รีวิวหนังสือ Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions

หนังสือ Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions (2016)

ผลงานการเขียนร่วมกันระหว่าง

-Brian Christian นักเขียนชาวอเมริกัน ที่เคยเขียนหนังสือ Bestseller อย่าง The Most Human Human (2011) (เล่มนี้มีข่าวว่าสำนักพิมพ์ salt เอาไปแปลแล้ว)
-Tom Griffiths ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ(psychology and cognitive science) ที่ UC Berkeley ผู้อำนวยการ UC Berkeley’s Computational Cognitive Science Lab

หนังสือ Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions by Brian Christian (ซ้าย) and Tom Griffiths (ขวา)

ความจริงแล้วควรเขียนรีวิวหนังสือเล่มนี้ก่อน รีวิวหนังสือ Hello World: Being Human in the Age of Algorithms เพราะได้อ่านก่อน เพราะไม่ได้คิดว่าจะเขียนรีวิวจริงจัง เขียนสั้นๆไว้ใน facebook แล้ว แต่ก็เสียดายเลยเอามาลงไว้ที่นี้อีกรอบ

หนังสือ Algorithms to Live By เป็นหนังสือที่บันเทิงมากกว่าที่คิด คนเขียนเอาหลักคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างสนุกสนาน และน่าสนใจมาก มีเรื่องให้เอาไปเล่าในวงสนทนากับเพื่อนๆได้อย่างสนุกสนาน เราจะรู้สึกแปลกใจกับผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ ที่บางครั้งใช้สามัญสำนึกคิดไม่ได้ แต่คณิตศาสตร์ตอบปัญหาเหล่านั้นออกมาเป็นตัวเลขให้เราได้

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าหนังสือเล่มนี้ ถ้าเรามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้างจะอ่านสนุกขึ้น แต่ถึงไม่รู้เรื่องเลยก็ยังจะทำความเข้าใจกับกระบวนการคิดได้

ขอยกตัวอย่างบางส่วนมาให้อ่านกัน จะได้ประมาณได้ถูกว่าหนังสือจะเล่าเรื่องอะไร ให้เราได้ทำความเข้าใจกับ Algorithms และการนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง

-ถ้ากำลังค้นหาบ้านเช่าหลังใหม่ เลขาคนใหม่หรือหาแฟนสักคน เราจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อไหร่ที่ต้องหยุดหาและตัดสินใจเลือกได้แล้ว สามารถใช้ secretary problem ในการแก้ปัญหาได้

อธิบายดังนี้ ถ้าเราสามารถตัดสินใจเลือกรับหรือไม่รับ ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแค่ครั้งเดียว (คุณคงจะไม่สามารถ say NO, YES กลับไปกลับมากับสาวที่เดทอยู่แล้วได้หรอกนะ) แล้วเมื่อไหร่ถึงจะตัดสินหยุดและเลือกตัวเลือกนั้น คำตอบคือ คนลำดับที่ 37% ของตัวเลือกทั้งหมดมี ใช้ได้กับการเลือกบ้าน เลือกเลขาหน้าห้อง เลือกห้องน้ำที่ music festival หรือแม้แต่แฟนสักคน ลำดับที่ 37% มี possibility ที่สูงที่สุดหลังจากนั้นจะค่อยๆลดลง

ถ้าสนใจดูคำอธิบายเพิ่มเติมได้ที่คลิปด้านล่าง

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ secretary problem
ดูคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ secretary problem ได้ที่คลิปนี้

-เราจะตัดสินใจอย่างไรระหว่างทำอย่างเดิมที่คุ้นเคยหรือทำสิ่งใหม่ เช่น เย็นนี้จะกินอาหารที่ร้านเดิมที่ชอบหรือจะลองไปกินร้านใหม่ที่ไม่เคยกิน (Explore/Exploit trad-off)

ดูคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Explore/Exploit trad-off ได้ที่คลิปนี้

-ถ้ามีเสื้อผ้าหลายตระกร้า ต้องซักก่อนแล้วค่อยปั้นแห้ง เวลาที่ใช้ของแต่ละเครื่องขึ้นกับชนิดและความเปื้อนของผ้า เช่น ผ้าสกปรกมากหน่อยก็ต้องซักนานกว่าปกติ ถ้าผ้าหนาหน่อยก็ใช้เวลาปั่นแห้งนานกว่าปกติ แล้วแบบนี้ เราจะจัดลำดับอย่างไร ให้การใช้เวลาในการทำงานน้อยที่สุด ไม่ให้มีช่วงที่ต้องรออีกเครื่องทำงานเสร็จก่อน หรือถ้ามีก็ให้มีน้อยที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด (Sorting, Johnson’s algorithm)

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Johnson’s algorithm ได้ที่คลิปนี้

เราจะได้เจออะไรแบบนี้ตลอดทั้งเล่ม เอาเป็นว่าแนะนำให้อ่านครับ สนุก
5/5
Algorithms to Live By: The Computer Science of Human Decisions by Brian Christian and Tom Griffiths

เมื่อถาม Alexa, Pi มีค่าเท่าไหร่ มาฟังคำตอบกัน

เราสามารถถาม Alexa เกี่ยวกับโจทย์ทางคณิคสาสตร์ได้ด้วย อาจจะประโยคสั้นๆที่ไม่ยาวมาก เช่น

  • Alexa, how many [units] are in [units]?
  • Alexa, what’s 10 plus 5?
  • Alexa, what’s 20 times 15?
  • Alexa, 50 factorial

แต่มีเรื่องสนุกที่คนชอบถาม Alexa คือ “What is the value of Pi?” (ผมถามไป What is the number of Pi?) คือค่าพายมีค่าเท่าไหร่? ซึ่งคำตอบที่ Alexa ตอบกลับมา นั้นยาวมากๆ ต้องนั่งฟังเป็นนาทีเลยทีเดียว 

3.141592653589793238462643383279502884197169399375105820974944592307816406286…

แต่ถ้าถามแบบทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงถึงตัวเลข “What is pi?” Alexa จะตอบกลับมาสั้นๆ

“The number pi is a mathematical constant, the ratio of a circle’s circumference to its diameter, commonly approximated as 3.14159.”

ยังมีเรื่องให้ลองอีกหลายอย่าง จะทยอยเอามาเล่าให้ฟังเรื่อยๆครับ

แกะกล่อง Fujifilm X70 (วิดีโอ)

ผมเป็นคนชอบถ่ายรูปครับ ชอบแนว Street photography มากๆครับ (ปู่ Elliot Erwitt เนี้ย ไอดอลผมเลย) อยากจะพกกล้องไปด้วยทุกที่ แต่ DSLR มันไม่ค่อยสะดวก และไม่ค่อยเป็นมิตรกับการขอถ่ายรูปคนอื่นเท่าไหร่ นานๆถึงจะได้ออกทริป แต่ก็ถือว่ายังจำเป็นอยู่นะ เราก็ถ่ายรูปมาขายจากกล้องนี้ได้ ส่วนกล้องมือถือติดตัวตลอดแต่คุณภาพไม่ได้เรื่อง เอาง่ายๆคืออยากได้คุณภาพแบบ DSLR แต่ อยากหิ้วกล้องเล็ก ยัดเข้ากระเป๋ากางเกงได้ ที่ผ่านมายังไม่มีอะไรถูกใจเลย จนมาเห็น Fujifilm X70 เซนเซอร์ APS-C ขนาดเล็กกระทัดรัด เลนส์ได้ระยะ 28 mm F2.8 แปลงเป็น 35 mm หรือ 50 mm ก็ได้ มี film simutation มาให้ด้วย แม้จะไม่มี View finder ให้ ก็พอจะมองข้ามได้ มีงบค่อยไปซื้อมาใส่เพิ่มได้ สรุปว่าค่อนข้างลงตัวมาก

แกะกล่อง Fujifilm X70

วันนี้ได้กล้องมาก็เลยมาแกะกล่องให้ดูครับ ไม่มีเวลามานั่งเขียนรายละเอียดเหมือนครั้งก่อนๆ อัดวิดีโอก็ดีเหมือนกัน อัดกันสดๆ เทคเดียว มีพูดผิด พูดถูก ก็มองข้ามๆไปแล้วกันนะครับ

ขอเวลาใช้งานสักพักก่อนแล้วค่อยมาเล่าว่ามันดีไม่ดีอย่างไงนะครับ เท่าที่ดูในคู่มือ มีหลายอย่างต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยครับ

Exit mobile version