เขียนถึง (วิเคราะห์) Sony Pictures ถูกแฮคครั้งใหญ่

Sony Pictures hack

เรียกว่าวิเคราะห์ก็เขินเกินไปที่จะเขียนแบบนั้น ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องคอมพิวเตอร์ขนาดนั้น เลยใช้คำว่า “เขียนถึง” ก็พอแล้วกัน ข่าววงการไอทีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงนี้คือ ข่าวบริษัท Sony Pictures ถูกแฮคคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เรียกได้ว่าถูกเจาะทะลุปรุโปร่ง อีเมล ระบบงาน ไฟล์หนังสมบูรณ์ที่ยังไม่ได้ฉาย บทภาพยนต์ เอกสารเจรจาธุรกิจ ข้อมูลพนักงาน เอกสารลับในบริษัท และอื่นๆอีกมากมาย เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญและน่าติดตาม จึงอยากจะบันทึกเรื่องต่างๆในมุมมองของตัวเองเก็บไว้

มีข่าวหลายที่ตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

https://www.engadget.com/2014/12/10/sony-pictures-hack-the-whole-story/ 

https://www.bbc.com/news/technology-30530361

https://www.blognone.com/topics/sony-pictures (ภาษาไทย)

มีหลายสำนักโยงเรื่องการแฮคครั้งใหญ่นี้กับเกาหลีเหนือ ต้นเรื่องมาจากการทำหนังเรื่อง The Interview หนังตลกเกี่ยวกับการลอบสังหารผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ Kim Jong-un และการถูกขู่ให้ระงับการฉายหนังเรื่องนี้ก่อนที่เหตุการณ์การถูกแฮคจะเกิดขึ้น ยิ่งทำให้คนเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกัน แม้ว่าเกาหลีเหนือจะออกมาปฎิเสธแบบกรายๆว่าไม่ใช่ แต่จากการสืบสวนมีหลายอย่างที่มุงไปที่เกาหลีเหนือเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้ไม่มีทีท่าว่าจบลงได้โดยง่าย แฮคเกอร์ยังมีข้อมูลหลายอย่างที่จะนำมาเผยแพร่ต่ออยู่อีกเรื่อยๆ

นามแฝงของแฮคเกอร์ #GOP

สิ่งที่พอจะมีความคิดเห็นกับเรื่องนี้ มีดังนี้

  1. ถ้าหากเป็นเกาหลีเหนือที่ทำจริง แสดงว่าเขามีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ที่แข่งแกร่งมาก พร้อมจะทำสงครามไซเบอร์กับใครก็ได้ ที่บอกว่าพร้อมจะโจมตีใครก็ได้เพราะดูจากการเลือกเป้าหมายที่โจมตีก่อน ไม่ใช่การเจอช่องโหว่ของระบบได้ด้วยความบังเอิญ หากแต่เป็นการมุ่งโจมตีเป้าหมายที่ต้องการจะโจมตี “ถ้าคุณยังยืนยันจะทำหนังล้อเลียนผู้นำของเราคุณจะถูกโจมตี” ในยุคที่ทุกอย่างแทบจะอยู่ในคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตหมดแล้ว ทำให้การโจมตีมาจากที่ไหนก็ได้ กลายเป็นว่าเกาหลีเหนือมีกองทัพไซเบอร์ที่น่ากลัวมาก
  2. โรงหนังของดฉายหนังเรื่อง The Interviews เพราะไม่อยากเป็นเป้าโจมตี ทำให้รู้สึกว่าเราอยู่ในยุคที่การโจมตี ไม่ใช่มาจากการโจมตีทางการทหารอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว การโจมตีทางไซเบอร์ทำความเสียหายให้กับเป้าหมายอย่างสูงมาก ในขณะที่ใช้กำลังพล กำลังทรัพย์น้อยกว่ามาก และการโจมตีเป้าหมายในระยะไกลคนละซีกโลกได้โดยง่าย
  3. ประเทศเรามีการพัฒนาหรือพร้อมกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน เท่าที่รู้เราไม่น่าจะมีกองกำลังที่จะโจมตีใครได้หรือจะดูแลตัวเองได้เลยด้วยซ้ำ ประเทศเราก็พึ่งพาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอยู่ไม่น้อย ทะเบียนราช ชื่อ-ที่อยู่ของทุกคนในประเทศ ระบบภาษี ธนาคาร งานบริการอื่นๆอีกมากมาย ระบบความปลอดภัยของเราพร้อมมากน้อยแค่ไหน เป็นอีกเรื่องที่น่าให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
  4. ถ้าหากการแฮคครั้งใหญ่นี้เกิดจากช่องโหว่ในระบบที่มีการแจ้งเตือนก่อนหน้านี้แล้ว แต่ถูกเพิกเฉย เมื่อแฮคเกอร์ใช้ช่องโหว่นั้นแฮคได้สำเร็จ ได้ข้อมูลต่างๆไปมากมาย จากนั้นแค่นำเรื่องของเกาหลีเหนือมาเป็นข้ออ้างในการกระทำครั้งนี้ “Some Men Just Want to Watch the World Burn” ก็เป็นคราวซวยของ Sony Pictures ที่ฝ่ายไอทีเพิกเฉยกับเรื่องที่สำคัญเช่นนั้น แต่อย่างไรก็ตามผู้กระทำให้ผู้อื่นเสียหายดังกล่าวก็ควรได้รับการลงโทษตามกฏหมาย

เรื่องที่พอจะคิดออกและอยากเขียนถึงก็มีเพียงเท่านี้ ตอนแรกแค่อยากจะเขียนลงทวิตเตอร์แต่เขียนไปเขียนมามันเริ่มยาวเกินไปจึงนำมาเขียนในบล็อกเก็บไว้เลยดีกว่า ถ้ามีประเด็นไหนที่คิดออกอีกจะนำมาเขียนต่ออีกทีครับ

วิธีแสดงภาพขนาดใหญ่ด้วย Google Maps Viewer

ถ้าหากต้องการแสดงภาพที่มีขนาดใหญ่มากๆ อย่างเช่น ภาพพาราโนมา ภาพแผนที่ขนาดใหญ่ สไลด์ชิ้นเนื้อที่ถ่ายแบบทั้งสไลด์ เป็นต้น ต้องการแสดงผลแบบที่เห็นภาพโดยรวมของภาพทั้งหมดก่อน และเมื่ออยากดูรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถซูมเข้าไปดูได้ พูดง่ายๆคือแสดงเหมือนแผนที่ใน Google Maps เมื่อเลือกตำแหน่งที่สนใจได้แล้ว ก็สามารถซูมเข้าไปดูใกล้ๆได้ เพื่อดูรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ในความเป็นจริงถ้าเราแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงตั้งแต่แรกจะทำให้การโหลดข้อมูลทำได้ช้ามากเพราะภาพจะมีขนาดใหญ่ วิธีดังกล่าวนี้จะเลือกโหลดภาพเฉพาะส่วนที่จำเป็นมาแสดงทำให้การแสดงผลทำได้ราบรื่นกว่ามาก เช่น ถ้าหากต้องการดูพื้นที่โดยรวมทั้งหมดก็จะโหลดภาพที่มีความละเอียดต่ำมาแสดงผล ถ้าต้องการดูส่วนที่ละเอียดมากขึ้นเมื่อกดซูมระบบจะดึงภาพที่มีความละเอียดสูงกว่ามาแสดงเฉพาะส่วนตรงจุดที่เราสนใจ เมื่อเราคลิกเลื่อนตำแหน่งไปเรื่อยๆก็จะโหลดภาพส่วนนั้นเพิ่มเข้ามาแสดงผล

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้ Google Maps Viewer มาใช้งาน มีหลากหลายเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น https://www.pathobin.com

ขั้นตอนการใช้ Google Maps Viewer แสดงภาพขนาดใหญ่

  1. ดาวน์โหลดโปรแกรม GMap Image Cutter  ลงไว้ในเครื่อง แตกไฟล์ที่อยู่ใน zip ออกมา
  2. เปิดโปรแกรมที่ชื่อ GMapImageCutter.jar ขึ้นมา ในเครื่องจะต้องมี Java ติดตั้งไว้ด้วย ถ้าไม่มีดาวน์โหลดและติดตั้งได้ที่ https://java.com/en/download/index.jsp
  3. คลิกเลือก File → Open เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการนำมาแสดงด้วย Google Maps Viewer ในส่วนของ Max Zoom Level ควรตั้งไว้ตามค่าเดิม แต่ถ้าต้องการเพิ่มให้ซูมได้มากยิ่งขึ้นสามารถปรับเพิ่มได้ แต่ก็จะทำให้ต้องใช้เวลาในการสร้างไฟล์นานยิ่งขึ้น จากนั้นคลิกปุ่ม Create

    Gmap cutter

  4. เมื่อโปรแกรมสร้างไฟล์เสร็จแล้ว จะได้ไฟล์ HTML และโฟลเดอร์ที่เก็บภาพที่โปรแกรมสร้างขึ้นมาใหม่จำนวนจะมากน้อยตามความละเอียดที่ตั้งไว้ สามารถแสดงผลได้ทันทีโดยการคลิกเปิดไฟล์ HTML ด้วยบราวเซอร์ท่องเว็บไซต์ทั้วไป เช่น Internet Explorer, Google chrome, Safari เป็นต้น สามารถดูในแบบ Offline ได้ทันที

    ภาพที่พร้อมใช้งาน

  5. ถ้าต้องการนำภาพดังกล่าวไปแสดงบนเว็บไซต์สามารถทำได้โดยการอัพโหลดไฟล์ HTML และโฟลเดอร์ภาพขึ้นไปไว้บนเซิร์ฟเวอร์จากนั้นเรียกการแสดงผลโดยการใช้โค้ด

ยกตัวอย่างโค้ด

<iframe src="panorama.html" width="800" height="600" frameborder="0" marginwidth="0" marginheight="0" scrolling="no">
 </iframe>

หรืออัพโหลดขึ้น Dropbox ซึ่งสามารถแสดงไฟล์ที่เป็น HTML ได้เลยเช่นกัน ต้องใส่ไว้ใน public folder ยกตัวอย่าง https://dl.dropboxusercontent.com/u/1622318/Tissue-section.html

ข้อมูลจาก https://www.labnol.org

Flickr for Android ดาวน์โหลดไปใช้งานกัน

Flickr for Android

แปลกมากที่จะโหลด Flickr ลงมือถือแต่ดันฟ้องขึ้นมาว่าที่ประเทศไทยใช้ไม่ได้ ทำเอางงมากๆ ทำไมยังไม่เปิด Worldwide ทำให้เข้าไปค้นใน Google play ก็ไม่เจอ ต้องเข้าผ่านลิงค์ตรง Flickr for Android เข้าไปก็จะรู้ว่าติดตั้งไม่ได้ ใน iOS ก็ดาวน์โหลดไม่ได้เช่นกันนะ

Flickr ใน Google Play ติดตั้งไม่ได้

Flickr เป็นที่เก็บภาพถ่ายที่ให้พื้นที่ฟรีเยอะมาก 2TB บางครั้งภาพที่ต้องการเก็บแบบเต็มขนาดไฟล์ ใหญ่ๆ ก็จะเข้ามาใช้งาน Flickr บางครั้งก็อยากเข้าใช้งานผ่านมือถือ แต่ติดที่มันไม่ให้บ้านเราดาวน์โหลดผ่านทาง Google play ดังนั้นจึงได้ไปค้นหาไฟล์ APK มาติดตั้งเสียเลย

ค้นจาก Google ได้จากเว็บไซต์นี้ https://www.apk4fun.com ก็ดาวน์โหลดแล้วติดตั้งได้เลย ติดตั้งจากตัว APK ก็ใช้งานได้ดีเลยทีเดียว

ตัว Flickr for Android ก็มีฟีเจอร์ Auto Sync อยู่ด้วยซึ่งต้องระวังเรื่องการใช้ดาต้ากันให้ด้วย สามารถปิดได้ หรือเลือกให้ Sync เฉพาะตอนต่อ Wi-Fi ก็ได้ แต่ที่สำคัญกว่าคือ ค่า Privacy รูปที่ถ่ายจะเป็น Public เป็นค่าเริ่มต้น ควรเข้าไปตั้งค่าให้เหมาะสม เดี๋ยวใครที่ชอบถ่ายภาพแบบลับๆจะโชว์ให้ชาวบ้านเห็นในทันที ระบบ Auto Sync ทำงานได้ดีมาก เร็วทันใจ

Flickr for Android เมนูต่างๆ

ส่วนการใช้งานอื่นๆการถ่ายภาพ แล้วใส่ฟิวเตอร์ทำได้ง่ายและเร็ว แชร์ไปที่ Facebook, Tumblr, Twitter ได้พร้อมกันทันที ตัวแก้ไขภาพก็มีให้ใช้งานอย่างครบครันทั้งปรับสี ตัดภาพ ความสว่าง หมุนภาพ ฯลฯ

ตัวปรับแก้ไขภาพ และตัวเลือกฟิวเตอร์

ส่วนที่ใช้ปรับแต่ง แก้ไขภาพ และส่วนฟิวเตอร์ในแบบต่างๆ และการแชร์ภาพ

การถ่ายภาพ เมนูด้านขวาใส่ฟิวเตอร์ เมนูฝั่งขวาปรับแต่งภาพ และจบด้วยการแชร์ภาพ

Flickr for Android ทำให้เราสามารถเข้าถึงบัญชี Flickr ของเราได้ง่ายชึ้น และยังเป็นแอพที่ใช้ถ่ายภาพ ตกแต่งภาพ ที่ใช้ง่าย สมควรมีติดไว้ในสมาร์ทโฟนของท่านอย่างยิ่ง

ถ้าลิงค์จากด้านบนโหลดไม่ได้ คลิกโหลดจากนี้ได้ครับ Flickr for Android V3.1.3

อยากรู้ว่า รูปสวยๆรูปนั้นถ่ายด้วยกล้องอะไร เลนส์อะไร เรามีตัวช่วย

หลายๆครั้งที่เราเห็นภาพสวยๆบนเว็บไซต์ต่างๆ ก็อยากจะรู้ขั้นตอนการได้มาซึ่งภาพสวยๆอันนั้น สิ่งหนึ่งที่พอจะทำให้เราเข้าใจการทำงานของช่างภาพได้บ้าง นั้นคือเขาใช้อุปกรณ์อะไรในการถ่ายภาพนั้น(Camera Model, Flash) เลนส์อะไร(Lens Model) ความยาวโฟกัสเท่าไหร่(Focal Length) ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่(Exposure Time) เปิดรูรับแสงยังไง(F Number) ISO เท่าไหร่ ถ่ายที่ไหน(GPS) เมื่อไหร่(Date, Time) ทำให้เราเข้าใจภาพนั้นมากขึ้น

ค่าต่างๆเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่อยากเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางผลงานของช่างภาพที่เราชื่นชอบ ซึ่งค่าต่างๆเหล่านี้จะถูกฝังไว้ในไฟล์ภาพนั้นๆตั้งแต่ที่กดถ่ายภาพอยู่แล้ว รายละเอียดเหล่านี้เรียกกันว่า Exchangeable image file format หรือ EXIF รายละเอียดดูได้ตามลิงค์

โดยปกติในโปรแกรมจัดการกับรูปภาพสามารถแสดงรายละเอียดของ EXIF ได้อยู่แล้ว แม้แต่ในบริการฝากรูป Flickr, Google+Photo ก็แสดงรายละเอียดของ EXIF โดยละเอียดได้ หรือใน OS X เวลากด file info ก็แสดงรายละเอียดได้เช่นกัน

แต่ภาพที่เราจะดูเอามาเป็นแรงบันดาลใจ เอาไว้เรียนรู้ ส่วนใหญ่ก็จะอยู่บนเว็บไซต์ การใช้งานแบบ offline จึงดูไม่ค่อยสะดวกมากนักเป็นการทำงานหลายขั้นตอนกว่าจะได้เห็นข้อมูล การกดดูแบบออนไลน์ทันที จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า จึงเอา Extension สำหรับ Google Chrome ที่สามารถคลิกดูรายละเอียดของภาพได้โดยละเอียดมาแนะนำครับ ส่วนตัวก็ใช้โดยปกติอยู่แล้ว

Exif viewer extension for Google Chrome

Exif Viewer Extension สำหรับ Google Chrome

สามารถดาวน์โหลด EXIF Viewer สำหรับ Google Chrome มาใช้ได้ตามลิงค์ เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาจะใช้งานเพียงแค่คลิกขวาบนรูปภาพที่ต้องการดูรายละเอียดของ EXIF จะมีเมนู Show EXIF data อยูในรายการ ให้คลิกเมนูนี่เลย

ตัวอย่างภาพจาก https://pantip.com/topic/32715141 รูปสวยดีครับ เลยอยากรู้ว่าถ่ายด้วยกล้องอะไร

คลิกขวาที่ภาพ จะมีเมนู Show Exif Data

เมื่อคลิกเมนูดังกล่าว รายละเอียดต่างๆของ EXIF ก็จะแสดงที่ด้านขวาของจอ บอกรายละเอียดอย่างครบถ้วน

รายละเอียดของ EXIF data ก็จะปรากฏที่ด้านขวาของจอทันที

นับว่ามีประโยชน์สำหรับมือใหม่ มือสมัครเล่น ที่หัดเรียนรู้ว่ามืออาชีพอย่างมาก อย่างไรก็ตามบางทีรูปก็จะไม่มีรายละเอียด EXIF เหมือนกัน ถ้าหากคนถ่ายภาพจะลบข้อมูลตรงนี้ออกไปซึ่งก็ทำได้เหมือนกัน

EXIF Viewer ตัวนี้ช่วยให้ได้เรียนรู้วิธีถ่ายภาพผ่านทางผลงานของมืออาชีพได้เยอะมากครับ นำเอามาประยุกต์ใช้และฝึกฝนตัวเองได้ดีเลยทีเดียว ขอแนะนำให้เพื่อนๆที่อยากฝึกฝนตนเองได้ลองติดตั้งลงเครื่องไว้ใช้งานครับ

ปล. ถ้าไม่อยากกดคลิกเข้าไปในเมนู ขอแนะนำอีกตัว EXIF Reader ตัวนี้เป็น Extension เหมือนกัน แค่วางเมาส์ไว้บนภาพ รายละเอียดเบื้องต้นก็โชว์ออกมาให้เห็นแล้ว แต่รายละเอียดจะน้อยกว่า EXIF Viewer Extension

วิธีดาวน์โหลดทวีตของตัวเองทั้งหมดมาเก็บไว้

ถ้าใครอยากจะ backup ทวีตของตัวเองทั้งหมดจาก Twitter มาเก็บไว้ มีขั้นตอนง่ายๆมาแนะนำครับ

ขั้นตอนการดาวน์โหลดทวีตของตัวเองทั้งหมดมาเก็บไว้

1. ล็อกอินเข้าไปที่เว็บไซต์ twitter.com
2. เข้าไปที่เมนู setting คลิกที่รูป Avatar ของเรา

เมนู setting

3. เลื่อนลงไปที่ส่วนของ Content กดคลิกที่ปุ่ม Request your archive

Request your archive

4.ระบบจะส่งลิงค์สำหรับดาวน์โหลดทวีตไปที่อีเมลอันเดียวกับที่เราใช้สมัคร twitter

แจ้งรายละเอียดการส่งลิงค์ไปที่อีเมล

5. สักครู่เราจะได้รับอีเมลจาก Twitter จะมีลิงค์สำหรับดาวน์โหลด คลิกเลย!

ลิงค์ในอีเมล

6. เมื่อกดลิงค์จะเปิดเข้ามาที่หน้าดาวน์โหลด คลิกปุ่ม Download เลือกตำแหน่งที่จะบันทึกลงในเครื่องตามต้องการ

ลิงค์ดาวน์โหลด

7. ไฟล์ที่โหลดมาจากชื่อ Tweets.zip เมื่อแตกไฟล์ออกมาจะหลายไฟล์อยู่ในนั้น

ไฟล์ที่โหลดลงเครื่องไว้

8. เมื่อคลิกเปิดดูไฟล์ที่ชื่อ index.html ก็จะเห็นทวีตของเราทั้งหมดตั้งแต่ทวีตครั้งแรกจนถึงทวีตล่าสุด เมนูด้านขวาจะแบ่งตามปี เรียงตามเดือน เมื่อคลิกที่แถบก็จะแสดงข้อความที่เราทวีตไว้เมื่อเดือนและปีนั้นๆขึ้น

ทวีตทั้งหมด

ขั้นตอนการดาวน์โหลดทวีตของเราทั้งหมดมาเก็บไว้ก็มีขั้นตอนง่ายเท่านี้ ทดลองโหลดมาเก็บไว้ได้นะครับ เผื่อว่าอยากนำทวีตของตัวเองมาทำอะไรต่อไป เช่น ทำสมุดรวมทวีต เป็นต้น

Evernote เปิดตัว Web Client ตัวใหม่ มันโล่งมาก มีภาพเปรียบเทียบ

The New Evernote web client

ผมใช้งาน Evernote มานานมากและต่อเนื่องมาตลอด ดูจากบล็อกเก่าที่เคยเขียนถึงครั้งแรกตั้งแต่ 2009 “ตอนนี้ใช้ Evernote จนติดงอมแงม” มีหลายอย่างที่ชอบ Evernote เช่น การค้นหาในบันทึกทำได้ง่าย ใช้กับอุปกรณ์ไหนก็ได้ข้อมูล Sync ถึงกันหมดและเร็ว ค่อนข้างใช้ง่าย ทำงานได้เร็ว พื้นที่ที่ให้แบบฟรีต่อเดือนถือว่าเพียงพอ ไม่ต้องสมัครแบบพรีเมี่ยมก็ยังไม่กระทบกับชีวิตมาก มีบ้างเหมือนกันที่ใกล้สิ้นเดือนแล้วพื้นที่จะเต็ม ต้องรอให้มันรีเซ็ตใหม่ในเดือนหน้า แต่เกิดนับครั้งได้

นอกจากความประทับใจด้านบนที่กล่าวมาแล้ว มีอีกอย่างหนึ่งที่ประทับใจใน Evernote คือการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งเราสัมผัสได้ว่ามันดีขึ้นทุกครั้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆที่ออกมาก็ทำให้เราตามติดไปใช้งานด้วย  เช่น Evernote Food, Skitch, Penultimate

วันนี้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ Evernote อีกครั้ง โดย Phil Libin CEO ของ Evernote ได้ออกมาเปิดตัว Web client ตัวใหม่ในงาน EC4 conference ซึ่งมันเปลี่ยนจากเดิมไปเยอะเลยทีเดียว Phil Libin บอกว่า Evernote ที่ใช้งานผ่านเว็บตัวเก่ามันอุ้ยอ้าย “cluncy” เหลือเกิน ตัวใหม่ทุกอย่างจะละลายหายไป “melt away” เหลือแต่พื้นที่ให้คุณเขียนบันทึก อยากรู้แล้วซิมันจะหายไปยังไง?

การออกแบบเป็นแนวแบนๆ เรียบหรู ตามยุคสมัยนี้ หน้าเขียนบันทึกทำให้มีสีขาวสะอาดและโล่งมากๆ ทุกอย่างถูกซ่อนไว้เกือบหมด แต่เครื่องมือที่จำเป็นจะปรากฏออกมาเมื่อเราจะเอาเมาส์ไปวางบนไอคอน ทำให้พื้นที่ในการจดบันทึกโล่ง ให้รู้สึกความคิดได้เปิดกว้างไม่ถูกปิดกั้น ดีขึ้นจริงๆนะ

ตอนนี้ Evernote เวอร์ชั่นใช้งานบนเว็บตัวใหม่ได้ปล่อย beta ออกมาให้ได้ทดลองใช้งานกันแล้ว เข้าไปตอนนี้ระบบจะถามเลยว่าจะทดลองใช้ตัวใหม่หรือไม่ ถ้าเลือกทดลองใช้ตัวใหม่แล้วอยากกลับไปใช้ตัวเก่าเข้าไปตั้งค่ากลับเป็นแบบเดิมได้ที่ Setting

ดูภาพเปรียบเทียบ Evernote เวอร์ชั่นเก่ากับใหม่

Evernote เวอร์ชั่นเก่า

เวอร์ชั่นใหม่

Evernote เวอร์ชั่นใหม่ หน้าแรก
Evernote เวอร์ชั่นใหม่ หน้าเขียนบันทึก โล่งมาก
Evernote เวอร์ชั่นใหม่ หน้าเขียนบันทึก ทดลองเขียนบันทึก

via: techcrunchengadget.com

25+ ฟอนต์แนวลายมือ ฟอนต์เขียนด้วยมือ ดาวน์โหลดฟรี

Free Hand Drawn Fonts

พยายามจะหาฟอนต์ลายมือหรือแนวเหมือนวาดด้วยมือ จะเอามาใช้ในงานออกแบบเล่นๆอันหนึ่งที่ทำอยู่ แต่อยากได้ที่ฟรีและถูกต้อง เอามาใช้ก็ไม่ได้ใช้ในทางการค้าแต่อย่างไร ก็ค้นๆดูตามเว็บออกแบบต่างๆ พบว่ามีหลายฟอนต์ที่น่าสนใจเลยทีเดียว อาจจะได้ใช้ในงานอื่นๆในอนาคตด้วย เลยอยากจะบันทึกเก็บรายการฟอนต์ต่างๆที่เป็นแนวเขียนมือไว้ คัดมาเฉพาะฟอนต์ที่ตัวเองชอบเป็นหลักครับ อยากแชร์ให้คนอื่นได้ดูด้วย ดูตัวอย่างและดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ

รวมฟรีดาวน์โหลด ฟอนต์แนวลายมือ ฟอนต์เขียนมือ

Childs Play Font

Childs Play Font

Grutch Shadedw Font

Grutch Shadedw Font

FFF Tusj Font

FFF Tusj Font

Pointy Font

Pointy Font

Sketch Rockwell Font

Sketch Rockwell Font

Pee Pants Script Font

Pee Pants Script Font

Fh Scribble Font

Fh Scribble Font

Fh Ink Font

Fh Ink Font

Positiv-A Font

Positiv-A Font

Aguzlo Font

Aguzlo Font

Handwerk Font

Handwerk Font

Marker Twins Font

Marker Twins Font

Toms Handwritten Font

Toms Handwritten Font

Barnes Erc Font

Barnes Erc Font

Pen of Truth Font

Pen of Truth Font

Sketchy Font

Sketchy Font

Tire Shop Demo Version

Tire Shop Demo Version

Octember Script Font

Octember Script Font

WC RoughTrad Bta Font

WC RoughTrad Bta Font

McCoy – Hello Lori Font

McCoy – Hello Lori Font

Peixe Frito Font

Peixe Frito Font

Thurston Erc Font

Thurston Erc Font

Karabine Font

Karabine

Tiza Font

Tiza Font

Clementine Sketch Font

Clementine Sketch Font

Oh Ashy Font

Oh Ashy Font

Love Ya Like A Sister Font

Love Ya Like A Sister Font

via: naldzgraphics.netwebdesigntoolslist.com

Wordmark.it เว็บนี้ช่วยคุณเลือกฟอนต์มาใช้งานได้ง่ายขึ้น

Wordmark.it เว็บเลือกฟอนต์ที่ชอบ

Wordmark.it เชื่อว่านักออกแบบต้องชอบเว็บนี้แน่เลย เป็นเว็บที่จะช่วยให้เราเลือกฟอนต์ที่จะนำมาใช้ในงานออกแบบของเราได้ง่ายขึ้นมาก เพียงพิมพ์ข้อความลงไปบนช่องด้านบนของเว็บไซต์ และกดโหลดฟอนต์ “load font” แล้วฟอนต์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องเราก็จะถูกนำมาแสดงบนเว็บไซต์ ให้เราได้พรีวิวดูก่อนว่าฟอนต์ไหนจะเหมาะกับข้อความที่เราออกแบบไว้

ยังสามารถปรับแต่งข้อความเพิ่มเติมได้จาก เมนูด้านบน ได้แก่ แบบพื้นหลังสีดำตัวอักษรสีขาว พื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีดำ รูปแบบตัวอักษร(ตัวเขียน เล็ก ใหญ่) ขนาดของฟอนต์ เป็นต้น เว็บทำงานได้ค่อนข้างเร็วเลย จะโหลดฟอนต์มาบางส่วนถ้าเลื่อนจนสุดแต่ยังไม่ถูกใจก็คลิกโหลดฟอนต์มาแสดงผลเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ

นอกจากนั้นมันใช้กับภาษาไทยได้ด้วยนะครับ ลองพิมพ์ภาษาไทยเข้าไปก็ใช้งานได้ดีเลย

ทดสอบใช้งานภาษาไทยใน Wordmark.it

นับว่าช่วยให้การเลือกฟอนต์ทำได้ง่ายขึ้นมากๆ น่าจะเป็นประโยชน์กับมือใหม่ที่ทำงานด้านออกแบบ ทำเว็บไซต์ ทำสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่แน่ใจว่ามืออาชีพเขามีเครื่องมืออะไรในการเลือกฟอนต์ แต่สำหรับมือสมัครเล่นอย่างเรา เว็บนี้มีประโยชน์มากครับ Bookmark ไว้เลยล่ะ

เข้าไปใช้งานได้ที่ https://wordmark.it

via: https://twitter.com/AdobeMuse/status/514512039788560384

เล่าถึงประสบการณ์การใช้ PAYSBUY MasterCard

PAYSBUY MasterCard

เป็นคนไม่มีบัตรเครดิตใช้ครับ ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆจะยืมของพี่มาใช้ครับ พอเห็นข่าวที่ PAYSBUY ออกมาเปิดตัวบริการบัตรเครดิตจำลอง Visual MasterCard ก็เลยลองสมัครดู และได้ใช้งานอยู่สองสามครั้ง เลยมาเล่าให้ฟังครับ

ข้อดีอย่างหนึ่งของบัตรเครดิตจำลอง Visual MasterCard ของ PAYSBUY คือ อยากใช้ยอดเท่าไหร่ก็เติมเงินเข้าไปเท่านั้น ช่องทางการเติมเงินก็มีให้เลือกหลายรูปแบบ ที่ผมใช้ก็กดเข้าไปว่าจะเติมเท่าไหร่ แล้วก็ไปจ่ายที่ 7-11 จะใช้วิธีนี้ได้ต้องส่งไฟล์บัตรประชาชนเข้าไปในระบบด้วย ต่อไปมีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังดังนี้ครับ

  1. การจ่ายครั้งแรกกับ PAYSBUY MasterCard ผมใช้จ่ายค่า Coin ใน Line ที่เอามาซื้อ Sticker ครับ ราคา $1.99 คิดเป็นเงินไทย 63.66 บาท ตอนแรกทำเอางงมากเพราะแค่เข้าไปกรอกหมายเลขบัตรใน Google wallet มันก็หักตังค์เราไปแล้ว 40 บาท แต่สักพักมันก็ตัดกลับมาให้ แต่มันดันหักไป 2 ครั้ง แต่คืนกลับมาให้แค่ครั้งเดียว ทำเอางง ตอนแรกคิดว่ามันอาจจะดีเลย์แต่ผ่านไปอีกวันก็ยังไม่คืน เลยอีเมลไปคุยกับ Support ได้ความว่าปกติแล้วระบบของ Google จะเช็คว่าบัตรเครดิตใช้งานได้หรือปล่าวโดยการเรียกหักเงิน 40 บาท และจะคืนมาให้ภายหลัง อันนี้เราเข้าใจ แต่อันที่หักไป 2 ครั้ง แต่คืนมา 1 ครั้ง อันนี้ไม่ถูกต้อง ก็คุยกับ Support ไปมาสุดท้ายเขาให้เรากรอกข้อมูลในไฟล์ PDF แล้วส่งกลับเพื่อยืนยันว่าเราไม่ได้รับบริการใดๆจากเงิน 40 บาท ที่ถูกหักไป T_T ผ่านไป 4 วันเราก็ได้เงิน 40 บาทเราคืนมา ฮาเลย ต่อสู้เพื่อเงิน 40 บาท แต่อย่างไรก็ตาม Support เขาก็บริการดีนะ ตอบคำถามที่เราสงสัยและก็ดำเนินการจนเราได้เงินคืนมา และอีกอย่างเราก็ซื้อ Sticker “คนอะไรเป็นแฟนหมี” ได้ด้วยบัตรนี้ล่ะ
  2. พอผ่านอันแรกมาได้ เราค่อนข้างมั่นใจระดับหนึ่งแล้วว่ามันก็โอเครดีนะ ใช้แทนบัตรเครดิตได้จริงๆ ก็เลยเล็งที่จะซื้อสมุดเสก็ตรูปของ Moleskine ที่อยากได้มานานแล้ว อันที่อยากได้หาซื้อในไทยไม่ได้ด้วย แหล่งที่จะซื้อคือ bookdepository.com ครับ เคยเห็นเพื่อนเคยสั่งซื้อมาแล้ว จัดการเข้าไปหยิบอันที่อยากได้ไว้ในตะกร้าก่อนคลิกดูราคา แล้วก็ไปเติมเงินให้ PAYSBUY MasterCard เอาแบบเกินไปเยอะเกือบเท่าตัวเลย เผื่อมีค่าอื่นๆที่ไม่คาดคิด แล้วก็กลับมาดำเนินการขั้นตอนจ่ายเงินต่อ ปรากฏว่าระบบของ bookdepository.com ใส่หมายบัตร รหัส CVC เข้าไปยังไงก็ไม่ผ่าน ใส่หลายครั้งก็ไม่ผ่าน ทำวันหลังก็ไม่ผ่าน อีเมลไปคุยกับ Support ของ bookdepository ก็แก้ไขตามข้อแนะนำ เปลี่ยนเครื่อง เปลี่ยนบราวเซอร์ สรุปคือใช้ไม่ได้กับ bookdepository.com ครับ อันนี้เศร้าเลยครับ
  3. จากเหตุการณ์ด้านบนทำเอาผิดหวังนิดๆ แสดงว่าไม่ใช่จะทุกเว็บไซต์ที่บอกว่าใช้ MasterCard ได้แล้ว PAYSBUY MasterCard จะใช้ได้ด้วย เลยคิดตัดใจไม่เป็นไรเอาตังค์ไว้ซื้อ App ก็ได้ เพราะเงินที่เติมเข้าไปมันถอนไม่ได้นะครับ เลยจะเอาหมายบัตรไปใส่ไว้ในระบบของ Apple เผื่อซื้อเพลง ซื้อ App เข้าไปกรอกหมายเลขบัตร รหัส ปรากฏว่าใช้ไม่ได้เหมือนกันครับ

สรุปดังนี้ครับ ระบบมันก็สะดวกดีครับ Support ก็โอเครในระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เว็บช้อปปิ้งออนไลน์ทุกที่ที่บอกว่ารองรับ MasterCard แล้ว PAYSBUY MasterCard จะใช้งานได้

ถ้ามีใครเคยใช้แล้วเป็นยังไงบ้างเอาแชร์กันบ้างนะครับ อยากรู้ว่าเว็บไหนใช้ได้ไม่ได้บ้าง ผมก็จะเอามาอัพเดตเรื่อยๆ

รายชื่อแหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใช้กับ PAYSBUY MasterCard ได้/ไม่ได้

  1. Google Play ใช้ได้
  2. Bookdepository.com ใช้ไม่ได้
  3. Apple App Store ใช้ไม่ได้
  4. Lazada.co.th ใช้ได้

MyPermissions ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของเราถูกใครดึงไปใช้งานบ้าง

MyPermissions เว็บไซต์ช่วยตรวจสอบบริการต่างๆดึงข้อมูลอะไรที่เป็นส่วนตัวของเราไปใช้บ้าง

หลายๆครั้งที่เราสมัครเข้าใช้งานเว็บไซต์ เกมส์ หรือบริการออนไลน์ตัวใหม่ๆ ด้วยบัญชีของ Facebook หรือ Twitter ตามแต่เจ้าของบริการจะเปิดให้เราเข้าใช้งานโดยการดึงข้อมูลของเราจาก social network ของเราเองมาใช้ ทำให้คนใช้งานก็สะดวก คนให้บริการก็ได้สมาชิกมากขึ้นจากความสะดวกนั้น จนหลายๆครั้งเราคนใช้งานไม่ได้ตรวจสอบดูเลยว่าในแต่ละครั้งบริการเหล่านั้นขอข้อมูลส่วนตัวอะไรของเราบ้าง และบางอันที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ก็ควรหยุดให้เขาเข้ามาดึงข้อมูลของเราไปใช้ (ข้อมูลส่วนตัวของฉันนะ)

ความเป็นส่วนตัว(permission) ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือผู้ให้บริการจะแนะนำบริการต่างๆได้ตรงตามความต้องการของเราเพราะเราให้ข้อมูลที่ละเอียด ส่วนข้อเสียก็คือบางเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัวมากๆเราก็ไม่อยากให้ใครได้ข้อมูลเหล่านั้นไป มันอาจจะหมายถึงความปลอดภัยทั้งทรัพย์สินและร่างกายของเรา ต้องระวังในการเปิดเผย ควรให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ถ้าเป็นคนที่ชอบท่องโลกอินเตอร์เน็ต ลองเล่นโน่นนี้นั้นไปเรื่อย ยากที่จะตามไปดูว่าให้ข้อมูลส่วนตัวของเราที่อยู่ใน social network ให้ใครไปบ้างและเขาได้ข้อมูลอะไรไปบ้าง ก็เป็นเรื่องน่ากังวลอยู่ไม่น้อย แล้วก็มาเจอเว็บไซต์นี้ครับ ตัวช่วยตรวจสอบ permission ให้เรา

เว็บไซต์ MyPermissions จะช่วยตรวจสอบให้เราว่าข้อมูลของเราใน social network เช่น Facebook, Twitter, Google+,Instagram ฯลฯ ถูกนำไปใช้ที่ไหนบ้าง และขอใช้ข้อมูลอะไรบ้าง เช่น location, contact list, photo เป็นต้น เยี่ยมมากๆ

ตัวอย่าง เข้าไปดูรายละเอียดการอนุญาติให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว สามารถเพิกถอนการเข้าถึงได้

เมื่อตรวจดูแล้วบ้างอันที่เราไม่ได้ใช้งานแล้วก็ควรหยุดการให้เข้าถึงข้อมูลของเรา ซึ่งเราสามารถเข้าไปแก้ไขและเพิกถอนสิทธิ์(revoke)การเข้าถึงข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์หรือบริการต่างๆที่ดึงไปใช้งานได้ ถ้าเราติดตั้งเป็น extension ของ MyPermission ใน browser ของเราก็จะมีการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการขอใช้ข้อมูลส่วนตัวของเรา ถือว่ามีประโยชน์มากๆครับ

เข้าไปใช้งาน MyPermissions ได้ที่เว็บไซต์ https://mypermissions.com

Exit mobile version