พาเที่ยวงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553 (National Science and Technology Fair 2010) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” วันที่ 7 – 22 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ที่จริงไปเฝ้าบูธมาตั้งแต่วันพุธที่แล้ว แอบแวะไปเดินเล่นในงานมา มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ในงานเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ ครู นักเรียน ผู้ใหญ่ทั่วไปก็ควรไปเยี่ยมชมสักครั้งสร้างแรงบันดาลใจ และความรู้ได้มากมาย เอารูปมาให้ดู บรรยายสั้นๆใต้รูปให้พอเข้าใจนะครับ ยังมีเวลาอีก 4 วัน ใครยังไม่ไปควรแวะไปดูหน่อยนะครับ งานเยี่ยมมากๆ

บรรยากาศ งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

ภาพแรกอยู่ในส่วนของ เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ

น้องเด็กในชั้นประถมกำลังทดลองเล่น กระดาษกราฟอิเล็กทรอนิคสำหรับผู้พิการตาบอด

กระดานกราฟที่ช่วยผู้ตาบอดเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ผ่านทางการฟังเสียงและการสัมผัสปุ่ม น้องๆน่ารักมากระหว่างทดลองเครื่องมือ หลับตาด้วยเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกว่าถ้าตาบอดการเรียนรู้ทำได้ยากแค่ไหน จะได้เข้าใจและเห็นใจคนตาบอด

ทดลองเขียนอักษรเบล
สัญลักษณ์แทนตัวอักษร
อุปกรณ์ในการเขียนอักษรเบล

ส่วนนี้เป็นการทดลองเขียนอักษรเบล วิธีเขียนลำบากพอควร ที่โต๊ะจะมีบอกว่าอักษรแต่ละตัวเขียนแบบไหน เวลาเขียนจะใช้แท่งกดลงกระดาษบนแท่นพิมพ์ที่เป็นจุด 2×3 และต้องเขียนกลับด้าน เพราะเวลาอ่านจะพลิกกลับอีกด้าน เพื่อใช้นิ้วคล้ำจุดที่นูนขึ้นมา

มหัศจรรย์ดวงตา
มีภาพแปลกๆให้ดู

ภาพที่มองได้หลายมุมมอง มีให้ดูหลายรูป และบางอันเคยเห็นในเว็บบ้างแล้ว

สนามยิงปืนเลเซอร์

ตรงนี้เด็กเข้าคิวเล่นกันเยอะเลย เป็นสนามยิงปืนเลเซอร์ เมื่อยิงจะมีเสียง แล้วผลคะแนน ก็จะปรากฏบนจอทันที

ผลิตภํณฑ์จากฮาร์ดดิสพัง

ฮาร์ดดิสที่พังแล้วเก็บข้อมูลไม่ได้แต่มอเตอร์มันยังหมุนได้ เขาก็เอามาทำอะไรต่างๆได้มากมาย ทำหุ่นเล่นดนตรี เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ

เครื่องเล่นห่วงกล

เครื่องเล่นห่วงกล กว่าจะเอาออกได้นี้ต้องใช้เวลาพอดูเลย

แผนที่กรุงเทพจากดาวเทียม

ไปหาดูว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ตรงไหน

ดาราศาสตร์

ส่วนของดาราศาสตร์ ทำความรู้จักดาวต่างๆ ส่วนต่างๆของจรวด ระบบสุริยะ ฯฯ

Augmented reality

ระบบ Augmented reality เชื่อมระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน

พับกระดาษ

พับกระดาษ เพิ่มความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จะได้รู้ว่ากระดาษ

เรียนรู้เรื่องแสง

เรียนรู้เรื่องแสง มีหลายอย่างให้เรียนรู้ด้านใน การหักเหของแสง การผสมสีของแสง ทางเดินวงกตที่ทำจากกระจกเงา การเดินของแสงใน fiber optic

หนังสามมิติ

มีการอธิบายถึงการทำงานของภาพ 3 มิติ และฉายหนังสั้น 3 มิติ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ดูแล้วสนุกดี เพลินเลยทีเดียว

รถโตโยต้า ผ่าครึ่ง
ภาพรถยนต์

รถยนต์ ที่ผ่าให้เห็นถึงองค์ประกอบภายใน เบาะนั่งแบบต่างๆ

นาโนเทคโนโลยี

อธิบาย และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี

ส่วนของ TK Park มี iPad ให้เล่นด้วย

iPad ตรงอุทยานการเรียนรู้ TK Park มีหนังสือภาษาไทยให้ลองอ่านเล่น (พบว่า iPad มี Cydia ด้วย)

ยังมีอีกหลายจุดที่ผมไม่ได้ไป งานใหญ่มาก เดินทั้งวันก็ไม่หมด ถ้าจะให้ดีต้องมาหลายวัน เด็กๆมาแทบจะทั่วประเทศ โดนเด็กตั้งคำตามว่า “พี่ค่ะ อันนี้ตัวแปรต้น คืออะไร” ตอบไม่ถูกเลยทีเดียว

แผนที่ ไบเทค บางนา
ดู ไบเทค บางนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nst2010.com/index.php

GooReader อ่านหนังสือจาก Google Books

GooReader

GooReader เป็นโปรแกรมที่ต้องติดตั้งลงเครื่อง ความสามารถของมันคือค้นหาหนังสือจาก Google Books แล้วเปิดอ่านได้เลย ถ้าใครต้องการบันทึกเป็นไฟล์ PDF ก็ทำได้ แต่ต้องเป็นเวอร์ชั่นจ่ายเงิน($19.95)

สิ่งที่ชอบคือมันคัดแยกหนังสืออกให้ด้วย โดยติดป้ายสีไว้ว่าหนังสือเป็นแบบ อ่านได้หมด(เขียว) เปิดอ่านได้บางส่วน(เหลือง)  หรือเปิดไม่ได้(สีแดง) ถ้าต้องการหาเฉพาะหนังสือที่อ่านได้หมด ก็เลือกได้ โดยติ๊กตรง Only Books with Full Views

Only Books full views

ตัวอย่าง ลองเปิดดูหนังสือ มันสามารถหมุนได้อิสระเลย ย่อ ขยายได้

เปิดดูหนังสือ

วีดีโอแนะนำ

ดาวน์โหลดโปรแกรม https://gooreader.com
via : https://www.downloadsquad.com

ชอบปุ่มนี้จัง Save in Google Docs

Save in Google Docs

เวลาได้รับไฟล์เอกสารทางอีเมล ที่ไม่อยากโหลดลงเครื่อง ตรงไฟล์แนบ ผมจะใช้วิธีคลิก view อ่านเสร็จแล้ว ก็คลิก Save in Google Docs ไปเลย เวลาค้นไปค้นใน docs ก่อน สะดวกดี ที่ไม่ต้องเสียเวลาโหลด ไม่ต้องเปิด PDF Reader และไม่ต้องเปลื้องเนื้อที่คอม

หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

บันทึก 380 วงจรไอซี

“หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี” หนังสือเล่มนี้อยู่ในห้องแล็ปมานานแค่ไหนแล้วผมไม่รู้ ดูสภาพภายนอกว่าเยินแล้ว ด้านในยิ่งกว่า ผ่านการเปิด การซ่อมนับครั้งไม่ถ้วน ผมเชื่อว่าใครที่เคยทำเล็ปในห้อง BERL (Bioelectronics) ต้องเคยได้ใช้บริการมันแน่นอน เนื้อหาข้างในเพียงพอต่อการเรียนรู้วงจรไอซีสำหรับคนไม่ได้เรียนวิศวกรรมไฟฟ้ามาอย่างผม แม้แต่คนที่จบวิศวะมาก็ต้องเปิดทบทวนบ่อยๆเมื่อจะใช้งานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า อีกอย่างที่ผมชอบมากคือมันถูกเขียนขึ้นด้วยลายมือ ให้อารมณ์เหมือนดูหนังสือออกแบบโครงสร้างตึกของสถาปนิก อ่านง่าย ราคาที่ปก 50 บาท(ไม่รู้ราคาขายในปีไหน)

เนื้อหาหนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

ผมพยายามเดินหาในร้านหนังสือว่ายังมีการตีพิมพ์อีกบ้างไหม แต่ไม่เจอ สุดท้ายก็เลยต้องเอาไปถ่ายเอกสารเก็บไว้ให้ตัวเองเล่มหนึ่ง ให้ห้องแล็ปอีกเล่ม เผื่อมันจะอยู่คงทนขึ้น จะได้มีตัวสำรองให้คนที่จะเข้ามาทำงานในเล็ปได้ใช้งานมันต่อไป ก่อนตัวจริงจะขาดหายไปเสียก่อน

หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

หวังว่ากลับมาคราวหน้ามันจะยังอยู่ และยังถูกใช้งาน

(เฉพาะนิสิตจุฬาฯ)ฟรีหนังสือ E-book มากกว่า 7 พันรายการ

CRCnetBASE.com รวมหนังสือออนไลน์มากกว่า 7 พันรายการ

สำหรับนิสิตและบุคลากรในจุฬาฯเท่านั้นครับ รวมหนังสืออีบุ๊ค แบบ PDF ไฟล์ ให้โหลดมากกว่า 7 พันรายการฟรี เท่าที่เข้าไปเช็คดูมีเกือบทุกสาขา ลองก็อปปี้แต่ละหมวดมาให้ดู

All Subjects (7314)

  • Biomedical Science (553)
  • Business & Management (715)
  • Chemical Engineering (163)
  • Chemistry (809)
  • Clean Tech (159)
  • Computer Science & Engineering (302)
  • Economics (769)
  • Engineering – Civil (373)
  • Engineering – Electrical (782)
  • Engineering – General (134)
  • Engineering – Mechanical (380)
  • Engineering – Mining (28)
  • Environmental Science & Engineering (626)
  • Ergonomics & Human Factors (134)
  • Food & Nutrition (587)
  • Forensics & Criminal Justice (288)
  • Geoscience (29)
  • Healthcare (106)
  • Homeland Security (80)
  • Industrial Engineering & Manufacturing (256)
  • Information Technology (419)
  • Life Science (774)
  • Material Science (491)
  • Math (452)
  • Medicine (367)
  • Nanoscience & Technology (117)
  • Occupational Health & Safety (114)
  • Pharmaceutical Science & Regulation (271)
  • Physics (409)
  • Polymer Science (102)
  • Public Administration & Public Policy (71)
  • Social Sciences (543)
  • Statistics (287)
  • Water Science & Engineering (219)

เข้าไปโหลดได้เลยที่  https://www.crcnetbase.com ใครที่ไม่ได้ใช้เน็ตภายในจุฬาฯ ก็ใช้ VPN เข้ามาโหลดได้ครับ

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง

THE RISE OF NANOTECH

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง
Scientific American : ดร.ยุทธนา  ตันติรุ่งโรจน์ชัย แปล
สำนักพิมพ์มติชน ,ตุลาคม 2552  ราคา 240 บาท

หนังสือเล่มนี้ เห็นผ่านตามานานแล้ว ได้เปิดดูสารบัญบ้าง แต่ยังไม่มีแรงจูงใจ ที่จะซื้อมาอ่าน หลังจากได้เขียนบทความใน Biomed.in.th เรื่องการใช้ nanopatch เป็นตัวให้วัคซีน เลยนึกอยากรู้จักเรื่องนาโนเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น และผมไม่อยากอ่านหนังสือที่ออกแนวเป็นหนังสือเรียนมากจนเกินไป หนังสือเล่มนี้น่าจะตอบโจทย์ เรื่องที่อยากรู้ ได้พอควร อาจจะไม่เท่าหนังสือเล่มโตในห้องสมุด

สารบัญ อาจเพิ่มแรงจูงใจ ให้อยากอ่านมากขึ้น

หน่วยย่อยนาโน

  • ยังมีที่ว่างอยู่อีกมาก
  • ศิลปะการผลิตโครงสร้างขนาดเล็ก
  • ตัวต่อเลโก้โมเลกุล

เครื่องจักรมีชีวิต

  • นาโนเทคโนโลยีของเกลียวคู่
  • กำเนิดคอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ

วงจรขนาดเล็กที่สุด

  • โครงข่ายนาโนคาร์บอนจุดประกายอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใหม่
  • คำสัญญาของพลาสมอนิกส์
  • วงจรจิ๋วมหัศจรรย์

การเดินทางอันน่าอัศจรรย์

  • สิ่งเล็กๆ มีค่ามากมายในทางการแพทย์
  • พ่อมดนาโน
  • เกี่ยวกับผู้แปล

เนื้อหาแต่ละบท เขียนโดยนักวิทยาศาตร์แต่ละคนแตกต่างกันไป อ่านได้แบบเรื่อย เชิงพรรณา ไม่มีสูตรฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ให้ปวดหัว แต่ละบทจะมีแหล่งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ในตอนท้ายของบท หากสนใจในบทนั้นๆเป็นพิเศษก็สามารถตามไปอ่านต่อได้

รีวิว Kindle DX เครื่องอ่านอีบุ๊คจอใหญ่

kindle vs kindle dx

Kindle คือ เครื่องอ่าน e-book ของ Amazon ที่ออกมาขายได้สักพักหนึ่งแล้วตอนแรกดูจะไม่ค่อยมีอะไรน่าตื่นเต้น ไม่เหมือนการเปิดตัว iPhone ที่ทำให้วงการมือถือทั่วโลกสั่นสะเทือน แต่อย่างไรก็ตาม Kindle กับทำให้ทุกคนประหลาดใจที่มียอดขายสูงมาก ซึ่งมีผู้ประเมินว่าในสิ้นปีนี้ยอดขายอาจถึง 1 ล้านเครื่องอย่างแน่นอนโดยมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนสูงวัย Kindle ได้ออกสู่ตลาดแล้วสามรุ่นคือ “Kindle 1,2,DX” ความแตกต่างของ 1 , 2 กับรุ่น DX อย่างเห็นได้ชัดคือขนาดที่ใหญ่ขึ้นจาก 6 นิ้ว เป็น 9.7 นิ้ว  การอับเกรดเพิ่มเข้ามาคือสามารถอ่านไฟล์ PDF ได้มีความจุเพิ่มขึ้นเป็น 3.3 GB ทำให้เก็บ e-book ได้มากถึง 3,500 เล่มมากว่ารุ่นที่ 1,2 ที่เก็บได้ประมาณ 1,500 เล่ม Jeff Bezos ผู้เป็นคนเปิดตัวเจ้า Kindle DX ได้บอกว่าเจ้า DX รุ่นใหม่ นี้ยังเหมาะที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ ราคา 489$ (17,115฿) รุ่นเก่าราคา 359$ (12,565฿)

Kindle DX สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้

สมาชิกของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์และวอชิงตันโพสต์ สามารถที่จะซื้อ Kindle DX ได้ในราคาพิเศษอีกด้วยคงจะเริ่มหมดยุคของหนังสือที่กระดาษแล้วจริงๆ
นอกจากนั้นสามารถโหลด e-book ต่างๆใน Kindle store ที่มีกว่า 275,000 เล่มได้ผ่านทางเครือขาย 3G ในราคา 10฿(350฿)หรือน้อยกว่า พิเศษกว่านั้นยังสามารถที่จะอ่าน blog ผ่าน RSS ได้อีกด้วยดูการเทียบขนาดของ Kindle กับ kindle DX

ด้านหลัง

kindle กับ kindle DX ด้านหลัง

ด้านหน้า

kindle กับ kindle DX ด้านหน้า

ด้านข้าง

kindle กับ kindle DX ขอบด้านบน

ความสามารถอีกอย่างที่ถูกอับเกรดในรุ่น Kindle DX คือ ความสามารถ auto-rotation อ่านด้านตั้งหรือนอนก็ได้

อ่านในแนวตั้ง

kindle DX อ่านในแนวตั้ง

อ่านในแนวนอน

kindle DX อ่านในแนวนอน

ในรุ่นที่ถัดไปของ kindle อาจจะมีการพัฒนาให้สามารถอ่านไฟล์อื่นๆได้มากขึ้น ราคาควรที่จะถูกกว่านี้นะแพงไปและข้อจำกัดของ Kindle DX คือ “No panning, no zooming, no scrolling” ครับ แต่จะเข้ามาขายในไทยบ้างไหมนะ

ข้อมูลจาก https://gizmodo.com/tag/kindle/

“No panning, no zooming, no scrolling”

มาเปลี่ยน Notebook เป็น Kindle DX ไว้อ่าน E-book ดีกว่า

notebook-kindledx1

Kindle เป็นผลิตภัณฑ์ของ Amazon ที่ออกมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มันเป็นเครื่องอ่าน e-book ที่สั่งซื่อผ่านบริการของ Amazon ที่ไทยคงต้องรออีกนานที่จะมีการวางขาย(หรืออาจจะไม่มาเลยก็ได้) เมื่อเร็วๆนี้เขาได้ออกรุ่นที่สอง คือ Kindle DX ที่ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 9.7 นิ้ว (เดิม 6 นิ้ว) ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากได้เจ้าเครื่องอ่าน e-book ตัวนี้ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นวารสารทางวิชาการ หนังสือออนไลน์ ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรี และไม่ฟรี ทั้งใหม่ ทันสมัย ล้วนอยู่ในรูป PDF ทั้งสิ้น และช่วงนี้ก็มีการรณรงค์อย่างหนักเรื่องการลดใช้กระดาษ การอ่านหนังสือในรูปของ e-book จึงเป็นทางเลือกที่ดี จากประสบการณ์จริงผมก็ใช้การอ่าน e-book จาก notebook ผมจะขอแนะนำการอ่านหนังสือ e-book โดยใช้ notebook ให้คนอื่นได้ลองทำดู ง่าย และหลายคนคงคิดว่ามีแค่นี้เองหรอ

  1. ติดตั้ง Adobe Reader ในเครื่องก่อนซึ่งคิดว่าทุกเครื่องน่าจะมีอยู่แล้ว
  2. เปิดไฟล์ e-book ที่จะอ่าน แล้วกด Ctrl + L เพื่อให้อยู่ในโหมด full screen
  3. กด Ctrl + 1 หรือ 2 หรือ 3 เพื่อปรับให้ขนาดของเอกสารใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
  4. กด Fn + F7 แล้วแต่เครื่องครับ อันนี้เพื่อปรับแสงของหน้าจอลง เวลาอ่านจะได้สบายตา
  5. เริ่มอ่านได้เลยครับ ควบคุมเอกสาร โดยเลื่อนขึ้น-ลงใช้ลูกศรขึ้นลง เปลี่ยนหน้าใช้ลูกศร ซ้าย-ขวา

ง่ายไหมละครับพี่น้อง คราวนี้ก็ได้ Kindle DX มาอยู่ในมือแล้วแถมจอใหญ่กว่าอีก ตั้ง 13 นิ้ว

EndNote X2 โปรแกรมทำเอกสารอ้างอิง ตอนที่ 1

endnote-x2

อัพเดตข้อมูล

ล่าสุดตอนนี้ มีให้โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด EndNote X5 แล้วนะครับ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/endnotex5.html และ ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเวอร์ชั่นที่เราขอไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง แนะนำให้เข้าไปดูที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/ ครับ

EndNote เป็นโปรแกรม Reference management software ช่วยให้การทำเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม ให้ง่ายขึ้นอย่างมาก สร้างโดย The Thomson Corporation มีทั้งรุ่น Windows และ Mac OS X การทำเอกสารอ้างอิงในงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆนั้น แต่ละเล่มมีรูปแบบของเอกสารอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน คงเป็นการยากถ้าต้องมาแก้ไขรูปแบบของเอกสารอ้างอิงทุกๆครั้งที่จะเปลี่ยนวารสารในการตีพิมพ์ซึ่งโปรแกรม EndNote สามารถช่วยให้การเปลี่ยนรูปแบบเป็นไปอย่างง่าย สำหรับรูปแบบที่ จุฬาฯ ใช้อยู่คือ แบบ vancouver ครับ โปรแกรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ทาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ จึงจัดซื้อมาเพื่อบริการนิสิตจุฬาฯ และอาจารย์ โดยเฉพาะ สามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้งที่เครื่องตัวเองได้เลยดาวน์โหลดได้ที่

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก่อนติดตั้งคุณต้อง e-mail ไปขอ password จากภารกิจสนับสนุนการวิจัย ศูนย์วิททรัพยากรจุฬาฯ อีเมล rss@car.chula.ac.th ถ้าใช้อีเมลล์ของนิสิตจุฬาฯ จะตอบกลับมาเร็วครับ ถ้าเป็นอีเมลล์อย่างอื่นอาจจะนานหน่อยเพราะต้องรอการยืนยันจากคณะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ใช้โปรแกรม EndNote X5 อย่างถูกลิขสิทธิ์แล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ตามไปดูตอนที่ 2 การใช้งานเบื้องต้น https://www.amphur.in.th/reference-manager-endnote/

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สั่งหนังสือจาก Amazon นะครับ

amazon-chula-book

วันนี้แวะเข้าไปดูหนังสือที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ ขณะที่เดินไปเรื่อยอยู่นั้นที่หมวดหนังสือต่างประเทศเหลือบไปเห็นพี่พนักงานคนหนึ่งกำลังหนังค้นหาหนังสือจาก เว็บ Amazon.com คงไม่ต้องบรรยายให้มากความนะครับว่าเว็บนี้ทำอะไรบ้างเขาเป็นบริษัทธุรกิจออนไลน์ที่ใหญ่มากๆ มีบริการต่างๆมากมาย เช่น เพลง หนังสือ หนัง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก และบริการออนไลน์อื่นๆอีกเพียบ ฯลฯ ผมเลยเข้าไปถามจากเจ้าหน้าที่ว่าที่ศูนย์หนังสือสั่งหนังสือผ่านทาง amazon หรือครับ ได้คำตอบว่า ปกติถ้าสั่งเยอะหนังสือชุดเดียวกัน ก็สั่งผ่านสำนักพิมพ์โดยตรง ถ้าสั่งน้อย และเป็นของสำนักพิมพ์ก็ จะสั่งผ่านทาง amazon และที่ศูนย์หนังสือก็มี บริการสั่งหนังสือให้ด้วย เยี่ยมเลยครับ จากกรณีนี้ก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับแต่ผมรู้สึกว่าธุรกิจออนไลน์ทำเงินได้อยากมาก และยังขายของได้ทั่วโลกอีกด้วย อินเตอร์เน็ตนี้มันสุดยอดจริงๆครับ

Exit mobile version