AMP ช่วยให้ผู้ใช้มาจากมือถือแซงเดสก์ท็อปแล้ว

อะไรคือ AMP? เกี่ยวข้องยังไงกับบล็อกนี้?

เรื่องเล่าวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบล็อกของตัวเองที่เขียนๆ หยุด ๆ มานานพอสมควร ถ้านับเวลาน่าจะเกิน 10 ปีได้แล้ว โพสแรก ตัวบล็อกมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยมีค่าโฆษณาจาก Google Ads ที่ติดไว้คอยเลี้ยงดู ไม่ได้เยอะ แต่เพียงพอที่จะจ่ายค่าโฮสและค่าโดเมนรายปีได้ ทั้ง ๆ ที่บางปีเขียนเรื่องใหม่ไปแค่ 1-2 เรื่องเท่านั้น ต้องขอบคุณคนคลิกเข้ามาดู ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมารายได้มาจากผู้ใช้งานเดสก์ท็อปเป็นหลัก


ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ไปอยู่ในแพลตฟอร์มโซลเชียลกันหมดแล้ว แต่แนวบล็อกหรือเว็บไซต์ก็ยังให้ความรู้สึกว่าชอบมากกว่า นั่งกดอ่าน feed ผ่าน RSS ก็ยังเป็นกิจวัตรประจำวันเหมือนเดิม คิดว่ายังคงต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ

เข้าเรื่องหลักเลยแล้วกัน เมื่อราวสองเดือนก่อนตอนที่เข้าไปดูรายงานของ Google Adsense มีข้อความแนะนำจากระบบประมาณว่า
เฮ้ย…ไม่ปรับปรุงเว็บของแกให้แสดงผลให้เป็นมิตรกับคนใช้มือถือหน่อยหรอ คนใช้เยอะนะ
เอารายละเอียดของ AMP (Accelerated Mobile Pages )ไปอ่าน แล้วลองทำดูซ่ะนะ เลยลองทำตามคำแนะนำ

ซึ่งโดยปรกติแล้วอะไรที่เขานิยม ใน WordPress ก็จะมีปลั๊กอินรองรับอยู่แล้ว
จากนั้นแค่เข้าไปโหลด ปลั๊กอิน มาติดตั้ง คลิก 2-3 ที ก็เสร็จ
ง่ายเช่นกันในการเอา Google Ads ฝั่งลงไปในระบบ เข้าไปด้วย

สิ่งที่ได้หลังจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา รายได้ใน Google Ads ผ่านมือถือแซงรายได้จากเดสก์ท็อปไปแล้ว ความจริงแล้วพอลองเข้าไปดูใน Google Analytic ดี ๆ จะพบว่าอุปกรณ์ที่เข้ามาในบล็อกนี้ก็เป็นโทรศัพท์มือถือระดับไฮเอนด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดสก์ท็อปมาได้สักพักใหญ่ ๆ แล้ว แต่เพิ่งจะมาแซงตอนปรับให้มีเพจสำหรับมือถือ

ดังนั้นในเดือนนี้ต้องขอบันทึกไว้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา 10 กว่าปี ตอนนี้รายได้จากคนใช้มือถือได้แซงฝั่งเดสก์ท็อปไปแล้ว คนอื่นอาจปรับตัวไปนานแล้ว แต่พวกไม่สนใจอะไรเพิ่งจะปรับตัวตาม (หมายถึงตัวเอง) เลยเพิ่งจะเห็นผล

แหล่งรายได้ของบล็อกนี้ จากโทรศัพท์มือถือมากกว่าเดสก์ท็อปแล้วในช่วงที่ผ่านมา

แต่ถ้าไปดูรายงานของทั่วโลกมือถือแซงเดสก์ท็อปไปตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ลิงค์ข่าว

ปล. ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าในอุตสาหกรรมเกม มือถือก็กำลังจะแซงเกมบนเดสก์ท็อปแล้วเช่นกัน

“ย้ำอีกที มือถือคืออุปกรณ์หลักของคนใช้อินเทอร์เน็ตนานแล้ว” ปรับตัวซะ

เมื่อถาม Alexa, Pi มีค่าเท่าไหร่ มาฟังคำตอบกัน

เราสามารถถาม Alexa เกี่ยวกับโจทย์ทางคณิคสาสตร์ได้ด้วย อาจจะประโยคสั้นๆที่ไม่ยาวมาก เช่น

  • Alexa, how many [units] are in [units]?
  • Alexa, what’s 10 plus 5?
  • Alexa, what’s 20 times 15?
  • Alexa, 50 factorial

แต่มีเรื่องสนุกที่คนชอบถาม Alexa คือ “What is the value of Pi?” (ผมถามไป What is the number of Pi?) คือค่าพายมีค่าเท่าไหร่? ซึ่งคำตอบที่ Alexa ตอบกลับมา นั้นยาวมากๆ ต้องนั่งฟังเป็นนาทีเลยทีเดียว 

3.141592653589793238462643383279502884197169399375105820974944592307816406286…

แต่ถ้าถามแบบทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงถึงตัวเลข “What is pi?” Alexa จะตอบกลับมาสั้นๆ

“The number pi is a mathematical constant, the ratio of a circle’s circumference to its diameter, commonly approximated as 3.14159.”

ยังมีเรื่องให้ลองอีกหลายอย่าง จะทยอยเอามาเล่าให้ฟังเรื่อยๆครับ

เมื่อ Alexa งอลไม่ยอมคุยด้วย

แกล้ง Alexa จนเธองอลไม่ยอมคุยกับเราแล้ว

สรุปคือ ถ้าเราออกคำสั่งเดิมๆ ซ้ำๆ 4-5 ครั้ง แล้วไม่ให้ข้อมูลที่เธอต้องการ มีความตั้งใจจะแกล้งเธอ สุดท้าย Alexa จะรู้ตัว แล้วจะ skip คำสั่งนั้นไปเลย

“ฉันงอลไม่คุยกับแกแล้ว”

(แต่ถ้าเปลี่ยนประโยคนิดหน่อย Alexa ก็จะกลับมาคุยกับเราเหมือนเดิมครับ)

หลังจากป้อนคำสั่งแบบข้างบนซ้ำๆไปหลายๆรอบ สุดท้าย Alexa ก็ไม่ตอบกลับ

MR.ROBOT ซีรี่ย์สนุกที่ขอแนะนำครับ

Mr. Robot (TV series)

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้นั่งดูซีรี่ย์เรื่อง MR.ROBOT อีกครั้ง หลังจากเคยดูมาแล้ว 2 ตอนเมื่อนานมาแล้ว แต่หยุดไปด้วยที่ยุ่งมาก เลยต้องกลับมาดูใหม่ตั้งแต่ต้น

เนื้อเรื่องโดยย่อ “เกี่ยวกับวิศกรหนุ่ม ที่กลางวันทำงานที่บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ส่วนกลางคืนเป็นแฮคเกอร์ ด้วยความสามารถในการแฮคที่เก่งมากๆ ทำให้เขาเข้าไปพัวพันกับกลุ่มแฮคเกอร์ที่มีอิทธิพล โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายระบบการเงินของโลก ด้วยการโจมตีศูนย์ข้อมูลของบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ดูแลข้อมูลทางด้านการเงินของคนเกือบทั้งโลก”

การเดินเรื่องใช้ตัวเอกบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เหมือนเราได้ยินความคิดของเขา (นึกถึงหนังไทยเรื่อง ฟรีแลนซ์ ก็ได้) บางเรื่องมันเสียดสีสังคมได้ดีมาก เช่น การใช้ชีวิตอยู่กับโลกโซเซียลเน็ตเวิร์ค ใครที่ไม่เล่นพวก FB, Instagram กลายเป็นคนประหลาด แต่ที่ประหลาดกว่า คือ นั้นเป็นช่องทางที่คุณเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณเองให้กับใครที่คุณก็ไม่รู้(แฮคเกอร์)โดยสมัครใจ

ที่น่าแปลกอีกอย่าง คือ ตัวพระเอกของเราเป็น โรคเกลียดการเข้าสังคม ไปไหนมาไหนต้องใส่ฮูดตลอด พูดน้อย ไม่ยอมแม้จะให้ใครแตะต้องตัวเขาด้วยซ้ำ ถึงขั้นต้องกินยาและรับการบำบัด แต่เขากลับรู้จักตัวตนของทุกคนที่อยู่รอบตัวเขาอย่างดีผ่านการแฮคข้อมูลของคนๆนั้น (ใช่แล้ว พระเอกมันแฮคทุกคน) ตอนที่พระเอกสารภาพว่าทำไมเขาต้องแฮค มันทำให้ตัวละครที่ดูเหมือนจะมีอำนาจมากๆในมือเป็นคนที่น่าสงสารมากๆในเวลาเดียวกัน

ช่วงตอนกลางๆของเรื่อง รู้สึกว่าหลายๆเรื่อง ตัวละครมันทำอะไรดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่เลย ทำให้รู้สึกเนื่อยๆ แต่…..พอเรื่องต่างๆเปิดเผยออกมาตอนช่วงท้ายๆ ทำให้เรื่องที่เคยคิดว่าไร้เหตุมันลงตัวมากๆ ซะงั้น…..

สรุปแนะนำให้ดูครับ สนุกมาก

ชอบ Quote นี้มากๆ ของก๊อบมาวางเลยนะ

What I’m about to tell you is top secret. A conspiracy bigger than all of us. There’s a powerful group of people out there that are secretly running the world. I’m talking about the guys no one knows about, the ones that are invisible. The top 1% of the top 1%, the guys that play God without permission. And now I think they’re following me.

Season 2 กำลังจะมาในเร็วๆนี้

https://www.youtube.com/watch?v=YibylhkLwGo

Mark Zuckerberg is a good explainer

ไม่รู้ว่า Facebook Profile ของ Mark Zuckerberg นั้น เขาเป็นคนเขียนเองหรือมีทีมงานช่วยดูแลให้ พยายามจะค้นดูแล้วก็ไม่เจอรายละเอียดส่วนนี้ เลยเดาว่าน่าจะทั้งสองอย่างรวมๆกัน เท่าที่เฝ้าติดตามมาตลอดนั้น ก็พบอะไรหลายๆอย่างจากโพสของเขาเหล่านั้นและได้เรียนรู้พอสมควร แต่สิ่งที่ชอบที่สุด ขอยกให้กับ…

ตัวอย่าง Mark Zuckerberg on Facebook

การใช้ภาษาอังกฤษของเขาครับ มันเรียบง่ายและเข้าใจได้ง่ายมากครับ ไม่ค่อยมีศัพท์แสง(Jargon)ให้ได้เจอเลย ทั้งๆที่บางเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะทางมากๆ มันทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักที่มีกันอยู่ทั่วโลกนั้น เข้าใจในสิ่งที่เขาจะสื่อสารได้ง่ายและมากขึ้นเยอะเลยทีเดียวครับ

ทำให้คิดไปว่าก่อนที่จะกด Post หรือ Publish ลงไปนั้น น่าจะมีการ rewrite ไปหลายรอบก่อนแน่ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่ามีทีมงานช่วยดูแลแน่ๆ ไม่งั้น Mark ก็เป็นคนที่สื่อสารได้ดีมากๆ เพราะถ้าเกิดโพสอะไรผิดพลาดไป มันจะเกิดผลกระทบในวงกว้างแน่นอน

แต่ก็มีบางโพสมันก็ดูเป็นเรื่องส่วนตัวธรรมดามากที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขาเป็นแค่เพื่อนเราคนหนึ่งบน Facebook และตัวเขาเองน่าจะเป็น CEO อันดับต้นๆที่สื่อสารกับผู้ใช้มากที่สุดในโลกด้วย CEO คนอื่นๆจะโผล่มาให้เห็นเฉพาะช่วงเวลาสำคัญๆของบริษัทเท่านั้น ไม่รายงานผลประกอบการ ก็เปิดตัวสินค้า

สรุปว่า Mark Zuckerberg (หรือทีมงาน) นั้นเป็น Explainer ที่เยี่ยมยอดมากๆ ตรงกับนิยามของหนังสือที่กำลังอ่านอยู่พอดีเลยนั้นคือ “Complicated Stuff in Simple Words” จะพยายามเรียนแบบก็แล้วกันครับ

MyPermissions ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของเราถูกใครดึงไปใช้งานบ้าง

MyPermissions เว็บไซต์ช่วยตรวจสอบบริการต่างๆดึงข้อมูลอะไรที่เป็นส่วนตัวของเราไปใช้บ้าง

หลายๆครั้งที่เราสมัครเข้าใช้งานเว็บไซต์ เกมส์ หรือบริการออนไลน์ตัวใหม่ๆ ด้วยบัญชีของ Facebook หรือ Twitter ตามแต่เจ้าของบริการจะเปิดให้เราเข้าใช้งานโดยการดึงข้อมูลของเราจาก social network ของเราเองมาใช้ ทำให้คนใช้งานก็สะดวก คนให้บริการก็ได้สมาชิกมากขึ้นจากความสะดวกนั้น จนหลายๆครั้งเราคนใช้งานไม่ได้ตรวจสอบดูเลยว่าในแต่ละครั้งบริการเหล่านั้นขอข้อมูลส่วนตัวอะไรของเราบ้าง และบางอันที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ก็ควรหยุดให้เขาเข้ามาดึงข้อมูลของเราไปใช้ (ข้อมูลส่วนตัวของฉันนะ)

ความเป็นส่วนตัว(permission) ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือผู้ให้บริการจะแนะนำบริการต่างๆได้ตรงตามความต้องการของเราเพราะเราให้ข้อมูลที่ละเอียด ส่วนข้อเสียก็คือบางเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัวมากๆเราก็ไม่อยากให้ใครได้ข้อมูลเหล่านั้นไป มันอาจจะหมายถึงความปลอดภัยทั้งทรัพย์สินและร่างกายของเรา ต้องระวังในการเปิดเผย ควรให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ถ้าเป็นคนที่ชอบท่องโลกอินเตอร์เน็ต ลองเล่นโน่นนี้นั้นไปเรื่อย ยากที่จะตามไปดูว่าให้ข้อมูลส่วนตัวของเราที่อยู่ใน social network ให้ใครไปบ้างและเขาได้ข้อมูลอะไรไปบ้าง ก็เป็นเรื่องน่ากังวลอยู่ไม่น้อย แล้วก็มาเจอเว็บไซต์นี้ครับ ตัวช่วยตรวจสอบ permission ให้เรา

เว็บไซต์ MyPermissions จะช่วยตรวจสอบให้เราว่าข้อมูลของเราใน social network เช่น Facebook, Twitter, Google+,Instagram ฯลฯ ถูกนำไปใช้ที่ไหนบ้าง และขอใช้ข้อมูลอะไรบ้าง เช่น location, contact list, photo เป็นต้น เยี่ยมมากๆ

ตัวอย่าง เข้าไปดูรายละเอียดการอนุญาติให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว สามารถเพิกถอนการเข้าถึงได้

เมื่อตรวจดูแล้วบ้างอันที่เราไม่ได้ใช้งานแล้วก็ควรหยุดการให้เข้าถึงข้อมูลของเรา ซึ่งเราสามารถเข้าไปแก้ไขและเพิกถอนสิทธิ์(revoke)การเข้าถึงข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์หรือบริการต่างๆที่ดึงไปใช้งานได้ ถ้าเราติดตั้งเป็น extension ของ MyPermission ใน browser ของเราก็จะมีการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการขอใช้ข้อมูลส่วนตัวของเรา ถือว่ามีประโยชน์มากๆครับ

เข้าไปใช้งาน MyPermissions ได้ที่เว็บไซต์ https://mypermissions.com

เกม Plants vs. Zombies Adventures ใน Facebook

Plants vs. Zombies

ช่วงนี้เล่นเกมนี้อยู่ครับ Plants vs. Zombies Adventures for Facebook ก่อนหน้านี้ได้เล่นใน iOS มาก่อนสนุกดีครับ ในเวอร์ชั่นใน Facebook นั้นแตกต่างจากเกมในอุปกรณ์พกพา (Android/iOS) อยู่บ้าง แต่คงคอนเซ็ปปลูกผักมายิงซอมบี้ที่กำลังจะเดินเข้าบ้าน

เป็นเกมง่ายๆ แต่เล่นไปเล่นมาก็ต้องใช้ความคิดและการวางแผนเหมือนกันนะ การออกแบบเกม Plants vs. Zombies ใน Facebook ตอนเริ่มเล่นนั้นทำได้งงมากๆ เพื่อนหลายคนเข้าไปครั้งเดียวก็ไม่เล่นต่อ เพราะงงกับระบบสอนวิธิีเล่น แต่อยากบอกว่าคลิกๆตามมันไปเรื่อยๆเดี๋ยวได้เอง จากนั้นก็มันส์ได้ Plants vs. Zombies for Facebook จะมีการเล่นอยู่สองส่วนคือ การดูแลบ้าน และ ออก Road Trip ไปเก็บตังค์ตามด่านต่างๆ

วิธีเล่นคร่าวๆคือเราปลูกผักที่บ้าน แล้วก็เอาขึ้นรถออกไปล่าซอมบี้เก็บตังค์มาอัพเกรดบ้าน เมื่อเลเวลสูงขึ้นซอมบี้จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ผักของเราก็จะถูกปลดล็อคชนิดใหม่ๆออกมาเรื่อยตามเลเวลของเราเช่นกัน การเลือกผักที่ถูกทางกับซอมบี้เป็นสิ่งสำคัญถ้าไม่ถูกทางก็เอาไม่อยู่ ยกตัวอย่าง

 Rocket Zombie มันมีจรวดติดหัวแถมมีเสก็ตอีกไม่ยอมกินผักด้วย ต้องเจอกับ Snow Pea ยิงทีเดียวจรวดหลุดหัวเลย

อีกตัวอย่าง Buckethead Zombie กับ  Football Zombie วิ่งเร็วกินเร็ว ผักตายหมด ยิงตายยาก ต้องมีตัวแก้ทางคือ  Magnet Plant จะดูดหมวกกันน๊อคมันออกแล้วยิงตายง่ายขึ้นเยอะ อื่นๆ Zombie ที่โดนแช่ในน้ำแข็งต้องเอา

 Flaming Pea ยิงทีเดียวแตกกระจาย

อันนี้เป็นสิ่งที่เล่นๆไปเดี๋ยวจะรู้เอง ไม่ใช่สูตรลับอะไร และขึ้นอยู่กับเทคนิคการวางแผนของแต่ละคนด้วย บางคนก็ชอบใช้ Wallnut ให้มันกิน แล้วเราก็ยิงไปเรื่อยๆ

มาเข้าเรื่องต่อไปดีกกว่าการเล่นแบบ Road Trip ในการเปลี่ยนด่านในแต่ละครั้งจะต้องมีการร้องขอให้เพื่อนช่วย ถ้าเพื่อนที่เรามีไม่พอตามจำนวนที่แต่ละด่านกำหนดเราสามารถจ่ายด้วย Zombuck(เงินในเกม) ได้ แต่พอด่านที่สูงขึ้นจำนวนเพื่อนที่ต้องขอให้ช่วยก็จะเยอะขึ้นด้วย และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายก็เยอะตามไปด้วย โดยเฉพาะหลังจากด่านที่ 7 จ่ายด้วย Gem(เพชรสีแดง) หาเก็บเพิ่มไม่ได้ ต้องจ่ายเงินจริงซื้อ แต่ถ้าหากเรามีเพื่อนเยอะเรื่องพวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร งั้นขอชวนเพื่อนมารวมกลุ่มกันไปออก Road Trip กันครับ

เข้ามา Add Friend กันได้ที่กรุ๊ป Plants vs. Zombies Player กันนะครับ https://www.facebook.com/groups/524489237605821/

อยากเล่นเกม Plants vs. Zombies for Facebook คลิกที่นี้ครับ https://apps.facebook.com/pvzadventures/?fb_source=search&ref=br_tf 

วิเคราะห์การใช้งาน Facebook ของคุณด้วย Wolfram|Alpha

Wolfram|Alpha เป็นระบบค้นหาคำตอบอัจริยะ มันเก่งขึ้นเรื่อยๆ Siri ของ Apple ก็ดึงข้อมูลบางส่วนจาก Wolfram|Alpha ไปใช้งาน ถ้าอยากรู้จักมันให้ดีขึ้นลองอ่านบทความเก่าๆ ใน Tag  Wolframalpha ได้ครับ ผมเขียนถึงมันอยู่บ้างและก็ได้ใช้งานอยู่เป็นระยะ ความสามารถล่าสุดที่น่าสนใจของ Wolfram|Alpha ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นาน คือ “Facebook report” ครับ ลองมาดูว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Facebook report by Wolfram|Alpha

Facebook report คือการวิเคราะห์การใช้งาน Faceook ของเรา โดยละเอียด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์

  • ข้อมูลส่วนตัว เกิดวันไหน ปีอะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดอีกครั้ง
  • Activity ในแต่ละปีที่ใช้งานมา อัตราการโพส แชร์ลิงค์ อัพโหลดภาพ
  • ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดในการโพส คำนวณคำที่ใช้โพส มีคีย์เวิร์ดอะไรเยอะที่สุดในโพส
  • เพื่อนคนไหนคอมเม้นต์ ใครแชร์ในโพสของคุณมากที่สุด
  • อัตราการใช้แอฟพิเคชั่น
  • ภาพไหนที่คุณโพสมีการคอมเมนต์และแชร์มากที่สุด
  • อัตราส่วนเพื่อนผู้หญิง-ผู้ชาย เฉลี่ยเพื่อนคุณมีสถานะอะไรบ้าง (โสด,แต่งงาน ฯลฯ)
  • ช่วงอายุของเพื่อน ใครแก่สุด ใครเเด็กสุด
  • เพื่อนอยู่ในประเทศอะไรบ้าง ใช้ภาษาอะไร ศาสนาอะไร
  • และอื่นๆ

วิธีการใช้งาน

เข้าไปที่เว็บไซต์ Wolfram|Alpha พิมพ์คำว่า facebook report ลงในช่องค้นหา enter

Facebook report

จากนั้นก็คลิกปุ่ม “Analyze My Facebook Data” ซึ่งระบบจะขออนุญาติเข้าถึงข้อมูล Facebook ของเราก็กดยอมรับไป สักพักระบบจะดึงข้อมูลของเราเข้ามา และรายงานผลการวิเคราะห์ให้ได้เห็น

Facebook report

ตัวอย่างการวิเคราะห์บัญชีของผมเอง คิดว่าถ้าเป็นบัญชี Wolfram|Alpha แบบ Professional คงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เพราะเทียบกับข้อมูลจากด้านบนของ Stephen Wolfram ของเขาเป็น account แบบ Pro ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงของเพื่อน และอื่นๆที่ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ผลการวิเคราะห์ไปที่ social network อย่าง facebook, twitter, google+, linkedin ฯลฯ ได้ทันที

Share ผลการวิเคราะห์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wolframalpha.com/facebook

บทความ “ทำเงินบนโลกไอที (84) : So.cl อีกทางเลือกที่ไม่ใช่เฟซบุ๊ก”

เป็นบทความที่ได้เขียนไว้กับทาง CyberBiz : ผู้จัดการ Online ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ยังไม่ได้เอามาบันทึกไว้ในนี้เลย ก็เลยมาเขียนถึงสั้นๆเก็บไว้

นั่งเล่น so.cl อยู่หลายวัน พยายามหาแง่มุมต่างๆของมัน เขียนส่งไปทั้งข้อความรวมกับภาพประกอบ 8 หน้ากระดาษ A4 เลยทีเดียว น่าจะยาวสุดเท่าที่เคยเขียนอะไรแนวนี้แล้วล่ะ กว่าจะเขียนออกมาได้ใช้พลังงานไปเยอะพอสมควรเลย ได้ค่าเรื่องมากินขนมนิดหน่อย แต่ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องนั้นเท่าไหร่ ตอนตอบตกลงไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีค่าเรื่องให้ด้วย แต่รู้สึกดีที่ได้ทำมากกว่า ขอบคุณ @goople ที่ให้โอกาสได้ทำครับ

ตัดมาแปะไว้บางส่วน ตามไปอ่านต้นฉบับได้ที่ ลิงค์นี้ ครับ

ทำความรู้จัก So.cl สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาของไมโครซอฟท์

       ***ทำความรู้จัก So.cl สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาของไมโครซอฟท์
(บทความโดย พงษ์ศักดิ์ สาระภักดี)

ก่อนที่เราจะหาช่องทางทำเงินจากเว็บไซต์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นให้ได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคงต้องรู้ก่อนว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ละส่วนนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ง่ายต่อการนำไปต่อยอด หรือนำไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งขึ้นได้ยังไง ดังนั้นการแนะนำสิ่งต่างเหล่านี้ก่อน น่าจะเป็นการชี้นำสู่ช่องทางทำเงินที่ดีที่สุด ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก So.cl กันก่อนดีกว่าครับ

 So.cl (อ่านว่า “social”) เป็นสังคมออนไลน์จากไมโครซอฟท์ที่เปิดให้คนทั่วไปได้ใช้งานเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา หลังจากที่ปล่อยให้ใช้ในวงจำกัดมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 ไมโครซอฟท์ออกตัวชัดเจนว่าไม่ได้ออกแบบมาเพื่อแข่งกับ Facebook หรือ Twitter ที่ถือว่าเป็นสองเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลกในตอนนี้

Facebook/Twitter ถูกเรียกว่าเป็น ”เครือข่ายทางสังคม”(social networking) ซึ่งเราค่อนข้างคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เราสร้างสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย ข้อความ คอมเม้นท์ ภาพถ่าย เกม ฯลฯ แต่ไมโครซอฟท์วางตัวให้ So.cl เป็น “สังคมแห่งการค้นหา” (social searching) กล่าวคือ สังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้งานจะปฏิส้มพันธ์กันด้วยการแชร์ผลการค้นหาในสิ่งที่ตัวเองสนใจให้กันและกัน จะเห็นได้ว่าทั้งสองอย่างนี้มีจุดเหมือนและจุดต่างกันอยู่ในตัว

So.cl เกิดขึ้นจาก FUSE Labs ของไมโครซอฟท์ (ตัวอย่างผลงานของแล็บนี้ เช่น Docs.com, CompanyCrowd, Bing Social, Montage, Spindex เป็นต้น) เราจะเห็นว่าในปัจจุบันนั้นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นในวัยเรียน ทางทีมงานของ Fuse Labs มองเห็นถึงศักยภาพของสังคมออนไลน์เป็นอย่างดี จึงพยายามที่จะเปลี่ยนเว็บไซต์ในลักษณะนี้ให้เข้าไปอยู่ในห้องเรียนให้ได้

So.cl จึงถูกออกแบบมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์สำหรับนักเรียน/นักศึกษาโดยเฉพาะ เป็นสังคมออนไลน์ที่จะแชร์ประสบการณ์ทางด้านการศึกษา ว่าในขณะนั้นพวกเขากำลังเรียนรู้อะไร อย่างไรบ้างโดยสามารถที่จะโพสเนื้อหาที่มีองค์ประกอบได้หลายอย่างพร้อมกัน เช่น ผลการค้นหา รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ ลิงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุดให้เพื่อนๆในกลุ่ม หรือในชั้นเรียนของตัวเอง เพื่อให้เกิดเป็นศูนย์รวมของการเรียนรู้ร่วมกัน โดยที่นักเรียน/นักศึกษาสามารถที่จะสร้างและปรับแต่งชุมชนออนไลน์ใน So.cl ให้เหมาะสมกับความสนใจของตัวเองและเพื่อนๆได้เอง

Mark Zuckerberg – Inside Facebook สารคดีจาก BBC

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก: ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ, Facebook

ภาพยนต์สารคดี Mark Zuckerberg – Inside Facebook ของ BBC ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2011 ความยาว 59 นาที ออนไลน์มาเป็นเดือนแล้วแต่ไม่มีเวลาได้ดูวันนี้นึกยังไงไม่รู้มาเปิดดู เรื่องอาจจะเป็นเรื่องที่เราพอรู้อยู่บ้างแล้ว แต่ก็ดูได้เพลินๆ เนื้อหามีบทสัมภาษณ์พิเศษของ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก, อาจารย์ ม.ฮาร์วาร์ด, เพื่อนสมัยเรียนมหาลัย(Joe Green-จำไม่ได้ว่าตาคนนี้อยู่ในหนังด้วยหรือเปล่า?) ,พนักงานใน Facebook  ประวัติความเป็นมาของ Facebook มีการหาความจริงจากหนังเรื่อง Social Network ด้วย (เป็นหนังอีกเรื่องที่เราชอบมาก) ที่สร้างจากหนังสือที่มองในมุมของคนคนเดียว มีข้อมูลค่อนข้างเป็นปัจจุบันเพราะมีทั้ง Timeline ที่เพิ่งเปิดตัวไป และสำนักงานแห่งใหม่

ในสารคดีชุดนี้แสดงให้เห็นว่า Facebook เอาข้อมูลของผู้ใช้อย่างเราไปทำมาหากินยังไง การโฆษณาที่เจาะเฉพาะกลุ่มได้ตรงเป้าที่สุดอย่างที่ Google เจ้าพ่อโฆษณาออนไลน์ทำไม่ได้ แม้ว่า Facebook จะเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปใช้ แต่ก็เหมือนว่าทุกคนก็เต็มใจให้(หรือไม่รู้ว่าเอาไปใช้) อาจจะเป็นเพราะเราก็ได้ประโยชน์จาก Facebook เหมือนกันจะมองว่า Win Win ก็คงได้เพราะมันเป็นที่ทำให้เราได้พบปะเพื่อนของเรา และนี้อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เรามองข้ามเรื่องความเป็นส่วนตัวไป

เข้าไปดูสารคดีชุดนี้ได้ที่นี้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=tlQbtNn3-vI

Exit mobile version