วิธีลบ Windows Applications ออกจาก Spotlight

เครื่องผมลง Parallels desktop ไว้ด้วย หลักๆใช้งานทางด้านเอกสารพวก MS Office ภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทำใน MS Office for Mac พอได้ สิ่งที่น่ารำคาญอย่างหนึ่งคือ Windows Applications มันจะเข้ามาอยู่ใน Spotlight ด้วย

จึงค้นหาวิธีซ่อน Windows Applications ออกจาก Spotlight ไปเจอที่นี้ ลองทำตามแล้วก็ได้ผลตามที่หวัง

ตัวอย่างการค้นหาที่มี Windows Applications เข้ามาด้วย โดยเฉพาะจะเปิด terminal ใน OSX ตัวที่อยากเปิดดันไม่อยู่ในลิตส์ซะนี้

ผลการค้นหาที่มี Windows Applications

จะเอา Applications พวกนี้ออกก็คลิกไปที่ Spotlight Preferences อยู่ด้านล่าง หรือจะเข้าผ่านทาง System Preferences ก็ได้

พอเข้าไปแล้วจะตั้งให้ Spotlight ค้นหาเฉพาะไฟล์อะไรบ้างก็กำหนดจากส่วนี้ แต่ถ้าอยากจะเอา Windows Applications ออกให้เข้าไปที่ Privacy

Spotlight setting

เมื่อเข้าไปที่ Privacy  คลิกที่ปุ่มบวก คือเราจะเพิ่มส่วนที่ไม่ต้องการให้แสดงผลเพิ่มเข้าไป

เพิ่มส่วนที่ไม่ต้องการให้แสดงผลใน Spotlight

จากนั้นเลือกโฟล์เดอร์ที่เราไม่ต้องการให้แสดงผลใน Spotlight ในที่นี้เราไม่ต้อง Windows Applications ก็เลือกเพิ่มเข้ามา

เลือกโฟล์เดอร์ที่ไม่ต้องการให้แสดงผลใน Spotlight

ตัว Windows Applications อยู่ในโฟว์เดอร์ชื่อ Application(Parallels)

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ลองค้นหาดูอีกครั้ง

ค้นหา terminal

ผลการค้นหาไม่มี Windows Applications มากวนใจอีกแล้วครับ ที่จริงทิปนี้มันง่ายและสั้นมาก เป็นการอธิบายจากประโยคแค่สองบรรทัดของคนตอบคำถามจากที่มาที่ใส่ลิงค์ไว้ข้างบน แต่ผมอยากอธิบายแบบละเอียดและเห็นภาพ คนอื่นที่ทำตามจะได้ทำได้ง่ายๆ

สวัสดีครับ

ทิปเล็กๆ ของ Spotlight ใน OSX

Spotlight เป็นระบบ search ร่วมกับเป็นตัว launcher ด้วยใน OSX เมื่อเราค้นเจอแล้วก็เปิดขึ้นมาได้ทันที ในตอนแรกใช้งานมันค้นหาไฟล์เอกสารแล้วเปิดขึ้นมา แต่ตลกดีที่เราหาที่อยู่ของไฟล์นั้นในเครื่องไม่เจอ จะเอาไฟล์นั้นส่งอีเมลทำเอางงไปหลายนาที ความจริงแล้วเวลาค้นเจอในลิสต์ที่แสดงผลการค้นหา เราก็เลือกให้แสดงใน Finder ได้โดยคลิกที่  Show All in Finder ถ้าเว็บหรือโปรแกรมนั้น Drag and Drop ได้ก็ดีไป แต่ต้องหาที่อยู่จริงๆ ก็ต้องมาคลิก Get info อีก หรือน่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้? ก็เป็นได้แต่ไม่รู้

ไปเจอทิปเล็กๆ อันหนึ่งมา แบบนี้แหละที่คิดว่าง่ายสุดแล้ว ใช้ได้จริง เหมาะกับเราที่สุด นั้นคือ การค้นหาใน Spotlight แล้วลากลง Desktop หรือ E-mail ไปเลยง่ายดี  

ลากไฟล์ไปไว้ที่ Desktop ได้เลย

การลากไฟล์แบบนี้จะเป็นการ Copy ไฟล์ไม่ใช่การย้ายที่อยู่นะครับ

อีกแบบหนึ่งคือ ลากจาก Spotlight ไปที่หน้าส่งอีเมลเลยอันนี้สะดวกสุดๆ

ลากเข้าไปที่หน้าส่งอีเมลได้เลย

บางทีคนอื่นอาจจะรู้หมดแล้ว แต่ผมพึ่งจะรู้ว่ามันทำแบบนี้ได้ ก็เลยมาบันทึกไว้ครับ เผื่อคนที่ไม่รู้แบบผมได้เอาไปใช้บ้าง

X Lossless Decoder(XLD) แปลงไฟล์เสียง flec เป็น m4a (Apple lossless)

X Lossless Decoder

X Lossless Decoder หรือ XLD เป็นโปรแกรมใช้แปลงไฟล์เสียงใน Mac OS X ใช้โปรแกรมนี้มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว หลักๆใช้แปลงไฟล์เพลงนามสกุล Flec เป็น m4a (Apple lossless) หรือทำ CD Rip โปรแกรมใช้ง่าย ฟรี กินพื้นที่น้อย แปลงได้เร็วดี

ตอนใช้งานครั้งแรกเข้าไปตั้งค่าใน Preference ก่อนว่าต้องการแปลงไปเป็นไฟล์อะไร จากนั้นเปิดไฟล์ที่จะแปลง โปรแกรมจะแปลงให้อัตโนมัติ

ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.macupdate.com/app/mac/23430/x-lossless-decoder

เปิดการทำงาน Find My Mac และทดลองใช้งาน

ฟีเจอร์ตัวหนึ่งที่มาพร้อมกับ OSX Lion 10.7.2 คือ iCloud ซึ่งเป็นบริการเก็บข้อมูลไว้บนคอมพิวเตอร์กลุ่มเมฆ ลองดูวิธีการเปิดการใช้งานที่บล็อกอันเก่าที่ วิธีติดตั้ง iCloud ในเครื่อง Mac และ Windows หนึ่งในนั้นจะมี Find My Mac ที่จะช่วยให้เราติดตามตัวเครื่อง Mac ของเราได้ เมื่อโดนขโมย เหมือนกับ Find My iPhone นั้นเอง และสามารถควบคุมเครื่องในระยะไกลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เล็กน้อย ได้แก่ ส่งข้อความไปที่เครือง สั่งล็อกเครื่อง หรือลบข้อมูลในเครื่อง Mac ของเรา ในกรณีที่คุณอาจมีข้อมูลลับที่ไม่ต้องการให้ใครเห็นก็ทำได้

เครื่องของผมหลังจากได้อัพเดตเครื่องให้เป็น 10.7.2 จะมีฟีเจอร์ iCloud เพิ่มเข้ามาแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดการทำงาน Find My Mac ได้ ทิ้งปัญหานี้ไว้นานแล้ว เมื่อวานเลยนั่งดูว่าจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง จึงเกิดโพสนี้ขึ้นมา

เปิดการทำงานของ Find My Mac ไม่ได้

มันฟ้องให้อัพเดต Recovery system ตลอดเรา แม้ว่าเราจะสั่งอัพเดตไปแล้วก็เป็นเหมือนเดิม จึงลองค้นดูว่ามีคนเจอปัญหาในลักษณะนี้บ้างหรือไม่ พบว่ามีคนเจอปัญหาแบบนี้เยอะพอสมควร เลยลองเลือกทำตามขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาของหลายๆเว็บพบว่า ที่นีให้รายละเอียดค่อนข้างดี https://www.macosliontips.com ทำตามแล้วมันสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้เลยเอามาเล่าต่อ

วิธีแก้ไขปัญหาเปิดการทำงาน Find My Mac ไม่ได้

จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาหลายวิธี บางคนแก้ไขได้ตั้งแต่วิธีแรก ลองทำตามไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าทั้งหมดนี้แก้ไขไม่ได้ ต้อง install OSX Lion ใหม่เลยแบบ Clean install ซึ่งเป็นอะไรที่ขี้เกียจมาก โชคดีของผมแก้ไขได้ในวิธีที่ 3

วิธีที่ 1 Enable Location Services

ให้เปิดใช้งาน Location Services ซึ่ง Find My Mac ต้องการใช้งานเพื่อระบุตำแหน่งของเครื่อง วิธีเปิดใช้งาน เข้าไปที่ System Preferences เลือก Security & Privacy ดูว่าที่ Enable Location Services ถูกติ๊กหรือไม่ ถ้ายังให้ติ๊กเลือกเพื่อเปิดการทำงาน แล้วลองกลับไป iCloud setting อีกครั้งเพื่อดูว่าสามารถเปิดการทำงานของ Find My Mac ได้หรือยัง ถ้ายังไม่ได้ต้องดูวิธีแก้ไขตัวต่อไป

Enable Location Services

วิธีที่ 2 Reinstall Lion Recovery Update

บางทีการเชื่อมต่อกับ server ตัวอัพเดตอาจจะมีปัญหา ดังนั้นลองดาวน์โหลด ตัว Recovery System มาติดตั้งเอง  https://support.apple.com/kb/DL1464 เมื่อติดตั้งเสร็จ restart รอบหนึ่งแล้ว เข้าไปดูว่าเปิดการทำงานของ Find My Mac ได้หรือยัง ถ้ายังดูขั้นตอนต่อไป

วิธีที่ 3 Repair Disk and Reinstall Client Combo Update

วิธีสุดท้ายนี้ค่อนข้างยากขึ้นนิดหนึ่ง นั้นคือสั่ง repair disk และลงตัวอัพเดต OSX Lion 10.7.2 ใหม่ แบบ Client Combo

  1. สั่ง Verify Disk โดยเข้าไปที่ Disk Utility (/Applications/Utilities) คลิกที่ฮาร์ตดิสที่ติดตั้ง OSX อยู่ แล้วคลิก Verify Disk อาจเจอข้อความ error ขึ้นมา

    สั่งให้ทำการ verify disk

  2. restart เครื่อง แล้วกดปุ่ม alt/option ค้างไว้ เลือกบูธใน recovery disk
    บูธเข้า Recovery HD

    จากนั้นเมื่อมี Mac OS X Utilities ปรากฏขึ้นมาให้เลือก Disk Utility

    เลือก Disk Utilites

    เลือก Disk ที่ลง OSX แล้วกด Repair Disk

    กด Repair Disk

    เมื่อ repair เสร็จแล้ว ให้รีบูตอีกครั้ง

  3. โหลดตัว OS X Lion Update 10.7.2 Client Combo มา https://support.apple.com/kb/DL1459 แล้วกดติดตั้ง เสร็จแล้ว restart อีกครั้ง
  4. เข้าไปดูที่ iCloud setting พบว่าตอนนี้สามารถ เปิดการทำงานของ Find My Mac ได้แล้ว(เย้ เย้)
    เปิดการทำงาน Find My Mac

    ขั้นตอนการแก้ไขในกรณีที่เปิดการทำงาน Find My Mac ไม่ได้ จบลงด้วยดี ถ้าใครที่ทำแล้วยังไม่สามารถเปิดการทำงานได้ อยากให้ลองรีสตาร์ทเครื่องอีกสักรอบสองรอบ ถ้ายังไม่ได้ทางสุดท้ายคือลง OSX Lion ใหม่แบบ clean install

ทดสอบการใช้งาน Find My Mac

หลังจากเปิดใช้งานแล้ว มาทดสอบดูสักเล็กน้อยในการใช้งาน Find My Mac

  1. เข้าไปที่ iCloud.com ล็อกอินด้วย Apple ID
  2. เข้าไปที่ Find My iPhone (ไม่ต้องงงครับมันอยู่ที่หน้าเดียวกัน)

    iCloud.com

  3. จะเห็นว่าเครื่องของเราตอนนี้อยู่ที่ไหน

    ตำแหน่งของเครื่องปัจจุบัน

  4. นอกจากนั้นเรายังสามารถทำการควบคุมเครื่องจากระยะไกลได้ดังนี้ครับ
    คำสั่งต่างๆที่ทำได้

    ส่งข้อความไปที่เครื่องพร้อมเสียงเตือน ล็อกเครื่อง ลบข้อมูล(ต้องสั่งล็อกเครื่องก่อน) เตือนให้ส่งอีเมลหาเราเมื่อตรวจพบเครื่อง

    หน้าสั่งล็อกเครื่อง

  5.  ทดลองส่ง ข้อความดูครับ
    ลองเขียนข้อความ แล้วกดส่งดู

    เมื่อมันเข้ามาที่เครื่องจะมีข้อความที่เราเขียนและมีเสียงเตือนขึ้นดังขึ้น(เสียงน่ารำคาญมาก) ทดลองใช้ภาษาไทยแล้ว ทำงานได้ปกติดีครับ

    ข้อความที่ส่งเข้าเครื่อง

พอเปิดใช้งาน Find My Mac ได้แล้ว หวังอย่างยิ่งว่าจะไม่ได้ใช้งานมันจริงๆนะ(ไม่อยากทำเครื่องหาย) แต่อย่างไรก็ตามมีไว้ก็เป็นเรื่องดี ถ้าหายจริงๆก็ยังพอมีเครื่องมือช่วยติดตาม หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเช่นกันครับ

เพิ่มแรมให้ Macbook Pro จาก 4 GB เป็น 8 GB ด้วยตนเอง

ทำไมต้องอัพแรมให้ Macbook Pro

Macbook Pro ที่ใช้อยู่มีแรมมาให้ 4 GB ซึ่งการใช้งานทั่วไปถือว่าโอเคแล้ว แต่เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาได้ใช้งานโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลด้วยภาพ และพวกโปรแกรมวาดภาพ โดนโปรแกรมฟ้องว่าแรมไม่พอใช้งาน ทำงานต่อไม่ได้เลย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะ Mac OSX Lion มันกินแรมเยอะด้วยส่วนหนึ่ง และตอนที่รัน Parallel Windows ด้วยแล้ว แรมไม่เหลือเลย ด้วยเหตุนี้เลยคิดจะเพิ่มแรมให้ Macbook Pro เจอราคาอัพแรมใน iStudio พบว่ามันแพงมาก แถมบางอันต้องเทิร์นแรมตัวเก่าด้วย

ราคาอัพแรมของ Macbook Pro วันที่ 18 ต.ค. 2554

ข้อมูลจาก https://www.maccafethai.com/portable_macbookpro.html

ผมไม่มีข้อมูลนะว่าทำไมการเพิ่มแรมที่  iStudio ถึงแพงต่างกันเยอะขนาดนั้น เป็นเหตุให้ต้องหาข้อมูลวิธีการเพิ่มแรม Macbook ด้วยตนเอง ได้ข้อมูลมาดังนี้ครับ

  1. การเพิ่มแรมเอง ไม่เป็นเหตุให้ประกันหมด อันนี้โอเคแสดงว่าเราทำเองได้
  2. แรมที่มีขายตามท้องตลาด สามารถใช้ร่วมกันได้ (ชนิด,บัส ให้ตรงกันนะ)
  3. ในคู่มือที่ให้มาพร้อมเครื่องมีวิธีการเพิ่มทั้งแรมและอาร์ดดิสอยู่ด้วย สามารถเปิดดูแล้วทำตามได้เลย ในเว็บก็มี https://support.apple.com

เมื่อรู้ดังนี้จึงตัดสินใจจะเพิ่มแรมให้น้อง Macbook Pro ครับ ส่วนท่านที่สนใจจะเพิ่มแรมให้ Mcbook Pro ของตัวเองก็อยากให้ดูข้อมูลหลายๆด้านข้อดีข้อเสียก่อนจะตัดสินใจนะครับ

ขั้นตอนการอัพแรมด้วยตัวเอง

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพื่อเพิ่มแรมให้ Macbook Pro จาก 4 GB (2×2 GB)เป็น 8 GB (2×4 GB)

Ram ยี่ห้อ Kington กับชุดไขควง

แรมที่ซื้อมาคือ แรมสำหรับโน๊ตบุ๊ค ขนาด 4 GB /DDR3 /1333 MHz ยี่ห้อ Kington 2 อัน ราคาตัวละ 790 บาท (790×2=1,580 บาท) กับชุดไขควรซื้อที่ชั้นล่างห้างพันทิพนั้นแหละ ราคา 150 บาท ใครมีอยู่แล้วก็ใช้ได้เลย Macbook ต้องใช้ไขควรหัวแฉกครับ
ก่อนเพิ่มแรมในเครื่องเป็นแบบนี้นะครับ

ก่อนอัพแรมเป็น 2GB 2 ตัว

ขั้นที่ 1

หาอะไรนุ่มๆรองน้อง Macbook ก่อน แล้วคว่ำหน้าลง

Macbook คว่ำหน้าลง

ขั้นที่ 2

ไขน๊อตที่อยู่ด้านหลังออกทีละอัน มีอยู่ทั้งหมด 10 ตัว โดยมันจะมี 3 ตัว ด้านบนชวาจะยาวกว่าตัวอื่นๆ ควรหาอะไรใส่แยกไว้ว่าตัวไหนอยู่ตำแหน่งไหนด้วย เวลาประกอบกับเข้าไปจะได้ใช้ตัวเดิม

ไขน็อตที่ด้านออก

ผมเก็บน็อตไว้แบบนี้ครับ เอากาวสองหน้าติดไว้บนแผ่นพาสติกแล้วเอาน้อตติดไว้ตามตำแหน่งที่มันอยู่ เวลาหมุนกลับจะได้ไม่สับสน

น๊อตเรียงตามตำแหน่งบนเครื่อง Macbook

 ขั้นที่ 3

ยกฝากด้านหลังออก ก็จะเผยให้เห็นอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าของเครื่อง Macbook ถูกวางไว้อย่างเป็นระเบียบ

ยกฝาหลังออก
เปิดฝาหลังออก ก็จะเห็นอุปกรณ์ต่างๆภายใน

เห็นแรมแล้ว ตัวเขียวๆนี้เอง

แรมของ Macbook มีตราของซัมซุงอยู่นะ ใครผลิตให้น่าจะรู้กัน

ขั้นที่ 4

ถ้าดูตามขั้นตอนของ Apple เขาจะให้เราเอามือแตะตรงโลหะก่อนเพื่อเคลียร์ประจุไฟฟ้าสถิตจากร่างกายก่อน แต่ผมก็ไม่ได้ทำนะ เริ่มถอดแรมตัวเก่าออกเลย ถอดง่ายๆครับ เอามือถ่างขาล็อกด้านข้างออกแรมจะเด้งออกมาเอง

ถ่างขาล็อกออก แรมจะเด้งออกมา
แรมยกขึ้นแล้วก็ดึงเบาๆก็หลุดออกมาแล้ว

เมื่อถอดตัวแรกออกแล้วจะเห็นตัวที่สองอยู่ด้านล่าง วิธีถอดออกก็ทำเหมือนกัน

ถอดแรมออกหมดแล้ว

แรมตัวเก่า 2x2GB ถอดออกมาหมดแล้ว พร้อมที่จะใส่ตัวใหม่ 2x4GB เข้าแทนได้แล้ว
วิธีใส่แรมเข้าไป ก็เสียบให้ตรงร่องของมันแล้วก็กดลง ตัวล็อกจะยึดมันให้แน่น ดูให้ดีว่าลงร่องพอดี ตัวด้านล่างอาจจะใส่ลำบากนิดหน่อยแต่ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร

แรมตัวใหม่ถูกใส่เข้าไปแทนตัวเก่าแล้ว

ขั้นสุดท้าย

ปิดฝา แล้วขันน๊อตตัวเดิมในตำแหน่งเดิมลงไป ตอนแรกผมจะยังหมุนแค่หลวมๆก่อน เผื่อว่ามีปัญหาจะได้ไม่ต้องมาไขใหม่ให้ลำบาก

พร้อมทดสอบแล้ว

เปิดเครื่องทดสอบดูว่าใช้งานได้หรือไม่  ถ้าไม่มีปัญหาค่อยกลับมาหมุนน๊อตให้แน่น(ปิดเครื่องก่อนด้วยก็ดี)

ใส่แรมเข้าไปแล้ว ตอนนี้มี 8 GB แล้ว 4 GB 2 ตัว

ดูการทำงาน ขณะที่เขียนบล็อกอยู่

การใช้งานแรม 8 GB

สรุปดังนี้ครับ ทำเองไม่ยากอย่างที่คิด ประหยัดกว่าตั้งเยอะ และอย่าลืมเก็บแรมตัวเก่าไว้ด้วยเผื่อว่าต้องเคลมเครื่องอาจจะต้องใส่กลับ กรณีที่ต้องเคลมทั้งเครื่องแบบเปลี่ยนเครื่องใหม่เลย ส่วนการซ่อมปกติไม่เป็นไร

การใช้งานหลังเพิ่มแรมเป็น 8 GB รู้สึกว่าทำงานได้เลื่อนขึ้นในโปรแกรมที่เคยมีปัญหา ถือว่าถูกใจที่ได้เพิ่มแรมให้น้อง Macbook Pro

ตอนนี้ Macbook Pro รุ่นใหม่สามารถเพิ่มแรมได้สูงถึง 16 GB แต่แรมตัว 8 GB ยังแพงอยู่มาก และคิดว่าตัวเองยังไม่มีความจำเป็นขนาดนั้น ถ้าราคาถูกลงและมีความจำเป็นค่อยว่ากันอีกที หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่อยากเพิ่มแรมให้ Macbook Pro ด้วยตนเองนะครับ

วิธีติดตั้ง iCloud ในเครื่อง Mac และ Windows

iCloud เปิดให้ใช้งานวันนี้แล้ว 12 ต.ค. 2011 นิยามง่ายๆของมันคือ “เก็บทุกอย่างไว้บนเมฆ เรียกใช้งานได้ทุกที่” เช่น ถ่ายรูปด้วย iPhone แล้วไปเปิดดูที่ iPad หรือ Mac ได้เลย มันอัพโหลดขึ้นเองอัตโนมัติ รวมทั้งปฎิทิน แอพพลิเคชั่น เพลง หนังสือ อีเมล เบอร์โทร Bookmark หน้าเว็บ จะเพิ่มลดข้อมูลที่ไหน ระบบจะทำให้ข้อมูลทุกที่ถูกอัพเดตให้เหมือนกัน การจะเริ่มใช้งานจะต้องตั้งค่านิดหน่อย ซึ่งรองรับอุปกรณ์หลัก 3 ตัว คือ กลุ่มของ iOS, OSX, Windows แบบฟรีมีพื้นที่ให้ 5 GB

วิธีติดตั้ง iCloud

วิธีติดตั้ง iCloud ใน Mac OSX Lion

  1. อัพเดต Mac OSX Lion ล่าสุดก่อน
  2. เข้าไปที่ System Preferences ในส่วนของ Internet & Wireless เลือก iCloud (ถ้ายังไม่อัพเดตจะไม่มีนะ)

    ติดตั้ง iCloud ใน Mac OSX

  3. ล็อกอินด้วย Apple ID

วิธีติดตั้ง iCloud ใน Windows

  1. ดาวน์โหลด iCloud Control Panel for Windows มาติดตั้ง

    การติดตั้ง iCloud ใน Windows

  2. ล็อกอินใช้งานด้วย Apple ID

วิธีติดตั้ง iCloud ใน iPhone & iPad & iPod touch

  1. อัพเดตให้เป็น iOS 5
  2. เปิดเครื่องครั้งแรก เครื่องจะให้ตั้งค่า หรือถ้าเข้าไปตั้งที่ setting ใน Tab iCloud

    การติดตั้ง iCloud ใน iOS devices

เมื่อเราติดตั้งผ่านทางอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งแล้ว เราจะสามารถเข้าใช้งานผ่านทางหน้าเว็บได้ที่ www.iCloud.com

iCloud.com

ข้อมูลจาก: https://www.apple.com/icloud/setup/

ควบคุมคอมพิวเตอร์ของคนอื่นด้วย Chrome Remote Desktop

Chrome Remote Desktop

แต่ก่อนผมจะใช้บริการของ LogMeIn ในการควบคุมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องในระยะไกลผ่านทางอินเทอร์เน็ต มันทำงานได้ค่อนข้างช้า และภาพไม่ค่อยชัด การป้อนข้อมูลเข้ามีผิดพลาดบ้าง แต่พอแก้ขัดได้ ส่วนใหญ่เอาไว้ควบคุมเครื่องวินโดว์เวลาเครื่องเราทำงานไม่ได้ หรือแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เล็กๆน้อยๆให้เพื่อน

เมื่อหลายวันก่อน Google เปิดตัวส่วนเสริมของ Google Chrome ชื่อ Chrome Remote Desktop ความสามารถของมัน คือเราสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ลง Google Chrome ไว้ในเครื่องรองรับทุกแฟลตฟอร์ม Windows, Linux, Mac รวมถึง Chromebooks ด้วยนะ ผมลงไว้ในเครื่องหลายวันแล้วแต่ยังไม่มีเวลาได้ลอง และยังหาเครื่องคอมอีกตัวมาลองไม่ได้ วันนี้ฤกษ์ดีเลยหยิบคอมที่เป็น Windows มาเอาควบคุม Mac OSX ดู

ขั้นตอนการใช้งาน  Chrome Remote Desktop

  1. เครื่องต้องมี Google Chrome ก่อน ดาวน์โหลด
  2. ติดตั้งส่วนเสริม Chrome Remote Desktop ขนาดประมาณ 19 MB (ใหญ่กว่าส่วนเสริมทั่วไปที่เคยลงมาเลย)

    Chrome Remote Desktop App

  3. เปิดเข้าไปใช้งาน จะมีสองหมวดให้ใช้งาน นั้นคือ จะควบคุมเครื่องของคนอื่น ซึ่งเครื่องปลายทางต้องแชร์เครื่องของเขาแล้วส่ง Access code มาให้เรา หรือ จะให้คนอื่นควบคุมเครื่องของเรา(Share this computer)

    Share This Computer

  4. ในการทดลองนี้ ผมจะให้เครื่องที่เป็น Windows เข้าควบคุมเครื่อง Mac ดังนั้นผมก็เลือก share this computer แล้วระบบจะสร้างโค้ดมาให้ 12 ตัว แล้วเราก็ส่งโค้ดให้เครื่องที่จะควบคุมเครื่องเรา
    Code ที่จะใช้ในการควบคุมเครื่องที่เรากดแชร์

    **ข้อดีของ Chrome Remote Desktop คือ มันจะนับเวลาถอยหลัง ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ Access เข้ามาในเวลาที่กำหนด โค้ดชุดนี้จะหมดอายุแล้วก็ใช้ไม่ได้ ต้องกดแชร์ใหม่

  5. นำตัวโค้ดที่ได้จากเครื่องที่จะให้เราควบคุม ใส่เข้าไปในช่อง Access code แล้วกด connect เพียงเท่านี้เราก็ควบคุมเครื่องปลายทางได้แล้ว
    -ผมใช้คอมพิวเตอร์อีกตัว(Windows) เพื่อทดลองควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องที่แชร์(Mac)
    ใส่โค้ดเข้าไป ตอนนี้เครื่อง Windows ก็ใช้เครื่อง Mac ได้แล้ว
    ที่เครื่องที่ถูกควบคุมจะบอกว่าตอนนี้เครื่องถูกควบคุมอยู่

    ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ เครื่องที่ถูกควบคุมอยู่ จะตัดการเชื่อมต่อเมื่อไหร่ก็ได้ และส่วนแจ้งเตือนที่เป็นบ๊อบอัพจะอยู่ด้านหน้าตลอด ทำให้รู้ว่าเครื่องถูกนี้ถูกควบคุมอยู่

  6. หน้าต่างส่วนควบคุมจะอยู่ใน Tab  ถ้าเปิด Chrome เป็นแบบ Full screen จะเหมือนเราใช้คอมเครื่องปลายทางเลย

    เครื่องที่เป็น Windows ควบคุมเครื่องที่เป็น Mac

สิ่งที่ประทับใจ

-ภาพละเอียด เหมือนเราใช้งานเครื่องปลายทางอยู่จริงๆ

Compaq ควบคุมเครื่อง Macbook

-เร็วมาก ลองเปิดวีดีโอดูพบว่ามันวิ่งพร้อมกันเลย เสียดายที่เสียงไม่มาด้วยไม่งั้นแหล่มมาก (เน็ต 4 Mb)

ลองเปิดวีดีโอที่เครื่อง Macbook ที่เครื่อง compaq ก็ชัดและสตรีมแทบจะพร้อมกัน แยกไม่ออกว่าเลยว่า delay

-และมันให้งานฟรี ชอบ google ก็ตรงนี้แหละ

ลองเอาไปประยุกต์ใช้กับงานของคุณดูนะครับ น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยเลย

วิธีเปลี่ยนรูปแบบการอ้างอิงเซลล์แบบ R1C1 เป็น A1 ใน Excel

ในสัปดาห์นี้ได้มีโอกาสได้ใช้ Excel เยอะพอสมควร แต่ใช้ Office for Mac น่าตาการใช้งานเป็นแบบ Ribbon ก็จริงแต่มันไม่คุ้นเคยเหมือนอยู่ใน Windows ต้องพยายามใช้อยู่หลายวันค่อยหาเครื่องมือที่ใช้ประจำเจอ โดยเฉพาะวันนี้ได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างซึ่งต้องขอบคุณเพื่อนใน Twitter ที่หลายครั้งๆที่เราบ่นออกไป มักจะมีคนเก่งๆมาช่วยเราเสมอ ความรู้ใหม่ครั้งนี้ขอขอบคุณ @ds2kGTS

เรื่องมีอยู่ว่าใน Excel ใน Mac ค่าเริ่มต้นของรูปแบบการอ้างอิงตำแหน่งจะเป็น R1C1 คือ มันจะอ้างอิงเซลล์โดยอิงจากเซลล์ที่เรากำลังทำงานอยู่อีกที โดยจะให้ตำแหน่งที่เราอยู่เป็น R[0]C[0] จุดที่เราจะอ้างถึงต่ำลงไปค่า R จะเป็นบวก ถ้าสูงขึ้นจะเป็นลบ ส่วนค่า C ไปทางขวาจะเป็นบวก ทางซ้ายจะเป็นลบ เอาง่ายๆเลยเหมือนการระบุตำแหน่งแบบ x,y สี่ช่อง แต่ให้ค่า y กลับกันให้บวกอยู่ล่าง ดูรูปแล้วจะเข้าใจ (แต่เวลาใช้งงมาก!)

การอ้างอิงเซลล์แบบ R1C1

ตอนแรกคิดว่าเป็นการอ้างอิงเฉพาะใน Excel for Mac เลยใช้ไปเรื่อยๆ จนเมื่อต้องมาเริ่มมีการใส่สูตร วิเคราะห์ข้อมูล มันเริ่มงง และดูไม่รู้ว่าเอาข้อมูลตรงไหนมาคิด แต่ก็มารู้ภายหลังว่ามันเป็นแค่รูปแบบหนึ่งของการตั้งค่าการอ้างอิงเซลล์(Reference Style)ของโปรแกรมพวก Spreadsheet เราสามารถที่จะเลือกให้เป็นแบบ A1 อย่างที่ตัวเองใช้ประจำ ซึ่งจะระบุตำแหน่งแบบโดยรวมไม่ได้อ้างอิงตามจุดที่ทำงานอย่างเช่น R1C1

จุดสังเกตง่ายๆ ถ้าตั้งเป็นแบบ R1C1 ชื่อของคอมลัมน์จะเป็นตัวเลข ส่วนแบบ A1 จะเป็นตัวอักษร

การตั้งค่ารูปแบบเซลล์ R1C1 และ A1 (คลิกดูรูปขนาดใหญ่)

แต่ทั้งสองรูปแบบสามารถตั้งค่าได้ว่าจะใช้งานแบบไหน วิธีการสลับรูปแบบระหว่าง R1C1 กับ A1 มีวิธีดังนี้ครับ

วิธีการตั้งค่ารูปแบบการอ้างอิงเซลล์ใน Excel 2010 for Mac

1. คลิก Excel >>Preference

Preferences

2. เลือก General

คลิก General

3. ในหน้าของการตั้งค่า ให้เอาเครื่องหมายติ๊กหน้าคำว่า Use R1C1 reference style ออก ถ้าต้องการใช้งานแบบ A1 ถ้าต้องการใช้ R1C1 ก็ติ๊กเลือก

ส่วนการตั้งค่า

4. ในที่นี้ ผมต้องการใช้แบบ A1 เลยเอาเครื่องหมายออก แล้วคลิก OK ไป

เลือกใช้งานแบบ A1

การเปลี่ยนรูปแบบการอ้างอิงเซลล์ไม่มีผลกระทบกับไฟล์เอกสารของเรานะครับ ไฟล์ที่ทำจากรูปแบบ R1C1 ก็เอามาใช้งานในการตั้งค่าแบบ A1 ได้ปกติ ไม่มีปัญหาอะไร

สำหรับใน Windows ก็มีขั้นตอนการเปลี่ยนรูปแบบคล้ายๆกัน ดังนี้ครับ

วิธีการตั้งค่ารูปแบบการอ้างอิงเซลล์ใน Excel 2007

คลิกปุ่ม Excel  เลือก Excel Options >>Formulas tab เลื่อนไปในส่วนของ Working with formulas

R1C1 reference style

เอาเครื่องหมายออก ก็ใช้งาน A1 style ได้แล้วครับ

ความจริงบล็อกนี้จะเขียนแบบสั้นๆก็ได้นะ แค่อธิบายว่าคลิกตรงไหน เลือกตรงไหน แต่ตอนที่ผมค้นหาวิธีการตั้งค่าแบบนี้ ไม่รู้ทำไมหายากจัง ส่วนใหญ่บอกใน Windows ซึ่งมันจะเข้าไปตั้งค่าใน Excel Options ใน Mac จะเรียกว่า Preferences เลยงมหาไม่เจอสักที ก็เลยเก็บกดเขียนให้มันละเอียดแบบนี้เลยได้ไหม (ผมโง่ครับ!) คนอื่นๆจะได้ทำตามได้ง่ายๆ หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ

ข้อมูลจาก https://www.lytebyte.com

คู่มือสอนการใช้งาน iPhone 4 iOS 4.2 (ภาษาไทย)

คู่มือสอนการใช้งาน iPhone iOS 4.2

คู่มือการใช้งาน iPhone รองรับทั้ง iPhone 3Gs และ iPhone 4 เป็นคู่มือของระบบปฎิบัติการ iOS 4.2 อาจจะแปลกที่เอามาโพสตอนนี้ทั้งๆที่ข่าว iPhone 5 กับ iOS5 จะขายแล้วในปลายปีนี้ แต่ไม่ได้เป็นความตั้งใจค้นหาคู่มือของ iPhone แต่อย่างใด(ไม่มีใช้ด้วย!) แต่ตั้งใจจะหาคู่มือของ Macbook ยังไม่เคยอ่านเลย เผื่อจะใช้งานได้คุ้มค่ามากขึ้น จำได้ว่าที่ร้านได้ใส่เข้ามาในเครื่องแล้ว แต่คิดว่าหาในเว็บน่าจะง่ายกว่าหาในเครื่องของตัวเอง ไม่แน่ใจว่าเก็บไว้ไหนหรือเอาออกไปเก็บไว้ที่ HDD แล้วก็ไม่รู้ ก็ลองถามอากู๋มันก็พามาที่หน้านี้ https://support.Apple.com/manuals/ มีคู่มืออุปกรณ์ทุกชนิดของ Apple ให้ดาวน์โหลดฟรี ดูที่รูปด้านล่าง

คู่มือใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Apple

จะเห็นว่ามีคู่มืออุปกรณ์ทุกชนิดของ Apple ให้ดาวน์โหลดไปศึกษาได้ฟรี ตาก็เหลือบไปเห็น other langues ที่มุมชวา เอาภาษาไทยมาอ่านน่าจะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่า เลยเข้าไปที่หน้าของภาษาไทยที่ https://support.Apple.com/th_TH/manuals/

ที่หน้าคู่มือของประเทศไทย มีแค่คู่มืออันเดียวคือ iPhone ดังรูปข้างล่าง

หน้ารวมคู่มือผลิตภัณฑ์ของ Apple ภาษาไทย

มันมีแค่คู่มือของ iPhone สุดท้ายหลังจากจากตั้งใจหาคู่มือของ Macbook แต่ได้ของ iPhone มาแทน ลองโหลดมาดูก็พบว่ามันก็เป็นคู่มือที่ทำมาอย่างดี ละเอียดมาก (คิดว่าละเอียดและครอบคลุมมากกว่าหนังสือที่มีขายในท้องตลาดบางเล่มเสียงอีก) น่าจะมีประโยชน์กับคนที่สนใจ เลยเอามาโพสไว้

แต่ผมก็ได้คู่มือ Macbook มาเหมือนกันนะแต่เป็นภาษาอังกฤษ (ทำไมไม่แปลให้หมดทุกอันเลยนะ!)

ซื้อ Macbook มาวันที่ 3 มิ.ย. ก็อัพเดตเป็น OS X Lion ฟรี

ผมซื้อตัว Macbook Pro จาก U-Store ที่จุฬาฯ มาเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2011 ตัดสินใจซื้อตอนนั้นเพราะได้ข่าวว่า Apple จะเปิดตัว OS X Lion ในวันที่ 6 มิ.ย. 2011 ซึ่งปกติแล้ว Apple จะให้อัพเดตฟรีสำหรับใครที่ซื้อก่อนภายใน 30 วัน ตอนนั้นคิดว่า OS X Lion มันจะขายวันนั้นเลยหรือก็ไม่นานจากนั้นมาก แต่ผิดคาด Apple บอกจะเปิดขายผ่านทาง Mac App Store ในเดือนถัดไป แถมจะอัพเดตให้เฉพาะคนที่ซื้อหลังวันที่ 6 มิ.ย. 2011 ตอนนั้นผิดหวังนิดๆ แต่ดีหน่อยที่มันไม่ได้แพงมากนัก ราคา $29.99 หรือประมาณ 900 บาท (เทียบกับ Windows 7 ราคาประมาณ 4 พันกว่าบาท) ตอนนั้นก็ลืมเรื่องการอัพเดตฟรีไปแล้วจนถึงวันที่มันปล่อยออกมา

วันนี้(20 มิ.ย. 2011) Apple ปล่อยตัว OS X Lion ให้ดาวน์โหลดแล้ว ผมก็กดโหลดไปแล้วด้วย แต่พอไปเจอบล็อกของคุณ @kafaak บ่นเรื่องการอัพเดตผ่าน Up-to-date ไม่ได้ ทั้งๆที่ซื้อหลังวันที่ 6 มิ.ย. 2011 (รู้สึกว่าจะมีปัญหากับเครื่อง custom built เพิ่มฮาร์ดดิส,แรม) ในโพสเพื่อนของเขาได้ให้ลิงค์ของ Up-to-date ระบบที่จะทำให้เราอัพเดตได้ฟรีของโซนเอเชียไว้ให้ ลิงค์ Mac OS X Lion Up-to-Date

ผมก็เข้าไปทำตามขั้นตอนของ Up-to-date ไปเรื่อยๆ ต้องใช้ข้อมูลพวก Serial Number, ที่อยู่ ปรากฎว่า validate ผ่านด้วย ได้อัพเดตเป็น OS X Lion ฟรี!!! 

OS X Lion Free

เมื่อเราทำขั้นตอนต่างๆ(ผมไม่ได้จับภาพไว้ให้ดู T_T) เสร็จแล้วระบบจะให้โค้ดมา Mac OS X Lion Content code: xxxxxxxxxxxx (12 หลัก)

จากนั้นให้เข้าไปที่ ลิงค์นี้ กรอกรหัสลงไป แล้วคลิก Redeem (รหัสใช้ได้ครั้งเดียวนะ!)

Mac App Store Redeem

แล้วระบบจะนำเข้าไปหน้า Mac OS X Lion จากนั้นเราก็คลิกโหลดได้เลย (ผมกดโหลดค้างอยู่ก่อนแล้ว มันก็บอกว่ากำลังโหลดอยู่ หวังว่ามันจะไม่เรียกเก็บเงินจากอันแรกที่ยังไม่ได้ทำ Up-to-date นะ)

Oder ที่ Apple ส่งมาให้

ผมไม่รู้ว่าการตรวจเช็ควันซื้อสินค้าของ Apple มีขั้นตอนยังไงนะครับ แต่คิดว่าการซื้อที่ร้าน Authorized Resellers น่าจะทำให้วันซื้อที่จะถูกบันทึกในระบบมี delay อยู่บ้างเล็กน้อย ใครที่ซื้อในช่วงก่อนวันที่ 6 มิ.ย. 2011 อยากให้ลองไปใช้ระบบนี้ดูก่อนนะครับ อาจจะได้อัพเดตฟรีก็ได้นะ!!

สุดท้าย ขอขอบคุณ @kafaak ที่อัพบล็อก Apple Up-to-date ทำให้ผมได้ลองเข้าไปใช้งาน และทำให้ประหยัดเงินไปได้ 900 บาท

Exit mobile version