แจก Desktop Background ของ Windows 7 RC

windows7-wallpaper
windows7-wallpaper

หลังจากที่ Microsoft ปล่อย Windows 7 RC ออกมา ผมก็ทำการอับเดตจากตัว beta เป็น RC อย่างไม่รอช้า สังเกตเห็นว่าตัวที่ให้คลิก feedback ที่ topbar ก็หายไป และได้มี desktop background เพิ่มมาอีกหลายตัว แต่ละชุดสวยงามมากครับ ทั้งภาพ computer graphic หรือภาพจริง และแน่นอนปลากัดน้อยของไทยก็ยังมีอยู่ ดังนั้นจึงนำมาให้ดูและดาวน์โหลดไปใช้งาน ใครชอบสะสม wallpaper สวยๆงานนี้ไม่ควรพลาด มีหลายชุด แต่ละชุดมี 6 ภาพ ไปดูกัน

ชุด Architecture [Download]

Architecture

ชุด Characters [Download]

Characters

ชุด Landscapes [Download]

Landscapes

ชุด Nature [Download]

Nature

ชุด Scenes [Download]

Scenes

ชุด Windows [Download]

Windows

ดาวน์โหลดทั้งหมด

หลักสูตรการใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT

ผมได้รับอีเมลล์จากพี่ร่วมงานในแล็บ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาประชาสัมพันธ์ต่อครับ

เรียนท่านวิทยากร, ท่านผู้เชี่ยวชาญ และท่านที่สนใจ

จากการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่องของรูปแบบข้อกำหนดต่าง ๆ โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT วันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้ว ได้ทำการประมวลผลหลักสูตร การใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โดยได้กำหนด เปิดอบรม ในวันที่ 18,19,25 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีพิธีเปิดโครงการฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว จึงขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้กับท่านผู้สนใจอบรม และทางผมจะส่งหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียนเชิญทุกท่านต่อไปครับ

==================================================

หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการมองเห็น
จำนวนชั่วโมง 18 ชั่วโมง

สถานที่ฝึกอบรม: ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้น 8 (ลงสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี)

วัตถุประสงค์
1. ผู้อบรมสามารถบอกถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. ผู้อบรมมีทักษะเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ผู้อบรมสามารถค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ได้
4. ผู้อบรมสามารถสื่อสารข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ผู้อบรมสามารถใช้หนังสือระบบเดซี่ได้

ความต้องการของระบบ
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือสูงกว่า
2. โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
3. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai Text to Speech) ตาทิพย์
4. อินเตอร์เน็ต

หัวข้อการอบรม
1. ความสำคัญของ ICT ต่อคนพิการทางการมองเห็น
2. คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
3. การประยุกต์ใช้ ICT ในชีวิตประจำวัน
4. การใช้แป้นพิมพ์, การใช้ Mouse และอุปกรณ์ต่างๆ
5. การใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
5.1. การติดตั้งโปรแกรม
5.2. การตั้งค่าการทำงาน
6. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Text to Speech ) ตาทิพย์
7. การใช้งานอินเตอร์เน็ต
7.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่าย
7.2. การใช้งานโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
7.3. การตั้งค่าระบบการรักษาความปลอดภัย (Security Setting)
7.4. การใช้งาน Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล
7.5. การนำข้อมูลจาก Internet เช่น รูปภาพไปใช้งาน
7.6. การรับส่ง Electronic Mail
7.7. เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
7.8. ข้อพึงระมัดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต
8. แนะนำ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
9. แนะนำให้รู้จัก E-Commerce
10. แนะนำการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสร้างโอกาสและอาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

==============================================

ประชาสัมพันธ์ แบนเนอร์โครงการฯ

ท่านใดที่สามารถร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ สามารถทำได้โดย Copy โค้ด HTML ต่อไปนี้เพื่อติดตั้งยังเว็บไซต์ท่าน

<a href=”https://www.equitable-society.com” title=”โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
<img src=”https://www.equitable-society.com/images/equitablesociety.gif” border=”0″ alt=”
โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
</a>

ขอขอบพระคุณทุกความคิดเห็น ทุกคนร่วมมือ เป็นอย่างสูง

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 944 0009 ต่อ 102


Best Regards,

ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์
Chalaivate Pipatpannawong

ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานกระทรวง ICT

www.Equitable-Society.com

Managing Director

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

หายไปนานเพราะอะไร?

น่าเบื่อ

1. เน็ตที่หอพักนิสิตจุฬาฯ ใช่ไม่ได้เลยทำอะไรไม่ได้
2. ทำงานช่วง เสาร์-อาทิตย์
3. ทำงานวิจัย ใกล้วันตายแล้ว
4. ติดตามสถานะการณ์บ้านเมืองอย่างใกล้ชิด (ดูการอภิปราย)

ทุกอย่างเป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

เว็บไซต์ช่วยชาติ พัฒนาจาก WordPress

เว็บไซต์ช่วยชาติ

ช่วยชาติ.com หรือ chuaichart.com

ได้ดูข่าวจาก blognone เรื่องเว็บไซต์การชี้แจ้งการทำงานของรัฐบาล และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ใช้ WordPress ทำซะด้วยและอีกอย่าง คือใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons แสดงที่มา 3.0 ใครจะนำข้อมูลไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติแค่แสดงที่มาของข้อมูล และไม่ใช้ในทางพาณิชย์ ดูเทคนิคการทำงานการพัฒนาเว็บไซต์ได้ที่ เว็บไซต์ของคุณ พัชร และ กลุ่มไทเกอร์ไอเดีย ตามลิงค์

เนื้อหาภายในลองคลิกๆดูแล้ว เนื้อหาค่อนข้างละเอียดครับว่ารัฐบาลมีโครงการอะไรบ้าง แม้กระทั้งเอกสาร โครงการต่างๆก็จะสามารถดูได้ตัวอย่างโครงการ ต้นกล้าอาชีพ เป็นต้นเรื่องการดีไซด์สวยงามมากครับได้เต็มสิบไปเลยครับ รายละเอียดของ proposal ของเว็บไซต์นี้ก็มีการเปิดเผยว่ามีขั้นตอนการทำยังไงบ้าง
งบประมาณเท่าไหร่

แต่ที่ติดใจนิดหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ ที่ใช้ WordPress ที่เป็น open source ที่ใครๆก็รู้ code โอกาสที่จะถูกโจมตีอาจทำได้ง่าย แต่ถ้ามองอีกทางคือเว็บไซต์ไม่ได้เป็นเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาที่สำคัญถึงขั้นเป็นอันตรายต่อความมั่นคง หรือกระทบต่อความปลอดภัยมากหนัก หากถูกโจมตีก็คงแค่แบคอับกลับมาแต่แนวคิดการทำงานแบบโปร่งใสของรัฐบาลที่จะให้ประชาชนสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้อย่างต่อเนื่องและเขาถึงได้ง่าย ถือว่าแนวคิดนี้ ดีเยี่ยมเลยครับ ขอสนับสนุนโครงการนี้ครับ


Google Similar Images และ Google News Timeline

Google images similar

ผมพึงได้ดู Duocore ตอนที่ 103 ที่บอกว่า Yahoo Image Search ตัวใหม่ ดีกว่า Google ผมก็ทดลองดูแล้วรู้สึกว่าการค้นหาค่อนข้างตรงกับสิ่งที่เราต้องการมากกว่าค้นที่ Google อาจจะเป็นเพราะข้อมูลที่ได้จากจาก Google มีมาในการค้นหาคำ keyword คำหนึ่ง แต่วันนี้ Google ได้เขียนลง Google blog บอกว่าพวกเขาใช้เวลา 20 % ของเวลาทำงาน มาทำงานชิ้นนี้ (Google จะให้เวลากับพนักงาน 20% ในการทำวิจัยอะไรก็ได้) พวกเขาได้สร้าง Google labs ขึ้นในปี 2002 หลายๆผลิตภัณเกิดขึ้นจากเวลาเหล่านั้น เช่น Google Maps, iGoogle,Google News
และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ  Similar Images และ Google News Timeline

Similar Images
เป็นการค้นหารูปภาพที่ สามารถระบุภาพที่เราสนใจ และต้องการรูปเฉพาะที่เราสนใจ และใกล้เคียงกับรูปนี้เท่านั้น Google ก็จะแสดงเฉพาะ
รูปเหล่านั้น อย่างเช่น เราต้องการค้นหาคำว่า  [jaguar] เราจะได้รูปที่เป็น เสือ กับรถยี่ห้อดัง

Google Image Similar

ใน similar images จะมีลิงค์ข้างล่างให้เราเลือกว่าต้องการรูปที่เหมือนเสืออย่างเดียว หรือต้องการรูปรถอย่างเดียว
เราก็จะคลิกเลือก similar images ใต้รูปนั้น

คลิกใต้รูปเสือ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปเสือ[cat]

คลิกใต้รูปรถ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปรถ[car]

ดูตัวอย่างการใช้งาน

ยอมรับเลยว่าความสามารถใหม่อันนี้เด็ดจริงๆ ใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่ Google Labs หรือ Similar-images

Google News Timeline

ฟีเจอร์ใหม่อีกตัวคือ Google News Timeline เป็นค้นหาแสดงตามเวลา chronologically แสดงผลที่ค้นหาจาก Google News และฐานข้อมูลอื่น ที่สามารถจำกัดช่วงเวลาของข้อมูลได้ว่าต้องการช่วงเวลาไหน สามารถกำหนดเป็น วัน สัปดาห์ เดือน ปี หรือช่วงทศวรษที่เท่าไหร่ ของข่าวนั้นๆได้ เช่น summer of 2006
ผลของการค้นใน Google News Timeline มีทั้งข่าวสารทั่วไป, ข่าวแสกนจากหนังสือพิมพ์ , แมกกาซีน, blog posts, ตารางคะแนนกีฬาต่างๆ ,เพลง ,หนัง เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Google news ,Google News Timeline

pg.in.th ถ่ายแชร์รูปพร้อมบอกสถานที่

เว็บไซต์ Playground

ตอนแรกได้เห็น url ของเว็บ www.pg.in.th ผ่านทาง twitter ของหลายคนเลยคลิกไปดู พอคลิกเข้าไปดูก็จะเห็นรูปนั้นที่เขาอับโหลดขึ้นไป เมื่อเราคลิกกลับมาดูที่หน้าหลักของเว็บ ก็จะเห็น map ของ Google ที่วิ่งไปวิ่งมาตามตำแหน่งของภาพที่สมาชิกอับโหลดเข้ามา

playground2

ลูกเล่นของ playground ที่ติดใจใครหลายๆคนคือ

  1. ถ่ายรูปจากมือถืออัพขึ้นเว็บได้ทันที
  2. แสดงผลรูปที่คุณถ่ายบน Google Maps
  3. เชื่อมโยงข้อมูลกับเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น Hi5, Facebook, Multiply,twitter ว้าววว สุดยอด อับโหลดขึ้น PG ทีเดียวที่เหลือก็อับเดตตามเลยอันนี้เจ๋ง
pg.in.th
Nokia Phone

เริ่มติดตั้ง

  1. สมัครสมาชิก PG ให้เรียบร้อย
  2. ทำการ setting PG กับเว็บไซต์อื่นๆ
  3. ดาวน์โหลดโปรแกรม Playground ไปติดตั้งกับมือถือ ง่ายมากๆแค่เข้าไปที่ download แล้วดูว่ามือถือยี่หอ และรุ่นอะไร เสร็จแล้วคลิก กรอกเบอร์โทรมือถือ ของผมมือถือเล่นเน็ตไม่ได้ เลยใช้ของพี่สาว ที่เป็น Nokia N76 แล้วก็รอรับ sms ลิงค์จากการดาวน์โหลดและติดตั้ง
  4. พอติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะโปรแกรม Playground อยู่ไหนเครื่อง การใช้ครั้งแรกจะให้เราใส่ user และ password ก็ใส่ตามที่เราได้สมัครไว้แต่ต้น คราวนี้ก็พร้อมใช้งานแล้ว
  5. วิธีใช้งานง่ายมากๆ แค่เปิด โปรแกรม Playground ในมือถือขึ้นมาแล้วก็ถ่ายรูป จากนั้นโปรแกรมจะให้ใส่ ชื่อรูป แทกซ์ และสามารถกำหนดสถานะให้แสดงสถานที่ หรือไม่ก็ได้ จากนั้นก็ส่ง แค่นี้ง่ายไหมครับ
pg.in.th

ทดสอบใช้งาน
ช่วงสงกรานต์ได้เดินทางกลับบ้านครับ ใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางกลับดังนั้น ผมจึงทดสอบถ่ายรูปตามเส้นทางไปเรื่อย และไปถ่ายรูปงานสงกรานต์ที่บ้านด้วยจากนั้นได้เข้ามาที่เว็บไซต์ PG เพื่อดูว่ารูปที่ถ่ายเป็นยังไง พบว่าสถานที่ที่ถ่ายอาจจะไม่ตรงกับสถานที่จริงซะทีเดียว คิดว่าน่าจะเป็นการอ้างอิง กับเสาสัญญาณของโทรศัพท์ แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับสถานที่จริง และเราสามารถเข้าไปแก้ไขสถานที่ให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นได้ งั้นไปดูผลงานผมเลยแล้วกัน

คลิกดูที่รูปจะแสดงรูปและสถานที่อยู่ด้านล่าง

ดูรูปทั้งหมด
ดูรูปพร้อมแผนที่
แนะนำให้ดูแผนที่จากดาวเทียมครับ จะได้เห็นสถานที่ชัดเจน

สรุปสุดท้าย เป็นเว็บคนไทยที่ทำได้เจ๋งสุดๆเลยครับ คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

ผลสรุป แบบสำรวจความคิดเห็นกรณี การชุมนุมของคนเสื้อแดง

ผลการสำรวจ

เมื่อวานได้ทำแบบสำรวจเกี่ยวกับประท้วงของคนเสื้อแดง ปิดถนน ทำเอาเดือดร้อนกันไปตามๆกัน เลยเอาผลของการสำรวจของเมื่อวานมาให้ดู หลายคนไม่พอใจ คนที่ทำผลสำรวจไม่เยอะแต่บอกอะไรได้บ้าง

ความเห็นอื่นที่เขียนเข้ามาครับ

1 .น่ารำคาญ
2.ประท้วงได้ตามขอบเขตกฏหมาย ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นต้องกล้ารับผิดชอบ รัฐบาลควรเป็นกลางและต้องรู้จักต่อรองเพื่อให้เกิดความเดือดร้อนน้อยที่สุด
3.ลองแสดงพลังด้วยการทำเรื่องดีๆ บ้างได้ไหม ชีวิตคุณและใครต่อใครอาจจะดีขึ้น มากกว่าการแค่ “รถติดมโหฬาร” “กลับบ้านไม่ได้” “เสื้อแดงในตู้ต้องอยู่ในตู้ต่อไป
4.ทำเพื่อไอ้เหลี่ยมคนเดียว
5.ขอให้ประท้วงต่อไปจนกว่าจะโดนระเบิด

ความเห็นบางอันก็น่าอ่าน น่าฟังนะครับแต่บางอันก็.. ขอให้ใช้วิจารณญาณ ในการอ่านครับ
ดูผลการสำรวจอย่างละเอียดครับ

มาสำรวจกันหน่อยว่าคิดอย่างไรกับการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง

การประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง

มาสำรวจกันหน่อยว่าคิดอย่างไรกับการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีการปิดถนนทั่วทั้งกรุงเทพฯ แบบสำรวจทำออกมาแป๊บเดียวก็มีคนทำเยอะเหมือนกันนะ ดุได้ที่ลิงค์ข้างล่างครับ เอาฟอร์มแบบง่ายๆแล้วกัน
Loading…

ดูผลสำรวจ

อยากจัดงานสัมมนา แบบ Unconferenced Pecha Kucha ของชมรมอีสาน

ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน

การจัดสัมมนาที่คนที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถส่งหัวข้อในงานได้
เป็นเหมือนชุมชนการแบ่งปัน ใครมีเรื่องอะไรที่สนุกๆก็เอามาเล่าให้คนอื่นฟัง เราก็มาฟังสิ่งดีๆที่เพื่อนเอามาแชร์ เนื่องจากปกติงานแบบนี้จะมีคนเข้าร่วมงานเยอะ ประมาณว่ามาปล่อยแสงกัน จีงมีการจำกัดไสลด์ในการนำเสนอ แ ละเวลา เข่น 10 สไลด์ 10 นาที
ข้อมูลเพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Pecha_Kucha และ https://en.wikipedia.org/wiki/Barcamp ผมได้ลองจัดที่คณะดูแล้ว รู้สึกว่างานออกมาสนุกมาก ดูสรุปงาน BME BarCamp

การจัดงานคร่าวๆก็คือ
– ตอนเช้าจะมีให้ลงทะเบียน หัวข้อที่จะพูด จากนั้นก็จะมีการโวตว่าเรื่องในน่าฟังที่สุด ใครได้คะแนนมากสุดก็พูดก่อน หรือสามารถ เปลี่ยนเป็นจับฉลากก็ได้น่าจะสนุก ตื่นเต้นดี จากนั้นก็เริ่มสัมมนา หัวข้อก็ไม่ปิดกั้นอยากพูดเรื่องอะไรก็ได้ เพียงจำกัดแค่เรื่องเวลาแค่ คนละ 10 นาที

ยกตัวอย่างเช่น

อาจารย์แจ่มใส – การทำงานแบบจิตอาสา
พี่ปอ – พูดเรื่อง การเรียนเบสอีสานใน 1 สัปดาห์
พี่บัติ – วิธีการแต่งเพลง
พี่ญัติ – การนำเสนอ อย่างไรให้น่าสนใจ และน่าติดตาม
พี่บูล – การสอนเด็กเล่นโปงลาง
พี่สาท – การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
น้องคำนาง – การออกกำลังกาย ด้วยการรำ
น้องบอย – การตัดต่อวีดีโอขึ้นเว็บ
น้องปุ้ย – การร้องคาราโอเกะ อย่างไรให้สนุก
น้องต้อม – วิธีจีบสาวชมรมฯ ทำอย่างไร
ฯลฯ
อะไรประมาณนี้ คือใครสนใจอยากพูดเรื่องอะไรก้เอาแชร์ๆ กัน งานนี้ไม่ต้องมีการเตรียมงานให้ยุ่งยาก เพราะคนที่พูดกับคนที่เข้าฟังคือกลุ่มเดียวกัน

งานนี้เสริมสร้างให้ชมรมของเราเป็นชมรมแห่งการแบ่งปัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด และข้อคิดเห็น และสารความสำพันธ์ และเป็นการฝึกฝนการนำเสนอ ที่กระชับ และตรงประเด็นให้กับ น้องในชมรมฯ อีกด้วย

ข้อความคิดเห็นจากทุกท่านครับ ใครเห็นด้วย ผมยินดีเป็นคนประสานงานให้ครับ

และถ้าคุณเข้าร่วมงานอยากพูดหัวข้ออะไร

Exit mobile version