วิธีซื้อ Bitcoin ฉบับมือใหม่ ที่อยากลองมีเก็บไว้บ้าง

วิธีซื้อบิตคอยน์ Bitcoin ฉบับมือใหม่

Bitcoin trading

ออกตัวก่อนว่าผู้เขียนไม่ได้มีความเชี่ยวชาญอะไรเลย มือใหม่เหมือนกัน Lifestyle เป็นพวกดูหนังอ่านหนังสือเสียมากกว่า แต่อยากรู้ว่า cryptocurrency เขาซื้อขาย หรือทำงานยังไง ไม่ได้หวังกำไรหรือลงทุนอะไร ใช้เงินเพียงหลักร้อยในการซื้อ เสียหายหรือขาดทุนไปไม่ได้เดือดร้อน ส่วนใครอยากศึกษาหาความรู้ต่อเพื่อหวังลงทุนต่อก็ถือว่าอันนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นก็แล้วกัน

เริ่มกันเลย

  1. ก่อนจะเก็บเงินดิจิตอลก็ต้องมีกระเป๋าดิจิตอลก่อน มีให้เลือกหลากหลายเจ้า เช่น Coinbase, Blockchain, Binance อื่น ๆ มีให้ใช้ผ่านแอพบนมือถือหรือผ่านบราวเซอร์ในคอม รีวิวจากหลายเจ้าบอกว่า Coinbase ดีสุด แต่เท่าที่ลองเล่น ๆ เหมือนว่า Coinbase, Blockchain จะไม่รองรับในไทยหรือเปล่าไม่รู้ เพราะทำธุรกรรมไม่ได้เลย สุดท้ายมาลงตัวที่ Binance ใช้ค่อนข้างง่าย และซื้อบิตคอยได้ ส่วนของในไทยไม่ได้ลองใช้เลยครับ

2. สมัครสมาชิก ยืนยันตัวตนให้เรียบร้อย ใช้อีเมลหรือเบอร์มือถือในการสมัครก็ได้

สมัครสมาชิก ใช้ Referral ID ของคนเขียนได้นะครับ G2IHKVGI

3. เริ่มซื้อบิตคอยน์ได้เลย ได้ลองซื้อ 2 แบบ คือ 1. ซื้อโดยตรงผ่านบัตรเครดิตหรือโอนผ่านธนาคารมีขั้นต่ำ 15 USD และ 2. ซื้อแบบ P2P คือซื้อผ่านคนประกาศขายในบอร์ด ซึ่งรองรับการโอนเงินหรือทรูมันนี่แล้วแต่คน แต่ซื้อแบบนี้เป็นการตกลงราคากันเองทำให้ส่วนใหญ่ราคาจะสูงกว่าตลาดกลาง แต่ก็สามารถซื้อขั้นต่ำในหลักไม่กี่ร้อยบาทได้ (ต้องเลือกดูเอง)

ซื้อผ่านบัตรเครดิตหรือโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีตัวเองในระบบ ขั้นต่ำ 15 ดอลล่าร์
ประกาศขายแบบ P2P ราคาขั้นต่ำหลักร้อย

4. เมื่อซื้อขายผ่าน ก็จะได้บิตคอยน์มาเชยชมในกระเป๋าดิจิตอล สามารถเอาที่อยู่กระเป๋าไปให้คนอื่นฝากเงินดิจิตอลมาให้ก็ได้นะ

ยอดเงินบิตคอยน์ในกระเป๋า BTC
ที่อยู่กระเป๋า BTC ของคนเขียน 1Dg1ENduUfp95wU4wiE3XaiokXkQ4k15eM

วีธีตรวจสอบอายุของมือถือ Android แอนดรอยด์

ถ้าอยากรู้ว่ามือถือ Android แอนดรอยด์ที่ตัวเองใช้งานอยู่นั้นมีอายุเท่าไหร่แล้ว สามารถตรวจสอบวันที่เปิดใช้งานครั้งแรกได้ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 เช็ควันที่ลงทะเบียนเข้าใช้งานผ่านทาง Google dashboard

  1. เข้าไปที่ Google dashboard เพื่อเข้าไปดูรายละเอียด ผ่านมือถือหรือเปิดผ่านเว็บก็ได้
  2. อาจจะต้องล็อกอินด้วยบัญชีของ Google
  3. เลื่อนลงไป จนเจอหัวข้อ Android (ไอคอนหุ่นกระป๋องสีเขียว)คลิกเข้าไปดู จะมีรายการอุปกรณ์ที่เปิดใช้งานอยู่ ณ ตอนนี้ รวมถึงพวกแทบเล็ตด้วยเช่นกัน (ดูที่ภาพประกอบ)
รายละเอียดของมือถือที่เปิดใช้งาน

ในตัวอย่างตรงรายละเอียดของ Registered: July 27, 2016 คือวันที่เปิดใช้งานครั้งแรก (ใกล้จะ 5 ปีแล้ว)

วิธีที่ 2 เข้าไปดูรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ลงทะเบียนไว้ที่ Google play store

เปิดลิงค์ Google play store เพื่อดูรายละเอียด จะเจอส่วนของรายละเอียดอุปกรณ์ แสดงเป็นรายการ และวันที่เปิดใช้งานครั้งแรกจะแสดงที่ช่องสุดท้ายสุด ดูภาพประกอบ

แสดงรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ Google play

ทั้งสองวิธีตรวจสอบผ่านการใช้งานครั้งแรกในระบบแอนดรอยด์เท่านั้น ซึ่งก็เพียงพอที่จะตรวจสอบได้ว่ามือถือที่ใช้อยู่อายุกี่ปีแล้ว ยังมีอีกหลายวิธี เช่น ตรวจสอบผ่านทางเลข IMEI ซึ่งมันดูยุงยากเกิน

ถ้าอยากรู้วันที่ซื้อมาจริงๆ คงต้องไปค้นหาบิลที่จ่ายตอนซื้อ หรือดูในออเดอร์ที่สั่งซื้อในเว็บไซต์ ถ้าซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือไม่ถ้าใครถ่าย unbox มือถือไว้น่าจะได้รู้วันที่เปิดกล่องจริงๆ แต่ปกติได้มือถือใหม่มาส่วนใหญ่ก็ลงทะเบียนใช้งานเลย ซึ่งก็เพียงพอสำหรับตรวจสอบอายุการใช้งานของมือถือแอนดรอยด์ที่ใช้อยู่แล้วครับ

การตรวจดูว่ามือถือของเราว่าอายุเท่าไหร่แล้ว? ยังพอใช้งานได้ไหม? ถึงเวลาจะซื้อเครื่องใหม่แล้วหรือยัง? การที่มือถือยังคงใช้งานได้ดีก็คงไม่มีเหตุผลที่จะซื้อเครื่องใหม่ แต่ในยุคที่เราทำแทบทุกอย่างผ่านมือถือ เช่น ธุรกรรมทางการเงิน อีเมล์ ข้อความ โซเชียลมีเดีย และอื่น ๆ

มือถือที่เก่าจะขาดการอัพเดทระบบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการพิจารณาว่าต้องซื้อมือถือเครื่องใหม่หรือยัง โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะเวลาในการซัพพอร์ตของ iPhone อายุประมาณ 4-5 ปี ส่วนมือแอนดรอยด์จะเฉลี่ยอยู่ที่ราว 2-3 ปีเท่านั้นขึ้นกับแบนด์และรุ่นด้วย

ถ้าสนใจเรื่องเกี่ยวกับ Android คลิกลิงค์ดูเพิ่มเติมได้ครับ

AMP ช่วยให้ผู้ใช้มาจากมือถือแซงเดสก์ท็อปแล้ว

อะไรคือ AMP? เกี่ยวข้องยังไงกับบล็อกนี้?

เรื่องเล่าวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบล็อกของตัวเองที่เขียนๆ หยุด ๆ มานานพอสมควร ถ้านับเวลาน่าจะเกิน 10 ปีได้แล้ว โพสแรก ตัวบล็อกมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยมีค่าโฆษณาจาก Google Ads ที่ติดไว้คอยเลี้ยงดู ไม่ได้เยอะ แต่เพียงพอที่จะจ่ายค่าโฮสและค่าโดเมนรายปีได้ ทั้ง ๆ ที่บางปีเขียนเรื่องใหม่ไปแค่ 1-2 เรื่องเท่านั้น ต้องขอบคุณคนคลิกเข้ามาดู ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมารายได้มาจากผู้ใช้งานเดสก์ท็อปเป็นหลัก


ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ไปอยู่ในแพลตฟอร์มโซลเชียลกันหมดแล้ว แต่แนวบล็อกหรือเว็บไซต์ก็ยังให้ความรู้สึกว่าชอบมากกว่า นั่งกดอ่าน feed ผ่าน RSS ก็ยังเป็นกิจวัตรประจำวันเหมือนเดิม คิดว่ายังคงต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ

เข้าเรื่องหลักเลยแล้วกัน เมื่อราวสองเดือนก่อนตอนที่เข้าไปดูรายงานของ Google Adsense มีข้อความแนะนำจากระบบประมาณว่า
เฮ้ย…ไม่ปรับปรุงเว็บของแกให้แสดงผลให้เป็นมิตรกับคนใช้มือถือหน่อยหรอ คนใช้เยอะนะ
เอารายละเอียดของ AMP (Accelerated Mobile Pages )ไปอ่าน แล้วลองทำดูซ่ะนะ เลยลองทำตามคำแนะนำ

ซึ่งโดยปรกติแล้วอะไรที่เขานิยม ใน WordPress ก็จะมีปลั๊กอินรองรับอยู่แล้ว
จากนั้นแค่เข้าไปโหลด ปลั๊กอิน มาติดตั้ง คลิก 2-3 ที ก็เสร็จ
ง่ายเช่นกันในการเอา Google Ads ฝั่งลงไปในระบบ เข้าไปด้วย

สิ่งที่ได้หลังจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา รายได้ใน Google Ads ผ่านมือถือแซงรายได้จากเดสก์ท็อปไปแล้ว ความจริงแล้วพอลองเข้าไปดูใน Google Analytic ดี ๆ จะพบว่าอุปกรณ์ที่เข้ามาในบล็อกนี้ก็เป็นโทรศัพท์มือถือระดับไฮเอนด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดสก์ท็อปมาได้สักพักใหญ่ ๆ แล้ว แต่เพิ่งจะมาแซงตอนปรับให้มีเพจสำหรับมือถือ

ดังนั้นในเดือนนี้ต้องขอบันทึกไว้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา 10 กว่าปี ตอนนี้รายได้จากคนใช้มือถือได้แซงฝั่งเดสก์ท็อปไปแล้ว คนอื่นอาจปรับตัวไปนานแล้ว แต่พวกไม่สนใจอะไรเพิ่งจะปรับตัวตาม (หมายถึงตัวเอง) เลยเพิ่งจะเห็นผล

แหล่งรายได้ของบล็อกนี้ จากโทรศัพท์มือถือมากกว่าเดสก์ท็อปแล้วในช่วงที่ผ่านมา

แต่ถ้าไปดูรายงานของทั่วโลกมือถือแซงเดสก์ท็อปไปตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ลิงค์ข่าว

ปล. ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าในอุตสาหกรรมเกม มือถือก็กำลังจะแซงเกมบนเดสก์ท็อปแล้วเช่นกัน

“ย้ำอีกที มือถือคืออุปกรณ์หลักของคนใช้อินเทอร์เน็ตนานแล้ว” ปรับตัวซะ

Google Pixel Buds หูฟังแปลภาษาแบบ real-time ใช้กับมือถือรุ่นอื่นได้ไหม?

Google เปิดตัวผลิตภัณฑ์หลายอย่างจาก Event ในเดือนตุลาคม เอาเป็นว่าเข้าไปดูได้ที่ https://store.google.com แต่มีอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากจนต้องมาเขียนถึงเลย คือ Google Pixel Buds หูฟังไร้สายที่ทำงานร่วมกับมือถือเพื่อแปลภาษาแบบ real-time ทำให้คนที่คุยกันคนละภาษาสามารถคุยโต้ตอบกันได้เลย มันเจ๋งมาก

Google Pixel Buds

มันทำงานแบบไหน และเจ๋งแค่ไหนลองดูได้ที่วิดีโอสาธิตการใช้งาน

ก่อนจะกดสั่งซื้อ เลยตั้งคำถามสำคัญก่อน

  • หูฟังแปลภาษาตัวนี้ใช้กับมือถือรุ่นอื่นได้หรือไม่?
    คำตอบ: ไม่ได้

เมื่อเข้าไปดูใน รายละเอียดของ Google Pixel Buds Requirements & Specifications

  • ระบุไว้ดังนี้ ใช้สำหรับเป็นหูฟังไร้สาย Bluetooth ใช้ได้กับ
    -Android 5.0 ขึ้นไป
    -iOS 10.0 ขึ้นไป
  • ถ้าอยากใช้ผู้ช่วย Google Assistant
    -Android 6.0 ขึ้นไป
  • แต่ตัวสำคัญ ถ้าต้องใช้ Google Translate เพื่อแปลภาษาแบบ real-time (ฟีเจอร์ที่อยากใช้)
    – ต้องใช้ร่วมกับมือถือ Pixel หรือ Pixel 2 เท่านั้น

สรุปว่ามันคือ Exclusive feature สำหรับ Google Pixel Phone ใช้ได้ทั้งรุ่นแรก และรุ่น 2 แต่ไม่รองรับมือถือแอนดรอยด์รุ่นอื่น

(เสียใจ)

ตัวช่วยสายเที่ยว แอพเดียวจบ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก

Traveloka ตัวช่วยสายเที่ยว แอพเดียวจบ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก

ก่อนออกเดินทางท่องเที่ยว เราต้องมีการวางแผนการเดินทางกันเสียก่อน เช่น เส้นทาง สถานที่ท่องเที่ยว ตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก ฯลฯ วันนี้ขอแนะนำผู้ช่วย ทั้งจองตั๋วเครื่องบินและจองที่พัก

Traveloka ตัวช่วยจองเที่ยวบินและที่พักออนไลน์ มีให้ใช้ผ่านทั้งบนเว็บ และแอปพลิเคชั่นทั้งใน iOS และ แอนดรอยด์

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Play Store และ  App Store

 

หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะแนะนำวิธีการใช้งานแบบง่ายๆให้ครับ ผมใช้มือถือแอนดรอยด์เป็นหลัก ดังนั้นการแนะนำวิธีการใช้งานก็จะแนะนำผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ แต่ดูจาก UI แล้วก็ไม่น่าแตกต่างกันสำหรับคนใช้ iOS ก็ดูได้เหมือน

1. วิธีการใช้งานแอพ Traveloka ค้นหาและจองตั๋วเครื่องบิน

หน้าหลักของแอพ ค่อนข้างเรียบง่าย และมุงไปที่จุดประสงค์ของแอพเลยนั้นคือ การจองตั๋วเครื่องบินและจองโรงแรม

Traveloka หน้าหลัก

เมนูหลักอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ข่าวสารและโปรโมชั่น การแจ้งเตือนราคาของตั๋วเครื่องบินเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เหมาะกับนักท่องเที่ยวสายประหยัด รอโปรโมชั่นและตั๋วราคาถูก รายละเอียดการจองของเรา(e-ticket)

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาเที่ยวบินและเปรียบเทียบราคา

ค้นหาเที่ยวบินและเปรียบเทียบราคา

เมื่อกดเข้าไปในเมนู ค้นหาเที่ยวบิน ก็จะพบช่องใส่รายละเอียดของเที่ยวบินที่เราสนใจ ต้นทาง-ปลายทาง วันเดินทาง จำนวนผู้โดยสาร ชั้นโดยสาร เมื่อใส่รายละเอียดครบถ้วนแล้ว กด ค้นหา 

รอสักพัก แอพจะค้นหาเที่ยวบินจากสายการบินต่างๆมาให้เราได้เลือกและมีเปรียบเทียบราคาให้ โปรดสังเกตครับ จะมีคำว่า “ดีลสำหรับแอป” ซึ่งบอกว่าราคาถูกกว่า ผมตามไปแช็คแล้วว่ามันราคาถูกกว่าจองจากสายบินโดยตรงหรือไม่ คำตอบคือ ถูกกว่าจริงครับ ถึงจะถูกกว่าไม่กี่บาท แต่ก็ถูกกว่าครับ

จุดเด่นที่ขอแนะนำ เมื่อกดที่เมนู “จัดลำดับ” จะสามารถเรียงลำดับผลการค้นหาได้ตาม ราคาต่ำสุด เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย และระยะเวลาในการเดินทาง หรือถ้าต้องการ “จำกัดการค้นหา” ที่เฉพาะมากขึ้น เช่น บินตรง เฉพาะบางสายการบิน เป็นต้น

อีกฟังก์ชั่นพิเศษ ให้เราสังเกตคำว่า “Smart Combo” ที่จะช่วยจับคู่เที่ยวบินไป-กลับให้เราโดยอัตโนมัติ ทำให้ราคาตั๋วถูกลงอีก

ขั้นตอนที่ 2 จองและชำระเงิน

จองและชำระเงิน

หลังจากเลือกเที่ยวบินได้แล้ว กดใส่รายละเอียดการติดต่อและรายละเอียดผู้โดยสาร จากนั้นตรวจสอบรายละเอียดการจอง กดดำเนินการต่อ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงิน

อีกหนึ่งข้อดีของ Traveloka คือการมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย เอาใจคนไทยสุดๆ ด้วย 4 ช่องทางการชำระเงิน ได้แก่ เคาน์เตอร์เพย์เมนต์ (7-11, Big-C, m-Pay, Pay@Post, TOT Just Pay, true money, FamilyMart และ Tesco Lotus), เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต และ อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง น่าจะครอบคลุมทุกอย่างที่มีในไทยแล้ว

2. วิธีการใช้งานแอพ Traveloka ค้นหาและจองโรงแรม

การใช้งานแอพ Traveloka ในการค้นหาและจองโรงแรม มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกับการค้นหาตั๋วเครื่องบิน ค่อนข้างง่ายและขั้นตอนมีไม่เยอะ

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาโรงแรมและเปรียบเทียบราคา

ค้นหาและจองโรงแรม

เพียงเราใส่รายละเอียดปลายทาง วันเข้าพัก ระยะเวลา จำนวนผู้เข้าพัก และจำนวนห้อง แล้วกด ค้นหา

Traveloka จะค้นหาโรงแรมในพื้นที่ให้ พร้อมรายละเอียด ราคา คะแนน ฯลฯ เมื่อกดเลือกโรงแรมที่เราสนใจ แอพจะแสดงรายละเอียดของโรงแรมมากขึ้น สามารถดูภาพสถานที่ต่างๆของโรงแรม แผนที่สถานที่ตั้งของโรงแรม รวมถึงรีวิวและความคิดเห็นของผู้ที่เคยเข้าพัก (น่าจะเป็นส่วนของข้อมูลที่สำคัญ ที่ผู้ใช้อยากทราบรายละเอียดก่อนจองที่พัก)

เลือกห้องและจองห้อง

เมื่อดูรายละเอียดของโรงแรมโดยรวมเป็นที่พอใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเข้าดูรายละเอียดของแต่ละห้อง ดูภาพตัวอย่างของพัก จากนั้นกด เลือกห้องพัก ใส่รายละเอียดผู้เข้าพัก ถ้าหากจองให้เพื่อนก็สามารถใส่รายละเอียดของคนเข้าพักได้ จากนั้นเลือก ดำเนินการต่อ เพื่อเข้าสู่ระบบชำระเงิน ซึ่งเราก็สามารถชำระเงินผ่าน 4 ช่องทาง ได้เช่นกัน ได้แก่ เคาน์เตอร์เพย์เมนต์, เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต และ อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง

ข้อดีของการจองโรงแรม เรามักจะเจอค่าอื่นๆอีกตอนจะชำระเงิน แต่ Traveloka รับประกันให้เราว่า ราคาที่แสดงอยู่บนผลลัพธ์การค้นหา คือราคาสุดท้ายที่เราจะต้องจ่ายจริง ไม่มีค่าธรรมเนียมการจอง ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงใดๆเพิ่มเติม ซึ่งก็รวมทั้งการจองตั๋วเครื่องบินด้วยเช่นกัน (อันนี้ดี)

สรุปโดยรวม

  • ราคาถูกกว่าจองโดยตรงจากสายการบินหรือโรงแรม
  • มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย แทบจะครอบคลุมทุกระบบในไทย
  • ไม่มีค่าธรรมเนียม เพิ่มเติม ราคาจริงตามผลค้นหา
  • ระบบเปรียบเทียบราคา ระบบจัดเรียงข้อมูล ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ
  • มีโปรโมชั่นและระบบแจ้งเตือนราคา สำหรับคนรอตั๋วราคาถูก
  • มีบ้างในบางครั้งระบบการจองตั๋วเครื่องบินไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายของสายการบินได้
  • ปัจจุบันยังให้บริการครอบคลุมในบางประเทศ(ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์)

อื่นๆ ที่ควรทราบ

Traveloka มีบริการ 24 ชั่วโมง ผ่านทางโทรศัพท์ 02-118-5400 และผ่าน Live Chat ที่หน้าเว็บไซต์ และบนเฟสบุ๊คเพจ (FB Traveloka)

นอกจากการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น ยังสามารถเข้าไปใช้งานผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ Traveloka.com

Google Trips แอพช่วยวางแผนก่อนเที่ยว

เมื่อสุดสัปดาห์ได้ไปเที่ยวที่เบลเยี่ยมแบบ one day trip เราไปกัน 2 เมือง คือ Bruges และ Brussels ทั้งสองเมืองเรียกได้ว่าไปเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว สวยและมีที่ท่องเที่ยวเยอะมากสำหรับวันเดียว

Grand Place in Brussels

แต่สิ่งที่อยากจะเล่าไม่ใช่เมืองที่ไปเที่ยวนะครับ แต่จะเล่าว่าได้ใช้แอพพลิเคชั่นตัวหนึ่งที่เพิ่งจะเปิดตัวได้ไม่นานนักชื่อ Google Trips เป็นช่วยตัวนำทาง ซึ่งถือว่ามันโอเคมากๆ

เมื่อเราจะไปเที่ยวเมืองๆหนึ่ง ทุกเมืองก็มักจะมี สิ่งที่ต้องทำ ที่ที่ต้องไป ร้านอาหารเครื่องดื่ม ฯลฯ ถ้าเอาแบบดั้งเดิม เราคงค้นดูในรีวิวที่คนอื่นไปมาแล้ว เอามาเล่าต่อแล้วพยายามไปตามนั้น พันทิพคงเป็นทางออก แต่ยอมรับว่าต้องเสียเวลาและพลังงานในการวางแผนเยอะ

ส่วนตัวแอพ Google Trips จะแนะนำสิ่งต่างๆเหล่านั้นให้เรา แล้วแนะนำได้ดีมากๆด้วยนะ

Google Trips – Travel Planner

Google มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่มหาศาลอยู่แล้ว จึงสามารถแนะนำข้อมูลได้ดี(กว่าคนอื่น) นอกจากนี้ตัวฟีเจอร์ที่เยี่ยมที่สุด ที่ใช้กับทริปเบลเยี่ยมนี้ คือ โหมด offline ครับ เพราะในการเที่ยวเพียงวันเดียว ไม่อยากเปิด Data Roaming หรือซื้อซิมใหม่เพียงเพื่อจะใช้แค่วันเดียว แต่ส่วนจำเป็นที่สุดของการท่องเที่ยว คือ แผนที่ โหมด offline ที่โหลดข้อมูลต่างๆเก็บไว้ใช้ในวันเดินทาง ในตอนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้นั้น มันดีและใช้ประโยชน์ได้จริง

Google Trips – Travel Planner

ในความจริงแล้ว Google Maps มีโหมด offline เหมือนกันครับ เราสามารถโหลดแผนที่ของเมืองที่เราจะไปมาเก็บได้ แต่ Google Trips จะต่างกันตรงที่ มีการจัดทริปให้ มีการเรียงลำดับสถานที่ท่องเที่ยวในที่ต่างๆให้ พร้อมดาวน์โหลดแผนที่แบบ offline ให้ ซึ่งมันมีประโยชน์มากสำหรับการเดินเที่ยวแล้วเปิด GPS ไปด้วย ทำให้ไม่หลงทาง หรือการเลือกสถานีรถไฟที่ใกล้กับจุดต่างๆที่อยากไปก็ง่ายขึ้น และยังบอกเวลาเปิด-ปิดของสถานที่ต่างๆ รวมทั้งประมาณระยะเวลาในการเดินทางระหว่างจุดท่องเที่ยวให้

Google Trips – Travel Planner แนะนำสถานที่และร้านอาหารนิยม

ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำ Get direction สร้าง Route การเดินทางได้ แต่แผนที่แบบ offline พร้อมกับมีตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวให้ นั้นใช้ได้จริง และมีประโยชน์มาก ใครที่ท่องเที่ยวบ่อยๆลองทดลองใช้ดูเลยครับ ใช้ดีจึงแนะนำ

ดาวน์โหลด Google Trips สำหรับ Android หรือ iOS

Wallpapers โดย Google เปลี่ยนพื้นหลังใหม่ให้มือถือในทุกๆวัน

เมื่อสัปดาห์ก่อน Google เปิดให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Wallpapers สำหรับ Android ซึ่งเป็นแอพที่จะเปลี่ยนพื้นหลังของมือถือให้เราอัตโนมัติในทุกๆวัน

Daily wallpapers by Google

ผมได้ลองติดตั้งและลองใช้งานดูเกือบจะครบสัปดาห์แล้ว ชอบมากเลยมาเขียนเก็บไว้ ในตอนเช้าที่ตื่นมา มีแอบลุ้นนิดๆว่าภาพพื้นหลังวันนี้จะเป็นยังไง ในแอพ Wallpapers นั้นมีหมวดหมู่ต่างๆให้เลือกหลายอัน เช่น Earth, Landscapes, Cityscapes, Life, etc. แล้วแต่ชอบใจ

Daily wallpapers by Google

หมวดหมู่ที่ผมชอบเป็นพิเศษคือ Landscapes เพราะภาพแต่อันที่ถูกคัดมานั้น สวยงามมากๆ

มีอยู่หลายครั้งเปิดไปดูภาพในแอพ แล้วอยากรู้ว่ารายละเอียดของภาพนั้น ว่าเป็นผลงานของใคร เมื่อคลิก Explore เข้าไป เราจะเห็นรายละเอียดของคนถ่ายภาพนั้น รวมทั้งผลงานอื่นๆของเขาอีกด้วย เรียกได้ว่าเพลินดีเลยทีเดียว

Daily wallpapers by Google

อยากลองเล่นบ้างเข้าไปโหลดได้ที่ Google Play

OnePlus 3T ดีไซด์เดิม เพิ่มเติมคือสเปคข้างใน

OnePlus3T

วันนี้ (Nov 15, 2016) OnePlus เปิดตัวมือถือตัวใหม่ เปิดตัวแบบเรียบง่าย ผ่านทางวิดิโอ Live บน Facebook มีวิดีโอเปิดตัวกับสัมภาษณ์คนที่ได้ลองใช้ สรุปโดยรวมคือใช้ดีไซด์เดิม แต่อัปเกรดตัวฮาร์ดแวร์ภายในยกชุด (โมเดลเดียวกับแบรนด์ผลไม้)

ตอนนี้ตัวเองก็ใช้ OnePlus 3 ทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ทำออกมาได้ดีมาก ต้องบอกว่าค่อนข้างพอใจมากกับ OnePlus ตัวฟีเจอร์ที่ชอบเป็นพิเศษคือ Dash Charge ตัวชาร์ตเร็ว มันเร็วสมชื่อ อารมณ์เป็นเหมือนหนุ่มที่ให้สัมภาษณ์ในวิดีโอเปิดตัวเลย นั้นคือบางทีตอนเช้าตื่นขึ้นมาลืมชาร์ตมือถือไว้ ก็ไม่ได้กังวลอะไร แค่เสียบไว้ จากนั้นก็ไปเข้าห้องน้ำ อาบน้ำแต่ตัว ก่อนออกบ้านก็เกือบเต็มแล้ว แล้วก็อยู่ได้เต็มวัน

กลับมาดูรายละเอียดของฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการอัพเกรดในตัว OnePlus 3T (เทียบกับ OnePlus3)

CPU: เปลี่ยนจาก Qualcomm® Snapdragon™ 820 เป็น 821 เร็วขึ้นในขณะที่ใช้พลังงานไม่ต่างจากตัวเดิม

Battery : แบตเตอรี่เพิ่ม 3000mAh เป็น 3400mAh ด้วยขนาดและน้ำหนักเท่าเดิม ยังคงรอบรับ Dash charge เหมือนเดิม

Storage: พื้นที่เก็บข้อมูล แต่ก่อนจะมีแค่ตัว 64GB ตอนนี้มีตัว 128GB มาให้เลือกด้วย ส่วนแรมยังคงเป็น 6GB เท่าเดิม

Camera: กล้องหลังยังเป็นตัวเดิม แต่กล้องหน้าเปลี่ยนจาก 8MP เป็น 16MP

Color: มีสีใหม่คือ Gunmetal

เปิดราคาที่ 439 USD สำหรับ 64GB และ 479 USD สำหรับความจุ 128BG
(แพงขึ้นนิดหน่อย OnePlus 3 ราคา 399USD) เปิดขายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559

**ส่วนตัว OxygenOS ที่จะอัปเกรดเป็น Android 7.0 Nougat จะได้พร้อมกับตัว OnePlus 3

รายละเอียดเพิ่มเติม https://oneplus.net/3t

วิดีโอแนะนำ OnePlus 3T

ลองเล่น BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1

เมื่อวานก่อนไปงาน Embedded World 2016 ที่ Nürnberg มาครับ งานใหญ่มาก มีบริษัทใหญ่ๆทั่วโลกมาออกบูธแสดงสินค้าและบริการของตัวเองเพียบ มีของแจกเยอะมากๆด้วย ได้ของแจกฟรีมาเยอะเลยครับ หนึ่งในนั้นที่โชว์อยู่คือ BLE(Bluetooth Low Energy) Wireless Sensor Tag เป็นของโชว์ IoT ของบริษัท TE connectivity มีบอร์ดอื่นๆอีกหลายอย่างให้เลือก แต่เลือกเอาตังนี้มาน่าจะเล่นได้เลย ส่วนบอร์ดอื่นบางอันต้องการ module อื่นเชื่อมต่ออีกที

BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1

สิ่งที่ BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1 ทำได้คือ มีเซนเซอร์ตรวจวัด Humidity, Temperature, Pressure แล้วส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth รองรับทั้ง Android และ Windows ลองเล่นดูแล้ว ถือว่าเจ๋งมากๆ เขาเครมว่าใช้ถ่าน CR2032 ก้อนกลมๆ นั้น อยู่ได้นาน 3 เดือนเลยครับ เจ๋งดีจริงๆ

รายละเอียดทั้วไปของบอร์ด BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1 download link

  • Bluetooth Low Energy Tag
  • Humidity (0-100%RH)
  • Temperature (-20°C + 85°C)
  • Pressure (300 to 1200mBar)
  • Android & Windows PC compatible แต่ใน App Store ก็มีแอพให้เล่นเหมือนกันนะแต่ไม่มีเครื่องลองเลยไม่รู้ว่าใช้ได้ไหม
  • อื่นๆ มี SDK ให้เอาไปพัฒนาต่อได้ด้วย

Flickr for Android ดาวน์โหลดไปใช้งานกัน

Flickr for Android

แปลกมากที่จะโหลด Flickr ลงมือถือแต่ดันฟ้องขึ้นมาว่าที่ประเทศไทยใช้ไม่ได้ ทำเอางงมากๆ ทำไมยังไม่เปิด Worldwide ทำให้เข้าไปค้นใน Google play ก็ไม่เจอ ต้องเข้าผ่านลิงค์ตรง Flickr for Android เข้าไปก็จะรู้ว่าติดตั้งไม่ได้ ใน iOS ก็ดาวน์โหลดไม่ได้เช่นกันนะ

Flickr ใน Google Play ติดตั้งไม่ได้

Flickr เป็นที่เก็บภาพถ่ายที่ให้พื้นที่ฟรีเยอะมาก 2TB บางครั้งภาพที่ต้องการเก็บแบบเต็มขนาดไฟล์ ใหญ่ๆ ก็จะเข้ามาใช้งาน Flickr บางครั้งก็อยากเข้าใช้งานผ่านมือถือ แต่ติดที่มันไม่ให้บ้านเราดาวน์โหลดผ่านทาง Google play ดังนั้นจึงได้ไปค้นหาไฟล์ APK มาติดตั้งเสียเลย

ค้นจาก Google ได้จากเว็บไซต์นี้ https://www.apk4fun.com ก็ดาวน์โหลดแล้วติดตั้งได้เลย ติดตั้งจากตัว APK ก็ใช้งานได้ดีเลยทีเดียว

ตัว Flickr for Android ก็มีฟีเจอร์ Auto Sync อยู่ด้วยซึ่งต้องระวังเรื่องการใช้ดาต้ากันให้ด้วย สามารถปิดได้ หรือเลือกให้ Sync เฉพาะตอนต่อ Wi-Fi ก็ได้ แต่ที่สำคัญกว่าคือ ค่า Privacy รูปที่ถ่ายจะเป็น Public เป็นค่าเริ่มต้น ควรเข้าไปตั้งค่าให้เหมาะสม เดี๋ยวใครที่ชอบถ่ายภาพแบบลับๆจะโชว์ให้ชาวบ้านเห็นในทันที ระบบ Auto Sync ทำงานได้ดีมาก เร็วทันใจ

Flickr for Android เมนูต่างๆ

ส่วนการใช้งานอื่นๆการถ่ายภาพ แล้วใส่ฟิวเตอร์ทำได้ง่ายและเร็ว แชร์ไปที่ Facebook, Tumblr, Twitter ได้พร้อมกันทันที ตัวแก้ไขภาพก็มีให้ใช้งานอย่างครบครันทั้งปรับสี ตัดภาพ ความสว่าง หมุนภาพ ฯลฯ

ตัวปรับแก้ไขภาพ และตัวเลือกฟิวเตอร์

ส่วนที่ใช้ปรับแต่ง แก้ไขภาพ และส่วนฟิวเตอร์ในแบบต่างๆ และการแชร์ภาพ

การถ่ายภาพ เมนูด้านขวาใส่ฟิวเตอร์ เมนูฝั่งขวาปรับแต่งภาพ และจบด้วยการแชร์ภาพ

Flickr for Android ทำให้เราสามารถเข้าถึงบัญชี Flickr ของเราได้ง่ายชึ้น และยังเป็นแอพที่ใช้ถ่ายภาพ ตกแต่งภาพ ที่ใช้ง่าย สมควรมีติดไว้ในสมาร์ทโฟนของท่านอย่างยิ่ง

ถ้าลิงค์จากด้านบนโหลดไม่ได้ คลิกโหลดจากนี้ได้ครับ Flickr for Android V3.1.3

Exit mobile version