มาเปลี่ยน Notebook เป็น Kindle DX ไว้อ่าน E-book ดีกว่า

Notebook-KindleDX
notebook-kindledx1

Kindle เป็นผลิตภัณฑ์ของ Amazon ที่ออกมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มันเป็นเครื่องอ่าน e-book ที่สั่งซื่อผ่านบริการของ Amazon ที่ไทยคงต้องรออีกนานที่จะมีการวางขาย(หรืออาจจะไม่มาเลยก็ได้) เมื่อเร็วๆนี้เขาได้ออกรุ่นที่สอง คือ Kindle DX ที่ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 9.7 นิ้ว (เดิม 6 นิ้ว) ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากได้เจ้าเครื่องอ่าน e-book ตัวนี้ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นวารสารทางวิชาการ หนังสือออนไลน์ ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรี และไม่ฟรี ทั้งใหม่ ทันสมัย ล้วนอยู่ในรูป PDF ทั้งสิ้น และช่วงนี้ก็มีการรณรงค์อย่างหนักเรื่องการลดใช้กระดาษ การอ่านหนังสือในรูปของ e-book จึงเป็นทางเลือกที่ดี จากประสบการณ์จริงผมก็ใช้การอ่าน e-book จาก notebook ผมจะขอแนะนำการอ่านหนังสือ e-book โดยใช้ notebook ให้คนอื่นได้ลองทำดู ง่าย และหลายคนคงคิดว่ามีแค่นี้เองหรอ

  1. ติดตั้ง Adobe Reader ในเครื่องก่อนซึ่งคิดว่าทุกเครื่องน่าจะมีอยู่แล้ว
  2. เปิดไฟล์ e-book ที่จะอ่าน แล้วกด Ctrl + L เพื่อให้อยู่ในโหมด full screen
  3. กด Ctrl + 1 หรือ 2 หรือ 3 เพื่อปรับให้ขนาดของเอกสารใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
  4. กด Fn + F7 แล้วแต่เครื่องครับ อันนี้เพื่อปรับแสงของหน้าจอลง เวลาอ่านจะได้สบายตา
  5. เริ่มอ่านได้เลยครับ ควบคุมเอกสาร โดยเลื่อนขึ้น-ลงใช้ลูกศรขึ้นลง เปลี่ยนหน้าใช้ลูกศร ซ้าย-ขวา

ง่ายไหมละครับพี่น้อง คราวนี้ก็ได้ Kindle DX มาอยู่ในมือแล้วแถมจอใหญ่กว่าอีก ตั้ง 13 นิ้ว

EndNote X2 โปรแกรมทำเอกสารอ้างอิง ตอนที่ 1

endnote-x2

อัพเดตข้อมูล

ล่าสุดตอนนี้ มีให้โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด EndNote X5 แล้วนะครับ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/endnotex5.html และ ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเวอร์ชั่นที่เราขอไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง แนะนำให้เข้าไปดูที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/ ครับ

EndNote เป็นโปรแกรม Reference management software ช่วยให้การทำเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม ให้ง่ายขึ้นอย่างมาก สร้างโดย The Thomson Corporation มีทั้งรุ่น Windows และ Mac OS X การทำเอกสารอ้างอิงในงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆนั้น แต่ละเล่มมีรูปแบบของเอกสารอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน คงเป็นการยากถ้าต้องมาแก้ไขรูปแบบของเอกสารอ้างอิงทุกๆครั้งที่จะเปลี่ยนวารสารในการตีพิมพ์ซึ่งโปรแกรม EndNote สามารถช่วยให้การเปลี่ยนรูปแบบเป็นไปอย่างง่าย สำหรับรูปแบบที่ จุฬาฯ ใช้อยู่คือ แบบ vancouver ครับ โปรแกรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ทาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ จึงจัดซื้อมาเพื่อบริการนิสิตจุฬาฯ และอาจารย์ โดยเฉพาะ สามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้งที่เครื่องตัวเองได้เลยดาวน์โหลดได้ที่

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก่อนติดตั้งคุณต้อง e-mail ไปขอ password จากภารกิจสนับสนุนการวิจัย ศูนย์วิททรัพยากรจุฬาฯ อีเมล rss@car.chula.ac.th ถ้าใช้อีเมลล์ของนิสิตจุฬาฯ จะตอบกลับมาเร็วครับ ถ้าเป็นอีเมลล์อย่างอื่นอาจจะนานหน่อยเพราะต้องรอการยืนยันจากคณะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ใช้โปรแกรม EndNote X5 อย่างถูกลิขสิทธิ์แล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ตามไปดูตอนที่ 2 การใช้งานเบื้องต้น https://www.amphur.in.th/reference-manager-endnote/

WordPress backup and restore ไม่ต้องมี plugin

WordPress-backup

บล็อกผมในตอนแรกตัว WordPress จะอยู่ที่ folder ชื่อ 2009 ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ www.amphur.in.th ผมต้องทำ redirect ไปที่ 2009 เว็บไซต์ก็จะเป็นแบบนี้ www.amphur.in.th/2009 ตอนแรกที่ทำแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าเราทำ folder ไว้คงทำให้บริหารจัดการง่ายแต่พอใช้ไปรู้สึกว่าไม่สะดวกแล้ว และไม่เป็นผลดีกับการทำ seo ด้วย จึงต้องการเอา WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก ขั้นตอนในการทำง่ายมากครับ ไม่ต้องลง WordPress plugin แต่อย่างใดเพราะ WordPress มีเครื่องที่จะช่วยให้เราทำการ

backup และ restore ได้เลย เริ่มขั้นตอนการทำเลยแล้วกัน

  1. login เข้าไปใช้งานใน WordPress admin คลิกที่เมนูซ้ายมือในหัวข้อ “เครื่องมือ”
  2. เลือกหัวข้อ “นำออก” ดังรูป

    WordPress-tools

  3. ในหน้าจะแสดงข้อความอธิบายการนำออกดังนี้

    เมื่อคุณกดปุ่มด้านล่าง เวิร์ดเพรสจะสร้าง ไฟล์ XML file สำหรับบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ รูปแบบนี้ เราเรียกว่า เวิร์ดเพรส eXtended RSS หรือ WXR ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วย เรื่อง, หน้า, ความเห็น, custom fields, หมวดหมู่และป้ายกำกับ เมื่อคุณบันทึกไฟล์ดาวน์โหลดแล้ว คุณสามารถใช้คำสั่งนำเข้าในบล็อกเวิร์ดเพรสอื่นเพื่อนำเข้าบล็อกนี้

  4. ทางเลือกให้เลือก “ผู้เขียนทั้งหมด” เสร็จแล้วคลิก ดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ backup ชื่อ WordPress.ปี-เดือน-วัน.xml
  5. จากนั้นผมก็ copy ไฟล์ของ WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก แล้วก็ลบไฟล์ในนั้นทิ้ง
  6. เข้าไปที่ phpmyadmin ของเราทำการ backup database ไว้ก่อนเผื่อเกิดอุบัติเหตุเมื่อ backup เสร็จแล้ว drop ตารางทิ้งเลยครับ
  7. เข้าไปที่ root directory ของเว็บเราลบไฟล์ wp-config.php อันเก่าทิ้งไป และอับไฟล์ wp-settings.php ไปแทนทำเหมือนจะติดตั้งใหม่ จากนั้นก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา www.amphur.in.th รันติดตั้ง WordPress ตามปกติ
  8. เมื่อติดตั้งเสร็จเล้วเข้าไปที่การ “นำเข้า” ตามขั้นตอนที่ 2
  9. เลือกหัวข้อ WordPressดังรูป

    WordPress-restore

  10. คลิก browse ไปที่ไฟล์ที่เราทำไว้ในขั้นตอนที่ 4 ที่เราเรียกว่าไฟล์ WXR เสร็จแล้วคลิกอับโหลด
  11. เข้าไปตรวจสอบเนื้อหา ต้องแก้ที่อยู่ของไฟล์ภาพ และ plugin จะใช้ไม่ได้(ลบออกลงใหม่)

ข้อดี วิธีนี้อาจจะไม่ดีแต่เป็นวิธีที่ผมทดลองใช้รู้สึกว่าเร็วดี อาจจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แต่ผมไม่รู้เลยต้องใช้วิธีนี้
ข้อเสีย plugin อันเก่าที่ติดตั้งไว้ใช้งานไม่ได้ และ widget ก็หายด้วย

CG+ vs Computer Atrs Thailand นิตยสารกราฟิกพันธุ์ไทย

Computer Graphics Plus Versus Computer Arts Thailand

นิตยสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกของไทยนับว่ามีน้อยมากในแผงหนังสือ ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบหนังสือประเภท ออกแบบ ศิลปะ คอมพิวเตอร์ หนังสือที่ต้องซื้อทุกเดือนคือ ต้นเดือนคือ Bioscope นิตยสารเกี่ยวกับหนัง และกลางเดือนจะมีอีกเล่มคือ CG+(Computer Graphic Plus) ซึ่งเป็นนิตยาสารที่ผมได้ติดตามอ่านมาได้กว่าสองปีแล้วครับ เริ่มอ่านครั้งแรกตอนตีพิมพ์เล่ม 3 และจนถึงปัจจุบันเล่ม ที่ 23 ครับ สองเล่มแรกซื้อทุกเดือนและ iDesign บางฉบับ แต่วันนี้แวะไปที่ร้านหนังสือประจำ ก็เดินไปที่วางหนังสือ CG+ ตามปกติ พบว่ามีนิตยสารใหม่ ออกเล่มแรก ฉบับที่ 01 ชื่อ Computer arts thailand ด้านบนเขียนว่า “การรวมตัวครั้งแรกของนิตยสาร Computer Arts และ 3D World” ผมเลยหยิบมาสองเล่มและทำการเปรียบเทียบกันดูเลยจะใครสนใจจะได้ตัดสินใจเลือกได้ถูก แต่สำหรับผมคงจะสนับสนุนทั้งสองเล่มครับ

หัวข้อ CG+ Computer Arts Thailand
ราคา 100 บาท 150 บาท
จำนวนหน้า
(ดูตามหมายเลขหน้าสุดท้าย)
114 หน้า 138 หน้า
เนื้อหา 1. News และแนะนำเว็บไซต์

2. Hot Stuff การรีวิว Gedget ใหม่ๆ

3.Mactivity มุมสำหรับคนชอบ mac

4.เนื้อแล้วแต่ละเดือน เกี่ยวกับ cg

5.สัมภาษณ์คนในวงการ computer graphic ทั้งคนไทย คนต่างประเทศ

6. มีริวิวโปรแกรมเกี่ยวกับ computer graphic บ้าง เกี่ยวไอทีทั้วไปบ้าง

7. student portfolio ผลงานของน้องใหม่

8.web ,book, hardware รีวิว

9.Tutorial

– ขั้นตอนการทำปก จะเป็นคนที่ถูกสัมภาษณ์นั้นเองที่ต้องทำภาพขึ้นปก

– 3Ds Max

– Photoshop

– Flash

– Illustrator

-Maya

แล้วแต่ละเดือน เดือนละ 4 tutorial

เนื่องจากเป็นนิตยสาร import จากต่างประเทศมาเนื้อหาค่อนข้างที่จะเป็นสากล

1. ผลงานของนัก computer graphic พร้อมสัมภาษณ์

2. Studio of the Month ทำความรู้จัก
ดูผลงาน สัมภาษณ์ studio นั้นๆ

3.In depth

เนื้อหาเกี่ยวกับ โปรแกรม การออกแบบ

เทคนิคใหม่ ฯลฯ

4.Technique

Tutorial โปรแกรม เช่น photoshop Flash , maya ,zbrush , blend มีทั้งหมด 8 Tutorial ในเล่ม

5.Pre-viz

ข่าวงานศิลปะ แอนนิเมชั่น

6.special Feature

งานแอนิเมชั่นของหนังเรื่อง Monsters vs Aliens

7.Need to Know

มี plug in Photoshop ,คำถาม คำตอบ

8.โชว์ผลงาน ,ฉบับหน้ามีอะไร

ของแถม

มีบ้าง ,ไม่มีบ้าง

DVD Resources & Tutorial

ถ้าดูแล้วเนื้อหาภายในของ Computer Arts Thailand ค่อนข้างจะดีกว่าหน่อย แต่ CG+ ก็ดีไม่น้อย และก็ติดตามมานานเข้าปีที่ 3 แล้ว ยังไงก็คงติดตามผลงานของ CG+ ต่อไป แต่ในแต่ละเดือนคงต้องเสียตังค์เพิ่มอีก 150 บาท เพื่อติดตามผลงานของ Computer Arts Thailands

อ้างอิง :  CG+ ฉบับที่ 23  ,Computer Arts Thailand ฉบับที่ 1

ตอนนี้ใช้ Evernote จนติดงอมแงม

โปรแกรมจดโน๊ต Evernote

ติดใจในความสะดวกสบายและความสามารถในการเก็บไว้บนเว็บได้ด้วย ไม่ต้องกลัวหาย รู้จัก evernote จาก wakoopa ตอนนั้นเข้าไปดูสถิติว่าใช้สัปดาห์นี้ใช้โปรแกรมอะไรบ่อยสุด แล้วก็เลยคลิกไปดูเพื่อนๆว่า ใครใช้อะไรบ้างพบว่า evernote คนใช้เยอะมาก ก็เลยคลิกไปดูและดาวน์โหลดมาทดลองใช้ ที่ https://www.evernote.com Evernote เป็นโปรแกรมที่ใช้จดบันทึก สามารถเขียนเอง พิมพ์ หรือเก็บจากเว็บไซต์ บันทึกข้อความจากเว็บที่เราสนใจเพียงแค่ติดตั้ง extension evernote ลงที่ firefox แค่นี้การเก็บเนื้อหาเว็บดีๆไว้อ่านภายหลังก็เป็นเรื่องง่ายมาก

วิธีใช้ก็ง่ายมากๆ แค่คลิกคลุมเนื้อหาที่ต้องการ บันทึกไว้ แล้วคลิกงวงช้างเขียว ใส่  tag เป็นอันเรียบร้อย แล้วเมื่อถึงเวลาโปรแกรมจะ sync เองหรือกด sync เองก็ได้

ดูวีดีโอประกอบดีกว่าจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

แจก Desktop Background ของ Windows 7 RC

windows7-wallpaper

หลังจากที่ Microsoft ปล่อย Windows 7 RC ออกมา ผมก็ทำการอับเดตจากตัว beta เป็น RC อย่างไม่รอช้า สังเกตเห็นว่าตัวที่ให้คลิก feedback ที่ topbar ก็หายไป และได้มี desktop background เพิ่มมาอีกหลายตัว แต่ละชุดสวยงามมากครับ ทั้งภาพ computer graphic หรือภาพจริง และแน่นอนปลากัดน้อยของไทยก็ยังมีอยู่ ดังนั้นจึงนำมาให้ดูและดาวน์โหลดไปใช้งาน ใครชอบสะสม wallpaper สวยๆงานนี้ไม่ควรพลาด มีหลายชุด แต่ละชุดมี 6 ภาพ ไปดูกัน

ชุด Architecture [Download]

Architecture

ชุด Characters [Download]

Characters

ชุด Landscapes [Download]

Landscapes

ชุด Nature [Download]

Nature

ชุด Scenes [Download]

Scenes

ชุด Windows [Download]

Windows

ดาวน์โหลดทั้งหมด

หลักสูตรการใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT

ผมได้รับอีเมลล์จากพี่ร่วมงานในแล็บ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาประชาสัมพันธ์ต่อครับ

เรียนท่านวิทยากร, ท่านผู้เชี่ยวชาญ และท่านที่สนใจ

จากการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่องของรูปแบบข้อกำหนดต่าง ๆ โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT วันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้ว ได้ทำการประมวลผลหลักสูตร การใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โดยได้กำหนด เปิดอบรม ในวันที่ 18,19,25 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีพิธีเปิดโครงการฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว จึงขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้กับท่านผู้สนใจอบรม และทางผมจะส่งหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียนเชิญทุกท่านต่อไปครับ

==================================================

หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการมองเห็น
จำนวนชั่วโมง 18 ชั่วโมง

สถานที่ฝึกอบรม: ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้น 8 (ลงสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี)

วัตถุประสงค์
1. ผู้อบรมสามารถบอกถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. ผู้อบรมมีทักษะเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ผู้อบรมสามารถค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ได้
4. ผู้อบรมสามารถสื่อสารข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ผู้อบรมสามารถใช้หนังสือระบบเดซี่ได้

ความต้องการของระบบ
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือสูงกว่า
2. โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
3. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai Text to Speech) ตาทิพย์
4. อินเตอร์เน็ต

หัวข้อการอบรม
1. ความสำคัญของ ICT ต่อคนพิการทางการมองเห็น
2. คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
3. การประยุกต์ใช้ ICT ในชีวิตประจำวัน
4. การใช้แป้นพิมพ์, การใช้ Mouse และอุปกรณ์ต่างๆ
5. การใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
5.1. การติดตั้งโปรแกรม
5.2. การตั้งค่าการทำงาน
6. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Text to Speech ) ตาทิพย์
7. การใช้งานอินเตอร์เน็ต
7.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่าย
7.2. การใช้งานโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
7.3. การตั้งค่าระบบการรักษาความปลอดภัย (Security Setting)
7.4. การใช้งาน Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล
7.5. การนำข้อมูลจาก Internet เช่น รูปภาพไปใช้งาน
7.6. การรับส่ง Electronic Mail
7.7. เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
7.8. ข้อพึงระมัดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต
8. แนะนำ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
9. แนะนำให้รู้จัก E-Commerce
10. แนะนำการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสร้างโอกาสและอาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

==============================================

ประชาสัมพันธ์ แบนเนอร์โครงการฯ

ท่านใดที่สามารถร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ สามารถทำได้โดย Copy โค้ด HTML ต่อไปนี้เพื่อติดตั้งยังเว็บไซต์ท่าน

<a href=”https://www.equitable-society.com” title=”โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
<img src=”https://www.equitable-society.com/images/equitablesociety.gif” border=”0″ alt=”
โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
</a>

ขอขอบพระคุณทุกความคิดเห็น ทุกคนร่วมมือ เป็นอย่างสูง

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 944 0009 ต่อ 102


Best Regards,

ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์
Chalaivate Pipatpannawong

ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานกระทรวง ICT

www.Equitable-Society.com

Managing Director

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

เว็บไซต์ช่วยชาติ พัฒนาจาก WordPress

เว็บไซต์ช่วยชาติ

ช่วยชาติ.com หรือ chuaichart.com

ได้ดูข่าวจาก blognone เรื่องเว็บไซต์การชี้แจ้งการทำงานของรัฐบาล และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ใช้ WordPress ทำซะด้วยและอีกอย่าง คือใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons แสดงที่มา 3.0 ใครจะนำข้อมูลไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติแค่แสดงที่มาของข้อมูล และไม่ใช้ในทางพาณิชย์ ดูเทคนิคการทำงานการพัฒนาเว็บไซต์ได้ที่ เว็บไซต์ของคุณ พัชร และ กลุ่มไทเกอร์ไอเดีย ตามลิงค์

เนื้อหาภายในลองคลิกๆดูแล้ว เนื้อหาค่อนข้างละเอียดครับว่ารัฐบาลมีโครงการอะไรบ้าง แม้กระทั้งเอกสาร โครงการต่างๆก็จะสามารถดูได้ตัวอย่างโครงการ ต้นกล้าอาชีพ เป็นต้นเรื่องการดีไซด์สวยงามมากครับได้เต็มสิบไปเลยครับ รายละเอียดของ proposal ของเว็บไซต์นี้ก็มีการเปิดเผยว่ามีขั้นตอนการทำยังไงบ้าง
งบประมาณเท่าไหร่

แต่ที่ติดใจนิดหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ ที่ใช้ WordPress ที่เป็น open source ที่ใครๆก็รู้ code โอกาสที่จะถูกโจมตีอาจทำได้ง่าย แต่ถ้ามองอีกทางคือเว็บไซต์ไม่ได้เป็นเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาที่สำคัญถึงขั้นเป็นอันตรายต่อความมั่นคง หรือกระทบต่อความปลอดภัยมากหนัก หากถูกโจมตีก็คงแค่แบคอับกลับมาแต่แนวคิดการทำงานแบบโปร่งใสของรัฐบาลที่จะให้ประชาชนสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้อย่างต่อเนื่องและเขาถึงได้ง่าย ถือว่าแนวคิดนี้ ดีเยี่ยมเลยครับ ขอสนับสนุนโครงการนี้ครับ


Google Similar Images และ Google News Timeline

Google images similar

ผมพึงได้ดู Duocore ตอนที่ 103 ที่บอกว่า Yahoo Image Search ตัวใหม่ ดีกว่า Google ผมก็ทดลองดูแล้วรู้สึกว่าการค้นหาค่อนข้างตรงกับสิ่งที่เราต้องการมากกว่าค้นที่ Google อาจจะเป็นเพราะข้อมูลที่ได้จากจาก Google มีมาในการค้นหาคำ keyword คำหนึ่ง แต่วันนี้ Google ได้เขียนลง Google blog บอกว่าพวกเขาใช้เวลา 20 % ของเวลาทำงาน มาทำงานชิ้นนี้ (Google จะให้เวลากับพนักงาน 20% ในการทำวิจัยอะไรก็ได้) พวกเขาได้สร้าง Google labs ขึ้นในปี 2002 หลายๆผลิตภัณเกิดขึ้นจากเวลาเหล่านั้น เช่น Google Maps, iGoogle,Google News
และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ  Similar Images และ Google News Timeline

Similar Images
เป็นการค้นหารูปภาพที่ สามารถระบุภาพที่เราสนใจ และต้องการรูปเฉพาะที่เราสนใจ และใกล้เคียงกับรูปนี้เท่านั้น Google ก็จะแสดงเฉพาะ
รูปเหล่านั้น อย่างเช่น เราต้องการค้นหาคำว่า  [jaguar] เราจะได้รูปที่เป็น เสือ กับรถยี่ห้อดัง

Google Image Similar

ใน similar images จะมีลิงค์ข้างล่างให้เราเลือกว่าต้องการรูปที่เหมือนเสืออย่างเดียว หรือต้องการรูปรถอย่างเดียว
เราก็จะคลิกเลือก similar images ใต้รูปนั้น

คลิกใต้รูปเสือ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปเสือ[cat]

คลิกใต้รูปรถ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปรถ[car]

ดูตัวอย่างการใช้งาน

ยอมรับเลยว่าความสามารถใหม่อันนี้เด็ดจริงๆ ใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่ Google Labs หรือ Similar-images

Google News Timeline

ฟีเจอร์ใหม่อีกตัวคือ Google News Timeline เป็นค้นหาแสดงตามเวลา chronologically แสดงผลที่ค้นหาจาก Google News และฐานข้อมูลอื่น ที่สามารถจำกัดช่วงเวลาของข้อมูลได้ว่าต้องการช่วงเวลาไหน สามารถกำหนดเป็น วัน สัปดาห์ เดือน ปี หรือช่วงทศวรษที่เท่าไหร่ ของข่าวนั้นๆได้ เช่น summer of 2006
ผลของการค้นใน Google News Timeline มีทั้งข่าวสารทั่วไป, ข่าวแสกนจากหนังสือพิมพ์ , แมกกาซีน, blog posts, ตารางคะแนนกีฬาต่างๆ ,เพลง ,หนัง เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Google news ,Google News Timeline

Exit mobile version