วิเคราะห์การใช้งาน Facebook ของคุณด้วย Wolfram|Alpha

Wolfram|Alpha เป็นระบบค้นหาคำตอบอัจริยะ มันเก่งขึ้นเรื่อยๆ Siri ของ Apple ก็ดึงข้อมูลบางส่วนจาก Wolfram|Alpha ไปใช้งาน ถ้าอยากรู้จักมันให้ดีขึ้นลองอ่านบทความเก่าๆ ใน Tag  Wolframalpha ได้ครับ ผมเขียนถึงมันอยู่บ้างและก็ได้ใช้งานอยู่เป็นระยะ ความสามารถล่าสุดที่น่าสนใจของ Wolfram|Alpha ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นาน คือ “Facebook report” ครับ ลองมาดูว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Facebook report by Wolfram|Alpha

Facebook report คือการวิเคราะห์การใช้งาน Faceook ของเรา โดยละเอียด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์

  • ข้อมูลส่วนตัว เกิดวันไหน ปีอะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดอีกครั้ง
  • Activity ในแต่ละปีที่ใช้งานมา อัตราการโพส แชร์ลิงค์ อัพโหลดภาพ
  • ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดในการโพส คำนวณคำที่ใช้โพส มีคีย์เวิร์ดอะไรเยอะที่สุดในโพส
  • เพื่อนคนไหนคอมเม้นต์ ใครแชร์ในโพสของคุณมากที่สุด
  • อัตราการใช้แอฟพิเคชั่น
  • ภาพไหนที่คุณโพสมีการคอมเมนต์และแชร์มากที่สุด
  • อัตราส่วนเพื่อนผู้หญิง-ผู้ชาย เฉลี่ยเพื่อนคุณมีสถานะอะไรบ้าง (โสด,แต่งงาน ฯลฯ)
  • ช่วงอายุของเพื่อน ใครแก่สุด ใครเเด็กสุด
  • เพื่อนอยู่ในประเทศอะไรบ้าง ใช้ภาษาอะไร ศาสนาอะไร
  • และอื่นๆ

วิธีการใช้งาน

เข้าไปที่เว็บไซต์ Wolfram|Alpha พิมพ์คำว่า facebook report ลงในช่องค้นหา enter

Facebook report

จากนั้นก็คลิกปุ่ม “Analyze My Facebook Data” ซึ่งระบบจะขออนุญาติเข้าถึงข้อมูล Facebook ของเราก็กดยอมรับไป สักพักระบบจะดึงข้อมูลของเราเข้ามา และรายงานผลการวิเคราะห์ให้ได้เห็น

Facebook report

ตัวอย่างการวิเคราะห์บัญชีของผมเอง คิดว่าถ้าเป็นบัญชี Wolfram|Alpha แบบ Professional คงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เพราะเทียบกับข้อมูลจากด้านบนของ Stephen Wolfram ของเขาเป็น account แบบ Pro ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงของเพื่อน และอื่นๆที่ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ผลการวิเคราะห์ไปที่ social network อย่าง facebook, twitter, google+, linkedin ฯลฯ ได้ทันที

Share ผลการวิเคราะห์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wolframalpha.com/facebook

Wolfam Alpha and Unit Circle

ค่า tan3 แบบ radian และ tan3 แบบองศา

เมื่อสองสามวันก่อนได้ใช้งาน wolfram alpha ช่วยคำนวณหาค่าของ tan(3) ซึ่ง 3 ในที่นี้ของเราคือ มุม 3 องศา ก็พิมพ์เข้าไป พบว่าได้ค่าหนึ่งออกมา tan3 = -0.1425 ซึ่งเราก็เอาไปใช้งานต่ออย่างไม่ได้คิดอะไร เพราะคิดว่าน่าจะถูกต้องแล้ว พอนำข้อมูลที่ได้ไปโปรเกรสงาน กลับพบว่าค่าของ tan(3) ใน wolfram alpha กับเครื่องคิดเลขได้ค่าออกมาไม่เท่ากัน ซึ่งในเครื่องคิดเลขคำนวณ tan(3) = 0.0524 จึงได้รู้ว่าการหาค่า sin, cos, tan มันมีวิธีการใส่ค่าสองแบบ คือ แบบ radian(0-2π หรือ 0-6.283) กับ degree(องศา 0-360°) ซึ่งทั้งสองค่าก็สามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ด้วยการเทียบแบบธรรมดาคือ 2π =360° เขียนเป็นสมการในการแปลงค่าได้ว่า

degree = radian × π/180

radian = degree × 180/π

แบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ คือ 1 radian = 57.295 องศา หรือ 1 องศา = 0.0174 radian

ดูรูปนี้แล้วน่าจะเข้าใจมากขึ้น

Unit circle ที่มา: https://www.flickr.com/photos/26661581@N07/

สรุปได้ว่า อะไรแบบนี้เราเรียนมาตั้งแต่มัธยมแล้วพอไม่ได้ใช้นานๆก็ลืม เลยต้องมาเตือนความจำไว้ว่า ตอนใส่ค่าลงไปคิดก่อนว่าเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณมันมีค่า default เป็นอะไร ใน wolfram เป็น radian ในเครื่องคิดเลขเป็น องศา (คงแล้วแต่รุ่นและการตั้งค่าด้วย) ทางที่ดีเช็คด้วยการคำนวณด้วยมืออีกทีเพื่อความมั่นใจ

ต่อไปถ้าจะคำนวณพวก sin, cos, tan ใน wolfram alpha ต้องคูณ π/180 เข้าไปด้วย อย่างเช่น tan 3° ให้พิมพ์แบบนี้ครับ tan(3*pi/180)

ข้อมูลเพิ่มเติ่ม radian to degree , Unit circle

Wolfram|Alpha เปิด Tumbr เอาไว้โชว์ตัวอย่างการใช้งาน

Wolfram|Alpha on Tumblr

Wolfram|Alpha คือรูปแบบการค้นหาคำตอบแทนการค้นหาในแบบธรรมดา อยากรู้จักมากกว่านี้เคยเขียนไว้แล้ว (รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ) ปกติจะติดตามวิธีการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ หรือข่าวการพัฒนาผ่านทาง blog ทางการของทีม Wolfram|Alpha ล่าสุดเขาเปิดที่ Tumbr เพิ่มอีกที่ด้วย เอาไว้แชร์การใช้งาน ตัวอย่างการใช้งาน จับภาพผลลัพธ์ของการคำนวณมาให้ดู

โดยการใช้งาน Wolfram|Alpha ถือว่าต้องศึกษาพอสมควร เพราะต้องป้อนข้อมูลอย่างถูกต้องจึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ และนี้คืออีกหนึ่งปัญหาที่มันถูกใช้งานในวงจำกัดเพราะมันใช้ยากพอควร ถ้าใช้งานคล่องแล้วมันช่วยลดงานได้เยอะเลยทีเดียว ถ้าดูบ่อยๆให้คุ้นตาเดี๋ยวมันซึมเอง ดูชาวบ้านเขาใช้เดี๋ยวก็ใช้เป็น (บอกตัวเอง)

อีกอย่างที่ชอบคือการออกแบบ Tumbr ดูเท่และสวยมาก จับภาพมาให้ดูแล้ว

ติดตาม Wolfram|Alpha บน Tumbr ได้ที่ลิงค์ https://wolframalpha.tumblr.com/

แก้สมการด้วย Wolfram Alpha

เมื่อวาน @ac_nim ส่งสมการของเปรียบเทียบ Rf ของการรันเจลกับ Molecular weight มาให้ กราฟอยู่ในรูปของ log  สมการคือ  y=-0.035logx+0.1873 สิ่งที่อยากให้ช่วยคือ มีค่า y อยู่ชุดหนึ่งแล้วหาค่า x ให้หน่อย แก้มือหรือใช้เครื่องคิดเลขก็คงได้ แต่สิ่งแรกที่คิดถึง คือ Wolfram Alpha (อ่านรีวิว)ไม่รอช้ายัดสมการเข้าไปให้มัน คำนวณให้ ตัวอย่างเช่น  y=0.0308  จึงอยู่ในรูปนี้

0.0308 = -0.035log(x) + 0.1873

ผลการแก้สมการ

ผลการแก้สมการของ wolfram alpha

เสร็จในเวลาอันสั้น ได้ทั้งกราฟ และค่า x ที่แก้สมการออกมา เปลี่ยนค่า y ไปเรื่อยๆ เสร็จในเวลาอันรวดเร็ว

Wolfam Alpha เหมาะกับทุกคนที่ใช้เป็น แม้แต่นักเรียนเองก็ตาม มันช่วยตรวจทานคำตอบที่ลองคิดเองก่อนได้ แต่ไม่ควรให้มันหาคำตอบให้เดี๋ยวจะกลายเป็นคนคิดเองไม่เป็น

ปล.หน้าแรกมันสวยมาก

Morse Code in Wolfram Alpha

morse code in wolfram alpha

รหัสมอร์ส ถูกคิดค้นขึ้นมาประมาณ ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส(Samuel F. B. Morse) และ
อัลเฟรต เวล(Alfred Vail)  เพื่อใช้ในการส่งโทรเลข ปัจจุบันในยุคที่มีการสื่อสารที่ทันสมัย รหัสมอร์สก็ถูก
ลดบทบาทลงไปตามกาลเวลา แต่ล่าสุดที่ผมเห็น คือในหนังเรื่อง Infernal affairs ที่พระเอกส่งข่าวให้ตำรวจ
ตอนที่มีการส่งยาเสพติด ใน wiki มีการอธิบายเรื่องของ รหัสมอร์สไว้ค่อนข้างละเอียดและมีเสียงของรหัสมอร์ส
ที่ใช้แทนตัวอักษรแต่ละตัวไว้ด้วย วันนี้ผมจะนำเสนอความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ Wolfram Alpha
คือการแปลรหัสมอร์สเป็นตัวอักษร หรือแปลอักษรเป็นรหัสมอร์ส เครื่องหมายที่ใช้ในรหัสมอร์สจะมีสองเครื่องหมาย
คือ จุด(.) กับขีด(-)

วิธีใช้คือพิมพ์ morse code “ใส่รหัส หรือ ตัวอักษร”
ลอง copy ข้อความนี้ไปวางใน wolfram alpha ดูครับ

morse code “.- — .–. …. ..- .-.”
morse code “Wolfram alpha”

รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ

wolfram-alpha

Wolfram alpha คือ Search engine แนวใหม่ที่รูปแบบค้นหาไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ อย่างเช่น Google, yahoo หรือ bing ที่พึงเปิดตัวไป, search engine เหล่านี้จะพยายามหาสิ่งที่คิดว่าเหมือน ใกล้เคียงกับคำค้นของคุณให้มากที่สุด แล้วให้คุณเลือกเองว่าจะเข้าไปดูรายละเอียดตัวไหน search แบบนี้จะหาลิงค์จำนวนมากมาให้คุณเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการอีกที แต่สิ่งที่ wolfram alpha ทำจะแตกต่างออกไป คือ จะพยายามหาคำตอบของสิ่งที่คุณต้องการหาให้ ยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการหาว่าจำนวนประชากรของไทยตอนนี้เท่าไหร่ search อื่นจะให้ลิงค์ อย่างเช่น wiki หรือเว็บไทยที่มีการเก็บสถิติมาให้ แต่ wolfram alpha จะให้คำตอบออกมาเลยว่าประชากรตอนนี้เท่าไหร่ อัตราการขยายตัวเท่าไหร่ แสดงผลเป็นกราฟด้วย แต่ wolfram alpha ตอนนี้ยังไม่รองรับภาษาไทยครับ

Stephen-Wolfram ผู้คิดค้น wolfram alpha

Wolfram alpha เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2009 มีนักพัฒนาหลายคนบอกว่าศักยภาพของมันเรียกได้ว่าเป็น “Google Killer” ได้เลย Stephen Wolfram ผู้คิดค้นและ CEO ของหน่วยวิจัย Wolfram เขาเป็นนักฟิสิกส์ นักพัฒนาซอฟแวร์ เกิดที่อังกฤษ เมื่อปี 1959 เรียนที่ Eton College และสอบเข้าเรียนต่อที่ Oxford University จากนั้นได้ Ph.D ที่ California Institute of Technology ตอนอายุ 20 ปี งานของเขาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Symbolic Manipulation Program ที่เป็นต้นกำเนิดของ Mathematica, Mathematica โปรแกรมคำนวณที่อัฉริยะ ,หนังสือ “A New Kind of Science” ,The simplest Universal Turing machine, และล่าสุดคือ Computational knowledge engine ในชื่อที่เรียกว่า Wolfram alpha

Stephen Wolfram บอกว่า ” Wolfram alpha ไม่ใช่เครื่องมือในการค้นหา ไม่มีการค้นหาที่นี้ “ แต่มันคือเครื่องมือหาความจริง หาคำตอบ (Fact Engine) การค้นหาจะไม่ซ้ำซ้อนกับการค้นหาที่ Google แต่มันจะตอบในสิ่งที่มันรอบรู้ให้ คือ หาคำตอบให้นั้นเอง

เริ่มทดสอบการใช้งาน Wolfram alpha อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าตอนนี้ยังไม่สนับสนุนการค้นหาในภาษาไทยครับ การค้นคำนั้นสามารถที่จะใส่เป็นประโยคได้(natural language) ระบบสามารถที่จะวิเคราะห์สิ่งที่คุณต้องการและแสดงข้อมูล ที่เป็นทั้งตัวเลข กราฟ ภาพ และสื่ออื่นในสิ่งที่คุณหาอยู่

ระบบยังมีความฉลาดสามารถคำนวณระยะทางของคุณกับสถานที่ๆต่างๆ โดยระบุตำแหน่งคุณด้วย IP address ของคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานได้อีกด้วย

ในการใช้งานครั้งแรกเขาแนะนำให้คุณดูตัวอย่างการค้นหา เพื่อให้คุณใส่ประโยคต่างให้เหมาะสมเพื่อการค้นหาที่มีประสิทธิภาพสูง และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เช่นการใส่ มาตราวัด วันที่ เวลา สูตรคำนวณต่างๆ ได้ถูกต้อง แทนการใส่ประโยคธรรมดา

การทดสอบเหล่านี้ต่างๆเหล่านี้ผมอ้างอิงมาจากเว็บต่างๆ ที่เขาได้รีวิวเอาไว้ โดยเป็นวิธีการค้นหาที่ search engine ตัวอื่นจะทำได้ยาก แต่ wolfram alpha ทำได้ง่าย

1. Historical event การค้นหาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต
ผมค้นหาคำว่า “Earthquakes Dec 2004” แผ่นดินไหวปี 2004

แสดงข้อมูลของแผนดินไหว ของเดือนธันวาคม 2004

ข้อมูลที่ได้คือจุดต่างๆที่เกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก และความแรงของการสั่น จะเห็นได้ว่าในวันที่ 26 ธันวาคม 2004 ที่เกิดแผนดินไหวทะเลเขตอินโดนีเซียแรงสุด และที่ทำให้เกิดซึนามิในหลายประเทศ

2.Musical notation การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโน๊ตดนตรี
ผมค้นหาคำว่า “B seventh chord” คอร์ด B7 ผลการค้นหา

music-notation การค้นหาตัวโน๊ต

การค้นหาโน๊ตนี้ถือว่าสุดยอดครับ มีทั้งการแสดงรายละเอียด และที่สำคัญกดฟังเสียงได้เลยครับ

3.Drug information การค้นหารายละเอียดของยา หรือสารเคมี
ผมค้นหาคำว่า “Oseltamivir” คือยาที่ใช้รักษา ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009

ผลการค้นหา drug-information

ให้ข้อมูลค่อนข้างครบ ทั้งชื่อสามัญ น้ำหนักโมเลกุล สูตรเคมี ด้านข้างจะมีลิงค์ที่เกี่ยวข้องไปที่ wiki ด้วย ข้อมูลที่ wiki ดูจะให้รายละเอียดเยอะกว่าที่ wolfram alpha

4.Geography ภูมิศาสตร์ ซึ่งให้ผลการค้นค่อนข้างดีเลยทีเดียว
ผมค้นหาคำว่า “Himalaya” หรือ เทือกเขาหิมาลัย

himalaya-biographic เทือกเขาหิมาลัย

5.Nutrition & Food เกี่ยวกับโภชนาการและอาหาร เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนต้องการลดน้ำหนัก

pork-2-kg เนื้อหมู 2 กิโลกรัม

มีรายละเอียดการคำนวณแครอรี่ ไขมัน พลังงานต่างๆ ละเอียดมาก และสามารถเลือกชนิดของเนื้อหมูได้อีกด้วยว่าเป็นส่วนไหนของหมู เยี่ยมมากครับ

6.Colors การค้นหาสี เหมาะสำหรับนักออกแบบ หรือนักพัฒนาเว็บไซต์

สามารถที่จะค้นหาได้โดยใส่ชื่อระบบสี โค้ด ลงไปเพื่อหาว่าสีที่นั้นมีหน้าตาอย่างไรได้ เช่น RGB 30, 255, 10
ครอบคุมทุกระบบ เท่าที่รู้จักนะ

clolor-systems ระบบสีต่างๆที่ค้นได้

ทดลองค้นคำว่า “green + blue” หรือ สีเขียว บวกสี น้ำเงิน
ผลการค้นหาที่ได้เป็นบอกว่าสีที่ผสมออกมาจะได้สีอะไร และมีรหัสอะไรด้วย

color-green-blue ค้นหาการผสมสี

7. Physics & Mathematics การคำนวณทางฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ที่ดูจะเป็นปัญหา จากข่าวเรื่องการนำ wolfram alpha มาช่วยในการคำนวณ หรือทำการบ้าน อาจจะมีทั้งข้อดีและเสีย ถ้าใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่เอาแต่ลอกอย่างเดียวสุดท้ายก็คงคิดเองไม่เป็น ดูตัวอย่างการใส่ค่าต่างๆ

physic-wolfram-sample
physic-wolfram-sample-2
Mathematics-wolfram-sample
Mathematics-wolfram-sample-2

ยกตัวอย่างการคำนวณ d/dx sin(x)^2 ได้ผลดังนี้

calculus-wolfram-sample

Wofram alpha สามารถคำนวณค่าต่างๆออกมาให้อย่างรวดเร็ว ข้อดีเราสามารถใช้อ้างอิงในการทำแบบฝึกหัดอย่างวิชา calculus หรือ โจทย์คณิตศาสตร์ ได้อย่างสบาย แต่อย่างเช่น ฟิสิกส์ที่ต้องมีการตีโจทย์ออกมาเป็นตัวแปลอยู่นั้นก็ต้องมีคิดก่อนนำมาคำนวณ ส่วนวิชาเคมี ก็สามารถช่วยได้ทั้งคำนวณ และหาคำตอบ
ดูตัวอย่างวิธีการใส่ค่าเพื่อหาคำตอบได้ที่ https://www85.wolframalpha.com/examples/ ดูวิดีโอสาธิตการใช้งาน introducing wolfram alpha

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็น search engine ที่ดีมากๆตัวหนึ่ง และทำให้นึกถึงตัวละครตัวหนึ่งในหนังเรื่อง AI (Artificial Intelligent,2001) ของ Steven Spielberg ในตอนที่หุ่นเด็กออกไปถามคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ ดร.โนว์ ที่มีหน้าตาเป็นไอสไตร์ พอถามอะไร คอมพิวเตอร์ตัวนี้ก็จะตอบทันทีหุ่นยนต์เด็กถามถึง นางฟ้า ดร.โนว์ ก็ยกหมวดนวนิยายขึ้นมาแล้วอธิบายทันที ทำให้รู้สึกว่า ภาพยนต์ที่มีจินตนาการสูง โลกของความจริง ก็พยายามวิ่งตามจินตนาการนั้นไปเรื่อยๆ

ข้อมูลจาก
https://www.wolframalpha.com/
https://searchengineland.com/wolframalpha-the-un-Google-19296
https://www.readwriteweb.com/archives/hands-on_with_wolfram_alpha.php
https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Wolfram
https://www.stephenwolfram.com/
https://www.wolfram.com/

Exit mobile version