AMP ช่วยให้ผู้ใช้มาจากมือถือแซงเดสก์ท็อปแล้ว

อะไรคือ AMP? เกี่ยวข้องยังไงกับบล็อกนี้?

เรื่องเล่าวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบล็อกของตัวเองที่เขียนๆ หยุด ๆ มานานพอสมควร ถ้านับเวลาน่าจะเกิน 10 ปีได้แล้ว โพสแรก ตัวบล็อกมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยมีค่าโฆษณาจาก Google Ads ที่ติดไว้คอยเลี้ยงดู ไม่ได้เยอะ แต่เพียงพอที่จะจ่ายค่าโฮสและค่าโดเมนรายปีได้ ทั้ง ๆ ที่บางปีเขียนเรื่องใหม่ไปแค่ 1-2 เรื่องเท่านั้น ต้องขอบคุณคนคลิกเข้ามาดู ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมารายได้มาจากผู้ใช้งานเดสก์ท็อปเป็นหลัก


ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ไปอยู่ในแพลตฟอร์มโซลเชียลกันหมดแล้ว แต่แนวบล็อกหรือเว็บไซต์ก็ยังให้ความรู้สึกว่าชอบมากกว่า นั่งกดอ่าน feed ผ่าน RSS ก็ยังเป็นกิจวัตรประจำวันเหมือนเดิม คิดว่ายังคงต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ

เข้าเรื่องหลักเลยแล้วกัน เมื่อราวสองเดือนก่อนตอนที่เข้าไปดูรายงานของ Google Adsense มีข้อความแนะนำจากระบบประมาณว่า
เฮ้ย…ไม่ปรับปรุงเว็บของแกให้แสดงผลให้เป็นมิตรกับคนใช้มือถือหน่อยหรอ คนใช้เยอะนะ
เอารายละเอียดของ AMP (Accelerated Mobile Pages )ไปอ่าน แล้วลองทำดูซ่ะนะ เลยลองทำตามคำแนะนำ

ซึ่งโดยปรกติแล้วอะไรที่เขานิยม ใน WordPress ก็จะมีปลั๊กอินรองรับอยู่แล้ว
จากนั้นแค่เข้าไปโหลด ปลั๊กอิน มาติดตั้ง คลิก 2-3 ที ก็เสร็จ
ง่ายเช่นกันในการเอา Google Ads ฝั่งลงไปในระบบ เข้าไปด้วย

สิ่งที่ได้หลังจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา รายได้ใน Google Ads ผ่านมือถือแซงรายได้จากเดสก์ท็อปไปแล้ว ความจริงแล้วพอลองเข้าไปดูใน Google Analytic ดี ๆ จะพบว่าอุปกรณ์ที่เข้ามาในบล็อกนี้ก็เป็นโทรศัพท์มือถือระดับไฮเอนด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดสก์ท็อปมาได้สักพักใหญ่ ๆ แล้ว แต่เพิ่งจะมาแซงตอนปรับให้มีเพจสำหรับมือถือ

ดังนั้นในเดือนนี้ต้องขอบันทึกไว้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา 10 กว่าปี ตอนนี้รายได้จากคนใช้มือถือได้แซงฝั่งเดสก์ท็อปไปแล้ว คนอื่นอาจปรับตัวไปนานแล้ว แต่พวกไม่สนใจอะไรเพิ่งจะปรับตัวตาม (หมายถึงตัวเอง) เลยเพิ่งจะเห็นผล

แหล่งรายได้ของบล็อกนี้ จากโทรศัพท์มือถือมากกว่าเดสก์ท็อปแล้วในช่วงที่ผ่านมา

แต่ถ้าไปดูรายงานของทั่วโลกมือถือแซงเดสก์ท็อปไปตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ลิงค์ข่าว

ปล. ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าในอุตสาหกรรมเกม มือถือก็กำลังจะแซงเกมบนเดสก์ท็อปแล้วเช่นกัน

“ย้ำอีกที มือถือคืออุปกรณ์หลักของคนใช้อินเทอร์เน็ตนานแล้ว” ปรับตัวซะ

อ่าน ebook และ audiobook ฟรีออนไลน์ มากกว่า 4,000 เรื่อง

มีวิธีที่เราจะสามารถอ่าน ebook และ audiobook ได้ฟรี แบบถูกลิขสิทธิ์มาแนะนำครับ ตัวผมได้ใช้งานมาได้ราวเดือนกว่าๆ พบว่ามันดีมาก เพิ่มความสะดวกสบาย และเพิ่ม productivity ในการอ่านได้อย่างมาก เอาจริงๆ ไม่อยากแชร์ให้คนอื่นรู้ด้วยซ้ำ อยากแอบใช้งานอยู่แค่กลุ่มเล็กๆ (กลัวถูกแย่งใช้) แต่คิดไปคิดมา ยังเชื่อในสังคมแบ่งปัน เพราะมันดีจริงๆ อยากให้คนอื่นได้ลองใช้ดู เผื่อว่ามันจะขยายในวงกว้างขึ้นและเพิ่มปริมาณหนังสือและจำนวน copy ได้มากขึ้นตามความนิยม

เกริ่นมาเสียยืดยาว วิธีการที่ว่าคือ การเชื่อม application e-reader ในมือถือ หรือเทบเล็ตของเรากับห้องสมุดออนไลน์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ จากนั้นก็ยืม จอง หนังสือได้ในแบบเดียวกันกับที่เราไปใช้งานห้องสมุดสาธารณะทั่วไป ซึ่งต่างประเทศจะมีห้องสมุดที่สามารถเชื่อมเข้ากับระบบได้เยอะมาก มีเกือบจะทุกเมืองที่สามารถทำได้ โชคดีมากๆที่ในไทยก็มีห้องสมุดออนไลน์แห่งหนึ่งนั้นคือ TK Park ที่สามารถเชื่อมกับระบบได้ และฟรีค่าสมาชิกอีกด้วย

Libby free ebook and audiobook online

หวังว่าห้องสมุดของไทยที่อื่นๆเช่น ห้องสมุดสาธารณะ หรือ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จะเพิ่มเข้ามาในระบบได้ในอนาคต อีกอย่างต้องยอมรับว่าระบบอ่าน ebook ของไทยค่อนข้างแย่ และหนังสือที่อ่านได้ก็จำกัดมากๆ การใช้ระบบนี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะเพิ่มโอกาสให้คนทั่วไปเข้าถึงและอ่านหนังสือได้มากขึ้น

ขั้นตอนการใช้งาน

  1. ให้ไปสมัครสมาชิกห้องสมุดออนไลน์ของ TK park สมัครได้ฟรี ไว้ก่อนเพราะจำเป็นต้องใช้ในขั้นตอนการเชื่อมต่อกับระบบ
  2. ดาวน์โหลด application ที่ชื่อ Libby มาติดตั้งให้เรียบร้อย มีทั้งฝั่ง Apple และ Google
  3. เข้าไปเพิ่ม สมาชิกห้องสมุด ใน Add A Library ในแอพโดยใช้รายละเอียดของ TK park ที่เราสมัครไว้แล้วตามข้อ 1
  4. เลือกหนังสือที่อยากอ่าน ที่มีมากกว่า 4,000 รายการ มีหนังสือทั้งเก่าใหม่ มีทั้งแบบหนังสือ เสียง และภาพ ยืมได้ไม่เกิน 4 เล่ม (ถ้าเกินโควต้าก็คืนเล่มที่ยืมก่อนแล้วค่อยยืมเล่มใหม่) ยืมได้เล่มละ 2 สัปดาห์ จองคิวได้ 2 เล่ม

ขอให้สนุกกับการอ่านหนังสือออนไลน์ ที่สำคัญใหม่ เยอะและฟรีด้วย

ตัวอย่างหนังสือที่สามารถยืมอ่านได้
หนังสือมีให้เลือกหลากหลายแนว

สนใจบทความเกี่ยวกับหนังสือตามอ่านได้ที่หัวข้อ หนังสือ ได้ครับ

reMarkable แท็บเล็ตจอ E-Ink อ่าน เขียนได้เหมือนกระดาษ

หลายวันมานี้ได้เห็นโฆษณาอันหนึ่งบ่อยมาก อาจเพราะว่าค้นคำว่า “the best of tablet for artist” บ่อย จึงมีโฆษณาเกี่ยวกับแท็บเล็ตโผล่มาให้เห็น โฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่ว่าคือ reMarkable: The paper tablet นิยามด้วยแท็บเล็ตที่ได้ฟิลลิ่งเหมือนกระดาษ(อ่าน เขียน เสก็ต)

reMarkable แท็บเล็ตที่อ่านเขียนได้เหมือนกระดาษ

เมื่อดูรายละเอียดแล้วก็ต้องบอกว่าไอเดียและคอนเซ็พท์นั้นโดนใจมาก

สิ่งที่เราอยากได้สำหรับเท็บเล็ต แล้วก็ถือว่าเป็นจุดเด่นของแท็บเล็ตตัวนี้อีกด้วย มีดังนี้

  • เขียนได้เหมือนกระดาษ
    (แท็บเล็ตในตลาดตอนนี้ส่วนใหญ่เขียนบนหน้าจอได้ แต่ถ้าอยากได้การเขียนที่ละเอียดและแม่นยำ ในตลาดตอนนี้มี iPad Pro, Galaxy Tab S3, LENOVO Yoga Book, Surface Pro 4)
  • แบตเตอรี่ที่ใช้ได้นานหลายวัน
    เพราะจอขาวดำใช้พลังงานต่ำกว่ามาก แม้ว่า reMarkable จะยังไม่ระบุว่าใช้ได้กี่วันแต่ก็หวังว่าจะใช้ได้หลักสัปดาห์ต่อการชาร์ตหนึ่งครั้ง อย่างเช่นที่ Amazon Kindle ทำได้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งเมื่อเทียบกับแท็บเล็ตอื่นๆที่ใช้งานในหลักชั่วโมงเท่านั้น
  • อ่านหนังสือได้นาน (จอ E-ink ดีที่สุด ปัจจุบันใช้ Amazon Kindle อ่านหนังสือ ซึ่งก็อ่านได้อย่างจริงจัง ไม่เหมือนกับอ่านจากจอแบบอื่นๆ)
  • ราคาถูก 379 usd (ล่าสุดเป็น 429 usd แล้ว) เมื่อเทียบกับแท็บเล็ตที่กล่าวมาข้างต้นราคาแพงระดับ 500-1,200 usd

จากเหตุผลด้านบนตัว reMarkable ค่อนข้างตอบโจทย์มากๆ แต่ก็มีจุดด้อยอยู่บ้างดังนี้

  • เป็นจอขาวดำถ้าอยากทำงานศิลป์จริงจังมีลงสีอาจจะไม่เหมาะ
  • ใช้ OS ที่พัฒนาขึ้นเองอาจจะไม่มีแอพจากแหล่งอื่นให้ใช้
  • บริษัทที่ทำเป็น Startup ใหม่ ซึ่งยังไม่มีผลิตอื่นก่อนหน้านี้เลย คุณภาพของสิ้นค้าจะดีแค่ไหน รวมทั้งบริการหลังการขายจะเป็นยังไง ทำให้ยังลังเลที่จะ Pre-Order (ถ้า Amazon ทำกดสั่งไปแล้ว)

แต่ถ้าหากมองข้ามจุดด้อยต่างๆเหล่านี้ได้ reMarkable จึงเป็นแท็บเล็ตที่น่าสนใจมากๆ ด้วยจุดเด่น E-Reader ที่สามารถทั้งอ่าน เขียน และเสก็ต ได้ (Read, Write, Sketch)

reMarkable Read Write Sketch

อีกอย่างที่น่าสนใจ คือ ปากกาที่ใช้เขียนของ reMarkable รองรับแรงกดถึง 2048 ระดับ แต่ไม่ต้องชาร์ตและไม่ต้องใช้บลูทูธในการเชื่อมต่อ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่ดีมากๆ

reMarkable feature sturdy

เขียนมาถึงขนาดนี้เหมือนได้ค่าโฆษณามาเขียนเชียร์เลย แต่มันก็ดูดีน่าใช้จริงๆ หวังว่าเมื่อผลิตเสร็จแล้ว จะทำงานได้สมบูรณ์แบบอย่างที่เคลมไว้

สุดท้ายมาดูวิดีโอโปรโมตของ reMarkable กันครับ อย่างที่บอกมันน่าใช้มาก

https://www.youtube.com/watch?v=34I27KPZM6g

รายละเอียดสเปค

Size and Weight

  • 177 x 256 x 6.7mm (6.9 x 10.1 x .26 inches)
  • Approximately 350 gram (.77 pounds)

CANVAS display

  • 10.3” monochrome digital paper display (no colors)
  • 1872×1404 resolution (226 DPI)
  • Partially powered by E-ink Carta technology
  • Multi-point capacitive touch
  • No glass parts, virtually unbreakable
  • Paper-like surface friction

Pen

  • No battery, setup or pairing required
  • Special high-friction pen tip
  • Tilt detection
  • 2048 levels of pressure sensitivity

Storage and RAM

  • 8 GB internal storage (100,000 pages)
  • 512 MB DDR3L RAM

Connectivity

  • Wi-Fi connected

Battery

  • Rechargeable (Micro USB)
  • 3000 mAh

Processor

  • 1 GHz ARM A9 CPU

Operating system

  • Codex, a custom Linux-based OS optimized for low-latency e-paper

Document support

  • PDF and ePUB, with more formats to be announced

Other

  • Menu language: English only

ที่มา: https://getremarkable.com/

ลองเล่น BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1

เมื่อวานก่อนไปงาน Embedded World 2016 ที่ Nürnberg มาครับ งานใหญ่มาก มีบริษัทใหญ่ๆทั่วโลกมาออกบูธแสดงสินค้าและบริการของตัวเองเพียบ มีของแจกเยอะมากๆด้วย ได้ของแจกฟรีมาเยอะเลยครับ หนึ่งในนั้นที่โชว์อยู่คือ BLE(Bluetooth Low Energy) Wireless Sensor Tag เป็นของโชว์ IoT ของบริษัท TE connectivity มีบอร์ดอื่นๆอีกหลายอย่างให้เลือก แต่เลือกเอาตังนี้มาน่าจะเล่นได้เลย ส่วนบอร์ดอื่นบางอันต้องการ module อื่นเชื่อมต่ออีกที

BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1

สิ่งที่ BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1 ทำได้คือ มีเซนเซอร์ตรวจวัด Humidity, Temperature, Pressure แล้วส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth รองรับทั้ง Android และ Windows ลองเล่นดูแล้ว ถือว่าเจ๋งมากๆ เขาเครมว่าใช้ถ่าน CR2032 ก้อนกลมๆ นั้น อยู่ได้นาน 3 เดือนเลยครับ เจ๋งดีจริงๆ

รายละเอียดทั้วไปของบอร์ด BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1 download link

  • Bluetooth Low Energy Tag
  • Humidity (0-100%RH)
  • Temperature (-20°C + 85°C)
  • Pressure (300 to 1200mBar)
  • Android & Windows PC compatible แต่ใน App Store ก็มีแอพให้เล่นเหมือนกันนะแต่ไม่มีเครื่องลองเลยไม่รู้ว่าใช้ได้ไหม
  • อื่นๆ มี SDK ให้เอาไปพัฒนาต่อได้ด้วย

วิธีติดตั้ง Folcon Pro

Folcon Pro เป็น Twitter Client อีกตัวหนึ่งสำหรับ Android ที่นักพัฒนาทำออกมาได้ดีและได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กลับเกิดปัญหาคนใช้เยอะเกินไป(ทั้งที่ยอมจ่ายเงินและโหลดเถื่อน) ทำให้ token ที่ Twitter ตั้งไว้ให้นักพัฒนา 100,000 token ต่อหนึ่ง application เลยเต็ม ทำให้เกิดปัญหาเข้าใช้งานไม่ได้ ทางผู้พัฒนาก็มีการแก้ปัญหาหลายครั้ง ทั้งการให้ลงทะเบียนใหม่ แต่จนแล้วจนรอดก็เต็มทุกครั้ง อีกส่วนหนึ่งต้องเรียกว่าเป็นการกันท่าของ Twitter เองที่ไม่อยากให้มีการพัฒนา Client มาแข่งกับของตัวเอง ล่าสุดผู้พัฒนา Folcon Pro เลยปล่อยให้โหลดฟรีเสียเลย แล้วให้คนใช้ทั่วไปเข้าไปขอ API key เอง หรือ อธิบายง่ายๆคือใครอยากใช้ก็เข้าไปลงทะเบียน application อะไรก็ได้สักตัว แล้วเอา API key ที่เชื่อมต่อกับ Twitter มาใส่ให้ Folcon Pro ปัญหาเรื่อง API token จำกัดจึงหมดไป เรียกได้ว่าของใครของมัน ไม่ใช่มาจากผู้พัฒนาคนเดียวอีกแล้ว เป็นการดัดหลัง Twitter อีกทางหนึ่งเหมือนกัน อาจต้องรอดูว่า Twitter จะแก้ไขปัญหานี้ต่อยังไง หรือจะปล่อยเลยตามเลย

มาถึงวิธีติดตั้งกันครับ เรียกได้ว่าทำได้เท่ และ Geek ดีทีเดียว มีสูตรลับด้วยนะ ขั้นแรกเราต้องเตรียม API Key ก่อน แล้วค่อยเอาไปลงใน Folcon Pro

ขั้นตอนลงทะเบียนรับ API Key

  1. เข้าไปที่ https://dev.twitter.com เพื่อจะขอ API key ล็อกอิน user twitter เข้าไป
  2. กดตรงรูปของเราที่มุมขวา เข้าไปที่ “My applications”

    My application

  3. คลิกเลือก “Create a new application”
  4. ใส่รายละเอียดเข้าไปให้ครบ ที่น่าสนุกคือช่องใส่ชื่อ(Name) ตอนเราทวีตมันแสดง via: ชื่อนี้ครับ เช่น เราทวีตจะมีบอกว่า via: twitter for Mac, twitter for Android, Echofon แล้วแต่เราเลยครับ อยากได้ชื่ออะไรก็ใส่เข้าไปได้เลย ส่วนเว็บไชต์ที่บังคับให้ใส่ ใส่อะไรไปก็ได้ ต้องมี https:// นำหน้าด้วยนะ
  5. คลิกเลือก Yes,I agree ในส่วนของ “Developer Rules Of The Road” ใครอยากอ่านรายละเอียดข้อกำหนดก่อนก็ได้นะครับ
  6. เราสร้าง Application ตัวหนึ่งขึ้นมาแล้ว เข้าไปที่แท็บเมนู “Settings” ด้านบน เปลี่ยน Application Type ให้เป็น “Read, Write and Access direct messages” จากนั้นเลือนลงไปคลิก Update

    Application type

  7. กลับไปที่เท็บเมนู “Details” บันทึก “Consumer key” กับ “Consumer secret” ไว้ ผมเอาลงไว้ที่ Google Keep ตอน copy ไปลงแอฟจะได้ทำได้ง่ายขึ้น

    Consumer key

เราได้ API key มาแล้ว ต่อไปก็วิธีติดตั้ง Folcon Pro ลงมือถือหรือแท็บแล็ต

ขั้นตอนการติดตั้ง Folcon Pro

  1. เข้าไปดาวน์โหลด Falcon Pro ได้ที่ getfalcon.pro ติดตั้งลงเครื่องให้เรียบร้อย (ต้องปรับ setting ของเครื่องให้อนุญาติติดตั้ง apk นอก store ได้ด้วยนะ)
  2. เปิดเข้าไปที่หน้า login
  3. กดที่มุมทั้ง 4 ของหน้าจอให้มี 4 สีโผล่ขึ้นมา (ตามรูป)

    Folcon Pro code

  4. กดตรงมุมสีส้มอีกครั้งให้มันหายไป (ดูตามรูป)

    Folcon Pro code 2

  5. จับเครื่องเขย่าครับ เขย่าครับๆ ไม่ได้เขียนผิด สักพักจะมีข้อความขึ้นมาว่า “Custom login unlocked!” และมีปุ่ม Custom login โผล่ขึ้นมา

    Folcon Pro code 2

  6. กดเข้าไป “Custom login” แล้วใส่ API Key ที่ได้จากขั้นตอนลงทะเบียนเพื่อรับ API Key ลงไป เพื่อความสะดวกผม Sync Google Keep เข้ามือถือให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเข้าไป copy มาวาง ถ้ากดเองโอกาสผิดสูง

    AKI Key

  7. กด save แล้วก็เรียบร้อยแล้วครับ 

หน้าตาของ Folcon Pro ตามรูปครับ ในแต่ละทวีตถ้ามีรูปหรือวิดีโอที่แนบมาด้วยจะแสดงผลให้ดูด้วยเลย

Folcon Pro

ข้อมูลจาก: https://www.androidpolice.com

เล่าเรื่องการใช้ iconia B1 แท็บแล็ตราคาถูก

iconia B1

ไม่อยากเรียกว่ารีวิว เพราะมันไม่ถึงขนาดนั้น เอาเป็นว่าเล่าให้ฟังหลังจากใช้มาได้ราวสองสัปดาห์ก็แล้วกัน ราคาของ iconia B1 ประมาณ 3,750 บาท แต่ตอนเราซื้อได้คูปองลดมาอีกพันบาทตอนตัดสินใจซื้อเลยง่ายขึ้น ซื้อมาแล้วใช้ทำอะไรบ้างนั้น ส่วนใหญ่ก็เหมือนกับสมาร์ทโฟน เล่น facebook, twitter, ดูเว็บ ที่ต่างจากมือถือคือใช้อ่านข่าว อ่านการ์ตูน อ่านหนังสือ

แต่ว่าตัว iconia B1 ไม่มี 3G นะครับใช้เน็ตผ่าน wifi ได้เท่านั้น แต่โดยหลักแล้วเราก็ใช้ตอนที่ยู่ที่บ้านกับที่ทำงานเป็นส่วนใหญ่ อาจมีบ้างที่ไปเล่นที่สวนสาธารณะ ซึ่งที่เหล่านี้มี wifi ให้ใช้อยู่แล้ว มีบ้างที่ต้องเปิด wifi hotspot จากมือถืออีกทีหนึ่ง ถือว่าไม่ค่อยเดือดร้อนเรื่องออนไลน์เท่าไหร่นัก การใช้งานโดยทั่วไปถือว่าราบลื่นดี

แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เวลาใช้ไปสักพักอาจจะต้องเคลียร์แรมทิ้งบ้างโดยเฉพาะถ้าเปิดหลายโปรแกรมพร้อมกัน อาจทำให้แรมเหลือไม่พอใช้เครื่องจะทำงานไม่ลื่นไหลเท่าไหร่นัก แม้เครื่องจะมีแรมมาให้ 512 mb แต่ถูกใช้ไปกับ system หลักกับแอพที่รันอยู่หลังบ้านเกือบหมดเหลือให้ใช้แค่ราวร้อยกว่าเม็กเท่านั้น อันนี้ขึ้นอยู่กับแอพที่ติดตั้งลงในเครื่องด้วยนะ

ขอแนะนำแอพที่ใช้บ่อยในเครื่อง iconia B1 ของผม

  1. Pantip อ่านกระทู้ในพันทิพ
  2. Perfect View อ่านการ์ตูน หาโหลดมาลงเองนะ
  3. Clean Master เคลียร์แรม(Task)
  4. feedly อ่าน rss
  5. Flipboard อ่านข่าว
  6. Google play music ฟังเพลง

โดยรวมถือว่าคุ้มค่าสมราคาของมัน ยังไม่ได้ลองเล่นเกม 3D แบบหนักๆไม่รู้ว่าจะรับไหวหรือป่าว แต่ที่อยากบอกคือลองเอาไปเล่น ingress แล้ว ใช้ได้นะแต่แบตหมดเร็วไปหน่อยถ้าเปิดทั้ง wifi และ gps ตอนเล่นเกมช่วงแรกๆจะลื่นไหลดี แต่พอเครื่องร้อนแล้วมีกระตุ๊กนิดหน่อย แต่ก็เล่นได้ล่ะ

สเปคของ iconia B1

  • ขนาดตัวเครื่อง: 197.4 x 128.5 x 11.3 mm (7.77 x 5.06 x 0.44 in)
  • น้ำหนัก: 320 g (11.29 oz)
  • หน้าจอ: TFT capacitive
  • 600 x 1024 pixels, 7.0 inches (~170 ppi pixel density)
  • CPU Dual-core 1.2 GHz
  • Chipset MTK 8317T
  • OS Android OS, v4.1 (Jelly Bean)
  • กล้องหน้า VGA, 640×480 pixels
  • ความจุภายในเครื่อง: 8/16 GB,แรม: 512 MB
  • รองรับเพิ่มความจุด้วย micro-SD สูงสุด 32 GB
  • WLAN Wi-Fi 802.11 b/g/n
  • Bluetooth Yes, v4.0
  • Sensors Accelerometer
  • มี GPS
  • แบตเตอรี่  Li-Po 2710 mAh
Exit mobile version