูรายละเอียด และ ดาวน์โหลด Jetpack for WordPress 

“ฝนตกที่บ้านนอก” ตัดต่อใน YouTube Video Editor

YouTube Video Editor

ช่วงกลับบ้านที่ต่างจังหวัดได้ถ่ายวีดีโอตอนฝนตกไว้แบบสั้นๆ นึกอยากเอามาตัดต่อรวมกันครับ และก็รู้มาก่อนหน้านี้แล้วว่า YouTube มีตัวช่วยตัดต่อออนไลน์ให้ใช้ เลยทดลองใช้งานดูครับ ขั้นตอนการทำของผมมีดังนี้ครับ

  1. อัพโหลดวีดีโอทั้งหมดขึ้นไปใน YouTube ซึ่งผมมีอยู่ 4 คลิป แบบความคมชัด 720p ถ่ายด้วย Cannon 600D
  2. เข้าไปที่ https://www.youtube.com/editor ส่วนของ User Interface แสดงให้เห็นดังรูปด้านบนครับ
    เมนู

    ส่วนคำคัญตรงเมนูด้านบนครับ เรียงตามลำดับ ได้แก่ วีดีโอของเรา, วีดีโอของคนอื่นๆที่จะนำมาใช้ได้, ดนตรีประกอบ, Transition และตัวอักษร ต่อไปก็เริ่มตัดต่อได้แล้ว

  3. คลิกลากวีดีโอที่ต้องการตัดต่อลงมาอยู่ในช่อง Timeline ด้านล่าง
  4. คลิกที่วีดีโอตรง Timeline สามารถปรับแต่งได้อีกนิดหน่อย เช่น หมุนวีดีโอ, Contrast, Brightness, Stabilize

    Video Effect

  5. นำเสียงเพลงเข้ามาประกอบ โดยลากเพลงที่ต้องการลงมาด้านล่างของวีดีโอ Timeline ปรับเสียง Balance ระหว่างเสียงในวีดีโอ และเสียงเพลง
  6. ใส่ข้อความประกอบวีดีโอเพิ่มเติมได้
  7. จากนั้นตั้งชื่อ Project แล้วกด Public ได้เลย YouTube จะใช้เวลาสักพักในการ Process เมื่อเสร็จก็นำไปแชร์ได้แล้ว

ผลงานของผมที่ใช้ YouTube Video Editor ตัดต่อออกมา จากไฟล์เริ่มต้นที่เป็น 720p ตัดต่อเสร็จก็เป็น 720p ครับ ชมผลงานได้เลยด้านล่างนี้ครับ

“RAIN AT HOME ” 

รายการที่ทำไป

  • ตัดต่อจาก 4 คลิป
  • ปรับ Contrast, Brightness และ ปรับช่วยกันสั้น (Stabilize)
  • ใส่เพลงประกอบ
  • ใส่ Transition
  • ใส่ข้อความ

การตัดต่อวีดีโอใน YouTube Video Editor ถือว่าใช้งานได้ดีเลยครับ อาจจะมีช้านิดหน่อยช่วงหลังปรับเปลี่ยน Effect และตัวอักษรที่จะใส่เข้าไปในวีดีโอตัวที่เล็กสุดยังรู้สึกว่าใหญ่เกินไปครับ

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012 คัดเลือกโดยนิตยสาร TIME

50 Best Websites 2012

เว็บไซต์ของนิตยสาร TIME จะรายงาน 50 สุดยอดเว็บไซต์ (50 Best websites ) เป็นประจำทุกปี เพราะมีเว็บไซต์ใหม่ๆ บริการออนไลน์ใหม่เกิดขึ้นทุกปี หรือบางทีก็ปรับปรุงเว็บไซต์เดิมใหม่จนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมให้จดจำ แต่ทุกๆคนก็พยายามที่จะพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นตลอดเวลา เช่น เร็วขึ้น ประหยัดเงิน ประหยัดเวลามากขึ้น อำนวยความสะดวกมากขึ้น หรือบริการรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย นิตยสาร TIME นั้นค่อนข้างคัดเลือกเว็บไซต์ได้ดีมากๆ เป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าเราไม่เอามาบันทึกเก็บไว้ ต้องยอมรับว่าหลายเว็บไซต์พึ่งจะเคยได้ยินชื่อเหมือนกัน แต่พอเข้าไปสำรวจพบว่าเป็นเว็บไซต์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ โดยเฉพาะในหมวด Web Tools ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานที่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตแทบจะตลอดเวลาของยุคนี้เป็นอย่างดี ขอเชิญชวนให้ท่านลองเข้าไปสำรวจเว็บไซต์สุดยอดเหล่านี้ดูครับ จะได้รู้ว่าเว็บไซต์ดีๆ ไม่ได้มีแค่ Google, Facebook, Twitter …

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012

แบ่งตามหมวดต่างๆ ได้ดังนี้ (อยากทราบรายละเอียดของแต่ละเว็บไซต์เข้าไปดูได้ที่ที่มาท้ายเรื่อง) Web Tools

Entertainment

Game

Education

News and Information

Family and Kids

Shopping

ค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย

ค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย

ถ้าใครต้องเขียนเอกสารวิชาการอย่างเช่น วิทยานิพนธ์ สิทธิบัตร โครงการขอทุน หนังสือ รายงานโครงการวิจัย ฯลฯ อาจจะจำเป็นต้องใช้ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งทางราชบัณฑิตยสถานก็มีเครื่องมือที่จะช่วยเหลือเราในการค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ถูกบัญญัติใหม่ในภาษาไทย โดยอำนวยความสะดวกให้ด้วยการค้นหาผ่านเว็บไซต์  ซึ่ง ณ ตอนนี้ มีคำศัพท์บัญญัติที่ให้บริการ 19 ฐานข้อมูล

  1. ศัพท์คอมพิวเตอร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖,๔๘๒ ระเบียน
  2. ศัพท์แพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓๑,๓๖๕ ระเบียน
  3. ศัพท์รัฐศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๘,๕๒๗ ระเบียน
  4. ศัพท์การเชื่อม อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๙๒๕ ระเบียน
  5. ศัพท์พลังงาน อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๓๕๐ ระเบียน
  6. ศัพท์ประชากรศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๔,๗๙๒ ระเบียน
  7. ศัพท์พฤกษศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖,๗๓๘ ระเบียน
  8. ศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๒๗๑ ระเบียน
  9. ศัพท์ประกันภัย อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๐๑๑ ระเบียน
  10. ศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๕๙ ระเบียน
  11. ศัพท์ปรับอากาศ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๗๕ ระเบียน
  12. ศัพท์สัทศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖๐๔ ระเบียน
  13. ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑๕,๔๑๕ ระเบียน
  14. ศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๔๕ ระเบียน
  15. ศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๙๘๑ ระเบียน
  16. ศัพท์ยานยนต์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๓๐๖ ระเบียน
  17. ศัพท์ทันตแพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๕๓๔ ระเบียน
  18. ศัพท์ธรณีวิทยา อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๕,๘๑๑ ระเบียน
  19. ศัพท์คณิตศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๕,๔๖๑ ระเบียน

ผมได้มีโอกาสได้ใช้งานบ้างในบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ศัพท์ที่ค่อนข้างเฉพาะทางก็ยังค้นไม่เจอ(เพราะยังไม่บัญญัติ) เราก็จำต้องใช้ทับศัพท์ไป แต่อย่างไรก็ตามบริการค้นหาคำศัพท์บัญญัตินี้ก็ช่วยได้เยอะทีเดียว ดังนั้นควร Bookmark เก็บไว้ครับ

ตัวอย่างการใช้งาน

ทดลองค้นหาคำว่า endothelium

เข้าใช้งานบริการค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย ได้ที่  https://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php

* ถ้าเปิดเว็บไซต์เข้าไปแล้วไม่สามารถอ่านข้อความได้(เป็นภาษาประหลาด) ให้เปลี่ยน encoding เป็น Thai

วิเคราะห์การใช้งาน Facebook ของคุณด้วย Wolfram|Alpha

Wolfram|Alpha เป็นระบบค้นหาคำตอบอัจริยะ มันเก่งขึ้นเรื่อยๆ Siri ของ Apple ก็ดึงข้อมูลบางส่วนจาก Wolfram|Alpha ไปใช้งาน ถ้าอยากรู้จักมันให้ดีขึ้นลองอ่านบทความเก่าๆ ใน Tag  Wolframalpha ได้ครับ ผมเขียนถึงมันอยู่บ้างและก็ได้ใช้งานอยู่เป็นระยะ ความสามารถล่าสุดที่น่าสนใจของ Wolfram|Alpha ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นาน คือ “Facebook report” ครับ ลองมาดูว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Facebook report by Wolfram|Alpha

Facebook report คือการวิเคราะห์การใช้งาน Faceook ของเรา โดยละเอียด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์

  • ข้อมูลส่วนตัว เกิดวันไหน ปีอะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดอีกครั้ง
  • Activity ในแต่ละปีที่ใช้งานมา อัตราการโพส แชร์ลิงค์ อัพโหลดภาพ
  • ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดในการโพส คำนวณคำที่ใช้โพส มีคีย์เวิร์ดอะไรเยอะที่สุดในโพส
  • เพื่อนคนไหนคอมเม้นต์ ใครแชร์ในโพสของคุณมากที่สุด
  • อัตราการใช้แอฟพิเคชั่น
  • ภาพไหนที่คุณโพสมีการคอมเมนต์และแชร์มากที่สุด
  • อัตราส่วนเพื่อนผู้หญิง-ผู้ชาย เฉลี่ยเพื่อนคุณมีสถานะอะไรบ้าง (โสด,แต่งงาน ฯลฯ)
  • ช่วงอายุของเพื่อน ใครแก่สุด ใครเเด็กสุด
  • เพื่อนอยู่ในประเทศอะไรบ้าง ใช้ภาษาอะไร ศาสนาอะไร
  • และอื่นๆ

วิธีการใช้งาน

เข้าไปที่เว็บไซต์ Wolfram|Alpha พิมพ์คำว่า facebook report ลงในช่องค้นหา enter

Facebook report

จากนั้นก็คลิกปุ่ม “Analyze My Facebook Data” ซึ่งระบบจะขออนุญาติเข้าถึงข้อมูล Facebook ของเราก็กดยอมรับไป สักพักระบบจะดึงข้อมูลของเราเข้ามา และรายงานผลการวิเคราะห์ให้ได้เห็น

Facebook report

ตัวอย่างการวิเคราะห์บัญชีของผมเอง คิดว่าถ้าเป็นบัญชี Wolfram|Alpha แบบ Professional คงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เพราะเทียบกับข้อมูลจากด้านบนของ Stephen Wolfram ของเขาเป็น account แบบ Pro ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงของเพื่อน และอื่นๆที่ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ผลการวิเคราะห์ไปที่ social network อย่าง facebook, twitter, google+, linkedin ฯลฯ ได้ทันที

Share ผลการวิเคราะห์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wolframalpha.com/facebook

Exit mobile version