Old enough วาไรตี้การทำธุระครั้งแรก ของเด็กวัยอนุบาลญี่ปุ่น

Old Enough! วาไรตี้ชมได้ทาง Netflix

Old enough เป็นรายการวาไรตี้ญี่ปุ่น ดูได้ทาง Netflix รูปแบบรายการเป็นลักษณะสารคดี ตามติดการทำธุระด้วยตัวเองเพื่อช่วยครอบครัวของเด็ก ๆ ก่อนวัยเรียน เช่น ออกไปซื้อของชำ จัดส่งพัสดุ ส่งข้าวกลางวัน เป็นต้น ตอนละ 10 กว่านาทีเอง

รีวิวสั้น ๆ น่ารัก สนุก และดีมาก ๆ เด็ก ๆ ตัวนิดเดียวแต่เก่งมาก ๆ น่าทึ่งสุด ๆ

ส่วนตัวได้แต่อิจฉาวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของญี่ปุ่นที่เอื้อให้เด็กสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างด้วยตัวคนเดียวได้อย่างปลอดภัย ถึงแม้ในรายการจะมีคนของรายการดูแลความปลอดภัยให้ตลอดก็เถอะ แต่ก็รู้สึกว่าปลอดภัยกว่าบ้านเมืองเราอยู่ดี

สิ่งที่เห็นชัด ๆ เช่น การข้ามถนน ที่ถูกฝึกอบรมมาตั้งแต่เด็ก ๆ และเด็ก ๆ ก็ทำตามอย่างเคร่งครัดมาก ๆ

สรุปว่า ดูเลย สนุก คอนเฟิร์ม รอชมซีซั่นต่อไปไม่ไหวแล้ว

ปล. เด็ก ๆ ในรายการจะน่ารักและเก่งแตกต่างกันไป พ่อๆแม่ๆ อย่าเอามาเปรียบเทียบกับลูกหลานตัวเองเด็ดขาด เด็ก ๆ แต่ละคนโตมาแตกต่างกัน มีความน่ารัก และเก่งในแบบของตัวเอง

The Lord of the Rings ไปอยู่ไหนมาทำไมเพิ่งได้อ่าน

หนังสือชุด The Lord of the Rings ที่มี 3 เล่มจบ

เพิ่งจะอ่านหนังสือชุด The Lord of the Rings เล่มที่ 1 จบ ซึ่งปกติจะเป็นคนที่ทั้งอ่านและฟังไปพร้อมกัน เล่มนี้ audio book อ่านโดย Andy Serkis (คนที่แสดงเป็นกอลลั่มในฉบับหนัง) ซึ่งเขาก็ทำผลงานออกมาได้ดีมาก ๆ ทั้งร้องเพลง อ่านบทกวี ดัดเสียงตามตัวละคร จังหวะการอ่านดีมาก ๆ รวมแล้วประมาณ 22 ชั่วโมง ความจริงถ้าอ่านเองอาจจะใช้เวลาเร็วกว่านี้มาก แต่ได้ฟังเสียงไปด้วยมันเพลินมาก ไม่ปรับความเร็วด้วย

ส่วนเนื้อหาของหนังสือเล่มแรกของชุด 3 เล่มจบ The Fellowship of the Ring พบว่าเป็นหนังสือที่ดีงามมาก ๆ การเล่าเรื่อง ความแฟนตาซี ปรัชญา บทเพลง บทกวี ภาษาและอักขระเฉพาะ การเดินทางผจญภัย ความสัมพันธ์ของตัวละคร และโครงสร้างจักรวาลถูกวางและเขียนไว้ได้ดีมาก ๆ นี้คือหนังสือที่ควรอ่านสักครั้ง

คำถามต่อมาคือเราไปอยู่ไหนมาทำไมเพิ่งจะได้อ่านนะ (ดูแต่หนัง จำนวนรอบนั้นนับไม่ได้แล้ว)

หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาพประกอบ

หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่มีเขียนภาพประกอบโดย Jim Key

Harry Potter and the Philosopher’s Stone: Illustrated Edition

ภาพประกอบโดย Jim Kay

เป็นหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่มีเขียนภาพประกอบโดยจินตนาการตามตัวอักษรในหนังสือ หลายอันอาจจะไม่ได้เหมือนฉบับภาพยนตร์ที่เราคุ้นเคย (ซึ่งจริงๆหนังก็ตีความได้ดีมากเหมือนกัน)

ฉบับภาพประกอบของ Jim Kay ทำออกมาได้สวยมากๆ น่ามีเก็บไว้บนตู้หนังสือมาก ๆ ที่เห็นอยู่ในภาพเป็นฉบับ ebook ใน kindle ภาพมีแอนนิเมชั่นนิดๆ ขยับตัวได้ด้วย

สรุปว่าดูภาพประกอบตัวอย่างบางส่วนเอาแล้วกันสวยแค่ไหนตอนนี้ทำออกมายังไม่ครบทั้ง 7 เล่มนะ เล่ม 5 จะออกราวๆ กลางปีนี้ เล่มต่อไปคงจะทยอยตามเรื่อย ๆ ฉบับ hardcover ราคาประมาณ 25€

รีวิวสั้น ๆ หนังสือ The Queen’s Gambit โดย Walter Tavis

The Queen’s gambit
น่าจะเหมือนคนส่วนใหญ่ทั่วไปที่ได้รู้จักครั้งแรกจากซีรีย์ทาง Netflix ซึ่งทำออกมาได้ดี สนุก และตื่นเต้นมาก ๆ แม้ว่าจะเล่นหมากรุกไม่เป็นก็ดูเข้าใจและตามเรื่องราวรู้เรื่องไม่งง

หนังสือ The Queen’s Gambit

หลังจากที่ประทับใจไปกับฉบับซีรีย์แล้ว เลยอยากอ่านต้นฉบับที่เป็นหนังสือเพิ่มเติม พอได้หนังสือมา เริ่มอ่านถึงได้รู้ว่าเป็นหนังสือที่เขียนโดย Walter Tevis ตั้งแต่ปี 1983 ซึ่งก็มีบรรยากาศของสงครามเย็น และค่านิยมต่าง ๆ ตามที่ซีรีย์ทำออกมาให้ดู

ส่วนเนื้อหาในหนังสือนั้น เหมือนกับที่ได้ดูในซีรีย์เรียกว่าแบบเป๊ะ ๆ ซีรีย์เก็บรายละเอียดได้ดีมาก ๆ ตอนอ่านหนังสือทำให้นึกภาพตามที่เคยดูจากซีรีย์ได้เลย เพราะเป็นซีรีย์มีเวลาให้เล่าเรื่องเยอะ ไม่ต้องรวบรัดเหมือนหนัง รายละเอียดจึงครบถ้วน ดังนั้น หนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้เพลิน ๆ เล่าเรื่องเป็นเส้นตรงเหมือนที่ได้ดูในซีรีย์แบบฉากต่อฉากเลยทีเดียว

ส่วนหนึ่งที่ทำให้ซีรีย์ทำออกมาได้ดีเพราะบทประพันธ์ดั้งเดิมเขียนไว้ดีมาก ๆ

สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องราวการเป็นนักเล่นหมากรุกของอลิซาเบธ ตั้งแต่เด็กจนถึงระดับสูงสุดของมืออาชีพ จะดูซีรีย์หรืออ่านหนังสือก็เรื่องเล่าเดียวกันไม่ดัดแปลง (ฉากจบยังถอดมาเป๊ะ ๆ)

สรุป อ่านก็จะได้อีกรสชาติหนึ่งของเรื่องราว แต่ดูแค่ในซีรีย์ก็ครบถ้วนเช่นกัน

หุ่นยนต์อัตโนมัติ ต้นแบบของ Automaton ในหนัง Hugo(2012)

Artificial Intelligence: An Illustrated History

ได้อ่านอ่านหนังสือ Artificial Intelligence: An Illustrated History: From Medieval Robots to Neural Networks by Clifford A. Pickover เป็นหนังสือที่เล่าถึงการพัฒนาหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ จนถึงปัญญาประดิษฐ์ โดยเล่าย้อนตั้งแต่รากฐานของนวัตกรรมในอดีตผ่านสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เกือบ 100 รายการที่พัฒนาต่อยอดขึ้นมากเรื่อย ๆ ตลอดช่วงเวลาระหว่าง 1300 ก่อนคริสตศักราชจนถึงยุคปัจจุบัน

Jaquet-Droz automata

สิ่งที่สะดุดตามากจนต้องหยิบมาเขียนเก็บไว้ คือ สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า Jaquet-Droz automata ที่ถูกสร้างขึ้นโดยช่างทำนาฬิกาชาวสวิซต์ชื่อ Pierre Jaquet-Droz และลูกของเขา โดยถูกสร้างในช่วงปี 1768-1774 โดยประกอบด้วย automata ทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ หุ่นนักเขียน หุ่นนักดนตรี และหุ่นร่างแบบ หุ่นแต่ละตัวมีความซับซ้อนสูงมาก มีชิ้นส่วนประกอบตั้งแต่ 2,000-6,000 ชิ้นต่อตัว

ภาพวาดจากหุ่นร่างแบบ

พวกเขาสร้างขึ้นเพื่อใช้โฆษณาสำหรับขายนาฬิกาและสร้างความบันเทิงให้หมู่ชนชั้นสูงที่เป็นลูกค้า ปัจจุบันนาฬิกาแบรนด์ Jaquet-Droz ก็ยังมีอยู่นะ และที่พิเศษกว่านั้น automata ทุกตัวปัจจุบันยังทำงานได้ดี ถูกเก็บรักษาอย่างดีและเปิดให้เข้าชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ Musée d’Art et d’Histoire of Neuchâtel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

Hugo (2011)

เหตุที่ตัวเองสนใจ Jaquet-Droz automata เป็นพิเศษ ทั้ง ๆ ที่ในหนังสือกล่าวถึงระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอีกหลายอย่าง เพราะว่าหุ่น Jaquet-Droz ทำให้นึกถึงหนังเรื่องหนึ่งที่ชอบมาก ๆ นั้นคือ Hugo (2011) ของมาร์ติน สกอร์เซซี เป็นเรื่องของเด็กกำพร้าฮิวโก้ที่อาศัยอยู่บนหอนาฬิกาของสถานีรถไฟ และพยายามหาชิ้นส่วนเพื่อซ่อม automaton หุ่นที่เป็นเหมือนตัวแทนสิ่งที่เหลือไว้ของพ่อผู้จากไป ในท้ายที่สุดตัวหุ่นก็ถูกซ่อมให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง และมันก็วาดภาพฉากหนึ่งของหนังอันโด่งดัง A Trip to the Moon ของ Georges Méliès เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวละครสำคัญของเรื่องเลยทีเดียว

ภาพที่ Automaton วาดออกมา

เกร็ดหลังจากได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ automaton ในหนัง Hugo ก็ไม่แปลกใจเลย ที่หนังเรื่องนี้ก็ได้รับแรงบรรดาลใจมาจากหุ่น Jaquet-Droz automata และหุ่นกลไกตัวนั้นถูกสร้างโดยนักสร้างพร๊อพ Dick George และมันสามารถทำงานได้จริง ตัวหุ่นถูกควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใต้โต๊ะ มือของหุ่นถูกเชื่อมต่อกับกลไกผ่านชุดแม่เหล็ก มันสามารถวาดภาพทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบได้ แต่ใช้เวลานานถึง 46-47 นาที

อยากรู้ว่ามีใครชอบหนังเรื่องนี้เหมือนกันไหมนะ

รีวิวหนังสือ Rita Hayworth and Shawshank Redemption

รีวิวหนังสือ เรื่องสั้นขนาดยาว Rita Hayworth and Shawshank Redemption
โดย Stephen King

รีวิว เรื่องสั้นขนาดยาว Rita Hayworth and Shawshank Redemption ของ Stephen King

น่าจะเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ที่ได้ดูหนัง Shawshank Redemption มาก่อนแล้วค่อยได้อ่านต้นฉบับที่เป็นหนังสือ หนังติดอันดับหนึ่งหนังยอดเยี่ยมตลอดกาลของ IMDB แบบที่ยังหาหนังเรื่องไหนมาล้มไม่ได้ วันนี้อ่านฉบับหนังสือจบแล้วจึงมาเขียนบันทึกแบบสั้น ๆ เก็บไว้ ส่วนใครสนใจหนังสือเล่มอื่น ๆ ตามไปอ่านได้ที่รีวิวหนังสือ

ก่อนอื่น ขอเริ่มแบบนี้เลย หลายคนอาจสงสัยว่าหนังชื่อ Shawshank Redemption แต่หนังสือชื่อ Rita Hayworth and Shawshank Redemption แล้ว Rita Heyworth คือใครอ่ะ? (ตอนแรกก็สงสัยเหมือนกัน)

คำตอบคือ เธอคือดาราที่อยู่บนโปสเตอร์ใบแรกที่ Andy สั่งจาก Red มาติดผนังของห้องขังซึ่งมีส่วนสำคัญในเรื่องมาก ๆ ที่จริงแล้วโปสเตอร์ถูกเปลี่ยนเป็นดาราหลายคนเลยทีเดียว ซึ่งคนสุดท้ายคือ Linda Ronstadt

โปสเตอร์ติดผนัง

ในหนังมีเปลี่ยนรายละเอียดหลายอย่างต่างจากหนังสือพอสมควร เช่น จุดจบของพัสดี เรื่องของ Tommy เด็กที่หนุ่มที่ได้ยินเรื่องราวของ Andy จากเพื่อนห้องขังจากที่อื่น แม้แต่เรื่องราวของ Red ก็ถูกเปลี่ยนเล็กๆน้อยๆ รายละเอียดการต่อสู้คดีของ Andy มีรายละเอียดมากขึ้น ไม่ได้รวบรัดเหมือนฉบับหนัง

แม้ว่าในรายละเอียดจะแตกต่างกันบ้างระหว่างหนังและหนังสือ แต่กลับพบว่าทั้งสองเวอร์ชั่นดูกลมกลืนกันมากๆ พอมาคิดดูก็สรุปได้ว่า ในแต่ละซีนที่สำคัญ ๆ ในหนัง ไดอะล็อกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเขายกในฉบับหนังสือมาใช้ทั้งดุ้นเลย ไม่มีการตัดหรือดัดแปลงเลย คำต่อคำเลยทีเดียว ทำให้หัวใจหลักของเรื่องราวมันจึงดูสมบูรณ์ตามแบบของต้นฉบับมาก ๆ คิดว่าส่วนหนึ่งอาจเพราะ Stephen King เข้ามามีส่วนร่วมในการเขียนบทด้วย ทุกอย่างเลยลงตัวมากๆ มีความกลมกลืนกันทั้งหนังสือและหนัง

สรุปส่งท้าย ถ้าชอบฉบับหนัง ตามไปอ่านฉบับหนังสือรับรองว่าจะไม่ผิดหวังครับ

Rita Hayworth and Shawshank Redemption Review

Rita Hayworth and Shawshank Redemption
by Stephen King

Rita Hayworth and Shawshank Redemption

For my Shawshank Redemption review, I am the most people who watched the Shawshank Redemption movie (and we love it, it is all time top-rated movie in IMDB) before reading the original book. The book gave us more details, the story of Andy’s crime was made clearer, he tried to fight the case very hard. Despite losing in the end, and finally made him be a prisoner of Shawshank. After comparing the book and the movie, I found that the movie has changed some details and went further than the book did, such as the end of Norton, the story of William. But in each important scene in the movie, they used the book’s dialogs, not cut even adapted it that made the movie kept the messages of the book so completely. However, I like them both.

For someone who might doubt who Rita Hayworth is?, how she was involved in this story?. because the title of the movie cut Rita Hayworth out to be just “Shawshank Redemption.” And the answer is, Rita Hayworth is the name of the model in the first poster that Andy hung on the wall of Cellblock no.5, It is the object that was very important in the story. It was showed how Andy broke the Shank even though, in the end, the last poster was Linda Ronstadt.

Rita Hayworth

The main idea of the book we can found in the letter that Andy wrote to Red.

“Remember that hope is a good thing, Red, maybe the best of things, and no good thing ever dies.”

see more about movies contents

The Handmaid’s Tale, a TV show is based on the book

The Handmaid’s Tale

The Handmaid’s Tale is Margaret Atwood’s dystopian novel published in 1985. The book was adapted as a television series on the streaming service Hulu, but we can now watch it on HBO GO.

It is one of the most dramatic and serious novels (for me). The plot is set in New England in the near future. It seems that after they lost a war, the country was under control by a strongly patriarchal and dictatorial government.

A handmaid is a woman from that country who is forced to “produce” children for commanders or leaders. You will see the book explain “the ceremony”, a highly ritualized sexual act where the husband is having sex with a handmaid while his wife is there to manage that ceremony.

The handmaids are restricted from freedom. Their accommodation is like a concentration camp. The government treats handmaids like an animal with only one purpose: to produce children for them.

The novel reflects the raw nature of human beings but acts like they have a noble culture (eventually are not). When I knew they were making a TV series, I couldn’t even watch a trailer (hopefully one day I can do that).

I also have some content about HBO series please check.

รีวิวซีรี่ย์ His Dark Materials ที่สนุกมาก ดูได้ใน HBO GO

His dark materials

รีวิวทีวีซีรี่ย์ His Dark Materials ที่สนุกมาก แต่คนพูดถึงกันน้อย

เห็นหลายคนสมัคร HBO GO เพื่อดู Zack Snyder’s Justice League แล้วบอกว่าไม่รู้จะดูอะไรต่อใน HBO GO มีซีรี่ย์ที่จัดอยู่ในระดับ A list อยู่หลายเรื่อง เช่น

  • ซี่รีย์ในตำนานอย่าง Game of Thrones ที่จบไปแล้ว
  • Chernobyl มินิซีรี่ย์ที่ทำดีมาก
  • Westworld ใครที่เป็นแฟนคลับของ Christopher Nolan ต้องรู้ว่าน้องชายเขา Jonathan Nolan มีส่วนร่วมในการเขียนบทในหนังของ Nolan เกือบทุกเรื่อง ถ้าเขาจะคุมโปรเจคซีรี่ย์เรื่องนี้เราคนดูก็เชื่อใจได้ในระดับหนึ่ง และมันทำออกมาได้ดีจริง ๆ
  • Watchmen ฮีโร่สายดาร์คที่เข้มข้น

แต่วันนี้จะมาพูดถึงซีรี่ย์อีกเรื่องที่คนไม่คอยพูดถึงเลย คือ His Dark Materials (ชื่อแปลไทย ธุลีปริศนา)ซี่รีย์ที่ดัดแปลงมาจากนิยายแฟนตาซีในชื่อเดียวกันที่เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งตำนานของนักเขียน Phillip Pullman หนังสือมี 3 เล่ม Northern Lights (The Golden Compass), The Subtle Knife และ The Amber Spyglass ซี่รีย์ทำตามหนังสือแบบเล่มละซีซั่นพอดีเลย ตอนนี้จบถึงซีซั่นที่ 2 แล้ว และซีซั่นที่ 3 เริ่มถ่ายทำแล้ว มีแผนในการออกฉายในต้นปี 2022

หนังสือชุด His Dark Materials

รีวิวแบบสั้น ๆ คือ ดีมากกกก ดูเถอะสนุกมาก

รีวิวซีรี่ย์ His Dark Materials

The Golden Compass เคยทำเป็นหนังแล้วเมื่อปี 2007 ความจริงหนังไม่ได้แย่มากนะ แต่แผนของสตูดีโอที่อยากปั้นหนังจากหนังสือดังและทำต่อเนื่องหลายภาคต่อกันอย่างเช่นที่แฮรี่ พอร์ตเตอร์ ทำได้ในช่วงนั้น ซึ่งทำเงินให้สตูดิโออย่างมหาศาล ค่ายไหนก็อยากมีโปรเจคทำเงินยาว ๆ แบบนั้นบ้าง ช่วงนั้นเราเลยได้เห็นฮอลลีวู้ดพยายามเข็นโปรเจคหนังที่ดัดแปลงจากหนังสือมาลงจอใหญ่กันเยอะมาก แต่หลายโปรเจคก็ล้มและขาดทุนกันถ้วนหน้าและ The Golden Compass ที่ตั้งเป้าจะมีหลายภาคออกมาฉายก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ล้มเหลว เป็นยักษ์ล้มไปในปีนั้น

กลับมาที่ซีรีย์บน HBO GO ที่จะพูดถึงกัน ต้องบอกก่อนว่าผมได้อ่านฉบับหนังสือมาก่อนแล้ว 2 เล่ม คือ Northern Lights (The Golden Compass), The Subtle Knife เหลือเล่มที่ 3 ซึ่งคิดว่าถ้าซีซั่น 3 ออกฉาย จะกลับไปอ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยมาดูซีรีย์ ดังนั้นจะเป็นรีวิวที่รู้เรื่องราวแล้วบางส่วน เหมือนคนที่อ่านหนังสือแฮรี่ พอร์ตเตอร์ แล้วเขาไปดูหนังอีกที

โดยปกติแล้วหนังที่ทำจากหนังสือจะออกมาสองแบบชัดเจนคือ ทำได้แย่จนแฟนหนังสือด่ากันยับ เช่น Mortal Engine, Dark Tower, Divergent และหนังที่ทำดีได้ใจทั้งแฟนหนังสือและแฟนหนัง เช่น Lord of the Ring, Harry Potter, The Hunger Games ส่วนตัวขออวยว่าซีรีย์เรื่องนี้อยู่ในกลุ่มหลังครับ ทำดีมีดัดแปลงบ้าง บางอันลงตัวกว่าในหนังสืออีก

เริ่มที่นักแสดง คัดมาดีมาก ๆ

  • James McAvoy เป็น Lord Asriel ในสองซีซั่นบทยังมีไม่มาก มาน้อยแต่ดีมาก
  • Ruth Wilson เป็น Marisa Coulter ได้ลงตัวกว่า Nicole Kidman จากฉบับฉายโรงอีก มีความเลือดเย็น เป็นผู้หญิงที่น่ากลัว ร้ายกับคนรอบข้าง รวมทั้งกับ Dæmon ของตัวเองด้วย
  • ส่วนน้อง Dafne Keen น้องตัวแสบ X-23 จาก Logan มารับบทเป็น Lyra Belacqua แสดงได้ดี มีความกล้าและแสบตามฉบับหนังสือ
  • Amir Wilson รับบทเป็น Will Parry พอได้กลาง ๆ
  • ส่วนตัวอื่น ๆ Roger Parslow, Lee Scoresby, กลุ่ม Gyptian ก็คัดมาได้ดี

ในยุคที่คอมพิวเตอร์กราฟฟิคทำได้ดีและเนียนขึ้น เหล่า Dæmon ภูตประจำตัวของแต่ละคนจึงดูสมจริงขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของมากขึ้น และช่วยในการเดินเรื่องและบอกอารมณ์ของตัวภูติเองที่สะท้อนไปถึงเจ้าของด้วยได้ดี และเจ้าหมียักษ์ Iorek Byrnison ที่อยากให้ออกมาทุกตอนเลย

ซีนหนึ่งที่ชอบมากในซีรีย์ คือการแทรกเรื่องพิธีฉลองการหยุดเปลี่ยนรูปของ Dæmon ที่เปรียบเสมือนการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ของเด็กหนุ่มของชาว Gyptian ซึ่งเป็นช่วงที่เปรียบเสมือนการก้าวสู่อีกวัยที่ทุกคนในเผ่าจะออกมาแสดงความยินดีด้วย แต่ในหนังสือจะไม่มีรายละเอียดในส่วนนี้เลย และเป็นการเติมเข้ามาในเรื่องที่ลงตัวมาก ในหนังสือเราจะเห็นว่าเด็กมักจะคุยกันว่าท้ายสุดแล้ว Dæmon ของตัวเองจะคงรูปเป็นสัตว์อะไรอยู่บ่อยครั้ง จึงถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของเด็ก ๆ และซีรี่ย์เลือกที่จะเล่าส่วนนี้เพิ่มเข้ามาถือว่าคิดมาดี และทำออกมาได้ดีมาก ๆ

พิธีฉลองของ Gyptian

ส่วนต่อไป ขอชมการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ในซีรี่ย์ทำได้ดีมาก เช่น สิ่งของสำคัญในเรื่อง เช่น Alethiometer ชื่อเรียกของ Golden Compass ในหนังสืออธิบายรูปทรงเป็นวงกลมตามแบบของเข็มทิศทั่วไป แต่ในซีรี่ย์ทำออกมาเป็นตลับสี่เหลี่ยม และรูปแบบสัญลักษณ์ต่างๆข้างในก็ทำออกมาดูดีทีเดียว ซึ่งบางทีก็จินตนาการไม่ออกว่ามันจะเป็นยังไง แต่ในซีรีย์ทำให้ภาพในจินตนาการออกมาเป็นภาพที่ชัดเจน และอื่นๆ เช่น ชุดเกาะของ Iorek, บอลลูนของ Lee, แม่มดบินด้วยการขี่กิ่งสน แต่ในซีรี่ย์ทำอีกแบบที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงเลย แต่ออกมาดีกว่ามาก ๆ (ไปดูเองในซีรี่ย์)

Alethiometer

การเล่าในซีรี่ย์จะเล่าต่างจากในหนังสือนิดหน่อย ในหนังสือจะมีเส้นเรื่องค่อนข้างตรงๆ ตามมุมมองของตัวเอก Lyra เป็นหลัก เดินเรื่องไปเรื่อยๆ แต่ในซีรี่ย์เล่าเป็นจักรวาลที่กว้างกว่ามาก แม้ว่าเส้นเรื่องหลักจะตามหนังสือแต่ละเล่มก็ตาม แต่ว่าเนื้อหาของหนังสือเล่ม 2-3 จะมีแทรกเข้ามาในเนื้อเรื่องช่วงซีซันแรกที่เป็นเนื้อหาของเล่ม 1 เป็นระยะ ๆ เพื่อเล่าขอบเขตที่กว้างกว่าและครอบคลุมมากกว่า เช่น รายละเอียดของ Magisterium ที่ลงรายละเอียดเยอะขึ้นมาก เพื่อวางโครงของจักรวาล ทำให้ดูเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงมากในโลกของ Lyra ส่วนเครื่องมือสำคัญอย่าง Alethiometer ก็มีรายละเอียดมากขึ้น กลายเป็นสิ่งผิดกฏหมายในโลก มีการอนุญาตให้ใช้งานได้เฉพาะใน Magisterium เท่านั้น แทนที่จะเป็นแค่ของหายากตามฉบับในหนังสือ

ตึกของ Magisterium รูปร่างคล้าย Alethiometer

เขียนมายาว สรุปว่าใครที่อ่านหนังสือแล้ว คุณจะรักฉบับซีรี่ย์ ใครยังไม่อ่านหนังสือก็จะเข้าถึงและได้เพลิดเพลินกับรายละเอียดต่างๆของจักรวาลในเรื่องได้ไม่ยาก ผมตื่นเต้นทุกครั้งที่ซีรี่ย์เนรมิตรฉากในจินตนาการจากตัวหนังสือออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหวให้ได้เห็น ชอบมาก ๆ ครับ ตามไปดูได้ที่ HBO GO ส่วนใครสนใจรีวิวหนังเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่ลิงค์เกี่ยวกับหนัง

V for Vendetta introduce himself with amazing dialogue

V for Vendetta

Last weekend, I read the masterpiece of Alan Moore, “V for Vendetta” again, then watched the same name’s film adaptation. And I realized how cool it was that V introduced himself to Evey in the film, not even seen this dialogue in the graphic novel version in the epic scene. (however, in the graphic novel preset all chapter title with V words)

I would say this is one of the best presents of the character in the film I’ve seen. In that scene, V answered the question that Evey asked him who he is. He responded to the question with many of the V words. How’s fantastic it was. Let you see and count them by yourself.

“On this most auspicious of nights permit me then, in lieu of the more commonplace sobriquet to suggest the character of this dramatis persona.

Voilà!

In view, a humble vaudevillian veteran cast vicariously as both victim and villain by the vicissitudes of fate.

This visage, no mere veneer of vanity is a vestige of the vox populi, now vacant, vanished.

However, this valorous visitation of a bygone vexation stands vivified and has vowed to vanquish these venal and virulent vermin vanguarding vice and vouchsafing the violently vicious and voracious violation of volition.

The only verdict is vengeance, a vendetta held as a votive not in vain, for the value and veracity of such shall one day vindicate the vigilant and the virtuous.

Verily, this vichyssoise of verbiage veers most verbose. So let me simply add that it’s my very good honor to meet you and you may call me V.”

V for Vendetta film by Warner bros.
Exit mobile version