อะไรใหม่ใน Firefox 3.5

Icon Firefox 3.5
Icon Firefox 3.5

icon ใหม่ของ Firefox 3.5 ที่มีการเปลี่ยนแปลง

ดาวน์โหลด Firefox 3.5 https://www.firefox.com

รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ

wolfram-alpha

Wolfram alpha คือ Search engine แนวใหม่ที่รูปแบบค้นหาไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ อย่างเช่น Google, yahoo หรือ bing ที่พึงเปิดตัวไป, search engine เหล่านี้จะพยายามหาสิ่งที่คิดว่าเหมือน ใกล้เคียงกับคำค้นของคุณให้มากที่สุด แล้วให้คุณเลือกเองว่าจะเข้าไปดูรายละเอียดตัวไหน search แบบนี้จะหาลิงค์จำนวนมากมาให้คุณเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการอีกที แต่สิ่งที่ wolfram alpha ทำจะแตกต่างออกไป คือ จะพยายามหาคำตอบของสิ่งที่คุณต้องการหาให้ ยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการหาว่าจำนวนประชากรของไทยตอนนี้เท่าไหร่ search อื่นจะให้ลิงค์ อย่างเช่น wiki หรือเว็บไทยที่มีการเก็บสถิติมาให้ แต่ wolfram alpha จะให้คำตอบออกมาเลยว่าประชากรตอนนี้เท่าไหร่ อัตราการขยายตัวเท่าไหร่ แสดงผลเป็นกราฟด้วย แต่ wolfram alpha ตอนนี้ยังไม่รองรับภาษาไทยครับ

Stephen-Wolfram ผู้คิดค้น wolfram alpha

Wolfram alpha เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2009 มีนักพัฒนาหลายคนบอกว่าศักยภาพของมันเรียกได้ว่าเป็น “Google Killer” ได้เลย Stephen Wolfram ผู้คิดค้นและ CEO ของหน่วยวิจัย Wolfram เขาเป็นนักฟิสิกส์ นักพัฒนาซอฟแวร์ เกิดที่อังกฤษ เมื่อปี 1959 เรียนที่ Eton College และสอบเข้าเรียนต่อที่ Oxford University จากนั้นได้ Ph.D ที่ California Institute of Technology ตอนอายุ 20 ปี งานของเขาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Symbolic Manipulation Program ที่เป็นต้นกำเนิดของ Mathematica, Mathematica โปรแกรมคำนวณที่อัฉริยะ ,หนังสือ “A New Kind of Science” ,The simplest Universal Turing machine, และล่าสุดคือ Computational knowledge engine ในชื่อที่เรียกว่า Wolfram alpha

Stephen Wolfram บอกว่า ” Wolfram alpha ไม่ใช่เครื่องมือในการค้นหา ไม่มีการค้นหาที่นี้ “ แต่มันคือเครื่องมือหาความจริง หาคำตอบ (Fact Engine) การค้นหาจะไม่ซ้ำซ้อนกับการค้นหาที่ Google แต่มันจะตอบในสิ่งที่มันรอบรู้ให้ คือ หาคำตอบให้นั้นเอง

เริ่มทดสอบการใช้งาน Wolfram alpha อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าตอนนี้ยังไม่สนับสนุนการค้นหาในภาษาไทยครับ การค้นคำนั้นสามารถที่จะใส่เป็นประโยคได้(natural language) ระบบสามารถที่จะวิเคราะห์สิ่งที่คุณต้องการและแสดงข้อมูล ที่เป็นทั้งตัวเลข กราฟ ภาพ และสื่ออื่นในสิ่งที่คุณหาอยู่

ระบบยังมีความฉลาดสามารถคำนวณระยะทางของคุณกับสถานที่ๆต่างๆ โดยระบุตำแหน่งคุณด้วย IP address ของคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานได้อีกด้วย

ในการใช้งานครั้งแรกเขาแนะนำให้คุณดูตัวอย่างการค้นหา เพื่อให้คุณใส่ประโยคต่างให้เหมาะสมเพื่อการค้นหาที่มีประสิทธิภาพสูง และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เช่นการใส่ มาตราวัด วันที่ เวลา สูตรคำนวณต่างๆ ได้ถูกต้อง แทนการใส่ประโยคธรรมดา

การทดสอบเหล่านี้ต่างๆเหล่านี้ผมอ้างอิงมาจากเว็บต่างๆ ที่เขาได้รีวิวเอาไว้ โดยเป็นวิธีการค้นหาที่ search engine ตัวอื่นจะทำได้ยาก แต่ wolfram alpha ทำได้ง่าย

1. Historical event การค้นหาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต
ผมค้นหาคำว่า “Earthquakes Dec 2004” แผ่นดินไหวปี 2004

แสดงข้อมูลของแผนดินไหว ของเดือนธันวาคม 2004

ข้อมูลที่ได้คือจุดต่างๆที่เกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก และความแรงของการสั่น จะเห็นได้ว่าในวันที่ 26 ธันวาคม 2004 ที่เกิดแผนดินไหวทะเลเขตอินโดนีเซียแรงสุด และที่ทำให้เกิดซึนามิในหลายประเทศ

2.Musical notation การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโน๊ตดนตรี
ผมค้นหาคำว่า “B seventh chord” คอร์ด B7 ผลการค้นหา

music-notation การค้นหาตัวโน๊ต

การค้นหาโน๊ตนี้ถือว่าสุดยอดครับ มีทั้งการแสดงรายละเอียด และที่สำคัญกดฟังเสียงได้เลยครับ

3.Drug information การค้นหารายละเอียดของยา หรือสารเคมี
ผมค้นหาคำว่า “Oseltamivir” คือยาที่ใช้รักษา ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009

ผลการค้นหา drug-information

ให้ข้อมูลค่อนข้างครบ ทั้งชื่อสามัญ น้ำหนักโมเลกุล สูตรเคมี ด้านข้างจะมีลิงค์ที่เกี่ยวข้องไปที่ wiki ด้วย ข้อมูลที่ wiki ดูจะให้รายละเอียดเยอะกว่าที่ wolfram alpha

4.Geography ภูมิศาสตร์ ซึ่งให้ผลการค้นค่อนข้างดีเลยทีเดียว
ผมค้นหาคำว่า “Himalaya” หรือ เทือกเขาหิมาลัย

himalaya-biographic เทือกเขาหิมาลัย

5.Nutrition & Food เกี่ยวกับโภชนาการและอาหาร เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนต้องการลดน้ำหนัก

pork-2-kg เนื้อหมู 2 กิโลกรัม

มีรายละเอียดการคำนวณแครอรี่ ไขมัน พลังงานต่างๆ ละเอียดมาก และสามารถเลือกชนิดของเนื้อหมูได้อีกด้วยว่าเป็นส่วนไหนของหมู เยี่ยมมากครับ

6.Colors การค้นหาสี เหมาะสำหรับนักออกแบบ หรือนักพัฒนาเว็บไซต์

สามารถที่จะค้นหาได้โดยใส่ชื่อระบบสี โค้ด ลงไปเพื่อหาว่าสีที่นั้นมีหน้าตาอย่างไรได้ เช่น RGB 30, 255, 10
ครอบคุมทุกระบบ เท่าที่รู้จักนะ

clolor-systems ระบบสีต่างๆที่ค้นได้

ทดลองค้นคำว่า “green + blue” หรือ สีเขียว บวกสี น้ำเงิน
ผลการค้นหาที่ได้เป็นบอกว่าสีที่ผสมออกมาจะได้สีอะไร และมีรหัสอะไรด้วย

color-green-blue ค้นหาการผสมสี

7. Physics & Mathematics การคำนวณทางฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ที่ดูจะเป็นปัญหา จากข่าวเรื่องการนำ wolfram alpha มาช่วยในการคำนวณ หรือทำการบ้าน อาจจะมีทั้งข้อดีและเสีย ถ้าใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่เอาแต่ลอกอย่างเดียวสุดท้ายก็คงคิดเองไม่เป็น ดูตัวอย่างการใส่ค่าต่างๆ

physic-wolfram-sample
physic-wolfram-sample-2
Mathematics-wolfram-sample
Mathematics-wolfram-sample-2

ยกตัวอย่างการคำนวณ d/dx sin(x)^2 ได้ผลดังนี้

calculus-wolfram-sample

Wofram alpha สามารถคำนวณค่าต่างๆออกมาให้อย่างรวดเร็ว ข้อดีเราสามารถใช้อ้างอิงในการทำแบบฝึกหัดอย่างวิชา calculus หรือ โจทย์คณิตศาสตร์ ได้อย่างสบาย แต่อย่างเช่น ฟิสิกส์ที่ต้องมีการตีโจทย์ออกมาเป็นตัวแปลอยู่นั้นก็ต้องมีคิดก่อนนำมาคำนวณ ส่วนวิชาเคมี ก็สามารถช่วยได้ทั้งคำนวณ และหาคำตอบ
ดูตัวอย่างวิธีการใส่ค่าเพื่อหาคำตอบได้ที่ https://www85.wolframalpha.com/examples/ ดูวิดีโอสาธิตการใช้งาน introducing wolfram alpha

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็น search engine ที่ดีมากๆตัวหนึ่ง และทำให้นึกถึงตัวละครตัวหนึ่งในหนังเรื่อง AI (Artificial Intelligent,2001) ของ Steven Spielberg ในตอนที่หุ่นเด็กออกไปถามคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ ดร.โนว์ ที่มีหน้าตาเป็นไอสไตร์ พอถามอะไร คอมพิวเตอร์ตัวนี้ก็จะตอบทันทีหุ่นยนต์เด็กถามถึง นางฟ้า ดร.โนว์ ก็ยกหมวดนวนิยายขึ้นมาแล้วอธิบายทันที ทำให้รู้สึกว่า ภาพยนต์ที่มีจินตนาการสูง โลกของความจริง ก็พยายามวิ่งตามจินตนาการนั้นไปเรื่อยๆ

ข้อมูลจาก
https://www.wolframalpha.com/
https://searchengineland.com/wolframalpha-the-un-Google-19296
https://www.readwriteweb.com/archives/hands-on_with_wolfram_alpha.php
https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Wolfram
https://www.stephenwolfram.com/
https://www.wolfram.com/

สถิติเปรียบเทียบกัน WordPress ในเดือนมิถุนายน แซง Joomla แล้ว

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว

การทำเว็บไซต์ยุคใหม่ที่เน้นกันที่เนื้อหามากขึ้น การใช้ CMS(Content Manament System)ในการทำเว็บไซต์จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากงาน BarCampBangkok 3 ที่ ม.ศรีปทุม ที่ผ่านมามีการแข่งขัน showdown CMS ขึ้นตัวที่ได้รับความนิยมในไทยก็ได้แก่ joomla ,WordPress ,drupal ในงานมีการให้ข้อดี-ข้อเสีย ของ CMS ที่ตัวเองใช้อยู่มากมาย เลยอยากรู้ว่าใน Trend ของ CMS ของสามตัวนี้มีมาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

หัวข้อแรกที่ดูคือ Trend ของทุกปีที่ผ่านมา มีการเก็บสถิติตั้งแต่ 2004-2009 ดังภาพข้างบน พบว่ากราฟของทุกตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความชันของ WordPress ค่อนข้างที่จะชันกว่าตัวอื่นๆอยู่เล็กน้อย แต่เมื่อเทียบ Rank ด้วย WordPress แล้วได้ค่าดังนี้ คือ WordPress = 1, drupal =0.34, joomla =1.18 จะเห็นได้ว่าค่าของ joomla จะมากสุด ตัวที่น้อยสุดคือ drupal

แต่เมื่อดูจากกราฟแล้วดูเหมือนเริ่มจะมีการตัดกันของเส้นกราฟของ WordPress และ joomla แล้ว จึงทำการดูย้อนกับไปดูช่วง 3 เดือนล่าสุด
เดือนเมษายน

Google Trend CMS ของเดือนเมษายน 2009

เดือนพฤษภาคม

Google Trend CMS ของเดือนพฤษภาคม 2009

เดือนมิถุนายน

Google Trend CMS ของเดือนมิถุนายน 2009

เดือนเมษายน 2009         WordPress = 1 ,drupal =0.32 ,joomla =1.04
เดือนพฤษภาคม 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =1.01
เดือนมิถุนายน 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =0.98

เดือนมิถุนายน 2009 แม้ว่าข้อมูลของเดือนนี้ยังไม่สมบูรณ์แต่มีความเป็นไปได้สูงมากที่สิ้นเดือนนี้ Rank ของ WordPress ต้องสูงกว่า joomla อย่างแน่นอน

แต่ทั้งหมดนั้นเป็น Trend ของผู้ใช้ทั่วโลก เมื่อมาดู Trend ในประเทศจะเป็นอย่างไรนั้นดูได้ตามตารางข้างล่าง

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว ในประเทศไทย

แต่ในไทย CMS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังคงเป็น joomla อยู่ WordPress ยังคงต้องตามหลังต่อไปครับ

ข้อมูลจาก https://www.Google.com/trends

การสัมมนาแบบไม่เป็นทางการชมรมอีสาน ครั้งที่ 1

รูปชมรมอีสาน ตอนค่ายกลางปี จังหวัดบุรีรัมย์

การสัมมนาแบบไม่เป็นทางการชมรมอีสาน ครั้งที่ 1

การสัมมนาแบบไม่มีจำกัดหัวข้อ ใครอยากพูดอะไร ก็เอามาแบ่งปันกัน สิ่งที่ต้องเตรียมตัวคือ ไสลด์ประกอบการนำเสนอ หรือ อื่นๆ เช่น เครื่องดนตรี อุปกรณ์ เสื้อผ้า เป็นต้น (นำเสนอแบบไหนก็ได้) ตามเวลาที่กำหนด ไม่เกิน 10 นาที

Loading…

อัปเกรด WordPress 2.7 เป็น 2.8 พร้อมรีวิว Hightlight

WordPress-upgrade

เมื่อวาน(11 มิ.ย. 52)มีการอับเดต WordPress เวอร์ชั่น 2.7 เป็น 2.8 วันนี้เลยอับเกรดบล็อกของตัวเอง ที่ใช้ 2.7 มาเป็น 2.8 วิธีอัปเกรดมีหลายวิธีสามารถดูได้ที่ WordPress.org ที่จริงการอัปเกรดง่ายมากแต่ก็อยากจะเขียนบันทึกไว้ สำหรับใครที่ใช้ WordPress ทำบล็อกอยู่แล้วเรื่องอับเกรดต่างๆของบล็อกที่ทำจาก WordPress ทำได้ง่ายมากถือได้ว่าเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งที่ทำได้ดีกว่า CMS เจ้าอื่นๆ

เริ่มขั้นตอนการอับเกรด

  1. ทำการ back up ข้อมูลของบล็อกไว้ก่อนป้องกันอาจเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งก็มีให้เลือกหลายวิธี
  2. ล็อกอินเข้า admin > เครื่องมือ > อัปเกรด

    tools-WordPress

  3. เลือก อัปเกรดอัตโนมัติ

    update-WordPress

  4. รอสักพัก บางทีอาจจะขึ้น eror ได้ อาจเกิดจากมีปัญหาในช่วงของการดาวน์โหลด ไม่ต้องตกใจ ให้ทำขั้นตอน 2-3 ซ้ำ

    fail-update-WordPress

  5. ถ้าไม่เกิดความผิดพลาดอะไรก็อัปเกรดสำเร็จแล้วจะมีรายงานการอัปเกรด

    update-finish

  6. จากนั้นคลิก รีเฟรสบราวเซอร์ครั้งหนึ่ง WordPress จะถามรหัสเข้า admin panel อีกครั้ง
  7. เมื่อคลิกเข้าดูการอัปเกรด WordPress ก็จะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วครับ

    updated-WordPress

________________________________________________________________________

ยกตัวอย่างอันที่เป็น Highlights ของเวอร์ชั่น 2.8 มาบางตัวแล้วกันนะครับ

  1. drag-and-drop widgetsเคลื่อนย้าย admin interface ได้ตามใจ และมี widget API ใหม่

    drag-drop-WordPress

  2. มี Syntax highlighting (โค้ดมีสี)ใน plugin และ theme editors และมีให้ค้นหาว่าในนั้นมี function อะไรบ้าง
    การแก้ไขโค้ดต่างๆทำให้ง่ายขึ้นมากๆครับ เหมือนนั่งเขียนในโปรแกรม editor เลย
    editor-WordPress

  3. สามารถค้นหา theme พร้อมมีตัวกรอง และติดตั้งได้เลยในหน้า adminตัวกรองค้นหา themes
    theme-seacrh

    สามารถติดตั้ง หรือ ดูก่อนได้เลย

    fillter-theme

  4. การปรับปรุง widgets ใหม่ครั้งนี้ ถูกใจผมที่สุด ทำให้การจัดการ widgets ทำได้ง่ายมากครับ
    แยกชัดเจนอะไรใช้ไม่ใช้ และ slide ด้านขวาที่สามารถแสดงได้พร้อมกัน แต่ก่อนต้องมาคลิก
    ดูทีละอันจะย้ายทีลำบากมาก ตอนนี้สะดวกขึ้นมากครับ อันนี้ให้เต็ม
    news-wigets2

    แยกชัดเจนอันไหนใช้ไม่ใช้

    new-widgets

    slide bar แสดงได้พร้อมกันจัดการง่ายขึ้น

  5. สามารถโหลดหน้า admin ได้เร็วขึ้น

วีดีโอแนะนำ

เปิดตัวแล้ว DotA 6.60 พร้อมเว็บ Playdota.com ของทีม Ice Frog

PlayDota

เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วสำหรับ Map DotA AlsStrat V. 6.60 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ การย้ายตำแหน่งบ้านเลือกฮีโร่ไปอยู่รวมกันด้านบนของแผนที่ มีบ้านที่ว่างไม่มีฮีโร่ให้เลือก 3 หลัง คิดว่าน่าจะทำไว้เผื่ออนาคตสำหรับฮีโร่ใหม่ๆ ที่จะเพิ่มเข้ามา แต่ทำไมต้องเพิ่มตั้ง 3 หลังอันนี้ไม่เข้าใจ เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว วันนี้(10 มิถุนายน 2552 ประมาณ เที่ยงวัน) ทำเอาเว็บล่มผมเข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง ที่แปลกใจ คือก่อนหน้านี้ Ice Frog บอกว่าจะมีการอับเดตฮีโร่ใหม่เพิ่มเข้ามาปรากฎว่าได้เพิ่มเข้า 2 ตัว คือ Batrider ในฝั่ง Scourge และ Tauren Chieftain ในฝั่ง Sentinel นอกจากนั้นได้เพิ่ม item ใหม่
อีก 7 อัน และการผสม item เปลี่ยนแปลงไปบ้าง อย่างเช่น aghannim’s scepter(คฑาฟ้า),The butterfly เป็นต้น

Changelogs ก็ดาวน์โหลดไม่ได้ สงสัยจะมีการดาวน์โหลดเยอะ

home-dota

และ ทีม Ice Frog ได้ออกมาแจ้งเว็บไซต์หลักของทีมคือ www.playdota.com ซึ่งจะเปิดรับ ทั้งข้อคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับการพัฒนา จะเป็นแหล่งข่าวสาร การจัดการแข่งขัน และอื่นๆ เพื่อสนับสนุนคนที่เล่นเกม DotA และได้แจ้งอีกด้วยว่าจะมีการทำการโฆษณาใดๆในเว็บไซต์นี้ รายได้จากโฆษณาจะไม่มีผลในการทำงานของเรา กรุณาอย่าติดต่อมา อันนี้ต้องปรบมือแรงๆให้เลย

IceFrog’s Blog บล็อกของทีมพัฒนา DotA

IceFrog-DotA

Defense of the Ancients (DotA) บางคนก็เรียก ดอท-เอ บางคนก็เรียก โดต้าเป็นแม็พหนึ่งในเกม Warcraft III ที่สนุกและเล่นออนไลน์เป็นทีมได้หลายคน ความสนุกอยู่ที่การเล่นเป็นทีมและมีฮีโร่ให้เลือกเล่นหลายตัว ความสามารถที่แตกต่างกัน ทีมพัฒนาคือ IceFrog มีการพัฒนาแม็พอย่างต่อเนื่องทำให้มีคนเล่นแม็พนี้ทั่วโลก จนมีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติ อยู่บ่อยครั้ง ทีม IceFrog ได้แยกออกมาจาก www.dota-allstars.com ได้ออกมาทำบล็อกของตัวเองที่ www.icefrog.com จะเป็นเว็บที่ให้ ข่าวความคืบหน้าของการพัฒนาแม็พในเวอร์ชั้นต่อไป และรับข้อคิดเห็นต่างๆ ซึ่งปกติก็สามารถส่งเข้าไปได้ที่
icefrog@gmail.comซึ่งในเว็บยังมีชื่อของฮีโร่ในโวตอีกด้วย และสามารถสมัครสมชิกได้ ล่าสุดก็มีการออกมาเปิดเผยข่าวของแม็พเวอร์ชั่น 6.60 ที่มีการปรับปรุงใหม่หลายจุด และอาจมีฮีโร่ใหม่ตัวสองตัวมาด้วยก็คอยลุ้นแล้วกันนะครับว่าจะออกมาเมื่อไหร่

Biomedical Engineering Center Labs on Google Maps


ดู Biomedical Engineering Center Labs ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ลองเอา Google Maps มาใส่ในบล็อกดูไม่รู้จะเอาที่ไหนงั้นก็เลยเอาตรงที่ตัวเองอยู่ตอนนี้เลยแล้วกัน Biomedical Engineering Center Labs เป็นห้องรวมพบกันทำกิจกรรมเรียน ตลอดจนการทำ Labs ของนิสิตหลักสูตร Biomedical Engineering ทุกๆคนเหมือนเป็นห้องอเนกประสงค์ วิธีการนำ Maps มาใส่นั้นง่ายมากๆ แค่เราเข้าไปที่ Google Maps แล้วค้นหาที่อยู่ของเราว่าอยู่ไหนจากนั้นก็ปักหมุดเอาไว้ จากนั้นคลิกตรงตำแหน่ง Link ตามภาพ

Google-maps-code

copy เอาโค้ดภายในมาวางที่ html page ใน WordPress เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สั่งหนังสือจาก Amazon นะครับ

amazon-chula-book

วันนี้แวะเข้าไปดูหนังสือที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ ขณะที่เดินไปเรื่อยอยู่นั้นที่หมวดหนังสือต่างประเทศเหลือบไปเห็นพี่พนักงานคนหนึ่งกำลังหนังค้นหาหนังสือจาก เว็บ Amazon.com คงไม่ต้องบรรยายให้มากความนะครับว่าเว็บนี้ทำอะไรบ้างเขาเป็นบริษัทธุรกิจออนไลน์ที่ใหญ่มากๆ มีบริการต่างๆมากมาย เช่น เพลง หนังสือ หนัง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก และบริการออนไลน์อื่นๆอีกเพียบ ฯลฯ ผมเลยเข้าไปถามจากเจ้าหน้าที่ว่าที่ศูนย์หนังสือสั่งหนังสือผ่านทาง amazon หรือครับ ได้คำตอบว่า ปกติถ้าสั่งเยอะหนังสือชุดเดียวกัน ก็สั่งผ่านสำนักพิมพ์โดยตรง ถ้าสั่งน้อย และเป็นของสำนักพิมพ์ก็ จะสั่งผ่านทาง amazon และที่ศูนย์หนังสือก็มี บริการสั่งหนังสือให้ด้วย เยี่ยมเลยครับ จากกรณีนี้ก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับแต่ผมรู้สึกว่าธุรกิจออนไลน์ทำเงินได้อยากมาก และยังขายของได้ทั่วโลกอีกด้วย อินเตอร์เน็ตนี้มันสุดยอดจริงๆครับ

WordPress backup and restore ไม่ต้องมี plugin

WordPress-backup

บล็อกผมในตอนแรกตัว WordPress จะอยู่ที่ folder ชื่อ 2009 ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ www.amphur.in.th ผมต้องทำ redirect ไปที่ 2009 เว็บไซต์ก็จะเป็นแบบนี้ www.amphur.in.th/2009 ตอนแรกที่ทำแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าเราทำ folder ไว้คงทำให้บริหารจัดการง่ายแต่พอใช้ไปรู้สึกว่าไม่สะดวกแล้ว และไม่เป็นผลดีกับการทำ seo ด้วย จึงต้องการเอา WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก ขั้นตอนในการทำง่ายมากครับ ไม่ต้องลง WordPress plugin แต่อย่างใดเพราะ WordPress มีเครื่องที่จะช่วยให้เราทำการ

backup และ restore ได้เลย เริ่มขั้นตอนการทำเลยแล้วกัน

  1. login เข้าไปใช้งานใน WordPress admin คลิกที่เมนูซ้ายมือในหัวข้อ “เครื่องมือ”
  2. เลือกหัวข้อ “นำออก” ดังรูป

    WordPress-tools

  3. ในหน้าจะแสดงข้อความอธิบายการนำออกดังนี้

    เมื่อคุณกดปุ่มด้านล่าง เวิร์ดเพรสจะสร้าง ไฟล์ XML file สำหรับบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ รูปแบบนี้ เราเรียกว่า เวิร์ดเพรส eXtended RSS หรือ WXR ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วย เรื่อง, หน้า, ความเห็น, custom fields, หมวดหมู่และป้ายกำกับ เมื่อคุณบันทึกไฟล์ดาวน์โหลดแล้ว คุณสามารถใช้คำสั่งนำเข้าในบล็อกเวิร์ดเพรสอื่นเพื่อนำเข้าบล็อกนี้

  4. ทางเลือกให้เลือก “ผู้เขียนทั้งหมด” เสร็จแล้วคลิก ดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ backup ชื่อ WordPress.ปี-เดือน-วัน.xml
  5. จากนั้นผมก็ copy ไฟล์ของ WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก แล้วก็ลบไฟล์ในนั้นทิ้ง
  6. เข้าไปที่ phpmyadmin ของเราทำการ backup database ไว้ก่อนเผื่อเกิดอุบัติเหตุเมื่อ backup เสร็จแล้ว drop ตารางทิ้งเลยครับ
  7. เข้าไปที่ root directory ของเว็บเราลบไฟล์ wp-config.php อันเก่าทิ้งไป และอับไฟล์ wp-settings.php ไปแทนทำเหมือนจะติดตั้งใหม่ จากนั้นก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา www.amphur.in.th รันติดตั้ง WordPress ตามปกติ
  8. เมื่อติดตั้งเสร็จเล้วเข้าไปที่การ “นำเข้า” ตามขั้นตอนที่ 2
  9. เลือกหัวข้อ WordPressดังรูป

    WordPress-restore

  10. คลิก browse ไปที่ไฟล์ที่เราทำไว้ในขั้นตอนที่ 4 ที่เราเรียกว่าไฟล์ WXR เสร็จแล้วคลิกอับโหลด
  11. เข้าไปตรวจสอบเนื้อหา ต้องแก้ที่อยู่ของไฟล์ภาพ และ plugin จะใช้ไม่ได้(ลบออกลงใหม่)

ข้อดี วิธีนี้อาจจะไม่ดีแต่เป็นวิธีที่ผมทดลองใช้รู้สึกว่าเร็วดี อาจจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แต่ผมไม่รู้เลยต้องใช้วิธีนี้
ข้อเสีย plugin อันเก่าที่ติดตั้งไว้ใช้งานไม่ได้ และ widget ก็หายด้วย

Exit mobile version